Cyanogen Inc.
ปีที่แล้ว Cyanogen Inc. เจ้าของรอมโอเพนซอส CyanogenMod ประสบปัญหาภายในครั้งใหญ่ ผู้บริหารลาออก ทีมงานวงแตก จนสุดท้าย ทีม CyanogenMod แยกตัวไปทำ LineageOS ก่อนที่ข่าวคราวของ Cyanogen Inc. จะเงียบหายไปค่อนปี
ล่าสุดที่ Cyanogen Inc. หายหน้าไปเหมือนจะหายไปชุบตัวก่อนที่จะกลับมาในชื่อใหม่ Cyngn โดยซีอีโอยังเป็น Lior Tal คนเดิม พร้อมเปลี่ยนทิศทางและวิสัยทัศน์ของบริษัทแบบหันหัวเรือ จากที่ทำรอมโอเพนซอส คราวนี้บริษัทตั้งใจจะพัฒนาเทคโนโลยีไร้คนขับ โดยได้ทีมงานและผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทรถยนต์มาร่วมทีมบ้างแล้ว ขณะเดียวกันก็กำลังประกาศหางานในหลายตำแหน่งด้วย
การล่มสลายของอาณาจักร Cyanogen ส่งผลสะเทือนต่อผู้ผลิตสมาร์ทโฟนหลายยี่ห้อ ที่มีข้อตกลงใช้รอมจาก Cyanogen
หนึ่งในนั้นคือ WileyFox แบรนด์สมาร์ทโฟนรายย่อยจากอังกฤษ ที่ล่าสุดประกาศย้ายจาก Cyanogen ไปเป็น Pure Android แทน
WileyFox แถลงการณ์บน Facebook ว่าปัญหาเรื่อง Cyanogen เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ล่วงหน้า และบริษัทมั่นใจว่าจะย้ายระบบปฏิบัติการได้อย่างราบรื่น กระบวนการย้ายจะใช้อัพเดตผ่าน OTA ทั้งหมดกับมือถือทุกรุ่น และบริษัทจะโฟกัสไปที่การอัพเกรดเวอร์ชันรอมเป็น Android 7.0 ให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2017 ต่อไป
ต่อจากข่าว ปิดตำนาน Cyanogen และ CyanogenMod ทีมงานแยกไปทำโครงการใหม่ Lineage
เดิมที Cyanogen Inc. จะหยุดให้บริการเซิร์ฟเวอร์กับ CyanogenMod ในวันที่ 31 ธันวาคม 2016 แต่หลังข่าวประกาศออกไปวันเดียว เว็บไซต์ CyanogenMod ก็ใช้งานไม่ได้แล้วจากปัญหา DNS ซึ่งคาดว่าทาง Cyanogen Inc. ไม่พอใจและปิดเซิร์ฟเวอร์ก่อนกำหนด (อย่างไรก็ตาม บัญชี Twitter ของ @CyanogenMod ดูจะยังเป็นของทีมงาน CyanogenMod อยู่)
บริษัท Cyanogen Inc. ประกาศหยุดออกรอม Cyanogen OS, ปิดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้คอมไพล์รอมและให้ดาวน์โหลดรอม, ปิดเซอร์เวอร์ที่ให้บริการออนไลน์อื่นๆ ทั้งหมดในวันที่ 31 ธันวาคม 2016 และขอให้ผู้ใช้ย้ายไปใช้รอมโอเพนซอร์ส CyanogenMod แทน
แต่เรื่องไม่จบแค่นั้น ฝั่งโครงการ CyanogenMod ที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ของบริษัท Cyanogen ก็ประกาศแยกตัว (fork) ไปทำโครงการใหม่ชื่อ Lineage โดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการผูกกับแบรนด์ Cyanogen ที่อาจขายต่อให้บริษัทอื่นๆ ในอนาคต ไหนๆ Cyanogen ต้องปิดตัวแล้ว ขอไปเริ่มสร้างแบรนด์ใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยดีกว่า
