Chrome Android เพิ่มปุ่ม Follow เพื่อติดตามเว็บไซต์ (ผ่าน RSS ที่ถูก Chrome ทอดทิ้งไปนานแล้ว) ตามที่เคยโชว์ตอนงาน Google I/O เมื่อเดือนพฤษภาคม
ผู้ใช้ต้องติดตั้ง Chrome 94 ขึ้นไป โดยกูเกิลบอกว่าเริ่มทยอยปล่อยให้ผู้ใช้บางกลุ่มแล้ว (คนที่ยังไม่เห็น สามารถเข้าหน้า chrome://flags แล้วเปิดใช้ฟีเจอร์ web feed เองได้) วิธีใช้งานคือเข้าหน้าเว็บข่าวหรือคอนเทนต์ต่างๆ แล้วในเมนู Chrome ด้านล่างสุดจะมีปุ่ม Follow เพิ่มขึ้นมา
ในงาน Search On กูเกิลเปิดตัวการใช้งาน Google Lens ใน Chrome ผู้ใช้งานสามารถใช้ Google Lens บนเดสก์ทอปได้
วิธีการคือ คลิปขวาที่รูปภาพ เลือกเมนู Search with Google Lens ระบบจะแสดงผลการค้นหาที่หน้าต่างด้านขวามือทันที โดยผู้ใช้งานไม่ต้องออกจากเว็บไซต์นั้นๆ
ที่มา - YouTube: Google Search On
การเปลี่ยนแปลงสำคัญในเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium คือเมื่อปลายปี 2020 Chrome เริ่มใช้ API ส่วนขยายแบบใหม่ที่เรียก Manifest V3 ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนขยายกลุ่มบล็อคโฆษณาทั้งหลาย ทำให้เกิดการถกเถียงกันมายาวนาน (ประเด็นถกเถียงสำคัญคือกูเกิล "ตั้งใจ" เปลี่ยน API เพื่อไม่ให้บล็อคโฆษณาได้เยอะเหมือนเดิมหรือไม่)
Chrome 88 เป็นเวอร์ชันแรกที่รองรับ Manifest V3 แต่ก็ยังรองรับ Manifest V2 รุ่นเดิมควบคู่กันไปอยู่ โดยกูเกิลบอกว่าจะให้เวลาเปลี่ยนผ่านประมาณ 1 ปี
ล่าสุดกูเกิลออกมาประกาศแผนที่แน่ชัดแล้ว
กูเกิลออก Chrome 94 ซึ่งเป็นเวอร์ชันแรกที่เปลี่ยนมาใช้รอบการออกรุ่นใหม่ทุก 4 สัปดาห์แทน 6 สัปดาห์ ตามที่ประกาศไว้เมื่อต้นปี (เหมือน Firefox แล้วตอนนี้) ของใหม่ได้แก่
Chrome และ Edge เตรียมถอดการเข้ารหัส TLS แบบ TLS_RSA_WITH_3DES_EDE_CBC_SHA
ออกจากระบบ ทำให้อาจจะเข้าเว็บเก่าๆ ที่ใช้กระบวนการเชื่อมต่อแบบนี้ไม่ได้อีกต่อไป
3DES (อ่านว่า ทริป-เปิล-เดส) เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขความอ่อนแอของกระบวนการเข้ารหัสแบบ DES ที่มีกุญแจเพียง 56 บิต โดยเพิ่มกุญแจเป็น 168 บิต หรือสามเท่าของ DES การเข้ารหัสนี้เข้าเป็นมาตรฐาน RFC1851 ในปี 1995
เราเห็นระบบปฏิบัติการ Fuchsia ของกูเกิลเริ่มเครื่องติด โดยปีนี้ กูเกิลเปลี่ยนไส้ในของ Nest Hub รุ่นแรกจาก CastOS มาเป็น Fuchsia แต่ยังแทบไม่เห็นความแตกต่างในมุมของผู้ใช้ เพราะ UI ที่ครอบยังเป็นแบบเดิม
ล่าสุดในฐานข้อมูลบั๊กของ Chromium ระบุว่ากูเกิลเริ่มพอร์ต Chrome ไปยัง Fuchsia แล้ว กระบวนการนี้ยังต้องใช้เวลาอีกมาก และมีบั๊กย่อยๆ อีกมากมายที่ต้องแก้ก่อน Chrome จะสามารถรันบน Fuchsia ได้เต็มรูปแบบ
