หนึ่งในคุณสมบัติใหม่ที่ Google เปิดให้กับ Chrome OS ก็คือการทำให้แอพ Android ขึ้นมาทำงานบน Chrome OS อย่างเต็มที่พร้อมกับ Play store ซึ่งแม้เบื้องหน้าจะดูเหมือนว่าเป็นการต่อยอดจากโครงการเมื่อปี 2014 (ข่าวเก่า) แต่เบื้องหลังกลับเป็นการเปลี่ยนแนวทางใหม่ทั้งหมด ทำให้แอพ Android ขึ้นมาทำงานบน Chrome OS ได้
ช่วงที่ผ่านมา เราอาจจะรู้จัก Chromebook หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Chrome OS ว่ามีราคาถูกและหาซื้อได้ไม่ยากนัก (ยกเว้น Chromebook Pixel) แต่ที่งาน Google I/O ประจำปีนี้ ตัวแทนของ Google ออกมาระบุบนเวทีว่าเตรียมที่จะร่วมมือกับพันธมิตร เปิดตัว Chromebook ที่จับตลาดระดับบนและมีราคาแพงขึ้น
บริษัทที่ถูกระบุว่าเป็นพันธมิตรในความร่วมมือดังกล่าวคือ Samsung ซึ่งกำลังทำงานกับบริษัทในการสร้าง Chromebook เพื่อจับตลาดบน เหตุผลส่วนหนึ่งเพราะการที่ Chrome OS รองรับแอพของ Android ที่ต้องมีการใช้ความสามารถต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยตั้งเป้าว่าจะเปิดตัวและวางจำหน่ายได้ภายในสิ้นปีนี้
บริษัทวิจัยตลาด IDC ออกมาเปิดเผยตัวเลขยอดส่งมอบซีพีในไตรมาสแรกของปีนี้ (1Q16) ที่มียอดส่งมอบ 60.6 ล้านเครื่อง ลดลง 11.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยระบุว่าปัจจัยในตลาดผู้บริโภคทั่วไปมาจากความต้องการที่น้อยลง ส่วนในตลาดองค์กรการอัพเกรดไป Windows 10 ยังอยู่ในขั้นทดลอง ทำให้การซื้อเครื่องใหม่ลดลง ยังไม่นับรวมถึงปัจจัยภายนอกเช่น อัตราแลกเปลี่ยนและสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงสินค้าคงคลังด้วย
หลังจากเผลอยืนยันว่า Chrome OS จะมี Play store และอนุญาตให้แอพ Android ขึ้นมารันบนระบบปฏิบัติการได้เต็มที่ ล่าสุด Google ก็แถลงเปิดตัวคุณสมบัตินี้อย่างเป็นทางการ พร้อมกับรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
กล่าวโดยสรุปคือแอพ Android บน Chrome OS จะมีสถานะเป็น first-class citizen หรือใช้งานได้เต็มที่ โดยเข้าถึงคุณสมบัติต่างๆ ของเครื่องได้ ทั้งการแจ้งเตือน, การรองรับการป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดและเมาส์, แสดงผลในสถานะที่เป็นหน้าต่างได้ 3 ขนาด, เข้าถึงไฟล์ในเครื่องได้ และสามารถเข้าถึง Wi-Fi หรือ Bluetooth ได้ หากได้รับอนุญาตจากผู้ใช้หรือผู้ดูแลระบบ ส่วนตัว Chrome OS ก็จะมาพร้อมกับ Play store เปิดโอกาสให้โหลดแอพ Android มาติดตั้งบน Chrome OS
เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่ Google ทำให้ Chrome OS สามารถรันแอพ Android ได้ แต่ก็เป็นเพียงแอพที่อยู่ในวงจำกัดเท่านั้น และเคยมีข่าวลือว่า Google กำลังทำให้ Chrome OS รองรับ Play store เพื่อเปิดทางให้แอพ Android สามารถขึ้นมาอยู่บน Chrome OS ได้อย่างไม่จำกัด ล่าสุด Google เผลอยืนยันเองว่า Play Store บน Chrome OS จะมาจริง