จากข่าววันก่อนที่ Steve Kondik ผู้ร่วมก่อตั้ง Cyanogen Inc. ออกมาโพสต์ระบายความอัดอั้น และบอกเป็นนัยว่าจะลาออก ขณะนี้ฝั่ง Cyanogen Inc. ได้โพสต์ยืนยันบนบล็อกของบริษัทแล้วว่า Kondik ลาออกจริง
จากบล็อกดังกล่าวมีสองประเด็นใหญ่ คือบริษัท Cyanogen Inc. ก็ยืนยันว่า Kondik ได้แยกทางกับบริษัทแล้ว เปิดโอกาสให้เขาได้ทำในสิ่งที่เห็นว่าเหมาะสม พร้อมกับอวยพรให้โชคดีในอนาคต
ส่วนประเด็นที่สองคือบริษัทจะ "รวมเป็นหนึ่ง" (consolidate) เพื่อให้แข็งแกร่งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (แปลว่าที่ Kondik บอกว่าบริษัทแตกเป็นสองพวกก็น่าจะจริง?) และจะย้ายออฟฟิศจากเมืองซีแอตเทิล ไปอยู่เมืองพาโลอัลโต (Palo Alto) รัฐแคลิฟอร์เนียแทน โดยมี "คนบางกลุ่ม" ไม่สามารถย้ายตามไปได้ ซึ่งบริษัทก็ขอบคุณที่ช่วยให้บริษัทเติบโตและประสบความสำเร็จมาจนถึงตอนนี้
นอกจากนี้ Cyanogen Inc. ยังยืนยันว่าบริษัทมีเงินทุนเพียงพอ และจะจ้างคนเข้ามาทำงานเพิ่มต่อไป
ที่มา - Cyanogen Inc.
ไม่กี่วันก่อนเพิ่งมีข่าวว่า Steve Kondik ผู้ก่อตั้งโครงการรอม CyanogenMod และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Cyanogen Inc. ร่วมกับ Kirt McMaster ว่าเขาอาจต้องออกจากบริษัท ล่าสุดวันนี้ Kondik โพสต์เปิดเผยความในใจเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
เขาบอกว่าความตั้งใจเริ่มแรกของ Cyanogen Inc. คือการทำรอมที่จะพรีโหลดมาพร้อมสมาร์ทโฟน เขาจึงจ้างคนมากมายมาร่วมโครงการนี้และไปตั้งบริษัทที่เมืองซีแอตเทิล หลังจากนั้นไม่นานเมื่อเริ่มเห็นความสำเร็จ ผู้ร่วมก่อตั้งชื่อ Kirt McMaster ซึ่งดำรงตำแหน่งซีอีโอด้วยก็เริ่มไม่พอใจที่ตนต้องเป็นคนบริหารแต่ไม่ได้เป็นคนวางวิสัยทัศน์ McMaster จึงเริ่มไปดีลธุรกิจแบบแย่ๆ
ชะตากรรมของบริษัท Cyanogen Inc. ยังดูถดถอยต่อไปเรื่อยๆ หลังเปลี่ยนตัวซีอีโอและปรับโมเดลธุรกิจเมื่อเดือนตุลาคม
ล่าสุด Android Police รายงานข่าววงในว่า Cyanogen Inc. จะปิดสำนักงานในเมืองซีแอทเทิลช่วงสิ้นปีนี้, ปลดพนักงานออก, มีพนักงานบางส่วนได้รับข้อเสนอให้ย้ายไปสำนักงานในเมือง Palo Alto แทน
นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า Steve Kondik ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท (เจ้าของชื่อ Cyanogen) อาจต้องออกบริษัทไป หลังจากเมื่อเดือนตุลาคม เขาถูกย้ายไปเป็นตำแหน่งลอย Chief Science Officer ที่ไม่มีบทบาทอะไรมากนักในงานบริหาร
Kirt McMaster ซีอีโอของ Cyanogen ผู้วาดฝันว่าจะชิง Android มาจากกูเกิล ประกาศลาออกจากตำแหน่งซีอีโอแล้ว โดยเขาจะย้ายไปเป็นประธานบอร์ด (executive chairman) และเลื่อน Lior Tal ซีโอโอของบริษัทมาเป็นซีอีโอแทน
