ภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟนในช่วงหลังชัดเจนมากแล้วว่า ตลาดมีสภาพ "ผูกขาดโดยผู้เล่นสองราย" (duopoly) นั่นคือ Android และ iOS
สถิติล่าสุดจากบริษัท Strategy Analytics ระบุว่าในไตรมาสที่สี่ของปี 2012 สองค่ายนี้กินส่วนแบ่งตลาดคู่แข่งรายอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีส่วนแบ่งรวมกันที่ 92.1% แล้ว (แบ่งเป็น Android 70.1% และ iOS 22%) เหลือที่ว่างให้ผู้เล่นรายอื่นเพียง 7.9% เท่านั้น
ถ้านับรวมทุกไตรมาสของปี 2012 ตัวเลขจะคล้ายๆ กันคือ Android 68.4% และ iOS 19.4% (รวมกัน 87.8%)
ยอดขายสมาร์ทโฟนตลอดทั้งปี 2012 ฝั่ง Android ขายได้ 479 ล้านเครื่อง, iOS 135.8 ล้านเครื่อง, รายอื่นๆ 85.3 ล้านเครื่อง รวมตลอดปีโลกเรามีสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 700.1 ล้านเครื่อง
ข่าวนี้เป็นการประเมินของบริษัทวิจัยตลาด Strategy Analytics
Neil Mawston ผู้อำนวยการของ Strategy Analytics ประเมินว่าปี 2013 ส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกของซัมซุง (อันดับหนึ่ง) จะถ่างออกจากแอปเปิล (อันดับสอง) อีกเล็กน้อย โดยคาดว่าซัมซุงจะขายสมาร์ทโฟนตลอดปีได้ 290 ล้านเครื่อง (33% ของตลาด) ส่วนแอปเปิลขายได้ 21%
ตัวเลขของปี 2012 ที่ผ่านมา ซัมซุงมีส่วนแบ่งตลาด 31% และแอปเปิล 21% อธิบายง่ายๆ ว่าสองบริษัทนี้จะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นทั้งคู่ แต่ซัมซุงจะเพิ่มขึ้นด้วยอัตรามากกว่าแอปเปิลเล็กน้อย
Strategy Analytics เผยยอดขายส่งแท็บเล็ตทั่วโลกประจำไตรมาสที่สองของปี 2012 สูงถึง 24.9 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 67% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ผู้ชนะอย่างแท้จริงของงานนี้คือแอปเปิล ที่ขายแท็บเล็ตได้ถึง 17 ล้านเครื่องหรือ 68.3% ของตลาด
อันดับสองเป็นของ Android ที่ 29.3% หรือ 7.3 ล้านเครื่อง ตัวเลขส่วนแบ่งคงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อนแต่ยอดขายเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ทาง Strategy Analytics บอกว่าปัจจัยที่ Android ยังเจาะตลาดแอปเปิลไม่เข้าเป็นเพราะการออกแบบฮาร์ดแวร์ยังไม่โดดเด่น ไม่มีรุ่น 3G ให้เลือกเสมอไป และจำนวนบริการ-แอพสำหรับแท็บเล็ตยังมีไม่เยอะเท่าที่ควร
ในขณะที่ผลประกอบการ Nokia ยังแย่และทำยอดขายมือถือในสหรัฐได้น้อยกว่าเดิม บริษัทวิจัยตลาด Strategy Analytics กลับมองว่า Nokia กำลังไปได้ดีกับการเริ่มขายสมาร์ทโฟน Lumia
Strategy Analytics รายงานว่า Nokia สามารถส่ง Lumia ไปยังร้านค้าได้ถึง 6.9 ล้านเครื่องใน 3 ไตรมาสแรกที่เริ่มวางขาย ซึ่งถือว่าทำได้ดีกว่า iPhone generation 1 ในปี 2007 และ Samsung ตระกูล Android ในปี 2009 โดยมียอดส่งใน 3 ไตรมาสแรก 5.4 ล้านเครื่อง และ 1.3 ล้านเครื่องตามลำดับ (ผมขอแก้ยอดส่งของ iPhone ให้ถูกต้องโดยยึดตาม BGR นะครับ ส่วนกราฟเปรียบเทียบเดิมดูได้จากที่มา)
