ช่วงปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของวงการ startup ในบ้านเราอย่างแท้จริง ในปี 2013 มีหลายทีมส่งผลิตภัณฑ์ และบริการเข้าไปแข่งขันในโครงการ startup ต่างๆ ที่จัดโดยโอเปอเรเตอร์หลายสิบทีมด้วยกัน และเมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมีงานแข่งขันนำเสนอ (pitching) ในประเทศไทยอย่าง Echelon Satellite Thailand 2014 ทำให้เราได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ทีมพัฒนาแอพ Sticgo ที่ผ่านเวทีแข่งขัน startup มาหลายเวทีแล้ว
Sticgo เป็นแอพสำหรับแต่งภาพด้วยสติ๊กเกอร์ ซึ่งมีความพิเศษตรงที่สติ๊กเกอร์ในแอพ Sticgo นั้นไม่ได้ใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างที่หลายคนคาดไว้ แต่จะให้ผู้ใช้เลือกสติ๊กเกอร์จากสถานที่รอบตัวแทน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามสถานที่นั้นๆ เช่นไปพาหุรัด จะเห็นตัวการ์ตูนขายผ้า อยู่บนบีทีเอสจะมีรูปโหนรถ เป็นต้น
เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา มีการจัดงาน startup ระดับเอเชียในประเทศไทยอย่าง Echelon Satellite Thailand 2014 โดยเว็บไซต์ e27 โดยสิงคโปร์ และก็เป็นปีที่สองที่เปิดรับ startup จากประเทศไทย ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานด้วย (แต่ดองนานไปหน่อย) เลยถือโอกาสมาสรุปภาพรวมของงานให้อ่านกันครับ
รูปแบบของงาน Echelon Satellite Thailand 2014 จะเน้นไปที่การนำเสนอ (pitching) ของแต่ละบริษัท เพื่อหาผู้ชนะไปแข่งขันในงานหลักที่สิงคโปร์ โดยมีกรรมการทั้ง 5 รายเป็นผู้เชี่ยวชาญในวงการ startup ในไทย ในงานนี้มี startup เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 19 ราย คัดเฉพาะรายที่น่าสนใจมาพูดถึง (ไม่เรียงลำดับ) มีดังนี้ครับ
แนวทางของซอฟต์แวร์ในปัจจุบันและอนาคตที่เริ่มหมุนไปในทิศทางของการบริการ (SaaS) โดยใช้ระบบคลาวด์เข้ามาเป็นโครงสร้างหลักนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในตลาดระดับองค์กรและผู้บริโภค (ตัวอย่างเช่น Adobe Creative Cloud หรือ Microsoft Office 365) ซึ่งในฝั่งองค์กร ความเปลี่ยนแปลงอาจจะเป็นไปค่อนข้างช้าพอสมควร เพราะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของบริษัท (เช่น ระบบการจ่ายเงินเดือน) ถือเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้รอบคอบพอสมควร
ปัจจุบันมีบริการดูหนังออนไลน์เกิดขึ้นมากมายในบ้านเรา ทั้งแบบถูกต้องและละเมิดลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ถ้าจะมองหาบริการดูหนังออนไลน์ในบ้านเราที่มีลักษณะเดียวกับ Netflix คือ 1) ถูกลิขสิทธิ์ 2) หนังเยอะ 3) คุณภาพความคมชัดสูง คงบอกได้ว่าไม่มีเลย
Hollywood HD เป็นบริการของคนไทยที่น่าจะใกล้เคียงกับนิยามข้างต้นมากที่สุด บริการนี้พัฒนาขึ้นโดยทีมงาน Fly Digital Media ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้จักชื่อมาก่อน (แต่ถ้าบอกว่าเป็นทีมเดียวกับบริษัทเพลินจิตมีเดีย ที่ทำระบบให้ AIS Mobile British Premier League ก็น่าจะคุ้นๆ แล้วใช่ไหมครับ)
โครงการ AIS The Startup ของปี 2014 เปิดรับสมัครมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และใกล้เวลาปิดรับสมัคร 23 มีนาคมนี้เข้ามาทุกทีแล้ว
