Calxeda ผู้ผลิตซีพียู ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกๆ ที่วางตลาดทั่วไปผ่านทาง HP Moonshot ตอนนี้ประกาศอัพเกรดโมดูลซีพียูรุ่นใหม่ในชื่อ ECX-2000
ความสามารถสำคัญของ ECX-2000 คือการอัพเกรดจากเดิมใช้ Cortex-A9 ขึ้นเป็น Cortex-A15 แม้จะยังใช้สถาปัตยกรรม ARMv7 เหมือนกัน แต่ ECX-2000 จะรองรับแรมเพิ่มเป็น 16 กิกะไบต์ แม้สถาปัตยกรรมจะเป็น 32 บิตที่อ้างแรมได้ 4 กิกะไบต์ก็ตาม (ARM มีความสามารถรองรับแรมส่วนขยายแบบเดียวกับ PAE ใน x86 แต่ไม่นิยมใช้นัก)
กระบวนการชุมชนของจาวาใน Java Community Process นั้นประกอบไปด้วยออราเคิลเองซึ่งมีตำแหน่งถาวร ตัวแทนของบริษัทที่มีบทบาทสูงและได้รับการแต่งตั้งเช่น อินเทล, เรดแฮต, ไอบีเอ็ม, และเอริคสัน และตัวแทนบริษัทอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับการแต่งตั้ง หมุนเวียนเข้ามาเป็นระยะ ในปีนี้มีสองบริษัทที่เข้ามาเป็นผู้บริหารในกระบวนการนี้ ได้แก่ ทวิตเตอร์ และ ARM
ทวิตเตอร์ได้รับเลือกให้เข้ามารับตำแหน่งเป็นเวลาสองปี และ ARM เข้ามาหนึ่งปี
ทวิตเตอร์นั้นเพิ่งเปลี่ยนไปใช้งานจาวาแทน Ruby on Rails เมื่อไม่นานมานี้ และกลายเป็นเว็บขนาดใหญ่ชื่อดังที่ใช้จาวาเป็นแกน ส่วน ARM นั้นกำลังรุกเข้าตลาดเซิร์ฟเวอร์เต็มตัวในปีหน้า ก็จะมีผลประโยชน์ที่ต้องการให้จาวารันบนซีพียูของตัวเองได้ดีขึ้น
บริษัท Altera เปิดตัวชิป FPGA รุ่นใหม่ Stratix 10 ที่มีชิป ARM Cortex-A53 อยู่ในตัว ชิป FPGA ที่มาพร้อมซีพียูในตัวนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกนัก และการปรับไปใช้ ARMv8 ก็เป็นการปรับตามรอบอัพเกรดสินค้าตามปกติ แต่ความพิเศษของชิปตัวนี้คือมันจะผลิตในโรงงานอินเทล
อินเทลประกาศเปิดโรงงานให้ผู้ผลิตที่ไม่มีโรงงานของตัวเองเข้ามาจ้างผลิตได้มาตั้งแต่ปี 2010 แต่จะพิจารณารับจ้างผลิตเป็นรายกรณี ที่ผ่านมามักเป็นชิปเฉพาะทาง ในกรณีของ Altera นี้แม้จะเป็นชิปทั่วไปมากขึ้น แต่ FPGA ของ Atera ก็มักใช้งานในอุปกรณ์เครือข่ายเป็นหลัก มันจึงไม่ใช่คู่แข่งกับอินเทลทั้งในตลาดเซิร์ฟเวอร์, พีซี, หรืออุปกรณ์โมบาย
Stratix 10 จะเริ่มเปิดสายการผลิตในปี 2014
ครบรอบหนึ่งปีกว่าๆ ตั้งแต่ ARM เปิดตัวจีพียู Mali-T600 ตอนนี้เพิ่งปล่อยจีพียูรุ่นใหม่ซีรีส์ใหม่อย่าง Mali-T700 รวดเดียวทั้งสองรุ่นเพื่อจับทั้งตลาดกลาง และตลาดบนของอุปกรณ์พกพาครับ
เริ่มต้นกันที่รุ่นกลางอย่าง Mali-T720 ที่เป็นรุ่นต่อของ Mali-T450 โดย ARM เคลมว่าเป็นจีพียูระดับกลางตัวแรกของตลาดที่รองรับ OpenGL ES 3.0 โดยสามารถจับคู่กับซีพียูได้ทั้งรุ่นเก่าอย่าง ARM Cortex-A7 และ A12 หรือแม้แต่รุ่นใหม่อย่าง A53 ก็ได้
