สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Sharp ผู้ผลิตจอภาพรายใหญ่ของญี่ปุ่นที่ปัญหารุมเร้ามากในช่วงหลัง กำลังเจรจาขั้นสุดท้ายกับ Lenovo เพื่อให้ฝ่ายหลังรับช่วงซื้อโรงงานผลิตทีวี LCD ในจีน
ปัจจุบัน Sharp มีโรงงาน LCD ขนาดใหญ่ 2 แห่งคือ ที่นานกิง (เตรียมขายให้ Lenovo) และที่มาเลเซีย (อาจขายให้ Wistron จากไต้หวัน) ตอนนี้โฆษกของ Sharp ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้
Sharp กับ Lenovo เคยจับมือเป็นพันธมิตรในจีนเพื่อผลักดันทีวีแบรนด์ Aquos แต่เมื่อ Sharp อาการไม่ค่อยดี การขายโรงงานให้ Lenovo เพื่อเอาเงินสดมาถือไว้ในมืออาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ก่อนหน้านี้ Sharp เพิ่งรับเงินลงทุนบางส่วนจาก Qualcomm แลกกับหุ้นของบริษัทด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ: อัพเดตเนื้อหาใหม่ ตามความเห็นของคุณ kookai
ปีนี้เราเห็นผู้ผลิตทีวีพร้อมใจกันเปิดตัวทีวีความละเอียด 4K หรือ UHDTV แต่หลายคนคงมีคำถามว่า ถ้าซื้อทีวี 4K มาจริงๆ แล้วจะดูอะไรถึงจะคุ้มกับความละเอียดระดับนี้
Toshiba รุกเข้าสู่ตลาด ultra HDTV โดยการเปิดตัวทีวี 4K ชุด L9300 ด้วยขนาดใหญ่สุดถึง 84 นิ้ว
หน้าจอทีวีใหม่นี้แสดงผลด้วยความละเอียด 3,840 x 2,160 พิกเซล ด้วยความถี่ 240 Hz ใช้หน่วยประมวลผลของ Toshiba รุ่น CEVO 4K ทั้งแบบ quad core และ dual core
ทีวีในกลุ่ม L9300 ของ Toshiba ยังมีอีก 2 ขนาด คือ 58 นิ้ว และ 65 นิ้ว โดยเตรียมวางขายในช่วงหน้าร้อนนี้ ทั้งนี้แม้ว่ายังไม่มีการเปิดเผยราคาจำหน่ายแต่อย่างใด แต่คาดกันว่าราคาขายของรุ่น 84 นิ้วซึ่งเป็นทีวีขนาดใหญ่สุดที่เปิดตัวนี้ น่าจะอยู่ในระดับเดียวกับผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งอย่าง LG และ Sony ที่วางขายอยู่ในตอนนี้ คือราว 20,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 600,000 บาท)
กูเกิลประกาศข้อมูลผ่านบล็อก Google TV ว่ามีพันธมิตรฮาร์ดแวร์หน้าใหม่อย่างน้อย 3 ราย คือ ASUS จากไตัหวัน และ TCL กับ Hisense จากประเทศจีน
ผู้ผลิตทั้งสามรายนี้จะโชว์ฮาร์ดแวร์ Google TV ของตัวเองในเร็วๆ นี้ ส่วนพันธมิตรรายเดิมอย่าง Sony, Vizio, LG ก็เตรียมเปิดตัวฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ในงาน CES 2013 เช่นกัน
Google TV รุ่นแรกๆ ไม่ได้รับความนิยมอย่างที่กูเกิลหวัง และมีพันธมิตรบางราย เช่น Logitech และอินเทล ถอนตัวออกไป แต่ระยะหลังกูเกิลกลับไปปรับทัพมาใหม่ ซึ่งก็ดูมีความพร้อมมากกว่าเดิมเยอะ
ที่มา - Google TV