ในโอกาสเดียวกัน Cyanogen Inc. ก็ประกาศทิศทางใหม่ของบริษัท เลิกเน้นการทำ Cyanogen OS ทั้งตัวแล้วขายไลเซนส์ให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ เปลี่ยนมาเป็น Cyanogen Modular OS แยกฟีเจอร์ของ OS เป็นโมดูล แล้วขายไลเซนส์เฉพาะบางโมดูลแทน บริษัทอธิบายว่าผู้ซื้อไลเซนส์ไปสามารถนำโมดูลของ Cyanogen ไปใช้กับรอมใดก็ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นรอมที่พัฒนาเอง หรือจะใช้กับ stock Android ก็ได้หมด
จากข่าวลือ Cyanogen Inc. ประสบปัญหา ต้องปลดพนักงาน และอาจต้องเลิกทำ OS ที่ก่อให้เกิดคำถามมากมาย ล่าสุด Steve Kondik ผู้ก่อตั้งโครงการ CyanogenMod และบริษัท Cyanogen Inc. ออกมาแถลงข้อมูลบางส่วนผ่านบล็อกของบริษัทแล้ว
Kondik ยืนยันว่าทั้งโครงการ CyanogenMod และบริษัท Cyanogen Inc. จะยังอยู่เหมือนเดิมไม่หายไปไหน เขายอมรับว่า Cyanogen Inc. มีทั้งเรื่องที่ทำสำเร็จและล้มเหลว แต่ก็บอกว่าจะแก้ไขปัญหาต่อไป และปฏิเสธข่าวว่า Cyanogen Inc. จะเลิกทำรอมแล้วหันไปทำแอพแทน
นอกจากนี้ Cyanogen Inc. จะยังสปอนเซอร์โครงการ CyanogenMod ต่อไป รวมถึงตัวเขาเองก็ยังมีบทบาทในการพัฒนา CyanogenMod ดังเดิม แต่ก็มีแผนจะประกาศข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคต
บริษัทที่มีข่าวความเคลื่อนไหวเยอะพอควรเมื่อปีที่แล้วคือ Cyanogen Inc. ที่ประกาศชิงส่วนแบ่งตลาด Android จากกูเกิล แต่ปีนี้กลับเงียบลงไปมาก
ล่าสุดเริ่มมีข่าวหลุดออกมาแล้วว่า Cyanogen Inc. กำลังประสบปัญหา จนต้องปลดพนักงานออกบางส่วน และอาจต้องเลิกทำระบบปฏิบัติการ Cyanogen OS หันไปทำแอพแทนด้วย
เว็บไซต์ Android Police รายงานข่าวว่าบริษัท Cyanogen Inc. ปลดคนออก 30 คนจาก 136 คน หรือประมาณ 20% โดยพนักงานส่วนที่โดนปลดหลายคนทำงานในฝ่าย CyanogenMod ที่ทำรอมโอเพนซอร์สด้วย งานนี้ในข่าวบอกว่า Steve Kondik ผู้ก่อตั้ง CyanogenMod และบริษัท Cyanogen Inc. เป็นคนมาพบพนักงานที่โดนปลดด้วยตัวเอง
Cyanogen Inc. ผู้พัฒนา CyanogenMod ประกาศแพลตฟอร์ม MOD ที่จะเปิด API ให้มากกว่าแอนดรอยด์ปกติ ทำให้ผู้พัฒนาแอปสามารถใส่ความสามารถใหม่ๆ เข้าไปในโทรศัพท์เพิ่มเติม โดยโฆษณาว่าเป็นยุค "หลังยุคแอป"
ยังไม่แน่ชัดนักว่า API ใหม่เพิ่มเติมนี้จะมีความสามารถอะไรบ้าง ตัวอย่าง MOD ที่เปิดเผยตอนนี้เช่น การกรองเบอร์โทรเข้า, การแสดงโพสสังคมออนไลน์บนหน้าจอล็อค, การใช้ Skype โดยตรงผ่าน dialer, การตั้งค่าต่างๆ ผ่าน Cortana, จดโน้ตได้จากทุกจอผ่าน OneNote, และเปลี่ยนโหมดกล้องเป็น Hyperlapse
นอกจากโครงการฝั่งซอฟต์แวร์แล้ว Cyanogen ยังเปิดตัวโครงการ MOD Ready ให้ผู้ผลิตมาขอรับรองได้ว่าโทรศัพท์จะทำงานร่วมกับ MOD ได้
