IBM Watson
IBM ประกาศซื้อบริษัทค้นหา Blekko เพื่อดึงเนื้อหาจากฐานข้อมูลเว็บของ Blekko เข้าไปเสริมความฉลาดให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson
Blekko เป็นบริษัทที่สร้างระบบ web-crawling เก็บข้อมูลเว็บเพจ จากนั้นนำมาจัดหมวดและคัดกรอง สิ่งที่ IBM ต้องการคือการคัดกรองเนื้อหาเหล่านี้เป็นหัวข้อ เพื่อนำไปใช้ป้อนข้อมูลกับ Watson
IBM บอกว่าเทคโนโลยีของ Blekko จะช่วยเสริมการซื้อบริษัท AlchemyAPI ก่อนหน้านี้ เพราะ AlchemyAPI ทำเรื่องการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ (deep learning) ส่วน Blekko ทำเรื่องข้อมูลเพื่อให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้
ตอนนี้เว็บไซต์ Blekko ก็ปิดตัวเองเรียบร้อย เหลือเพียงหน้าเว็บที่บอกว่าไปรวมกับ IBM แล้ว
เมื่อวานนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) IBM ประกาศเข้าลงทุนใน Modernizing Medicine สตาร์ทอัพสายไอทีด้านการแพทย์ ที่มีผลิตภัณฑ์หลักเป็นระบบจัดเก็บเวชระเบียนคนไข้แบบอิเล็กทรอนิกส์บนคลาวด์ โดยการลงทุนครั้งนี้ (เป็นรอบ D) IBM ได้เข้าร่วมลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า 20 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
IBM ระบุว่า เงินที่ลงทุนไปนั้น เพื่อให้ Modernizing Medicine สามารถนำเอาไปพัฒนาแอพ schEMA ซึ่งเป็นแอพที่สามารถเข้าถึงเวชระเบียนของคนไข้ และสามารถใช้ IBM Watson เข้ามาวิเคราะห์ เพื่อเสนอทางเลือกให้แก่แพทย์ผู้ทำการรักษา (แบบเดียวกับ Watson for Oncology) โดยเริ่มใช้แล้วในสายการแพทย์โรคผิวหนัง ขยายตัวไปยังสายการแพทย์เฉพาะทางอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา IBM ประกาศเข้าซื้อกิจการ AlchemyAPI ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน cognitive computing ตั้งอยู่ที่เมืองเดนเวอร์ มลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา โดยไม่เปิดเผยมูลค่าของการเข้าซื้อในครั้งนี้
นอกจากการได้ฐานลูกค้าและนักพัฒนามากกว่า 30,000 รายของ AlchemyAPI มาแล้ว IBM ยังจะได้เทคโนโลยีมาด้วย โดยนักวิเคราะห์จาก IDC ระบุว่าการเข้าซื้อครั้งนี้เป็นการเสริมเขี้ยวเล็บให้กับทาง IBM ในการต่อกรกับ Google และ Microsoft ที่มีบริการใกล้เคียงกัน
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา IBM ประกาศอย่างเป็นทางการว่า บริการ Watson Personality Insights ได้เปิดให้เข้าใช้งานเป็นการทั่วไปแล้ว โดยนักพัฒนาหรือลูกค้าสามารถใช้งานได้จากแพลตฟอร์มคลาวด์ IBM Bluemix อย่างเป็นทางการ
สำหรับ Watson Personality Insights เป็นบริการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ IBM Watson วิเคราะห์ข้อมูลที่ผู้ใช้อนุญาต เช่น อีเมล์ ข้อความสั้น ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น ในการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วหาบุคลิกส่วนตัวของคนๆ นั้น รวมถึงความต้องการและค่านิยม/ความเชื่อของคนๆ นั้นได้อีกด้วย เพื่อนำเสนอบริการหรือสินค้าที่เหมาะสมให้กับคนๆ นั้น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว IP Australia ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลออสเตรเลีย ประกาศความร่วมมือกับทาง IBM ที่จะนำเอา Watson ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ของทางบริษัท เข้ามาทดลองใช้งานเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้ ไปจนถึงเดือนมิถุนายน เพื่อดูว่าจะช่วยนำเอา Watson มาปรับปรุงระบบการให้บริการของตัวเองต่อประชาชนทั่วไปได้อย่างไรบ้าง
ตัวแทนจากหน่วยงาน IP Australia ระบุว่าจะใช้โอกาสนี้ในการเรียนรู้และปรับปรุงแนวทางการให้บริการต่อประชาชน โดยจะนำเอามาใช้กับการช่วยตัดสินใจ ตอบคำถาม รวมไปถึงให้บริการกับผู้ที่เข้ามาใช้บริการของทาง IP Australia ด้วย
ที่มา - ZDNet
ในสมัยเด็ก เราอาจจะคุ้นเคยกับการเล่นตุ๊กตาแล้วพยายามคุยกับตุ๊กตาคนเดียว (ลองจินตนาการตัวละครอย่าง Stewie และตุ๊กตาหมี Rupert ในการ์ตูนชีรีส์ Family Guy) แต่มาตอนนี้ความฝันที่ตุ๊กตาจะคุยกับเราได้จริงๆ คงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินตัวอีกต่อไปด้วยตุ๊กตาที่มีชื่อว่า Cognitoys
