เว็บไซต์ Android Police พบข้อมูลที่น่าสนใจใน Chrome OS 80 ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วงเบต้า โดยพบว่าเพิ่มระบบ gesture สำหรับใช้ในการ navigate เข้ามาแล้ว
ลักษณะการใช้งาน gesture แบบใหม่บน Chrome OS ก็จะคล้ายกับ Android เช่น ลากขึ้นจากด้านล่างเพื่อเข้าหน้าโฮม, ลากขึ้นและค้างเพื่อเปิดหน้า overview, ลากจากซ้ายมาขวาเพื่อกลับหน้าเดิม เป็นต้น และยังมี gesture เพิ่มเติมอย่างเช่นการลากขึ้นสั้น ๆ จากด้านล่างเพื่อแสดง dock ด้วย
นอกจาก gesture แล้ว Chrome OS 80 ยังเพิ่ม quick settings แบบหลายหน้าเข้ามาด้วย แต่ยังไม่สามารถปรับตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ในหน้านี้ได้
บริการสตรีมมิ่ง Disney+ ได้รับความร่วมมือมากมาย ก่อนหน้านี้มี Verizon ที่เปิดให้ลูกค้าชม Disney+ ฟรี 12 เดือนแล้ว กูเกิลก็ประกาศว่าลูกค้าที่ซื้อ Chromebook จะได้สิทธิ์ชม Disney+ ฟรี 3 เดือนด้วย
โปรโมชั่นนี้เฉพาะลูกค้าในอเมริกาที่ซื้อ Chromebook ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน 2019 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2020 และต้องเข้าไปรับสิทธิ์ที่ลิงค์นี้ ก่อนวันที่ 31 มกราคม 2020
Google Cloud Print เป็นบริการพิมพ์เอกสารผ่านคลาวด์ ที่กูเกิลออกมาในปี 2010 เพื่อแก้ปัญหา Chrome OS ไม่รองรับพรินเตอร์รุ่นต่างๆ มากนัก (ภายหลังกูเกิลขยาย Cloud Print ไปยัง iOS, Android, Windows ด้วย)
กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วว่า ฮาร์ดแวร์ของกูเกิลต้องมีข่าวหลุดจนไม่มีอะไรเป็นความลับเหลือให้เห็น เราเห็นข่าวหลุดของ Pixel 4 กันมาเยอะ คราวนี้เป็นคิวของโน้ตบุ๊กตัวใหม่ Pixelbook Go ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Chrome OS
เว็บไซต์ 9to5google ได้ตัวเครื่องโน้ตบุ๊ก Pixelbook Go รุ่นต้นแบบ หลุดออกมาให้ลองใช้งานจริงๆ (ไม่ใช่แค่ภาพหลุด) ตัวเครื่องภายนอกใช้สีโทนชมพูอ่อน "Not Pink" ฐานด้านล่างเป็นยางทำเป็นลายลูกคลื่น ปุ่มบนคีย์บอร์ดหน้าตาคล้ายกับ MacBook โดยมีปุ่มเรียก Google Assistant แทรกเข้ามาระหว่างปุ่ม Ctrl/Alt
สเปกเครื่องของโน้ตบุ๊กรุ่นต้นแบบคือ Intel Core m3, แรม 8GB, หน้าจอสัมผัสขนาด 13.3" Full HD, พอร์ต USB-C สองพอร์ต, ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.
