พอมีข่าวแบบนี้ผมใส่หมวดไม่ถูกเลยแฮะ เอาเป็นว่าด้วยสาเหตุอันใดไม่สน แต่รมต. กระทรวงเวทย์มนต์ เอ้ย กระทรวง ICT สรอรรถ กลิ่นประทุมประกาศลาออกจากตำแหน่งแล้วครับ
เดี๋ยวรอดูว่าใครจะเป็น รมต. ICT คนที่สามในรอบ 1 ปี
ป.ล. ที่เอาข่าวนี้มาลงเพราะเป็นกระทรวงที่เกี่ยวข้องเฉยๆ ขอความร่วมมืออย่ามั่วเรื่อง ความเห็นอาจถูกลบได้นะครับ
ที่มา - กรุงเทพธุรกิจ
วันนี้ข่าวเยอะมากเลยเนาะ ข่าวยังเหลือและที่น่าสนใจพอให้ผมเขียน (มั่ง) ก็คือการต้มไข่ด้วยโทรศัพท์มือถือ
(ผมไม่แน่ใจว่ามันควรจะเรียกต้มดีมั้ย แต่จะใช้คำอื่นอย่างลวกไข่หรืออบไข่ก็ฟังดูแปลกๆ ถ้าใครคิดคำดีกว่านี้ได้ช่วยเสนอมาหน่อยนะครับ)
เครดิตนี้ยกให้ Suzzanna Decantworthy และ Sean McCleanaugh ซึ่งแนะนำวิธีทำอาหารด้วยโทรศัพท์ให้เรา วิธีการก็ง่ายๆ เอาไข่มาวางไว้ระหว่างมือถือสองอัน โทรหากัน เปิดวิทยุทิ้งไว้มันจะได้มีเสียง แค่นี้คุณก็จะได้ไข่สุกพร้อมรับประทานโดยไม่ต้องใช้น้ำหรือไฟให้เปลือง ในเว็บบอกว่าระยะเวลาขึ้นกับความแรงของสัญญาณ ถ้าเป็นมือถือ 2 วัตต์จะใช้เวลาประมาณ 3 นาที
ควันหลงที่คุณ James Gosling มางาน Java Day2006 ที่เมืองไทยของเราครับ
โดยเค้ากล่าวถึงความประทับใจในแง่วิศวกรรมของ "เรือหางยาว" ของไทยที่เราเห็นกันจนชินตา!!
และยังทึ่งต่อความสามารถของผู้ขับเรือหางยาว(น่าจะคำนี้แหละ) ที่บังคับเครื่องยนต์ได้คล่องแคล่วครับ
ผู้กำกับภาพยนต์ชื่อก้องโลกอย่างเจมส์ คาเมรอน ที่เป็นที่รู้จักกันจากเรื่อง Alien, The Termiator, และ Titanic ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงโครงการล่าสุดของเขาชื่อว่า Project 880 ซึ่งเคยถูกคาดการกันว่าเป็นภาพยนต์เรื่องใหม่
ความสัมพันธ์ระหว่างภาพยนต์และเกมแน่นแฟ้นกันมากขึ้นเรื่อง ในหลายปีให้หลังมานี้ ภาพยนต์ดังๆ หลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น Residental Evil หรือเรื่องล่าสุดอย่าง Doom
ที่น่าสนใจคือผู้กำกับชื่อก้องโลกนี้เรียนเอกฟิสิกส์ และเคยทำงานเป็นบอร์ดของนาซ่ามาก่อน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เขาจะมาบุกโลกไอทีด้วยอีกอย่าง
ไมโครซอฟท์ออกมายอมรับว่าในตอนนี้ำกำลังสนับสนุนให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หันมาใช้แรม ECC กันแทนที่แรมแบบปรกติที่ใช้ๆ กันอยู่ โดยไมโครซอฟท์ฺระบุว่าแรม ECC จะเป็น "Soft-Requirement" ของวิสต้า เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์โดยรวมมีเสถียรภาพมากขึ้น
แรม ECC มีความสามารถในการแก้ไขข้อมูลในแรมโดยอัตโนมัติ ต่างจากแรมทุกวันนี้ที่เมื่อเกิดความผิดพลาดในแรมขึ้นระบบจะแฮงค์โดยไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
