อินเทลเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี Thunderbolt 3 (สองเวอร์ชันแรกพัฒนาร่วมกับแอปเปิล เวอร์ชันสามอินเทลทำเดี่ยว) และผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีนี้ผ่านพอร์ต USB-C จำเป็นต้องจ่ายค่าไลเซนส์ให้กับอินเทลเสมอ
ล่าสุดอินเทลประกาศเลิกเก็บค่าไลเซนส์ Thunderbolt 3 แล้ว และจะเปิดเผยสเปกของ Thunderbolt 3 ต่ออุตสาหกรรมไอที เพื่อขยายการใช้งานให้มากขึ้น
นอกจากนี้ อินเทลยังประกาศว่าจะผนวก Thunderbolt 3 เข้ามาในซีพียูตัวต่อๆ ไปในอนาคตด้วย แต่ก็ยังไม่เผยรายละเอียดว่าจะเป็นอย่างไรและเกิดขึ้นเมื่อใด
เห็นได้ชัดจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ล่าสุดของไมโครซอฟท์อย่าง Surface Laptop ที่ยังคงไม่ใส่พอร์ทสมัยนิยมอย่าง USB-C เข้ามาด้วย ซึ่ง Pete Kyriacou ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายวิศวกรรม Surface แสดงความเห็นในประเด็นนี้ว่า USB-C ยังไม่ดีพอสำหรับไมโครซอฟท์ รวมถึงไม่น่าจะได้รับความนิยมจนเป็นกระแสหลักได้
หลังจากควบรวมกิจการ SSD ไปอยู่ในอาณัติตนเองพักใหญ่ ล่าสุด Western Digital เปิดตัวไดรฟ์ SSD แบบพกพาในชื่อ My Passport SSD ขนาดเท่ากลักไม้ขีดไฟ ใช้ภาษาดีไซน์แบบเดียวกับฮาร์ดดิสก์พกพา My Passport ที่มีหลายสี หัวต่อเป็น USB-C ที่สเปคความเร็ว USB3.0/3.1 กับความเร็วการโอนถ่ายที่ 515MB/s พร้อมอะแดปเตอร์กลับไปใช้กับ USB-A ได้ตามปกติ
ความจุมีให้เลือกตั้งแต่ 256, 512GB และ 1TB รองรับการเข้ารหัส 256 บิต ในราคา 100, 200 และ 400 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
นอกจาก ThinkPad รุ่นใหม่ของปี 2017 ทาง Lenovo ยังเปิดตัวอุปกรณ์เสริมชุดใหม่สำหรับ ThinkPad มาพร้อมกัน
อุปกรณ์ที่น่าสนใจคือ ThinkPad Dock รุ่นใหม่ที่รองรับพอร์ต USB-C เรียบร้อยแล้ว โดย Dock แยกเป็น 2 รุ่นย่อยคือรุ่นท็อปที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ Thunderbolt 3 (อัตราส่งข้อมูล 40 Gbps) และรุ่นปกติที่สำหรับโน้ตบุ๊กที่มีพอร์ต USB-C แต่ไม่รองรับ Thunderbolt 3
ปัญหาสาย USB-C คุณภาพต่ำ อาจส่งผลให้อุปกรณ์พัง ถือเป็นปัญหาสำคัญในการผลักดันพอร์ต USB-C ให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
ตอนนี้มีหลายบริษัทที่พยายามแก้ปัญหานี้ บริษัทรายล่าสุดคือ Lenovo ที่เพิ่งเปิดตัว ThinkPad รุ่นปี 2017 มีวงจรพิเศษที่ช่วยป้องกันระดับไฟฟ้าผิดปกติที่พอร์ต USB-C ด้วย ดังนั้นต่อให้ใช้สายเคเบิล USB-C ที่มีคุณภาพต่ำ ก็จะมีวงจรนี้มาช่วยกรองกระแสไฟอีกชั้นหนึ่ง
