จากปัญหาเรื่องการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีประเด็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา วันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 รายได้แก่ กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย มาประชุมหารือกันและได้ข้อสรุป 5 เรื่อง ดังนี้
ธนาคาร OCBC ในสิงคโปร์ขยายวงเงินของบริการ Pay Anyone บริการจ่ายเงินผ่านหมายเลขโทรศัพท์, อีเมล, หรือแม้แต่บัญชีเฟซบุ๊ก จากเดิมที่จำกัดวันละ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์เป็นวันละ 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
OCBC Pay Anyone อาศัยการส่งลิงก์เพื่อรับเงินไปยังผู้รับเงินปลายทาง เช่น หากระบุผ่านหมายเลขโทรศัพท์ก็จะได้ลิงก์รับเงินทาง SMS โดยที่ผู้จ่ายเงินจะต้องบอกหมายเลข PIN เพื่อรับเงินอีกทีหนึ่ง ผู้รับจะสามารถกดลิงก์ไปแจ้งหมายเลขบัญชี และใส่ PIN เพื่อรับเงิน โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน
VISA ประกาศทดสอบแนวคิด (proof of concept - PoC) ของระบบเคลียร์ริ่งระหว่างธนาคารผ่านเครือข่าย blockchain ที่ชื่อว่า Interbit โดย VISA จะส่งคำเชิญไปยังธนาคารบางธนาคารในยุโรป
Interbit แสดงรายละเอียดการทำงานมากกว่าเครือข่ายเคลียร์ริ่งระหว่างธนาคารอื่น โดยแต่ละธนาคารจะมี Smart Contract เป็นของตัวเองสำหรับการกำหนดเพดานเครดิต ส่วนระบบกลางมี Contract สำหรับกำหนดค่าธรรมเนียม, รายชื่อสมาชิก, และระบบเคลียร์ริ่ง
การเชื่อมต่อ Interbit จะเชื่อมต่อผ่านเกตเวย์เข้าไปยังเครือข่ายของ Interbit ผู้ให้บริการประมวลผลการจ่ายเงิน (payment processor) จะให้บริการลูกค้าผ่านการจ่ายเงินปกติไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือการจ่ายผ่านบัตรเครดิต
ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศปิดปรับปรุงแอพพลิเคชั่น SCB Easy นานถึงสิบวัน จากวันนี้ถึงวันที่ 10 กันยายน 2559 โดยระบุว่าสาเหตุจากความนิยมใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น
เมื่อช่วงบ่ายวันนี้บริการแอพ SCB Easy มีปัญหาการใช้งานต่อเนื่องจนกระทั่งมีการประกาศออกมา
ทางธนาคารระบุว่ายังใช้งานผ่านช่องทางเว็บ www.scbeasy.com, ทางตู้เอทีเอ็ม, และสาขา ได้เช่นเดิม
น่าสนใจว่าทำไมความต้องการใช้งานถึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งต้องมีการปิดปรับปรุงนานเช่นนี้
UBS ร่วมกับบริษัท Clearmatics เปิดระบบเงินใหม่ Utility Settlement Coin (USC) ที่ทำงานบน blockchain เพื่อการเคลียร์ริ่งระหว่างธนาคาร โดยมีธนาคาร Deutsche Bank และ Santander เข้าร่วม พร้อมกับบริษัทให้บริการตลาดหลักทรัพย์ ICAP และบริษัทลงทุน BNY Mellon เข้าร่วมด้วย
USC จะเป็นเงินดิจิตอลที่มีเงินสกุลหลักๆ หนุนหลังอยู่ (แถลงข่าวยกตัวอย่างสกุลเงิน ดอลลาร์, ยูโร, ปอนด์, และฟรังก์สวิส) สามารถแปลงเงินเข้าออกจาก USC ได้
SWIFT ผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลระหว่างธนาคารออกจดหมายแจ้งเตือนธนาคารสมาชิกว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการโจมตีไซเบอร์อยู่ และการโจมตีบางครั้งทำสำเร็จ
