Chrome OS นั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รันแอพพลิเคชั่นภายใต้แบคกราวน์แต่ต้น เนื่องจากตัวระบบถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออุปกรณ์พกพาและเน้นการใช้งานในลักษณะ web-first ล่าสุดมีรายงานว่าตอนนี้ Google เริ่มทดสอบให้ Chrome OS รันแอพ Android ได้ในแบคกราวน์แล้ว จากปัจจุบันที่แอพเหล่านี้จะถูกสั่งพักการทำงานทันทีที่ผู้ใช้สลับแอพ
ChromeUnboxed เป็นผู้รายงานฟีเจอร์นี้ครั้งแรก เรียกว่า Android Parallel Task ซึ่งพบใน Chrome OS 64 โดยปัจจุบันอยู่ในสถานะเบต้า จึงเป็นไปได้ว่าฟีเจอร์นี้กำลังถูกทดสอบและยังไม่มีข้อมูลว่าจะเปิดตัวจริง ๆ เมื่อไร
หลังการเปิดตัว Pixelbook ฮาร์ดแวร์ ChromeOS ตัวแรกของกูเกิล คำถามจากคนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมามากมายพร้อมราคาเริ่มต้นที่สูงถึง 999 เหรียญคือมันเหมาะสมกับการใช้งานแค่ไหน? สามารถใช้งานแทนแล็บท็อปวินโดวส์หรือ MacBook ได้หรือไม่ หรือควรจะเอาไปเทียบกับ iPad Pro ซึ่งรีวิวของ The Verge พยายามตอบคำถามนี้ให้ได้ดีที่สุด
Dieter Bohn นักเขียนของ The Verge ระบุว่าเงื่อนไขการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป แต่ถ้าให้เขาตอบแทนคนส่วนใหญ่ก็น่าจะมองว่า Pixelbook ยังไม่สามารถทดแทนแล็บท็อปหรือ MacBook ได้ และเปรียบเทียบกับ iPad Pro น่าจะถูกฝาถูกตัวมากกว่า ทว่า Pixelbook ก็ยังมีความเป็นแล็บท็อปมากกว่าแท็บเล็ตอยู่ดี ทำให้ประสบการณ์ใช้งานบนเบราว์เซอร์ดีกว่า iPad Pro แต่ด้อยกว่าในแง่ของการใช้งานแอป
โมดูล TPM เป็นโมดูลที่ช่วยยืนยันความถูกต้องของเครื่องลูกข่าย และใช้ในกระบวนการเข้ารหัสดิสก์ที่แม้แต่ตัวระบบปฎิบัติการเองก็ไม่มีกุญแจถอดรหัส แต่โมดูล TPM จาก Infineon กลับมีช่องโหว่ในกระบวนการสร้างกุญแจทำให้กุญแจ RSA ที่ได้อ่อนแอกว่าที่ออกแบบไว้
ช่องโหว่จากการสร้างกุญแจที่อ่อนแอ ทำให้การเข้ารหัสดิสก์อาจถูกถอดรหัสได้ กระทบทั้ง Chrome OS และ Bitlocker ของวินโดวส์ ขณะที่ฟีเจอร์ Verified Access ของ Chrome OS ก็อาจะถูกโจมตีจากการปลอมตัวเป็นอุปกรณ์ที่ถูกต้อง
กูเกิลเปิดตัว Chrome Enterprise เป็นบริการรวมมิตรสำหรับการใช้งาน Chrome OS ในองค์กร โดยคิดราคา 50 ดอลลาร์ต่ออุปกรณ์ต่อปี
การจ่าย 50 ดอลลาร์จะเพิ่มฟีเจอร์ด้านการจัดการต่างๆ เข้ามาจาก Chrome OS ตัวปกติ เช่น ระบบ Single Sign-On, ระบบจัดการพรินเตอร์, ระบบจัดการแอพบน Play Store ที่รันบน Chrome OS, ระบบจัดการส่วนขยายของ Chrome และการจัดการอัพเดตระบบปฏิบัติการ, ระบบป้องกันเครื่องหาย, บริการซัพพอร์ต 24 ชั่วโมง
ที่น่าสนใจคือกูเกิลยังมีระบบเชื่อมต่อกับ Microsoft Active Directory และ VMware Workspace ONE ที่ตลาดองค์กรใช้งานอยู่แล้วด้วย