จากข่าวลือว่า อินเทลเตรียมบุกตลาดเคเบิลทีวีในฐานะ "ผู้ให้บริการ" ก็เริ่มมีข้อมูลเรื่องนี้หลุดออกมาอีกเรื่อยๆ ครับ
เว็บไซต์ GigaOm รายงานข้อมูลวงในว่าอินเทลแอบตั้งหน่วยธุรกิจชื่อ Intel Media ขึ้นมาอย่างเงียบๆ โดยแยกจากโครงสร้างบริษัทหลัก (และอาจแยกเป็นบริษัทลูกในอนาคต) ส่วนหัวหน้าของ Intel Media คือ Erik Huggers ซึ่งเคยมีผลงานด้านวิดีโอออนไลน์มาจาก BBC iPlayer
หน่วยงานนี้จ้างบุคคลภายนอกเข้ามาทำงานหรือจ้างบริษัทภายนอกแบบเอาท์ซอร์ส มากกว่าจะดึงพนักงานฝ่ายอื่นของอินเทลเข้ามาร่วมทีม และคนในอินเทลเองก็แทบไม่มีใครรู้ว่า Intel Media กำลังทำอะไรอยู่
บล็อก Samsung Tomorrow เริ่มปล่อยภาพและวิดีโอตัวอย่างของ "ทีวีรูปทรงใหม่" ที่จะเปิดตัวในงาน CES 2013
ข้อมูลในตอนนี้นอกจากภาพและวิดีโอแล้ว ยังมีแค่ประโยคว่า "an unprecedented new TV shape" ที่ระบุว่าจะใช้รูปทรงแบบใหม่ และคำว่า "gallery design" ที่บอกใบ้ว่าจะคล้ายกับกรอบภาพของงานศิลปะในแกลเลอรี่
ผลิตภัณฑ์จริงจะออกมาสมราคาคุยหรือไม่ ต้องรองาน CES เริ่มวันที่ 8 มกราคมนี้
ที่มา - [Samsung Tomorrow (1)](http://global.samsungtomorrow.com/?p=20986), [Samsung Tomorrow (2)](http://global.samsungtomorrow.com/?p=20992) via [Engadget](http://www.engadget.com/2012/12/31/samsung-new-hdtv-ces-new-form-factor/)
LG แถลงข่าวผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปโชว์ในงาน CES 2013 โดยฝั่งของทีวี (ที่ปัจจุบันเรียก Smart TV กันหมดแล้ว) มีฟีเจอร์ใหม่น่าสนใจหลายอย่าง
เว็บไซต์ TechCrunch รายงานข่าววงในว่าอินเทลใกล้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านเคเบิลทีวีของตัวเอง ซึ่งจะหมายถึงว่าอินเทลกลายเป็น "ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีเสมือน" (virtual cable TV service แบบเดียวกับ MVNO ของวงการโทรศัพท์) ด้วย
อินเทลเล็งตลาดทีวีและกล่องเซ็ตท็อปมานานแล้ว และเคยพยายามเจาะตลาดนี้ร่วมกับกูเกิลด้วย Google TV แต่ก็ล้มเหลว ล่าสุดอินเทลจึงตัดสินใจบุกตลาดนี้ด้วยตัวเอง โดยพัฒนากล่องเซ็ตท็อปและเตรียมเปิดบริการเคเบิลทีวีเสียเองเลย
ตามข่าวบอกว่าระบบเคเบิลทีวีของอินเทลจะมีทั้งเนื้อหาจากเคเบิลระบบเก่า และเนื้อหาผ่านอินเทอร์เน็ตตามสมัยนิยม โดยอินเทลจะเลือกเปิดบริการเฉพาะบางเมืองในสหรัฐเพื่อทดลองตลาดไปก่อน
ถึงแม้จะมาทีหลังแต่ดูเหมือนว่า LG เป็นผู้ผลิตทีวีที่จริงจังกับ Google TV มากที่สุดรายหนึ่ง และล่าสุดบริษัทก็เปิดตัวทีวีบนแพลตฟอร์ม Google TV สำหรับงาน CES 2013 แล้ว
