คดีเนเธอร์แลนด์สั่งให้แอปเปิลเปิดเสรีระบบจ่ายเงินบน App Store สำหรับแอปเดตเป็นคดีมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และตอนนี้แอปเปิลก็ยื่นข้อเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนรอบล่าสุดให้แก่หน่วยงานด้านแข่งขันทางการค้าของเนเธอร์แลนด์ Authority for Consumers and Markets (ACM)
เมื่อคืนนี้บริการออนไลน์หลายรายการของแอปเปิล มีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้หลายบริการ โดยในหน้า System Status ระบุว่าเริ่มพบปัญหาตั้งแต่เวลา 3:45น. ตามเวลาในไทย และกลับมาใช้งานได้ตามปกติตั้งแต่ 5:09น.
บริการที่กระทบรวมทั้ง App Store, Game Center, Mac App Store, Apple Books, Apple Card, Apple Music, Podcasts และ Weather
ปัญหาบริการออนไลน์ของแอปเปิลไม่สามารถใช้งานได้เกิดขึ้นเป็นคืนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากคืนวันที่ 21 มีนาคมก็มีปัญหา โดยมีทั้งบริการที่เพิ่มพบปัญหาครั้งแรก และบริการที่มีปัญหาซ้ำทั้งสองคืน เช่น App Store และ Game Center
บริการ Apple ล่มกว่า 10 รายการ ตั้งแต่ App Store, Apple Arcade, Apple Music, Apple TV+, Find My, Podcast และ Radio, iCloud Calendar และ iCloud Contacts มีบางช่วงบริการ Maps ใช้งานไม่ได้ด้วย แต่กลับมาใช้ได้บ้างแล้ว สลับกับ iCloud Calendar และ iCloud Contacts ที่ใช้งานได้ระยะหนึ่งก่อนกลับมาล่มใหม่ สาเหตุที่ล่มยังไม่แน่ชัด คงต้องรอ Apple แก้ไขและชี้แจงต่อไป
จากกรณี เนเธอร์แลนด์สั่งแอปเปิลเปิดเสรีระบบจ่ายเงินบน App Store สำหรับแอพหาคู่เดต ที่สุดท้ายแอปเปิลยอมทำตาม แต่มีเงื่อนไขว่าแอพหาคู่เดตต้องยื่นคำขอไปยังแอปเปิลก่อน รวมถึงยังต้องจ่ายส่วนแบ่ง (ยังไม่ระบุตัวเลข) ให้แอปเปิลอยู่ดี แม้ใช้ระบบจ่ายเงินของเจ้าอื่นแล้วก็ตาม
ต่อจากข่าว เนเธอร์แลนด์สั่งแอปเปิลเปิดเสรีระบบจ่ายเงินบน App Store สำหรับแอพหาคู่เดต
แอปเปิลออกมาประกาศว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของ Authority for Consumers and Markets (ACM) หน่วยงานด้านการแข่งขันของเนเธอร์แลนด์ โดยจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาล อย่างไรก็ตาม ระหว่างกระบวนการอุทธรณ์ แอปเปิลก็ระบุว่าจะยอมปฏิบัติตามคำสั่งของ ACM ไปก่อน
สิ่งที่แอปเปิลจะทำคือ จะเปิดให้แอพหาคู่เดทใน App Store ของเนเธอร์แลนด์ ใช้ระบบจ่ายเงินอื่นได้ โดยนักพัฒนาจะต้องยื่นคำขอไปยังแอปเปิล และต้องแยกไฟล์ไบนารีที่ส่งขึ้นสโตร์ด้วย
แอปเปิลรายงานสถิติตัวเลขของกลุ่มธุรกิจบริการ (Services) ซึ่งประกอบด้วย App Store, Apple Music, Apple Maps, Apple Pay, Apple News, Apple Podcasts, Apple Fitness+, Apple TV+, Apple Arcade และอื่น ๆ โดยมีบัญชีผู้ใช้งานที่สมัครจ่ายเงินแบบ subscription แล้วมากกว่า 745 ล้านบัญชี สะท้อนรูปแบบการรับข้อมูลความบันเทิง ที่เปลี่ยนไปของผู้คน