หลังจากถูกไอเอสพีบล๊อกบ้าง บีบแบนด์วิดท์บ้างมาเป็นเวลานาน ทีมพัฒนาโปรแกรมบิตทอร์เรนต์อย่าง uTorrent ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดการเข้ารหัสเพื่อไม่ให้ไอเอสพีสามารถตรวจสอบโปรโตคอลได้ โดยในตอนนี้โปรแกรม uTorrent รุ่นล่าสุด (RC4) รองรับโปรโตคอลนี้อยู่แล้ว โดยการใช้อัลกอลิธึ่ม Diffie-Hellman
ที่น่าสนใจคือความคิดนี้ไม่ได้รับความสนใจจากนาย Bram Cohen ผู้สร้างบิตทอร์เรนต์แต่อย่างใด โดยเขาระบุว่าไอเอสพีส่วนใหญ่ไม่ได้บีบแบนด์วิดท์อะไร และการเข้ารหัสจะทำให้โปรแกรมกินทรัพยากรของเครื่องมากขึ้นโดยไม่จำเป็น
สองผู้ให้บริการอีเมลรายใหญ่เตรียมตัวเปิดบริการเก็บเงินค่าส่งอีเมลเข้ามาหาสมาชิก
โดยปกติแล้ว สำหรับการส่งอีเมลหาคนที่ใช้อีเมลของ AOL หรือยาฮู อีเมลนั้นจะต้องผ่านระบบกรองจดหมายขยะก่อนจะถึงมือผู้รับ แต่บริการนี้เสนอให้ผู้ส่งจ่ายเงิน 0.15 - 1 เซนต์ ต่ออีเมลหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นค่าส่งอีเมลหาผู้ใช้โดยตรง ไม่ต้องผ่านระบบกรองจดหมายขยะ และได้เครื่องหมายรับรองว่าเป็น Certified Email
สำหรับอีเมลที่ส่งหาสมาชิกของ AOL หรือยาฮูโดยไม่ได้ใช้บริการนี้ จะต้องผ่านเข้าระบบกรองจดหมายขยะตามปกติ
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ประกาศว่าใน Vista จะมีสิ่งที่เรียกว่า Sidebar โดยจะเป็นที่รวมของโปรแกรมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Microsoft Gadget ซึ่งก็คล้าย ๆ กับ Dashboard ของ Apple หรือว่า Yahoo Widget Engine ได้ไม่นาน Opera Software ก็ได้ออกมาบอกว่า ใน Opera 9 ซึ่งจะเป็นเว็บบราวเซอร์ตัวที่กำลังพัฒนาอยู่นี่ จะมีเทคโนโลยี Widget กับเขาเหมือนกัน โดย Opera 9 จะสามารถสร้างหน้าต่างบราวเซอร์เล็ก ๆ ที่วางไว้บนพื้นหลังจอ ซึ่งหน้าต่างเหล่านี้ จะแสดงข้อมูลจากเว็บไซท์ต่าง ๆ ซึ่งก็ไม่ต่างจาก Widget ของเจ้าอื่น ๆ สักเท่าไหร่
เรื่องนี้ผมหยิบมาจาก Slashdot ที่มีหัวข้อคุยกัน เมื่อ Novell ได้จัดทำโพลขึ้นมา ว่าด้วยเรื่องผู้ใช้ลีนุกซ์ต้องการแอพลิเคชั่นใดบนแพลตฟอร์มอื่นให้แปลงมาลงในลีนุกซ์บ้าง
NetBeans 5.0 ออกมาแล้ว ส่วนอนาคตของ NetBeans 5.5 หลักไมล์หลักถัดๆไปนั้น เราอาจจะได้เห็น Sun Creator และ Sun Enterprise เข้าร่วมโครงการด้วย
Sun Creator 2 นั้นเป็นเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาจาวา ที่มุ่งเน้นพัฒนาทางด้านเว็บอินเตอร์เฟสด้วยเทคโนโลยี JSF เป็นหลัก ส่วน Sun Enterprise 8 นั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเช่นเดียวกัน แต่จะมีความสามารถด้านอื่นๆ ที่ช่วยในการพัฒนาครบวงจรกว่า เครื่องมือทั้งสองนี้ทางซันได้ปล่อยฟรีมาช่วงหนึ่งแล้ว และใครได้ไปงาน Suntech day ที่จัดขึ้นไม่นานนี้ ก็คงได้เห็นตัวอย่างของเครื่องมือนี้กันไปแล้ว
แนวคิดการแบ่งปันร่วมกันเริ่มได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดแนวคิดใหม่ๆ เช่นเครือข่าย FON ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไวร์เลสแลนในบ้านมีโอกาสเก็บค่าบริการที่จะให้บริการอินเทอร์เน็็ตไร้สายในบริเวณรอบๆ บ้านของแต่ละคน