โครงการของ AIS ปีนี้ต่างจากปีที่แล้วตรงที่ของเดิมไม่เจาะจงประเภทของ startup ตายตัว แต่ในปีนี้ AIS ขยับมาเน้น startup ที่จะเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์กับ AIS ในธุรกิจโทรคมนาคม (และใช้โมเดล revenue sharing หรือแบ่งรายได้กัน)
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการทำธุรกิจร่วมกับ AIS และเข้าถึงเครือข่ายระดับภูมิภาคของ AIS ทั้งนักลงทุนในอาเซียน รวมถึงช่องทางการเข้าถึงลูกค้าของ SingTel ในภูมิภาคกว่า 500 ล้านคน
โลกของซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีเริ่มหมุนไปรับมือกับสิ่งที่เรียกว่า big data กันมากขึ้น ทำให้บทบาทของ data scientist’ หรือคนที่ทำหน้าที่เอาข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลเพื่อที่จะสร้างการคำนวณและวาดแนวโน้มได้อย่างแม่นยำ กลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้นเช่นกัน
ในระยะหลังเราพบเห็นบรรดานักประมวลผลข้อมูลเหล่านี้เริ่มจัดตั้งบริษัท แสวงหาเงินทุน และนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือที่เป็นไปในลักษณะโซลูชั่น หรือชุดของการบริการที่มุ่งจะตอบโจทย์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้อย่างเต็มที่
วงการสตาร์ตอัพบ้านเราเติบโตขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ก็แน่นอนว่ายังตามหลังบางประเทศในภูมิภาคอยู่มาก วันนี้เรามีแขกรับเชิญพิเศษที่เห็นภาพการเติบโตของสตาร์ตอัพไทยอย่างใกล้ชิด มาวิจารณ์ว่าสตาร์ตอัพไทยเป็นอย่างไร และแนะนำว่าควรทำตัวอย่างไรจึงจะแข่งขันได้
คุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล (ในวงการเรียกชื่อเล่น "คุณไวท์" หรือ "พี่ไวท์") เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท FireOneOne ตั้งแต่ปี 2009 โดยบริษัทเป็นผู้พัฒนาโซลูชันสำหรับองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งในประเทศไทย เช่น แสนสิริ, ปตท, SCG, AIS
นอกจากงานที่บริษัทตัวเองแล้ว คุณไวท์ยังเป็นผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการสตาร์ตอัพของประเทศไทยมาหลายปี เป็นหนึ่งในนักลงทุนกลุ่ม M8VC และเป็นคณะกรรมการให้การประกวดสตาร์ตอัพหลายแห่ง เช่น AIS The Startup หรือ True Incube
ในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา เราเห็นข่าวยาฮูซื้อบริษัท startup น้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก (ชนิดว่า Blognone ก็รายงานข่าวได้ไม่ครบ) แต่ถ้ามองย้อนหลังกลับไป จะเห็นจุดร่วมกันว่าในบรรดาบริษัทที่ Marissa Mayer ควักเงินซื้อมาทั้งหมด 38 แห่ง (ตัวเลข ณ วันนี้) มีบริษัทที่ปิดบริการเดิมของตัวเองไปแล้วถึง 31 บริษัท
เหตุผลของยาฮูนั้นชัดเจนว่าต้องการซื้อ "คนเก่ง" ไปเป็นพนักงาน เพื่อให้ศักยภาพพนักงานของยาฮูสูงขึ้นและสามารถต่อสู้กับคู่แข่งได้ (เพราะคนเก่งๆ สายเทคนิคในซิลิคอนวัลเลย์มักไม่สนใจไปทำงานกับยาฮู) ยาฮูจึงไม่สนใจบริการเดิมของบริษัทเหล่านี้มากนัก และสั่งปิดบริการเหล่านี้เพื่อให้ทีมงานได้เข้ามาร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของยาฮูโดยตรงแทน
จากข่าว งาน Echelon 2014 เริ่มเปิดรับ Startup จากประเทศไทยแล้ว ทางผู้จัดงานได้ประกาศงานย่อยในประเทศต่างๆ (satellite event) โดยงานรอบของประเทศไทยจะจัดขึ้นวันที่ 12 มีนาคมนี้ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
รูปแบบของงานจะเป็นการแข่งนำเสนอ (pitching) ของบริษัท startup ในประเทศไทยหลายทีม (ดูรายชื่อได้ตามภาพท้ายข่าว) เพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งที่งานใหญ่ระดับเอเชีย Echelon 2014 ที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนมิถุนายน
งานนี้เปิดให้คนทั่วไปเข้าฟังด้วย ใครสนใจก็เข้าไปลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ของงานนะครับ
หลังจากประกาศผู้ชนะในโครงการ dtac Accelerate ครั้งแรก ไปเมื่อเดือนสิงหาคมของปีที่แล้ว ในปีนี้ก็ถึงเวลาของการเปิดโครงการปีที่สองอย่างเป็นทางการแล้ว
ในปีนี้โครงการ dtac Accelerate นอกจากจะมุ่งเน้นไปที่การเฟ้นหาบริษัทหน้าใหม่ เพื่อช่วยอบรมบ่มเพาะทางธุรกิจ (Incubation) แล้วยังมีแผนจะพัฒนาบริษัทที่มีธุรกิจอยู่แล้ว ให้มีผลงานและทิศทางที่ชัดเจนขึ้น (Accelerate) โดยขยายขอบเขตความครอบคลุมบริการจากเดิม เพิ่มไปเป็น 11 ประเภท ตั้งแต่แอพบนอุปกรณ์พกพา เกม อีคอมเมิร์ซ บริการทางการเงินออนไลน์ บริการชำระเงิน บริการเกี่ยวกับสุขภาพ ระบบศึกษาออนไลน์ บริการอิงกับสถานที่ บริการบนกลุ่มเมฆ บริการสำหรับองค์กร และ Social Technology Venture
AIS ประกาศเปิดตัว AIS The Startup 2014 โครงการสนับสนุน startup ที่จัดขึ้นเป็นปีที่สาม หลังจากปีก่อนได้ผู้ชนะเป็นทีม Noonswoon แอพหาคู่ที่นอกจากจะได้รางวัลจากทาง AIS แล้ว ยังได้เป็นหนึ่งในคอนเทนต์พาร์ทเนอร์ของ AIS (Incubated Content Provider "iCP") อีกด้วย
ในปีนี้ ธีมของโครงการ AIS The Startup 2014 จะเน้นไปที่การเติบโตไปกับพาร์ทเนอร์ (Growing with Partnership) มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีบริการ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งพร้อมจะต่อยอดได้แล้ว ซึ่งขยับจากปีก่อนหน้าที่เน้นปั้นผู้ประกอบการรายใหม่โดยเฉพาะ และขยายความครอบคลุมของ startup ไปมากกว่าเป็นแค่แอพบนอุปกรณ์พกพา โดยเพิ่มเป็นสามหมวดหมู่หลักๆ ดังนี้
ย้อนหลังหน่อยเป็นข่าวเมื่อ 2 อาทิตย์ก่อนแต่เห็นยังไม่มีคนเขียนถึงนะครับ
แอพและเว็บรีวิวร้านอาหารของไทย "วงใน" (Wongnai) ประกาศผ่านทางหน้าข่าวของเว็บว่ามีจำนวนสมาชิกครบ 1 ล้านคนแล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา พร้อมกับเปิดเผยข้อมูลว่าสมาชิกวงในเป็นใคร ใช้งานวงในเวลาไหน และชอบอาหารประเภทใด โดยข้อมูลที่สรุปมาได้เป็นดังนี้
สมาชิก
งานใหญ่ด้าน startup ในเอเชียคืองาน Echelon ของเว็บไซต์ e27 จากสิงคโปร์ รูปแบบของงานประกอบด้วยการสัมมนาจากวิทยากรและนักลงทุนที่มีชื่อเสียงระดับโลก และส่วนการนำเสนอ (pitch) ผลงานของบริษัท startup ในภูมิภาคนี้ (ผลงานดีก็มีสิทธิได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่เข้าร่วมงาน ถือเป็นโอกาสประชาสัมพันธ์ตัวเองชั้นดีถ้าอยากระดมทุนในระดับภูมิภาค)
ทีมคนไทยเคยชนะงานนี้มาแล้วเมื่อปี 2012 (Builk) และงานปี 2014 ก็เริ่มประกาศรับสมัครทีม startup จากทั่วภูมิภาคแล้ว
