Just Eat Takeaway ผู้ให้บริการเดลิเวอรีจากยุโรป (เกิดจากการควบกิจการของ Just Eat จากเดนมาร์ก/อังกฤษ และ Takeaway ของเนเธอร์แลนด์) ประกาศเสนอซื้อกิจการ Grubhub ผู้ให้บริการเดลิเวอรีของสหรัฐอเมริกา กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการเดลิเวอรีโลก (ไม่รวมจีน)
Just Eat Takeaway เสนอซื้อหุ้น Grubhub ที่ราคา 75.15 ดอลลาร์ต่อหุ้น (ด้วยวิธีการแลกหุ้น) ทำให้มูลค่าของ Grubhub อยู่ที่ 7.3 พันล้านดอลลาร์ และผู้ถือหุ้นของ Grubhub จะมีสัดส่วนหุ้นประมาณ 30% ของบริษัทหลังควบรวมกิจการแล้ว
กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างย่านลาดพร้าว 101 สสส. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกันเปิดโครงการ "ตามสั่ง-ตามส่ง" แพลทฟอร์มในการสร้างรายได้ให้กับทางวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างและร้านค้ารายย่อย(เช่น พ่อค้าแม่ค้าร้านอาหารตามสั่ง) เพื่อช่วยเหลือจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ที่ทำให้ขาดรายได้ไป
เราเพิ่งเห็นข่าว Zomato แพลตฟอร์มร้านอาหารและเดลิเวอรีของอินเดียปลดพนักงาน 13% ล่าสุดคู่แข่งเพื่อนร่วมชาติ Swiggy ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ก็ประกาศปลดพนักงานออก 1,100 คน หรือ 14% ของพนักงานทั้งหมด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วง COVID-19
Swiggy ระบุว่าธุรกิจหลักอย่างเดลิเวอรีได้รับผลกระทบหนักจากนโยบายปิดเมืองของอินเดีย แต่คาดว่าจะกลับมาโตได้อีกครั้งในระยะยาว แต่บริษัทจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายลง ด้วยการปลดคน และหยุดทำธุรกิจข้างเคียงอื่นๆ เช่น ธุรกิจครัว cloud kitchen
Swiggy มีพนักงานประมาณ 8,000 คน โดยผู้ที่ปลดออกจะได้รับเงินเดือนอย่างน้อย 3 เดือน และได้สิทธิประกันสุขภาพให้ครอบครัวไปจนถึงสิ้นปี 2020
ประเด็นเรื่องบริการส่งอาหารเดลิเวอรี คิดค่าคอมมิชชันหรือส่วนแบ่งรายได้ (GP) จากร้านอาหาร ไม่ได้มีเฉพาะในไทย บริการแบบเดียวกันในต่างประเทศก็มีโมเดลธุรกิจที่คิดค่าคอมมิชชัน 10-30% เช่นเดียวกัน (ตัวเลขของ Uber Eats คือ 25%)
ล่าสุด นายกเทศมนตรีนครซานฟรานซิสโก ออกมาประกาศบังคับไม่ให้บริการเดลิเวอรีเก็บค่าคอมมิชชันแพงกว่า 15% เพื่อไม่ให้กระทบรายได้ของร้านอาหาร โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ร้านอาหารต้องปิด และรายได้ส่วนใหญ่ของร้านมาจากการส่งเดลิเวอรีด้วย
ประกาศนี้มีผลในวันนี้ (13 เมษายน ตามเวลาสหรัฐ) และบังคับใช้ไปจนกว่าสถานการณ์ฉุกเฉินจะสิ้นสุด ร้านอาหารกลับมาเปิดให้นั่งกินในร้านได้
Google Maps ทำฟีเจอร์ใหม่ตอบรับสถานการณ์โรคระบาด ทำปุ่มกรองร้านอาหารที่มีบริการรับส่งเดลิเวอรี่ และนำกลับบ้านให้ด้วย เมื่อผู้ใช้งานเข้าแอปเพื่อหาร้านอาหาร จะเห็นปุ่ม shortcut คือ “Takeout” และ “Delivery” เพิ่มขึ้นมาในหน้าจอแรก ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ Google Maps ทำมาก่อนแล้ว แต่คราวนี้ดันปุ่มขึ้นมาใหนหน้าแรกให้เห็นชัดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีปุ่มที่ integrate กับแอปส่งอาหารอื่น ให้สามารถกดสั่งอาหารได้โดยตรง แต่สามารถใช้ Google Asistant พูดสั่งได้ และระบบจะเชื่อมไปยังแอปส่งอาหารเช่น DoorDash ให้
สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในจีนช่วงที่ผ่านมา มีการปิดร้านค้าจำนวนมาก ส่งผลให้ลูกจ้างโดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหาร ผับ บาร์ ว่างงาน อย่างไรก็ตามธุรกิจอีกประเภทกลับมีความต้องการลูกจ้างเพิ่มสูงเฉพาะกาล เช่น บริการซื้อของออนไลน์ต่าง ๆ จึงทำให้ผู้ให้บริการหลายรายในจีน ปิดช่องว่างตรงนี้ด้วยแพลตฟอร์มแชร์ลูกจ้าง หรือ Employee Sharing
รายงานบอกว่า Freshippo แพลตฟอร์มสั่งสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตเครือ Alibaba หรือ 7Fresh แพลตฟอร์มแบบเดียวกันของ JD.com ได้เปิดระบบแชร์ลูกจ้าง โดยประสานงานกับบรรดาผู้ประกอบการร้านอาหารในเมืองต่าง ๆ จับคู่ลูกจ้างที่ว่างงาน เพื่อมาทำงานชั่วคราวโดยมีหน้าที่จัดและส่งสินค้า เนื่องจากการใช้งานแพลตฟอร์มเหล่านี้มีจำนวนสูงมาก จึงต้องการแรงงานชั่วคราวมาสนับสนุน
Meituan แอปส่งอาหารรายใหญ่ในจีน เปิดตัวโซลูชันใหม่ในช่วงโรคระบาด คือมอบกล่องกระดาษครอบใบหน้ามาให้ระหว่างกินด้วย ป้องกันสิ่งไม่พึงประสงค์ตกลงไปในอาหาร เพื่อความสบายใจและสุขภาวะที่ดี ดูรูปกล่องได้ที่แหล่งข่าวต้นทาง
ตัวกล่องกระดาษกว้างราว 20 นิ้ว สามารถอาหารและวงแขนตอนกินได้ โดยขณะนี้มีผู้ใช้งานที่ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ได้กล่องมาฟรีเมื่อสั่งอาหารบนแพลตฟอร์ม Meituan และมีเชนรานอาหารในจีน 8 แห่งที่ทดลองใช้ก่องกระดาษนี้ เช่น Yoshinoya และ Yonghe King เป็นต้น Meituan ยังให้กล่องครอบนี้ฟรีแก่เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลในเมืองอู่ฮั่นด้วย
เมื่อเดือนมกราคม Uber ได้ประกาศขายธุรกิจส่งอาหาร Uber Eats ในประเทศอินเดีย ให้ Zomato คู่แข่งรายสำคัญที่นั่น แต่ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของดีล ระบุเพียงได้หุ้น Zomato 9.99% แต่ล่าสุด Uber ได้ออกรายงานจากการขายธุรกิจ ระบุว่ามูลค่ายุติธรรมของ Uber Eats ที่ขายให้ Zomato นั้นอยู่ที่ 206 ล้านดอลลาร์
เมื่อพิจารณาจากหุ้นราว 10% ที่ Uber ได้รับ เท่ากับว่ามูลค่ากิจการของ Zomato หลังจบดีลนี้คือประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงจากการเพิ่มทุนรอบล่าสุดของ Zomato ที่ตอนนั้นประเมินมูลค่ากิจการไว้ 3 พันล้านดอลลาร์
ถือเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจของโรงพยาบาลสมิติเวช ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ของไทย ที่ขยายตัวเองจากบริการด้านการแพทย์โดยตรง (medical services) มายังบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพด้วย (health-related services)
รอบนี้ สมิติเวชลงมาจับมิติด้าน “อาหาร” แต่ไม่ใช่อาหารเพื่อคนป่วยแต่อย่างใด สิ่งที่สมิติเวชสนใจคืออาหารที่เรากินเป็นปกติในแต่ละวัน ซึ่งพฤติกรรมด้าน “ไลฟ์สไตล์การกิน” ของคนไทยที่เปลี่ยนไปมากที่สุดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือ การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรีมาส่งถึงบ้าน แทนการออกไปกินข้าวนอกบ้าน
Meituan แอปให้บริการจัดส่งอาหารรายใหญ่ของจีน ประกาศเพิ่มตัวเลือกใหม่ของการส่งอาหาร โดยที่ผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเจอกัน เนื่องจากปัญหาความกังวลจากเหตุไวรัสโคโรน่าระบาดในจีน เพื่อให้ทั้งผู้สั่งอาหาร และผู้ส่งสบายใจกันมากขึ้นทั้งสองฝ่าย