ก่อนหน้า Chromebook ยี่ห้ออื่นที่ไม่ใช่ Pixelbook หรือ Pixel Slate จะไม่สามารถใช้งาน Google Assistant ได้เลย แต่ตอนนี้กูเกิลได้ปล่อยอัปเดท Chrome OS เวอร์ชั่น 77 ทำให้ Chromebook ยี่ห้ออื่นนอกจากของกูเกิลเองสามารถใช้งาน Google Assistant ได้เหมือนกันแล้ว
จากบล็อคของกูเกิลเองจะเห็นว่าเราสามารถสั่ง Google Assistant ให้ทำงานหลาย ๆ อย่างแทนเราได้ เช่น สร้างเอกสาร, เช็คตารางนัดบนปฏิทิน, ตั้งการแจ้งเตือน (Reminder), สั่งให้เปิดเพลงได้ด้วย โดยเปิดการทำงานได้ไม่ยาก แค่เข้า Settings > Search and Assistant > Google Assistant แล้วเปิดฟังก์ชั่นสั่งการด้วยเสียง (Voice Input) จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนไปจนจบ
The Verge เว็บไซต์ข่าวไอที รายงานข่าวลือว่าไมโครซอฟท์ เตรียมเปิดตัวระบบปฎิบัติการตัวใหม่ ที่มีรหัสการพัฒนาภายในว่า "Windows Lite" เพื่อออกมาสู้กับ Google Chrome OS เป็นการเฉพาะ
ตามรายงานข่าว ระบบปฏิบัติการถูกออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์แบบสองหน้าจอที่จะเปิดตัวในปีนี้เป็นการเฉพาะ ใช้พื้นฐานจาก Core OS และ C-Shell ซึ่งเป็นส่วนของ Windows 10 ในปัจจุบันที่ใช้บนอุปกรณ์อย่าง HoloLens 2 เป็นต้น หน้าตาจะเหมือนกับ Windows ในปัจจุบัน แต่จะปรับเปลี่ยนให้คล้ายกับ Surface Hub และ Continuum ของ Windows 10 Phone
ยังไม่มีรายงานข่าวว่าบริษัทจะเปิดตัวระบบปฏิบัติการตัวใหม่นี้เมื่อใด
ที่มา - The Verge
กูเกิลประกาศนำ Android Studio ลงระบบปฏิบัติการ Chrome OS อย่างเป็นทางการ โดยจะออกรุ่นจริงช่วงต้นปีหน้า 2019
ตอนนี้ผู้ที่อยากใช้งาน Android Studio รุ่นพรีวิวบน Chrome OS สามารถทำได้แล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะ Pixelbook เท่านั้น กระบวนการคือต้องสลับไปใช้ Chrome OS developer channel, เปิดใช้งานโหมดลินุกซ์ และติดตั้ง Android Studio อีกทีหนึ่ง (รายละเอียด)
ถึงแม้ Chrome OS และ Chromebook จะไปได้ดีในตลาดสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ แต่ก็ยังมีโรงเรียนอีกมากที่ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าซึ่งทำงานช้า แถมยังไม่มีงบประมาณไปเปลี่ยนคอมพิวเตอร์เป็นรุ่นใหม่ด้วย
ทางออกของกูเกิลคือจับมือกับบริษัท Neverware ผู้นำระบบปฏิบัติการ Chromium OS เวอร์ชันโอเพนซอร์สมาดัดแปลงให้เหมาะกับการใช้งานในโรงเรียน โดยใช้ชื่อใหม่ว่า CloudReady OS