กูเกิลทดสอบความสามารถใหม่ ผู้ใช้งาน Chrome บนมือถือ Android สามารถใช้เบราว์เซอร์มือถือเป็นคีย์ความปลอดภัย 2FA เมื่อลงชื่อเข้าใช้แอปกูเกิลบนคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใกล้เราได้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างหนึ่งของ iOS 15 คือ Safari ดีไซน์ใหม่ที่ย้าย URL Bar และแถบเครื่องมือลงมาด้านล่าง ซึ่งถูกวิจารณ์ไม่น้อยเพราะผู้ใช้ไม่คุ้นเคย ทำให้แอปเปิลต้องยอมปรับดีไซน์บางจุดใน Beta หลังๆ
เรื่องนี้ Chris Lee อดีตพนักงานทีม Chrome Android ของกูเกิลได้เขียนเล่าว่ากูเกิลเคยลอง UI แบบนี้ตั้งแต่ปี 2016 แล้วพบว่าไม่เวิร์คจนต้องยกเลิกไป
Lee บอกว่าเขาเป็นคนพัฒนาดีไซน์ใหม่นี้เอง โดยใช้ชื่อว่า Chrome Home มันคือการนำช่อง URL ไปไว้ด้านล่าง แล้วมีแถบเลื่อนที่สามารถลากขึ้นมาให้เห็นปุ่มคำสั่งต่างๆ ได้อีก
กูเกิลออก Chrome 92 Stable ของใหม่ในฝั่งเดสก์ท็อปคือ phishing detection ทำได้เร็วขึ้น 50 เท่า และกินแบตเตอรี่น้อยลง (ลดพลังซีพียูลงไป 1.2%) จากเดิม Chrome ใช้วิธี image processing นำข้อมูลพิกเซลทั้งหมดบนจอมาวิเคราะห์ ว่าเว็บเพจที่แสดงเป็น phishing หรือไม่ กูเกิลได้ปรับเทคนิคใหม่ให้ลดจำนวนพิกเซลที่ต้องใช้งานลง ทำให้เร็วขึ้น
ฝั่งแอนดรอยด์ สามารถปรับปุ่มในแถบเครื่องมือ (ระหว่าง URL กับปุ่มแสดงจำนวนแท็บ) เลือกได้ระหว่าง New Tab, Share, Voice Search
โครงการ Chromium ประกาศแนวทางทดสอบหน้าจอแสดงโปรโตคอล HTTP/HTTPS ให้การเข้ารหัสเป็นเรื่องปกติยิ่งกว่าตอนนี้ หลังจากสำรวจพบว่าเว็บมากกว่า 90% เข้ารหัสแล้ว โดยมีสองแนวทางหลักที่จะปรับให้การเข้ารหัสเป็นเรื่องปกติยิ่งขึ้น
Google ประกาศเลื่อนแผนยกเลิกคุกกี้นอกเว็บ หรือ third-party cookie จากเดิมที่จะยกเลิกคุกกี้กลุ่มนี้ทั้งหมดภายในปี 2022 เปลี่ยนมาเป็นภายในปี 2023 แทน
เหตุผลที่เลื่อนแผนครั้งนี้ Google ระบุว่าต้องการเวลาที่มากพอในการหารือกับสาธารณะเกี่ยวกับโซลูชั่นที่เหมาะสมในการไมเกรตเซอร์วิส ซึ่งเรื่องนี้ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจทำลายโมเดลธุรกิจเว็บไซต์คอนเทนต์ฟรีมีโฆษณาได้
กูเกิลประกาศปรับรอบ Chrome OS จากเดิม 6 สัปดาห์ให้เร็วขึ้นเป็น 4 สัปดาห์ ตามแนวทาง Chrome ที่ประกาศไว้เมื่อเดือนมีนาคม
Chrome จะเริ่มปรับรอบใน Chrome 94 ที่จะออกในไตรมาส 4/2021 แต่กรณีของ Chrome OS จะปรับตามทีหลังในเวอร์ชัน 96 ส่งผลให้มีช่องว่างของเวลาที่เหลื่อมกัน ทางแก้ของกูเกิลคือจะยกเลิก Chrome OS เวอร์ชัน 95 ไปเลยเพื่อให้รอบเวลาซิงก์กัน