อิมเมจ Container-VM ของกูเกิลที่ให้บริการบน Google Compute Engine สำหรับการรัน container เป็นหลักเปลี่ยนจาก Debian ในรุ่นพรีวิวมาเป็นอิมเมจรุ่นใหม่ที่ดัดแปลงจาก Chromium OS แทนและปรับสถานะเป็นเบต้า
กูเกิลระบุว่าอิมเมจใหม่นี้ทำให้กูเกิลควบคุมกระบวนการจัดการความปลอดภัย และการปรับแต่งได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดีอิมเมจเหล่านี้ไม่ใช่ระบบปฎิบัติการเต็มรูปแบบ การใช้งานทั่วไปอาจจะไม่เหมาะนัก
Container-VM ตอนนี้มีสามรุ่นแบบเดียวกับเบราว์เซอร์คือ stable เวอร์ชั่น 50, beta เวอร์ชั่น 51, และ dev เวอร์ชั่น 52 ในตัวอิมเมจรองรับ docker, cloud-init, และ kubelet ฟีเจอร์สำคัญอีกอย่างคือ Auto Updates ที่จะเปลี่ยนอิมเมจทั้งระบบ แต่ต้องรอสั่งรีบูตจึงจะมีผล
ช่วงที่ผ่านมาเราเห็นผู้ผลิตจากหลากหลายค่าย ต่างเปิดตัวคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก (ขนาดประมาณแท่งขนมช็อคโกแลตอย่าง Mars) แต่เสียบใช้งานกับทีวีหรือจอที่รองรับ HDMI แล้วกลายเป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ หนึ่งในนั้นคือ Chromebit ผลิตโดย ASUS ที่เปิดตัวไปเมื่อเมษายนและวางจำหน่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
ผมมีโอกาสได้สั่งมาจาก Amazon เพื่อลองเล่นดูว่า Chromebit จะเป็นอย่างไรบ้างในการใช้งานจริงครับ ทั้งนี้ราคาปัจจุบันที่จำหน่ายใน Amazon อยู่ที่ 84.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ (สั่งกลับไทยมีภาษีเพิ่มที่ 52.95 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นมัดจำ ถ้าไม่เก็บก็ได้คืน) ส่วนสเปกอ่านจากข่าวเก่าครับ
กูเกิลพยายามหลอมรวม Chrome OS ให้ทำงานร่วมกับแอนดรอยด์มาเป็นเวลานาน ปีที่แล้วกูเกิลเปิดตัว App Runtime for Chrome (ARC) ทำให้แปลงไฟล์ APK จากแอนดรอยด์ไปเป็นแอปโครมได้ ตอนนี้ดูเหมือนกูเกิลจะกำลังพยายามฝัง Google Play เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของ Chrome OS โดยตรง
ผู้ใช้ reddit ชื่อว่า TheWiseYoda ระบุว่าเขาพบหน้าจอถามว่าต้องการติดตั้ง Google Play บนเครื่อง Chrome OS หรือไม่
หน้าจอเหล่านี้มาจากซอร์สโค้ดของ Chorme OS เอง โดยผมสำรวจซอร์สโค้ดดูพบว่าโค้ดเหล่านี้เพิ่มเข้ามาวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา
เราเห็นข่าว กูเกิลกำลังปรับหน้าตาของ Chrome ให้เป็น Material Design กันมาสักระยะ ล่าสุดใน Chrome 50 กูเกิลเริ่มเปลี่ยนมาใช้ดีไซน์แบบใหม่นี้แล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะบน Chrome OS เท่านั้น
Chrome เวอร์ชัน Material Design มีหน้าตาเปลี่ยนจาก Chrome ในปัจจุบันไม่เยอะนัก ตำแหน่งของปุ่มทั้งหมดยังเหมือนเดิม แต่ปรับปรุงสไตล์ สีสัน และไอคอน ให้เข้ามาตรฐาน Material ไปบางส่วน (จุดที่เห็นชัดที่สุดคือเมนูสามขีดด้านขวาบน กลายเป็นสามจุดเหมือนบน Android) ในภาพรวมคืออินเทอร์เฟซดูแบนลง[ได้]อีก และปรับขอบโค้งมนให้ดูแหลมคมมากขึ้น