ที่มา - Google Blog
เราเห็นข่าว ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 S สำหรับตลาดภาคการศึกษา มาเพื่อชนกับ Chrome OS
แต่โฆษณาล่าสุดของไมโครซอฟท์ กลับเลือก Windows 10 Pro มาเปรียบเทียบกับ Chrome OS แทน
โฆษณาชิ้นแรกเจาะตลาดภาคธุรกิจ โดยชูว่า Windows 10 Pro เด่นกว่าทั้งในแง่ฟีเจอร์ (รองรับปากกา), ความปลอดภัย (Edge แข็งแกร่งกว่า Chrome), ความคุ้มค่า (อุปกรณ์ Windows มีหลากหลายกว่า)
ปัจจุบัน การพิมพ์งานโดยใช้ Chrome OS ต้องผ่าน Google Cloud Print และเครื่องพิมพ์ที่รองรับเท่านั้น แต่ล่าสุด Chrome OS เวอร์ชัน 59 ทาง Google ก็ได้เริ่มปรับปรุงให้สามารถเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์และพิมพ์ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านระบบคลาวด์แล้ว
Google เตรียมเปิดใช้ระบบ Instant Tethering หรือระบบแชร์อินเทอร์เน็ตแบบทันทีสำหรับ Chromebook โดยตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจากมือถือได้ง่ายขึ้น
จากรายงานของ ChromeStory เผยว่า Chrome OS เวอร์ชันทดสอบ Canary ได้เริ่มมีฟีเจอร์ดังกล่าวให้ใช้แล้ว โดยจะต้องเข้าไปที่ chrome://flags เพื่อเปิด
สำหรับ Instant Tethering นั้นปัจจุบันสามารถใช้ได้กับ Nexus และ Pixel ซึ่ง Google เริ่มปล่อยให้ใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม โดยจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเรียกเปิด hotspot เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์ใกล้เคียงที่ล็อกอินด้วยบัญชี Google บัญชีเดียวกันได้จากอุปกรณ์ที่กำลังใช้อยู่ โดยไม่ต้องไปตั้งค่าเปิดจากอุปกรณ์เอง
กูเกิลไม่ได้พูดถึง Chrome OS มากนักในคีย์โน้ตของ Google I/O แต่ในห้องย่อยก็มีการประกาศว่าจะออก Chrome OS Emulator ให้นักพัฒนาใช้ทดสอบแอพกันด้วย
เหตุผลของกูเกิลคือแอพ Android สามารถรันบน Chrome OS ได้แล้ว แต่นักพัฒนาอาจไม่มี Chromebook มาทดสอบว่าแอพของตัวเองรันบนจอใหญ่ได้ดีแค่ไหน การมีอีมูเลเตอร์จึงช่วยตรงนี้ได้มาก
กูเกิลยังไม่บอกว่าเราจะเห็น Chrome OS Emulator กันเมื่อไร แต่ก็เปิดหน้าลงทะเบียนรับอัพเดตข่าวสารแล้ว กูเกิลยังแนะนำให้ใช้ Android API Level 24 ขึ้นไป และวางแผนออกแบบแอพให้ปรับขนาดได้ รวมถึงรองรับการป้อนข้อมูลผ่านเมาส์และคีย์บอร์ดด้วย
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ VMware ขยายการใช้งาน Chrome OS ในตลาดองค์กร โดย VMware Workspace One ซอฟต์แวร์จัดการสิทธิการเข้าถึงแอพพลิเคชันของอุปกรณ์แต่ละชิ้น จะรองรับ Chrome OS เพิ่มเข้ามาจากระบบปฏิบัติการอื่น ช่วยให้องค์กรที่ใช้ Workspace One อยู่แล้ว สะดวกในการนำ Chrome OS เข้ามาใช้งานกว่าเดิม
