อินเทลทุ่มทรัพยากรมหาศาลเพื่อนำสถาปัตยกรรม x86 ลงมาบุกตลาดโทรศัพท์มือถือ (ข่าวเก่า) แล้วทำไมเจ้าตลาดโทรศัพท์อย่าง ARM จะไม่บุกตลาดเซิร์ฟเวอร์กลับ ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสแรก Warren East ซีอีโอของ ARM ก็ให้ข่าวว่าเขาคิดว่าเซิร์ฟเวอร์ ARM จะเริ่มบุกตลาดในอีก 12 เดือนข้างหน้า
แม้ว่า ARM จะขายเพียงแบบพิมพ์เขียวของซีพียูโดยไม่ได้ขายตัวบอร์ด และชิปเหมือนอินเทล แต่จากสถาปัตยกรรมของ Cortex A9 ก็ชัดเจนว่า ARM วางหมากให้มีการใช้สถาปัตยกรรม ARM บนเซิร์ฟเวอร์ จากการรองรับ 4 คอร์ในชิปเดียวและสัญญาญนาฬิกาที่รองรับสูงสุดถึง 2GHz
New York Times ออกมายืนยันแล้วว่าแอปเปิลได้ทำการเข้าซื้อ Intrinsity บริษัทเล็ก ๆ ที่มีความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี ARM ไปพัฒนาต่อให้มีความเร็วที่เพิ่มขึ้นจากเมือง Austin ในรัฐเท็กซัสอย่างแน่นอนแล้ว โดยก่อนหน้านี้ที่เราเคยรายงานไปนั้นเป็นเพียงแค่ข่าวลือที่ไม่มีการยืนยัน
โดยการเข้าซื้อในครั้งนี้จะทำให้แอปเปิลมีข้อได้เปรียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีของ ARM ไปประยุกต์ใช้บนอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ได้ ด้วยความสามารถนี้ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างซัมซุงกับ Intrinsity ทำให้แอปเปิลมีความสนใจที่จะซื้อบริษัทนี้
จากข่าวลือว่า แอปเปิลอาจเข้าซื้อ ARM ทำให้หุ้นของ ARM พุ่งขึ้นไปสูงสุดในรอบแปดปี ทาง Warren East ซีอีโอของ ARM ได้ออกมาให้สัมภาษณ์แล้วว่า บริษัททั้งหลายสามารถขอใช้เทคโนโลยีของ ARM ได้ผ่านการขออนุญาต ไม่จำเป็นต้องมาซื้อตัวบริษัทไปแต่อย่างใด
ทางหนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษ (ARM เป็นบริษัทอังกฤษ) บอกว่าในเมื่อ ARM มีมูลค่าตามราคาหุ้น 3 พันล้านปอนด์ในขณะนี้ และเศรษฐกิจกำลังเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ไยต้องยอมไปอยู่ใต้แอปเปิลเล่า ในเมื่ออยู่เป็นอิสระแล้วขายใบอนุญาตให้แอปเปิล (และบริษัทอื่นๆ) นั้นรวยกว่ากันเยอะ
ที่มา - Guardian
จากรายงานของ London Evening Standard ได้ระบุว่าปัจจุบันแอปเปิลเป็นลูกค้ารายสำคัญของ ARM และเป็นไปได้ว่าแอปเปิลอาจจะกำลังหาวิธีการที่จะเข้าซื้อบริษัท ARM
ก่อนหน้านี้ MacRumors เคยให้รายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทหนึ่งที่มีชื่อว่า Intrinsity ที่เป็นบริษัทที่ได้ทำงานร่วมกับซัมซุงเพื่อที่จะทำการผลิตหน่วยประมวลผล 1GHz Hummingbird โดยบริษัทนี้มีพนักงานที่เคยทำงานเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชิป ARM CPU จำนวนมากอยู่ และ MacRumors เคยคิดว่าซักวันหนึ่งบริษัทนี้อาจจะต้องมาทำงานกับแอปเปิลซักวันหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแอปเปิลกลับมาเริ่มผลิตหน่วยประมวลผลเองแล้ว
