AIS ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล (Thailand Cyber Wellness Index) ประจำปี 2024 โดยในภาพรวม ค่าเฉลี่ยของปีนี้อยู่ที่ระดับ "พื้นฐาน"
ดัชนี้ชี้วัดที่ AIS จัดทำจะมีทั้งหมด 7 ด้านคือ (1) การใช้ดิจิทัล, (2) การเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล, (3) ความปลอดภัยไซเบอร์, (4) การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy), (5) การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์, (6) การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล, และ (7) การแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล โดยสำรวจกับคนไทยทุกภาคทุกจังหวัด 50,965 คน ในทุกๆ ช่วงวัย
หน่วยงานกำกับเนื้อหาออนไลน์ของจีน (CAC) เตรียมออกกฎหมาย ให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ควบคุมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (cyberbullying) ทั้งบนโซเชียลมีเดียและไลฟ์ หลังมีประเด็น ที่ผู้หญิงคนหนึ่งตัดสินใจฆ่าตัวตาย เพราะถูกชาวเน็ตรุมวิจารณ์เกี่ยวกับการแต่งตัวของเธอที่ดูดีเกินกว่าคนที่เพิ่งสูญเสียลูกชายไป ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นตัวจุดประกายเกี่ยวกับภัยจากการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ในจีน
Twitter กำลังพัฒนาฟีเจอร์ลดปัญหาการคุกคามกันบนออนไลน์ โดยให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วม ช่วยคิดว่าฟีเจอร์ที่ป้องกันได้ควรเป็นแบบไหน Dominic Camozzi ดีไซเนอร์ด้านความเป็นส่วนตัวของ Twitter โพสต์รูปหน้าตาฟีเจอร์ป้องกันคุกคามหลายตัว และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้งาน
การเล่นเกมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และมีการสื่อสารด้วยข้อความเสียง อาจทำให้ตรวจจับการกลั่นแกล้งและการคุกคามยาก เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ผู้ปกครองกังวลเวลาเด็กๆ เล่นเกม สตาร์ทอัพจากฟิลาเดลเฟียชื่อว่า Kidas ทำอุปกรณ์เพื่อมาช่วยแก้ปัญหาจุดนี้ เป็นอุปกรณ์เล็กๆ ที่มาพร้อมซอฟต์แวร์ตรวจจับพฤติกรรมที่มีท่าทีข่มขู่คุกคาม สามารถต่อเข้ากับ Xbox ได้
ดีแทคเผยผลการศึกษาโดยร่วมกับ Wisesight ผู้ให้บริการวิเคราะห์ Big Data ในไทยศึกษา Social listening tool เรื่องการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ พบว่าการแกล้ง ล้อเลียน เหยียดยังคงเป็นเรื่องรูปลักษณ์ เพศวิถี และกระจุกตัวอยู่ในวงการการศึกษา ครูเองก็ยังคงขาดความเข้าใจและไม่มีวิธีการรับมือต่อปัญหา ขณะเดียวกัน ดีแทคยังผุดแคมเปญ #คำด่าไหนฝังใจที่สุด ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