ที่มา - Gizmodo, ภาพจาก USB.org
เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานว่ากูเกิลได้แก้ไขเอกสาร Android Compatibility Definition Document ที่ผู้ผลิตทุกรายต้องปฏิบัติตามในส่วนของเรื่องของการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ โดยข้อกำหนดใหม่คือผู้ผลิตต้องใช้มาตรฐานในการชาร์จของ USB-C เพียงอย่างเดียว ห้ามใช้เทคโนโลยีอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ในการช่วยชาร์จแบต เช่น Qualcomm QuickCharge, MediaTek PumpExpress+ หรือ VOCC ของ Oppo เป็นต้น
สาเหตุหลักของเอกสารข้อนี้คือกูเกิลแสดงให้เห็นแล้วว่า มาตรฐาน USB Power Delivery ของ USB-C สามารถชาร์จแบตให้กับ Pixel ได้เร็วพอๆ กับมาตรฐานข้างต้น ดังนั้นเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน กูเกิลเลยตัดสินใจแก้ไขแนวทางให้ Android ทุกเครื่องต้องใช้มาตรฐานที่เหมือนกันทั้งหมดจะดีกว่า
ท่ามกลางเสียงบนของแฟนแอปเปิลจากงานเปิดตัว MacBook Pro รุ่นใหม่ (น่าจะตั้งแต่ตอนเปิดตัว MacBook) หนึ่งในนั้นคงต้องมี MagSafe ที่ถูกถอดออกไปจากการใช้พอร์ต USB-C สำหรับชาร์จ ทำให้ Snapnator สตาร์ทอัพจากลอสแองเจลิสเปิดระดบทุนอแดปเตอร์พอร์ต USB-C ที่มาพร้อมแม่เหล็กแบบ MagSafe
อแดปเตอร์ของ Snapnator มีอยู่ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นตัวผู้ (สำหรับเสียบกับพอร์ต USB-C ของแล็บท็อป) และตัวเมีย (รองรับสายชาร์ต USB-C) ซึ่ง 2 ส่วนตัวจะเชื่อมต่อกันด้วยแม่เหล็กแบบ MagSafe ทำให้ง่ายเวลาเสียบสายชาร์จ หรือเวลาเกิดการสะดุดสายไฟ อแดปเตอร์ 2 ส่วนตัวจะหลุดออกจากกัน แทนที่จะเป็นการกระชากแล็บท็อปทั้งเครื่อง
หลังจากที่แอปเปิลเปิดตัว MacBook Pro ตัวใหม่ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีการเปลี่ยนพอร์ตทั้งหมดในเครื่องให้กลายเป็นพอร์ต USB-C เพื่อเร่งให้ผู้ใช้เริ่มเปลี่ยนไปใช้งาน USB-C ที่หลายคนเรียกว่าเป็นพอร์ตแห่งอนาคตกันมากขึ้นแล้ว ล่าสุดแอปเปิลยังลดราคาอุปกรณ์เสริม USB-C ที่วางขายใน Apple Store อีกจำนวนหนึ่งไปจนถึงปลายปีนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้ได้เดินทางไปถึงอนาคตได้ไวขึ้น
โทรศัพท์บางรุ่นเริ่มเลิกใส่พอร์ตหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรมาแล้ว ตอนนี้ทาง USB-IF ก็ออกมาตรฐาน USB Audio Device 3.0 อย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการถอดพอร์ตหูฟังออกสามารถใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อความเข้ากันได้ในอนาคต