Cyanogen OS ออกอัพเดตเวอร์ชันใหม่ 12.1.1 เพิ่มฟีเจอร์ Cortana เข้ามาอย่างเป็นทางการ หลังจากประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์เมื่อปีที่แล้ว
ความสามารถของ Cortana บน Cyanogen OS ก็เทียบเท่าแอพ Cortana for Android แต่จุดที่เพิ่มเข้ามาคือเราสามารถพูดคำว่า Hey Cortana เพื่อสั่งงานได้จากทุกหน้าจอ และเข้าถึงระบบเชิงลึก ทั้งเปลี่ยนค่าเครือข่ายและปิดเครื่องได้ด้วย
ใครที่ตามข่าวจาก Blognone คงจะทราบว่าระบบปฏิบัติการ CyanogenMod ผนวก Cortana โดย CyanogenMod ได้รับการปรับแต่งให้ Cortana ทำงานได้เป็นอย่างดีกว่าระบบปฏิบัติการ Android อื่น
ล่าสุด มีการเปิดเผยว่า Cortana จะถูกผนวกลง CyanogenMod 12.1 ลึกกว่าเดิม (deeper integration) โดยสามารถใช้ Cortana เปลี่ยนโหมดเครือข่าย ตั้งให้อุปกรณ์เข้าโหมดสลีป และสั่งปิดอุปกรณ์ได้
ที่มา: WinBeta
หลังจากไปทุ่มเทกับ Cyanogen OS จนมีแอพใหม่ๆ ผุดมาหลายตัว ซึ่งหลายตัวนั้นพรีโหลดไปกับเครื่องที่รัน Cyanogen OS ทำให้ผู้ใช้เวอร์ชันคอมมิวนิตี้อย่าง CyanogenMod ยังไม่สามารถใช้ได้ สำหรับคนที่รอ ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วหลังจาก Cyanogen เพิ่งออกมาเปิดตัวชุดรวมแอพของตัวเองในชื่อ C-Apps
C-Apps เป็นชุดรวมแอพที่พรีโหลดไปกับ Cyanogen OS ประกอบไปด้วยหกฟีเจอร์หลักได้แก่ Audio FX แอพปรับเสียงระดับโปร, แอพโทรศัพท์พร้อมฟีเจอร์ของ Truecaller, แอพอีเมลที่ใช้ฟีเจอร์จาก Boxer, ระบบธีม และร้านขายธีม, แอพแกลเลอรีพร้อมระบบจัดการภาพซ้ำซ้อน และฟีเจอร์เพิ่มเติมใน Cyanogen Account โดยทั้งหมดสามารถใช้งานได้กับ CyanogenMod 12.1 ขึ้นไปเท่านั้น
การต่อสู้ของ Cyanogen เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของตลาดสมาร์ทโฟนขนาดใหญ่ของโลกอย่างอินเดียยังคงมีอุปสรรคขัดขวาง หลังจากมีปัญหาด้านสัญญาการใช้งานระหว่าง Micromax กับ OnePlus เมื่อปีก่อนจนต้องเลิกรากับรายหลังไป ตอนนี้ความสัมพันธ์กับ Micromax เองก็เริ่มมีท่าทีแปลกๆ เช่นกัน
Kirt McMaster ซีอีโอบริษัท Cyanogen, Inc. ให้สัมภาษณ์ที่อังกฤษ เปิดเผยข้อมูลว่า Cyanogen OS เวอร์ชันหน้าจะผสานระบบผู้ช่วยส่วนตัว Cortana ของไมโครซอฟท์มาด้วย
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจนัก เพราะก่อนหน้านี้ McMaster ออกมาพูดเรื่องการเปิดให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาเชื่อมต่อบริการกับ Android และเคยมีข่าวลือว่าไมโครซอฟท์จะเข้ามาซื้อหุ้น แม้สุดท้ายจบลงด้วยข้อตกลงพรีโหลดแอพไมโครซอฟท์แทน แต่ก็แสดงให้เห็นสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองบริษัท
เพิ่งมีแบรนด์ ZUK ในเครือของ Lenovo ประกาศใช้ Cyanogen OS ไปได้ไม่กี่วัน ล่าสุด WileyFox แบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสัญชาติอังกฤษประกาศเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่ใช้ Cyanogen OS ทีเดียวสองรุ่นรวดในชื่อรุ่น Storm และ Swift แล้ว
ทั้ง Storm และ Swift เป็นสมาร์ทโฟนราคากลางๆ โดย Storm สเปคสูงกว่าเล็กน้อย ทั้งสองรุ่นมีสเปคดังนี้
ZUK แบรนด์มือถือจีนหน้าใหม่จากเซินเจิ้นที่ได้รับการลงทุนจาก Lenovo และเพิ่งก่อตั้งบริษัทเมื่อต้นปี (ชื่อบริษัทจริงๆ คือ ShenQi แต่ใช้แบรนด์ ZUK สำหรับมือถือ) ประกาศความร่วมมือกับ Cyanogen, Inc. เพื่อนำรอม Cyanogen OS 12.1 ไปใช้งานกับมือถือตัวแรกของบริษัท ZUK Z1 แล้ว
ZUK Z1 เพิ่งเปิดตัวในจีนเมื่อไม่นานมานี้ สเปกคร่าวๆ มีดังนี้ (สเปกละเอียด)
Kirt McMaster ซีอีโอฝีปากกล้าของบริษัท Cyanogen Inc. มาพูดที่งาน Rise Conference เล่ามุมมองและวิสัยทัศน์ของเขาต่อ Android ว่ายังเติบโตได้ดีมาก
เขาบอกว่าเราจะได้เห็น Android หลักห้าพันล้านเครื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า และ Cyanogen หวังจะชิงส่วนแบ่งมาได้สัก 2 พันล้านเครื่อง โดยอาศัยจุดเด่นด้านการเปิดกว้างให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาเชื่อมต่อบริการได้มากกว่า และใส่ใจกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์มากกว่ากูเกิล
Cyanogen ยังเดินหน้าแผนเป็นแพลตฟอร์มมือถือขั้วที่สาม อย่างต่อเนื่อง เพิ่งประกาศบุกอินโดนีเซียไปได้ไม่นาน วันนี้จับมือกับ Playphone แอพสโตร์ทางเลือกสำหรับแอนดรอยด์แล้ว
Playphone เป็นแอพสโตร์แอนดรอยด์ที่เน้นคอนเทนต์จำพวกเกม (มีแอพจากรายใหญ่อย่าง Square Enix อยู่ด้วย) โดยเน้นไปที่การให้บริการครบวงจรในส่วนของเกมทั้งฟีเจอร์เชื่อมต่อกับเพื่อน ผังคะแนน แนะนำเกม และฟีเจอร์โซเชียลอื่นๆ รวมถึงจุดเด่นอีกอย่างคือการให้บริการในประเทศที่ Play Store เข้าไม่ถึง
บริษัท Cyanogen ขยับขยายตัวเองออกจากตลาดอินเดียมายังอินโดนีเซียแล้ว ผ่านความร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ Smartfren ออกมือถือรุ่น Andromax Q ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Cyanogen OS โดยตรง
Andromax Q เป็นมือถือราคาถูก ใช้หน้าจอ 4.5" FWVGA, ซีพียู Snapdragon 410, แรม 1GB, รอม 8GB, กล้อง 2MP/5MP วางขายในราคา 1,299,000 รูเปียห์ หรือประมาณ 3,300 บาท มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Cyanogen OS 12 ที่อิงอยู่บน Android 5.0 Lollipop
Smartfren ยังมีมือถืออีกรุ่นที่สเปกเท่ากันคือ Andromax Qi แต่ไม่ได้ใช้รอมจาก Cyanogen ครับ