กูเกิลและ Neverware ร่วมมือกับ London Grid for Learning ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่หวังผลกำไรที่ทำเรื่องการศึกษาในลอนดอน เปลี่ยนคอมพิวเตอร์เก่าในโรงเรียนต่างๆ โดยจับลงระบบปฏิบัติการ CloudReady เพื่อให้ทำงานได้เหมือน Chromebook รุ่นใหม่ๆ และสามารถใช้งานระบบการเรียนการสอนรุ่นใหม่ทั้ง G Suite for Education และ Google Classroom ได้
ASUS เผยโฉม Chromebook รุ่น C423 รัน Chrome OS สามารถดาวน์โหลดแอพ Android จาก Google Play ได้, หน้าจอขนาด 14 นิ้ว มีทั้งแบบระบบทัชสกรีนและไม่ทัชสกรีน, แบตเตอรี่อยู่ได้นานสูงสุด 10 ชั่วโมง ส่วนราคายังไม่เปิดเผยในตอนนี้
Chrome OS กำลังจะได้ฟีเจอร์แชร์ไฟล์ผ่าน SMB ร่วมกับเครื่องวินโดวส์ ช่วยให้การใช้งาน Chrome OS ร่วมกับเครื่องวินโดวส์หรือ Windows Server ในองค์กรมีความสะดวกมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ Chrome OS จำเป็นต้องติดตั้งส่วนขยายเพื่อใช้งาน SMB แต่หลังจาก Chrome OS เวอร์ชัน 70 เป็นต้นไป (ปัจจุบันคือ 69) จะมีความสามารถนี้ให้ในตัวเลย
ที่มา - Ars Technica
กูเกิลประกาศในงาน I/O 2018 ว่า Chrome OS จะรันแอพจากลินุกซ์ได้ แต่จำกัดเฉพาะอุปกรณ์บางรุ่นเท่านั้น วันนี้กูเกิลให้ข้อมูลแล้วว่าอุปกรณ์รุ่นใดบ้างจะได้ฟีเจอร์นี้
ปัจจัยที่เป็นจุดชี้วัดคืออุปกรณ์ Chromebook/Chrome OS รุ่นเก่าที่ใช้เคอร์เนลเวอร์ชัน 3.14 ลงไป จะไม่สามารถรันแอพลินุกซ์ได้ เหตุผลคือการรันแอพลินุกซ์บน Chrome OS เรียกใช้ฟีเจอร์ที่อยู่ในเคอร์เนล 4.8 ขึ้นไป และทีมงานของกูเกิลก็พอร์ตฟีเจอร์นี้กลับไปยังเคอร์เนลเวอร์ชัน 3.15 ขึ้นไป
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ของ Chrome 69 รุ่นถัดไปที่จะออกวันที่ 4 กันยายน โดยเป็นฟีเจอร์ฝั่ง Enterprise สำหรับการใช้งานในองค์กร
เว็บไซต์ xda รวบรวมข้อมูลของโครงการ "Campfire" ฟีเจอร์ลับบน Chrome OS ที่กูเกิลกำลังซุ่มทำอยู่ เปิดให้โน้ตบุ๊ก Chromebook สามารถติดตั้ง Windows 10 ได้
Campfire มีลักษณะคล้าย Bootcamp ของฝั่งแอปเปิล ที่ผ่านมาอุปกรณ์สาย Chrome OS จำเป็นต้องเปิดโหมด Developer ก่อนจึงจะสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นได้ แต่ต้องแลกกับข้อเสียคือฟีเจอร์รักษาความปลอดภัย Verified Boot จะถูกปิดไปด้วย คาดว่า Campfire จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้
กูเกิลออกโฆษณาตัวใหม่ของ Chromebook เพื่อนำเสนอจุดเด่นที่เหนือกว่าระบบปฏิบัติการอย่าง Windows และ macOS ในแบบที่จิกกัดกันเต็ม ๆ
โดยในโฆษณาเริ่มด้วยการพูดถึงข้อความแจ้งเตือนทั้งหลาย ที่ผู้ใช้ Windows และ macOS คุ้นเคยและอาจจะรำคาญ ไปจนถึงปัญหาแอนตี้ไวรัส และปิดที่ปัญหาจอฟ้าใน Windows