กูเกิลอ้างตัวเลขของ IDC ว่า 25% ของบริษัทยักษ์ใหญ่ติดอันดับ Fortune 500 จะนำ Chromebook มาใช้งานภายในปี 2018 ความร่วมมือกับ VMware ถือเป็นหนึ่งในการผลักดันให้ Chrome OS ไปสู่เป้าหมายนี้
ที่มา - Google
มีคนตาดีไปเจอซอร์สโค้ดของโครงการ Chromium OS และพบว่ากูเกิลกำลังพยายามพอร์ต Android Studio มาลง Chrome OS อยู่
ตอนนี้ซอร์สโค้ดที่เผยสู่สาธารณะยังมีแค่ไฟล์สคริปต์ ebuild เพื่อคอมไพล์ Android Studio บน Chrome OS และเชลล์สคริปต์สำหรับเรียก Android Studio ขึ้นมาทำงาน
ตัว Android Studio มีเวอร์ชันบนลินุกซ์อยู่แล้ว การพอร์ตมาสู่ Chrome OS จึงไม่ใช่เรื่องยากนัก สิ่งที่กูเกิลทำเพิ่มเข้ามาคือคอมไพล์ไลบรารีที่จำเป็น และกำหนดให้ Android Studio รันบน Wayland ซึ่งเป็นระบบแสดงผลของ Chrome OS ด้วย
กูเกิลยังไม่ประกาศข่าวนี้ต่อสาธารณะ แต่ก็เป็นไปได้ว่าเราจะได้เห็นเดโมในงาน Google I/O เดือนพฤษภาคม
Adobe ประกาศนำแอพสายกราฟิกหลายตัวลง Chrome OS โดยเป็นแอพเวอร์ชันมือถือที่มีอยู่แล้วบน Android (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2) และอาศัยประโยชน์จากฟีเจอร์การรันแอพ Android บน Chrome OS ช่วยให้พอร์ตแอพมาง่ายขึ้น
Adobe บอกว่าแอพเหล่านี้จะถูกปรับแต่งมาให้ทำงานกับจอใหญ่และอินเทอร์เฟซที่เป็นเมาส์-คีย์บอร์ดของ Chrome OS มากขึ้นด้วย เช่น ใช้ปุ่ม Escape แทนปุ่ม Back ได้, รองรับการใช้ปุ่มลัดบนคีย์บอร์ด, แอพสามารถเข้าถึงกล้องหน้าของ Chromebook ได้
แอพที่เปิดตัวมีทั้งหมด 6 ตัวดังนี้
เราเห็น Chromebook รันแอพ Android มาได้สักระยะแล้ว โดยที่ผ่านมายังเป็นการอัพเดต Chromebook รุ่นที่เคยวางขายก่อนแล้วให้รองรับ Android (ไม่ใช่ทุกรุ่นจะได้ความสามารถนี้) แต่ล่าสุดกูเกิลประกาศบนหน้าเว็บของ Chrome OS ยืนยันแล้วว่า Chromebook ทุกรุ่นที่วางขายในปี 2017 เป็นต้นไป จะรันแอพ Android ได้ทั้งหมด
ปีนี้ Lenovo สร้างความฮือฮาให้วงการด้วย Yoga Book สมุดโน้ตแบบ 2-in-1 ที่เลือกได้ว่าจะเป็น Windows 10 หรือ Android
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด Lenovo บอกว่ายังจะออก Yoga Book เวอร์ชันที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Chrome OS ตามมาในปีหน้า 2017 โดยจะยังรองรับฟีเจอร์การวาดเส้นและคีย์บอร์ด Halo แบบเดียวกับเวอร์ชัน Android/Windows
Lenovo ยังไม่บอกว่าจะออก Yoga Book เวอร์ชัน Chrome OS เมื่อไรครับ
ที่มา - 9to5google