ทีมผู้สร้างแอพแชร์คลิปสั้น Supernova ที่เดิมใช้ชื่อว่า Viddy ที่เรียกว่าแอพของตัวเองคือ Instagram สำหรับการแชร์วิดีโอ ได้ขายบริษัทตัวเองให้กับ Fullscreen บริษัทของผู้ก่อตั้ง YouTube ที่ราคา 15 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินเดิมที่อยู่ที่ 370 ล้านดอลลาร์
ในไตรมาสแรกของปี 2012 แอพ Viddy มียอดผู้ใช้เพิ่มจาก 1 ล้านคนมาเป็น 10 ล้านคน โดยกลุ่มผู้ที่ลงทุนในแอพนี้ ได้แก่ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์ Biz Stone และศิลปินอย่าง Shakira และ Jay-Z การเติบโตในระยะแรกของ Viddy เกิดขึ้นจากความสามารถในการทำงานร่วมกันกับ Facebook ได้อย่างดี และผู้ใช้ระดับเซเลบที่เลือกใช้ Viddy เป็นแพลตฟอร์มหลักในการแชร์วีดีโอ ได้แก่ Justin Bieber และ Snoop Dogg
ปีที่แล้ว กลุ่ม True เป็นโอเปอเรเตอร์รายสุดท้ายที่เปิดตัวโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการไอทีในชื่อ True Incube (ข่าวเก่า) แต่ปีนี้ True Incube เปิดรับสมัครผู้ประกอบการไปทำ startup เป็นรายแรก
โครงการปีที่สองจะเปิดให้สมัครเข้าร่วมระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2556 จนถึง 26 มกราคม 2557 โดยจะประกาศผล 40 ทีมที่เข้ารอบในวันที่ 1 กุมภาพันธ์, ให้นำเสนอวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ และประกาศชื่อ 5-10 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์
dtac ยังคงเดินหน้าเสริมแกร่งให้โครงการ accelerate ของตัวเองด้วยการประกาศความร่วมมือกับ Founder Insitute โครงการอบรมผู้ประกอบการรายใหญ่จากซิลิคอนวัลเลย์ หลังจากเพิ่งเสร็จสิ้นโครงการของตัวเอง Wizard of Apps ไปเมื่อไม่นานมานี้
Founder Insitute นั้นเป็นโครงการอบรมผู้ประกอบการที่เริ่มต้นและเติบโตในซิลิคอนวัลเลย์ ปัจจุบันก่อตั้งมาได้เป็นเวลากว่า 4 ปีแล้ว และมีผลงานผลักดันบริษัทได้มากกว่า 1,000 แห่งจาก 42 เมืองทั่วโลก มีผู้ผ่านการอบรมอยู่ที่ประมาณ 550 คน
ในประเทศออสเตรเลียมีธุรกิจ Flirtey โชว์แนวคิดใหม่เรื่องบริการส่งสินค้าแก่ผู้ซื้อ โดยแหวกแนวทางเดิมๆ ไม่ต้องพึ่งระบบไปรษณีย์ หรือตู้ล็อกเกอร์ฝากของใดๆ เพราะสิ่งที่พวกเขาจะใช้ก็คือโดรน หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า UAVs : Unmanned Aerial Vehicles ซึ่งหมายถึงอากาศยานไร้คนขับนั่นเอง
ในต่างประเทศมีโครงการปั้นบริษัทหน้าใหม่ (accelerator/incubator) อยู่หลายโครงการ รูปแบบก็คงแตกต่างกันไปตามแนวทางของแต่ละเจ้า (ที่ดังหน่อยคงหนีไม่พ้น Y Combinator หรือ 500 Startups)
InVent หน่วยงานด้านการลงทุนของอินทัช (ชินคอร์ปเดิม) ประกาศลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีของไทยเพิ่มอีก 2 ราย จากเดิมที่เคยลงทุนในบริษัทอีบุ๊ก Ookbee มาแล้วเพียงรายเดียว
บริษัทที่ InVent เข้าไปลงทุนได้แก่
สตาร์ตอัพที่ชื่อว่า Ossia Inc. เปิดตัวระบบชาร์จไร้สายที่ชื่อว่า Cota โดยมีจุดเด่นคือมันจะมีระยะทางชาร์จได้ไกลถึงเกือบสิบเมตร (30 ฟุต) ผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเดียวกับเครือข่ายไร้สายทุกวันนี้