เนื้อหาโฆษณาไม่ได้มีแค่การโจมตีคู่แข่ง แต่ยังพูดถึงคุณสมบัติการทำงาน Chromebook เพื่อบอกว่าทำอะไรได้มากไม่แพ้ระบบปฏิบัติการอื่น โดยมีทั้ง Lightroom, การจดบันทึกด้วยปากกาสไตลัส, วิดีโอคอลล์, ชมภาพยนตร์ และเล่นเกม จากนั้นจึงปิดท้ายด้วยคุณสมบัติเด่นทั้งหมดที่มี
ชมโฆษณาได้ท้ายข่าว
ASUS เผยโฉม Chromebox 3 หรือมินิคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปที่รันระบบปฏิบัติการ Chrome OS รองรับการแสดงผลสองหน้าจอ ในความละเอียดสูงสุด 4K มาพร้อมมาตรฐาน USB Power Delivery (USB PD) พอร์ตสำหรับจ่ายไฟให้กับโน้ตบุ๊ค, มือถือ, แท็บเล็ต และใช้รับพลังงานจากอุปกรณ์อื่นๆ ผ่านสาย USB เพียงเส้นเดียว
สเปกอื่นๆ ของ Chromebox 3 ประกอบไปด้วย
ทิศทางของ Chrome OS และ Android เข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คนที่มีอุปกรณ์ Chrome OS อาจยังมีไม่เยอะมากนัก นักพัฒนาที่ต้องการนำแอพ Android ไปรันทดสอบใน Chrome OS จึงมีอุปสรรคพอสมควร
ล่าสุดปัญหานี้ถูกแก้ไขแล้ว เพราะกูเกิลเพิ่ม Chrome OS Emulator เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Android Studio เรียบร้อยแล้ว
การใช้งานเราต้องมี Android Studio ติดตั้งพร้อมกับ Android Emulator ก่อน จากนั้นค่อยติดตั้งส่วนขยาย Chrome OS SDK add-ons เข้ามา แล้วค่อยสร้าง virtual device ใหม่ขึ้นมาเป็น Pixelbook สำหรับทดสอบ
ตรงตามข่าวก่อนหน้านี้ วันนี้กูเกิลประกาศข่าวอย่างเป็นทางการว่า ระบบปฏิบัติการ Chrome OS จะรองรับการรันแอพจากลินุกซ์ด้วย
กูเกิลไม่ได้ให้รายละเอียดเรื่องนี้มากนัก บอกว่าแอพจากลินุกซ์จะทำงานบน Chrome OS ได้เป็นปกติ และเราจะสามารถรัน Android Studio เวอร์ชันลินุกซ์บน Chrome OS ได้ด้วย ช่วยให้ Chrome OS กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะกับนักพัฒนามากขึ้น
อุปกรณ์ Chrome OS ตัวแรกที่จะได้ใช้ฟีเจอร์นี้คือ Pixel Book ของกูเกิลเอง
IDC เปิดเผยรายงานยอดส่งมอบแท็บเล็ตประจำไตรมาส 1 ปี 2018 อยู่ที่ 31.7 ล้านเครื่อง ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว 11.7% โดยแท็บเล็ตประเภท detachable (มี dock ต่อคีย์บอร์ด) มียอดขายเพิ่มขึ้น 2.9% ขึ้นมามีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น 15.9% ในกลุ่มแท็บเล็ต ส่วนแท็บเล็ตแบบเดิม (slate tablet) ยอดขายลดลง 13.9%