เดิมทีกูเกิลมีระบบปฏิบัติการในมือถึงสองตัว คือ Chrome OS และ Android แต่สิ่งที่เราเห็นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา คือการเน้นการพัฒนาในฝั่ง Android เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงเปิดทางให้แอพฯ Android สามารถรันบน Chrome OS ได้ ล่าสุดมีข่าวลือว่ากูเกิลมีแผนที่ใหญ่กว่านั้น คือการหลอมระบบปฏิบัติการทั้งสองตัวเข้าด้วยกันในชื่อใหม่อย่างไม่เป็นทางการว่า "Andromeda"
รายละเอียดเบื้องต้นของ Andromeda คือการหลอม Chrome OS เข้าไปใน Android เพื่อขยายฐานลูกค้าออกไปให้กว้างขึ้น จากเดิมที่ Chrome OS เน้นไปที่ตัวโน้ตบุ๊ค ในขณะที่ Android เน้นฝั่งแท็บเล็ตและมือถือ การหลอมทั้งสองระบบเข้าด้วยกันก็จะทำให้ระบบสามารถใช้งานได้บนอุปกรณ์ทุกรูปแบบ ทั้งโน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต และมือถือ แน่นอนว่ารวมถึงอุปกรณ์แบบ Convertible ด้วย
ก่อนหน้านี้ Chrome OS รองรับการรันแอพ Android จาก Play Store แล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะรุ่นทดสอบ Dev Channel เท่านั้น
วันนี้ กูเกิลออก Chrome OS 53.0.2785.129 ที่มีสถานะเป็นรุ่นเสถียร (Stable Channel) และมี Google Play Store มาให้ในตัวแล้ว โดยใช้ได้กับ ASUS Chromebook Flip, Acer Chromebook R11/C738T ส่วนรุ่นอื่นๆ จะตามมาในภายหลัง
ในแง่การใช้งานคงไม่แตกต่างจากตอนเป็น Dev Channel มากนัก แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Play Store อย่างเป็นทางการบน Chrome OS รุ่นเสถียรครับ
ที่มา - Google Chrome Releases
หลังปล่อย Play Store ลงบน Dev Channel ของ Chrome OS มี Chromebook เพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่ได้รับอัพเดตนี้ ล่าสุด Chromebook Pixel รุ่นใหม่ และ Acer R11 ดูเหมือนจะได้รับ Chrome OS เวอร์ชัน 53 นี้แล้วเช่นกัน
อย่างไรก็ตามทางเว็บ Chrome Story ระบุว่าผู้ใช้ Pixel สามารถอัพเดตได้แล้วตอนนี้ ตรงกันข้ามกับทาง Acer R11 ที่ยังไม่มีข้อมูลว่าได้รับอัพเดตแล้วหรือไม่ หรือจะได้เมื่อไหร่ครับ
ที่มา - Chrome Story
ASUS เปิดตัว Chromebook รุ่น C301SA ที่มาพร้อมกับความจุและแรมที่เพิ่มขึ้นเป็น 64GB และ 4GB ตามลำดับเพื่อรองรับการมาของแอพแอนดรอยด์บน Chrome OS
มาพร้อมหน้าจอขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด 1920x1080 ซีพียู Intel Celeron N3160 Braswell แรม 4GB รองรับ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11ac, Bluetooth 4.2 พร้อมพอร์ต USB 3.0 และ HDMI
ASUS เปิดราคาของ Chromebook C301SA อยู่ที่ 300 เหรียญสหรัฐครับ
ที่มา - Liliputing