USB-IF ระบุว่าการใช้ USB-C แทนพอร์ต 3.5 มิลลิเมตรจะทำให้อุปกรณ์บางลงได้ถึง 1 มิลลิเมตร และการลดพอร์ตลงทำให้การออกแบบอุปกรณ์ที่กันน้ำทำได้ง่ายขึ้น
เมื่อเดือนสิงหาคมอินเทลระบุว่ามาตรฐานใหม่นี้กำลังจะออกมา ตอนนี้ USB-IF ประกาศแล้ว ภายในปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าเราน่าจะเห็นโทรศัพท์ที่ไม่มีพอร์ต 3.5 มิลลิเมตรออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครับ
HDMI Licensing, LLC บริษัทตัวแทนกลุ่มมาตรฐาน HDMI ประกาศออกสเปก HDMI Alternate Mode หรือเรียกย่อๆ ว่า “Alt Mode” สำหรับการส่งข้อมูลจากพอร์ต USB Type-C ไปขึ้นจอภาพที่เป็นพอร์ต HDMI (ฝั่งเครื่องต้นทางต้องรองรับ HDMI ด้วย แต่ต่อผ่านพอร์ต USB Type-C แทน)
HDMI Alt Mode มีความสามารถเทียบเท่า HDMI 1.4b ทั้งการรองรับความละเอียด 4K, ระบบเสียง surround เป็นต้น ตัวสายเคเบิลจะมีชื่อเรียกว่า USB Type-C to HDMI cable
คาดว่าผลิตภัณฑ์ที่รองรับ HDMI Alt Mode จะเริ่มเปิดตัวในงาน CES 2017 และขายจริงช่วงต้นปีหน้า
อาจเรียกได้ว่าเรากำลัังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านจากการเสียบหูฟังผ่านพอร์ต 3.5 มม. ไปเป็น USB-C แทน ทั้งจากข่าวลือที่ว่าแอปเปิลจะนำพอร์ตหูฟังนี้ออกใน iPhone รุ่นใหม่ รวมถึงไปโมโตโรลาที่นำร่องในการนำพอร์ต 3.5 มม. ออกไปจาก Moto Z แล้ว
ขณะที่ Intel ก็ดูพยายามจะโปรโมทการเปลี่ยนผ่านนี้ภายในงาน Intel Develper Forum ที่จัดขึ้น ณ นครซานฟรานซิสโก โดยให้ Rahman Ismail และ Brad Saunders สถาปนิกของ Intel ขึ้นพูดถึงข้อดีของ USB-C สำหรับการเชื่อมต่อหูฟัง โดยหลักๆ มีดังต่อไปนี้
ต่อประเด็นจากข่าวจอ Thunderbolt Display เริ่มของขาด ล่าสุดมีความคืบหน้าของจอแยกตัวใหม่นี้อีกนิดหนึ่งครับแหล่งข่าวนี้รายงานว่าสื่อเริ่มได้หมายเชิญไปงาน WWDC วันที่ 13 มิถุนายน และคาดว่าหนึ่งในของใหม่ก็จะเป็นจอรุ่นนี้ ใช้ความละเอียด 5K แม้จะมาเป็นจอเปล่าๆ แต่ก็จะมีกราฟิกการ์ดแยกในตัวจอด้วย ยังไม่มีสเปคของกราฟิกการ์ดข้างใน แต่ถ้าเชื่อมต่อด้วยพอร์ต USB-C จริงก็น่าจะเป็นไปได้แบบที่ Razer Core ทำกล่องกราฟิกการ์ดแยกก่อนออกไปต่อจอครับ
ที่มา - NextPowerup
พอร์ตอเนกประสงค์อย่าง USB-C ที่นอกจากจะพลิกด้านเสียบแบบใดก็ได้ ตั้งแต่เปิดตัวมาก็พบปัญหาเรื่องอื่นมากมาย ทั้งคุณภาพสายและอะแดปเตอร์ที่ไม่ได้คุณภาพ ทำให้อุปกรณ์ที่เสียบใช้พัง หรือกรณีการฝังมัลแวร์มากับสาย