Roy Chen ผู้บริหารของ ARM บริษัทผู้ผลิตซีพียูสำหรับอุปกรณ์พกพารายใหญ่ ประเมินว่าในปี 2010 นี้ กระแสของแท็บเล็ตจะมาแรงเต็มที่ โดยมีผู้ผลิตแท็บเล็ตขายกว่า 50 รุ่นทั่วโลก
เขาบอกว่าแท็บเล็ตรุ่นแรกจะเริ่มวางตลาดในไตรมาสที่สอง แต่จะเริ่มเยอะขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในไตรมาสที่สาม โดยจะใช้ช่องทางขายผ่านโอเปอเรเตอร์มือถือเป็นหลัก ซึ่งเขาให้ข้อมูลว่าบริษัทเครือข่ายขนาดใหญ่ของโลกต่างเตรียมวางขายแท็บเล็ตกันทั้งนั้น
การบูมของแท็บเล็ต ถึงกับทำให้ ARM ต้องเช่าพื้นที่แสดงสินค้าในงาน Computex เพิ่ม เพื่อโชว์แท็บเล็ตรุ่นต้นแบบที่ใช้ Android และ Windows CE เลยทีเดียว
หลังจากที่อินเทลพยายามผลักดันแพลตฟอร์ม x86 ของตัวเองลงมาสู่ตลาดคอมพิวเตอร์พกพา รวมถึงการประกาศจะเข้ามาลุยกับ ARM ในตลาดโทรศัพท์มือถือในปี 2011 กับชิป Medfield (ข่าวเก่า) คราวนี้ถึงคิวของ ARM โต้กลับบ้างแล้วครับ โดย ARM ได้เปิดเผยรายละเอียดซีพียูยุคหน้าของตัวเองซึ่งมีรหัสพัฒนาว่า Eagle โดยเจ้าตัว Eagle นี้ยังคงเป็นซีพียูในตระกูล Cortex A ที่ใช้กันแพร่หลายในตลาดโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กในปัจจุบัน ซึ่งรายละเอียดที่น่าสนใจมีดังนี้
ข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ iPad เสียหน่อย เป็นที่รู้กันแล้วว่า iPad นั้นใช้ซีพียูของแอปเปิลเองที่ชื่อว่า Apple A4 โดยมีสองประเด็นคือสถาปัตยกรรมภายในนั้นยังคงเป็น ARM เช่นเดียวกับ iPhone ส่วนนี้ไม่น่าแปลกใจนัก เพราะระบบซอฟต์แวร์ของ iPhone นั้นเป็น Native-Application ทำให้การเปลี่ยนซีพียูทำได้ยากพอสมควร แต่อีกเรื่องหนึ่งคือซีพียูตัวนี้ถูกผลิตขึ้นโดยซัมซุง ด้วยกระบวนการ 45 นาโนเมตร
ชิป A4 นั้นนอกจากจะมี Cortex-A9 เป็นแกนกลางภายในแล้ว ยังมี GPU Mali ที่ซื้อการออกแบบมาจาก ARM เช่นกันทั้งหมดนี้ทำให้ Apple A4 แทบไม่ต่างอะไรจาก Qualcomm Snapdragon และ NVIDIA Tegra ที่พิเศษสักหน่อยคือมีแอปเปิลเป็นผู้ใช้รายเดียว
ขอมาเก็บตกงาน CES 2010 ที่ผ่านมาซักหน่อย นอกจากเลอโนโวเปิดตัว Skylight สมาร์ทบุ๊ก และ Freescale เปิดตัวสมาร์ทบุ๊ก คาดราคาต่ำกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐ แล้ว ฟากเอชพีก็ไม่น้อยหน้า เอารุ่น Mini ที่เป็นสมาร์ทบุ๊ก ซีพียู ARM Snapdragon จากค่าย Qualcomm ติดตั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ พร้อมทั้งหน้าจอ 10 นิ้วแบบทัชสกรีนมาให้ยกโฉมกันในงาน รูปภาพและคลิปวีดีโอโชว์การใช้ทัชสกรีนดูได้ท้ายข่าว
ที่มา: Engadget
ชิปรุ่นต่อไปของ ARM คือ Cortex-A9 นั้นจะเป็นชิปตัวแรกที่ทำให้ตลาดของอินเทลและ ARM ต้องปะทะกันอย่างสมบูรณ์ เพราะเป้าหมายหลักของ A9 คือเน็ตบุ๊กที่อินเทลตครองตลาดเบ็ดเสร็จ
แม้จะมีการบลั๊พกันอยู่เรื่อยๆ ถึงประสิทธิภาพต่างๆ นาๆ รวมถึงชิป PowerVR รุ่นต่อไป แต่วันนี้ ARM ก็ปล่อยวีดีโอแรกของ Cortex-A9 ที่รัน Ubuntu มาให้ดูกันแล้ว
