ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ปี 2562 มีรายได้รวม 36,735 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2561 EBITDA 10,303 ล้านบาท (กำไรก่อนดอกเบี้ย-ภาษี-ค่าเสื่อมราคา-ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย) และมีกำไรสุทธิ 2,857 ล้านบาท
ในไตรมาสนี้มีรายการสำคัญคือ การขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวม DIF และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปกติ ส่วนใหญ่เป็นการด้อยค่าของสินทรัพย์โครงข่ายเทคโนโลยีเก่า ซึ่งทรูบอกว่าหากไม่รวมรายการเหล่านี้ ไตรมาสนี้จะขาดทุนราว 500 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานแยกตามกลุ่มธุรกิจของทรู เป็นดังนี้
ตลาดเน็ตมือถือโรมมิ่งในบ้านเรา เคยเปลี่ยนจากการเปิดแพ็กเกจโรมมิ่งที่ราคาค่อนข้างแพง กลายเป็น "ซิมท่องเที่ยวพร้อมใช้" ในราคาที่ถูกลงมาก (เริ่มเปิดเกมโดย AIS Sim2Fly แต่ภายหลังก็มีกันทุกค่าย) แต่ข้อจำกัดของการใช้ซิมแบบนี้ คือผู้ใช้อาจมีความลำบากในการหาซื้อซิมอยู่บ้าง
ล่าสุดค่าย TrueMove H ออกมาเปิดเกมแพ็กเกจเน็ตโรมมิ่งราคาถูก โดยไม่ต้องซื้อซิมใหม่แล้ว ลูกค้า True สามารถกดซื้อแพ็กเกจเน็ตจากมือถือของตัวเองได้เลย ซื้อเก็บไว้ตั้งแต่ตอนอยู่ไทยได้ และเมื่อเดินทางถึงประเทศปลายทางแล้วสามารถกดโค้ดเพื่อเริ่มเปิดใช้แพ็กเกจอีกครั้ง
แพ็กเกจที่เปิดตัวมามีให้เลือก 2 แบบ โดยมีปริมาณข้อมูลและราคาเท่ากับ Travel Sim ทุกประการ
กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ปี 2562 รายได้รวม 33,573 ล้านบาท ลดลง 45.1% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากไม่มีรายได้พิเศษจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน DIF หากไม่รวมรายการดังกล่าว รายได้จะลดลง 2.5% และมีกำไรสุทธิ 1,029 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานแยกตามกลุ่มธุรกิจของทรู เป็นดังนี้
ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2562 มีรายได้รวม 32,955 ล้านบาท ลดลง 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 1,494 ล้านบาท ดีกว่าปีก่อนที่ขาดทุน ปัจจัยหลักจากค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่ายที่ลดลง
ผลการดำเนินงานแยกตามกลุ่มธุรกิจของทรู เป็นดังนี้
วันนี้เมื่อเวลา 14:48 น. ทวิตเตอร์ของ @true_online ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ของประเทศไทย ได้มีการทวีตข้อความที่คาดว่าน่าจะมาจากความผิดพลาดของระบบ โดยพบว่า หากผู้ใช้งาน Twitter ได้ทวีตข้อความ และมีการ mention ไปถึง @true_online ทาง Twitter ของ True Online ก็จะทวีตข้อความนั้น
จากข้อผิดพลาดดังกล่าว ได้สร้างความสนใจให้กับผู้ใช้ Twitter เป็นจำนวนมาก
ที่มา - ค้นพบด้วยตัวเอง ผ่าน @true_online
ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2561 รายได้รวม 33,949 ล้านบาท ลดลง 16.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 เนื่องจากไม่มีรายได้จากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน DIF และขาดทุน 3,000 ล้านบาท จากต้นทุนให้บริการ และค่าเสื่อมราคา-ค่าตัดจำหน่ายที่เพิ่มสูงขึ้น เหมือนกับสองค่ายที่รายงานผลประกอบการออกมาก่อนหน้านี้
ทรูมูฟ เอช มีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 แสนราย รวมเป็น 29.2 ล้านราย รายได้เฉพาะจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น 1.0% ส่วนทรูออนไลน์มีลูกค้ารวม 3.5 ล้านราย และสมาชิกทรูวิชั่นส์มี 2.3 ล้านราย