ล่าสุด USB.org หน่วยงานกลางที่ดูแลมาตรฐานและสเปคของ USB จึงเปิดตัว USB Type-C Authentication เปิดทางให้ระบบต้นทางตรวจสอบคุณภาพข้อมูลที่สายนำเข้ามาผ่านการเข้ารหัส 128 บิต เมื่อถูกต้องก็ค่อยส่งข้อมูลและพลังงานออกหากัน ด้วยการอัพเดตไดรเวอร์หรือเฟิร์มแวร์กับอุปกรณ์ฝั่งโฮสต์ ส่วนอุปกรณ์ก็ต้องเปลี่ยนให้ผ่านมาตรฐาน
ทั้งนี้ก็ยังอัพเดตสเปคแบบ developer-only ของ USB Power Delivery เป็นรุ่น 3.0 ให้สนับสนุนเทคนิค authentication นี้รวมถึง USB-C bridging ครับ สเปคอื่นเหมือนเดิม
ที่มา - Ars Technica
จากปัญหากรณี สาย USB Type-C ราคาถูก อาจทำให้คอมพิวเตอร์ราคาแพงของคุณพังได้ โดยสายที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้มีขายอยู่บน Amazon มากมาย
ล่าสุด Benson Leung วิศวกรของกูเกิลที่ออกมาจุดประเด็นเรื่องสาย USB คุณภาพต่ำ ออกมาโพสต์อัพเดตว่า Amazon ปรับเงื่อนไขให้เข้มงวดขึ้นแล้ว โดยเพิ่มเงื่อนไขว่าสาย USB-C ที่ไม่ผ่านมาตรฐานของ USB Implementers Forum Inc. ถือเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ห้ามขายบน Amazon
การปรับเงื่อนไขครั้งนี้อาจไม่ทำให้สายคุณภาพต่ำหายไปจาก Amazon ทั้งหมด แต่น่าจะช่วยให้ Amazon แบนผู้ขายที่มีปัญหาได้รวดเร็วกว่าเดิม และน่าจะช่วยลดปัญหาได้ในระยะยาวครับ
อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จาก Xiaomi ที่ออกมาเรื่อยๆ คือแบตเตอรี่สำรองหรือ power bank โดยช่วงปลายปีที่แล้วก็เปิดตัวแบตเตอรี่สำรองขนาดใหญ่ 20,000 mAh ล่าสุดได้เปิดตัวเพิ่มอีก คราวนี้มาพร้อมพอร์ต USB Type-C รองรับอุปกรณ์รุ่นใหม่ในตลาด
แบตเตอรี่สำรองรุ่นใหม่นี้ใช้ชื่อว่า Mi Power Bank Prime ความจุ 10,000 mAh จ่ายกระแสได้หลายขนาดสำหรับอุปกรณ์ที่ชาร์จเร็ว คือ 12V/1.5A, 9V/2A และ 5V/2A (เหมือนรุ่นที่แล้ว) ให้กำลังไฟสูงสุด 18 วัตต์ และอะแดปเตอร์ที่ให้มาก็ให้กำลังไฟ 18 วัตต์เช่นกัน โดย Xiaomi บอกว่าชาร์จแบตเตอรี่สำรองนี้ได้เต็มภายใน 3 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
Mi Power Bank Prime วางขายแล้วที่ประเทศจีน ราคา 149 หยวน หรือราว 800 บาท
ในงาน MWC ปีนี้ ผู้ผลิตอุปกรณ์เก็บข้อมูลรายใหญ่อย่าง SanDisk ออกมาเปิดตัวอุปกรณ์ชุดใหม่ที่ออกแบบมาทันกับเทรนด์ยุคนี้ทั้ง 4K และ USB Type-C อย่างเป็นทางการ
ชิ้นแรกที่เปิดตัวมาคือ SanDisk Ultra USB Type-C แฟลชไดรฟ์ตัวแรกของบริษัทที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับ USB Type-C โดยเฉพาะ และยังเป็นรุ่นที่ส่งข้อมูลเร็วสุดถึง 150MB/s และยังสามารถใช้งานได้กับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และพีซีโดยไม่ต้องมีอแดปเตอร์ หรือเพิ่มอีกพอร์ตเข้ามาอย่างที่เคยทำ