ปกติเราเห็นบรรดาผู้ผลิตชิป ARM ทั้งหลายแข่งกันเองเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นเจ้าของพิมพ์เขียวอย่าง ARM ออกมาอัดคู่แข่งตรงๆ ล่าสุดเพิ่งปล่อยวิดีโอเปรียบเทียบกับ Atom จาก Intel ที่ลงมาแข่งกันหนักขึ้นในช่วงหลัง
ในวิดีโอ ARM เทียบระหว่างชิป ARM Cortex-A9 ควอดคอร์ความถี่ 1.4GHz ไม่ระบุรุ่นกับ Atom Z2560 ดูอัลคอร์ความถี่ 1.6GHz รันอยู่บนแท็บเล็ตไม่ระบุสเปค (คาดว่าน่าจะเหมือนกัน) มาเล่นเกมแข่งรถอย่าง Need For Speed Most Wanted
จากผลที่ออกมาปรากฎว่า ARM อายุปีกว่าทำผลได้ดีกว่าทั้งระยะเวลาการโหลดเกม เฟรมเรตระหว่างเล่น แม้ว่าเลขจากผลทดสอบจะออกมาพอกัน หรือแพ้ Atom เสียด้วยซ้ำ
ส่วนชนะกันขาดแค่ไหน ลองดูท้ายข่าวครับ
อินเทลเพิ่งประกาศบอร์ด Galileo ไป ใน Maker Faire งานเดียวกัน ทาง Arduino ก็ขึ้นเวทีกับ Texas Instrument ประกาศเปิดตัวบอร์ด Arduino TRE ที่ใช้ชิป Sitara AM335x ที่เป็น Cortex-A8
Arduino TRE จะคล้ายกับ Arduino YÚN ที่มีลินุกซ์รันบนตัวชิปหลักคือ ARM ขณะที่มีชิป AVR บนบอร์ดเพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ I/O ต่างๆ โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือกับทีม BeagleBoard.org เดิมที่ Texas Instrument ให้การสนับสนุนอยู่
เมื่อวานนี้หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Qualcomm ผู้ผลิตชิปตระกูล Snapdragon ได้ออกมาบอกว่าชิป 64 บิตบน iPhone 5s นั้นแทบไม่มีประโยชน์ใดๆ แก่ผู้ใช้เลย (zero benefit) เป็นเพียงกลเม็ดทางการตลาดของ Apple เท่านั้น เขากล่าวต่อไปอีกว่าชิป 64 บิตนั้นมีประโยชน์เพียงแค่การอ้างอิงแรมได้มากกว่า 4 GB และเหมาะกับงานเฉพาะทางบางอย่างที่รันบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งยังห่างไกลจาก iPhone 5s ที่มีแรมเพียง 1 GB
นอกจากนี้เขายังเสริมว่า Qualcomm กำลังพัฒนาชิป 64 บิตที่เหมาะกว่าและมีประโยชน์ที่แท้จริงกับการทำงานบนมือถือ มากกว่าที่จะใช้เป็นประโยชน์ทางการตลาดเหมือนอย่างที่ Apple กำลังทำอยู่
เว็บไซต์ข่าว Daum ของเกาหลีใต้ รายงานข่าววงในที่ไม่ยืนยันว่าซัมซุงพัฒนาชิป Exynos ที่เป็น ARM 64 บิต (ARMv8) ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยชิปตัวนี้เป็นชิป 8 คอร์แบบเดียวกับ Exynos รุ่นก่อนๆ แต่เปลี่ยนแกนหลักเป็น Cortex-A57 และ Cortex-A53 อย่างละ 4 คอร์แทน แถมทำงานได้พร้อมกันทั้ง 8 คอร์
ซัมซุงเคยให้ข่าวไว้ว่าจะออกมือถือที่ใช้หน่วยประมวลผล 64 บิต แต่ในข่าวนี้ Daum บอกว่าเราจะเห็นแท็บเล็ต 64 บิตจากซัมซุงด้วย
