ในการไต่สวนบริษัทเทคโนโลยีใหญ่เรื่องผูกขาดโดยสภาคองเกรส แอปเปิลถูกตั้งคำถามเรื่องการลบแอปพลิเคชั่นจัดการเวลาบนหน้าจอซึ่งเป็นคู่แข่งออกจาก App Store หลังเปิดตัว iOS 12 ซึ่งมีฟีเจอร์คล้ายๆ กันนั้น ถือเป็นการพยายามกีดกันคู่แข่งหรือไม่
โดยหลังจากแอปเปิลเปิดตัวฟีเจอร์ Screen Time มีผู้ผลิตแอปพลิเคชั่นภายนอกพบว่าแอปของตัวเองถูกตรวจสอบโดยแอปเปิลมากขึ้น หรือในบางกรณีก็ถูกปฏิเสธไม่ให้อัพเดต หรือถูกลบออกจาก App Store ไปเลย
Sensor Tower เผย รัฐบาลจีนลบแอปเกมกว่า 2,500 เกม จาก iOS จีน หนึ่งในนั้นมี Hay Day, Nonstop Chuck Norris, Contract Killer Zombies 2, Solitaire เนื่องจากเกมเหล่านี้ยังไม่มีใบอนุญาตจากจีนในการเปิดใช้งาน
จีนเป็นตลาดใหญ่อันดับ 1 สำหรับเกมมือถือ สร้างรายได้ให้แอปเปิล 12.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 แต่ในขณะเดียวกันจีนก็มีกฎเข้มงวดเรื่องการกำกับเนื้อหาเกม กำหนดให้ทุกเกมต้องได้รับอนุญาตจาก National Press and Publication Administration เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาไม่ผิดกฎรัฐบาล
สหภาพยุโรปเพิ่งผ่านร่างแก้ไขกฎหมายว่าด้วยความเป็นธรรมและความโปร่งใสต่อบริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ช่วยลดอำนาจของเจ้าของแพลตฟอร์มแอปสโตร์อย่าง Apple, Google เหนือนักพัฒนาแอปลง โดยการแก้ไขกฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ราวฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ช่วงเดือนกันยายนเป็นต้นไป)
ใจความหลัก ๆ ของการแก้ไขกฎหมายนี้ก็มี
ชั่วโมงที่ผ่านมาแอปบน iOS จำนวนมากรวมถึงแอปธนาคารของไทย, Spotify, หรือแอปอีคอมเมิร์ชเกิดปัญหาเปิดแล้วแครชในทันที นักพัฒนาจำนวนมากคาดว่าปัญหาเกิดจาก Facebook SDK โดยแอปที่ได้รับผลกระทบอาจจะมีอัตราการแครชถึง 65%
น่าสุดนักพัฒนาบางส่วนระบุว่าเฟซบุ๊กน่าจะแก้ปัญหาไปแล้ว บางรายระบุว่าจะเลิกใช้ SDK ในเวอร์ชั่นต่อไป
ที่มา - Facebook iOS SDK
ความขัดแย้งระหว่างแอพอีเมล Hey ของ Basecamp กับแอปเปิล ดูจะยุติลงแล้ว เมื่อแอปเปิลอนุมัติให้แอพ Hey เวอร์ชัน 1.0.2 ซึ่งเป็นเวอร์ชันแก้บั๊ก สามารถขึ้นเผยแพร่บน App Store ได้แล้ว
Jason Fried ซีอีโอของ Basecamp ยังอ้างคำพูดของ Phil Schiller ผู้บริหารแอปเปิลที่ให้สัมภาษณ์กับ TechCrunch ถึงแนวทางที่แอปเปิลอยากให้ Hey ปรับปรุง (ทำไมไม่คุยกันเองตรงๆ ก็ไม่แน่ใจ) โดย Schiller บอกว่าแอพ Hey ดาวน์โหลดมาแล้วใช้งานไม่ได้เลยถ้าไม่ได้จ่ายเงิน จึงอยากให้ Hey ออกเวอร์ชันฟรีที่ใช้งานอีเมลแบบพื้นๆ และเวอร์ชันเสียเงินเพื่ออัพเกรดความสามารถ
สำนักข่าว South China Morning Post อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนระบุว่าแอปเปิลกำลังแจ้งผู้จัดจำหน่ายเกมจำนวนมากให้ขอใบอนุญาตทางการจีนให้ทันวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ไม่เช่นนั้นเกมจะถูกถอนออกจาก App Store ในจีน