สถิติอื่นที่น่าสนใจมีดังนี้
KCC หรือสำนักงาน กสทช. ของเกาหลีใต้ให้ข้อมูลกับหนังสือพิมพ์ The Korea Herald ว่า แอปเปิลยอมปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ของเกาหลีใต้ อนุญาตให้มีวิธีการจ่ายเงินแบบอื่นบน App Store แล้ว
กฎหมายใหม่ของเกาหลีใต้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2021 โดยกูเกิลยอมทำตามตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน แต่ก็มีเงื่อนไขว่าจะเก็บเงินส่วนแบ่งรายได้จากนักพัฒนาอยู่ดี (ในอัตราที่ลดลงจาก 30%)
กรณีของแอปเปิลก็มาแบบเดียวกันคือ ยอมเปิดให้จ่ายเงินผ่านช่องทางอื่นได้ แต่ยังเก็บส่วนแบ่งในอัตราที่ลดลง ซึ่งยังไม่ระบุว่าเท่าไร และไม่ระบุว่าจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไร
กลายเป็นข่าวส่งท้ายปี 2021 เมื่อคณะกรรมการการแข่งขันของอินเดีย (Competition Commission of India หรือ CCI) มีคำสั่งให้สอบสวนแอปเปิลในประเด็นการบังคับจ่ายเงินบน App Store ให้ต้องใช้ระบบจ่ายเงินของแอปเปิลเท่านั้น
คดีนี้มีที่มาจากกลุ่ม Together We Fight Society ร้องเรียนต่อ CCI ว่าแอปเปิลมีพฤติกรรมผูกขาดและต่อต้านการแข่งขัน เพราะการซื้อแอพและการจ่ายเงินแบบ in-app purchase บน App Store ทั้งหมดต้องจ่ายผ่านช่องทางของแอปเปิล และต้องหักส่วนแบ่งรายได้ 30%
คณะกรรมการ CCI พิจารณาแล้วเห็นว่าแอปเปิลมีพฤติกรรมละเมิดกฎหมายแข่งขันทางการค้าของอินเดียจริง จึงให้สำนักงาน CCI สอบสวนพฤติกรรมของแอปเปิลอย่างละเอียดให้เสร็จภายใน 60 วัน แล้วรายงานกลับมายังคณะกรรมการต่อไป
หน่วยงานด้านแข่งขันทางการค้าของเนเธอร์แลนด์ Authority for Consumers and Markets (ACM) สั่งแอปเปิลให้เปิดเสรีระบบจ่ายเงินบน App Store สำหรับแอพกลุ่มหาคู่เดต
ACM บอกว่าแอพหาคู่เดตเป็นแอพกลุ่มที่จำเป็นต้องมีผู้ใช้งานหลากหลาย แต่การใช้งานบน iPhone ถูกบังคับด้วยเงื่อนไขด้านระบบจ่ายเงิน และส่วนแบ่ง 15% ของแอปเปิล ทำให้ผู้พัฒนาแอพเสียเปรียบ และกลายเป็นแอปเปิลมีอำนาจเหนือตลาด ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในภาพรวม หน้าที่ของ ACM จึงเป็นการสร้างการแข่งขันในตลาดให้มากขึ้น เพื่อให้กลไกตลาดทำงาน
บริษัทวิจัยตลาด Sensor Tower เผยผลสำรวจตลาด App Store และ Google Play Store พบยอดใช้จ่ายในแอปเติบโตกว่า 19.7% จาก 111.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020 เป็น 133 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ ทำสถิติสูงสุดตั้งแต่มีการสำรวจ
ยอดใช้จ่าย 133 พันล้านดอลลาร์นี้แบ่งสัดส่วนเป็น 85.1 พันล้านดอลลาร์จาก App Store ซึ่งรายได้เติบโต 17.7% จากปีก่อน ส่วน Google Play Store มียอดใช้จ่ายในแอปรวม 47.9 พันล้านดอลลาร์ เติบโต 23.5% จากปีก่อน แต่ก็ยังทำรายได้ตามหลัง App Store อยู่