ทางสำนักข่าวรอยเตอร์ได้รับจดหมายที่ SWIFT ส่งให้ธนาคารสมาชิก ระบุถึงสมาชิกบางรายถูกแฮกระบบ และส่งคำสั่งจ่ายเงิน พร้อมกับระบุว่าการโจมตีมีความซับซ้อน อย่างไรก็ตามทางโฆษกของ SWIFT ปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลการแฮกที่ระบุในจดหมายเพิ่มเติม
FireEye ออกรายงานวิเคราะห์มัลแวร์ RIPPER (ชื่อโครงการในตัวอย่างมัลแวร์ว่า ATMRIPPER) ถูกส่งไปวิเคราะห์บน VirusTotal เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมาจากไอพีในประเทศไทย ก่อนการรายงานข่าวการแฮกตู้เอทีเอ็มของธนาคารออมสินเพียงไม่กี่นาที มีค่า MD5 เป็น 15632224b7e5ca0ccb0a042daf2adc13
โดยมัลแวร์มุ่งควบคุมระบบจ่ายธนบัตรในตู้เอทีเอ็ม และสามารถรับคำสั่งจากเจ้าของมัลแวร์หากตู้ได้รับบัตร EMV ที่กำหนดไว้
คดีการปลอมเอกสารเพื่อออกซิมการ์ดของนายพันธ์สุธี มีลือกิจ จนกระทั่งคนร้ายสามารถโอนเงินออกไปได้ถึง 986,700 บาท ตอนนี้มีความคืบหน้าสำคัญเมื่อสภ.เมืองอยุธยา สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้แล้ว
ทางชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ระบุว่าจะมีการแถลงข่าวการจับกุมครั้งนี้ในวันพรุ่งนี้
ที่มา - ชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม
คดีการแฮกเอทีเอ็มในไต้หวันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ด้วยการวางมัลแวร์นับเป็นคดีที่มีความเสียหายมูลค่าสูง มีเงินถูกดึงออกไปจากตู้ถึง 80 ล้านบาท เครือข่ายบัตรรับจ่ายอย่างวีซ่าก็ออกรายงานวิเคราะห์เหตุการณ์ครั้งนี้
รายงานของวีซ่าไม่ได้ระบุว่าเป็นไต้หวันโดยตรงแต่ระบุเพียงว่าเป็นเหตุการณ์ในเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ดีค่าแฮชของไฟล์ที่ระบุในรายงานตรงกับค่าแฮชของคดีในไต้หวัน
ธนาคารออมสินประกาศปิดบริการเอทีเอ็มบางส่วน หลังเงินหายไปจากตู้เอทีเอ็ม 21 เครื่อง มูลค่า 12,291,000 บาท โดยพบมัลแวร์ในตู้เอทีเอ็มเหล่านั้น
ทางธนาคารยืนยันว่าเงินที่หายไปไม่เกี่ยวข้องกับเงินในบัญชีของลูกค้าแต่อย่างใด
ข้อมูลที่ออกมายังมีไม่มากนัก แต่รูปแบบการโจรกรรมดูจะคล้ายกับการติดตั้งมัลแวร์ในไต้หวันที่อาชญากรขโมยเงินไปได้ถึง 80 ล้านบาท
ที่มา - eFinance
คดีการปลอมแปลงเอกสารของนายนายพันธ์สุธี มีลือกิจ เพื่อนำไปออกซิมการ์ดและรีเซ็ตรหัสผ่านธนาคารออนไลน์จนกระทั่งสามารถโอนเงินออกไปได้ 986,700 บาทมีความคืบหน้าอีกครั้ง เมื่อทางธนาคารกสิกรไทยประกาศช่วยเหลือนายพันธ์สุธีด้วยการรับความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ทางธนาคารระบุว่าการโจรกรรมครั้งนี้ไม่ใช่การแฮกระบบไอที แต่เป็นการใช้ช่องทางภายนอก แต่ทางธนาคารก็มีหน้าที่รับผิดชอบส่วนหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับลูกค้ารายอื่น
คดีการขโมยเงินของนายพันธ์สุธี มีลือกิจ ที่ถูกปลอมแปลงข้อมูลเพื่อออกซิมใหม่และรีเซ็ตรหัสธนาคารออนไลน์ จนกระทั่งธนาคารกสิกรไทยต้องปรับนโยบายในการรีเซ็ตรหัสผ่าน ตอนนี้ทาง กสทช. ก็ออกมาระบุว่ากำลังเชิญนายพันธ์สุธี และทางทรู เข้าหารือถึงการเยียวยาในกรณีนี้