จีนมีแนวทางตรวจสอบเนื้อหาเกมก่อนจัดจำหน่ายได้มาตั้งแต่ปี 2018 กระบวนการตรวจสอบนั้นมีรายละเอียดมากและกระบวนการล่าช้าจนกระทั่ง Tencent ต้องถอนการขออนุญาตเกม PUBG ออกไป แนวทางการอนุญาตจำกัดความรุนแรง รวมถึงห้ามมีเลือด หากมีระบบแต่งงานจะจำกัดอายุผู้เล่น เป็นต้น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) หน่วยงานรัฐบาลของสหภาพยุโรป (EU) ประกาศเริ่มสอบสวนแอปเปิลอย่างเป็นทางการ ในข้อหา "ผูกขาด" แยกเป็น 2 กรณีคือ App Store และ Apple Pay
กรณีของ App Store เริ่มมาจากเรื่องร้องเรียนของ Spotify และผู้ให้บริการอีบุ๊กอีกราย (ที่ EC ไม่ได้ระบุชื่อ) ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงกับแอปเปิลในบริการ Apple Music และ Apple Books
ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ เงื่อนไขการหักส่วนแบ่งรายได้ 30% เมื่อจ่ายเงินสมัครบริการผ่าน in-app purchase (IAP) และเงื่อนไขที่แอปเปิลห้ามไม่ให้มีลิงก์หรือข้อความชวนไปจ่ายเงินนอกแอพ
The New York Times รายงานข่าวว่าเฟซบุ๊กประสบปัญหาไม่สามารถส่งแอพ Facebook Gaming เวอร์ชัน iOS ขึ้นเผยแพร่บน App Store ได้ เพราะโดนแอปเปิลปฏิเสธ แถมโดนปฏิเสธมา 5 รอบแล้วด้วย
เฟซบุ๊กเปิดตัวบริการ Facebook Gaming มาตั้งแต่ปี 2019 โดยเริ่มจากเวอร์ชันเว็บ และเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ ก็ออกแอพเวอร์ชันมือถือ ซึ่งเวอร์ชัน Android อยู่บน Play Store เรียบร้อยแล้ว
Phil Schiller หัวหน้าฝ่ายการตลาดของแอปเปิล ให้สัมภาษณ์กับ TechCrunch ในประเด็นที่แอปอีเมล Hey ของ Basecamp ถูกปฏิเสธนำขึ้น App Store จนทำให้ David Heinemeier Hansson พาร์ทเนอร์ของ Basecamp ออกมาวิจารณ์ในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากแอปเปิลกำหนดให้แอปต้องจ่ายเงินค่าสมาชิกผ่าน App Store เท่านั้น
Schiller ย้ำว่าแอปเปิลจะไม่เปลี่ยนแปลงกฎกติกาดังกล่าว ส่วนที่กล่าวว่าแอปอย่าง Netflix หรือ Spotify สามารถเลือกจ่ายเงินค่าสมาชิกนอกแอปได้นั้น เพราะแอปกลุ่มนั้นถือเป็นแอปแบบ reader กล่าวคือเป็นแอปที่แสดงคอนเทนต์ภายนอก แต่กรณีของแอปอีเมลนั้นไม่เข้าข่าย
Basecamp แอพจัดการโครงการชื่อดัง (บริษัทของ David Heinemeier Hansson ผู้สร้าง Ruby on Rails) เปิดตัวบริการใหม่ Hey เป็นระบบอีเมลแนวคิดใหม่ ที่แก้ปัญหาความน่ารำคาญหลายเรื่องของอีเมล
Hey มีแนวคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น ระบบป้องกันคนแปลกหน้าส่งอีเมลมารบกวน โดยทุกครั้งที่ได้รับอีเมลจากคนที่ไม่รู้จัก อีเมลจะเข้าไปอยู่ในกล่อง The Sreener ให้เรากดเลือกว่าจะรับอีเมลจากบุคคลนั้นอีกหรือไม่
Apple ถอด Pocket Casts แอปพลิเคชั่น Podcast รายใหญ่ออกจาก App Store จีนตามคำสั่งของรัฐบาลจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะมีเนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมายจีน
Pocket Casts เล่าถึงเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเผยว่าได้รับการติดต่อจาก Apple ว่ารัฐบาลจีนขอให้ลบแอปนี้จาก App Store แต่ก็ไม่ได้แจ้งว่าเนื้อหาใดบ้างที่ขัดต่อกฎหมายจีน ทั้งยังบอกให้สอบถามไปยังหน่วยงานบริหารและจัดการไซเบอร์สเปซของจีนโดยตรง อย่างไรก็ตาม Pocket Casts เชื่อว่าแอปพ็อดคาสต์ควรจะเป็นช่องทางเปิดที่ปราศจากการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล ผู้พัฒนาจึงไม่สนใจคำร้องขอของรัฐบาลจีน ก่อนที่แอปจะโดนลบจาก App Store จีนหลังจากนั้น 2 วัน
ในวันนี้ ผู้ใช้ iOS อาจสังเกตว่าแอปที่ขึ้นแจ้งเตือนให้อัพเดตใน App Store มีจำนวนมากกว่าปกติ หลายแอปอาจเพิ่งอัพเดตไปไม่กี่วันก่อน แต่ก็ขึ้นมาให้อัพเดตอีกครั้ง ย้อนหลังไปถึง 10 วัน
แม้ไม่มีการชี้แจงอย่างเป็นทางการจากแอปเปิล แต่คาดว่าเหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ผู้ใช้งานบัญชี Family Sharing ไม่สามารถเปิดแอปได้ โดยแสดงข้อความเตือน "This app is no longer shared with you" จึงคาดว่าเป็นปัญหาใบรับรองยืนยันการซื้อแอปถูกต้องหมดอายุ ซึ่งการดาวน์โหลดแอปใหม่เป็นการอัพเดตข้อมูลใบรับรองดังกล่าวนั่นเอง
ที่มา: MacRumors
มีรายงานจากผู้ใช้ iOS บางส่วน พบปัญหาไม่สามารถเปิดแอปที่ใช้งานเป็นประจำได้ตามปกติ โดยขึ้นข้อความเตือนว่า "This app is no longer shared with you" และระบุว่าเพื่อใช้งานแอปนี้ ต้องซื้อแอปจาก App Store จากนั้นก็เด้งไปที่ App Store ในหน้าแอปนั้น และมีตัวเลือกเดียวคือ Open จากนั้นก็วนลูปแบบนี้
คาดว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากระบบตรวจสอบแอปว่าผ่านการซื้อถูกต้องหรือไม่ของแอปเปิล ซึ่งในหน้า System Status ถึงตอนนี้ก็ไม่ได้ระบุว่ามีปัญหาใด ทั้งนี้รายงานปัญหาพบทั้งใน iOS 13.5 เวอร์ชันล่าสุด และเวอร์ชันเก่ากว่านั้น
9to5Mac อ้างข้อมูลจากโค้ดที่พบของ iOS 14 ว่ามี API ตัวใหม่ ซึ่งมีชื่อเรียกภายในว่า Clips ซึ่งทำให้ผู้ใช้ iOS เข้าถึงการทำงานของแอปต่าง ๆ โดยไม่ต้อง install แอปนั้นก็ได้
โดย Clips API ทำงานผ่านตัวสแกน QR Code ปกติเวลาสแกน QR Code ของแอปใด ๆ จะเป็นการเรียก Safari เพื่อไปที่หน้าดาวน์โหลดแอปนั้นลงเครื่อง กรณีไม่มีแอป แต่บนคุณสมบัติใหม่นี้ ผู้พัฒนาแอปสามารถเลือกให้แสดงเนื้อหาที่ต้องการจากแอปได้เลยผ่านตัวเว็บเพจ
ข้อมูลระบุว่าแอปที่มีการทดสอบ Clips API แล้ว ซึ่งคาดว่าเพื่อใช้นำเสนอใน WWDC ปีนี้ ได้แก่ OpenTable, Yelp, DoorDash, Sony (แอป PS4) และ YouTube
Apple ออกแถลงการเมื่อวันพุธนี้ ว่าจะเลิกหักค่าธรรมเนียมในการทำรายการผ่าน In-app purchase ของแอปสตรีมมิ่งบางแอปที่ “ผ่านเกณฑ์” เช่น Amazon’s Prime Video
ก่อนหน้านี้ หากผู้ใช้ต้องการซื้อหรือเช่าหนังและเพลง ไปจนถึงสมัคร subscription รายเดือนบนแอปสตรีมมิ่งต่างๆ ผ่าน App Store ทาง Apple จะบังคับให้ผู้ใช้ ใช้ช่องทางการจ่ายเงินของ Apple เท่านั้น และเรียกเก็บค่าบริการตั้งแต่ 15 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินทั้งหมดที่แอปสตรีมมิ่งนั้นจะได้รับ
แอปเปิลแจ้งนักพัฒนาแอป เรื่องการขยายเวลาข้อกำหนดที่แอปส่งใหม่จะต้องรองรับ iOS 13 และเงื่อนไขต่าง ๆ จากเดิม 30 เมษายน ออกไปเป็น 30 มิถุนายน 2020