นอกจากแอปยอดเยี่ยมแห่งปี App Store Awards 2021 แล้ว แอปเปิลก็ประกาศอันดับแอปยอดนิยมที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดของปี 2021 ด้วยเช่นกัน
โดยอันดับของ App Store ประเทศไทยนั้น แอป iPhone ฟรีที่มียอดดาวน์โหลดมากที่สุดคือ เป๋าตัง แอปที่คนไทยทั่วประเทศน่าจะคุ้นเคยกันดี ส่วนแอปเสียเงินที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดคือ Forest แอปสำหรับลดการติดสมาร์ทโฟน ผ่านการปลูกต้นไม้ดิจิทัล
ส่วนอันดับเกมนั้น RoV ยังคงเป็นเกมยอดฮิตทั้งบน iPhone และ iPad ขณะที่ Minecraft ก็ครองที่หนึ่งในหมวดเกมเสียเงิน
รายชื่อแอปที่ติดอันดับจำนวนดาวน์โหลดสูงสุดทั้งหมดมีดังนี้
แอปเปิลประกาศรางวัล App Store Awards 2021 ให้กับแอปและเกมที่ดีที่สุดประจำปี โดยปีนี้มีทั้งหมด 15 รายการ ผ่านการคัดเลือกโดยทีมบรรณาธิการของ App Store ทั่วโลก ผู้ชนะจะได้รางวัลเป็นสัญลักษณ์ App Store สีฟ้า ผลิตจากอลูมิเนียมรีไซเคิล 100% พร้อมสลักชื่อผู้ชนะเอาไว้ด้านหลัง
รายชื่อแอปที่ได้รางวัลทั้งหมดมีดังนี้
เรื่องมีอยู่ว่า Kosta Eleftheriou ซึ่งเป็นนักพัฒนาแอปที่ตรวจสอบข้อมูลของแอปเป็นประจำ ค้นพบว่าแอป Apple Podcast ซึ่งเป็นแอปสำหรับฟังพอดคาสต์ของแอปเปิลเอง มีคะแนนรีวิวบน App Store เมื่อต้นเดือนตุลาคมเพียง 1.8 ดาว จากประมาณ 1,000 รีวิว แต่ผ่านไปเพียง 1 เดือน ตอนนี้แอปมีเรตติ้งถึง 4.8 ดาว แล้ว จำนวนรีวิวเองก็เพิ่มถึง 18,000 รีวิว
สำหรับผู้พัฒนาแอป เรื่องนี้สามารถเดาได้ไม่ยาก นั่นคือรีวิวที่เพิ่มเข้ามาจำนวนมาก ล้วนเป็นรีวิว 5 ดาวทั้งสิ้น คะแนนเฉลี่ยจึงสูงนั่นเอง
ผู้พิพากษา Yvonne Gonzalez จากศาลแคลิฟอร์เนียร์ปฎิเสธคำขอทุเลาคำสั่งศาลที่บังคับให้แอปเปิลต้องเปิดให้แอปแสดงลิงก์หรือปุ่มรับเงินจากภายนอกระบบ In-App Purchase (IAP) ของแอปเปิลเองภายในวันที่ 9 ธันวาคมนี้
คำสั่งนี้เป็นผลมาจากคดี Epic Games v. Apple ที่เริ่มจากทาง Epic ฝ่าทางตันรับเงินโดยตรงผ่านบัตรเครดิตจากในเกม Fortnite ผลจากคดีนี้มีคำสั่งศาลออกมาหลายคำสั่ง และส่วนใหญ่ให้ Epic แพ้คดี แต่คำสั่งหนึ่งคือแอปเปิลต้องเปิดทางให้ผู้ผลิตแอปสามารถแสดงลิงก์เพื่อรับเงินตรงจากในแอปได้ และแอปเปิลก็ยื่นขอทุเลาคำสั่งไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
แอปเปิลปรับกฎของ App Store เล็กน้อย 3 จุด การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือลบเงื่อนไขข้อ 3.1.3 ที่เดิมทีห้ามนักพัฒนาใช้ข้อมูลจากแอพเพื่อไปสื่อสารกับผู้ใช้นอกแอพว่ามีวิธีจ่ายเงินอื่นนอกจาก in-app purchase (เช่น ส่งอีเมลแจ้งผู้ใช้ว่ามาจ่ายผ่านเว็บเราเถอะ ถูกกว่า)