เมื่อแยกเป็นรายบริษัท แอปเปิลยังคงมีส่วนแบ่งมากที่สุดที่ 28.8% มียอดขายเพิ่มขึ้น 2.1% ตามมาด้วยซัมซุงที่ส่วนแบ่ง 16.7% ทว่ายอดขายกลับลดลงถึง 11.4% อันดับสามเป็น Huawei ที่ส่วนแบ่ง 10% ยอดขายเพิ่มขึ้น 13% ตามมาด้วย Lenovo ที่ส่วนแบ่ง 6.6% ยอดขายเพิ่มขึ้น 1.8% และ Amazon ที่ส่วนแบ่ง 3.5% ทว่ายอดขายลดลงเยอะสุดถึง 49.5%
ใกล้งาน Google I/O ปีนี้ ฟีเจอร์ของซอฟต์แวร์และบริการของกูเกิลสำคัญๆ ก็มักจะถูกประกาศในงาน แต่ฟีเจอร์หนึ่งที่เริ่มปรากฎในโค้ดของ Chrome OS คือ Crostini ที่ยังไม่มีประกาศออกมาเป็นทางการ แต่เอกสารฟีเจอร์ก็ระบุว่ามันเป็นระบบ virtual machine สำหรับรันลินุกซ์ ที่เปิดทางให้ Chrome OS รันแอปสำหรับลินุกซ์ได้เต็มรูปแบบ เช่น Android Studio, VSCode, หรือแม้แต่ Steam ก็ยังได้
โค้ด Crostini เริ่มเข้ามาใน dev channel แล้ว แต่เปิดให้ใช้งานเฉพาะ Pixelbook เท่านั้น แม้ว่าอุปกรณ์ Chrome OS ส่วนมากจะสามารถเปิดใช้ developer mode เพื่อติดตั้งลินุกซ์ได้อยู่แล้ว แต่ Crostini จะทำงานในโหมดปกติได้เลย โดยความปลอดภัยจะแยกคอนเทนเนอร์ออกจากระบบปฎิบัติการหลัก คล้ายกับการรันแอปแอนดรอยด์ใน Chrome OS ทุกวันนี้
HP เปิดตัว Chromebook x2 ใหม่ มีจุดเด่นคือถอดจอกับคีย์บอร์ดออกจากกันได้ พร้อมรองรับการสัมผัสและใช้ปากกา
HP Chromebook x2 นั้นมีน้ำหนัก 1.62 ปอนด์ หนา 8.2 มิลลิเมตร เมื่อต่อกับคีย์บอร์ดแล้วมีน้ำหนัก 3.14 ปอนด์ หนา 15.3 มิลลิเมตร ใช้จอขนาด 12.3 นิ้ว 2400 x 1600 พิกเซล Quad HD เป็น Corning Gorilla Glass 4 รองรับการสัมผัสและการใช้ปากกา ตัวเครื่องเป็นพื้นผิวอะลูมิเนียมสีเซรามิกขาว ส่วนคีย์บอร์ดเป็นพื้นผิวคล้ายหนังในสี Oxford Blue
กูเกิลเปิดตัวแท็บเล็ต Chrome OS รุ่นแรกที่ผลิตโดย Acer ใช้ชื่อรุ่นว่า Acer Chromebook Tab 10
Acer Chromebook Tab 10 (D651N) เป็นแท็บเล็ตหน้าจอ IPS 9.7" ความละเอียด QXGA 2048x1536 จุดเด่นของมันคือออกแบบมาเพื่อใช้กับปากกาสไตลัสโดยเฉพาะ โดยมาพร้อมกับปากกา Wacom EMR ที่มีช่องเสียบปากกาในตัว ปากกาไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ใดๆ ช่วยลดปัญหาการบำรุงรักษาลงไปได้มาก
สเปกอย่างอื่นคือหน่วยประมวลผล OP1 หกคอร์ (2 คอร์ Cortex-A72 + 4 คอร์ Cortex-A53), แรม 4GB, สตอเรจ 32GB พร้อมช่องเสียบ microSD, Wi-Fi 802.11ac, พอร์ต USB 3.1 Type-C, กล้อง 2MP/5MP, แบตเตอรี่ 9 ชั่วโมง ใช้งานได้ตลอดวันโดยไม่ต้องชาร์จแบต, น้ำหนักเครื่อง 550 กรัม
หลังจากเริ่มผนวกรวมความสามารถในการรันแอพ Android เข้ามาบน Chrome OS (ปัจจุบันยังใช้ได้บางรุ่น ไม่ครอบคุลมทั้งหมด) ตั้งแต่ปี 2016 และเพิ่มความสามารถในการรันอยู่เบื้องหลังเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ล่าสุด Google ปล่อย Chrome OS รุ่นทดสอบล่าสุด (Canary test) ที่มีความสามารถ split screen แล้ว
