รวมข่าว Browser ทั้ง Mac, Linux, และ Windows พร้อมแนะนำ Browser มี Update ใหม่อะไรบ้าง
หลังกฎ GDPR ของยุโรปบังคับใช้ สิ่งที่จับต้องได้อย่างชัดเจนคือเว็บไซต์จำนวนมากจะแสดงข้อความแจ้งเตือนผู้ใช้ว่า ใช้งานคุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัว ข้อเสียสำคัญคือหน้าจอคุกกี้เหล่านี้มักบังส่วนสำคัญของเว็บเพจ จนทำให้เกิดความรำคาญไม่ต่างอะไรกับโฆษณาบางประเภท
Opera for Android เวอร์ชันล่าสุด 48.0 จึงขยายฟีเจอร์ ad blocking ไปอีกขั้น เพิ่มตัวเลือก block cookie dialogs เพื่อปิดการแสดงผลหน้าจอคุกกี้เหล่านี้ด้วย (ผู้ใช้จำเป็นต้องเปิดใช้กันเองในหน้า Settings ไม่ได้เปิดมาเป็นดีฟอลต์)
กูเกิลประกาศว่า Chrome 71 ที่มีกำหนดออกในเดือนธันวาคม 2018 จะบล็อคโฆษณาของเว็บไซต์ที่ถูกขึ้นบัญชีดำว่าเป็นเว็บไซต์ที่สร้างประสบการณ์ไม่ดีแก่ผู้ใช้ (กูเกิลใช้คำว่า abusive experience)
เว็บไซต์ที่เข้าข่าย abusive experience คือพยายามล่อให้ผู้ใช้กดโฆษณาบนเว็บไซต์ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งแบนเนอร์ ป๊อปอัพ วิดีโอ หรือหลอกให้ดาวน์โหลดแอพบนมือถือ ตัวอย่างเทคนิคที่ใช้งาน เช่น ปุ่ม x ปิดโฆษณาที่ไม่ได้ปิดโฆษณาจริงๆ หรือแบนเนอร์ที่หน้าตาเหมือนข้อความแจ้งเตือนของ OS
ก่อนหน้านี้กูเกิลมีมาตรการบล็อคป๊อปอัพและการเปิดหน้าต่างใหม่ แต่พบว่ามาตรการเหล่านี้ไม่เพียงพอ กูเกิลจึงตัดสินใจใช้ยาแรงขึ้น โดยบล็อคโฆษณาทั้งหมดอย่างสมบูรณ์
Firefox ออกเวอร์ชัน 63 มีของใหม่ดังนี้
กูเกิลออก Chrome 70 Stable สำหรับเดสก์ท็อป มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เพิ่มตัวเลือกปิดการใช้งาน Chrome sign-in หรือการล็อกอินเข้า Chrome ด้วยบัญชีกูเกิล หลังเริ่มบังคับใช้งานใน Chrome 69 และโดนวิจารณ์อย่างหนัก
Chrome 70 มีสถานะการล็อกอินที่ตัวเบราว์เซอร์ 3 แบบ (ตามภาพ) คือ
กูเกิล, ไมโครซอฟท์, มอซิลล่า, และแอปเปิล สี่ผู้ผลิตเบราว์เซอร์สำคัญประกาศแผนการหยุดรองรับการเชื่อมต่อ TLS 1.0 และ 1.1 มีกำหนดที่เดือนมีนาคม 2020
TLS 1.0 ออกมาตั้งแต่ปี 1999 และกำลังจะครบรอบ 20 ปีในต้นปีหน้า ขณะที่โปรโตคอลใหม่ๆ เช่น HTTP/2 นั้นบังคับว่าต้องใช้ TLS 1.2 ขึ้นไป ส่วน TLS 1.3 ก็นิ่งแล้วแนะคงมีการใช้งานมากขึ้นในเร็วๆ นี้
เซิร์ฟเวอร์ส่วนมากในตอนนี้รองรับการเชื่อมต่อทุกรูปแบบตั้งแต่ TLS 1.0 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อจริงนั้นมักกลายเป็น TLS 1.2 แทบทั้งหมดแล้ว ไมโครซอฟท์ระบุว่าการเชื่อมต่อบน Edge นั้นเป็น TLS 1.2 ถึง 99.28% ส่วนแอปเปิลก็ระบุว่าสูงถึง 99.6%