การลบข้อความนี้ออกถือว่าแอปเปิลปฏิบัติตามคำสั่งศาลจากคดี Apple vs Epic โดยถือว่าแอปเปิลดำเนินการก่อนกำหนด 90 วัน (ครบกำหนด 9 ธันวาคม) ถือเป็นข่าวดีเล็กๆ สำหรับนักพัฒนาสาย iOS
แอปเปิลส่งคำร้องไปยังศาลแคลิฟอร์เนีย ขอให้ระงับคำสั่งศาลที่ให้แอปเปิลเปิดทางให้นักพัฒนาวางลิงก์สำหรับจ่ายเงินภายนอกระบบ In-App Purchase (IAP) ออกไปก่อน จนกว่ากระบวนการอุทธรณ์จะสิ้นสุด แม้ว่าหลังศาลพิพากษาแอปเปิลจะประกาศว่าชนะคดีก็ตาม
คำสั่งศาลขีดเส้นตายให้แอปเปิลต้องอนุญาตให้นักพัฒนาวางลิงก์ออกไปยังระบบจ่ายเงินภายนอกเพื่อเก็บเงินจากผู้ใช้โดยตรง ไม่ต้องผ่าน IAP ที่มีค่าธรรมเนียมถึง 30% แอปเปิลระบุว่าการเปิดระบบเช่นนี้สร้างความเสี่ยงให้กับผู้ใช้ เพราะผู้ใช้อาจจะเชื่อใจความปลอดภัยของแอปเปิลและกรอกข้อมูลโดยไม่ระมัดระวัง
แอปเปิลออกประกาศแก้ไขแนวทางการรีวิวแอป (App Store Review Guideline) ที่อัพเดตมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว วันนี้แอปเปิลประกาศเส้นตายบังคับแอปที่เปิดให้ผู้ใช้ล็อกอินเพื่อใช้งานต้องมีปุ่มลบบัญชีผู้ใช้ทิ้งจากในตัวแอปเอง โดยมีผลบังคับกับทุกแอปที่ส่งให้รีวิวตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2022 เป็นต้นไป
แนวทางบังคับมาตรการใหม่ๆ ของแอปเปิลนั้นเป็นการบังคับผ่านการรีวิวแอปเวอร์ชั่นใหม่ ทำให้ผู้ใช้อาจจะไม่เห็นปุ่มลบบัญชีในทุกแอปทันทีหลังวันที่ 31 มกราคมนี้ แต่ต้องรอให้ผู้พัฒนาออกเวอร์ชั่นใหม่หลังเส้นตายเสียก่อน ที่ผ่านมามีกรณีเช่นกูเกิลไม่ยอมอัพเดตแอปเพราะมาตรการความเป็นส่วนตัวของกูเกิล
ปกติแล้ว แอปเปิลไม่เคยเปิดให้ผู้ใช้งานจัดเรตติ้งหรือรีวิวแอปขอองฝั่งแอปเปิลอย่าง Mail, Music, News, Stocks และ Calculator เลย โดยเปิดให้รีวิวเฉพาะแอปของนักพัฒนาภายนอกเท่านั้น ล่าสุด 9to5Mac ไปเจอว่าแอปเปิลเปิดให้รีวิวแอปของบริษัทได้ผ่าน App Store แล้ว
หลังจากคำพิพากษาคดี Epic v Apple ออกมายาวถึง 185 หน้า บริษัที่เกี่ยวข้องก็ออกมาแสดงท่าทีต่อคดีนี้
แอปเปิลนั้นระบุว่า "พอใจอย่างยิ่ง" ต่อคำพิพากษาที่ออกมา เนื่องจากคำพิพากษายืนยันว่าแอปเปิลไม่ได้เป็นผู้ผูกขาด (monopolist) และคำพิพากษายังยืนยันว่าแอปเปิลทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้ทั้งผู้ใช้และนักพัฒนา แต่เมื่อทาง 9to5mac ถามถึงคำสั่งให้เลิกบังคับห้ามโฆษณาการจ่ายเงินภายนอก ทางแอปเปิลระบุว่ายังอยู่ระหว่างการประมวลคำพิพากษาทั้ง 185 หน้า และจะพิจารณาทางเลือกทุกทางที่เป็นไปได้
ศาลเขตแคลิฟอร์เนียเหนือ ออกคำสั่งศาล (injunction) บังคับแอปเปิลต้องอนุญาตให้ผู้พัฒนาแอปโฆษณาช่องทางจ่ายเงินทางอื่นนอกเหนือจาก In-App Purchase (IAP) ภายใน 90 วัน หากคำสั่งนี้มีผล วันที่ 9 ธันวาคมนี้จะเป็นวันปลดพันธการของนักพัฒนาแอป ทำให้สามารถเก็บเงินได้โดยไม่ต้องเสียส่วนแบ่งให้กับแอปเปิลอีกต่อไป