วันนี้ HP ประกาศเปิดตัว Chromebook 11 G5 ภาคต่อของโน้ตบุ๊กที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Chrome OS สำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยมีการปรับปรุงสเปกให้ทันสมัย แบตเตอรี่อยู่ได้นานขึ้น แต่ยังคงมีราคาถูกเช่นเดิม
HP ระบุว่ารุ่นนี้ยังคงใช้จอขนาด 11.6 นิ้ว IPS แต่เปลี่ยนหน่วยประมวลผลเป็น Intel Celeron N3060 พร้อมกับปรับปรุงขอบจอให้บางลง และมีตัวเลือกในบางรุ่นเป็นหน้าจอแบบสัมผัสด้วย บริษัทระบุว่าแบตเตอรี่สามารถใช้ได้นาน 12.5 ชั่วโมงในรุ่นที่ไม่ใช่จอสัมผัส
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 189 ดอลลาร์ (ประมาณ 6,600 บาท) โดยจะเริ่มต้นจำหน่ายผ่านคู่ค้าสำหรับบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ก่อนในเดือนหน้า ก่อนที่จะเริ่มวางขายทั่วไปในเดือนตุลาคม
Chrome OS ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่สำหรับการจัดการพื้นที่ โดยแต่เดิมนั้นผู้ใช้สามารถดูพื้นที่เหลือของอุปกรณ์ได้จากแอพ Files แต่ไม่บอกว่าใช้กับอะไรไปบ้าง
ตอนนี้ Google ได้เพิ่มฟีเจอร์จัดการไฟล์ให้กับ Chrome OS แล้ว ฉะนั้นผู้ใช้จะสามารถดูรายละเอียดของข้อมูลอย่างคร่าว ๆ ได้ทันที ได้แก่ ความจุของตัวเครื่อง, พื้นที่ที่ใช้ไป มีการแยกระหว่างไฟล์ที่ดาวน์โหลดและไฟล์ที่เก็บไว้ใช้แบบออฟไลน์ และพื้นที่เหลือบนอุปกรณ์ ซึ่งถ้าผู้ใช้ต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ chrome://quota-internals ได้
ที่มา - Engadget
จริงๆ แล้วเป็นข่าวเก่าช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่เห็นบางสำนักข่าวลงข่าวเรื่องนี้เมื่อวาน ทาง Blognone เห็นว่าประเด็นนี้น่าสนใจจึงหยิบมาเขียน
โรงเรียน Baldwin County Public Schools ที่ Alabama ยกเลิกการใช้ MacBook เพื่อการเรียนการสอนด้วยเหตุผลแสนเรียบง่ายคือ "แพง" โดยจะขายเครื่อง MacBook ทั้งหมดกว่า 20,000 เครื่อง เพื่อนำไปซื้อ Chromebook แทน แบรนด์ที่ทางโรงเรียนเล็งไว้คือ Lenovo N21 Chromebook ราคาต่อเครื่องอยู่ที่ 280 ดอลลาร์
ผู้อ่าน Blognone อาจจะทราบแล้วว่า Google จะทำให้ Chrome OS สามารถรันแอพของ Android ได้ และปล่อยอัพเดตที่มีคุณสมบัติดังกล่าวแล้วลง Dev channel ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
คำถามอันหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้คือมันใช้งานได้ดีแค่ไหน หรือมีข้อจำกัดอะไรบ้าง ผมมีโอกาสได้ลองใช้คุณสมบัตินี้หลังจากอัพเดตถูกติดตั้งบน Chromebook Flip เลยนำมาเขียนเป็นรีวิวสั้นๆ เผื่อท่านผู้อ่านที่กำลังสนใจว่าความสามารถนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะกับผู้อ่านที่กำลังคิดจะซื้อ Chromebook