หลังจากที่เปิดให้ฝั่งแอนดรอยด์ได้ใช้มาตั้งแต่เดือนเมษายน Opera Touch เว็บเบราว์เซอร์สำหรับอุปกรณ์พกพาจากค่าย Opera ซึ่งได้รับการออกแบบใหม่ให้สามารถใช้งานบนโทรศัพท์ได้คล่องตัวมากขึ้น ก็ได้ฤกษ์ออกเวอร์ชัน iOS ให้ผู้ใช้ iPhone ดาวน์โหลดไปใช้กันเป็นที่เรียบร้อย
และเช่นเดียวกับเวอร์ชันแอนดรอยด์ Opera Touch สำหรับ iPhone นั้นยังคงมาพร้อมกับฟีเจอร์อำนวยความสะดวกหลายอย่าง ทั้ง Opera Flow ที่จะช่วยซิงก์และแชร์ข้อมูลกับ Opera Desktop บนเครื่องพีซี ไปจนถึงปุ่ม Fast Action Button ที่เป็นผลจากการออกแบบ UI ใหม่ให้ใช้งานง่ายแม้จะถือโทรศัพท์ด้วยมือข้างเดียว
Vivaldi เบราว์เซอร์ทางเลือกเพื่อผู้ใช้ power user ออกอัพเดตใหญ่เป็นเวอร์ชัน 2.0 เมื่อประมาณปลายเดือนที่แล้ว โดยมาพร้อมกับการปรับปรุงหลายอย่างทั้งในส่วนของตัวแบ่งการเปิดแท็บ (tab tiling), แถบช่วยเข้าถึงเว็บอย่างรวดเร็ว (web panels)
และยังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องน่าจะรอกันมานานอย่าง ระบบซิงก์ข้อมูลข้ามเครื่อง รายละเอียดของใหม่ในแต่ละส่วนพอสรุปได้ดังนี้
Chrome 70 มีกำหนดการออกประมาณสัปดาห์หน้า ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการเริ่มบล็อคใบรับรองของ ไซแมนเทคทั้งหมด ตามกำหนดการที่ประกาศมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามเว็บสำคัญจำนวนหนึ่งยังคงไม่ได้เปลี่ยนใบรับรอง
Scott Helme นักวิจัยความปลอดภัยสแกนเว็บ 1 ล้านอันดับแรกตามอันดับ Alexa พบว่าเว็บจำนวน 1,139 เว็บ หรือเพียง 0.114% ที่ยังคงใช้ใบรับรองจากไซแมนเทคและหน่วยงานออกใบรับรองในเครือ
มีคนไปพบว่าโค้ดของ Chrome for Android ถูกแก้ไขโดยเลิกซัพพอร์ต Android Jelly Bean (เวอร์ชัน 4.1-4.3) และระบบปฏิบัติการเวอร์ชันเก่าที่สุดที่รองรับคือ KitKat (4.4)
กูเกิลยังไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ ในเรื่องนี้ และยังไม่มีข้อมูลว่าจะเริ่มบังคับใช้เมื่อไร แต่ส่วนแบ่งตลาดของ Jelly Bean ก็ลดลงมาก เหลือประมาณ 3.5% ของผู้ใช้ Android ทั้งหมด (แต่ถ้าคิดเป็นจำนวนเต็มจากจำนวนเครื่องหลักพันล้าน ก็ยังเยอะอยู่ดี)
หาก Chrome for Android เลิกซัพพอร์ต Jelly Bean ทางออกของผู้ใช้คงต้องเป็นเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ เช่น Firefox for Android ที่ยังซัพพอร์ต Jelly Bean อยู่
Android Jelly Bean เวอร์ชัน 4.1 เปิดตัวในปี 2012 ส่วนเวอร์ชันสุดท้ายคือ 4.3 ออกในปี 2013