สำนักข่าวหลายสำนักได้ออกมากล่าวว่าการเลือกใช้สถาปัตยกรรม ARMv8 64-bit ของแอปเปิลไม่ได้มีประโยชน์อะไร และเป็นการใส่เข้ามาเพื่อเหตุผลทางการตลาดเท่านั้น โดย Patrick Moorhead ประธานและนักวิจัยตลาดของ Moor Insights and Strategy ได้ออกมาบอกว่า ณ เวลานี้ 64-bit จะไม่สร้างผลดีและผลเสียต่ออุปกรณ์ที่ยังไม่ต้องการใช้ RAM มากกว่า 4GB
เอเอ็มดีประกาศแผนการผลิตซีพียูกลุ่มคอมพิวเตอร์ฝังตัว (embedded) ในปีหน้า โดยสองตระกูลที่วางขายในปีนี้คือ R-Series และ G-Series จะได้รับการอัพเกรดช่วงต้นปี
ตระกูล R ซึ่งออกแบบสำหรับคอมพิวเตอร์ฝังตัวประสิทธิภาพสูง จะอัพเกรดจาก Piledriver ในตอนนี้เป็นแกน Steamroller ในปีหน้า โดยตอนนี้เรียกชื่อรหัสว่า Bald Eagle อัตราการปล่อยความร้อนอยู่ที่ 17-35 วัตต์เท่าเดิม แต่อัพเกรดกระบวนการผลิตเป็น 28 นาโนเมตรและเปลี่ยนกราฟิกเป็น HD 9000 รองรับแรม ECC และสถาปัตยกรรม HSA
ตระกูล G ยังคงใช้สถาปัตยกรรม Jaguar เช่นเดิม แต่ปรับปรุงการใช้พลังงาน ทำให้พลังงานต่ำสุดเหลือ 5W จากเดิม 6W
The Korea Times ได้เข้าสัมภาษณ์ทีมบริหารของซัมซุงเกี่ยวกับการเปิดตัวไอโฟนใหม่ของแอปเปิล โดย Shin Jong-Kyun หัวหน้าฝ่ายธุรกิจโทรศัพท์มือถือของซัมซุงบอกว่าพวกเขาพร้อมที่จะรุกตลาดจีนเช่นกัน และล่าสุดก็ได้รับการรับรองให้ขายอุปกรณ์ที่รองรับเครือข่าย TDD-LTE ของ China Mobile เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ซัมซุงยังจะนำชิป 64-bit มาใช้ในมือถือตระกูล Galaxy อีกด้วย เพียงแต่ว่าอาจจะต้องใช้เวลาซักพักหนึ่ง ซึ่งทางแหล่งข่าวเชื่อว่าการเปลี่ยนมาใช้ชิป 64-bit ของซัมซุงน่าจะไม่ทันสิ้นปีนี้
หลายคนอาจจะบอกว่าซัมซุงชอบทำตาม (ลอก) แอปเปิลทุกอย่าง แต่ต้องอย่าลืมว่าซัมซุงเป็นผู้ผลิตชิป A7 64-bit ของแอปเปิลด้วย
การเปิดตัว iPhone 5S ทำให้นักวิเคราะห์ออกมาระบุว่าผลกำไรของ ARM น่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากในปีนี้ จากการผลิต ARMv8 เป็นปริมาณมากครั้งแรก
ค่าสิทธิ์การผลิต ARMv8 ที่เป็นสถาปัตยกรรม 64 บิตนั้นแพงกว่าค่าผลิตชิปรุ่น 32 บิตมาก (แม้รวมๆ แลัวจะเป็นเงินเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเครื่องโดยรวม) และชิป M7 เองก็เป็น ARM ทำให้ได้ค่าสิทธิ์แยกมาต่างหาก ทาง UBS คาดว่า ARM จะได้รับค่าสิทธิ์ทั้งหมด 50 ถึง 60 เซนต์ต่อเครื่อง จาก iPhone 5S
การที่ iPhone 5S ใช้ชิป 64 บิตนับเป็นเรื่องที่เกินคาดหมายของหลายๆ คน จากเดิม ARMv8 นั้นมีผู้ผลิตประกาศจะผลิตจำนวนมากในปีหน้า และส่วนมากผู้ผลิตที่ประกาศออกมาเป็นผู้ผลิตชิปสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ปริมาณผลิตไม่มากนัก
คำว่า Internet of Things หรือ IoT เป็นคำที่เริ่มฮิตในวงการไอที มันหมายถึงโลกที่อุปกรณ์ต่างๆ มีหน่วยประมวลผลขนาดเล็กฝังอยู่ และติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านอินเทอร์เน็ต (เครือข่ายเหล่านี้จึงเรียกว่า "อินเทอร์เน็ตสำหรับสิ่งของ" ตามชื่อ บางที่เรียก M2M หรือ machine-to-machine)
มีรายงานว่าผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ของจีนอย่าง ZTE เตรียมตัวทำชิป ARM สำหรับใช้กับอุปกรณ์ของตัวเองขึ้นมา ตามอย่างคู่แข่งร่วมประเทศอย่าง Huawei ที่ทำไปก่อนหน้านี้แล้ว
ตัวชิป ARM ดังกล่าวของ ZTE ตามสเปคที่ออกมาคือทำมารองรับ 4G LTE แต่ยังไม่ระบุว่าจะใช้สถาปัตยกรรมอะไรระหว่าง Cortex-A7 หรือ Cortex-A15
การที่ ZTE ผันมาทำชิปใช้เองมีผลดีในแง่ของต้นทุนที่ถูกลง และสามารถพัฒนาชิปให้ทำงานเข้ากับระบบของตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้มากถึงปรับแต่งชุดคำสั่งภายใน (แบบเดียวกับที่แอปเปิลทำ) ถ้าหาก ZTE คิดจะทำใช้เฉพาะอุปกรณ์ของตัวเอง
MediaTek เปิดตัวชิป SoC รุ่นใหม่ของปี 2013 แม้จะยังไม่ใช่ชิปแปดคอร์ True Octa-Core ที่หลายคนจับตามองอยู่ แต่ก็เป็นชิปพร้อมกับซีพียูควอดคอร์ที่เหนือกว่ารุ่นเดิมไปมากครับ
ชิปรุ่นใหม่ที่ว่านี้มาในรหัส MT8135 เป็นชิปรุ่นกลางค่อนสูง ที่ MediaTek จัดมาเพื่อแท็บเล็ตโดยเฉพาะ ภายในมีซีพียู ARM Cortex-A15 และ Cortex-A7 ดูอัลคอร์ รวมกันเป็นควอดคอร์ เพื่อรองรับการประมวลผลแบบ big.LITTLE MP ซึ่งต่างกับการประมวลผลแบบ big.LITTLE ตรงที่ทุกคอร์สามารถทำงานพร้อมกันได้ เทียบผลทดสอบแล้วชนะ Exynos 5 Dual และ Tegra 3 ทุกทางครับ
ดูเหมือนเทรนด์การผลิตซีพียู ARM สำหรับผู้ผลิตชิป SoC จะเริ่มไปในทางเดียวกันหมด หลังจากมีรายงานว่าซัมซุงเตรียมเปลี่ยนสเปคจากเดิมที่ใช้พิมพ์เขียวซีพียู ARM Cortex-A15 และ Cortex-A7 ที่เตรียมใช้ในชิป Exynos รุ่นใหม่ ไปเป็นซีพียูรุ่นปรับแต่งแทน แบบเดียวกับคู่แข่งในตลาดอย่าง Qualcomm และ Apple
จากรายงานที่ออกมา เป็นไปได้ว่าชิป Exynos รุ่นถัดไปจะถูกปรับแต่งโดยใช้ฐานจาก ARMv7 ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้ชิปจากพิมพ์เขียวในแง่ของจำนวนคอร์ ขนาดของแคช สัญญาณนาฬิกา และวิธีการผลิต
ยังไม่มีข้อมูลว่าซัมซุงจะเริ่มใช้ชิปตัวใหม่นี้เมื่อไหร่ อิงจากรายงานที่ออกมาระบุว่าชิปรุ่นปรับแต่งนี้จะยังใช้กับ Exynos 5 และจะพร้อมใช้ในช่วงกลางปี 2014
สถาปัตยกรรมซีพียู ARMv8 แบบ 64 บิตกำลังใกล้เป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ และลูกค้าหลักของซีพียูกลุ่มนี้ย่อมหนีไม่พ้นตลาดเซิร์ฟเวอร์องค์กรประหยัดพลังงาน (micro server) ซึ่งก็ใกล้เคียงกับกลุ่มลูกค้าสาย Java เดิม