SoftBank บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศญี่ปุ่น ประกาศเป็นพันธมิตรกับทาง IBM ในการพัฒนาระบบประมวลผลข้อมูล Watson ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการเพิ่มเติม หลังจากที่เคยมีความร่วมมือกันก่อนหน้าที่ SoftBank จะช่วยพัฒนา Watson ให้รองรับภาษาญี่ปุ่นมาก่อนแล้ว
ภายใต้ความร่วมมือนี้ SoftBank จะใช้ Watson ภายในองค์กรในฐานะเครื่องมือสนับสนุน (support tool) ขององค์กร, ขายต่อ (resell) บริการคลาวด์ของ Watson, ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย (distributor) ของ Watson ให้แก่ IBM และให้บริการ Watson แก่ลูกค้าภายในญี่ปุ่นในฐานะแพลตฟอร์ม (PaaS: Platform as-a-service)
ที่สหรัฐอเมริกา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ The Columbus Dispatch รายงานข่าวโดยอ้างจากรายงานข่าวของทางสำนักข่าว Bloomberg อีกทีหนึ่งว่า IBM กำลังอยู่ระหว่างการผลักดันการแก้ไขกฎหมายบางฉบับ ที่จะทำให้ระบบประมวลผลข้อมูล Watson ของตัวเอง ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA: Food and Drug Administration) ซึ่งทาง IBM พยายามผลักดันมานานกว่า 2 ปีแล้ว
แนวโน้มของการใช้ Watson ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ของ IBM เริ่มที่จะขยายขอบเขตมากขึ้น เมื่อล่าสุดทาง IBM จับมือกับสถาบันการศึกษาอาหาร (Institute of Culinary Education: ICE) ของสหรัฐอเมริกา เตรียมที่จะตีพิมพ์หนังสือสูตรอาหารที่มี Watson เป็นคนคิดสูตร ชื่อว่า "Cognitive Cooking with Chef Watson"
บทบาทของ Watson ในการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ คือการที่เชฟของ ICE ทำงานร่วมกับทาง IBM โดยให้ Watson เข้ามาเป็นผู้ช่วยในการหาสูตรอาหารใหม่ๆ จากความเข้ากันได้และจับคู่วัตถุดิบที่แตกต่างกัน (ไม่ต่างจากระบบวินิจฉัยโรคมะเร็งของ Watson) ซึ่งเชฟของทาง ICE จะช่วยเข้ามาพัฒนาระบบของ Watson ในเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีการจับคู่อาหารและส่วนประกอบทางเคมีต่างๆ
ข่าวสั้นทันโลกครับ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทาง IBM ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ได้เปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้และทดสอบบริการ Watson Analytics เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีสถานะเป็น "Public Beta" ไปก่อน
Watson Analytics เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ที่พัฒนามาจากระบบประมวลข้อมูลของ Watson ซึ่งทำงานอยู่บนระบบคลาวด์ และแน่นอนว่าต้องรองรับภาษาธรรมชาติ (natural language) มาในตัวด้วย
ใครที่สนใจทดสอบ Watson Analytics สามารถลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ที่มา - The Next Web
เราอาจจะรู้จัก IBM Watson ในฐานะระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ของ IBM ที่เล่น Jeopardy! ชนะคนเมื่อปี 2011 และเริ่มเอามาใช้งานอย่างจริงจังในช่วงปีนี้ ล่าสุด Watson ถูกนำไปใช้เพื่อแนะนำด้านโภชนาการให้กับคนไข้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ช่วงที่ผ่านมาเราเริ่มเห็นการนำเอาเทคโนโลยี Watson ระบบประมวลผลและหาคำตอบสาย big data ของ IBM เอาไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ (ของไทยมีใช้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในการช่วยรักษาโรคมะเร็ง) และล่าสุดก็เป็นทาง IBM เองที่จะเอา Watson เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบคัดเลือกคนทำงานกับ IBM แล้ว
วันนี้ IBM และ Mizuho Bank ธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ประกาศร่วมมือกันที่จะนำเอา IBM Watson เข้ามาใช้กับระบบของธนาคาร โดยจะเอามาใช้กับระบบ call center ของทางธนาคารภายในปีหน้า
ทั้งสองบริษัทระบุว่ากำลังพัฒนาระบบจดจำเสียง (speech recognition) ที่จะถอดคำพูดของลูกค้าออกมาเป็นตัวอักษร แล้วส่งต่อให้ Watson ทำการประมวลผลเพื่อแก้ไขปัญหา จากนั้นจึงกลับมาด้วยทางออกต่างๆ ที่เป็นไปได้ (ลองอ่านวิธีการทำงานของ Watson เพิ่มเติม)
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา IBM ประเทศไทยและโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จัดงานแถลงข่าวประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการนำเอา Watson ไปใช้งานสำหรับด้านการรักษามะเร็งที่โรงพยาบาล ซึ่งผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์พิเศษผู้บริหารของทั้งทาง IBM และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในครั้งนี้ด้วย
รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา IBM ประกาศข่าวเกี่ยวกับแพลตฟอร์มซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson หลายอย่าง เขียนรวมเป็นข่าวเดียวนะครับ
IBM เปิดตัวแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับภาคธุรกิจ Watson Analytics ให้ใช้งานฟรี (มีโมเดลหาเงินแบบ freemium จากฟีเจอร์เพิ่มเติม) โดยองค์กรสามารถนำข้อมูลต่างๆ มาใส่ Watson เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์และพยากรณ์ให้ได้
ตอนนี้ Watson Analytics ยังไม่เปิดให้ทดลองใช้งาน แต่ IBM คุยว่าการใช้ Watson Analytics ไม่จำเป็นต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมหรือมีทักษะการวิเคราะห์เหมือนกับซอฟต์แวร์วิเคราะห์อื่นๆ ในท้องตลาด มันถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว แถมยังรองรับคำถามที่เป็นภาษาธรรมชาติ เช่น Which deals are most likely to close? หรือ What are the key drivers of my product sales? ได้เลย
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson ของ IBM ที่โด่งดังจากการแข่งขันชนะมนุษย์ในรายการเกมโชว์ Jeopardy! เมื่อปี 2011 หลังจากนั้นก็มีการใช้งานมันทั้งทางด้านการแพทย์, การประกันภัย, การเงิน และอาหาร
IBM ประสบความสำเร็จกับการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson ในแง่ศักยภาพด้านการคำนวณ แต่กลับเจอปัญหาว่าไม่สามารถนำมันไปใช้งานทางธุรกิจได้มากนัก
ทางออกของ IBM คือเชิญชวนนักพัฒนาภายนอกบริษัทเสนอไอเดียการใช้ Watson ให้เยอะๆ (เผื่อจะมีอะไรเจ๋งๆ โผล่มา) และล่าสุดบริษัทก็ประกาศโครงการ IBM Watson Mobile Developer Challenge ภายใต้สโลแกนว่า "อยากนำ Watson มาใช้ทำอะไรดี?" (What Will You Do With Watson?)
นักพัฒนาสามารถเสนอไอเดียว่าอยากนำพลังของ Watson มาใช้กับแอพบนอุปกรณ์พกพาได้อย่างไร จากนั้น IBM จะคัดเลือกผู้เข้ารอบ 25 ทีม เข้าไปทำงานร่วมกับทีม Watson ต่อไป
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson ของไอบีเอ็มอาจแสดงพลังการประมวลผลในรายการเกมโชว์ได้น่าทึ่ง และไอบีเอ็มก็เปิดเผยแผนใช้งานเชิงพาณิชย์ รวมทั้งเตรียมให้บริการบนกลุ่มเมฆ แต่ปัญหาคือถึงตอนนี้โครงการดังกล่าวยังไม่ค่อยทำเงินให้
ไอบีเอ็มกำลังจะเปิดตัวบริการกลุ่มเมฆที่ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงขุมพลังของ Watson ซึ่งเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เคยชนะมนุษย์ในการแข่งเกมโชว์ Jeopardy!
IBM ขยายบริการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson ในฐานะ "เครื่องตอบคำถามลูกค้าอัตโนมัติ" ใช้ทดแทนมนุษย์ในระบบ CRM แบบพิมพ์โต้ตอบ
IBM ประกาศข่าวว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson จะเริ่มถูกใช้งานจริงสำหรับงานด้านการแพทย์และสุขภาพแล้ว โดยลูกค้าสองรายแรกคือบริษัทประกันสุขภาพ WellPoint กับศูนย์วิจัยมะเร็ง Memorial Sloan-Kettering Cancer Center ในสหรัฐ
Watson จะคำนวณประวัติด้านการแพทย์ของผู้ป่วย และให้คำแนะนำแก่พนักงานของทั้งสององค์กรว่าควรทำอย่างไรกับผู้ป่วยบ้าง เช่น กรณีของศูนย์มะเร็ง Watson จะแนะนำวิธีการรักษาที่น่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุด ส่วนกรณีของประกันสุขภาพก็จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะกับค่าใช้จ่ายมากที่สุด
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson ของไอบีเอ็มเริ่มขยายงานสู่กลุ่มธุรกิจอื่นเพิ่มเติม จากก่อนหน้านี้ได้
เมื่อต้นปีที่แล้ว หลายคนคงจำข่าว IBM Watson ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ชนะมนุษย์ในการแข่งเกมโชว์ Jeopardy! กันได้
หลังจากสร้างความฮือฮาด้วยการชนะมนุษย์ในรายการเกมโชว์ Jeopardy! ไปแล้ว ทีมงานของ IBM ก็เริ่มออกมาให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดในโครงการ Watson มากขึ้น โดยจากบทสัมภาษณ์ของทีมงานเว็บ Reddit นั้น ทีมงานได้ระบุว่าโค้ดส่วนใหญ่ของ IBM Watson เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวา