ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตไคลเอนต์ Microsoft Teams ตัวใหม่สำหรับการใช้งานบน virtual desktop/remote desktop ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานวิดีโอคอลล์
เหตุผลที่ Teams ต้องมีไคลเอนต์แยกสำหรับการรันบน Virtual Desktop Infrastructure (VDI) เป็นเพราะวิธีการประมวลผลของเครื่องเสมือนบน VDI แยกส่วนไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์กัน (ดูภาพประกอบ) จึงต้องมีไคลเอนต์เฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อสถาปัตยกรรมของ VDI ให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Vista Equity Partners และ Evergreen Coast Capital บริษัทด้านการลงทุน ประกาศแต่งตั้ง Tom Krause อดีตประธานฝ่ายซอฟต์แวร์ของ Broadcom เป็นซีอีโอคนใหม่ของบริษัทใหม่ ที่จะรวมกิจการ Citrix และ TIBCO เข้าด้วยกัน ซึ่งสองบริษัทกองทุนนี้เป็นเจ้าของอยู่
Krause ถือเป็นผู้บริหารคนสำคัญของ Broadcom และมีรายงานว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเจรจาดีลซื้อ VMware มูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
อัพเดต: Citrix ยืนยันข่าวดังกล่าวแล้ว
สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าบริษัทการลงทุน Vista Equity Partners และ Elliott Management Corp ใกล้ปิดดีลซื้อกิจการ Citrix Systems บริษัทซอฟต์แวร์รีโมททำงานสำหรับองค์กร โดยมูลค่าดีลอยู่ราว 13,000 ล้านดอลลาร์
รายงานบอกว่าเมื่อดีลเสร็จสิ้น และนำ Citrix ออกจากตลาดหุ้น Vista และ Elliott จะควบรวมกิจการบริษัทกับ Tibco บริษัทซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล ที่ทั้งสองบริษัทเป็นเจ้าของอยู่ตอนนี้
Citrix ประกาศบรรลุข้อตกลงเข้าซื้อกิจการ Wrike แพลตฟอร์ม SaaS ด้าน Project Management ที่มูลค่า 2,250 ล้านดอลลาร์ จากเจ้าของเดิม Vista Equity Partners
David Henshall ซีอีโอ Citrix กล่าวว่าปัจจุบันการทำงานเกิดขึ้นได้ในทุกที่ การซื้อกิจการ Wrike จะทำให้ Citrix มีโซลูชันสำหรับองค์กรที่สมบูรณ์มากขึ้น ทั้งความปลอดภัยในการเข้าถึงทรัพยากรขององค์กร และเครื่องมือที่ช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกันได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในทุกช่องทาง ทุกอุปกรณ์ และทุกสถานที่
ปัจจุบัน Wrike มีลูกค้าองค์กรอยู่ราว 18,000 แห่งทั่วโลก
Citrix ประกาศออกแพตช์ช่องโหว่ Citrix ADC และ Citrix Gateway ในเวอร์ชั่น 11.1 และ 12.0 สองตัวแรก พร้อมกับเร่งความเร็วแพตช์รุ่นอื่นๆ ให้เร็วกว่าที่ประกาศตอนแรกอีกหนึ่งสัปดาห์ เป็นวันที่ 24 มกราคมนี้
ช่องโหว่นี้เป็นช่องโหว่รันโค้ดระยะไกล โดยไม่ต้องล็อกอินก่อนโจมตี (unauthenticated remote code execution) โดยช่องโหว่ถูกเปิดเผยมาตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว และที่ผ่านมามีแต่กระบวนการลดความเสี่ยง (mitigation) เท่านั้น โดยก่อนหน้านี้มีรายงานถึงการสแกนเซิร์ฟเวอร์ที่มีความเสี่ยงและตัวอย่างโค้ดสำหรับการโจมตีเผยแพร่ออกมาแล้ว
เมื่อวานนี้นักวิจัยจำนวนหนึ่งเริ่มปล่อยโค้ดโจมตีช่องโหว่รันโค้ดระยะไกลบน Citrix ADC และ NetScaler หลังพบว่ามีคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งเริ่มสแกนช่องโหว่บนเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลก โดยสคริปต์ที่ปล่อยออกมามักไม่ได้โจมตีจริง แต่ทดสอบเบื้องต้นว่าเซิร์ฟเวอร์มีช่องโหว่หรือไม่
ทาง Citrix ออกมาเขียนบล็อกรายงานความคืบหน้า ว่าหลังจากแนะนำให้ลูกค้าคอนฟิกลดผลกระทบช่องโหว่ไปก่อนหน้านี้แล้วตอนนี้บริษัทกำลังพัฒนาแพตช์ถาวรอยู่ แต่แพตช์เหล่านั้นต้องผ่านกระบวนการทดสอบก่อนปล่อยออกมา กำหนดการปล่อยแต่ละเวอร์ชั่นต่างกันไป แต่ทั้งหมดจะปล่อยในช่วงวันที่ 20 ถึง 31 มกราคมนี้
Johannes Ullrich จาก SANS ISC รายงานถึงการตั้งเซิร์ฟเวอร์ honeypot เพื่อดักการโจมตีช่องโหว่บน Citrix ADC และ NetScaler ที่มีช่องโหว่ระดับวิกฤติเปิดทางรันโค้ดระยะไกล ว่าเริ่มมีการสแกนจากจีนและฝรั่งเศส แม้รูปแบบการสแกนจะไม่ได้มุ่งร้ายชัดเจนมากก็ตาม
ช่องโหว่ CVE-2019-19781 นี้ทาง Citrix ได้ออกแนวทางการลดผลกระทบ (mitigation) ออกมาแล้วแม้ยังไม่ได้ออกแพตช์โดยตรงก็ตาม โดย NIST ให้คะแนนความร้ายแรง ตาม CVSS 3.1 ไว้ที่ 9.8 คะแนน นับเป็นช่องโหว่ระดับวิกฤติ
นักวิจัยจาก Positive Technologies รายงานถึงช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ Citrix Application Delivery Controller (ADC) และ NetScaler Gateway เปิดทางให้แฮกเกอร์รันโค้ดจากระยะไกลโดยไม่ได้เป็นผู้ใช้ของระบบแต่อย่างใด (unauthenticated remote code execution)
ช่องโหว่ได้หมายเลข CVE-2019-19781 และทาง Citrix ยังไม่ได้ให้คะแนนความร้ายแรง CVSS แต่อย่างใด แต่ทาง Positive เชื่อว่าน่าจะถึง 10 คะแนนเต็ม
ทาง Citrix ยังไม่ได้ออกแพตช์สำหรับช่องโหว่นี้ แต่ออกแนวทางลดผลกระทบ (mitigation) มาแล้ว โดยบริษัทระบุว่าจะแจ้งลูกค้าโดยเร็วเมื่อแพตช์พร้อมแล้ว แนวทางลดผลกระทบเป็นการป้องกันการเรียก URL "/vpns/" และมี "/../" อยู่ใน URL
Citrix ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ระดับองค์กรที่โด่งดังในด้านระบบเดสก์ทอปเสมือน (virtual desktop) ได้รับแจ้งจาก FBI เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา ว่าบริษัทกำลังถูกแฮกข้อมูล และเมื่อตรวจสอบพบว่าแฮกเกอร์พยายามดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลทางธุรกิจ (business document) โดยตอนนี้ยังระบุไม่ได้แน่ชัดว่ามีข้อมูลอะไรที่หลุดออกไปบ้าง
ผู้รายงานการแฮกครั้งนี้คือบริษัท Resecurity รายงานผ่านทาง FBI โดยระบุว่าแฮกเกอร์เดารหัสผ่านของพนักงาน (password spraying) หลายคนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรภายใน แล้วพยายามเข้าไปสู่ชั้นที่ลึกขึ้นเรื่อยๆ Charles Yoo ประธาน Resecurity ระบุว่าข้อมูลที่แฮกเกอร์ได้ไปอย่างน้อย 6 เทราไบต์ และอาจจะมากถึง 10 เทราไบต์
Citrix ประกาศความร่วมมือกับกูเกิลในส่วนของ Google Cloud Platform (GCP) โดยซอฟต์แวร์ของ Citrix หลายตัว เช่น Citrix Workspace Services และ Netscaler CPX จะพร้อมใช้งานบน GCP โดยตรง
ข่าวนี้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของโลกไอทีองค์กร ที่เริ่มย้ายโครงสร้างพื้นฐานมาสู่คลาวด์มากขึ้น แต่ยังต้องพึ่งพาแอพพลิเคชันตัวเดิมๆ (อย่างกรณีของ Citrix) ความร่วมมือของทั้งสองบริษัทจึงช่วยให้ลูกค้าที่ใช้ Citrix สามารถข้ามมารันงานบน GCP ได้ต่อเนื่องกว่าเดิม
นอกจากนี้ Citrix ShareFile ยังจะเชื่อมต่อกับทั้ง G Suite และ Google Drive ซึ่งได้รับความนิยมในตลาดองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ และ Citrix Receiver for Chrome จะถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้น เช่น รองรับการทำงานแบบหลายจอมอนิเตอร์
ข้อจำกัดของ Windows 10 S คือรองรับเฉพาะแอพใน Store เท่านั้น ส่งผลให้แอพเก่าๆ จำนวนมากไม่สามารถทำงานได้ ทางออกขององค์กรที่อยากใช้ Windows 10 S ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่ก็ยังต้องใช้แอพเก่าบางตัว จึงอาจต้องทำงานแบบรีโมทหรือ virtual desktop แทน
ล่าสุด Citrix หนึ่งในเจ้าพ่อด้านรีโมท ออกแอพ Citrix Receiver เวอร์ชัน UWP ที่ทำงานบน Windows 10 S แล้ว ช่วยให้องค์กรที่ซื้อโซลูชันของ Citrix ไปแล้วสามารถรันงานบน Windows 10 S ได้ด้วย (นอกเหนือจาก Windows 10 ธรรมดาที่รันได้อยู่แล้วเช่นกัน)
เนื่องจากแอพตัวนี้เป็น UWP มันจึงทำงานได้บน Windows 10 แทบทุกเวอร์ชัน รวมไปถึง Windows 10 Mobile ที่รองรับ Continuum ด้วย
ที่มา - Citrix
กูเกิลดัน Chrome ในตลาดองค์กรสุดตัว ล่าสุดออก Chrome Enterprise Bundle จัดชุดมาให้แอดมินองค์กรบริหารจัดการง่ายขึ้น
ในชุด Chrome Bundle ประกอบด้วย
นอกจากนี้ กูเกิลยังประกาศความร่วมมือกับ Citrix รองรับ Citrix XenApp อย่างเป็นทางการ โดย Chrome 58 จะสามารถรัน Citrix แบบเร่งความเร็วด้วยจีพียูได้แล้ว
เมื่อปลายปีที่แล้ว Citrix ประกาศแยกธุรกิจซอฟต์แวร์เพื่อการประชุมทางไกล GoTo ออกเป็นบริษัทใหม่ แต่ล่าสุดแผนเปลี่ยนแล้ว เพราะ GoTo จะไปควบรวมกับบริการควบคุมพีซีระยะไกล LogMeIn แทน
ซอฟต์แวร์ของ GoTo ประกอบด้วยซอฟต์แวร์สื่อสารสำหรับองค์กรขนาดเล็ก-กลางหลายตัว เช่น GoToAssist, GoToMeeting, GoToMyPC, GoToTraining, GoToWebinar ส่วนฝั่งของ LogMeIn นอกจากซอฟต์แวร์หลักที่ใช้ควบคุมพีซีจากระยะไกล ยังมี Join.me, LastPass (ซื้อมาปี 2015), LogMeIn Rescue, BoldChat เป็นต้น
GoToMyPC บริการเข้าถึงเครื่องจากระยะไกลของ Citrix ถูกโจมตีจากการยิงรหัสผ่านโดยกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญสูง (very sophisticated) ทางบริษัทตัดสินใจที่จะรีเซ็ตรหัสผ่านของผู้ใช้ทั้งหมด โดยเบื้องต้นบริษัทระบุว่ารหัสผ่านที่ใช้โจมตีเป็นรหัสผ่านที่รั่วออกมาจากบริการอื่นและมีการใช้ซ้ำบน GoToMyPC
ยังไม่มีรายละเอียดว่าการโจมตีนี้พิเศษกว่าปกติอย่างไร ทางบริษัทจึงเรียกว่าเป็นการโจมตีจากกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญสูง
ตอนนี้ GoToMyPC แนะนำให้ลูกค้าเปิดใช้งานการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน, อย่าใช้รหัสผ่านเป็นคำในพจนานุกรม, ตั้งรหัสผ่านยาว 8 ตัวอักษรขึ้นไป, ใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อน
ระบบปฎิบัติการสำหรับการทำ virtualization ยุคแรกๆ ที่ได้รับความนิยมสูงคงเป็น XenServer (ที่เมื่อก่อนเรียกว่า Xen เฉยๆ) XenServer ออกเวอร์ชั่นหลัก 6.0 มาตั้งแต่ปี 2011 และวันนี้เวอร์ชั่น 7.0 ก็ออกมาแล้ว
เวอร์ชั่นใหม่นี้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่การเชื่อมต่อที่รองรับ TLS 1.2 ทั้งหมด เปิด Direct Inspect API ทำให้ซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์สามารถทำไปงานอยู่บน service VM แยกออกจาก guest VM ได้ และรองรับการทำ vGPU เพิ่มเติมบนการ์ด NVIDIA GRID Maxwell M10 และ Intel Iris Pro
Citrix ได้ตัวซีอีโอใหม่ หลังซีอีโอคนเดิม Mark Templeton ประกาศเกษียณอายุไปเมื่อปีที่แล้ว
ผู้ที่จะมารับตำแหน่งแทนคือ Kirill Tatarinov อดีตผู้บริหารไมโครซอฟท์ เขาเคยทำงานดูแลด้านโซลูชันธุรกิจของไมโครซอฟท์มาก่อน มีประสบการณ์ทั้งด้านการบริหารและเทคโนโลยี
Citrix เป็นบริษัทไอทีองค์กรอีกรายที่ปรับตัวอย่างมากในช่วงหลัง ก่อนหน้านี้ บริษัทเพิ่งประกาศแยกธุรกิจซอฟต์แวร์ประชุมออนไลน์ GoTo เป็นบริษัทใหม่ และจะเสร็จสิ้นกระบวนการในครึ่งหลังของปีนี้
ความคืบหน้าต่อจากข่าว Citrix สนใจแยกธุรกิจประชุมออนไลน์ GoToMeeting วันนี้ข่าวเป็นทางการมาแล้ว โดย Citrix ตัดสินใจแยก GoTo ออกเป็นบริษัทใหม่ตามคาด
บริษัทใหม่ (ยังไม่มีชื่อเรียกแต่ก็น่าจะใช้ชื่อ GoTo) ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ด้านการทำงานร่วมกัน ตระกูล GoToAssist, GoToMeeting, GoToMyPC, GoToTraining, GoToWebinar, Grasshopper, OpenVoice จะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และจะตั้ง Chris Hylen ผู้บริหารของ Citrix เป็นซีอีโอไปจนกว่าจะแยกบริษัทเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะเป็นครึ่งหลังของปี 2016
Citrix ผู้ให้บริการด้าน application virtualization และ enterprise mobility ชื่อดัง เตรียมจัดยุทธศาสตร์องค์กรใหม่ และอาจต้องขายหรือแยกธุรกิจการประชุมออนไลน์แบรนด์ GoTo (GoToMeeting, GoToAssist, GoToMyPC, ฯลฯ) ออกไป
เหตุผลที่ Citrix สนใจแยกธุรกิจ GoTo ออกไปเพื่อให้สายผลิตภัณฑ์ตัวเองลดลง บริษัทคล่องตัวมากขึ้น เพื่ออัตราการเติบโตที่ดีขึ้นในอนาคต ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ Citrix มีรายได้ 979 ล้านดอลลาร์ กำไร 103 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้ว
นอกจากนี้ ซีอีโอ Mark Templeton ยังประกาศแผนการเกษียณอายุ โดยจะยังทำงานต่อไปจนกว่าจะสรรหาซีอีโอคนใหม่ได้
กูเกิลยังเดินหน้าดัน Chromebook บุกตลาดองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ยุทธวิธีจับมือกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์องค์กรสาย remote/virtual desktop ให้รองรับ Chrome OS เพื่อให้ลูกค้าสามารถรันแอพขององค์กร (ที่มักออกแบบมาเพื่อวินโดวส์) บน Chrome OS ได้ด้วย