Mozilla ออกอัพเดตเบราว์เซอร์ที่เน้นความเป็นส่วนตัว Firefox Focus โดยมีการปรับดีไซน์ใหม่ให้เหมาะกับ Android Pie ทั้งไอคอนใหม่, ช่อง URL ใหม่ และมนูการตั้งค่าที่เรียบง่ายขึ้น ส่วนเวอร์ชัน iOS ก็มีการปรับปรุงให้รองรับ iOS 12 ด้วยเช่นกัน
นอกจากดีไซน์ใหม่แล้ว Firefox Focus บน Android ได้เปลี่ยนเอนจินของเบราว์เซอร์ไปใช้ GeckoView ซึ่งเป็นเอนจินบนอุปกรณ์พกพาที่ Mozilla พัฒนาเองแทน Android WebView ที่ใช้อยู่เดิม โดยตัว GeckoView มีการนำเทคโนโลยีจากเอนจินใหม่บน Firefox Quantum มาใช้งานด้วย ซึ่งแม้ว่าผู้ใช้งานจะยังไม่สังเกตเห็นอะไรได้มากนัก แต่การเปลี่ยนเอนจินนี้ก็เปิดทางให้ Mozilla พัฒนาฟีเจอร์ด้านความเป็นส่วนตัวบนเอนจินได้อีกมากในอนาคต
ช่วงหลังกูเกิลมีนโยบายคุมเข้มส่วนขยายของ Chrome มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ปิดไม่ให้ติดตั้งส่วนขยายนอก Chrome Web Store และ แบนส่วนขยายบางตัวที่แอบฝังสคริปต์
ล่าสุดกูเกิลขยับไปอีกขั้นด้วยการเพิ่มระบบ Host Permission ให้กับส่วนขยาย โดยผู้ใช้สามารถกำหนดได้ว่าจะให้ส่วนขยายอ่าน/เขียนข้อมูลบนเว็บไซต์ใดบ้าง สามารถเลือกได้ 3 ระดับคือ ทุกเว็บไซต์, เฉพาะเว็บไซต์ปัจจุบันที่เปิดอยู่ หรือ ทำงานเมื่อคลิกเท่านั้น
กูเกิลแก้ Chrome ให้แสดงโดเมนย่อย www และ m ใน Omnibox เหมือนเดิมแล้ว หลังจากที่ Chrome 69 มี "ฟีเจอร์" ใหม่ซ่อนโดเมนย่อยเหล่านี้ออกไป
อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์นี้จะกลับมาอีกครั้งใน Chrome 70 โดยมีการเปลี่ยนแปลงคือซ่อนเฉพาะ www เท่านั้น เนื่องจากผู้ใช้หลายคนต้องการควบคุมการแสดงผลหน้าเว็บด้วยการเข้าโดเมนย่อย m
หลังจากมีเสียงต้านการแสดง URL ค่อนข้างมาก ตอนนี้โครงการ Chrome ระบุว่าจะหาแนวทางมาตรฐานกลางกับหน่วยงานมาตรฐาน เพื่อให้มีการจองโดเมนย่อย www และ m เอาไว้ แต่ไม่เกี่ยวกับการแสดงผลหน้าจอ และยังยืนยันว่าในอนาคตมีแผนจะกลับมาจัดการกับโดเมนย่อย m อีกครั้ง
กูเกิลออก Chrome 70 Beta ทั้งบนเดสก์ท็อปและบน Android โดยมีฟีเจอร์สำคัญ 2 อย่าง
อย่างแรกคือปรับปรุงการล็อกอินเว็บไซต์ด้วยมาตรฐาน Web Authentication API ผ่านไบโอเมตริก โดยรองรับ Touch ID ของ macOS และการสแกนนิ้วบน Android เป็นค่าดีฟอลต์ นั่นแปลว่าถ้าฝั่งเว็บไซต์รองรับ เราสามารถสแกนนิ้วบน Chrome เพื่อยืนยันตัวตนได้
นอกจากนี้ Chrome ยังรองรับการยืนยันตัวตนด้วย Public Key ผ่าน Web Authentication เพิ่มอีกช่องทางหนึ่งด้วย
Mozilla เคยประกาศว่าจะยุติการซัพพอร์ต Firefox บน Windows XP ในเดือนมิถุนายน 2018 สุดท้ายแผนการนี้ล่วงเลยมาเกินกำหนดเดิมเล็กน้อย โดย Firefox รุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (ESR) เวอร์ชัน 52.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายบน XP ถือว่าหมดระยะซัพพอร์ตไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ส่วน Firefox ESR เวอร์ชันล่าสุดในตอนนี้คือ 60.2 ไม่รองรับ Windows XP อีกแล้ว
ทีมงานของ Mozilla ประเมินว่าตอนนี้มีผู้ใช้ Windows XP ประมาณ 2% ของผู้ใช้ Firefox ทั้งหมด ถือเป็นตัวเลขที่น้อยมากแล้ว และสมควรถึงเวลาที่ Windows XP ระบบปฏิบัติการอายุ 17 ปี (และตัวมันเองหมดระยะซัพพอร์ตจากไมโครซอฟท์ไปนานแล้ว) สมควรต้องจากไปสักที
โครงการ Tor เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ Tor Browser เวอร์ชันแอนดรอยด์ จับกลุ่มผู้ใช้งานอุปกรณ์พกพาที่ต้องการความเป็นส่วนตัวแบบสุดๆ
Tor Browser for Android ยังมีสถานะเป็นรุ่นอัลฟ่า สามารถดาวน์โหลดได้จาก Google Play โดยเวอร์ชันนี้จำเป็นต้องติดตั้งแอพ Orbot เพื่อเป็นพร็อกซีให้ Tor Browser ด้วยอีกชั้นหนึ่ง แต่ทางทีมพัฒนาก็ระบุว่าในเวอร์ชันสมบูรณ์ที่จะออกในช่วงต้นปี 2019 จะพยายามไม่ต้องให้ติดตั้ง Orbot แยกต่างหาก
Tor บอกว่ายังไม่มีแผนพัฒนาเบราว์เซอร์สำหรับ iOS ในตอนนี้ โดยแนะนำให้ใช้ Onion Browser ของนักพัฒนารายอื่นแทน
Chrome 69 ออกแล้วเมื่อคืนที่ผ่านมา โดยฟีเจอร์หลักๆที่สังเกตได้คือการเปลี่ยนการแสดงสถานะของใบรับรอง SSL แบบ Extended Validation หรือ EV จากเดิมที่จะโชว์ชื่อองค์กรยาวๆพร้อมชื่อย่อประเทศด้วยตัวอักษรสีเขียวใน Address Bar มาเป็นการโชว์ด้วยสีปกติ ไม่มีสีเขียวอีกต่อไป และไม่มีการโชว์ว่าเป็น http หรือ https โดยหากเป็น http ธรรมดาก็จะโชว์ว่าเป็น "Not secure" (สีปกติ) และหากเป็น https (ที่ไม่ใช่ EV) ก็จะโชว์แค่รูปแม่กุญแจโดยไม่มีคำว่า Secure เหมือนเก่า
นอกจากนี้ก็ยังมีฟีเจอร์อื่นๆที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง
Firefox มีฟีเจอร์ป้องกันการตามรอยหรือ Do Not Track มาตั้งแต่ปี 2015 แต่ก่อนหน้านี้ยังจำกัดเฉพาะในโหมด Private Browsing สำหรับคนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวแบบสุดๆ เพิ่งมามีช่วงหลังที่เพิ่มปุ่ม Do Not Track เข้ามาในโหมดปกติ เพื่อให้ผู้ใช้ทั่วไปป้องกันความเป็นส่วนตัวได้ดีขึ้น
ฟีเจอร์ Do Not Track หรือ Tracking Protection เป็นการบล็อคสคริปต์ที่ใช้ตามรอยผู้ใช้บนเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ตลอดการท่องเว็บ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Facebook pixel ที่ใช้ติดตามผู้ใช้ได้ว่าออกนอกระบบ Facebook แล้วไปยังเว็บไหนต่อ หรือกดซื้อสินค้าที่เห็นจากใน Facebook หรือไม่