ทีวีรุ่นใหม่ของ LG ใช้รหัสว่า GA7900 และ GA6400 (ยังไม่บอกว่าต่างกันอย่างไร) มีขนาดหน้าจอให้เลือกตั้งแต่ 42-47-50-55-60 นิ้ว ตัวเครื่องใช้ดีไซน์ใหม่ที่เรียกว่า CINEMA SCREEN ขอบจอเล็กลงและตัวเครื่องบางลง ในชุดมาพร้อมกับรีโมทแบบใหม่ที่เรียกว่า Magic Remote Qwerty
ตัวซอฟต์แวร์ยังอยู่บน Google TV 3.x รุ่นปัจจุบัน แต่ที่น่าสนใจคือ LG สร้างอินเทอร์เฟซของตัวเองที่เรียกว่า card UI ครอบลงไปด้วย นอกจากนี้ยังมีแอพเกมแบบสตรีมมิ่ง OnLive แถมมาให้ในชุด รายละเอียดเพิ่มเติมคงต้องรองาน CES ครับ
เว็บไซต์ The Verge อ้างแหล่งข่าววงในว่าไมโครซอฟท์กำลังพัฒนากล่องเซ็ตท็อปราคาถูก สำหรับต่อเชื่อมกับทีวีเพื่อเข้าถึงบริการความบันเทิงของ Xbox ช่วงปลายปี 2013
ตามข่าวบอกว่าไมโครซอฟท์ต้องการเน้นตลาดความบันเทิงในห้องนั่งเล่น บริการออนไลน์ของ Xbox และเกมแบบเบาๆ (casual game) มากกว่าตลาดเกมเมอร์ฮาร์ดคอร์ของ Xbox 360
ข้อมูลของฮาร์ดแวร์ตอนนี้ยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าไมโครซอฟท์จะใช้ชิปเซ็ตแบบฝังตัวที่ให้อุปกรณ์ทำงานตลอดเวลา และเปิดติดทันทีเมื่อเรียกใช้งาน
ถ้าข่าวนี้เป็นความจริง กลุ่มเป้าหมายน่าจะใกล้เคียงกับ Apple TV และ Google TV ไม่น้อยครับ
ที่มา - The Verge
เพิ่งมีข่าวว่า Xiaomi กำลังจะขายเซ็ตท็อปสำหรับทีวี ได้ไม่กี่วัน ล่าสุด Xiaomi ได้เปิดตัวเซ็ตท็อปที่ว่าอย่างเป็นทางการในชื่อ Xiaomi Box
ฟังก์ชันของ Xiaomi Box ไม่ได้ต่างกับของเจ้าที่ออกมาก่อนหน้าอย่าง Apple TV หรือ Google TV มากนัก หลักๆ คือการสตรีมหนัง และเพลงจากอุปกรณ์พกพาเข้าทีวี โดยรองรับมาตรฐานทั้ง AirPlay, DLNA และ Miracast ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p ทั้งไร้สาย และผ่านสายแลน
ส่วนของระบบปฏิบัติการ Xiaomi เลือกใช้ Android ที่ครอบด้วยอินเทอร์เฟซ MIUI และรองรับสกุลไฟล์แบบครอบจักรวาลตั้งแต่ RM/RMVB, MKV, TS, FLV, AVI, VOB, MOV, WMV, MP4 เป็นต้น
กูเกิลประกาศอัพเดต Google TV โดยมีของใหม่ 3 อย่างดังนี้
ฮาร์ดแวร์ Google TV รุ่นที่สองจะได้ฟีเจอร์เหล่านี้ทั้งหมด ส่วนฮาร์ดแวร์รุ่นแรกจะไม่ได้ใช้ Voice Search ครับ
ที่มา - Google TV Blog
บริษัท Xiaomi ผู้ผลิตมือถือชื่อดังของจีน (หลายคนอาจรู้จักรอม MIUI ที่พัฒนาโดยบริษัทนี้มากกว่าชื่อบริษัท) เตรียมขยายตลาดของตัวเองจากโทรศัพท์มือถือมาเป็นกล่องเซ็ตท็อปแบบเดียวกับ Apple TV หรือ Google TV
Lei Jun ซีอีโอของ Xiaomi ยืนยันข่าวนี้โดยโพสต์ภาพกล่องกระดาษสีน้ำตาลที่เขียนบนกล่องว่า Bingo! (คาดว่าเป็นชื่อผลิตภัณฑ์แต่ยังไม่ยืนยัน) ผ่านเว็บไซต์ Sina Weibo ของจีน โดยระบุว่าจะเริ่มขายวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้