ปี 2011 ที่ผ่านมานั้นนับเป็นปีแรกที่วงการสมาร์ทโฟนได้ใช้ชิปแบบดูอัลคอร์กันอย่างกว้างขวาง ล่าสุดผลบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Strategy Analytics ได้ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขของชิปดูอัลคอร์ว่าปีที่ผ่านมามีการใช้ชิปดูอัลคอร์เป็นสัดส่วนเทียบกับทั้งหมดแล้วอยู่ที่ 20% โดยมีซัมซุงเป็นแชมป์ผู้ผลิตชิปดูอัลคอร์ที่กวาดไปถึง 60% จากจำนวนชิปดูอัลคอร์ทั้งหมด
Strategy Analytics เผยว่าผู้ผลิตรายอื่นอย่าง NVIDIA, Qualcomm และ Texus Instruments ต่างก็พยายามแข่งขันกับซัมซุง โดยมีเจ้าที่ทำได้ดีที่สุดคือ Qualcomm ที่กินไปได้ 16% จากความได้เปรียบที่มีชิปบางตัวรองรับ LTE แล้ว แม้แต่สมาร์ทโฟนซัมซุงบางรุ่นที่ใช้ LTE ยังต้องเปลี่ยนมาใช้ชิปจาก Qualcomm เลย
บริษัท Strategy Analytics เผยแพร่ผลสำรวจความเห็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนในสหรัฐ โดยให้ผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนอยู่แล้วเลือกมือถือต้นแบบรุ่นที่ต้องการ ผลปรากฏว่า
Strategy Analytics ให้เหตุผลว่าการท่องเว็บบนมือถือ วิดีโอ และเกม ทำให้ผู้บริโภคต้องการมือถือจอใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นการบ้านของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่จะสร้างมือถือจอใหญ่ แต่เครื่องไม่ใหญ่และหนักจนเกินไป
บริษัทวิจัย Strategy Analytics ประเมินยอดขายของมือถือ Windows Phone ในไตรมาสที่สี่ของปี 2011 และพบว่าโนเกียกลายเป็นแชมป์แห่งโลก Windows Phone ไปเรียบร้อยแล้ว
ตัวเลขประเมินยอดขาย Windows Phone ในไตรมาสที่สี่อยู่ที่ 2.7 ล้านเครื่อง ในจำนวนนี้เป็นเครื่องของโนเกีย 9 แสนเครื่องหรือ 33% ทำให้โนเกียแซง HTC ขึ้นมาเป็นเจ้าแห่ง Windows Phone ในไตรมาสแรกที่วางขายผลิตภัณฑ์
Strategy Analytics ประเมินว่า Lumia 800 ทำยอดขายค่อนข้างดีในยุโรปและเอเชียบางประเทศ ถึงแม้เส้นทางการกลับมายิ่งใหญ่ของโนเกียจะยังอีกยาวไกล แต่ก้าวแรกที่ออกเดินก็ประสบความสำเร็จไม่น้อย
Strategy Analytics ยังบอกอีกว่าเริ่มมีสัญญาณอันตรายต่อ HTC เพราะโดนซัมซุงแซงในตลาด Android และโนเกียแซงในตลาด Windows Phone
บริษัทวิจัย Strategy Analytics เผยว่าตัวเลขยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาสที่ 4 แอปเปิลแซงซัมซุงและกลับขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งอีกครั้ง หลังเคยเป็นแชมป์ในไตรมาสที่ 2 แล้วถูกซัมซุงแซงไปใน
บริษัทวิจัย Strategy Analytics ประเมินจำนวนมือถือที่รองรับเทคโนโลยี HTML5 ว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มจาก 336 ล้านเครื่องในปีนี้ ไปเป็น 1 พันล้านเครื่องในปี 2013