เว็บเบราว์เซอร์ Opera ออกอัพเดตเวอร์ชัน 55 โดยได้เน้นไปที่การปรับปรุง UI ทั้งในส่วนของหน้า settings ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ใหม่ ไปจนถึงการเพิ่มเมนูช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการควบคุมสิทธิ์และเนื้อหาของแต่ละเว็บไซต์
และยังได้ปรับปรุงให้สามารถติดตั้งส่วนเสริมของเบราว์เซอร์ Chrome ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย รายละเอียดทั้งหมดพอสรุปได้ดังนี้
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ของ Chrome 69 รุ่นถัดไปที่จะออกวันที่ 4 กันยายน โดยเป็นฟีเจอร์ฝั่ง Enterprise สำหรับการใช้งานในองค์กร
ฟีเจอร์หนึ่งของ Chrome ที่คนไม่รู้จักกันมากนักคือ Headless หรือการรัน Chrome โดยไม่ต้องแสดงหน้าต่างของ Chrome มาให้เราเห็น ตัวอย่างการใช้งาน Headless Chrome มักเป็นงานฝั่งนักพัฒนา เช่น เปิด Chrome มาเพื่อบันทึกภาพหน้าจอหรือบันทึกเว็บเพจเป็น PDF รวมไปถึงงานพวก automate testing ทดสอบการเรนเดอร์เว็บ
การเรียกใช้งาน Headless Chrome สามารถทำได้โดยเรียกผ่านคอมมานด์ไลน์แล้วใส่พารามิเตอร์ chrome --headless ตามมา (รายละเอียด) แต่ล่าสุดกูเกิลเปิดให้เรารัน Headless Chrome บนคลาวด์ได้แล้ว ทำให้เราสามารถเรียกใช้ Chrome ทำงานจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้สะดวกมากขึ้น
ของใหม่อย่างหนึ่งของ Windows 10 ตั้งแต่รุ่นแรกที่ออกในปี 2015 คือระบบแจ้งเตือน (notification) ของตัวระบบปฏิบัติการเอง ที่แสดงรวมกันในจุดเดียวคือแถบ Action Center ด้านขวามือของหน้าจอ
ปัจจุบันมีแอพหลายตัวเริ่มรองรับระบบแจ้งเตือนแบบใหม่นี้ ยกเว้นแต่ Chrome ที่ยังใช้ระบบแจ้งเตือนของตัวเองอยู่
Chrome 68 รุ่นเสถียรล่าสุด เริ่มรองรับระบบแจ้งเตือนของ Windows 10 แล้ว โดยยังเป็นการทยอยเปิดให้ผู้ใช้ทีละส่วนเริ่มใช้งานอยู่ ตอนนี้ตัวเลขอยู่ที่ราว 50% และยังไม่มีข้อมูลว่าจะเปิดครบทุกคนเมื่อใด
ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Microsoft Edge รองรับฟีเจอร์ Web Authentication (WebAuthn) ตามสเปกของ W3C เปิดให้ผู้ใช้สามารถล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ ด้วยวิธีการยืนยันตัวตนแบบอื่นที่ไม่ใช่รหัสผ่าน เช่น ใบหน้า ลายนิ้วมือ PIN หรืออุปกรณ์ยืนยันตัวตนที่เป็น FIDO2
