กูเกิลออกตัวเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง Looker แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลในเครือ Google Cloud กับ Power BI ของไมโครซอฟท์ ช่วยให้ดึงข้อมูลจาก Looker ไปแสดง visualization บน Power BI ได้ด้วย
ตัว Looker เองนั้นมีหน้าที่นำข้อมูลจากแหล่ง (data source) มาวิเคราะห์ก่อนชั้นแรก เรียกว่าเป็น semantic layer ก่อนนำไปจัดแสดงเป็น visualization อีกที ซึ่งรองรับหลายช่องทาง ได้แก่ Looker Studio ของตัวเอง, Google Sheets ผ่าน Connected Sheets และ Power BI ซึ่งถือเป็นช่องทางที่สาม การเชื่อมต่อนี้ย่อมทำให้นักวิเคราะห์ข้อมูลที่คุ้นกับ Power BI Desktop ทำงานสะดวกขึ้น
Atlassian บริษัทซอฟต์แวร์ด้านการจัดการโครงการไอที ซึ่งเป็นเจ้าของ Jira และ Trello ประกาศซื้อกิจการ Chartio แพลตฟอร์มด้าน Data Visualization โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าของดีลดังกล่าว
Atlassian บอกว่าจะนำเครื่องมือในการนำเสนอข้อมูลของ Chartio มาใส่ในผลิตภัณฑ์ทุกตัวของ Atlassian โดยเริ่มที่กลุ่ม Jira ก่อน
Chartio มีผู้ใช้งานราว 2.8 แสนคน มีการสร้างกราฟข้อมูลแล้วมากกว่า 10.5 ล้านกราฟ โดยบริการ Chartio จะปิดตัวตั้งแต่ 1 มีนาคม 2021 เป็นต้นไป ซึ่ง Chartio ได้เพิ่มหน้าคำแนะนำสำหรับการย้ายข้อมูลของผู้ใช้งานเดิม
Google ได้ประกาศเปิด Data Studio ซึ่งเป็นเครื่องมือด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและทำ visualization ให้ใช้งานกว่า 180 ประเทศทั่วโลกแล้ว จากเดิมที่จำกัดเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น
Data Studio นั้นเปิดให้ใช้งานครั้งแรกในชื่อ Data Studio 360 โดยมาในชุด Google Analytics 360 Suite และตอนหลังก็ได้แยกเวอร์ชันฟรีออกมาให้ใช้งาน ในชื่อ Data Studio (ไม่มี 360) และจำกัดความสามารถไว้
ความสามารถหลักของ Data Studio คือการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจาก AdWords, BigQuery, Sheets, YouTube ฯลฯ มาทำการวิเคราะห์โดยการใส่สูตรต่าง ๆ และทำการแสดงผลได้อย่างสวยงาม
กูเกิลประกาศเปิดซอร์สโค้ดโครงการ Embedding Projector เว็บแอปพลิเคชั่นสำหรับการแสดงและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อน และต้องแสดงภาพเป็นมิติ
การแสดงข้อมูลเช่นนี้ช่วยให้นักวิจัยเข้าใจได้ง่ายขึ้น ว่าระบบ machine learning กำลังมองข้อมูลเป็นกลุ่มอย่างไร โดยตัวซอฟต์แวร์จะแสดงภาพของข้อมูลด้วยกระบวนการ embedding
ตัวโครงการมีเว็บให้ลองดูกระบวนการทำงานได้
ที่มา - Google Research
คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม สร้างห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โดยใช้คอมพิวเตอร์เกมมิ่ง Acer Predator G3 ถึง 80 เครื่อง เพื่อให้นักศึกษาฝึกฝนการใช้งาน ตอบรับนโยบาย Thailand 4.0 โดยครอบคลุม 4 สาขาวิชาคือ ดิจิทัลอาร์ต ออกแบบกราฟิก แอนิเมชั่น-วิชวลเอฟเฟกต์ และ ทำเกม ถือเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียที่มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เกมมิ่งจาก Acer
เมื่อต้นปี กูเกิลเพิ่งประกาศยกเครื่อง Google Analytics ครั้งใหญ่เป็น Google Analytics 360 Suite โดยซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งในชุดคือ Data Studio 360 สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลและทำ visualization จากข้อมูล