กูเกิลยังคงเดินหน้าแปลงโฉมแอพ และบริการของตัวเองให้ใช้แนวทางออกแบบใหม่อย่าง Material Design อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดความคืบหน้าของฝั่ง Chrome เริ่มมีมาให้เห็นกันบ้างแล้ว
โดย Chrome โฉมใหม่สไตล์ Material Design ถูกเพิ่มมาใน Chrome OS เวอร์ชัน 50 (canary ตัวปัจจุบัน) เป็นที่เรียบร้อย แต่เนื่องจากยังไม่เสร็จดีจึงยังไม่ถูกตั้งเป็นค่ามาตรฐาน ตัวอินเทอร์เฟซนั้นจะไม่ต่างจากของเดิมมากนัก โดยการเปลี่ยนแปลงหลักๆ จะมีตั้งแต่การทำขอบให้คมขึ้น แอนิเมชันเวลาคลิกที่ไอคอน ออกแบบไอคอนใหม่ รวมถึงเปลี่ยนปุ่มเมนูจากสามขีด กลายเป็นสามจุดเหมือนใน Android แทน
Acer เปิดตัวสินค้าใหม่หลายอย่างในงาน CES 2016 เอาเฉพาะสินค้าฝั่งกูเกิล มีดังนี้
นอกจากการเปิดตัว ThinkPad รุ่นปี 2016 ไปยกใหญ่ก่อนงาน CES 2016 จะเริ่ม ยังมีอีกรุ่นอย่าง ThinkPad 13 โน้ตบุ๊กราคาไม่แพงรุ่นใหม่ ที่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Windows หรือ Chrome OS เป็นระบบปฏฺิบัติการหลัก
สเปคของ ThinkPad 13 ไม่สูงมากนักตามราคาเริ่มต้นที่เปิดมาเพียง 399 เหรียญ (รุ่น Windows 449 เหรียญ) รายละเอียดดังนี้
โปรแกรมเล่นมัลติมีเดียสารพัดประโยชน์ VLC ออกเวอร์ชัน Chrome OS เรียบร้อยแล้ว ตามนโยบายการออกซอฟต์แวร์บนระบบปฏิบัติการให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
ความน่าสนใจของ VLC บน Chrome OS คือไส้ในของมันเป็น VLC เวอร์ชัน Android ที่นำมารันบน Chrome OS ผ่าน App Runtime for Chrome (ARC) ที่กูเกิลเปิดตัวเมื่อต้นปีนี้ และเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของการผนวกสองระบบปฏิบัติการเข้าด้วยกัน
นักพัฒนา VLC อธิบายว่าตัว VLC ทำงานแบบเนทีฟ (C/C++/ASM) เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด แต่ Chrome OS อนุญาตให้รันเฉพาะเทคโนโลยีเว็บ จึงไม่สามารถพอร์ตโค้ดมาได้ การที่กูเกิลอนุญาตให้รัน ARC ได้จึงเป็นทางออกที่ดีของโครงการ และสามารถพอร์ตโค้ดจาก Android มาได้ถึง 95%
เว็บไซต์ Ars Technica ขุดประวัติการพัฒนาแท็บเล็ต Pixel C ของกูเกิลว่าแท้จริงแล้ว มันถูกพัฒนาขึ้นสำหรับระบบปฏิบัติการ Chrome OS แต่ถูกเปลี่ยนมาเป็น Android ในภายหลัง
Pixel C ใช้โค้ดเนมว่า "Ryu" ซึ่งเคยปรากฏตัวอยู่ในโค้ดของ Chrome OS มาก่อน จากการรวบรวมข้อมูลของ Ars พบว่า Ryu เป็นโค้ดเนมของฮาร์ดแวร์ ที่พัฒนาควบคู่มากับ Project Athena หรือการปรับปรุง Chrome OS ให้รองรับอินเทอร์เฟซแบบสัมผัส โครงการทั้งสองเริ่มต้นช่วงกลางปี 2014
เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาสำหรับ Chromebit หรือแท่งพีซีจิ๋วรัน Chrome OS จากความร่วมมือของกูเกิล และ ASUS ตอนนี้ก็เริ่มมีเว็บไซต์ต่างประเทศหยิบเอาเจ้า Chromebit มารีวิวให้ชมกันแล้ว