เลขาธิการ กสทช. ระบุว่าได้เชิญนายพันธ์สุธี เข้าไปยังสำนักงานกสทช. ในวันจันทร์นี้เวลา 13.30 เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
ที่มา - @TakornNBTC
สำนักงานกำกับการโทรคมนาคมอินเดีย (Telecom Regulatory Authority of India - TRAI) เผยแพร่รายงานสอบทานการสนับสนุนการเข้าถึงบริการธนาคาร เลียนแบบหลายชาติที่ประสบความสำเร็จในการให้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น M-Pesa ของเคนยา, G-Cash ของฟิลิปปินส์ แต่หลังจากเปิดระบบมาเกือบสองปี สถิติเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กลับมี "ความพยายามใช้งาน" เพียง 3.7 ล้านครั้ง เท่านั้นทั้งที่อินเดียมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือถึงพันล้านคน และมีผู้ใช้ในพื้นที่ห่างไกลถึง 450 ล้านคน
วันนี้ Digital Ventures หรือ DV บริษัทลูกด้าน FinTech ของ SCB แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ (อ่าน บทสัมภาษณ์ ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหาร Digital Ventures ประกอบ) โดยเบื้องต้น DV จะมี 3 ส่วนธุรกิจ
คดีแฮกเกอร์ติดตั้งมัลแวร์ในตู้เอทีเอ็มไต้หวันมีความคืบหน้า เมื่อตำรวจไต้หวันจับกุมผู้ต้องสงสัยสามคนแรก หลังจากตำรวจไทเปนายหนึ่งที่กำลังพักผ่อนพบผู้ต้องสงสัยชาวลัตเวียในร้านอาหารในมณฑลอี้หลาน ส่วนผู้ต้องสงสัยชาวโรมาเนียอีกสองคนถูกจับในไทเป พร้อมกับพบเงิน 50 ล้านดอลลาร์ไต้หวันในโรงแรม จากเงินที่ถูกขโมยไปทั้งหมด 80 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน
ตำรวจระบุว่านี่เป็นครั้งแรกที่กลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติมาก่อเหตุกับระบบเอทีเอ็มในไต้หวัน โดยกลุ่มอาชญากรใช้มัลแวร์สามตัวเพื่อกระตุ้นให้เครื่องเอทีเอ็มจ่ายเงิน มัลแวร์กระทบตู้เอทีเอ็มที่ผลิตโดย Wincor Nixdorf กว่าพันตู้
การหลอกถามข้อมูลรหัสผ่านธนาคารก่อนหน้านี้มักอาศัยการส่งอีเมล phishing ไปยังลูกค้าธนาคารเป็นส่วนใหญ่ แต่เดือนนี้ลูกค้าธนาคาร OCBC ในสิงคโปร์ก็ถูกโทรศัพท์ลึกลับจากนอกประเทศโทรหลอกถามข้อมูลมากกว่าพันรายแล้ว
ลูกค้าของ OCBC ได้รับโทรศัพท์โดยบางครั้งก็ไม่แสดงหมายเลขต้นทาง แต่บางครั้งก็แสดงเป็นหมายเลขของ OCBC จริงๆ เมื่อรับสายจะเป็นระบบอัตโนมัติให้กดหมายเลข จากนั้นจึงโอนสายเข้าไปยังคอลเซ็นเตอร์เพื่อหลอกถามข้อมูลส่วนตัวต่างๆ รวมถึงหมายเลขรหัสผ่าน
การหลอกลวงเช่นนี้มีอยู่เรื่อยๆ มานานหลายเดือน แต่เฉพาะครึ่งเดือนนี้รายงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากถึง 1,081 รายเทียบกับ 16 รายตลอดเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ทาง OCBC แนะนำลูกค้าว่าหากไม่แน่ใจให้ตัดสายและโทรกลับไปยัง OCBC ด้วยตัวเอง
FIS ผู้ให้บริการเทคโนโลยีการเงินรายใหญ่ประกาศความร่วมมือกับ PAI ผู้ให้บริการตู้เอทีเอ็มกว่า 70,000 ตู้ในสหรัฐ เตรียมให้บริการถอนเงินสดโดยไม่ต้องเสียบบัตรใดๆ อีก ลูกค้าเพียง แต่ยืนยันตัวตนด้วย TouchID เท่านั้น