ก่อนหน้านี้ กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ VMware เพื่อให้ Chromebook รองรับระบบรีโมท VMware Horizon DaaS ไปแล้ว วันนี้กูเกิลประกาศข้อตกลงคล้ายๆ กันกับ Citrix เจ้าพ่อแห่งวงการรีโมทเดสก์ท็อปอีกรายหนึ่ง
ภายใต้ข้อตกลงนี้ Citrix จะออก Citrix Receiver for Chrome ที่เชื่อมฟีเจอร์เข้ากับ Chrome OS โดยตรง เช่น รองรับการพิมพ์ผ่าน Cloud Print, ระบบคลิปบอร์ด, การเชื่อมต่อผ่าน SSL เป็นต้น
เทคโนโลยีด้าน virtualization เริ่มถูกใช้ในองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับที่งานด้าน workstation พลังสูงอย่างการประมวลผลทางวิศวกรรม การประมวลผลมัลติมีเดีย และงานออกแบบ CAD จำเป็นต้องย้ายมาบนเครื่อง workstation "เสมือน" กันแล้ว
HP ที่ทำตลาดเครื่อง workstation ใต้แบรนด์ Z Workstation อยู่ก่อนแล้ว จึงเริ่มขยับตัวมาทำเครื่องแบบเสมือนกันบ้าง โดยออกฮาร์ดแวร์ใหม่ในตระกูล Z คือ DL380z ที่รองรับผู้ใช้พร้อมกันสูงสุด 8 คนบนเครื่องเดียว
Citrix ประกาศว่าตอนนี้ XenMobile (ซึ่งเป็นระบบจัดการระดับองค์กรสำหรับโทรศัพท์มือถือ) สามารถรองรับระบบปฏิบัติการ Windows Phone 8 อย่างเป็นทางการทั้งแอพ และอุปกรณ์ โดยผู้ใช้งานระบบ XenMobile จะได้รับความสะดวกยิ่งขึ้นเมื่อต้องการซิงก์ข้อมูลผ่าน Outlook, Office Mobile รวมถึงแอพพลิเคชั่นที่ทางองค์กรได้เตรียมไว้เฉพาะได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งยังรองรับระบบ Microsoft Exchange อีกด้วย
ผู้อ่าน Blognone คงรู้จักโครงการ Xen ซอฟต์แวร์ด้าน virtualization แบบโอเพนซอร์สบนลินุกซ์
Xen เริ่มพัฒนาโดยบริษัท XenSource และถูก Citrix ซื้อกิจการเมื่อปี 2007 ตัวโครงการอยู่ภายใต้การดูแลของ Citrix เรื่อยมา แต่ล่าสุด Citrix ก็ยกโครงการนี้ให้องค์กรกลางที่ไม่หวังผลกำไรอย่าง Linux Foundation มาดูแลแทนแล้ว
ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์คุณ Yaj Malik รองประธานกรรมการภูมิภาคอาเซียน Citrix ที่ประจำอยู่ที่สิงคโปร์และแวะมาดูธุรกิจที่ประเทศไทย หัวข้อการสนทนาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มตลาดไอทีโลกในฝั่งองค์กร ยุทธศาสตร์ของบริษัท และมีเรื่องการทำธุรกิจในประเทศไทยอีกนิดหน่อย
Citrix เป็นบริษัทไอทีชื่อดังในฝั่งองค์กร แต่กลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในฝั่งคอนซูเมอร์เท่าไรนัก ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น ก็มารู้จัก Citrix กันก่อน
ข่าวนี้ต้องย้อนความนิดนึงครับ เริ่มจากช่วงกลางปีที่แล้ว Citrix เข้าซื้อกิจการ Cloud.com และจากนั้นไม่นานก็
เพียงหนึ่งเดือนหลังบริษัท Citrix เข้าซื้อบริษัท Cloud.com เจ้าของซอฟต์แวร์บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเมฆ CloudStack เจ้าของใหม่ก็ประกาศโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ชุด CloudStack ทั้งหมดแล้ว