Intel Core
อินเทลเปิดตัว 7th Gen Intel Core หรือที่เราเรียกกันตามโค้ดเนมว่า Kaby Lake มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ยังจำกัดเฉพาะชิปรุ่นประหยัดพลังงานสำหรับโน้ตบุ๊กเท่านั้น เมื่อคืนนี้ที่งาน CES 2017 ก็ถึงคราวของ Kaby Lake เวอร์ชันเดสก์ท็อปสักที
อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า Kaby Lake เป็นซีพียูรุ่นแรกที่เลิกธรรมเนียม Tick-Tock ของอินเทล และเปลี่ยนมาเป็นรอบการพัฒนา 3 ปีแทน (Process-Architecture-Optimization) โดย Kaby Lake อยู่ในรอบของ Optimization คือไม่เปลี่ยนทั้งสถาปัตยกรรมและกระบวนการผลิต แต่เน้นรีดประสิทธิภาพให้ดีขึ้นแทน การเปลี่ยนแปลงจากรุ่นก่อน Skylake จึงไม่เยอะมากนัก
นอกจากข่าว Core i7 Extreme Edition แบบ 10 คอร์ อินเทลยังประกาศข่าวที่หลายคนอยากรู้ นั่นคือซีพียู Core รุ่นที่เจ็ด (7th Gen) รหัส Kaby Lake จะเปิดตัวและวางขายภายในปีนี้
Kaby Lake จะยังใช้กระบวนการผลิตขนาด 14 นาโนเมตร เท่ากับ Skylake รุ่นที่ขายอยู่ในปัจจุบัน (6th Gen) แต่จะปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมบ้างเล็กน้อย ถือว่า Kaby Lake เป็นซีพียูตัวแรกตามนโยบายการออกรุ่นแบบใหม่ของอินเทล ที่เลิกใช้ระบบ Tick-Tock เปลี่ยนมาเป็นรอบรุ่น 3 ปีแทน
อินเทลยอมรับปัญหาว่าซีพียู Core Skylake รุ่นล่าสุดมีบั๊กที่ทำให้ซีพียูหยุดทำงานไปชั่วขณะ ถ้ารันงานที่มีความซับซ้อนสูงบางอย่าง
บั๊กนี้ถูกค้นพบโดยกลุ่มนักวิจัย Great Internet Mersenne Prime Search (GIMPS) ที่ค้นหาจำนวนเฉพาะ (prime number) ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Prime95 คำนวณหาจำนวนเฉพาะใหม่ๆ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
อินเทลยอมรับว่ามีบั๊กนี้จริง และระบุว่ากำลังเร่งแก้ไขผ่านการอัพเดต BIOS ต่อไป
อินเทลเปิดตัวซีพียู Skylake ครบทั้งตระกูลหลังจากค่อยๆ เปิดตัวรุ่นเกมเมอร์ไปก่อนแล้ว
ซีพียูที่เปิดตัวพร้อมกันมีหลายสิบรุ่น แบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ตามนี้
หลังจากรอคอยกันมาแสนนาน ในที่สุดอินเทลก็เปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่หกรหัส "Skylake" เป็นที่เรียบร้อย โดยเริ่มจาก Core i5 และ Core i7 สำหรับเดสก์ท็อปของเกมเมอร์
ซีพียูสองตัวแรกของ Skylake คือ Core i7-6700K และ Core i5-6600K (ซีพียูรหัส K คือปลดล็อคสัญญาณนาฬิกาสำหรับคนที่ต้องการโอเวอร์คล็อค) ส่วนชิปเซ็ตที่ใช้คู่กันคือ Intel Z170 ตัวใหม่ โดยผู้ผลิตเมนบอร์ดอย่าง Asrock, Asus, EVGA, Gigabyte, MSI, Supermicro ก็พร้อมออกสินค้าแล้วเช่นกัน
อินเทลยังประกาศว่าจะออกซีพียู Core รหัส K สำหรับโน้ตบุ๊กตามมาในเร็วๆ นี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นซีพียูรหัส K บนโน้ตบุ๊กด้วย
ที่มา - Intel
เริ่มเข้าสู่ครึ่งหลังของปี ข่าวของ Intel Skylake หรือ Sixth Generation Core เริ่มกลับมาอีกครั้ง โดยเว็บไซต์ Computerworld อ้างแหล่งข่าววงในว่าเราจะได้เห็นซีพียู Skylake ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในเดือนสิงหาคมนี้แล้ว
Computerworld บอกว่าอินเทลจะใช้เวทีงาน Gamescom ที่เยอรมนี (5-9 สิงหาคม) นำ Skylake รุ่นซีพียูเดสก์ท็อปสำหรับการโอเวอร์คล็อคมาโชว์ต่อหน้าเกมเมอร์ทั้งหลาย จากนั้นจะเผยรายละเอียดเต็มๆ ในงาน Intel Developer Forum ที่ซานฟรานซิสโก (18-20 สิงหาคม) การวางขายสินค้าจริงน่าจะตามมาหลังงาน IDF ไม่นานนัก
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่ห้ารหัส Broadwell บนโน้ตบุ๊กไปแล้ว สิ่งที่หลายคนรอคอยคือเมื่อไร Core Broadwell รุ่นเดสก์ท็อปจะมาสักที
ที่งาน GDC 2015 อินเทลนำ Core Broadwell รุ่นเดสก์ท็อปมาโชว์เป็นครั้งแรก โดยรันประกอบกับจีพียู Iris Pro รุ่นล่าสุด และเผยข้อมูลว่าจะวางขายจริงช่วงกลางปีนี้ (mid-2015)
อินเทลยังให้ข้อมูลว่ากำลังร่วมพัฒนา DirectX 12 และ Vulkan เพื่อให้ทำงานบนฮาร์ดแวร์ของอินเทลได้อย่างเต็มที่
ที่มา - Intel Blog
ซีพียูรหัส Broadwell ของอินเทลถือว่าผิดรอบการออกปีละครั้งด้วยปัญหาการผลิต และที่ผ่านมาอินเทลก็แก้เกมด้วยการออกเฉพาะซีพียูพลังงานต่ำ Core M มาเพียงอย่างเดียวก่อนตั้งแต่กลางปี ในขณะที่ซีพียูสายหลักคือ Core i3/i5/i7 ต้องล่าช้าไปอีกครึ่งปี มาออกในปี 2015 แทน
วันนี้อินเทลเปิดตัว Core i3/i5/i7 รุ่นที่ห้าที่พัฒนาจากสถาปัตยกรรมย่อย Broadwell แล้ว ของใหม่ที่สำคัญของ Broadwell คือใช้การผลิตระดับ 14 นาโนเมตร, สมรรถนะกราฟิกดีกว่าเดิม 37%, แบตเตอรี่อยู่ได้นานขึ้น 1.5 ชั่วโมง, รองรับจอ 4K, Wireless Display (WiDi) และเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูดและท่าทาง Intel RealSense
ซีพียูรหัส Broadwell เลื่อนกว่ากำหนดมานานเกือบปีด้วยเหตุผลด้านการผลิต แต่ในที่สุดอินเทลก็ออกมาเผยข้อมูลของ Broadwell เป็นบางส่วน ก่อนจะเปิดเผยรายละเอียดแบบเต็มๆ ในงาน IDF 2014 เดือนกันยายน
Broadwell เป็นซีพียูในขา "tick" ของอินเทลตามยุทธศาสตร์ tick-tock โดยรอบนี้จะคงสถาปัตยกรรมซีพียูเดิมจาก Haswell (ปรับแต่งเล็กน้อย เปลี่ยนจากเดิมไม่เยอะ) แต่เปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตจาก 22 นาโนเมตร มาเป็น 14 นาโนเมตรแทน
ของใหม่ใน Broadwell จึงแยกเป็นส่วนของเทคโนโลยีการผลิต และส่วนของสถาปัตยกรรมซีพียูครับ เริ่มจากเทคโนโลยีการผลิตกันก่อนเลย (ข่าวนี้ภาพเยอะหน่อยนะครับ)
อินเทลออกซีพียูใหม่ทั้งหมด 4 ซีรีส์ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม Core "Haswell" และกลุ่ม Celeron/Pentium ที่ใช้แกน "Bay Trail" ดังนี้
อินเทลเริ่มโชว์ซีพียู Core รุ่นที่สี่รหัส Haswell แบบห้อยท้ายรุ่นด้วย "Y" (ประหยัดพลังงาน) ซึ่งมีค่า SDP (Scenario Design Point) ที่ 4.5 วัตต์ ลดลงจาก Core Ivy Bridge รุ่น SDP 7 วัตต์ ที่เปิดตัวเมื่อต้นปี
SDP เป็นการวัดพลังงานแบบใหม่ที่อินเทลคิดขึ้นมา เน้นไปที่พลังงานในการใช้งานทั่วไป ซึ่งแตกต่างไปจากค่า TDP ที่วัดค่าสูงสุดและมีตัวเลขสูงกว่า (อ่านรายละเอียดในข่าวเก่า)