Cota สามารถส่งพลังงานได้มากกว่า 30 เมตรในห้องทดลองแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการใบรับรองจาก FCC ที่มีอำนาจอนุมัติอุปกรณ์ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บนเวที Disrupt ของ TechCrunch แสดงไอโฟนที่ชาร์จไร้สายจากระยะไกล
ตัวเครื่องของ Cota จะมีราคาสูงกว่า 100 ดอลลาร์ และขนาดประมาณเครื่องทาวเวอร์ขนาดใหญ่ของพีซี และสามารถส่งพลังงานทะลุกำแพงได้ด้วย
ที่มา - TechCrunch
โครงการสนับสนุน startup ของค่าย True ในชื่อ Incube เดินทางมาใกล้ปิดม่านปีแรกแล้ว หลังจากเปิดตัวมาตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม วันนี้ True ประกาศรายชื่อ 6 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบตัดสินมาเป็นที่เรียบร้อย (เพิ่มมาหนึ่งทีมจากประกาศตอนแรกว่าจะมี 5 ทีม)
ส่วน 6 ทีมสุดท้ายจาก 150 ทีมที่ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการ มีดังนี้ครับ
ในที่สุดโครงการประกวด startup ของ dtac ในชื่อ dtac accelerate : Wizard of Apps ก็ถึงวันประกาศผู้ชนะจะได้เดินทางไปนำเสนอผลงานกับกลุ่มนักลงทุนใน Silicon Vallay จากทั้งหมด 10 ทีมสุดท้ายที่แข่งขันกันมาตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา
โดยผู้ชนะของโครงการนี้คือ FastInFlow แอพพลิเคชันสำหรับนักการตลาดที่ช่วยให้หา Consumer Insight ของลูกค้าได้ภายใน 5 นาที
เป็นหนังสือที่ผมอ่านรวดเดียวจบ และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์มากต่อผู้ประกอบการหรือ startup ทุกคน เลยมาเขียนเป็นรีวิวแนะนำให้อ่านกันครับ
หนังสือ "ใช้ความสุขทำกำไร" แปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ Delivering Happiness ของ Tony Hsieh (อ่านว่า โทนี่ เซ) ซีอีโอของเว็บขายรองเท้ารายใหญ่ของโลก Zappos.com ที่ขายกิจการให้ Amazon ไปเมื่อปี 2009 ด้วยมูลค่าถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้เป็นมากกว่าประสบการณ์ทางธุรกิจ เพราะมันนำเสนอมุมมองทั้งในแง่ผู้ประกอบการ การใส่ใจลูกค้า การใส่ใจพนักงาน และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วย
GoDaddy บริษัทขายโดเมนรายใหญ่เข้าซื้อบริษัทค้นหาธุรกิจท้องถิ่น Locu ด้วยมูลค่าไม่เปิดเผย แต่ AllThingsD ระบุว่าอาจจะมีมูลค่าถึง 70 ล้านดอลลาร์
Locu เปิดให้ธุรกิจอัพเดตข้อมูลของตัวเองบนบริการต่างๆ ทั้ง Yelp, Foursquare, TripAdvisor, YP.com, และ Facebook ได้พร้อมกันโดยเสียค่าบริการ 25 ดอลลาร์ต่อเดือน ตอนนี้ Locu มีรายการธุรกิจมากกว่าหนึ่งล้านราย และมีธุรกิจที่ใช้ Locu เป็นเพจหลักถึง 30,000 ราย
ทุกวันนี้ Locu ทำงานร่วมกับ GoDaddy อยู่แล้วด้วยการให้บริการสร้างเว็บไซต์ผ่านบริการ Website Builder ของ GoDaddy
ที่มา - AllThingsD
วันนี้โครงการ AIS The Startup โครงการประกวด startup ของ AIS ก็เดินทางมาถึงจุดหมายปลายทาง ถือเป็นโครงการบ่มเพาะ startup แรกในบรรดาโอเปอเรเตอร์ทั้งสามรายของไทยที่ประกาศผลผู้ชนะเลิศ
ทีมที่ชนะการแข่งขันคือ Noonswoon ซึ่งอธิบายง่ายๆ ว่าเป็นแอพช่วยแนะนำ "คนโสด" ที่เราน่าจะสนใจไปทำความรู้จักด้วยมาให้วันละหนึ่งคน ถ้าหากว่าทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจตรงกัน แอพก็จะเชื่อมโยงให้แชทคุยกันได้ ผู้ชนะได้เงินรางวัลรวม 800,000 บาท