อีกชิ้นเป็นการ์ด microSD ความเร็วสูงระดับ UHS-II ในชื่อรุ่น SanDisk Extreme Pro microSD ที่ส่งข้อมูลได้เร็วสุดถึง 275MB/s ความจุตั้งแต่ 64GB-128GB ใช้งานกับคอนเทนต์ 4K ได้อย่างสบายๆ
เมื่อปลายปีที่แล้วเราเห็นข่าว วิศวกรทีม Pixel ออกโรงเตือนคนใช้สาย USB Type-C ราคาถูก อาจเจอปัญหาสายคุณภาพต่ำ
ล่าสุด Benson Leung วิศวกรคนเดิมที่รีวิวสาย USB Type-C มาแล้วอย่างโชกโชน ลองสั่งซื้อสายยี่ห้อ Surjtech จาก Amazon เพื่อนำมาเชื่อมระหว่าง Chromebook Pixel และอุปกรณ์ดักข้อมูล USB-PB Sniffer ผลออกมาร้ายแรงถึงขั้นอุปกรณ์พัง และพอร์ต USB Type-C ของ Chromebook พัง เป็นผลให้ Chromebook บูตไม่ขึ้นเพราะมีปัญหาคอนโทรลเลอร์เลยทีเดียว (Chromebook Pixel เครื่องละ 999 ดอลลาร์)
Sony เปิดตัวแฟลชไดรฟ์รุ่น USB 3.1 Gen1 CA1 ที่มีจุดเด่นคือ รองรับการเชื่อมต่อทั้งแบบ USB แบบ Type A ปกติ และแบบ Type C ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งบน Windows, Mac, Android และ Chromebook
USB 3.1 Gen1 CA1 มีพื้นที่เก็บข้อมูล 16 GB, 32 GB, 64 GB ความเร็วการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 130 MB ต่อวินาที วัสดุของอุปกรณ์ทำจากโลหะ มาพร้อมรูปทรงขนาดเล็ก วางจำหน่ายช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนราคายังไม่เปิดเผย
เมื่อสัปดาห์ก่อน มีดราม่าย่อยๆ เกี่ยวกับสาย USB Type-C โดยวิศวกรของกูเกิลออกมาตีแผ่สาย/อแดปเตอร์ USB Type-C ราคาถูกหลายรุ่น รวมถึง OnePlus ว่าประสิทธิภาพต่ำกว่าสเปค ตอนนี้ OnePlus ออกมาแก้ต่างให้สินค้าของตัวเองแล้ว
ปีนี้เริ่มมีผู้ผลิตใช้งานพอร์ตใหม่อย่าง USB Type-C กันมากขึ้น โดยรายเด่นๆ ที่เริ่มใช้ก่อนใครมีตั้งแต่ OnePlus, Google และ Apple โดยเฉพาะในรายของ Google ที่ออกอุปกรณ์พร้อมพอร์ต USB Type-C มาเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมสำหรับ USB Type-C ยังมีน้อยในตลาด และค่อนข้างแพง บีบให้ผู้ใช้ที่ต้องการสายเส้นที่สองมองหาอแดปเตอร์ USB Type-C ที่ราคาถูก ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ OnePlus ที่ขายเพียง 9.99 เหรียญเท่านั้น
หนึ่งในสิ่งที่ผู้ใช้บางส่วนพบในต่างประเทศที่เริ่มมีการวางจำหน่าย Nexus 5X/6P คือการชาร์จเครื่องที่ค่อนข้างช้าเมื่อใช้สายชาร์จจากผู้ผลิตเจ้าอื่นๆ ชาร์จเครื่อง แต่ปัญหานี้กลับไม่เกิดกับสายที่มาพร้อมกับเครื่อง ทำให้หนึ่งในคนที่ระบุว่าตนเองเป็นวิศวกรของ Google ต้องออกมาชี้แจงถึงประเด็นนี้อย่างไม่เป็นทางการ