ทวิตเตอร์ยืนยันว่ากำลังพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยจำกัดการตอบกลับทวีตให้เป็นเพียงคนบางกลุ่ม จากปัจจุบันที่อนุญาตแบบทุกคน (Global) เพื่อลดการคุกคามในการตอบทวีต
ตัวเลือกที่จะมีให้จำกัดการตอบทวีต จะมีตั้งแต่ไม่จำกัดเลย (Global), เฉพาะคนที่คุณติดตามและเมนชั่น (Group), คนที่อยู่ในการสนทนาเท่านั้น (Panel) ไปจนถึงห้ามใครตอบทวีตเลย (Statement) เพื่อให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสร้างบัญชีส่วนตัวเพียงเพื่อโพสต์ทวีตแต่ไม่ต้องการให้คนแปลกหน้าเข้ามาตอบทวีตด้วยคำพูดที่ไม่พึงประสงค์
จากประเด็น ซอลลี่ หรือ ชเว จินรี อดีตสมาชิกวง f(x) ฆ่าตัวตาย สังคมเกาหลีก็ตื่นตัวเรื่อง cyber bullying ล่าสุด เว็บพอร์ทัล Daum ของเกาหลีที่ Kakao Corp เป็นเจ้าของ ทดลองปิดไม่ให้คอมเม้นท์ใต้ข่าวบันเทิงเป็นการชั่วคราว หวังลดคอมเม้นที่กระทบจิตใจคนที่เป็นข่าว
Yeo Min-soo และ Joh Su-yong ผู้บริหารสูงสุดของ Kakao Corp ระบุว่า การคอมเม้นใต้ข่าวสารเป็นการแสดงความคิดเห็นสาธารณะที่ดี แต่มันก็มีผลข้างเคียง โดยเฉพาะข่าวบันเทิง Daum ยังจะเพิ่มการตรวจสอบความคิดเห็น และคอมเม้นท์หมิ่นประมาทด้วย
ดีแทคร่วมกับเทเลนอร์ กรุ๊ป และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมมือกันเปิดเว็บไซต์ SafeinternetForKid.com เป็นแหล่งข้อมูลให้ครู ผู้ปกครองและนักเรียน เข้าไปเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยที่มาจากโลกออนไลน์ (Digital Resilience)
Instagram ประกาศเพิ่ม 2 ฟีเจอร์ใหม่เพื่อลดปัญหาการกลั่นแกล้งผู้อื่นผ่านโลกออนไลน์ (cyberbullying) ซึ่งเป็นประเด็นที่ Instagram พยายามแก้ไขมาโดยตลอด
ฟีเจอร์แรกคือการตรวจสอบคอมเมนต์ โดยใช้ AI ตรวจข้อความก่อนถูกโพสต์ว่ามีเนื้อหารุนแรงหรือไม่ แล้วขึ้นข้อความเตือนถามซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้โอกาสผู้คอมเมนต์ได้แก้ไขข้อความก่อนที่จะโพสต์ไป แล้วเสี่ยงต่อการถูกรายงาน เบื้องต้น Instagram พบว่าฟีเจอร์ช่วยให้คนยอมแก้ไขข้อความได้มากพอสมควร
ดูเหมือนว่าอินสตาแกรมจะกำลังวางแผนที่จะร่วมกับโรงเรียนเพื่อที่จะทำ School Stories ซึ่งเป็นสตอรี่ที่สามารถดูได้แค่นักเรียนของโรงเรียนที่กำลังเรียนอยู่เท่านั้น โดยมีเป้าหมายในการกำจัดการกลั่นแกล้งในโรงเรียน ด้วยการใช้ Moderator เป็นคนควบคุมคอนเทนต์ที่ปรากฏในสตอรี่
โค้ดนี้ถูกค้นพบโดย Jane Manchun Wong นักข่าวของ TechCrunch ซึ่งในโค้ดยังระบุอย่างชัดเจนด้วยว่ามีการตรวจสอบสตอรี่ทุกครั้งเพื่อสังคมของโรงเรียนที่ปลอดภัยและเป็นระเบียบ (Only people in the %1$s community can see this. School stories are manually reviewed to make sure the community is safe.)
ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่อินสตาแกรมพยายามจะแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ต แต่ในตอนนี้อินสตาแกรมยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้
ที่มา : TechCrunch
Instagram ประกาศเตรียมนำระบบ AI มาเพื่อตรวจสอบการคุกคามบนโลกออนไลน์ ก่อนที่จะส่งคอนเทนต์ไปให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคนทำการตรวจสอบ ซึ่ง Instagram จะเริ่มปล่อยฟีเจอร์นี้ในสัปดาห์หน้า พร้อมกับฟิลเตอร์ใหม่ เพื่อให้ทันต่อเทศกาล National Bullying Prevention Month หรือเดือนแห่งการป้องกันการคุกคามแห่งชาติในสหรัฐฯ และ Anti-Bullying Week หรือสัปดาห์แห่งการต่อต้านการคุกคามในสหราชอาณาจักร
ระบบตรวจสอบใหม่ของ Instagram จะสแกนแคปชั่นและรูปภาพที่โพสต์ใน Instagram เพิ่มเติมจากเมื่อปีที่แล้วที่เริ่มใช้ machine learning มากรองคอมเมนท์ที่มีลักษณะเชิงคุกคาม ซึ่งระบบเหล่านี้จะทำหน้าที่คัดกรองเนื้อหาที่มีโอกาสเป็นเนื้อหาในเชิงคุกคามได้ในเบื้องต้น และจะมีคนคอยตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง
Ben Wallace รัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและอาชญากรรมเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร เสนอให้มีการยืนยันตัวตนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อลดการกลั่นแกล้งออนไลน์ (cyber bully) โดยอาจใช้กระบวนการยืนยันตัวตนจากธนาคารที่ยืนยันผู้ใช้อยู่แล้ว
เขาชี้ว่าการทำให้อินเทอร์เน็ตปลอดภัยขึ้น ส่วนหนึ่งต้องมีการระบุตัวตนผู้ใช้ เพราะการกลั่นแกล้งออนไลน์จำนวนมากเกิดขึ้นเพราะผู้กระทำรู้ว่าคนอื่นไม่สามารถหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองได้
นอกจากประเด็นการกลั่นแกล้งออนไลน์แล้ว Wallace ยังชี้ว่าการเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทางสร้างความลำบากให้กับฝ่ายความมั่นคงที่ไม่สามารถสอบสวนการก่อการร้ายได้
Facebook ออกเครื่องมือบรรเทาปัญหาคุกคามออนไลน์ และ cyber bullying คือป้องกันไม่ให้บัญชีที่เราเคยบล็อก กลับมาติดต่อหรือเพิ่มเราเป็นเพื่อนได้อีกแม้เขาคนนั้นจะลงทะเบียนมาใหม่ในอีกบัญชีหนึ่ง และเครื่องมือที่สองคือเพิกเฉยการสนทนาใน Facebook Messenger ได้ โดยไม่ต้องบล็อกผู้ที่ส่งข้อความเข้ามา
เยาวชนญี่ปุ่นตกเป็นเหยื่อโดนแพร่ภาพโป๊บนโซเชียล และปี 2017 มีตัวเลขเหยื่อมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา คณะกรรมการกิจการพลเรือนของกรุงโตเกียวได้เข้าหารือกับหน่วยงานทำงานด้านเยาวชน เสนอกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง
กฎหมายปัจจุบันสามารถเอาผิดคนร้ายที่มีลักษณะข่มขู่คุกคามอย่างชัดเจน คือบังคับให้ผู้เยาว์เปิดเผยรูปโป๊เปลือยของตน แต่การข่มขู่ทำได้หลายแบบ และอาจมาในรูปแบบที่ไม่ข่มขู่มาก แต่เป้าหมายคือชักชวนให้ผู้เยาว์เผยแพร่รูปโป๊ของตัวเองอยู่ดี ข้อเสนอกฎหมายใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดขึ้นคือ ผู้ใดร้องขอภาพเปลือยจากบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี โดยผู้เยาว์กล่าวปฏิเสธคำขอดังกล่าวแล้ว ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับ 300,000 เยน