Xiaomi เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะไม่ทำแท็บเล็ต เพราะตลาดแท็บเล็ตต้องแข่งกับแอปเปิลที่เข้มแข็งมาก การเลี่ยงมาทำผลิตภัณฑ์เซ็ตท็อปสำหรับต่อทีวี (คาดว่าใช้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจาก MIUI ด้วยเช่นกัน) จึงน่าจะเป็นโอกาสตลาดที่ดีกว่าสำหรับ Xiaomi
กูเกิลประกาศนำแพลตฟอร์ม Google TV บุกไปยังเกาหลีใต้แล้ว โดยจับมือกับบริการทีวีผ่านเน็ต (IPTV) ของ LG ที่ชื่อ U+ (หรือ Uplus) เพิ่มฟีเจอร์ของ Google TV ลงในกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของ LG ด้วย
ต้องย้ำว่านี่ไม่ใช่ "เครื่องทีวีที่ผลิตโดย LG" นะครับ แต่กรณีนี้ LG เป็นผู้ให้บริการเคเบิลทีวี (แบบผ่าน IP ในเกาหลีใต้) และมีกล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของตัวเอง ซึ่ง LG ก็อัพเดตซอฟต์แวร์และเพิ่มฟีเจอร์ของ Google TV เข้ามา
ที่ไม่ธรรมดาก็คือ LG U+ มีนักร้องดัง PSY เจ้าของเพลงฮิต "Gangnam Style" เป็นพรีเซนเตอร์อยู่แล้ว งานนี้เราเลยได้เห็น PSY มาโฆษณา Google TV ให้ด้วยนั่นเอง
กูเกิลเผลอโพสต์วิดีโอแนะนำความสามารถของ Google TV รุ่นที่สามขึ้น YouTube แล้วเอาลงในเวลาต่อมา แต่ก็มีคนตามไปดูกันทันและได้ข้อมูลมาดังนี้
ระยะหลังๆ กูเกิลเริ่มขยายตลาดของ Google TV มากขึ้น โดยเริ่มบุกไปยังยุโรปตะวันตก รวมถึงบราซิลและเม็กซิโกด้วย
ยุทธศาสตร์ Steam ทุกหนทุกแห่งของ Valve ยังเดินหน้าต่อไป ล่าสุดเปิดตัว Steam Big Picture โหมดจอใหญ่สำหรับเล่นบนทีวีแล้ว
Steam Big Picture เป็นโหมดหนึ่งของ Steam รุ่นปกติและต้องใช้พีซีในการรัน แต่เมื่อต่อมันเข้ากับจอทีวีขนาดใหญ่และเข้าโหมด Big Picture แล้ว การทำงานของมันจะคล้ายกับเกมคอนโซลขึ้นมาก การควบคุมถูกปรับแต่งมาให้เหมาะกับจอยเกม (ยังใช้กับเมาส์และคีย์บอร์ดได้ถ้าต้องการ) และยังมีฟีเจอร์เด็ดอีก 2 อย่าง คือ เว็บเบราว์เซอร์ที่ควบคุมด้วยจอยเกม และวิธีการป้อนข้อความด้วยจอยเกม 8 ทิศทาง (ดูวิดีโอประกอบ)
Steam Big Picture จะช่วยให้การเล่นเกมพีซีบนจอทีวีทำได้ง่ายขึ้นมาก และถ้าสุดท้ายมันกลายเป็นพื้นฐานของเครื่องเกมคอนโซลจาก Valve เราคงไม่แปลกใจกันเท่าไรนัก
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่าแอปเปิลกับคุยกับบริษัทเคเบิลทีวีรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาหลายราย เพื่อยื่นข้อเสนอให้บริษัทเหล่านี้นำกล่อง Apple TV ไปใช้แทนกล่องเซ็ตท็อปแบบเดิม