หลังจากเริ่มมีสมาร์ทโฟนที่ขายในอินเดียเริ่มใช้ระบบปฏิบัติการ Cyanogen OS ไปบ้าง วันนี้ Cyanogen ก็ประกาศตั้งสำนักงานในอินเดียอย่างเป็นทางการ ด้วยเงินลงทุนรอบล่าสุดกว่า 80 ล้านเหรียญ
สำนักงาน Cyanogen ในอินเดียจะมีพนักงานเริ่มต้นประมาณ 50 คน (ราว 1 ใน 3 ของทั้งหมด) งานหลักๆ จะเป็นการแปล Cyanogen OS ในหลายภาษาทางการของอินเดีย และอีกส่วนจะเป็นงานควบคุมคุณภาพ โดยสำนักงานจะแล้วเสร็จภายในสามเดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ Cyanogen ยังมองถึงโอกาสในการเข้าซื้อบริษัทหน้าใหม่ในอินเดียเพื่อเสริมทัพทั้งพนักงาน และเทคโนโลยีอีกด้วย โดยมีแหล่งทุนรายใหญ่เป็น Premji Invest ที่จะสนับสนุนการเติบโตด้านนี้
ความขัดแย้งระหว่าง OnePlus กับ Micromax ในอินเดีย ในประเด็นเรื่องสิทธิการใช้รอม Cyanogen OS ยุติลงแล้ว โดยทั้ง OnePlus และ Micromax ตกลงยอมความกันได้สำเร็จ ทั้งสองฝ่ายจะถอนคดีฟ้องร้องทั้งหมดออกจากศาล
ผลลัพธ์คือผู้ใช้โทรศัพท์ OnePlus One ในอินเดียจะสามารถใช้งานและอัพเดตรอม Cyanogen OS ได้ดังเดิม เช่นเดียวกับผู้ใช้ OnePlus One ในประเทศอื่นๆ ครับ (อย่างไรก็ตาม ทิศทางของ OnePlus ก็คือหันไปทำรอม Oxygen OS ของตัวเองในระยะยาวอยู่ดี)
ที่มา - OnePlus India
ผู้ใช้สมาร์ทโฟนหลายรายน่าจะคุ้นเคยกับการใช้แอพสำหรับบอกว่าสายที่โทรเข้ามานั้นเป็นใคร ในกรณีที่เป็นเบอร์แปลกหน้าเพื่อป้องกันตัวเองจากสายเรียกเข้าที่ไม่ต้องการ (เช่นประกันฯ หรือบัตรเครดิต เป็นต้น)
ล่าสุด Cyanogen ประกาศความร่วมมือกับ Truecaller ผู้พัฒนาแอพสำหรับบอกข้อมูลเบอร์แปลกหน้า โดยมีแผนจะรวมฟีเจอร์ดังกล่าวเข้าไปไว้ในแอพโทรศัพท์ของ Cyanogen ในเร็ววัน
สำหรับฟีเจอร์ของ Truecaller ที่จะมีในแอพโทรศัพท์ของ Cyanogen จะเป็นการบอกข้อมูลของสายเรียกเข้าดังกล่าวว่าเป็นใคร โทรมาจากที่ไหน และเป็นสแปมหรือไม่ ในกรณีที่มีหมายเลขดังกล่าวอยู่ในฐานข้อมูล โดยผู้ใช้สามารถเลือกที่จะบล็อค หรือไม่รับสายได้ ซึ่งฟีเจอร์นี้สามารถปิดให้ไม่ใช้ได้เช่นกัน
เมื่อปีก่อน Cyanogen ได้จับมือกับพาร์ทเนอร์รายแรกให้หยิบ Cyanogen OS ไปใช้กับสมาร์ทโฟนได้สำเร็จในรุ่น OnePlus One ไปแล้ว ปีนี้ก็เตรียมขยายแผนอีกรอบ โดยมุ่งเป้าไปที่ประเทศจีนเป็นหลัก
แผนดังกล่าวมาจาก Kirt McMaster ซีอีโอของ Cyanogen ที่ระบุว่ากำลังสร้างพันธมิตรรายใหม่ๆ ในประเทศจีน โดยจะใช้จุดเด่นจากการเป็นระบบปฏิบัติการที่สะอาด รวดเร็ว แต่คงต้องปรับแต่งให้เข้ากับผู้ผลิตในประเทศจีนมากกว่านี้ (เนื่องจากบริการของกูเกิลหลายอย่างใช้ในจีนไม่ได้)
สำหรับผลงานกับ OnePlus One เมื่อปีที่แล้ว แม้จะสร้างชื่อให้ได้พอสมควร แต่ก็มีปัญหากันจน OnePlus เข็นระบบปฏิบัติการของตัวเองอย่าง Oxygen OS มาเป็นทางเลือกในภายหลัง