Xiaomi เปิดตัว Mi 4c สมาร์ทโฟนสเปคแรงราคาย่อมเยาตัวใหม่ที่เพิ่งมีข่าวลือว่าจะเปิดตัววันนี้ (22 กันยายน) และก็มาตามนัด พร้อมกับสเปคที่ตรงตามข่าวลือทุกประการ
ด้านการออกแบบ Mi 4c เรียกได้ว่าเป็นฝาแฝดกับ Mi4i ที่เปิดตัวไปก่อนหลายเดือน แต่เพิ่มสเปคขึ้นมาอีกระดับ พร้อมกับเป็นรุ่นแรกของ Xiaomi ที่ใช้งานพอร์ต USB Type-C รายละเอียดคร่าวๆ มีดังนี้
การมาของ USB 3.1 (หรือที่หลายคนคุ้นในชื่อ USB-C) ช่วยเพิ่มขีดจำกัดของอุปกรณ์หลายชิ้นไปอีกระดับ แม้แต่ในแบตเตอรี่สำรองก็ได้อานิสงส์ไปด้วย ล่าสุดมีผู้ผลิตสัญชาติสหรัฐฯ ออกมาเปิดตัวแบตเตอรี่สำรองที่สามารถจ่ายไฟได้ถึง 100 วัตต์ ตามสเปคของ USB-C แล้ว
แบตเตอรี่สำรองตัวนี้คือ Reach Go จาก MOS แบตเตอรี่เสริมตัวแรกที่ใช้คอนโทรลเลอร์ตัวใหม่ของ Etron ที่เคลมว่าสามารถจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 100 วัตต์เต็มสเปคของ USB-C (5 แอมป์ 20 โวลต์) โดยสเปคของเจ้า Reach Go มาพร้อมกับความจุ 15,000 mAh มีพอร์ต USB-C หนึ่งพอร์ต และ USB 3.0 อีกสองพอร์ตซึ่งสามารถใช้ชาร์จแท็บเล็ตได้อีกสองเครื่องแม้ว่าจะใช้งาน USB-C อยู่ด้วย
OnePlus 2 จะเป็นมือถือเรือธงรุ่นแรกของ OnePlus ที่มาพร้อมกับ USB-C จากการยืนยันผ่านทวิตเตอร์ของ OnePlus และจะเป็นมือถือเรือธงรุ่นแรกที่มีพอร์ตนี้
เมื่อต้นปีกูเกิลและแอปเปิลได้ออกอุปกรณ์พร้อมกับช่อง USB-C อย่าง Chromebook Pixel และ MacBook กูเกิลได้บอกไว้ว่าในปีนี้อุปกรณ์แอนดรอยด์ที่มาพร้อมกับ USB-C จะค่อยๆ ทยอยกันออกมา และมีการคาดกันว่า Samsung Galaxy Note 5 จะมาพร้อมกับ USB-C เช่นกัน
OnePlus 2 จะเปิดตัวในเดือนกรกฎาคมนี้
ที่มา - Talk Android
หลุดสเปคของ Thunderbolt 3 มาตั้งแต่ปีก่อน วันนี้อินเทลปล่อยรายละเอียดของ Thunderbolt 3 อย่างเป็นทางการแล้ว
ความเปลี่ยนแปลงอย่างแรกสุดคืออินเทอร์เฟซของพอร์ต Thunderbolt 3 จะปรับไปใช้พอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB Type-C แต่ให้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุด 40Gbps (เฉพาะโหมด Thunderbolt) เหนือกว่า USB 3.1 พอสมควร และรองรับหน้าจอความละเอียดระดับ 4K สองหน้าจอพร้อมกัน จ่ายไฟได้สูงสุด 100 วัตต์ (15 วัตต์สำหรับจ่ายไฟให้อุปกรณ์ต่อพ่วง) และรองรับการใช้งานร่วมกับพอร์ต USB, DisplayPort และ Thunderbolt รุ่นเดิม
อินเทลระบุว่าจะเริ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Thunderbolt 3 ออกมาภายในสิ้นปีนี้