ออราเคิลในฐานะเจ้าของ Java จึงเป็นเสือปืนไว ประกาศปรับปรุงประสิทธิภาพของ Java SE ให้ทำงานกับสถาปัตยกรรม ARM มากขึ้น (ทั้งรุ่น 32 และ 64 บิต)
ตามข้อตกลงนี้ ออราเคิลกับ ARM จะร่วมกันปรับปรุง Java ทั้งเรื่องประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน และความเข้ากันได้ของไลบรารีต่างๆ โดยเน้นไปที่ลูกค้ากลุ่มองค์กรและตลาดฝังตัวเป็นหลัก
ที่มา - ARM
การประมวลผลด้วยชิปกราฟิกเคยมีการแข่งขันกันอย่างหนักระหว่างเทคโนโลยี CUDA เป็นเป็นเทคโนโลยีของ NVIDIA และ OpenCL ที่มีผู้ผลิตหลายรายร่วมกัน แต่จนตอนนี้ CUDA ก็ยังรันได้เฉพาะบน x86 จนกระทั่งการเปิดตัวของชุดพัฒนารุ่น 5.5
CUDA 5.5 ในส่วนของ ARM จะใช้ได้เฉพาะรุ่น Ubuntu เท่านั้น โดยมีให้เลือกระหว่างการใช้ชุดพัฒนารุ่น x86 ธรรมดามาคอมไพล์ลง ARM หรือจะใช้ชุดพัฒนาบน Ubuntu สำหรับ ARMv7 ไปพัฒนาบน ARM เลยก็ได้เหมือนกัน
แม้ชุดพัฒนาจะรองรับการใช้งานบน ARM แล้วแต่ Tegra รุ่นที่รองรับ CUDA ก็ยังไม่มีออกมาเป็นทางการ ในแง่หนึ่งแล้ว การที่โลกหันมานิยม ARM มากขึ้นกลับทำให้เทคโนโลยีเฉพาะอย่าง CUDA ได้รับความนิยมน้อยลงแล้วหันไปอยู่กับ OpenCL ที่รองรับอยู่บนชิปจำนวนมากแล้ว
เอเอ็มดีประกาศแผนสำหรับปีหน้ายืนยันอย่างเป็นทางการว่าจะผลิตซีพียู ARM Cortex-A57 ที่ใช้ชื่อรหัสว่า Seattle ในปีหน้า
Seattle จะเป็น ARM ที่รองรับแรมถึง 128GB พร้อมชุดคำสั่งเสริมสำหรับการบีบอัดและการเข้ารหัส บนตัวชิปจะมีอีเธอร์เน็ตแบบ 10GbE มาในตัว พร้อมกับระบบเชื่อมต่อ Freedom Fabric ช่วงเวลาวางตลาดคือครึ่งแรกของปี 2014
Berlin เป็น APU สำหรับองค์กร เปลี่ยนคอร์ใหม่เป็น Streamroller (จากตอนนี้เป็น Bulldozer) เป็นชิปตัวแรกที่รองรับสถาปัตยกรรม HSA ทำให้การเขียนโปรแกรมบน GPU ง่ายเหมือนกับการเขียนบนซีพียู เวลาวางจำหน่ายคือครึ่งแรกของปีหน้าเช่นกัน
ABI Research ที่เราเห็นรายงานการตลาดอยู่เนืองๆ ออกรายงานการทดสอบประสิทธิภาพของซีพียูสำหรับตลาดโมบาย โดยทดสอบเครื่องห้ารุ่นได้แก่ Lenovo K900, Samsung Nexus 10, Samsung Galaxy S4 i9500, Samsung Galaxy S4 i377 และ Asus Nexus 7 พบว่าเครื่อง K900 ทำประสิทธิภาพได้ดีพอๆ กับ S4 i377 ขณะที่ส่วนซีพียูกินพลังงานน้อยกว่า
แม้ว่า ARM จะเปิดชิปไลน์ใหม่ที่ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARMv8 ในตระกูล Cortex-A50 ไปตั้งแต่ปลายปีก่อน แต่ ARM ก็ยังไม่ได้ทิ้งรุ่นปัจจุบันอย่าง ARMv7 ไปทั้งหมด และออกมาเปิดตัวชิปรุ่นกลางระหว่าง Cortex-A15 และ Cortex-A7 ในชื่อรุ่น Cortex-A12 แล้ว