ที่น่าสนใจคือบริษัทสื่อสารใหญ่ๆ อย่างกูเกิล และ Skype ลงทุนในบริษัทนี้ด้วย ทั้งที่บริการนี้เป็นบริการใหม่ และยังมีข้อน่ากังขาเช่นว่าบรรดา ISP จะยอมโดยดีหรือ เพราะเป็นผู้เสียประโดยตรงแน่ๆ
หลังจากเทคนิค SEO ถูกใช้อย่างหนักในช่วงหลัง เว็บใหญ่ๆ อย่าง BMW.de ก็เอาด้วย โดยมีคนจับได้ว่าเว็บ BMW.de นั้นแอบใช้เทคนิคนี้ด้วย โดยเนื้อหาเว็บที่โปรแกรมของกูเกิลมองเห็นนั้นไม่ใช่เนื้อหาเดียวกับที่อยู่บนเว็บจริงๆ
กูเกิลตอบโต้การกระทำนี้ด้วยการปรับค่า PageRank ของเว็บนี้ให้กลายเป็น 0 ทำให้การค้นเว็บ BMW จะไม่พบเว็บ BMW.de ในหน้่าแรกๆ นับว่าเป็นครั้งแรกที่เว็บใหญ่ๆ ถูกตอบโต้อย่างรุนแรง
อีกหน่อยเราได้เห็นรายการอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ
ที่มา - Google Blogoscoped
sidebar เป็นฟีเจอร์แรกๆ ที่โชว์ว่าจะมาในวินโดวส์รุ่นถัดไป (บิล เกตส์โชว์ภาพตั้งกะปี 2003 สมัยยังชื่อ Longhorn นู้น ถ้ายังจำกันได้นะ) แต่พอเปลี่ยนมาเป็น Vista เจ้า sidebar นี้ก็หายสาบสูญไป ตอนนี้มันกำลังจะกลับมาใน Vista CTP ประจำเดือนกุมภานี้
์โนเวลล์โชว์วิดีโอเดโมของ Novell Linux Desktop 10 ที่ปารีส โดยสิ่งที่น่าสนใจมากๆ คือ XGL ซึ่งเป็นส่วนขยายของ X-Window ให้ใช้ OpenGL เข้าช่วยในการประมวลผล (แบบเดียวกับ Mac OS X หรือ Vista) ซึ่งในวิดีโอนี้มีโชว์เอฟเฟกต์ 3D หลายอย่าง แนะนำให้ลองดูกันครับ น่าประทับใจมาก เราจะได้ใช้เดสก์ทอปใสๆ หมุนๆ กันแล้ว (ถ้าเน็ตช้าลองโหลดอันที่ 3 กับ 4 ก็พอ)
เมื่อวานนี้ Adobe ออกมาอธิบายท่าทีของบริษัทกับ Intel Mac (เป็นไฟล์ .pdf)
ถึงแม้ว่า Bruce Chizen ซีอีโอจะขึ้นไปบนเวทีเดียวกับสตีฟ จ็อบส์ ที่งาน WWDC 2005 ปีที่แล้วที่แถลงข่าวย้ายไปใช้อินเทล และ Chizen ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นอย่างดี แต่เราคงต้องรออีกนานพอสมควร กว่าจะได้ใช้โปรแกรมจาก Adobe (รวมถึง Macromedia) ที่คอมไพล์มาแบบ Universal Binary เพราะ Adobe ไม่มีนโยบายที่จะนำโปรแกรมที่ออกมาแล้ว (CS2 และอื่นๆ) มาออกใหม่ ดังนั้นเราต้องรอโปรแกรมรุ่นใหม่เท่านั้น
วงการคอมพิวเตอร์จะมีศัพท์คำนึงที่เรียกว่า vaporware ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นสัญญาลมๆ แล้งๆ ว่าจะออก แต่สุดท้ายก็ไม่ออกเสียที (อ่านรายละเอียดได้ใน Wikipedia)
และสุดยอดของ vaporware ตลอดกาลของโพลทุกสำนัก เป็นของเกม Duke Nukem Forever ซึ่งนับเป็นภาค 4 ของเกมตระกูล Duke ถ้าใครยังจำได้ Duke Nukem 3D ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ขึ้นมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Quake แต่เมื่อเวลาผ่านไปเกือบสิบปี ค่าย id software ออก Quake เพิ่มอีก 2 ภาค และ Doom อีกหนึ่งภาค ในขณะที่ Duke Nukem Forever ยังไม่ถึงไหน!!!