nPerf ผู้ให้บริการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตได้เปิดเผยรายงานการทดสอบโครงข่ายของ Fixed Braodband ในประเทศไทยประจำปี 2018 จาก 5 ผู้ให้บริการใหญ่ ปรากฎว่า AIS ได้คะแนนออกมามากที่สุด
nPerf ทดสอบไปทั้งหมด 8,237,462 ครั้งตลอดทั้งปี โดยทดสอบความเร็วของบิตเรททั้งขาอัพและดาวน์ รวมถึงความหน่วง (latency) ในการเชื่อมต่อก่อนคำนวนออกมาเป็นคะแนน โดยในขาดาวน์โหลด 3BB ทำความเร็วได้มากสุด ขณะที่ AIS และ CAT Telecom สามารถปรับปรุงโครงข่ายและทำความเร็วเพิ่มขึ้นมาได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2017 ที่ 26 Mbps และ 23 Mbps ตามลำดับ ส่วนความเร็วดาวน์โหลดเฉลี่ยอยู่ที่ 53 Mbps
กลุ่มทรู รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2561 มีกำไรสุทธิ 385 ล้านบาท และมีรายได้รวม 34,539 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว
ทรูมูฟ เอช ยังคงมีการเติบโตที่สูง รายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้น 10.1% เป็น 18,867 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดด้านรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 28.9% โดยทรูระบุว่ามาจากการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย และการทำแผนการตลาดเจาะในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอีก 6.778 แสนราย มีลูกค้ารวม 28.8 ล้านราย ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนทั้งในระบบเติมเงินและรายเดือน
เนื่องจากวันพรุ่งนี้ (9 ตุลาคม 2561) เป็นวันกำหนดยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz รอบใหม่ ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายเริ่มออกมาแถลงข้อสรุปว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ โดยล่าสุด ทรู คอร์ปอเรชั่น ก็ได้ชี้แจงผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วว่า บริษัทจะไม่เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz นี้
ทั้งนี้ ทรูไม่ได้ชี้แจงสาเหตุที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูล แบบที่เอไอเอสอธิบาย ตอนนี้ก็เหลือดีแทคว่าจะมีข้อสรุปอย่างไรออกมา
กรณีมีผู้ยื่นเข้าร่วมการประมูล 1 ราย หรือไม่มี กสทช. จะขยายระยะเวลาออกไปอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ ทำให้กำหนดวันประมูลจะเลื่อนออกไปเป็น 28 ตุลาคม 2561
ทรู ส่งหนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ ไม่เห็นด้วยกับมติของ กสทช. ที่ต้องนำส่งเงินรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 1800 MHz ในช่วงคุ้มครองผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่วันที่เข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว จำนวน 3,381.95 ล้านบาท
กลุ่มทรู รายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 รายได้รวมอยู่ที่ 61,198 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 75.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากมีรายการพิเศษขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล (DIF) ส่งผลให้กำไรสุทธิรวมเป็น 10,037 ล้านบาท ดีกว่าปีก่อนที่ขาดทุน 1,245 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากไม่รวมรายการพิเศษเหล่านี้ กลุ่มทรู ก็ยังมีกำไรอยู่ 456 ล้านบาท
ในภาพรวมธุรกิจต่าง ๆ ของกลุ่มทรู มีการเติบโตทุกส่วน ซึ่งทรูบอกว่าการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 ก็ช่วยเสริมให้รายได้รวมเพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตามที่ กสทช. จะจัดการประมูลคลื่น 900 และ 1800 MHz ในวันที่ 18-19 สิงหาคมนี้ ล่าสุด ทรูออกหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วว่า จะไม่เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้
