คดี 4 บริษัทไอทีรายใหญ่ ได้แก่ กูเกิล, แอปเปิล, อินเทล, และ อโดบี ร่วมมือกันทำสัญญาไม่ชิงตัวพนักงานระหว่างกัน มีการเปิดเผยหลักฐานใหม่เป็นอีเมลภายในของกูเกิลที่พูดถึงการชิงตัววิศวกรกับเฟซบุ๊กที่ได้อยู่ในกลุ่มพันธมิตรไม่ชิงตัวพนักงาน
อีเมลระบุว่ากูเกิลมีนโยบายยื่นข้อเสนอให้กับพนักงานของตัวเองเพื่อดึงตัวพนักงานไว้ภายในหนึ่งชั่วโมงหลังทราบว่าพนักงานคนใดได้รับเสนอตำแหน่งงานจากเฟซบุ๊ก แสดงให้เห็นว่าการที่มีบริษัทขนาดใหญ่นอกกลุ่มพันธมิตรไม่แย่งตัวพนักงานกันเช่นนี้ทำให้กูเกิลต้องแข่งขันด้วยการเพิ่มผลตอบแทนให้พนักงาน
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอในกลุ่มพันธมิตรให้ Larry Page และ Sergrey Brin ไปพบพนักงานเฟซบุ๊กเพื่อดึงตัวพนักงานโดยตรง แต่ผู้บริหารรายหนึ่งของกูเกิลไม่เห็นด้วยเพราะข่าวจะแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งสี่บริษัทตกลงกับกลุ่มทนายของผู้เสียหายเพื่อจ่ายค่าชดเชย 324 ล้านดอลลาร์ แต่ข้อตกลงนี้ยังไม่ได้รับการรับรองจากผู้พิพากษา โดยก่อนหน้านี้กลุ่มพนักงานเรียกร้องค่าเสียหายรวม 3 พันล้านดอลลาร์
หลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่าการไม่มีข้อตกลงชิงตัวพนักงานเพราะเฟซบุ๊กอยู่นอกกลุ่ม จะบีบให้นายจ้างต้องปรับค่าตอบแทนให้พนักงานตามภาวะตลาดเพื่อชิงตัวพนักงานให้ทำงานกับบริษัทต่อไป
ที่มา - Wall Street Journal
Comments
ทำไมผมรู้สึกอ่านข่าวนี้แล้วงงๆ =.="
ผมเขียนแล้วก็กังวลอยู่ครับ เพราะบริบทเราต่างจากเค้ามาก
ที่มาคดีคือมีกลุ่มพนักงานฟ้องว่าบริษัทร่วมมือกันกดค่าจ้าง ด้วยการร่วมมือกันไม่แย่งพนักงาน (ซึ่งพอแย่งกันไปมาค่าแรงพนักงานรวมๆ มันจะแพงขึ้น) กรณีแบบนี้ผิดกฎหมายในสหรัฐฯ จากการใช้อำนาจเหนือตลาด เพราะทั้งห้าบริษัทเป็นบริษัทใหญ่ มีสัดส่วนการจ้างแรงงานรวมกันเป็นสัดส่วนสูง
ระหว่างสืบพยานในศาล มีหลักฐานที่เป็นอีเมลของผู้บริหารกูเกิลเปิดเผยออกมา ถึงกรณีที่เฟซบุ๊กมาแย่งตัวพนักงานของกูเกิล
กูเกิลมีนโยบายว่าพอรู้ว่าพนักงานคนไหนกำลังไปทำงานเฟซบุ๊ก ก็ให้ชิงตัวกลับด้วยการยื่นข้อเสนอทันที (ภายในชั่วโมงเดียว) กลายเป็นว่าพนักงานนั่งที่เดิม ค่าแรงเพิ่ม
หลักฐานแบบนี้ยืนยันว่าทั้งสี่บริษัทยิ่งทำผิด เพราะถ้าทั้งสี่บริษัทแย่งตัวพนักงานกันเองด้วย พนักงานก็น่าจะได้รับผลตอบแทนดีกว่าเดิมอีก
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าเอาตรงนี้ไปเติมในข่าวมันจะไม่งงขนาดนี้นะครับ พนักงานที่ google ยื่นข้อเสนอให้ผมอ่านทีแรกยังเข้าใจว่าเป็นพนักงานจาก facebook อยู่เลยครับ - -"
ขอบคุณที่ช่วยขยายความครับผมว่าถ้าเพิ่มที่มาหรือข่าวเก่าที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้เข้าไปในข่าวด้วยน่าจะอ่านได้ง่ายขึ้นนะครับ บางทีคนอ่านก็ลืมเรื่องนี้ไปและไม่เข้าใจในบางประเด็นอย่างเช่นเรื่องว่าทำไมถึงมีข้อตกลงไม่แย่งพนักงานหรือถ้าทำแล้วมันจะผิดกฏหมายของสหรัฐ ทำให้เวลามาอ่านอาจจะงงได้
ได้อยู่ => ไม่อยู่ ??
Sergrey Brin => Sergey Brin
อ่านจบแล้วก็งง
- 4 บริษัททำข้อตกลงกันว่าไม่แย่งพนักงาน
- มีคดีเกิดขึ้น แต่ไม่รู้ว่าคดีอะไร
- กูเกิลมีนโยบายดึงพนักงาน facebook ภายใน 1 ชั่วโมง
- พันธมิตรบอกให้ผู้บริหาร google ไปพบพนักงานด้วยตนเอง พันธมิตรคือใคร? 4 บริษัท? สามารถสั่งให้ google ไปดึงพนักงานได้ด้วย? แล้วไปดึงมาแล้วเกี่ยวอะไรกับข้อตกลงไม่แย่งพนักงานกัน?
- 4 บริษัทจะจ่ายค่าชดเชย ของคดีอะไรก็ไม่รู้ แต่กลุ่มพนักงานของบริษัทไหนก็ไม่รู้จะเอา 3 พันล้าน
แนะนำให้อ่าน 2 ข่าวเก่า จะเข้าใจที่มาที่ไปของเรื่องนี้มากขึ้นครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
what?
สิ่งที่ผมแปลกใจคือ Google รู้ได้ยังไงว่าพนักงานคนไหนได้ข้อเสนอจาก Facebook? และรู้ภายในหนึ่งช.ม. ด้วย หรือพนักงานคนนะจะประกาศ? เพราะอยากอัพค่าตัว?
น่าจะเป็นหลังจากที่รู้หรือเปล่าครับ
หลังจากที่รุ้ภายในหนึ่งชั่วโมง
[Blog ZeroEngine] [@ZeroEngines]
แบบนี้ถ้าพนักงานย้ายบ่อยๆไม่กลายเป็นผู้กุมความลับ ทุกบริษัทไปเลยหรอ
หลักฐานโผล่!!! ฺBIG 4 ฮั๊วกดค่าตัววิศวกร
พาดหัวแบบนี้นึกว่าอ่าน soccersuck
อ่านข่าวแล้วก็แอบงงเหมือนคนอื่นๆ แต่เท่าที่เข้าใจคือ 5 บริษัทรวมกลุ่มกันกดค่าจ้าง
พอพนักงานรู้เรื่องก็ฟ้องกับศาล และเปิดเผยเป็นอีเมลล์ภายในของบริษัท ซึ่งเรื่องนี้พนักงานเสียผลประโยชน์
แต่ตกใจตรงที่ค่าเสียหายสามแสนล้าน ค่าตัวพนักงานแพงสุดๆ
มาเข้าใจเอาย่อหน้าสุดท้าย