วันนี้กูเกิลเปิดให้ใช้งาน Data Studio รุ่นฟรีแล้ว (ชื่อ Google Data Studio เฉยๆ ไม่มี 360) ข้อจำกัดของรุ่นฟรีคือสร้างรายงานได้สูงสุดแค่ 5 ชิ้น แต่แก้ไขและแชร์ต่อได้ไม่จำกัด รูปแบบการใช้งานเป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้ว (เช่น จาก Google Analytics กับ AdWords) เข้ามาอยู่ด้วยกัน ใส่สูตรวิเคราะห์ และแสดงผลในรูป dashboard ที่มีกราฟหรือ visualization ต่างๆ ที่สวยงาม
ไมโครซอฟท์ออกซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล Power BI มาตั้งแต่ปี 2014 และในงาน Build 2016 มันก็ก้าวไปอีกขั้น โดยไมโครซอฟท์เปิดให้นักพัฒนาแอพสามารถ "ฝัง" บริการวิเคราะห์ข้อมูลของ Power BI ลงในแอพของตัวเองได้ โดยไม่ต้องมาเขียนโค้ดส่วนการควบคุมและ visualization เอง
บริการตัวนี้เรียกว่า Power BI Embedded ถือเป็นบริการตัวหนึ่งในชุด Azure โดยผู้สร้างรายงานไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเป็น แต่สามารถใช้โปรแกรม Power BI Desktop รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ก่อน แล้วนำมาฝังผ่านแอพได้เลย
ค่าใช้งานของ Power BI Embedded คิดตามการใช้งานเหมือน Azure โดยนับตามจำนวนการเรนเดอร์ คิดราคา 2.5 ดอลลาร์ต่อการเรนเดอร์ 1 พันครั้ง โดยมีโควต้าให้ใช้ฟรี 1 พันเรนเดอร์ต่อเดือน ตอนนี้ยังเปิดให้ทดสอบฟรีทุกกรณีจนถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2016
ทุกวันนี้หากบริษัทใดต้องการหาบริษัทเชี่ยวชาญด้านการทำตลาด (marketing) บนโลกออนไลน์อาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเพราะมีหลายเจ้า แต่มาตอนนี้อาจจะเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น เมื่อ Accel Partners บริษัทด้านการลงทุนของสหรัฐฯ ออก Growthverse 2.0 ซึ่งเป็นเครื่องมือในการช่วยหาข้อมูลบริษัทด้านการทำตลาดบนโลกออนไลน์แบบเห็นภาพ (visualization) สำหรับบริษัทสตาร์ทอัพทั้งหลาย
ตัวแทนจาก Accel ระบุว่า เครื่องมือนี้นอกจากจะทำให้สภาพการณ์โดยรวม (ecosystem) ของบริษัทด้านนี้แล้ว ยังทำให้หาข้อมูลในการติดต่อได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ช่วยย่นระยะเวลาสำหรับบริษัทหรือสตาร์ทอัพทั้งหลายที่ต้องการทำโฆษณาบนสื่อออนไลน์ได้ง่ายขึ้น
ไปลองเล่นกันได้จากที่นี่ครับ
จากที่รัฐบาลสหรัฐโพสต์งบประมาณประจำปี 2016 ลง GitHub ในรูปแบบของไฟล์ CSV เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนนำข้อมูลงบประมาณชุดนี้ไปวิเคราะห์ต่อตามหลัก open data
ไมโครซอฟท์ก็เป็นเสือปืนไว นำไฟล์งบประมาณมาพล็อตกราฟด้วย Power Map เครื่องมือช่วยวาด visualization บน Microsoft Excel ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี
กราฟ 3 มิติที่ไมโครซอฟท์พล็อตให้ดู แสดงให้เห็นงบประมาณของกระทรวงต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี (เริ่มนับจากปี 1976) โดยรายจ่ายก้อนใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐคืองบประมาณด้านประกันสังคม (social security) ด้านการคลัง, สาธารณสุข และการทหาร
ข่าวนี้น่าจะมีประโยชน์กับนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาเรื่องของโครงสร้างข้อมูล, อัลกอริทึม, กราฟ โดยทางมหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ได้จัดทำเว็บไซต์สำหรับจำลองการทำงานของอัลกอริทึมในคอมพิวเตอร์อาทิ การจัดเรียงข้อมูล การค้นหาข้อมูล โดยสามารถจำลองการทำงานได้ทีละขั้นตอนคล้าย ๆ กับตอนดีบั้กโปรแกรม เอาเป็นว่าลองเข้าไปดูในเว็บไซต์ของ VisuAlgo เลยดีกว่าครับ
สำหรับคนที่จบมานานแล้วลองเข้าไปดูก็เพลิน ๆ ดีเหมือนกันครับ :)
Curtis Wong ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแอพแผนที่โลกและอวกาศ WorldWide Telescope ภายใต้ไมโครซอฟท์ รีเสิร์ช และ GeoFlow เครื่องมือพล็อตข้อมูลจาก Excel บนแผนที่โลก 3 มิติ ได้นำเสนอโครงการ Holograph แพลตฟอร์มนำเสนอข้อมูลแบบตายตัวหรือแบบมีพลวัต (dynamic) ใน 3 มิติให้อยู่เหนือหรืออยู่ใต้แนวระนาบของหน้าจอ 2 มิติ
Google Research หน่วยงานด้านวิจัยของกูเกิล ดึงข้อมูลเพลงทั้งหมดในฐานข้อมูล Google Play Music นับตั้งแต่อดีต (1950) มาจนถึงปัจจุบัน แยกหมวดหมู่ตามแนวเพลง (genre) แล้ววาดออกมาเป็นกราฟให้เห็นกันชัดๆ ว่าในแต่ละยุค เพลงแนวใดเป็นเพลงยอดฮิตของยุคสมัยนั้นๆ
เริ่มต้นในยุค 50s เป็นยุคของ Jazz แต่ในยุค 60s เป็นต้นมากลายเป็น Pop/Rock ครองเมือง, ดนตรีแนว alternative/indie เริ่มเติบโตในยุค 70s ส่วนเพลงแนว hip-hop/rap ก็เพิ่งถือกำเนิดขึ้นในยุค 80s, dance/electronic เกิดขึ้นในยุค 90s เป็นต้น
วันขึ้นปีใหม่เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่มีการเฉลิมฉลองกันทั่วโลก แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าปีใหม่ของแต่ละประเทศนั้นไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน และแต่ละชาติก็มีคำว่าสวัสดีปีใหม่ในภาษาของตัวเอง
เมื่อวันปีใหม่ 2557 ที่ผ่านมา ดร.กฤษฎิ์ วงศ์ศุภสวัสดิ์ (@kristw) นักวิจัยไทยที่ Twitter จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลทวีตทั้งหมดในคืนปีใหม่ แล้วนับคำว่าสวัสดีปีใหม่ในภาษาต่างๆ ทั่วโลก เพื่อสร้างแผนภาพข้อมูล (visualization) นี้ขึ้นมา
สิ่งที่สังเกตได้
Foursquare ออกเครื่องมือชื่อ Time Machine นำประวัติการเช็คอินของเราในอดีตทั้งหมดมาทำ visualization ให้เห็นว่าเรานิยมเช็คอินที่ไหนบ้าง เดินทางไกลที่สุดแค่ไหน สถานที่ใดนิยมไปตอนเช้า-บ่าย-เย็น เป็นต้น
นอกจากนี้ Time Machine ยังแนะนำสถานที่ที่เรา "ควรจะไป" โดยอิงจากประวัติการเช็คอินด้วย
ที่มา - Foursquare Blog
ไมโครซอฟท์ออก GeoFlow เครื่องมือเสริมของ Excel 2013 ที่ช่วยพล็อตข้อมูลลงแผนที่โลก 3 มิติได้ในตัว
GeoFlow พัฒนาโดยทีม Microsoft Research กลุ่มที่เคยทำแอพแผนที่โลกและอวกาศ WorldWide Telescope มาก่อน และเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้าน Business Intelligence ที่สร้างเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลต่อเชื่อมกับ Excel ด้วย
ฟีเจอร์ของ GeoFlow มีตั้งแต่การพล็อตข้อมูลบนแผนที่ 3 มิติหลากหลายรูปแบบ เปรียบเทียบข้อมูลหลายๆ ชนิดเข้าด้วยกัน พล็อตข้อมูลเทียบเวลาและแสดงแอนิเมชัน รวมถึงสร้างเป็นคลิปสั้นเพื่อนำไปแชร์ต่อได้ด้วย (ดูวิดีโอประกอบ)
ในเบื้องต้น GeoFlow ยังเป็นเวอร์ชันพรีวิว ดาวน์โหลดได้ฟรีแต่จำเป็นต้องใช้กับ Office Professional Plus 2013 หรือ Office 365 ProPlus ขึ้นไป