ตามหนังสือชี้แจงของทรู ไม่ได้ระบุสาเหตุที่ชัดเจนถึงการไม่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ ซึ่งน่าสนใจว่าจะมีโอเปอเรเตอร์รายใดปฏิเสธการเข้าร่วมประมูลอีกหรือไม่
ที่มา : Settrade
ทรูมูฟ เอช เตรียมนำเครือข่ายสู่ 5G ที่ให้ความเร็วได้สูงถึงระดับกิกะบิต ประกาศลงทุน 57,000 ล้านบาทด้านโครงข่าย เตรียมความพร้อมสู่ยุค 5G
AIS ประกาศหยุดถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018 ผ่านกล่อง Playbox และแอพ AIS Play หลัง TrueVisions ยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลสั่งให้ AIS ต้องยุติการถ่ายทอดสด
การเปลี่ยนแปลงจะมีผลในเวลา 17.00 น. ของวันที่ 28 มิถุนายน 2018 (วันนี้)
ตามที่ กสทช. จะจัดการประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม 1800MHz ในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งทั้ง 3 ค่ายมือถือรายใหญ่ได้เข้ารับเอกสารการประมูลไป ล่าสุดกลุ่มทรูได้ออกมาแถลงข่าวว่าจะไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นครั้งนี้
กลุ่มทรูบอกว่าหลังจากพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ของการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz นี้ คณะผู้บริหารจึงมีมติจะไม่เข้าร่วมการประมูล ด้วยเหตุผล 3 ข้อ
True ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800MHz ล็อตใหม่ที่ กสทช. กำลังจะจัดประมูล แม้รับเอกสารเกณฑ์การประมูลไปแล้ว
เหตุผลของ True ระบุว่ามีด้วยกัน 3 ข้อคือ
กลุ่มทรู รายงานผลการดำเนินงานของไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2561 มีรายได้รวม 33,286 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว แบ่งเป็นรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์และบริการอื่น 29,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3% และรายได้จากการขาย 3,850 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% สุทธิแล้วขาดทุน 387 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดทุนที่ลดลง จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ และการควบคุมค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง
ในรายงานนี้ ทรูระบุว่าจะยังคงเสริมความแข็งแกร่งด้านการเงินและการดำเนินงาน มีการออกแคมเปญการตลาดที่ปรับให้เข้ากับพื้นที่ รวมทั้งมีนวัตกรรม อาทิ ทรูไอดี ทรูพอยท์ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ สร้างมูลค่าเพิ่มจากการเป็นลูกค้ากลุ่มทรู
นายสืบสกุล สกลสัตยาทร กรรมการผู้จัดการบริษัทแอสเซนด์คอมเมิร์ซจำกัด ซึ่งดูแล WeMall หรือ iTrueMart กล่าวถึงกรณี TrueMove H เผลอเปิดสตอเรจบน S3 ออกสาธารณะ ทำให้ข้อมูลภาพบัตรประชาชนลงทะเบียนเลขหมายหลุดจำนวนมาก โดยระบุว่าทาง iTrueMart มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี การตั้งค่าเป็นสาธารณะนั้นไม่มีส่วนทำให้ถูกล้วงข้อมูล แต่ผู้ล้วงข้อมูลตั้งใจใช้เครื่องมือพิเศษที่ชื่อ Bucket Stream ในการเข้าถึงไฟล์ดังกล่าว ซึ่งโดยรวมแล้วคือการเจาะข้อมูลด้วยเครื่องมือพิเศษถึง 3 ชั้น ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงหรือใช้งานได้ ต้องเป็นระดับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
จากเหตุการณ์ข้อมูลภาพบัตรประชาชนที่ใช้ลงทะเบียนซิมในเครือข่าย TrueMove H หลุดออกสู่สาธารณะ ที่ต่อมา True แถลงว่าเป็นข้อมูลบัตรประชาชนของลูกค้าที่ลงทะเบียนซิมกับ iTrueMart และกลายเป็นข่าวครึกโครมในช่วงนี้