นอกจากนี้ Chrome OS จะแยกรอบการออกเป็น 2 แบบคือ รอบปกติทุก 4 สัปดาห์ เน้นเร็ว ออกฟีเจอร์ใหม่บ่อยๆ และรอบออกทุก 6 เดือนเพื่อตลาดองค์กร-ภาคการศึกษา
บริษัทผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ 4 รายใหญ่คือ Apple, Google, Microsoft, Mozilla ประกาศตั้งกลุ่ม WebExtensions Community Group (WECG) เพื่อให้ส่วนขยายของเบราว์เซอร์ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
ระบบส่วนขยายของเบราว์เซอร์ในปัจจุบันอิงจากแนวทางของ Chrome เป็นหลัก กรณีของ Edge ที่ใช้เอนจิน Chromium คงไม่มีปัญหาเรื่องความเข้ากันได้มากนัก ส่วน Firefox หันมาใช้ฟอร์แมตแบบ Chrome ในปี 2015 และ Safari เป็นรายล่าสุดที่ตามมาในปี 2020
กูเกิลออก Chrome 91 ที่ระบุว่าเร็วขึ้นสูงสุด 23% อันเป็นผลมาจากคอมไพเลอร์จาวาสคริปต์ตัวใหม่ Sparkplug
เดิมทีเอนจิน V8 ของ Chrome มีคอมไพเลอร์ 2 ระดับคือ Ignition ที่เริ่มแปลงจาวาสคริปต์ชั้นแรกเป็น byte code และ Turbofan ทำหน้าที่ปรับแต่ง (optimize) เป็น machine code ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยอิงจากข้อมูลที่ได้ตอนแปลง byte code มาช่วยปรับแต่ง ปัญหาของแนวทางเดิมคือ Turbofan เริ่มทำงานช้ากว่า Ignition มาก
Chrome ประกาศแผนการใช้ User-Agent Client Hints API (UA-CH) แบบใหม่ ที่ต้องการใช้แทน User-Agent String ที่วงการเบราว์เซอร์ใช้กันมานาน
โปรแกรมเมอร์สายเว็บคงคุ้นเคยกับข้อความ User-Agent String ที่เบราว์เซอร์ใช้ประกาศข้อมูลของตัวเองให้เซิร์ฟเวอร์ทราบ ปัญหาคือข้อความนี้ยาวเกินไป เพราะพยายามรักษาความเข้ากันได้ในอดีต และเปิดเผยข้อมูลตัวเองมากเกินไป (เช่น OS, รุ่นของอุปกรณ์ที่ใช้) ทำให้เซิร์ฟเวอร์สามารถ track ไคลเอนต์ เจาะจงตัวผู้ใช้ได้ง่าย เสียความเป็นส่วนตัว
Mozilla/5.0 (Linux; Android 10; Pixel 3) AppleWebKit/537.36 (KHTML, like Gecko) Chrome/84.0.4076.0 Mobile Safari/537.36
กูเกิลประกาศว่าผู้ใช้ Chrome Canary บน Android ในอเมริกา บางส่วน จะได้ทดสอบฟีเจอร์ Follow สำหรับติดตามเนื้อหาจากเว็บไซต์ที่สนใจผ่านช่องทาง RSS เมื่อเว็บนั้นมีคอนเทนต์ใหม่ก็จะเพิ่มการเตือนในหน้า Following
Janice Wong ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ Google Chrome บอกว่าปัจจุบันผู้ใช้งานมีวิธีติดตามเนื้อเว็บไซต์โปรดได้หลายวิธี และ RSS ก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้ได้รับเนื้อหาใหม่โดยตรง จึงเพิ่ม Follow มาเป็นทางเลือกหนึ่งนั่นเอง
ทั้งนี้ Google Reader บริการอ่านเนื้อหาผ่าน RSS ของกูเกิลเอง ปิดตัวลงไปตั้งแต่เมื่อปี 2013