โดยแอปได้เพิ่มตัวเลือกให้สามารถกำหนดจุดรับ-ส่งอาหาร ซึ่งเบื้องต้น Meituan ใช้วิธีติดตั้งตู้จัดส่งอาหารเน้นบริเวณรอบโรงพยาบาลก่อน บริการดังกล่าวจะเริ่มที่เมืองอู่ฮั่นเป็นเมืองแรก
ที่มา: Abacus News
Foodpanda สิงคโปร์ เปิดตัวบริการใหม่ Pandamart และ Pandanow โดยเป็นบริการจัดส่งสินค้าอุปโภค-บริโภค ของใช้ในชีวิตประจำวัน จากร้านค้าพาร์ทเนอร์กว่า 1,000 แห่งในสิงคโปร์ ซึ่งระบุว่าจะจัดส่งได้ภายใน 25 นาที
Pandamart นั้นได้เริ่มทดลองให้บริการไปตั้งแต่เดือนตุลาคม และหลังทดสอบมาได้ระยะหนึ่ง จึงเปิดตัวบริการใหม่เพิ่มคือ Pandanow ซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถจัดส่งสินค้าได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง และการันตีสินค้าส่งถึงภายใน 15 นาที ผ่านศูนย์กระจายสินค้าที่ Foodpanda ตั้งขึ้นมาเอง และสินค้ามีจำกัดรายการมากกว่า
ผู้บริหาร Foodpanda สิงคโปร์บอกว่าการเพิ่มบริการจัดส่งสินค้าของใช้นั้น เป็นการขยายธุรกิจให้สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่ Foodpanda วางไว้ ทั้งยังรองรับความต้องการของลูกค้าอีกด้วย
Uber ประกาศว่าบริษัทได้ขายธุรกิจส่งอาหาร Uber Eats ในประเทศอินเดีย ให้กับคู่แข่ง Zomato โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนหุ้น ทำให้ Uber จะเข้ามาถือหุ้น 9.99% ใน Zomato ซึ่งเป็นตามข่าวลือก่อนหน้านี้
ผลจากดีลดังกล่าว ทำให้ Uber Eats หยุดให้บริการในอินเดียทันที และผู้ใช้งานรวมทั้งร้านอาหารในระบบจะเข้าไปรวมอยู่ใน Zomato
Dara Khosrowshahi ซีอีโอ Uber กล่าวว่าอินเดียยังเป็นตลาดสำคัญที่ Uber ต้องการลงทุน โดยบริษัทจะให้บริการรถโดยสารต่อไป ซึ่ง Uber ยังเป็นผู้นำในตลาดอยู่
ที่มา: Zomato
Lim Kell Jay หัวหน้าฝ่ายธุรกิจส่งอาหาร GrabFood ของ Grab เปิดเผยว่าตอนนี้ธุรกิจส่งอาหาร และธุรกิจบริการทางการเงิน มีมูลค่าการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์ม (GMV) รวมกันมากกว่า 50% ของ GMV รวมของ Grab แล้ว
Grab เริ่มต้นจากธุรกิจเรียกรถโดยสารเพื่อสร้างฐานผู้ใช้งาน จากนั้นจึงขยายมาลงทุนในธุรกิจส่งอาหารและบริการทางการเงินมากขึ้น เนื่องจากมองว่าเป็นโอกาสในการเติบโต ปัจจุบัน GrabFood ให้บริการใน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และไทย ครอบคลุมกว่า 220 เมือง
Jet.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซภายใต้ Walmart ประกาศเลิกกิจการดิลิเวอรี่สินค้าสด (fresh groceries) ในนิวยอร์ก
สำหรับบริการดิลิเวอรี่สินค้าสดของ Jet.com นั้น เริ่มต้นที่เมืองนิวยอร์กซิตี้ ซึ่งในตอนแรกมีแผนขยายไปบอสตัน, ฟิลาเดเฟีย และวอชิงตันดีซีด้วย แต่หลังจากเปิดให้บริการได้เพียง 1 ปี Walmart ก็ประกาศยกเลิกบริการ และจะให้ Jet.com หันไปโฟกัสการขายสินค้าอีคอมเมิร์ซประเภทสินค้าแห้งแทน
คาดกันได้ไม่ยากว่า Walmart ตั้งใจจะเปิดบริการดิลิเวอรี่สินค้าสดของผ่าน Jet.com เพื่อแข่งกับ Amazon แต่สุดท้าย Walmart ก็ต้องยอมแพ้ ซึ่ง CNBC เผยข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องว่า บริการส่งสินค้าสดนี้เป็นส่วนที่เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณธุรกรรมทั้งหมดของ Jet.com