แหล่งข่าวเปิดเผยกับเว็บไซต์ DigiTimes ว่า อินเทลกำลังพิจารณายกเลิกแบรนด์ Atom เนื่องจากผู้บริโภคมองว่าสินค้าที่ใช้ซีพียูแบรนด์นี้เป็นสินค้าระดับล่าง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ส่งผลต่อยอดขายแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนที่ใช้ซีพียูภายใต้แบรนด์นี้ โดยกระบวนการยกเลิกแบรนด์ Atom อาจจะเริ่มต้นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ แต่แหล่งข่าวก็ไม่ได้บอกว่าแล้วอินเทลจะไปใช้แบรนด์อะไรทำตลาดแทน Atom
DigiTimes ยังพูดถึงซีพียูรุ่นรองๆ อย่าง Pentium, Celeron และ Core i3 โดยระบุว่าบริษัทใกล้จะเปิดตัวซีพียู Core i3 บนสถาปัตยกรรม Haswell รวมถึงจะเปิดตัวซีพียู Pentium ที่ใช้สถาปัตยกรรม Haswell ในเดือนกันยายนนี้ และจะเปิดตัวซีพียู Celeron บนสถาปัตยกรรม Haswell ในไตรมาสแรกของปีหน้า
ก่อนหน้างาน Computex ไม่กี่วัน อินเทลก็เผยข้อมูลของซีพียู Core รุ่นที่สี่ (4th-generation Core) รหัส Haswell แล้ว
Haswell เป็นการออกผลิตภัณฑ์ในขา tock ตามยุทธศาสตร์ tick-tock ของอินเทล นั่นคือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมใหม่ แต่ยังใช้กระบวนการผลิต 22 นาโนเมตรเท่ากับรุ่นก่อน (Ivy Bridge) ซึ่งปีหน้าก็จะสลับเป็นขา tick คือใช้สถาปัตยกรรมเดิมของ Haswell แต่ลดขนาดลงมาเป็น 14 นาโนเมตร (Broadwell)
อินเทลยังยึดธรรมเนียมเดิมคือเปิดตัว Core i7 และ Core i5 ก่อนทั้งรุ่นเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก หลังจากนี้อีกสักพักจึงจะออกซีพียูรุ่นรองๆ อย่าง Core i3 และ Pentium ที่ใช้สถาปัตยกรรม Haswell ตามมา
ซีพียู
จากข่าว อินเทลเปิดตัว Core Ivy Bridge รุ่นกินไฟ 7 วัตต์ จนสร้างความฮือฮา เพราะลดอัตราการใช้พลังงานจาก Core Ivy Bridge รุ่นก่อนหน้า (17 วัตต์) ลงมาเกินครึ่ง
ปรากฏว่าเว็บไซต์ Ars Technica ไปขุดเอกสารทางเทคนิคของอินเทลแล้วพบว่า ตัวเลข 7 วัตต์นี้ไม่ใช่ thermal design power หรือ TDP ที่ใช้อ้างอิงกันเป็นมาตรฐานในวงการ แต่เป็นวิธีการวัดแบบใหม่ของอินเทลที่เรียกว่า scenario design power หรือ SDP ที่วัดจาก "การใช้งานโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน" ต่างไปจากระบบ TDP ที่วัดค่าสูงสุด ทำให้ตัวเลข SDP น้อยกว่า TDP มาก
เว็บไซต์ The Verge ได้รับโอกาสทดลองเล่นเครื่อง Surface with Windows 8 Pro ก่อนการผลิตขายจริง สิ่งที่น่าสนใจมีดังนี้
นอกจาก Atom สำหรับอุปกรณ์พกพา อินเทลยังเผยรายละเอียดของซีพียูฝั่งพีซีดังนี้
Core รุ่นที่สาม Ivy Bridge แบบกินไฟ (TDP) เพียง 7 วัตต์ (ตามข่าวก่อนหน้านี้)
กลุ่มเป้าหมายคือ ultrabook ที่ต้องการออกแบบฮาร์ดแวร์ให้บางและเบากว่าเดิม ตลาดนี้จะแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างกลุ่มอุปกรณ์พกพาที่ใช้ Atom (2 วัตต์) และ Core Ivy Bridge รุ่นปกติ (15-17 วัตต์)
โลกอินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของความเชื่อใจกันนับแต่วันแรก เราคงจำกันได้กับวันที่เราเคย finger ว่าใครออนไลน์บนเครื่องไหนกันบ้าง เพราะยุคแรกของอินเทอร์เน็ตนั้นมันเป็นช่องทางเชื่อมต่อระหว่างนักวิจัยเป็นหลัก