จากประเด็นกฎหมายเกาหลีใต้ เคาะให้แอปเปิลต้องเปิดให้นักพัฒนาใช้ระบบจ่ายเงินภายนอกได้ Epic จึงร้องขอไปยังแอปเปิลให้นำ Fortnite กลับมายัง iOS ในเกาหลีอีกครั้ง โดยเสนอรูปแบบการชำระเงินของ Epic และของแอปเปิลควบคู่กันไปตามกฎหมายใหม่ของเกาหลี
อย่างไรก็ตาม แอปเปิลปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า แอปเปิลยินดีกับการกลับมาของ Epic บน App Store หากพวกเขายอมอยู่ในกฎเดียวกันกับคนอื่นๆ นอกจากนี้ Epic ยังได้ยอมรับมาแล้วว่าทำการละเมิดข้อตกลง และจนถึงตอนนี้ ยังไม่มีกฎหมายที่แน่นอนในการคืนสถานะบัญชีนักพัฒนาของ Epic
หลังจากเกาหลีใต้ผ่านกฎหมายห้ามเจ้าของแพลตฟอร์มแอพ จำกัดวิธีการจ่ายเงินของนักพัฒนา ซึ่งกระทบทั้งแอปเปิลและกูเกิลในฐานะเจ้าของร้านขายแอพรายใหญ่ (กฎหมายผ่านสภาแล้ว รอประธานาธิบดีลงนามและมีผลบังคับใช้)
คู่กรณีรายสำคัญอย่าง Epic Games ย่อมไม่พลาดโอกาสนี้ โดยยื่นขอให้แอปเปิลปลดแบนบัญชีนักพัฒนาของ Epic คืนมา และประกาศว่าเตรียมจะออก Fortnite บน iOS เวอร์ชันเกาหลีใต้ ที่ผู้ใช้เลือกจ่ายเงินได้ทั้งผ่าน Epic และแอปเปิลควบคู่กันไป ตามกฎหมายของเกาหลีใต้
ตัวแทนของแอปเปิลบอกว่า ยินดีต้อนรับ Epic กลับมา หาก Epic ยอมปฏิบัติตาม App Store Review Guidelines ซึ่งที่ผ่านมา Epic ไม่ยอม
แอปเปิลประกาศปรับปรุงเงื่อนไขสำหรับนักพัฒนาแอปเพื่อการอ่าน (Reader) โดยสามารถใส่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก เพื่อตั้งค่าหรือจัดการบัญชีได้ มีผลกับนักพัฒนาแอปทั่วโลก โดยข้อกำหนดใหม่นี้จะมีผลตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป
ข้อกำหนดนี้เป็นผลจากการสอบสวนของคณะกรรมการค้ายุติธรรมของญี่ปุ่น (JFTC) ซึ่งก่อนหน้านี้แอปเปิลกำหนดให้เนื้อหาที่แสดงในเว็บเพื่อการอ่านนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในแอป การดำเนินการด้านบัญชีและการจ่ายเงินจึงต้องทำผ่าน App Store
แอปเปิลบอกว่าจะอนุญาตให้นักพัฒนาแอปเหล่านี้ แชร์ลิงก์หนึ่งลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของพวกตนในการจัดการบัญชี เนื่องจากนักพัฒนาแอปเพื่อการอ่านไม่มีสินค้าและบริการจำหน่ายภายในแอป
ในที่สุด เกาหลีใต้ก็ผ่านกฎหมายที่ป้องกันไม่ให้เจ้าของแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Google และ Apple จำกัดนักพัฒนาแอปไม่ให้ไปใช้ระบบจ่ายเงินภายนอก โดยขั้นตอนอยู่ระหว่างรอประธานาธิบดี มุนแจอิน ลงนาม
ที่ผ่านมาเราเห็นแอปเปิลมีนโยบายแข็งกร้าวกับ App Store ของตัวเอง ที่ทั้งบังคับหักส่วนแบ่ง 30% และห้ามแอปแสดงข้อมูลของวิธีการจ่ายเงินช่องทางอื่น ทำให้มีปัญหากับบริษัทใหญ่หลายๆ ราย เช่น Spotify, Netflix, Epic, Basecamp และเป็นเหตุให้มีคดีฟ้องร้องหลายคดี รวมถึงการสอบสวนจากหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก (เช่น EU)