สงครามส่งของสดเดือดมาก และเดือดขึ้นไปได้อีกเมื่อ Amazon ให้บริการส่งอาหารสดสำหรับสมาชิก Prime หรือ Amazon Fresh ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม จากเดิมที่มีค่าบริการรายเดือน 14.99 ดอลลาร์ และยังการันตีส่งเร็วภายใน 2 ชั่วโมง
ผู้ใช้งานในสหรัฐฯ สามารถสั่งอาหารสดจาก Whole Foods และ จุดให้บริการ Amazon Fresh รวมแล้วราว 2,000 แห่ง การให้บริการฟรีอาจส่งผลสะเทือนถึงคู่แข่งอย่าง Walmart ได้บ้าง
Wing บริษัทพัฒนาโดรนภายใต้ Alphabet ประกาศให้บริการโดรนสำหรับขนส่งเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกหลังจากได้รับอนุมัติจาก FAA เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
บริการส่งสินค้าผ่านโดรนของ Wing เริ่มให้บริการครั้งแรกกับผู้อยู่อาศัยใน Christiansburg รัฐเวอร์จิเนีย โดย Wing ร่วมมือกับบริษัทหลายแห่ง เช่น FedEx Express, Walgreens และ Sugar Magnolia ซึ่งเป็นค้าปลีกในเวอร์จิเนีย
Grab และไฮเนเก้นประกาศยุทธศาสตร์ความร่วมมือใหม่ให้บริการเจาะในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแถลงการณ์ความร่วมมือระบุว่า ไฮเนเก้นจะใช้ประโยชน์จากบริการด้านอาหารการจัดส่งและการชำระเงินของ Grab เพื่อตอบสนองความต้องการด้านโลจิสติกส์ ถือเป็นการขยายช่องทางที่ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้นจะไปถึงลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น
ลูกค้าที่อายุถึงเกณฑ์สามารถสั่งเบียร์ไฮเนเก้นผ่าน Grabfood ซึ่งไฮเนเก้นจะส่งโปรโมชั่นให้ลองชิมเครื่องดื่มใหม่ๆ ผ่านแคมเปญส่งเสริมการขาย
Amazon ได้เริ่มทดสอบการส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์ Scout แถวสำนักงานใหญ่ในวอชิงตันมาสักพักหนึ่งแล้ว ล่าสุด Amazon กำลังจะเริ่มทดสอบ Scout ในสเกลที่กว้างขึ้นที่ Irvine รัฐแคลิฟอร์เนีย
หุ่นยนต์ Scout ที่อยู่ระหว่างการทดสอบนี้ จะส่งสินค้าจาก Amazon ในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น ซึ่งจะมีพนักงาน Amazon คอยรับผิดชอบสอดส่องดูแลตัวหุ่นยนต์ในระหว่างการปฏิบัติงาน โดยฝั่งของลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ Irvine หากสั่งสินค้าบน Amazon ก็อาจจะมีการส่งโดยใช้หุ่นยนต์ปนมากับการส่งแบบธรรมดาด้วย
หากใครยังจำกันได้ เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา FedEx ไม่ต่อสัญญาส่งสินค้าทางอากาศกับ Amazon ล่าสุด FedEx ยืนยันว่าจะไม่ต่อสัญญากับ Amazon ในส่วนของการขนส่งภาคพื้นดิน (ground delivery) เป็นสัญญาที่สอง ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดสัญญาในเดือนนี้
การไม่ต่อสัญญาขนส่งภาคพื้นดินระหว่าง FedEx กับ Amazon ถือว่าสำคัญกว่าสัญญาแรกที่เป็นการขนส่งทางอากาศ ซึ่งหมายความว่า FedEx จะไม่มีการส่งสินค้าแบบ last-mile ให้ Amazon อีกต่อไป
สำนักไปรษณีย์ของจีน เผยว่าได้ร่วมกับบริษัทวิจัย พัฒนารหัสไปรษณีย์รูปแบบใหม่ หรือ Personal Address ID ที่คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้และจดจำได้ ส่งผลให้แม้แต่โดรนส่งของ, รถส่งของไร้คนขับ ก็สามารถหา Personal Address ID นี้เจอ