เพิ่งจับมือกันเพียงเดือนเดียว ค่ายทีวีอย่างซีบีเอสก็มีทีท่าว่าจะปันใจไปจากกูเกิลเสียแล้ว โดยเมื่อ Google Video เปิดตัวนั้น มีพันธมิตรรายใหญ่อย่างซีบีเอส นำคอนเทนต์จำนวนมากลงมาให้ดาวน์โหลด แต่ในวันนี้เองทาง ซีบีเอสก็แสดงท่าทีว่าจะขายรายการโทรทัศน์ต่อไปด้วยตัวเอง
โดยรายการแรกที่ทางซีบีเอสจะเริ่มขายเองคือ Survivor อันโด่งดัง ซึ่งรายการนี้จะมีให้โหลดในเว็บของทางซีบีเอส และผู้ซื้อต้องดูเมื่อกำลังออนไลน์เท่านั้น โดยรายการที่โหลดมาจะดูได้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
ตอนนี้ทางกูเกิลเองคงต้องหัวปั่น หารายการมาใส่เพิ่มกันอีกยกใหญ่
หลังจากยื่นเรื่องมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน PUBPAT ซึ่งต่อสู้ในประเด็นของสิทธิบัตร JPEG ก็มีลางว่าจะได้เปรียบเมื่อสำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐออกมายอมรับ ที่จะตรวจสอบสิทธิบัตรของบริษัท Forgent ซึ่งอ้างว่ามาตรฐาน JPEG นั้นละเมิดสิทธิบัตรของตน ส่งผลให้บริษัทจำนวนมากต้องจ่ายค่าใบอนุญาตใช้งาน JPEG
แม้จะเป็นเพียงการรับไว้พิจารณา แต่จากสถิติแล้ว เมื่อมาถึงขั้นนี้ร้อยละ 70 ของสิทธิบัตรก็มักจะถูกเปลี่ยนแปลงในทางที่อ่อนลง หรือถูกยกเลิกไป
หลังจากที่ไลนัสได้ออกมาแสดงท่าที่ในการใช้ GPLv3 ก่อนหน้านี้ที่จะไม่ใช้ GPLv3 กับลินุกซ์แล้ว ก็มีรายงานถึงท่าทีและความเห็นของไลนัสต่อ GPLv3 มาในเมลหลายฉบับ ซึ่งโดยหลักๆ แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดทำให้เขารับ GPLv3 ไม่ได้ คงเป็นการต่อต้าน DRM ของ GPLv3 ที่ไม่ยอมรับ DRM เอาท่าเดียว
แก้ปัญหาความปลอดภัยและแครชอีกนิดหน่อย อ่านรายละเอียดได้ใน Unofficial Firefox 1.5.0.1 changelog
ผมได้ update notification แล้วเมื่อเช้า คิดว่าน่าจะได้ลองใช้ฟีเจอร์อัพเดตอัตโนมัติของ Firefox กันเป็นครั้งแรกก็คราวนี้ล่ะ
ที่มา - MozillaZine
หลังจากปล่อย IE7 beta 2 เวอร์ชันสำหรับนักพัฒนาออกมาแล้วเมื่อวันก่อน (ข่าวเก่า) ตอนนี้เวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ทั่วไปมีให้ดาวน์โหลดแล้ว โดยใช้งานได้บน Windows XP SP2 เท่านั้น Release note ฟีเจอร์ใหม่
ล่าสุดพบรูโหว่ DoS attack แล้ว