ชิปรุ่นทดสอบยังไม่มีส่วน PowerVR และยังทำงานอยู่ที่สัญญาณนาฬิกา 500MHz ดูวีดีโอหลัง break ครับ
เลอโนโวได้ฤกษ์เปิดตัว Skylight สมาร์ทบุ๊ก มีรายละเอียดดังนี้
เริ่มจำหน่วยในสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการเดือนเมษายน ในราคา 499 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 17,000 บาท) แบบไม่ติดสัญญา โดย AT&T มีโปรแกรม DataConnect และ DataConnect Pass ให้เลือกใช้ รูปภาพเครื่องดูได้ท้ายข่าว
สงครามคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในยุคต่อไปคงเป็นสงครามระหว่าง ARM และ Intel ในงาน CES ก็เริ่มประกาศศึกกันอีกครั้งเมื่อทาง Freescale ออกเครื่องต้นแบบที่ใช้ชิป i.MX515 และอ้างว่าราคาเครื่องน่าจะขายได้ในราคาต่ำกว่า 200 ดอลลาร์
ชิป i.MX515 โดยนัยแล้วมันคือ ARM Cortex-A8 ที่มากับส่วนขยายอีกสองสามอย่างเช่น OpenVG และคำสั่งพิเศษสำหรับช่วยถอดรหัสภาพวีดีโอ ทำให้ทาง Freescale อ้างว่าชิปนี้จะรองรับวีดีโอได้ถึง 720p แน่
เครื่องรุ่นนี้เป็นเพียงต้นแบบที่ยังไม่มีการผลิตขนาดใหญ่ แต่เราอาจจะเห็นโรงงานในจีนซื้อแบบไปผลิตกันได้เร็วๆ นี้ แต่เท่าที่ผมเห็นแล้วโรงงานในจีนมีชิปของตัวเองจะหลายรุ่น แถมเริ่มรองรับวีดีโอ 1080p กันบ้างแล้ว
ถ้าใครจำได้เครื่อง Nintendo DS นั้นมีชิป ARM อยู่สองตัวคือ ARM9 และ ARM7 โดยตัว ARM7 นั้นทำหน้าที่ประมวลผลกราฟิก แม้จะทำงานได้ดีพอสมควร แต่โลกกราฟิกสำหรับอุปกรณ์พกพาก็กำลังเป็นความท้าทายใหม่ของอุตสาหกรรม เช่นชิปเซ็ต ION ของ Nvidia
ARM เองก็ตระหนักในจุดนี้และเตรียมพัฒนา Mali มาตลอด และวันนี้ก็ได้เวลาแสดงพลังของชิป GPU ตัวนี้แล้ว
ชิป Mali จะเป็นตัวเป็น 2 รุ่นคือ Mali 200 และ Mali 400 โดยในตอนนี้ ARM ยังแสดงพลังของ Mali 200 เท่านั้น (คาดว่า 400 นั้นยังไม่เสร็จ) โดยแสดงพลังประมวลผลผ่านทางหน้าจอสามมิติและการแสดงภาพขนาด 720p
อธิบายลำบาก ว่าแล้วก็ดูวีดีโอกันง่ายกว่า
มีข่าวลือจากผู้ผลิตโทรศัพท์ในประเทศไต้หวันว่า นอกจากโนเกียเตรียมจะปล่อยโน้ตบุ๊ก (หรือที่ใครต่อใครก็เข้าใจเป็นเน็ตบุ๊ก) ชื่อ Booklet 3G ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นอินเทลอะตอม (ดูข่าวเก่า) โนเกียยังเตรียมเอาต์ซอร์สให้ผู้ผลิตอื่นทำการผลิตสมาร์ทบุ๊กที่ใช้หน่วยประมวลผลกลางเป็น ARM อีกด้วย
แหล่งข่าวได้ระบุว่าสมาร์ทบุ๊กดังกล่าวจะลงทำตลาดในช่วงกลางปีหน้า ถัดจาก Booklet 3G เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น
ช่วงหลังๆ นี้แฟชั่นของการพัฒนาซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกินพลังงานต่ำคงเป็นกระแสที่นักพัฒนาเริ่มเห็นกันชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่ามันกำลังมาแทนที่โลกคอมพิวเตอร์ฝังตัวไปเรื่อยๆ ล่าสุดผมได้มีโอกาสที่จะลองเล่นบอร์ด ARM9 ที่ผลิตในจีนชื่อว่า Mini2440 จาก FriendlyARM ที่มีจุดเด่นที่ราคาต่ำกว่า 5,000 บาท แต่แพลตฟอร์มมีความเปิดทำให้สามารถพัฒนาได้อย่างไม่จำกัด
