เก็บตกงาน CES 2018 เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา อินเทลได้แถลงว่าสามารถสร้างชิพประมวลผลควอนตัมสำหรับทดสอบ (test chip) โค้ดเนม “Tangle Lake” (มาจากชื่อของทะเลสาบใน Alaska) ขนาด 49 คิวบิตได้สำเร็จแล้ว หลังจากที่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วก็เพิ่งสร้างชิพ 17 คิวบิตไปหมาดๆ ขณะที่เมื่อเดือนพฤศจิกายน IBM ก็เพิ่งสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 50 คิวบิตไป
Lenovo เป็นผู้ผลิตพีซีรายที่สาม ที่เปิดตัว Always Connected PC ตามแนวคิดของไมโครซอฟท์ ถัดจาก Asus และ HP ที่เปิดตัวสินค้าของตัวเองไปก่อนแล้ว
สินค้าของ Lenovo ชื่อว่า Miix 630 เป็นอุปกรณ์ 2-in-1 แบบแยกจอได้ (detachable) เหมือนกับ Surface ใช้หน้าจอขนาด 12.3" WUXGA+ หน่วยประมวลผล Snapdragon 835, มีโมเด็ม 4G LTE ในตัว, น้ำหนักรวมคีย์บอร์ดแล้ว 1.33 กิโลกรม, แบตเตอรี่อยู่ได้นานสูงสุด 20 ชั่วโมง, ระบบปฏิบัติการเป็น Windows 10 S ที่อัพเกรดเป็น Windows 10 Pro ได้ฟรี
ราคาขายรวมคีย์บอร์ดและปากกาแล้ว อยู่ที่ 799.99 ดอลลาร์ เริ่มวางขายในไตรมาสที่สองของปีนี้
Lenovo อัพเกรดโน้ตบุ๊กเกรดพรีเมียมตระกูล ThinkPad X1 ตามรอบปี 2018 โดยเปลี่ยนซีพียูเป็น Intel Core 8th Gen และอัพเกรดหน้าจอสแดงผลให้รองรับมาตรฐาน Dolby Vision HDR เป็นยี่ห้อแรก
ฟีเจอร์ใหม่อย่างอื่นคือ ThinkShutter Camera ฝาปิดกล้องหน้าเพื่อการันตีว่าไม่ถูกแอบดักถ่าย, ไมโครโฟน Far-Field รับเสียงจากระยะไกล ใช้ร่วมกับ Alexa ได้, Windows 10 เวอร์ชัน "Lenovo Crystal Image" ไร้ซึ่ง bloatware ใดๆ, ช่องเสียบซิมรองรับ Global LTE-A
นอกจาก XPS 13 ดีไซน์ใหม่ และ XPS 15 2-in-1 ค่าย Dell ยังอัพเกรดโน้ตบุ๊กฝั่งธุรกิจซีรีส์ Latitude เป็นรุ่นปี 2018 อีกชุดใหญ่ (เลขท้ายสองตัวลงด้วย 90 ขยับจากปีที่แล้วที่ใช้เลข 85/80) มีทั้งซีรีส์ระดับท็อป 7000 และซีรีส์กลาง 5000
จุดหลักของการอัพเกรดยังอยู่ที่ซีพียู ขยับมาใช้ Intel 8th Gen Core รุ่น vPro สำหรับภาคธุรกิจ โดยยังคงดีไซน์เดิม
เมื่อวานเราเห็น HP Spectre x360 15 ที่ใช้ชิปตัวใหม่ของอินเทล-เอเอ็มดี กันไปแล้ว วันนี้ฝั่ง Dell ก็เปิดตัว XPS 15 2-in-1 ที่ใช้ชิปตัวเดียวกัน
Dell XPS 15 2-in-1 เป็นโน้ตบุ๊กพับจอได้ขนาดจอ 15.6" แบบไร้ขอบ InfinityEdge ความละเอียดสูงสุด 4K (รองรับสี Adobe RGB 100%) และมีรุ่น 1080p ให้เลือก
สเปกเครื่องใช้ซีพียูตัวใหม่ Intel Core i5-8305G หรือ Core i7-8705G ที่มีจีพียู AMD Radeon RX Vega M GL พร้อมแรมจีพียู 4GB HBM2 จับตลาดคนที่ต้องการเล่นเกมบนโน้ตบุ๊ก
ในงาน CES 2018 ด้วยความร่วมมือกันของ SELFLY Camera LLC และ AEE Aviation Technology Inc., ได้เปิดตัว AEE SELFLY เคสโทรศัพท์มือถือที่มีโดรนติดตั้งมาด้วย โดรนนี้จะมีกล้องวิดีโอความละเอียดสูง 1080P และระบบกันสั่นระดับ high end สามารถบินได้นานสูงสุด 4 นาทีโดยใช้เวลาชาร์จประมาณ 30 นาที รองรับทั้ง iOS และ Android