หลังจากซันโปรโมทอย่างหนักหน่วงในช่วงหลังๆ Netbeans 5.0 ตัวเต็มก็ออกมาให้ใช้เสียที พูดกันไปหลายทีแล้วกับฟีเจอร์ใหม่ในเวอร์ชันนี้ี้ โหลดไปลองกันดูได้ หวังว่าบั๊กเวลาใช้ Matisse จะหมดไปซะทีนะ
ว่าแต่พวก IDE ที่ให้ใช้ฟรีแบบ NetBeans หรือ Eclipse ไม่มีใครสนใจทำ mirror ในไทยบ้างเหรอ
โซนี่ทำได้ไม่ค่อยดีนักในเรื่องเกมออนไลน์บน PS2 อาจเป็นเพราะต้องซื้อ Network Adapter แยกต่างหาก ทำให้ผู้ใช้น้อย และบริษัทเกมไม่กระตือรือล้นที่จะทำเกมออนไลน์เท่าไร
ตรงข้ามกับไมโครซอฟท์ที่มุ่งออนไลน์มาตั้งแต่แรก ความพยายามยิ่งเด่นชัดใน 360 เมื่อ XBox Live เป็นบริการชูโรง มีบริการย่อยสารพัดไม่ว่าจะเป็นคิดอันดับคะแนน จับคู่เล่น ฯลฯ
ตอนนี้โซนี่ยืนยันแล้วว่า PS3 จะมีบริการออนไลน์ที่วางเป้าเป็นคู่แข่งโดยตรงของ XBox Live ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทั้งเรื่องราคาและวันเปิดตัวยังไม่มี
ที่มา - Ars Technica
ความกังวลว่าจะมีโค้ดของไมโครซอฟท์หลุดเข้ามาในโครงการโอเพนซอร์สอย่าง ReactOS ทำให้ทีมงานตัดสินใจหยุดการพัฒนาเป็นเวลาสามเดือนเพื่อจะรีวิวโค้ดทั้งหมดอีกครั้ง
โดย ReactOS เป็นระบบปฎิบัติการโอเพนซอร์สที่มุ่งจะให้ไดรว์เวอร์และแอพพลิเคชันทั้งหมดทำงานได้บนตัวมัน โดยอาศัยโครงการอย่าง Wine เป็นส่วนสำคัญ
ความกังวลนี้เกิดขึ้นจากการที่มีโค้ดของวินโดว์กระจายอยู่ในอินเทอร์เน็ด อย่างไรก็ตามทีมงานระบุว่าการรีวิวโค้ดครั้งนี้ เป็นการรีวิวเพื่อตรวจสอบคุณภาพโค้ดทั้งหมดไปพร้อมๆ กันด้วย
ยังไม่มีความเห็นจากไมโครซอฟท์ในเรื่องนี้
ได้ชื่อว่าเป็นผู้ชายที่รวยที่สุดในโลก ย่อมต้องจ่ายภาษีมากที่สุดในโลกเป็นธรรมดา (47 พันล้านเหรียญ)
แต่สำนักงานภาษีอากรของสหรัฐไม่ได้สนุกเท่าไรกับงานนี้ เพราะคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ไม่สามารถประมวลผลภาษีของบิลเกตส์ได้ จึงต้องซื้อคอมพิวเตอร์พิเศษมาทำงานนี้โดยเฉพาะ และบิลเองเล่าว่าเค้ามักจะได้จดหมายเตือนให้จ่ายภาษีอยู่เป็นประจำ เนื่องจากเจ้าหน้าที่มักลืมว่าต้องไปดูในเครื่องพิเศษนี้ทุกที
ในข่าวไม่ได้บอกว่าใช้ระบบปฏิบัติการอะไร แต่ถ้าบิลอยากบริจาค Vista ให้ใช้คิดภาษี คงต้องรอปลายปี!
ที่มา - The Inquirer