ที่มา: Chromium Blog
Chrome มีฟีเจอร์ Password Manager คอยแจ้งเตือนเมื่อพบรหัสผ่านรั่ว มาได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว ปัญหาที่ตามมาคือการเข้าเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อเปลี่ยนรหัสผ่านมีความยุ่งยาก ต้องมีกระบวนการหลายขั้นตอน
ล่าสุดในงาน Google I/O กูเกิลประกาศว่า Chrome สามารถเข้าไปเปลี่ยนรหัสผ่านในเว็บไซต์แทนเราได้แล้ว ผู้ใช้เพียงแค่กดปุ่ม Change Password ใน Chrome แล้วกรอกรหัสผ่านใหม่ที่ต้องการ เป็นอันเสร็จสิ้น
Suhail Doshi ผู้ก่อตั้งบริการเก็บสถิติเว็บ Mixpanel เปิดตัวบริษัทสตาร์ตอัพใหม่ของเขาชื่อ Mighty ที่ให้บริการ Chrome ผ่านสตรีมมิ่ง เพื่อให้ผู้ใช้เว็บไม่ต้องกังวลกับปัญหาคอมช้า แรมน้อย เปลืองทรัพยากรเครื่อง
แนวทางของ Mighty เหมือนกับบริการเกมสตรีมมิ่งอย่าง xCloud หรือ Stadia โดยย้าย Chrome ไปประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์แทน แล้วส่งเฟรมภาพกลับมายังเครื่องของผู้ใช้งาน จากสถิติของ Mighty เองบอกว่าสามารถเปิด Chrome 50 แท็บ แล้วแสดงขึ้นจอของผู้ใช้ที่ความละเอียด 4K 60 fps โดยกินซีพียูเพียงแค่ 30%
จากกรณี เบราว์เซอร์หลายตัวแบน หรือไม่มีแผนรองรับเทคนิคตามรอยเพื่อโฆษณา FLoC ของกูเกิล
ล่าสุดทีมพัฒนา WordPress ในฐานะ CMS ยอดนิยมของโลก เสนอว่าควรมอง FLoC เป็นเหมือนช่องโหว่ความปลอดภัยอีกตัวหนึ่ง และออกแพตช์เพื่อปิดการทำงานของ FLoC ใน HTTP header หาก Chrome ส่งเข้ามาถามตอนเรียกหน้าเว็บเพจ
โค้ดปิดการทำงานของ FLoC มีแค่ 4 บรรทัด และน่าจะถูกรวมเข้าใน WordPress 5.8 ที่มีกำหนดออกในเดือนกรกฎาคม 2021
Google เริ่มปล่อยฟีเจอร์สร้างลิงก์ไปยังข้อความที่ไฮไลต์สำหรับ Chrome 90 แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ Google ปล่อยฟีเจอร์ออกมาเป็นส่วนขยายบน Chrome ที่จะต้องไปติดตั้งใช้งานเอง
วิธีใช้ฟีเจอร์นี้ เพียงไฮไลต์ข้อความที่ต้องการแชร์ให้คนอื่นในหน้าเว็บ จากนั้นคลิกขวาและเลือก Copy link to highlight และส่งเป็น URL ไปให้ผู้ที่ต้องการ ส่วนฝั่งผู้รับเพียงคลิกและหน้าเว็บโหลดเสร็จ ก็จะนำไปยังส่วนที่แสดงข้อความนั้นของเว็บทันที
สำหรับฟีเจอร์นำผู้ใช้ไปยังข้อความที่ไฮไลต์นี้อยู่ระหว่างทยอยปล่อยให้ผู้ใช้ Chrome 90 บนเดสก์ท็อปและ Android ใช้งาน ส่วนผู้ใช้ iOS จะเปิดให้ใช้งานในอนาคต
ส่วนฟีเจอร์อื่น ๆ ที่น่าสนใจใน Chrome 90 เช่น
ต่อเนื่องจากข่าว Vivaldi, Brave ประกาศไม่ใช้วิธีตามรอยแบบ FLoC ที่กูเกิลใช้ใน Chrome เว็บไซต์ The Verge จึงสอบถามไปยังเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ ว่าจะพัฒนาเทคนิคตามรอย FLoC ด้วยหรือไม่