ลูกค้าต้องใช้ FIS Mobile Banking ที่ธนาคารต่างๆ นำไปให้ลูกค้าใช้ในชื่อแบรนด์ของธนาคารเองเพื่อใช้บริการนี้ โดย FIS เปิดบริการ Cardless Cash มาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตอนนี้ฝั่งตู้เอทีเอ็มก็พร้อมให้บริการแล้ว หากธนาคารรองรับก็จะครบวงจร
First Bank ธนาคารขนาดใหญ่ในไต้หวันประกาศหยุดตู้เอทีเอ็ม 300 ตู้หลังจากถูกคนร้ายโจมตีนำเงินออกไปได้ถึง 70 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ 80 ล้านบาท) โดยตอนนี้ตำรวจมีภาพผู้ต้องสงสัยชาวรัสเซียสามคนที่ถอนเงินออกไปจากเอทีเอ็มจำนวนมาก จากตู้เอทีเอ็ม 34 ตู้ใน 20 สาขาบริเวณไทเปและไทจง
โฆษกธนาคารเชื่อว่าตู้เอทีเอ็มถูกติดตั้งมัลแวร์เพื่อบังคับให้เครื่องจ่ายธนบัตรอัตโนมัติ อย่างไรก็ดีธนาคารยืนยันว่าเงินที่ถูกขโมยไปไม่กระทบกับบัญชีลูกค้าแต่อย่างใด ทางด้านตำรวจเชื่อว่ามีคนในธนาคารร่วมมือในการติดตั้งมัลแวร์
คนร้ายที่ถูกจับภาพจากกล้องวงจรปิดไว้ได้สามคน เชื่อว่าสองคนเดินทางออกจากไต้หวันไปแล้ว
การโอนเงินที่ต้องรอช่วงเวลาทำการของระบบธนาคาร หรือหากสั่งโอนนอกเวลาทำการแล้วจะต้องรอวันถัดไป เป็นเรื่องที่ระบบธนาคารหลายชาติจำกัดไว้ แม้แต่ประเทศที่ระบบการเงินก้าวหน้าอย่างญี่ปุ่นก็ตามที ตอนนี้ธนาคารหลักๆ ของญี่ปุ่น ได้แก่ Sumitomo Mitsui, Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ, และ Mizuho Bank ก็เตรียมเปิดบริการโอนเงินภายในธนาคารทันทีตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด
การโอนเงินทันทีตลอด 24 ชั่วโมงไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียวในญี่ปุ่น กลุ่ม Resona Holdings ที่เป็นกลุ่มธนาคารอันดับ 5 ของญี่ปุ่น เปิดบริการเช่นนี้มาตั้งแต่ปี 2015
ในรอบเดือนที่ผ่านมา บริการ PromtPay หรือ Any ID ที่ผลักดันโดยธนาคารในประเทศไทย ได้รับความสนใจอย่างมาก แต่ในรายละเอียดแล้ว เชื่อว่าหลายคนยังมีคำถามอีกมากว่าตอนใช้งานจริงจะเป็นอย่างไร
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณศุภนีวรรณ จูตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรงของการเปลี่ยนผ่านมาใช้ระบบ PromtPay ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งจะมาให้ความกระจ่างกับเราในเรื่องนี้ครับ
ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัว Microsoft Wallet ระบบกระเป๋าสตางค์เสมือนจริงพร้อมรองรับระบบ Tap-to-Pay ผ่าน NFC บน Windows 10 Mobile โดยเบื้องต้นยังรองรับเฉพาะบัตรเครดิตของ MasterCard และ VISA ก่อน
ตอนนี้ไมโครซอฟท์ปล่อย Microsoft Wallet ให้ทดลองใช้สำหรับกลุ่ม Windows Insider (build 14360 หรือสูงกว่า) ในสหรัฐก่อนและใช้ได้เฉพาะบน Lumia 950, 950 XL และ 650
ที่มา - Windows Blog
ธนาคาร Barclays ของอังกฤษประกาศรองรับการชำระเงินแบบ contactless บนแอนดรอยด์แล้วด้วยบริการ Contactless Mobile Service ผ่านแอพ Barclays Mobile Banking หลังจากที่เคยปฏิเสธแพลตฟอร์ม Android Pay ไปก่อนหน้านี้