แหล่งข่าวของ WSJ ระบุว่าแอปเปิลยังไม่สามารถเจรจาให้บริษัทเคเบิลเข้าร่วมได้ ซึ่งเหตุผลน่าจะมาจากยอดขาย Apple TV ที่ไม่ร้อนแรงทำให้บริษัทเคเบิลเหล่านี้ไม่รีบร้อนเจรจา และอุตสาหกรรมเคเบิลทีวีเองก็พยายามกีดกันไม่ให้แอปเปิล (รวมถึงบริษัทอื่นๆ ลักษณะเดียวกัน) เข้ามาแย่งตลาดของตัวเองได้
สมมติว่าแอปเปิลเจรจาสำเร็จ เราอาจเห็นกล่อง Apple TV ที่ทำงานได้สองโหมด คือรับได้ทั้งเคเบิลทีวีมาตรฐาน และดาวน์โหลดรายการทีวีมาดูเป็นตอนๆ แบบที่ Apple TV ทำได้ในทุกวันนี้
ก้าวเข้าสู่ยุคของโทรทัศน์ความละเอียด 4K อย่างเป็นทางการ หลังจาก LG เปิดตัวโทรทัศน์รุ่นใหม่รหัส 84LM9600 ที่เคยโชว์ในงาน CES 2012 ด้วยขนาดมหึมาถึง 84" ที่ความละเอียด 3840x2160 พิกเซล หรือ 4K ตามที่ ITU เคยกำหนดมาตรฐาน UHDTV เอาไว้
นอกจากความละเอียดสูงลิบแล้ว จุดขายอื่นก็มาครบ อย่างรองรับการแสดงผลสามมิติ (แบบใช้แว่นตา) ที่ 1080p และมีฟังก์ชัน Smart TV
LG เปิดให้จองโทรทัศน์รุ่นนี้ได้ 84 เครื่องสำหรับเดือนแรก ด้วยค่าตัว 25 ล้านวอน (เกือบเจ็ดแสนบาท) และฟังก์ชันบางอย่างเช่น ลำโพงสามมิติ จะมีเฉพาะรุ่นขายในเกาหลีใต้เท่านั้นด้วย
สหภาพโทรคมนาคมสากล (ITU) ฝ่ายการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ (ITU-R) ออกมาตรฐาน "ทีวีความละเอียดสูงมาก" (Ultra High Definition Television หรือ UHDTV) ที่เหนือกว่า HDTV ในปัจจุบันแล้ว
มาตรฐาน UHDTV รุ่นแรกแบ่งความละเอียดออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
ลำดับต่อไปทางผู้บริหารของ ITU จะต้องเซ็นรับรองมาตรฐานนี้ (ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีใครเห็นรายละเอียด เลยยังไม่มีข้อมูลทางเทคนิคอื่นๆ เช่น ความถี่หรือปริมาณสีที่ใช้) แต่ตอนนี้เราคงพอรู้กันบ้างแล้วว่าทีวีในอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะนำประเด็นไหนมาโฆษณา
นักวิจัยตลาด Gene Munster จากบริษัท Piper Jaffray ได้คาดการณ์ว่าทีวีของแอปเปิล (หรือที่หลายคนเรียกมันแบบไม่เป็นทางการว่า iTV) จะเข้าสู่ตลาดราวเดือนธันวาคมนี้ โดยจะมีหน้าจอให้เลือกระหว่าง 42 ถึง 55 นิ้ว ด้วยราคาที่สูงถึง 1,500 ถึง 2,000 ดอลลาร์ (ราว 46,500 ถึง 62,000 บาท) ถึงแม้เมื่อเทียบกับทีวีที่วางขายในสหรัฐฯ ที่มีราคาระหว่าง 700 ถึง 1,400 ดอลลาร์ (ราว 21,700 ถึง 43,400 บาท) แล้วทำให้ iTV ดูแพงมากทีเดียว แต่ Munster เชื่อว่าแอปเปิลจะสามารถมีส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 10 ได้ใน 1-3 ปีนับจากการวางขาย iTV
จากข่าวลือ แอปเปิลสนใจจะซื้อบริษัทผลิตทีวีสัญชาติเยอรมัน "Loewe" ทางโฆษกของบริษัทออกมาปฏิเสธข่าวนี้แบบสั้นๆ ว่าไม่เป็นความจริงอย่างแน่นอน