Facebook กับ e-Safety office หรือหน่วยสนับสนุนสิ่งแวดล้อมที่ดีบนโลกออนไลน์ของออสเตรเลีย ร่วมกันทดลองระบบห้ามโพสต์และอัพโหลดรูปโป๊ที่หวังจะแบล็กเมล์ ป้องกันไว้ก่อนจะถูกแชร์
ฟีเจอร์นี้เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่อาจถ่ายรูปตัวเองไว้และส่งให้เพื่อนดู แต่ไม่ได้อยากให้รูปภาพของตัวเองถูกแชร์ไปยังคนอื่นๆ ผู้ใช้งานรายนั้นต้องส่งรูปภาพหรือคลิปวิดีโอนั้นๆ มายัง e-Safety office ระบบจะทำเครื่องหมายรูปภาพนั้นๆ ไว้ และถ้ามีใครพยายามจะอัพโหลดรูปและคลิปที่ถูกทำเครื่องหมาย หรือส่งต่อไปยัง Facebook Messenger และ Instagram ระบบจะกีดกันไม่ให้ภาพนั้นถูกอัพโหลดหรือส่งต่อ
Karen Bradley เลขาธิการกระทรวงวัฒนธรรมของอังกฤษออกมาบอกว่า รัฐบาลควรเก็บภาษี Facebook และ Twitter เพิ่มเพื่อนำเงินมาระดมทุนในโครงการสร้างความตระหนักเรื่อง cyber bullying เพราะ Facebook และ Twitter สร้างภาวะกดดันและความทุกข์ทรมานจากภัยกลั่นแกล้งออนไลน์ในหมู่วัยรุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจุบันมีมูลนิธิมากมายที่ทำแคมเปญส่งเสริมความตระหนักด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต มูลนิธิเหล่านี้ควรมีทุนเพิ่มเติมเพื่อดำเนินงาน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการระบุตัวเลขเงินที่จัดเก็บอย่างชัดเจนเพราะยังอยู่ระหว่างการหารือกัน
การสร้างกฎระเบียบให้สามารถควบคุมการคุกคามออนไลน์ หรือ cyberbullying เป็นเรื่องสำคัญ และควรทำ แต่ยังหาจุดกึ่งกลางไม่ได้ระหว่างควบคุมการคุกคามออนไลน์ กับควบคุมเสรีภาพทางความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ กลุ่มสนับสนุนความเป็นส่วนตัวบนออนไลน์
กลุ่มสิทธิดิจิทัล หรือ Digital rights group Electronic Frontier Foundation (EFF) พูดถึงกฎหมายเรื่องคุกคามออนไลน์ในวอชิงตันว่า แทนที่จะแก้ปัญหา กลับควบคุมเสรีภาพในโลกออนไลน์เสียมากกว่า โดย EFF เห็นว่า กฎหมายเรื่องการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ จนทำให้ผู้อื่นอับอาย ลำบากใจนั้นกินขอบเขตกว้างขวางเกินไปจนกระทบเสรีภาพ EFF ยกตัวอย่างการแสดงความเห็น หรือรีวิวใน Yelp แบบไม่ระบุตัวตน คือต้องการให้ร้านอาหารปรับปรุงคุณภาพ
อังกฤษเตรียมใช้วิธีจัดการอาชญากรรมจากความเกลียดชัง (hate crime) ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ให้เหมือนกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งความจริง
Alison Saunder อัยการสูงสุด ระบุว่า สำนักงานอัยการ (The Crown Prosecution Service: CPS) จะดำเนินคดีผู้ที่กระทำผิดกฎหมายด้วยการร้องขอให้ศาลพิจารณาโทษ สำหรับผู้ที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็น Twitter, Facebook ฯลฯ ในการล่วงละเมิดผู้อื่น โดยแผนการดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องขอให้สภาผ่านกฎหมายใหม่
