แล็ปท็อปรุ่นถัดไปของโครงการ OLPC ประกาศแล้วว่าจะเปลี่ยนจากสถาปัตยกรรม x86 (เดิมใช้ AMD Geode) มาเป็น ARM
เหตุผลก็คือเรื่องความประหยัดพลังงาน และค่าใช้จ่ายที่ถูกลง ทางเว็บไซต์ OLPC News (ไม่เกี่ยวข้องกับตัวโครงการ OLPC โดยตรง) ได้โจมตีอินเทลว่าได้พยายามรักษาระดับราคาของเน็ตบุ๊กที่ใช้ Atom ไว้ให้ไม่ต่ำไปกว่า 400 ดอลลาร์ เพื่อคงปริมาณกำไรเอาไว้ โดยออกแบบให้ Atom มีฟีเจอร์ที่เกินความต้องการทั่วๆ ไปอยู่มาก
Touch Book
นักวิเคราะห์จากสองค่าย มีมุมมองที่แตกต่างกันสำหรับตลาดซีพียูของเน็ตบุ๊กในอีก 3 ปีข้างหน้า
ค่ายแรกคือ The Information Network เชื่อว่าถึงแม้ปัจจุบัน Atom จะครองตลาดเน็ตบุ๊กแบบเบ็ดเสร็จ แต่ในอนาคต สถาปัตยกรรม ARM Cortex-A9 จะมาแรง และเมื่อรวมกับลินุกซ์จะทำให้เกิดเน็ตบุ๊กราคาถูกที่ฝั่ง Atom ไม่สามารถลดราคามาเทียบเท่าได้ ภายในปี 2012 ค่าย ARM จะมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า Atom คือ 55%
ส่วนอีกค่ายคือ IDC เห็นตรงข้าม มองว่า ARM และสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ x86 อย่างเก่งก็ชิงส่วนแบ่งตลาดมาได้แค่ 10-20% เท่านั้น
สงครามโทรศัพท์มือถือในวันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่ในผู้ผลิตโทรศัพท์และระบบปฎิบัติการเท่านั้น ซีพียูก็เป็นอีกหนึ่งสมรภูมิที่กำลังขับเคี่ยวกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งการแข่งกันระหว่าง x86 จากอินเทลและ ARM และการแข่งจากผู้ผลิต ARM อีกหลายยี่ห้อไม่ว่าจะเป็น Qualcomm, Nvidia, และ Texas Instrument (TI)
ในงาน Mobile World Congress ทาง TI จึงถือโอกาสเปิดตัว OMAP 4 ที่เป็นตระกูลถัดจาก OMAP 3 ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงเช่นในไอโฟนและโทรศัพท์รุ่นอื่นๆ
ชิป OMAP 4 จะมีความสามารถดังนี้
ความร้อนแรงของ Android ในตอนนี้แม้จะจำกัดอยู่แค่สินค้าที่กำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ความสนใจของผู้ผลิตที่จะใช้ Android นั้นกลับไม่ได้จำกัดอยู่แค่โทรศัพท์มือถือ เมื่อ Archos ผู้ผลิตเครื่องเล่นวีดีโอแบบพกพารายใหญ่ระบุว่ากำลังพัฒนาเครื่องเล่นวีดีโอรุ่นใหม่โดยอาศัยระบบปฏิบัติการ Android นี้อยู่
เครื่องเล่นตัวนี้ความสามารถนั้นจะสูงกว่าเครื่องเล่นวีดีโอทั่วไป โดยทาง Archos เรียกมันว่า Internet Media Tablets แม้ว่าตอนนี้สเปคยังไม่มีอะไรแน่ชัดนักเนื่องจากเป็นการให้ข่าวเบื้องต้น แต่ที่เรารู้ในตอนนี้คือ เครื่องที่ว่านี้สามารถต่อเครือข่าย 3G ได้และใช้ชิป OMAP 3440 ซึ่งเป็นชิปในตระกูล ARM Cortex A8 อีกตัวหนึ่ง
บริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ประกาศจับมือกับบริษัท ARM ผู้ผลิตชิปตระกูล ARM ที่ใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็ก ตั้งเป้าจะพอร์ต Ubuntu Desktop ให้ทำงานบนชิปตระกูล ARM ได้
ข้อตกลงนี้ระบุว่าจะครอบคลุมเฉพาะสถาปัตยกรรม ARM v7 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น (ชื่อทางการค้าคือ Cortex ส่วนชิปตระกูล XScale ที่คุ้นตากันหน่อยใช้สถาปัตยกรรม v5 - อ่านรายละเอียดในวิกิพีเดีย) ทาง Canonical นั้นตั้งเป้าว่าจะทำให้เสร็จใน Ubuntu 9.04 Jaunty Jackalope ที่จะออกเดือนเมษายนปีหน้า
ในสมัยหนึ่งที่สถาปัตยกรรม ARM นั้นดูร้อนแรงในวงการ Embedded มากๆ ตัวผมเองกลับพบว่ามันลำบากมากที่จะไปหาบอร์ด ARM มาใช้งานกันด้วยราคาที่แพงในหลักหมื่นบาทขึ้นไป แม้หลังๆ มานี้เราจะได้เห็นเราท์เตอร์บางรุ่นหันมาใช้ ARM ทำให้เราใช้งาน OpenWRT ได้แต่ก็ต้องลองเสี่ยงไปมาว่ารุ่นไหนใช้ได้ไม่ได้อย่างไรบ้าง
แต่ล่าสุดทาง Texas Instrument ก็แสดงท่าที่เอาใจนักพัฒนาเต็มที่ผ่านทางโครงการ BeagleBoard.org ที่ออกแบบบอร์ดพัฒนาชิป ARM รุ่น OMAP3530 ที่ให้ความเร็วค่อนข้างดี รองรับ OpenGL ES 2.0 และมีระบบประมวณสัญญาณเฉพาะทางมาในตัว ทำให้รองรับการแสดงวีดีโอระดับ HD ได้