ตัว Cortex-A12 ถูกออกแบบมาจับอุปกรณ์รุ่นกลางๆ โดยเฉพาะ คุณสมบัติเด่นคือกินไฟน้อยกว่า Cortex-A9 (รุ่นเคยท็อปที่ถูกใช้กับอุปกรณ์รุ่นกลางๆ ในตอนนี้) ถึง 40% ในประสิทธิภาพที่เท่ากัน และจับกับ Cortex-A7 เพื่อทำงานแบบ big.LITTLE processing ได้อีกด้วย
หลังจากที่ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows RT ก็มีเสียงวิจารณ์ออกมาในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะความแตกต่างที่ทำให้รันได้เฉพาะแอปแบบเมโทรเท่านั้น
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่มันถูกจัดอยู่ในประเภทแท็บเล็ต แต่อยู่ตรงที่หน้าตามันเหมือนกับ Windows 8 อย่างกับแกะ จนการใช้งานชวนให้อยากเรียกโปรแกรมที่คุ้นเคยขึ้นมาใช้มากกว่าเวลาใช้แท็บเล็ตอื่น ๆ
Jimmy Pike ผู้บริหารฝ่ายศูนย์ข้อมูลของ Dell ให้ความเห็นต่อกระแสเซิร์ฟเวอร์สาย ARM ที่กำลังเริ่มมาแรงว่าคงต้องรอซีพียู ARM สถาปัตยกรรม 64 บิท (ARMv8 หรือ Cortex-A50) วางตลาดอย่างจริงจังเสียก่อน เราน่าจะเริ่มเห็นเซิร์ฟเวอร์ ARM วางขายในปีหน้า และกว่าจะเริ่มขายในจำนวนมากก็อาจต้องรอถึงปลายปี 2014 หรือต้นปี 2015
Pike บอกว่าการผลักดัน ARM ในโลกของเซิร์ฟเวอร์จำเป็นต้องให้ฝั่งซอฟต์แวร์สนับสนุนด้วย นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ฝั่งลินุกซ์พื้นฐานอย่างสาย LAMP ที่รองรับอยู่แล้ว ก็ยังต้องมีระบบการบริหารจัดการ แพกเกจซอฟต์แวร์ด้านอื่นๆ รวมถึงระบบ BIOS กลางสำหรับเซิร์ฟเวอร์ ARM ทุกยี่ห้อใช้ร่วมกัน ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีในโลกของ x86 มานานมากแล้ว
ชิป Cortex-A57 นั้นเป็นชิปรุ่นแรกที่เป็นสถาปัตยกรรม ARMv8 หรือ ARM รุ่น 64 บิต ก่อนหน้านี้ทาง ARM เปิดตัวชิปรุ่นนี้ว่าพร้อมผลิต แต่ก็ยังไม่มีการผลิตจริง จนกระทั่งวันนี้ ชิปล็อตแรกก็ออกมาจากโรงงานของ TSMC แล้ว
ARM Holdings ประกาศว่าซีอีโอ Warren East จะเกษียณอายุในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ หลังจากดำรงตำแหน่งนี้มา 12 ปีและทำงานกับบริษัทมา 19 ปี
ซีอีโอคนใหม่เป็นคนในคือ Simon Segars ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัท (president) อยู่แล้ว เขาทำงานกับ ARM มาตั้งแต่ปี 1991 ผ่านงานสำคัญๆ ด้านวิศวกรรม เซลส์ และพัฒนาธุรกิจมาครบแล้ว แถมยังอายุแค่ 45 ปี ดำรงตำแหน่งซีอีโอต่อไปได้อีกนาน
Simon Segars ให้สัมภาษณ์ยกย่องผลงานของ Warren East ที่นำพา ARM ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ในยุคแห่งอุปกรณ์พกพา เขายืนยันว่า ARM จะทำหน้าที่ออกแบบชิปเพื่อขายสิทธิการใช้งานต่อไปดังเดิม ไม่ลงมาลุยตลาดผลิตฮาร์ดแวร์เองหรือร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะจุดแข็งของบริษัทอยู่ที่ความเป็นอิสระนั่นเอง