Opera บอกว่ายังไม่มีแผนจะเปิดใช้ฟีเจอร์ FLoC ที่มีโค้ดอยู่ใน Chromium แต่ก็บอกว่าเร็วเกินไปที่จะตัดสินใจในเรื่องนี้
Firefox บอกว่ายังไม่มีแผนจะใช้ฟีเจอร์ตามรอยใดๆ สำหรับการโฆษณาในตอนนี้ และคิดว่าไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้เยอะขนาดนี้เพื่อมายิงโฆษณา
กูเกิลออกอัพเดต Chrome 90 บนเดสก์ท็อปทั้ง Windows, Mac และ Linux มีของใหม่ที่สำคัญดังนี้
ที่มา: 9to5Google
เว็บเบราว์เซอร์ที่ต่อยอดจาก Chromium สองตัวคือ Vivaldi (ทีม Opera เดิม) และ Brave (ทีม Firefox เดิม) พร้อมใจกันประกาศไม่ใช้งานฟีเจอร์ตามรอยผู้ใช้ Federated Learning of Cohorts (FLoC) ของ Chrome ที่กูเกิลเพิ่งเริ่มใช้งาน
FLoC เกิดจากกระแสต่อต้านการตามรอยด้วยคุกกี้ และ AdID/IDFA ในช่วงหลังๆ ทำให้กูเกิลประกาศแนวทางเลิกตามรอยแบบเจาะตัวบุคคล เปลี่ยนมาใช้วิธีตามรอยจากพฤติกรรมผู้ใช้ที่ตัวเบราว์เซอร์แทน (ดูจาก history) แต่กูเกิลชูว่า FLoC มีข้อดีตรงที่ไม่เจาะจงตัวบุคคล ใช้วิธีนิยามผู้ใช้เป็นกลุ่มแทน ผู้โฆษณาสามารถเลือกยิงโฆษณาตาม "กลุ่มผู้ใช้" แทนการเจาะรายคน
กูเกิล-ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือระหว่างทีม Chrome และ Edge แก้ปัญหาเรื่องเว็บเบราว์เซอร์แต่ละตัวแสดงผลมาตรฐานเว็บไม่เหมือนกัน ใช้ชื่อโครงการว่า #Compat2021
โครงการนี้จะอ้างอิงข้อมูลจาก Web DNA (Web Developer Needs Assessment) ที่ริเริ่มโดย Mozilla สำรวจความเห็นของนักพัฒนาเว็บ และพบว่ามีปัญหาสำคัญ 5 ประการคือ CSS Flexbox, CSS Grid, CSS position: sticky, CSS aspect-ratio property, CSS transforms ที่พฤติกรรมของแต่ละเบราว์เซอร์ต่างกัน
Chrome ประกาศเปลี่ยนนโยบายตั้งแต่เวอร์ชั่น 90 (ปัจจุบันเป็นเบต้า) ว่าหากผู้ใช้พิมพ์เฉพาะโดเมน จะถือว่าผู้ใช้กำลังเข้าเว็บแบบ HTTPS เสมอ เบราว์เซอร์จะไม่พยายามเข้า HTTP ที่ไม่เข้ารหัสเป็นค่าเริ่มต้นอีกต่อไป
ก่อนหน้านี้หากผู้ใช้ไม่ระบุโปรโตคอล Chrome จะเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์แบบ HTTP ที่ไม่เข้ารหัสยกเว้นว่าตัวเว็บจะพยายามแจ้งให้เบราว์เซอร์เชื่อมต่อแบบเข้ารหัสเสมอด้วยมาตรฐาน HSTS ขณะที่เว็บจำนวนมากที่ให้บริการเฉพาะ HTTPS ก็มักเปิดเซิร์ฟเวอร์ HTTP เอาไว้สำหรับ redirect ไปยัง HTTPS อยู่ดี กระบวนการนี้มีปัญหาหลายอย่าง ทั้งในแง่ประสบการณ์ของผู้ใช้ที่จะเห็นเว็บช้าลงเพราะโดน redirect ไปมา และบางทีมีข้อมูลสำคัญถูกส่งต่อทาง HTTP โดยไม่ตั้งใจทำให้คนร้ายที่ดักฟังอยู่เห็นข้อมูลได้