เนื่องจากกระแสเน็ตบุ๊กและโทรศัพท์มืผลต่ออุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่แปลกที่ระบบปฎิบัติการหลายๆ ตัวพากันพอร์ตตัวเองไปยังชิป ARM ที่ครองตลาดโทรศัพท์มือถือ แต่การรองรับชิป ARM จาก OpenSolaris นั้นก็คงเป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายของหลายๆ คนอยู่ดี
OpenSolaris นั้นมีฐานจาก Solaris ที่ซันใช้ทำตลาดในส่วนของเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่เป็นหลัก แม้การโอเพนซอร์สจะทำให้ OpenSolaris ได้รับการยอมรับในวงกว้างมากกว่าเดิม แต่การกระโดดข้ามไปบุกตลาดผู้บริโภคทั่วไปอย่างโทรศัพท์มือถือและเน็ตบุ๊กนั้นดูจะเป็นก้าวกระโดดที่ออกจะไกลจากความเป็นจริงไปสักหน่อย
OpenSolaris มีแอพลิเคชั่นรองรับทั้งหมดประมาณ 1,700 ตัวเทียบกับ 26,000 ตัวของโครงการ Debian
เรามองเห็นแผนการแว่วๆ ว่า Android นั้นอาจจะบุกตลาดเน็ตบุ๊กในเร็วๆ จากการคอมไพล์บนแพลตฟอร์ม x86 ได้อยู่ในตอนนี้แต่ดูเหมือนว่าบริษัท Skytone จากจีนจะเป็นบริษัทแรกที่เปิดตัวสินค้าอย่างเป็นทางการในชื่อ Skytone Alpha 680
สเปคทางการผสมกับคำบอกเล่าในตอนนี้ เป็นดังนี้
ราคาปลีกนั้นอยู่ระหว่าง 99-200 ดอลลาร์ เนื่องจากทาง Skytone เป็น ODM รับจ้างผลิตอย่างเดียว คงต้องรออีกระยะกว่าจะมีสินค้าออกมาให้เล่นกัน
ตอนที่ผมไปงาน IDF นั้นสินค้าตัวหนึ่งที่อินเทลชูโรงมาเสมอคือเครื่อง MID (Mobile Internet Device) ที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุดที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างเป็นธรรมชาติ ปัญหาคือ MID ไม่เคยได้รับความนิยมในวงกว้างเลย เนื่องจากราคาแพงและการออกแบบที่ยังไม่โดนใจคนใช้
แต่บริษัทจีนอย่าง SmartDevices กำลังทำลายกำแพงข้อแรกในเรื่องของราคาลงไป ด้วยการออก SmartQ 5 เครื่อง MID ที่มีราคาตั้งเพียง 899 หยวนหรือประมาณ 5,000 บาทเท่านั้น
เสปคเป็นดังนี้
แล็ปท็อปรุ่นถัดไปของโครงการ OLPC ประกาศแล้วว่าจะเปลี่ยนจากสถาปัตยกรรม x86 (เดิมใช้ AMD Geode) มาเป็น ARM
เหตุผลก็คือเรื่องความประหยัดพลังงาน และค่าใช้จ่ายที่ถูกลง ทางเว็บไซต์ OLPC News (ไม่เกี่ยวข้องกับตัวโครงการ OLPC โดยตรง) ได้โจมตีอินเทลว่าได้พยายามรักษาระดับราคาของเน็ตบุ๊กที่ใช้ Atom ไว้ให้ไม่ต่ำไปกว่า 400 ดอลลาร์ เพื่อคงปริมาณกำไรเอาไว้ โดยออกแบบให้ Atom มีฟีเจอร์ที่เกินความต้องการทั่วๆ ไปอยู่มาก
Touch Book
นักวิเคราะห์จากสองค่าย มีมุมมองที่แตกต่างกันสำหรับตลาดซีพียูของเน็ตบุ๊กในอีก 3 ปีข้างหน้า
ค่ายแรกคือ The Information Network เชื่อว่าถึงแม้ปัจจุบัน Atom จะครองตลาดเน็ตบุ๊กแบบเบ็ดเสร็จ แต่ในอนาคต สถาปัตยกรรม ARM Cortex-A9 จะมาแรง และเมื่อรวมกับลินุกซ์จะทำให้เกิดเน็ตบุ๊กราคาถูกที่ฝั่ง Atom ไม่สามารถลดราคามาเทียบเท่าได้ ภายในปี 2012 ค่าย ARM จะมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า Atom คือ 55%