ช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะคุ้นเคยกับ Chromebook ในฐานะโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ราคาถูก แต่ในช่วงหลังเราจะเริ่มเห็น Chromebook หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Chrome OS แบบใหม่ๆ ออกมามากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ ASUS Chromebook Flip ที่เปิดตัวไปเมื่อเมษายนปีที่แล้วและวางจำหน่ายช่วงเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน โดยถือเป็นหนึ่งในโน้ตบุ๊กสาย 2-in-1 หรือ convertible รุ่นแรกๆ ของ Chromebook ซึ่งเราจะรีวิวกันในวันนี้ครับ
ถือว่ามาตามนัดสำหรับคุณสมบัติใหม่ของ Chrome OS ที่จะสามารถรันแอพจาก Android ได้พร้อมกับ Play store เมื่อวันนี้ Google ปล่อย Chrome OS รุ่น 53.0.2768.0 กับผู้ใช้ Chromebook ที่รับอัพเดตจาก Dev Channel ให้แล้ว
เมื่อผู้ใช้ติดตั้งอัพเดตนี้เสร็จและทำการรีสตาร์ทเครื่อง จะปรากฎโลโก้ของ Play store ที่แถบด้านล่าง (Chrome OS เรียกว่า shelf) ซึ่งสามารถเรียกใช้งานและเข้าไปโหลดแอพได้ทันทีโดยใช้เวลาไม่มากนัก ผมทดลองเบื้องต้นแล้วก็พบว่าใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาบน ASUS Chromebook Flip
ทั้งนี้ คุณสมบัติดังกล่าวยังมีเฉพาะผู้ใช้ที่รับอัพเดตจาก Dev Channel และใช้ Chromebook เฉพาะบางรุ่นที่กำหนดเท่านั้น
ข้อดีอย่างหนึ่งของ Chromebook คือการอัพเดต Chrome OS อย่างสม่ำเสมอจากกูเกิล แต่เอาเข้าจริงแล้ว การอัพเดตก็มีระยะเวลาตามที่กูเกิลกำหนดไว้ 5 ปีหลังเครื่องเริ่มวางขาย ซึ่ง Chromebook รุ่นแรกๆ ก็จะหมดระยะซัพพอร์ต (End of Life หรือ EOL) ในเดือนนี้แล้ว
อุปกรณ์ชุดแรกที่จะหมดระยะซัพพอร์ตคือ Chromebook สองตัวแรกที่เปิดตัวในงาน Google I/O 2011 ได้แก่ Samsung Chromebook Series 5 และ Acer Chromebook AC700 โดยเครื่องของ Samsung จะหมดระยะซัพพอร์ตก่อนในเดือนมิถุนายนนี้ และเครื่อง Acer จะหมดระยะในเดือนสิงหาคม (เปิดตัวพร้อมกันแต่วางขายไม่พร้อมกัน)
เมื่อวานนี้ Google ปล่อยส่วนเสริม Network File Share for Chrome OS ให้กับระบบปฏิบัติการ Chrome OS ทำให้ Chrome OS สามารถเข้าถึงไฟล์ที่แชร์อยู่บนเครือข่ายผ่านโปรโตคอล SMB (Server Message Block) ได้โดยง่าย พร้อมเปิดโค้ดเอาไว้บน GitHub ให้กับนักพัฒนาด้วย
ส่วนเสริมดังกล่าวใช้ API ของระบบที่มีชื่อว่า File System Provider ทำให้ตัวระบบปฏิบัติการสามารถเข้าถึงไฟล์จากเครือข่ายได้ทันที แบบเดียวกับที่เข้าถึง Google Drive ได้ (ผู้ใช้ที่น่าจะได้ประโยชน์ที่สุดจากส่วนเสริมนี้ น่าจะเป็นผู้ใช้ในองค์กร หรือไม่ก็คนที่มีระบบเก็บข้อมูลภายในบ้านแบบไร้สายอย่างพวก NAS) โดยในคำบรรยายของส่วนเสริมระบุว่าพอร์ตมาจากไคลเอนต์ของ Samba