Twitter คือแพลตฟอร์มที่มีการคุกคามและมีคอนเทนต์รุนแรงมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ และบัญชีแอคเคาต์ปลอมหรือ troll ทาง Twitter จึงพยายามปรับแพลตฟอร์มเพิ่มฟีเจอร์เพื่อแก้ไข เช่น เพิ่มคุณสมบัติควบคุมการแสดงผลบน Timeline ให้ผู้ใช้ซ่อนคำหยาบและบัญชีอวตารจากไทม์ไลน์ ล่าสุด Ed Ho ผู้จัดการทั่วไปและวิศวกรรมของ Twitter ออกมาเปิดเผยว่าการข่มขู่คุกคามบน Twitter ลดลง และกำลังดำเนินการไปได้ด้วยดี แต่ไม่ได้บอกว่าลดลงเท่าไร
สำนักวิจัยสื่อ Pew Research Center เผยรานงานการคุกคามทางออนไลน์ สำรวจประสบการณ์ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 4,248 คนในสหรัฐฯ ระบุว่า 41% ของผู้ให้การสำรวจ มีประสบการณ์ถูกคุกคามออนไลน์ รูปแบบที่โดนมากที่สุดคือการถูกเรียกชื่อด้วยถ้อยคำเสียหายหยาบคาย และ 66% เคยเห็นผู้อื่นได้รับประสบการณ์นี้
เดิม ความหมายของการกลั่นแกล้งกัน หรือที่เรียกว่า Bullying คือการข่มขู่ข่มเหง ทั้งใช้กำลังและใช้จิตวิทยาเพิกเฉยให้บุคคลนั้นรู้สึกไร้ตัวตน ส่วนคำใหม่ที่กำลังเป็นเทรนด์ตอนนี้คือ Cyber Bullying หมายถึงการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ กำลังเป็นปัญหาที่ค่อยๆ ขยายวงกว้างขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นทั่วโลก เพราะเผยแพร่ในวงกว้างกว่า ลบเลือนยากกว่า และสร้างความอับอายแก่ผู้ถูกแกล้งได้มากกว่า ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในกลุ่มวัยรุ่นไทย ยกตัวอย่าง เช่นการตัดต่อรูปล้อเลียน การปล่อยข่าวลือผ่านกระทู้อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ดีแทคร่วมมือกับมูลนิธิ P2H (path2health) ทำช่องทางให้คำปรึกษาออนไลน์แก่เยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์หรือ Cyber bullying ในชื่อเว็บไซต์ว่า stopbullying.lovecarestation.com ด้านแพทย์จิตเวชและวัยรุ่นเด็กชี้ เด็กไทยตกเป็นผู้ถูกรังแกและเป็นทั้งผู้รังแกคนอื่นบนโลกออนไลน์มากอย่างน่าเป็นห่วง
ในบรรดาโซเชียลมีเดีย เป็นที่รู้กันว่า Twitter ค่อนข้างเปิดกว้างหรือในอีกทางหนึ่งคือเต็มไปด้วยผู้ใช้ที่แสดงถ้อยคำหยาบคาย ข่มขู่คุกคาม รวมถึงรูปและคลิปโป๊ นอกจากนี้ยังมีปัญหากลั่นแกล้งกันทางออนไลน์บนแพลตฟอร์มที่มีมากขึ้นจนเป็นปัญหาและทำให้ทวิตเตอร์ดูเป็นโซเชียลที่ไม่ปลอดภัย
ทวิตเตอร์เองก็พยายามแก้ปัญหาเรื่องนี้มาแล้ว คือ ซ่อนคำไม่พึงประสงค์จากการแจ้งเตือน เพิ่มระบบ Mute เพื่อให้สามารถซ่อนคำในการแจ้งเตือน ด้านการอัพเดทล่าสุดนี้ไม่เพียงซ่อนคำไม่พึงประสงค์ออกจากการแจ้งเตือน แต่สามารถซ่อนคำได้บนไทม์ไลน์ด้วย รวมถึงเพิ่มฟีเจอร์ Mute ซ่อนบัญชีผู้ใช้ที่ไม่เปิดเผยตัว หรือไม่มีรูปโปรไฟล์ ไม่มีการยืนยันอีเมล (ซึ่งมีแนวโน้มเป็นร่างอวตาร) ออกจากไทม์ไลน์ได้
Facebook แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากต้องเผชิญปัญหานอกจากปัญหาข่าวปลอมแพร่สะพัด ที่ตอนนี้กำลังแก้กันไม่หวาดไม่ไหว Facebook ยังเป็นแหล่งการรังแกออนไลน์ (cyberbullying) ที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วย มีหลายชีวิตที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะโดนพิษ Cyberbullying
ล่าสุด Facebook จึงเปิดไซต์ใหม่ให้เหล่าผู้ปกครองชื่อ Facebook Parents Portal เพื่อแหล่งรวมข้อมูล และวิธีแก้ปัญหาเมื่อเด็กๆ ในปกครองเจอปัญหาถูกกลั่นแกล้งออนไลน์