เว็บไซต์ Chrome Unboxed ที่ได้ทดสอบคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ระบุว่าผู้ใช้สามารถใช้แอพ Android ทำงานคู่กันไปได้แบบเดียวกับที่ Android ได้ความสามารถนี้มาก่อนแล้วตั้งแต่รุ่น 7.0 ส่วนที่เพิ่มมาใน Chrome OS คือการใช้งานควบคู่กับเบราว์เซอร์ Chrome ด้วย
HP เปิดตัวคอมพิวเตอร์ Chrome OS ใหม่ เป็นแล็ปท็อปคือ Chromebook 11 G6 และ 14 G5 และเดสก์ท็อป Chromebox G2
สำหรับแล็ปท็อปรุ่นใหม่ทั้งสองคือ Chromebook 11 G6 และ Chromebook 14 G5 นั้น HP เลือกใช้ชิพจาก Intel รุ่นที่ 7 สามารถเลือกได้ทั้ง Celeron N3450 (quad-core) หรือ N3350 (dual-core) มีพื้นที่เก็บข้อมูลหลักให้เลือกตั้งแต่ 16-64GB, แรมเลือกได้สูงสุด 8GB, มีจอให้เลือกหลายแบบ เริ่มต้นที่ 1366 x 768 พิกเซล สามารถอัพเกรดใช้จอ IPS และเลือกระบบสัมผัสได้, บานพับของตัวเครื่องสามารถหมุนได้สูงสุด 180 องศา, พอร์ตเชื่อมต่อมีให้ทั้ง USB-A 3.0 และ USB-C, รองรับ Wi-Fi มาตรฐาน Wi-Fi 802.11ac (2x2), ตัวเครื่องรุ่น 11 G6 สามารถเลือกสั่งเป็นสีส้มได้
เว็บไซต์ Chrome Unboxed ได้ค้นพบโค้ดภายในโครงการ Chromium โดยโค้ดดังกล่าวนี้เชื่อมโยงไปถึงแท็บเล็ต Chrome OS ซึ่งผลิตโดย Samsung โดยทางเว็บไซต์คาดว่าน่าจะเป็นแท็บเล็ตตามข่าวลือที่ใช้โค้ดเนมว่า Nautilus ที่ออกมาก่อนหน้า ซึ่งแท็บเล็ตใหม่จะสามารถแยกส่วนคีย์บอร์ดได้ และใช้ชิพ Intel Core รุ่นที่ 7
จุดที่สำคัญที่พบจากโค้ดคือกล้อง Samsung เลือกใช้ Sony IMX258 ตัวเดียวกับที่พบใน LG G6 ซึ่งถือว่าดีกว่า Chromebook ทุกตัวในตลาดที่ทุกวันนี้ยังคงเป็นกล้องแบบ 720p จึงทำให้กล้องน่าจะเป็นหนึ่งในจุดขายของแท็บเล็ต Chrome OS ใหม่จาก Samsung นี้
Chrome OS นั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รันแอพพลิเคชั่นภายใต้แบคกราวน์แต่ต้น เนื่องจากตัวระบบถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออุปกรณ์พกพาและเน้นการใช้งานในลักษณะ web-first ล่าสุดมีรายงานว่าตอนนี้ Google เริ่มทดสอบให้ Chrome OS รันแอพ Android ได้ในแบคกราวน์แล้ว จากปัจจุบันที่แอพเหล่านี้จะถูกสั่งพักการทำงานทันทีที่ผู้ใช้สลับแอพ
ChromeUnboxed เป็นผู้รายงานฟีเจอร์นี้ครั้งแรก เรียกว่า Android Parallel Task ซึ่งพบใน Chrome OS 64 โดยปัจจุบันอยู่ในสถานะเบต้า จึงเป็นไปได้ว่าฟีเจอร์นี้กำลังถูกทดสอบและยังไม่มีข้อมูลว่าจะเปิดตัวจริง ๆ เมื่อไร