ปัจจัยหนุนก็มีจากกระแสสมาร์ทโฟนที่เติบโตมาก และผู้ผลิตแอพ-เนื้อหาต่างๆ ต้องการโซลูชันที่ทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนว่าจะเหลือเพียง HTML5 เพียงอย่างเดียวแล้ว
อย่างไรก็ตาม Strategy Analytics ก็ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยี HTML5 ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ ในแง่ของฟีเจอร์ยังสู้กับแอพแบบ native ไม่ได้ และต้องใช้เวลาอีกหลายปีว่าสเปกจะนิ่งและ HTML5 จะกลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญของอุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ
บริษัทวิจัย Strategy Analytics ออกรายงานฉบับใหม่ ประเมินว่ายอดขายสมาร์ทโฟนในประเทศจีน เฉพาะไตรมาสที่สามของปี 2011 อยู่ที่ 23.9 ล้านเครื่อง แซงหน้าสหรัฐอเมริกา 23.3 ล้านเครื่องไปเรียบร้อยแล้ว
ปัจจัยสำคัญย่อมมาจากประชากรจีนที่เยอะกว่าสหรัฐมาก และตลาดโทรคมนาคมในประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าเรานับมือถือทุกชนิด (ไม่ใช่เฉพาะสมาร์ทโฟน) จีนน่าจะมีคนใช้มือถือแตะ 1 พันล้านคนในเดือนพฤษภาคม 2012
ผู้ขายสมาร์ทโฟนรายใหญ่ในจีนคือโนเกีย (6.8 ล้านเครื่องในไตรมาสที่สาม) และซัมซุง (4.2 ล้านเครื่อง) ซึ่งทั้งสองค่ายมีส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนรวมกัน 46.1%
สำนักวิจัย Strategy Analytics ประเมินว่าไตรมาสที่สามของปี 2011 ยอดขายสมาร์ทโฟนของซัมซุงแซงแอปเปิลขึ้นมาเป็นหมายเลขหนึ่งแล้ว
เดิมทีแชมป์สมาร์ทโฟนโลกเป็นของโนเกียมายาวนาน แต่ระยะหลังๆ เมื่อโนเกียเริ่มแผ่วลง ในไตรมาสที่สองของปีนี้ ก็ถูกแอปเปิลและซัมซุงแซงขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งและสองตามลำดับ (แอปเปิลนำซัมซุงอยู่นิดๆ ในไตรมาสก่อน)
ส่วนไตรมาสล่าสุดนี้ Strategy Analytics ประเมินว่าซัมซุงขายสมาร์ทโฟนได้ 27.8 ล้านเครื่อง (23.8% ของตลาด) ส่วนแอปเปิลขายได้ 17.1 ล้านเครื่อง (14.6%) อันดับสามเป็นของโนเกียที่ 14.4% (ในข่าวไม่ระบุจำนวน)
บริษัทวิจัยตลาด Strategy Analytics รายงานส่วนแบ่งตลาดมือถือญี่ปุ่นประจำไตรมาสแรกของปี 2011 ระบุว่า Samsung Galaxy S รุ่นแรกสามารถเอาชนะ iPhone ได้ (ไม่บอกว่าชนะที่เท่าไร รายงานฉบับเต็มต้องเสียเงินครับ)
ตอนนี้ที่ญี่ปุ่น Android ได้รับความนิยมมาก เหตุผลสำคัญคือ NTT DoCoMo โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของญี่ปุ่นลงมาผลักดันเอง และมือถือที่ได้อานิสงส์ไปเต็มๆ ก็คือ Galaxy S นั่นเอง ตอนนี้ซัมซุงกลายเป็นผู้ขาย Android รายใหญ่ของญี่ปุ่น ตามมาด้วยชาร์ปเป็นอันดับสอง
ผลจาก Galaxy S ทำให้ซัมซุงยังติดอันดับ 4 ผู้ขายมือถือในญี่ปุ่นแล้ว (3 อันดับแรกไม่มีข้อมูลครับ) มากกว่าแบรนด์ท้องถิ่นอย่าง NEC, Casio, Kyocera แล้ว