ข้อกำหนดเหล่านี้เป็นเรื่องปกติเมื่อแอปเปิลออกระบบปฏิบัติการใหม่อยู่แล้ว อาทิ แอปต้องพัฒนาจาก iOS 13 SDK, รองรับการแสดงผลบนหน้าจอ iPhone และ iPad ทุกขนาดจอ
ที่น่าสนใจของข้อกำหนดการพัฒนาแอปในปีนี้คือเงื่อนไขที่ทุกแอปที่มีระบบบัญชีผู้ใช้งาน จะต้องรองรับการล็อกอินด้วย Sign in with Apple ซึ่งเงื่อนไขนี้ก็เลื่อนกำหนดออกไปเป็น 30 มิถุนายน 2020 ด้วยเช่นกัน
ที่มา: แอปเปิล
แอปเปิลแจ้งนักพัฒนาแอปว่าบริการ App Store จะขยายเพิ่มเติมไปอีก 20 ประเทศ จากเดิมที่มีให้บริการอยู่แล้วใน 155 ประเทศ ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับนักพัฒนาได้เข้าถึงตลาดใหม่มากขึ้น
ทั้งนี้นักพัฒนาต้องไปยอมรับเงื่อนไขบริการใหม่ในเว็บ Apple Developer เพื่อให้แอปของตนมีให้ดาวน์โหลดใน 20 ประเทศใหม่ ส่วนแอปแบบเสียเงินต้องเข้าไปเลือกรูปแบบราคาค่าบริการด้วย ก่อนวันที่ 10 เมษายน
20 ประเทศใหม่ที่ App Store จะเปิดให้บริการได้แก่ อัฟกานิสถาน, กาบอง, โกตดิวัวร์, จอร์เจีย, มัลดีฟส์, เซอร์เบีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, แคเมอรูน, อิรัก, โคโซโว, ลิเบีย, มอนเตเนโกร, โมร็อกโก, โมซัมบิก, เมียนมาร์, นาอูรู, รวันดา, ตองกา, แซมเบีย และวานูอาตู
แอปเปิลมีนโยบาย Universal Purchase มาได้สักระยะ เราสามารถซื้อแอพครั้งเดียว ใช้ได้บนทุกระบบปฏิบัติการในเครือ (iOS, iPadOS, watchOS, macOS, tvOS) โดยไม่ต้องซื้อซ้ำ
วันนี้แอปเปิลประกาศเปิดใช้ Universal Purchase บน Mac App Store แล้ว นักพัฒนาจำเป็นต้องสร้าง bundle ID ของแอพตัวเอง โดยใช้ ID ตัวนี้กับแอพบนทุกแพลตฟอร์ม
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Mac Catalyst), ระบบการจ่ายเงินในแอพ หรือการเก็บสถิติ สามารถอ่านได้จากหน้า Apple Support
ที่มา - Apple
แอปเปิลประกาศมาตรการเข้มงวดในการคัดกรองแอพที่เกี่ยวกับ COVID-19 ก่อนขึ้น App Store เพื่อป้องกันปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูล
แอพที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 จะต้องมาจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานภาครัฐ, NGO ด้านสุขภาพ, บริษัทที่มีชื่อเสียงด้านสุขภาพ, สถาบันการแพทย์ หรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น โดยแอปเปิลแนะนำว่าหากจ้างบริษัทซอฟต์แวร์พัฒนาแอพ ก็ควรส่งแอพเข้ามาในชื่อของหน่วยงานนั้นๆ แทน ซึ่งแอปเปิลจะยกเว้นค่าธรรมเนียม Apple Developer Program ให้สำหรับหน่วยงานเหล่านี้
เกมและแอพหมวดบันเทิงที่เกี่ยวกับ COVID-19 จะไม่อนุญาตให้ขึ้น App Store ทุกกรณี
แอปเปิลปรับแนวทางการตรวจสอบแอปที่ส่งเข้ามายัง App Store ในหลายประเด็น ซึ่งบางหัวข้อได้ประกาศไปก่อนหน้านี้แล้วว่าจะมีผลสำหรับ iOS 13
โดยหัวข้อที่น่าสนใจมีหลายประเด็น อาทิ การแจ้งเตือนแบบพุช (Push notification) จากเดิมห้ามใช้ทำการตลาดหรือโฆษณา เปลี่ยนเป็นทำได้ แต่ผู้ใช้งานต้องยินยอมก่อน และตัวแอปต้องอธิบายการปิดส่วนนี้ (opt-out) ให้ชัดเจนในแอป