AEE SELFLY นี้เริ่มจะวางจำหน่ายในไตรมาสแรกของปี 2018 โดยราคาขายรวมตัวเคสและแบตเตอร์รี่ 2 ก้อนอยู่ที่ 130 ดอลลาร์
Brian Krzanich ซีอีโอของ Intel ขึ้นกล่าวบนเวทีงาน CES 2018 เมื่อเช้านี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) โดยกล่าวเกี่ยวกับปัญหาของช่องโหว่ Meltdown และ Spectre ตอนเริ่มการปาฐกถา (keynote) แต่ไม่มีการกล่าวขอโทษแต่อย่างใด (ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Meltdown อ่านได้ที่นี่)
Krzanich ระบุว่าช่องโหว่ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นกับ Intel เพียงรายเดียว แต่เกิดขึ้นกับโครงสร้างประมวลแบบอื่น (processing architecture) ด้วย และการแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมก็ทำไปด้วยดี เพื่อให้ข้อมูลลูกค้าปลอดภัย โดยระบุว่าบริษัทยังไม่ได้รับรายงานว่าช่องโหว่นี้ได้มีการใช้งานจริงเพื่อขโมยข้อมูลของลูกค้า
ในงาน CES 2018 ไม่เพียงมีการจัดแสดงจากแบรนด์เทคโนโลยีเท่านั้น ยังมีแบรนด์ความงามระดับโลกอย่าง L'Oreal ด้วย โดยคราวนี้นำ UV Sense อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจจับความเสี่ยงของแสง UV ที่มีต่อผิว ลดความเสี่ยงมะเร็วผิวหนัง มาในขนาดเล็ก 2 มิลลิเมตร ตัวอุปกรณ์ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ และเชื่อมต่อ NFC บนสมาร์ทโฟนได้ด้วย ขายภายใต้แบรนด์ La Roche-Posay บริษัทในเครือ L'Oreal
La Roche-Posay เคยออกผลิตภัณฑ์ My UV Patch สติกเกอร์เปลี่ยนสีได้เพื่อต้องการให้คนใช้รู้ว่าโดนแดดมานานแล้ว แต่สติกเกอร์จะเตือนผู้ใช้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น แต่ UV Sense จะเตือนได้มากกว่า 1 ครั้ง และเก็บข้อมูลได้มากกว่า 3 เดือน
ผู้ใช้งานสามารถแปะ UV Sense ไว้ที่เล็บมือได้ เปลี่ยนเทปกาวทุกสองอาทิตย์ ส่วนการแสดงผลข้อมูลการรับแสง UV และการแจ้งเตือนจะปรากฏในแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน คอยแนะนำว่าควรออกแดดเวลาใด และควรทาโลชั่นกันแดดเพิ่มได้แล้ว เป็นต้น
ของใหม่อีกอย่างที่ NVIDIA เปิดตัวในงาน CES 2018 คือคอนเซปต์การเล่นเกมบนจอภาพขนาดใหญ่ 65 นิ้ว โดยตั้งชื่อว่า big format gaming displays (BFGD)
งานนี้ NVIDIA ไม่ผลิตจอเอง แต่ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง Acer, ASUS, HP ออกจอภาพสำหรับเกมมิ่งขนาด 65 นิ้ว ความละเอียด 4K อัตรารีเฟรช 120Hz รองรับ HDR และ G-Sync ในตัวมาทำตลาด เพื่อให้ประสบการณ์การเล่นที่ดีที่สุด ทั้งในแง่ความละเอียด ความคมชัด ระดับสี และ latency ของภาพ
จอภาพ BFGD ใช้งานกับเกมได้หลากหลายแพลตฟอร์ม ที่ซัพพอร์ตอย่างเป็นทางการก็คือพีซี, Android และ NVIDIA Shield ของบริษัทเอง
AMD ใช้เวทีงาน CES 2018 เปิดตัวสินค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะฝั่งซีพียู Ryzen
อย่างแรกคือ Ryzen เวอร์ชันเดสก์ท็อป แบบผนวกจีพียู Radeon Vega มาให้ด้วย มี 2 รุ่นย่อยคือ Ryzen 5 2400G (4 คอร์ 8 เธร็ด) และ Ryzen 3 2200G (4 คอร์ 4 เธร็ด) ซึ่งเราคงได้เห็นมันถูกนำมาใช้ในเดสก์ท็อปเกมมิ่งระดับล่างๆ