ขนาดของ Chromebit เรียกได้ว่าจิ๋วตามชื่อ เทียบกับ Chromecast รุ่นแรกที่เล็กมากๆ แล้ว Chromebit จะยาวกว่าเกือบเท่าตัว และหนากว่าพอสมควรที่ 17 มม. แต่เทียบกับแท่งพีซีจิ๋วในตลาดแล้วจัดว่าเล็กกว่ามาก หน้าตาตัวเครื่องดูดี แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไร เพราะสุดท้ายก็เสียบไว้ด้านหลังจออยู่ดี
ถ้าจำกันได้ ในงาน Computex เมื่อช่วงกลางปี ทาง ASUS เปิดตัวอุปกรณ์รัน Chrome OS มาหลายรุ่น หนึ่งในรุ่นที่น่าสนใจคงหนีไม่พ้น Chromebit พีซีตัวจิ๋วขนาดเท่ากับแฟลชไดรฟ์ที่มีข้อมูลแค่ราคาไม่เกิน 100 เหรียญ ตอนนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมวันวางขายอย่างเป็นทางการของเจ้าพีซีตัวจิ๋วพลัง Chrome OS มาแล้ว
สเปคเต็มๆ ของ Chromebit ใช้ชิป Rockchip RK3288 ซีพียูควอดคอร์ Cortex-A17 ความถี่ 1.8GHz คู่กับจีพียู Mali-T624MP4, หน่วยความจำภายใน 16GB แรม 2GB, ตัวเครื่องหนักเพียง 75 กรัม มีสองสีคือ ดำ และส้ม
ก่อนหน้านี้ Google ได้ปฏิเสธข่าวลือที่จะรวม Chrome OS เข้ากับ Android ไปรอบหนึ่งแล้ว ก็ได้เขียน blog ใหม่โดยมีชื่อว่า Chrome OS is here to stay
เนื้อหาภายในนั้น Google บอกว่า Chrome OS พัฒนามาแล้วกว่า 6 ปี ทำให้คอมพิวเตอร์ดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และปลอดภัยขึ้นสำหรับทุกคน และ Chrome OS ก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในห้องเรียน, ออฟฟิศ และบ้าน
หลังจากที่เมื่อวานนี้มีรายงานข่าวว่า Google กำลังจะรวม Chrome OS เข้ากับ Android ล่าสุดทางบริษัทได้ออกมาปฏิเสธข่าวลือดังกล่าวแล้ว
Hiroshi Lockheimer หัวหน้าผู้รับผิดชอบฝ่าย Android, Chrome OS และ Chromecast ออกมาปฏิเสธข่าวลือดังกล่าวผ่านทวิตส่วนตัวของเขา โดยระบุว่าบริษัทยังคงให้ความสำคัญกับ Chrome OS อยู่เหมือนเดิม และแม้แต่ตัวเขาเองก็ยังซื้อให้ลูกเพื่อเอาไปใช้ที่โรงเรียนอีกสองเครื่อง (ดูทวิตได้หลังข่าว)
Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่า กูเกิลมีแผนจะรวม Chrome OS เข้ากับ Android ในท้ายที่สุด แผนการนี้เริ่มมา 2 ปีแล้ว คาดว่าจะเริ่มเห็นผลในปี 2016 และเสร็จสมบูรณ์ในปี 2017
หลังรวมระบบปฏิบัติการแล้ว เราจะเห็น Android เป็นระบบปฏิบัติการเต็มรูปแบบสำหรับพีซี และสามารถดาวน์โหลดแอพได้ผ่าน Google Play Store ส่วน Chromebook อาจได้ชื่อเรียกใหม่ (Androidbook?) ในขณะที่เบราว์เซอร์ Chrome ยังคงเหมือนเดิม
ตัวระบบปฏิบัติการ Chrome OS เดิมจะยังเปิดซอร์สโค้ดเพื่อให้บริษัทอื่นนำไปใช้ต่อได้ และทีมวิศวกรของกูเกิลจะยังดูแลแก้บั๊กให้ต่อไป เพียงแต่จะหันไปเน้นที่ Android แทน
ก่อนหน้านี้กูเกิลเคยนำแอพ Android มารันบน Chrome OS บ้างแล้ว
ถ้าจำกันได้ ก่อนที่ Sundar Pichai จะขึ้นมารับตำแหน่งซีอีโอของกูเกิล ก่อนหน้านี้เขารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย Android แทน Andy Rubin มาก่อน และตอนนี้ก็ถึงเวลาแต่งตั้งหัวหน้าฝ่าย Android คนใหม่แล้ว