นอกจากนี้แอปเปิลยังระบุว่าแอปประเภทดูดวงและแอปหาคู่ จะถูกมองว่าเป็นแอปสแปมทันที เว้นแต่ผู้พัฒนาอธิบายรายละเอียด คุณภาพ และประสบการณ์ใช้งานของแอปให้ชัดเจน
หลังโลกเผชิญเหตุโรค COVID-19 ระบาด เกม Plague Inc. เกมแนววางแผนกลยุทธ์ที่ให้เรารับบทเป็นเชื้อโรคที่ทำลายล้างมนุษยชาติก็ได้รับความนิยมในจีน ถึงขนาดตัวเกมขึ้นมาเป็นแอปยอดนิยมอันดับหนึ่งในหมวดแอปประเภทเสียเงินบน App Store ของประเทศจีน
แต่ล่าสุด Ndemic Creations ผู้พัฒนาเกมออกมาประกาศว่า จีนได้ลบเกม Plague Inc. ออกจาก App Store จีนแล้ว ด้วยเหตุผลว่าเป็นคอนเทนต์ผิดกฎหมายตามมุมมองของหน่วยงานความมั่นคงไซเบอร์ของจีนหรือ The Cyberspace Administration of China
Mark Gurman จากสำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่าแอปเปิลกำลังพิจารณาเพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ใช้ iOS บน iPhone และ iPadOS บน iPad ให้สามารถเลือกแอปตั้งต้นในการใช้งาน เป็นแอปจากนักพัฒนาภายนอก (3rd Party) แทนที่ Safari สำหรับเบราว์เซอร์ หรือ Mail สำหรับอีเมลได้
ที่ผ่านมา แม้ผู้ใช้งานอุปกรณ์แอปเปิลจะสามารถเลือกลงแอปอื่นแทนได้ แต่แอปเปิลก็กำหนดให้ค่าเริ่มต้นอยู่ที่แอปพื้นฐานของแอปเปิลเท่านั้น เช่นเมื่อคลิกลิงก์ก็จะถูกเปิดด้วย Safari เสมอ ประเด็นนี้ทำให้นักพัฒนาหลายรายร้องเรียนว่าอาจเป็นการผูกขาด (ตัวอย่างกรณี Spotify)
แอปเปิลเปิดให้นักพัฒนาพอร์ตแอปบน iOS มาเป็นเวอร์ชัน macOS ผ่านโครงการ Catalyst มาระยะหนึ่ง ล่าสุดแอปเปิลได้เพิ่มตัวเลือกให้นักพัฒนาสามารถขายแอปแบบ unified กล่าวคือใช้งานได้ทั้งบน macOS และ iOS แล้ว จากเดิมที่ต้องขายแยกกัน
ทั้งนี้นักพัฒนาสามารถกำหนดค่าดังกล่าวได้ใน Xcode 11.4 beta สำหรับแอปที่พอร์ตผ่าน Catalyst อย่างไรก็ตามหากนักพัฒนาทำแอป macOS แยกออกมาตั้งแต่ต้น ก็อาจลำบากสักหน่อย
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ App Store ของบน iOS และ macOS จึงได้ปรับเพิ่มชื่อหมวดของแอปให้สอดคล้องกันทั้งสองระบบด้วย
ที่มา: 9to5Mac
จากวิกฤตไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เริ่มต้นระบาดจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนได้ส่งผลให้ Plague Inc. เกมแนววางแผนกลยุทธ์ที่ให้เรารับบทเป็นเชื้อโรคที่ทำลายล้างมนุษยชาติก้าวขึ้นมาเป็นแอปยอดนิยมอันดับหนึ่งในหมวดแอปประเภทเสียเงินบน App Store ของประเทศจีน
แอปเปิลแจ้งนักพัฒนาแอป เรื่องประกาศเปลี่ยนแปลงการตั้งราคาของแอปแบบเสียเงิน และราคา In-App ใน App Store ของประเทศไทย เนื่องจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน โดยราคาของแอปจะถูกลงเล็กน้อย
ตัวอย่างเช่นแอปราคา 0.99 ดอลลาร์ เดิมกำหนดราคาที่ 35 บาท จะเปลี่ยนเป็น 29 บาท, แอปราคา 1.99 ดอลลาร์ ราคาเดิม 69 บาท เปลี่ยนเป็น 59 บาท ราคาใหม่ดังกล่าวจะมีผลในไม่กี่วันข้างหน้า โดยสามารถดูช่วงราคาใหม่ทั้งหมดได้ที่นี่ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่รวม Subscription ที่ต่ออายุแบบอัตโนมัติ ซึ่งนักพัฒนาสามารถเลือกคงราคาเดิมต่อไปได้ผ่าน App Store Connect