ฝั่งโน้ตบุ๊กก็ขยายไลน์ของ Ryzen Mobile เพิ่มเติม จากปีก่อนเปิดตัว Ryzen 5 และ Ryzen 7 ไป ปีนี้ก็ตามมาด้วย Ryzen 3 ที่มีสองรุ่นย่อยคือ 2300U (4 คอร์ 4 เธร็ด) และ 2200U (2 คอร์ 4 เธร็ด) นอกจากนี้ยังมี Ryzen Pro Mobile สำหรับโน้ตบุ๊กภาคธุรกิจด้วย มี 3 รุ่นย่อยคือ 2700U, 2500U, 2300U
เมื่อปลายปีที่แล้ว เราเห็นไมโครซอฟท์เปิดตัว Always Connected PC แนวคิดพีซียุคใหม่ที่ต่อเน็ตตลอดเวลา (ใส่ซิมได้) และแบตเตอรี่อยู่ได้นานหลายวัน เคล็ดลับของมันคือใช้ซีพียู ARM ที่กินไฟต่ำ โดยมี HP และ ASUS ร่วมเปิดตัวสินค้าภายใต้คอนเซปต์นี้
แต่เวลาผ่านมาเพียงเดือนเดียว HP ก็เปิดตัว HP Envy x2 ที่หน้าตาเหมือนเดิม แต่เป็นเวอร์ชันซีพียูอินเทลออกมาด้วย โดยยังชูคำว่า Always-Connected PC แบบเดียวกัน
NVIDIA โชว์ข้อมูลของชิป Xavier มาตั้งแต่ปี 2016 และบอกว่าจะขายจริงปลายปี 2017 ซึ่งเอาเข้าจริงก็ช้ากว่ากำหนดเดิมเล็กน้อย และเลื่อนมาเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน CES ต้นปี 2018 แทน
Xavier เป็นชิป SoC สำหรับรถยนต์ไร้คนขับ ประกอบด้วยซีพียู ARM ที่พัฒนาเองจำนวน 8 คอร์, จีพียูสถาปัตยกรรม Volta รุ่นใหม่ล่าสุด 512 คอร์, ตัวเร่งความเร็ว deep learning, ตัวเร่งความเร็วการประมวลผลภาพ, ตัวประมวลผลวิดีโอ HDR ความละเอียด 8K และนอกจากสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นแล้ว Xavier ยังใช้พลังงานเพียง 30 วัตต์ น้อยกว่าสถาปัตยกรรมรุ่นก่อนถึง 15 เท่า
HP เปิดตัวสินค้าหลายชิ้นในงาน CES 2018 ตัวที่น่าสนใจคือ HP Spectre x360 15 รุ่นจอ 15" ที่ใช้ซีพียู Core ตัวใหม่ของอินเทลที่มีจีพียู Radeon RX Vega M พ่วงมาด้วย
HP คุยว่า HP Spectre x360 15 เป็นพีซีแบบพับจอได้ (convertible) ที่แรงที่สุดในโลก ใช้หน้าจอ 15.6" 4K UHD พร้อมกระจก Gorilla Glass 4, มีฟีเจอร์สมัยใหม่อย่างปากกา, กล้อง IR และตัวสแกนนิ้วมือรองรับ Windows Hello, ระบบชาร์จเร็ว Fast Charge
สเปกเครื่องแยกได้เป็น 2 คอนฟิกย่อย
จากที่ อินเทลเคยประกาศไว้ว่าจะใช้จีพียูของ AMD และเพิ่งมีข่าวหลุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ได้เวลาของข่าวอย่างเป็นทางการรับงาน CES 2018
ชื่ออย่างเป็นทางการของซีพียูตัวนี้คือ 8th Gen Intel Core processor with Radeon RX Vega M Graphics (ยาวมาก)
เมื่อเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว ซัมซุงเปิดตัว Exynos 9810 สำหรับ Galaxy S9 แต่ยังไม่เผยรายละเอียดทางเทคนิคมากนัก คราวนี้ในงาน CES 2018 ก็มีรายละเอียดเพิ่มเติมออกมาดังนี้
เว็บไซต์ CES (Consumer Electronics Show) งานแสดงเทคโนโลยีที่จัดแสดงทุกปี ระบุข้อมูลบริษัทสตาร์ตอัพชื่อ DnaNudge ทำเทคโนโลยีพันธุกรรมเพื่อผู้บริโภคที่จะขึ้นเวทีในงาน CES 2018 วันที่ 10 มกราคม ข้อมูลระบุว่ามี ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบเว็บไซต์ CES อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พบว่า ล่าสุดเว็บไซต์ลบข้อมูลของบริษัท DnaNudge ออกไปแล้ว