ในงาน LINE Converge ประเทศไทยมีการประกาศผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะเปิดใช้งานในครึ่งปีหลัง ในส่วนของ LINEMAN เตรียมจะเปิดตัว LINEMAN Grocery ฝากไลน์แมนไปซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตให้ โดยบริการนี้จะเปิดตัวภายในปี 2019 นี้ แต่ยังไม่ได้บอกว่าจะร่วมมือกับห้างร้านใดบ้าง
ปัจจุบัน LINEMAN มีบริการเรียกรถ ส่งอาหาร ส่งพัสดุ และเมสเซนเจอร์ ในการฉลองครบ 3 ปี LINEMAN ที่ผ่านมาที่มีการจัดโปรโมชั่นลดค่าส่ง ทาง LINE เผยตัวเลขว่ามียอดการสั่งซื้อชานมไข่มุกเพิ่มขึ้น 50 เท่า
Honestbee สตาร์ทอัพบริการส่งของจากซุปเปอร์มาร์เก็ต ประกาศยุติการให้บริการในประเทศไทยชั่วคราว มีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป โดยการสั่งซื้อสินค้าจะทำได้ตามปกติไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคมนี้
สถานการณ์ของ Honestbee นั้นมีรายงานมาระยะหนึ่งแล้ว โดยมีการปิดและปลดพนักงานในสาขาต่างประเทศหลายแห่ง (สำนักงานใหญ่ Honestbee อยู่ที่สิงคโปร์)
นอกจากประเทศไทยแล้ว Honestbee ยังประกาศหยุดให้บริการในมาเลเซีย มีผล 22 กรกฎาคมนี้เช่นเดียวกัน
Walmart เปิดตัวบริการส่งสินค้ารูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นการพัฒนาเพิ่มจากบริการส่งของสด-ของชำ ที่เดิมมีทั้งแบบจอดรับสินค้าหน้าร้าน และจัดส่งสินค้าในวันเดียว มาสู่รูปแบบใหม่เรียกว่า InHome
InHome เป็นรูปแบบการส่งสินค้าตามชื่อ โดยจะมีพนักงานส่งของสดเข้าไปจัดเก็บสินค้าให้ในบ้าน ซึ่งผู้สั่งไม่ต้องอยู่ที่บ้านรอรับของก็ได้ แต่เหตุผลที่ต้องเข้าไปในบ้านเพราะสินค้าบางอย่างต้องเก็บไว้ในตู้เย็นนั่นเอง
ด้วยความร้อนแรงของบริการสั่งอาหารออนไลน์ ล่าสุดกูเกิลก็เลยเพิ่มบริการสั่งอาหารออนไลน์โดยตรงผ่านบริการของกูเกิลทั้ง Google Search, Google Maps และ Google Assistant โดยคำสั่งซื้อจะผ่านไปยังพาร์ทเนอร์บริการส่งอาหารอาทิ DoorDash, Postmates, Delivery.com และ ChowNow ซึ่งไม่ต้องโหลดแอปเหล่านั้นเพิ่ม
บริการดังกล่าวตอนนี้มีเฉพาะผู้ใช้กูเกิลในอเมริกาเท่านั้น
กูเกิลบอกว่าจะเพิ่มบริการส่งอาหารจากผู้ให้บริการอื่นเพิ่มเติมอีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม ประเด็นน่าสนใจคือแม้กูเกิลจะพยายามรวมบริการต่าง ๆ เข้ามาไว้ในพื้นที่กูเกิลเอง แต่ผู้ให้บริการส่งอาหารที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงในอเมริกา อาทิ Uber Eats, Deliveroo, Grubhub และ Just Eat รายชื่อเหล่านี้ยังไม่มีในบริการส่งอาหารของกูเกิล
Wing (หรือที่เคยรู้จักกันในชื่อ Project Wing) บริษัทลูกด้านโดรนของ Alphabet ประกาศว่าจะทดสอบให้บริการขนส่งสินค้าทางโดรนในประเทศฟินแลนด์เร็วๆ นี้
พื้นที่แรกที่ Wing จะให้บริการคือเมือง Vuosaari ทางตอนใต้ของประเทศ ใกล้กับนครหลวงกรุงเฮลซิงกิ ส่วนสินค้าที่จะส่งมีทั้งเบเกอรี่ อาหาร และขนม จากซูเปอร์มาร์เก็ต Herkku Food Market และร้านอาหาร Cafe Monami
Wing บอกว่าเลือกพื้นที่เมือง Vuosaari เพราะมีความท้าทายในการขนส่งทางโดรน เนื่องจากมีทะเลล้อมรอบถึง 3 ด้าน มีพื้นที่ป่า ส่วนพื้นที่พักอาศัยมีขนาดใหญ่ มีประชากรหนาแน่น และมีสนามบินขนส่งสินค้าขนาดใหญ่อยู่ใกล้ๆ ด้วย