และหัวหน้าฝ่าย Android คนใหม่ที่เพิ่งขึ้นมารับตำแหน่งนี้ก็คือ Hiroshi Lockheimer รองหัวหน้าทีม Android คนปัจจุบันที่นอกจากจะขยับขึ้นมารับตำแหน่งใหญ่กว่าเดิมในทีม Android แล้ว ยังดูแลส่วนของ Chrome OS และ Chromecast ไปพร้อมกันเหมือนกับสมัยที่ Pichai ดูแลอยู่นั่นเอง
สำหรับผู้ใช้ LINE ที่อยู่บนระบบปฎิบัติการที่ LINE ไม่ได้รองรับโดยตรงอย่างเช่น ลินุกซ์หรือ Chrome OS เคยใช้งานผ่านเว็บได้ ตอนนี้บริการคล้ายๆ กันกลับมาอีกครั้งในฐานะแอพ Chrome
ตัวแอพยังมีความสามารถไม่เท่าบนโทรศัพท์ เช่น ซื้อสติกเกอร์ไม่ได้ และไม่มี Timeline ตัวแชตไม่สามารถส่งพิกัดได้แต่สามารถส่งไฟล์เอกสาร (ส่งไฟล์ใหญ่กว่า 1GB ได้ด้วย), ภาพหน้าจอ, และสติกเกอร์ ได้ตามปกติ นอกจากแชตแล้วก็ยังสามารถจดโน้ตในแท็บ Memo ได้
รองรับทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง Chrome OS, วินโดวส์, แมค, และลินุกซ์
หลังจากปล่อยให้ Google เป็นผู้เล่นในตลาดพีซีราคาถูกด้วย Chromebook อยู่นาน ล่าสุดมีข่าวว่า Acer เตรียมทำตลาดโน้ตบุ๊กราคาถูกในชื่อ Cloudbook ที่มาพร้อมกับ Windows 10 เวอร์ชันเดสก์ท็อป ซึ่งสามารถรันแอพพลิเคชัน x86 ได้ แต่อาจมีการจำกัดฟีเจอร์บางอย่าง
การเปิดตัวของ Acer Cloudbook จะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งของ Windows 10 ในตลาดพีซีราคาถูกได้มากขึ้น แม้ว่าผู้ผลิตอย่าง Asus, HP และ Acer เองมีโน้ตบุ๊กที่มีราคาต่ำกว่า 300 เหรียญสหรัฐบ้างแล้วก็ตาม แต่ Chromebook ยังคงครองตลาดนี้อยู่
ฟีเจอร์ cast ทั้งหน้าจอ ของ Chrome OS เริ่มทดสอบแล้วในเวอร์ชัน Canary โดยใช้การเชื่อมต่อผ่าน WiFi ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อสาย HDMI หรือติดตั้งส่วนขยายเพิ่มเติม
ฟีเจอร์ cast ทั้งหน้าจอนี้ เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากปกติที่จะ cast ได้เฉพาะผ่านเบราว์เซอร์ Google Chrome หรือผ่านโปรแกรมเล่นวิดีโอใน Chrome OS เท่านั้น
ในอนาคตคาดว่าฟีเจอร์นี้จะถูกพัฒนาต่อให้สามารถ Cast ในรูปแบบหลายหน้าจอได้ (Multi-monitor)
ที่มา - OMG! Chrome
ASUS เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Chrome OS รุ่นใหม่ 3 ตัวที่งาน Computex โดยบางตัวเคยเปิดตัวบนเว็บกูเกิลไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน
Box บริษัทเก็บข้อมูลกลุ่มเมฆที่เน้นตลาดลูกค้าองค์กร ได้พันธมิตรรายใหม่คือ Chrome OS ของกูเกิล โดยองค์กรที่ใช้ Chrome OS สามารถติดตั้งส่วนเสริม Box for Chrome OS เพื่อเข้าถึงไฟล์บน Box ได้ทันที
เมื่อติดตั้งส่วนเสริมแล้ว ในหน้าต่างเลือกไฟล์ (file picker) เราจะเห็นโฟลเดอร์หมวดของ Box เพิ่มเข้ามาเคียงคู่กับ Google Drive ที่มีให้ใช้งานเป็นดีฟอลต์อยู่แล้ว
ช่วงหลัง Box ทำผลงานด้านการสร้างพันธมิตรได้ดีทีเดียว นอกจาก Chrome OS ในข่าวนี้แล้ว ก็เพิ่งผสานตัวเองกับ Microsoft Office แล้วเช่นกัน