ล่าสุด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวต่อสื่อถึงกรณีนี้ว่าข้อมูลที่หลุดเป็นเพียงข้อมูลหน้าบัตรประชาชนเท่านั้น แต่ "ข้อมูลเชิงลึก" ที่อยู่ในบัตรประชาชนนั้นไม่ได้หลุดออกไป เพราะมีระบบป้องกันข้อมูลส่วนตัว ไม่สามารถมีใครเข้าถึงได้นอกจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ และหากเจ้าหน้าที่คนไหนที่มีส่วนทำให้ข้อมูลของประชาชนรั่วไหลก็ต้องได้รับโทษ
ที่มา - มติชน
จากประเด็นเรื่อง ข้อมูลลูกค้าหลุดของ TrueMove H ก่อให้เกิดคำถามตามมามากมาย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความรับผิดชอบของบริษัท และบทลงโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
คำตอบคือกรณีนี้ True ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เพราะว่าประเทศไทย [ยัง] ไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั่นเองครับ เป็นเหตุผลที่น่าเศร้าแต่บ้านเมืองของเราเป็นเช่นนี้จริงๆ
บทความนี้จะลอง "สมมติ" เหตุการณ์จำลองขึ้นมาว่า ถ้าบ้านเรามีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แล้ว True จะมีความผิดอะไรบ้างจากกรณีข้อมูลหลุดครั้งนี้
จากข่าว TrueMove H เผลอเปิดสตอเรจบน S3 ออกสาธารณะ ข้อมูลภาพบัตรประชาชนลงทะเบียนเลขหมายหลุดจำนวนมาก ที่กลายเป็นข่าวใหญ่ของวันนี้
ล่าสุด Blognone ได้รับอีเมลแถลงการณ์จาก True โดยมีเนื้อหาทั้งหมดท้ายข่าว อีเมลฉบับนี้มาจาก iTruemart ซึ่งเป็นแบรนด์ย่อยของ True (ปัจจุบันกลายเป็น Wemall) โดยระบุว่าข้อมูลที่หลุดเป็นข้อมูลของลูกค้า Truemove H ที่ลงทะเบียนซิมผ่าน iTruemart เท่านั้น และไม่กระทบระบบหลักของ Truemove H
Niall Merrigan นักวิจัยด้านความปลอดภัย เฝ้าการสร้าง bucket สำหรับสตอเรจใน S3 และทดลองสแกน แล้วพบ bucket ที่มีโฟลเดอร์ชื่อว่า truemoveh/idcard
อยู่ภายใน พร้อมกับโฟลเดอร์ย่อยตามปีและเดือน
เมื่อทดสอบเปิดไฟล์ขึ้นมา จึงเห็นว่าเป็นไฟล์ภาพบัตรประชาชน โดยไฟล์ตัวอย่างขีดคร่อมไว้ว่า "ใช้เพื่อลงทะเบียนเลขหมายใหม่กับทรูมูฟเอชเท่านั้น"
โฟลเดอร์มีข้อมูลรวม 32 กิกะไบต์ เป็นของปี 2016 14.5 กิกะไบต์ ของปี 2017 8.3 กิกะไบต์ และ 2018 อีก 2.2 กิกะไบต์
ทรูเปิดให้จองบอร์ด NB-IoT ของตัวเอง โดยใช้โมดูล BC95-B8 ที่คลื่น 900MHz โดยเปิดให้จองล็อตแรกภายในวันที่ 10 เมษายนนี้
ตัวบอร์ดเป็น Arduino sheild แบบเดียวกับบอร์ดของ AIS แต่รูปร่างต่างกัน โดยเฉพาะบอร์ดของทรูนั้นมีช่องใส่ซิมแยก ขณะที่บอร์ดของ AIS นั้นเป็น eSIM บนตัวบอร์ด
จุดเด่นสำคัญของบอร์ดทรูคือมี USB UART มาให้ในตัว ทำให้สามารถใช้งานจากพีซีได้โดยตรง เพียงเสียบสาย USB เท่านั้น
บอร์ดราคา 1,150 บาท รวมค่าบริการ 1 ปีแรก เริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ เริ่มส่งมอบบอร์ดจริงเดือนพฤษภาคม
True ออกโปรโมชั่นเอาใจลูกค้า เมื่อสมัครแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตเสริมแบบ 7 วัน รับเงินคืนสูงสุด 50% หรือเทียบได้เท่ากับ 100 บาท ต่อบัญชี
กลุ่มทรู รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2560 มีรายได้รวม 40,751 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.3% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยเป็นรายได้จากการให้บริการ 24,805 ล้านบาท และรายได้จากการขาย 11,259 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 5,391 ล้านบาท จากปัจจัยรายได้ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนไม่เพิ่มขึ้นสูงตาม และยังได้ส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล (DIF)