ส่วนอีกค่ายคือ IDC เห็นตรงข้าม มองว่า ARM และสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ x86 อย่างเก่งก็ชิงส่วนแบ่งตลาดมาได้แค่ 10-20% เท่านั้น
สงครามโทรศัพท์มือถือในวันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่ในผู้ผลิตโทรศัพท์และระบบปฎิบัติการเท่านั้น ซีพียูก็เป็นอีกหนึ่งสมรภูมิที่กำลังขับเคี่ยวกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งการแข่งกันระหว่าง x86 จากอินเทลและ ARM และการแข่งจากผู้ผลิต ARM อีกหลายยี่ห้อไม่ว่าจะเป็น Qualcomm, Nvidia, และ Texas Instrument (TI)
ในงาน Mobile World Congress ทาง TI จึงถือโอกาสเปิดตัว OMAP 4 ที่เป็นตระกูลถัดจาก OMAP 3 ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงเช่นในไอโฟนและโทรศัพท์รุ่นอื่นๆ
ชิป OMAP 4 จะมีความสามารถดังนี้
ความร้อนแรงของ Android ในตอนนี้แม้จะจำกัดอยู่แค่สินค้าที่กำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ความสนใจของผู้ผลิตที่จะใช้ Android นั้นกลับไม่ได้จำกัดอยู่แค่โทรศัพท์มือถือ เมื่อ Archos ผู้ผลิตเครื่องเล่นวีดีโอแบบพกพารายใหญ่ระบุว่ากำลังพัฒนาเครื่องเล่นวีดีโอรุ่นใหม่โดยอาศัยระบบปฏิบัติการ Android นี้อยู่
เครื่องเล่นตัวนี้ความสามารถนั้นจะสูงกว่าเครื่องเล่นวีดีโอทั่วไป โดยทาง Archos เรียกมันว่า Internet Media Tablets แม้ว่าตอนนี้สเปคยังไม่มีอะไรแน่ชัดนักเนื่องจากเป็นการให้ข่าวเบื้องต้น แต่ที่เรารู้ในตอนนี้คือ เครื่องที่ว่านี้สามารถต่อเครือข่าย 3G ได้และใช้ชิป OMAP 3440 ซึ่งเป็นชิปในตระกูล ARM Cortex A8 อีกตัวหนึ่ง
บริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ประกาศจับมือกับบริษัท ARM ผู้ผลิตชิปตระกูล ARM ที่ใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็ก ตั้งเป้าจะพอร์ต Ubuntu Desktop ให้ทำงานบนชิปตระกูล ARM ได้
ข้อตกลงนี้ระบุว่าจะครอบคลุมเฉพาะสถาปัตยกรรม ARM v7 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดเท่านั้น (ชื่อทางการค้าคือ Cortex ส่วนชิปตระกูล XScale ที่คุ้นตากันหน่อยใช้สถาปัตยกรรม v5 - อ่านรายละเอียดในวิกิพีเดีย) ทาง Canonical นั้นตั้งเป้าว่าจะทำให้เสร็จใน Ubuntu 9.04 Jaunty Jackalope ที่จะออกเดือนเมษายนปีหน้า
ในสมัยหนึ่งที่สถาปัตยกรรม ARM นั้นดูร้อนแรงในวงการ Embedded มากๆ ตัวผมเองกลับพบว่ามันลำบากมากที่จะไปหาบอร์ด ARM มาใช้งานกันด้วยราคาที่แพงในหลักหมื่นบาทขึ้นไป แม้หลังๆ มานี้เราจะได้เห็นเราท์เตอร์บางรุ่นหันมาใช้ ARM ทำให้เราใช้งาน OpenWRT ได้แต่ก็ต้องลองเสี่ยงไปมาว่ารุ่นไหนใช้ได้ไม่ได้อย่างไรบ้าง
แต่ล่าสุดทาง Texas Instrument ก็แสดงท่าที่เอาใจนักพัฒนาเต็มที่ผ่านทางโครงการ BeagleBoard.org ที่ออกแบบบอร์ดพัฒนาชิป ARM รุ่น OMAP3530 ที่ให้ความเร็วค่อนข้างดี รองรับ OpenGL ES 2.0 และมีระบบประมวณสัญญาณเฉพาะทางมาในตัว ทำให้รองรับการแสดงวีดีโอระดับ HD ได้