การชำระเงินแบบ contactless ของ Barclays รองรับจำนวนเงินสูงสุด 100 ปอนด์ โดยหากจำนวนเงินอยู่ที่ระหว่าง 30-100 ปอนด์ ผู้ใช้จะต้องใส่รหัส PIN เพื่อยืนยันตัวตน แต่หากจำนวนเงินต่ำกว่า 30 ปอนด์ซึ่งเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำของการใช้จ่ายผ่านระบบ contactless เงินจำนวนดังกล่าวจะถูกหักออกไปโดยไม่มีการยืนยันตนแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของการปิดการใช้งานชิพ NFC ของแอปเปิล ทำให้ Barclays จำเป็นต้องรับรอง Apple Pay บนอุปกรณ์ของแอปเปิลไปในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับกสทช. ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วม เพื่อศึกษาหาแนวทางร่วมกัน ในการยกระดับความปลอดภัยด้าน Cyber Security และการยืนยันตัวตนบนสมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันการถูกสวมรอยทำธุรกรรมทางการเงิน
ขณะที่การให้บริการพร้อมเพย์ ที่จะผูกกับเบอร์โทรศัพท์นั้น ทางกสทช. ระบุว่าภายในเดือนธันวาคมนี้ จะเชื่อมโยงข้อมูลลายนิ้วมือของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งแบบรายเดือนและเติมเงินเข้ากับฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ผ่านโอเปอเรเตอร์เจ้าต่างๆ เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการพร้อมเพย์มากยิ่งขึ้นด้วย แต่จะไม่บังคับเหมือนการลงทะเบียนซิม
ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดตัวบริการ "พร้อมเพย์" (PromptPay) บริการชำระเงินผ่าน Any ID ใช้โอนเงินระหว่างบุคคลและโอนเงินไปยังนิติบุคคล
Any ID เปิดให้ใช้หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือแทน การลงทะเบียนจะเปิดให้ลงทะเบียนบางธนาคารที่พร้อมตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม และทุกธนาคารตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ส่วนการให้บริการพร้อมเพย์จะเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคมนี้
ก่อนหน้านี้เว็บไซต์ลงทะเบียนของธนาคารไทยพาณิชย์เคยระบุว่าการโอนด้วย Any ID จะมีค่าธรรมเนียมถูกกว่าการโอนข้ามธนาคารตามปกติ อย่างไรก็ตามเว็บไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมเป็นเท่าใด
ข้อมูลจาก S&P Global Market Intelligence ทำการสำรวจในสหรัฐฯว่าผู้คนนิยมฝากเงินไว้ที่ไหนบ้าง โดยสำรวจหมดตั้งแต่ธนาคาร องค์กรการเงินอื่นเช่น PayPal และองค์กร Nonbanks
ปรากฏว่า ในช่วง quarter แรกของปีนี้บริษัท Starbucks Corp มีเงินสดหมุนเวียนในบัตร และในแอพพลิเคชั่น Pay ของStarbucks ถึง 1.2 พันล้านเหรียญฯ มากกว่าจำนวนเงินฝากในธนาคารและองค์กรการเงินบางแห่งอย่าง California Republic Bancorp และ Discover Financial Services เสียอีก
แต่อันดับสูงสุดของการสำรวจยังคงเป็นธนาคาร คือ Bank of America Corp มีเงินฝาก 427.19 พันล้านเหรียญฯ ความน่าสนใจคือ Stabucks มีเงินเติมในบัตรมากขึ้นโดยปีนี้อันดับขึ้นมา 1.6% จากปีที่แล้ว
ที่มา - Market Watch