การที่ไมโครซอฟท์มีระบบยืนยันตัวตน Windows Hello ฝังมากับ Windows 10 อยู่แล้ว ทำให้สามารถต่อยอด Windows Hello กับ Microsoft Edge ได้ทันทีโดยผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม เมื่อเจอกับหน้าจอเว็บไซต์ที่เปิดให้ยืนยันตัวตนผ่าน Web Authentication เราจะเห็นหน้าจอของ Windows Hello ขึ้นมาให้ยืนยันตัวตนทันที
Google นำ Chrome ลงแพลตฟอร์ม Daydream แล้ว โดยรองรับทั้งอุปกรณ์ทั้งสองรุ่นคือ Google Daydream View และ Lenovo Mirage Solo โดยผู้ใช้อุปกรณ์ที่รองรับสามารถเปิดใช้งาน Chrome และเข้าเว็บทั่วไปบนอุปกรณ์ VR ได้ทันที
ฟีเจอร์ของ Chrome บน Daydream มีตั้งแต่ฟีเจอร์ทั่วไปเหมือนแพลตฟอร์มอื่น เช่น ค้นหาด้วยเสียง, โหมดท่องเว็บแบบไม่ระบุตัวตน, บันทึกลงบุ๊กมาร์ก ส่วนฟีเจอร์เฉพาะ Daydream เช่น cinema mode ที่จะปรับวิดีโอทั่วไปบนเว็บให้เหมาะกับการใช้งานบน VR
สำหรับผู้ใช้ทั่วไปสามารถอัพเดต Chrome บน Android เป็นเวอร์ชันล่าสุดจาก Google Play ก็สามารถเปิดใช้งาน Chrome จากหน้าโฮมของอุปกรณ์ Daydream ได้เลย
วันนี้ หุ้นของบริษัท Opera Ltd. เจ้าของเว็บเบราว์เซอร์ Opera ได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ของสหรัฐฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังยื่นเอกสารเตรียมขายหุ้นไอพีโอเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยใช้สัญลักษณ์ซื้อขายว่า OPRA
ในรายงาน F-1 นั้นเผยว่าเมื่อปีที่แล้ว Opera มีรายได้จากการดำเนินงาน 128.9 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็นกำไรสุทธิ 6.1 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแม้ว่าส่วนแบ่งตลาดของ Opera จะไม่ได้สูงมากเท่าเบราว์เซอร์อื่นแต่ก็มากพอที่จะทำรายได้ โดยปัจจุบันมีผู้ใช้ราว 182 ล้านคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ Opera อย่างน้อยหนึ่งชิ้นในทุก ๆ เดือน
ต่อเนื่องจากข่าว Chrome 68 เริ่มกาหัวเว็บ HTTP เป็น "Not secure" ทั้งหมด กูเกิลออกมาประกาศแล้วว่าในอีก 2 รุ่นถัดไปคือ Chrome 70 ที่จะออกในเดือนตุลาคม ถ้าหากผู้ใช้ป้อนข้อมูลลงในฟอร์มบนหน้าเว็บแบบ HTTP คำว่า Not secure สีเทาจะแสดงเป็นสีแดงด้วย เพื่อเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่าข้อมูลนั้นจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไม่เข้ารหัส
นอกจากนี้กูเกิลยังจะนำคำว่า Secure ออกไป (เพราะ HTTPS กลายเป็นเรื่องปกติสามัญ) ในเดือนกันยายนด้วย
กูเกิลเผยสถิติว่าหลังประกาศเดินหน้า HTTPS เมื่อสองปีก่อน ทำให้ทราฟฟิกที่เป็น HTTPS มีสัดส่วนสูงขึ้นมาก