Loewe เป็นบริษัททีวีจอแบนจากเยอรมนีที่เน้นดีไซน์ เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 1923 ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 1,000 คน และมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในปัจจุบันคือ Sharp ถืออยู่ประมาณ 30%
อย่างไรก็ตาม Loewe เองก็กิจการไม่ดีนักในช่วงสองปีหลัง โดยขาดทุน 7 ล้านยูโรในปี 2010 และ 11 ล้านยูโรในปี 2011
น่าจะเป็นครั้งแรกที่มีคนยืนยันตัวตนของ "iTV" ชื่อไม่เป็นทางการที่พวกเราเรียกกันเองสำหรับ "ทีวีของแอปเปิล" ที่เป็นข่าวลือมาอยู่เรื่อยๆ
Terry Gou ซีอีโอของ Foxconn โรงงานผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก และคู่สัญญาสำคัญของแอปเปิล ไปแถลงข่าวเปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่เซี่ยงไฮ้ เขาพูดถึง iTV สั้นๆ ว่าบริษัทกำลังเตรียมตัวเพื่อการผลิต iTV อยู่ แต่ยังไม่ได้เริ่มพัฒนาหรือเดินหน้าผลิตสินค้าจริงๆ ในตอนนี้ การเตรียมตัวสำคัญประการหนึ่งของ Foxconn คือเซ็นสัญญาร่วมทุนกับ Sharp ที่เชี่ยวชาญการผลิตจอภาพ
ตามข่าวบอกว่า iTV จะใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียม และมีฟีเจอร์อย่าง Siri กับ FaceTime
จากที่ประกาศข่าวในงาน CES 2012 ในที่สุด LG ก็จะวางขาย Google TV รุ่นแรกของตัวเองในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคมที่จะถึงนี้
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ยังเป็น Google TV รุ่นสองที่เปิดตัวมานานแล้ว จุดที่น่าสนใจอยู่ที่ฮาร์ดแวร์จะใช้ซีพียู LG L9 ของบริษัทเอง ซึ่งมีแผนจะขยายไปยังสมาร์ททีวีรุ่นอื่นๆ ของบริษัทด้วย
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อต้นปีที่งาน CES 2012 เรามีข่าว Lenovo SmartTV K91 ทีวีตัวแรกที่ใช้ Android 4.0 วันนี้มันเริ่มเปิดให้จองแล้ว เพียงแต่ยังทำตลาดเฉพาะประเทศจีนเท่านั้น
ทิศทางที่น่าสนใจของโนเกียในการสร้างแพลตฟอร์มสื่อดิจิทัลบนมือถือครับ ล่าสุดโนเกียประกาศว่าจะทำแอพดูทีวีในชื่อ Nokia TV สำหรับมือถือตระกูล Lumia แล้ว แต่ข่าวร้ายคือมันจะยังใช้ได้เฉพาะในฟินแลนด์เท่านั้น
แอพตัวนี้คงไม่ต่างอะไรจากแอพดูทีวีผ่านเน็ตอื่นๆ เพียงแต่โนเกียไปเซ็นสัญญากับสถานีทีวีท้องถิ่นของฟินแลนด์หลายราย เพื่อนำรายการมาฉายบน Lumia นั่นเอง (ซึ่งเราก็ได้แต่หวังว่าโนเกียจะขยายตลาดออกมานอกฟินแลนด์ต่อไป)
Nokia TV ถือเป็นแอพด้านมัลติมีเดียตัวที่สามของโนเกีย ก่อนหน้านี้มี Nokia Music และ Nokia Reader ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของโนเกียที่จะสร้างความแตกต่างให้กับ Windows Phone ของตัวเอง