หลายๆ คนในปัจจุบันน่าจะใช้โน้ตบุ๊คเป็นเครื่องหลักในการทำงานใช่ไหมครับ ส่วนหนึ่งของการตัดสินใจใช้โน้ตบุ๊คของเราคือความสะดวกในการเคลื่อนย้าย สามารถย้ายงานที่นั่งทำอยู่ที่ทำงาน เซฟและเก็บกลับไปเปิดต่อที่บ้านได้โดยไม่ต้องเสียแรงอะไร ผมเชื่อว่าหลายๆ คนที่ใช้โน้ตบุ๊คเองนี่ก็มักจะมีแท็บเล็ตเพื่องานจิปาถะเล็กๆ น้อยๆ อย่างเปิดหน้าเว็บ เปิดดูวิดีโอออนไลน์อยู่แล้ว ช่วงหลังจึงมีกระแสของโน้ตบุ๊คที่พยายามจะรวบงานของแท็บเล็ตเพื่อมาตอบโจทย์นี้ อุปกรณ์สายที่เราเรียกว่า Convertible ชนิดนี้จะเป็นโน้ตบุ๊คก็ได้ ถอดเอาเฉพาะจอออกมาเป็นแท็บเล็ตก็ดีครับ (แบบที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่าง Microsoft Surface Book นั่นละ)
Michael Dell ซีอีโอของ Dell ออกมาโพสต์บนบล็อกของบริษัทเกี่ยวกับทิศทางของ VMware หนึ่งในบริษัทลูกของ EMC ที่จะเกิดขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการที่ประกาศไปเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยระบุว่าจะปล่อยให้ VMware มีอิสระในฐานะบริษัทลูกต่อไป
Dell ระบุว่า VMware ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่มีค่าที่สุด (crown jewel) ของ EMC และเต็มไปด้วยพนักงานที่มากไปด้วยความสามารถ โดยจะปล่อยให้ VMware บริหารงานอย่างอิสระแบบที่ EMC ทำกับ VMware ในปัจจุบัน โดยจะไม่ปิดกั้นความร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ แต่อย่างใด
ทั้งนี้ Dell ระบุว่า EMC และ Dell (บริษัท) จะยังคงเป็นคู่แข่งกันและดำเนินกิจการแยกกันต่อไปจนกว่าการควบรวมกิจการกันจะเสร็จสิ้น
ผู้ผลิตพีซีสามรายใหญ่ของโลก ได้แก่ Dell, HP, Lenovo ร่วมกับอินเทลและไมโครซอฟท์ เปิดตัวแคมเปญโฆษณาใหม่ "PC Does What?" (แปลไทยประมาณว่า "พีซีทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอ") โดยมีเป้าหมายเพื่อชูความสามารถของพีซี ให้คนทั่วไปรับรู้ว่าพีซีสามารถทำงานต่างๆ เหล่านี้ได้
แคมเปญนี้จะเปิดตัววันที่ 19 ตุลาคมนี้ แต่จากคลิปโฆษณาชิ้นแรกที่อินเทลโพสต์บน YouTube เราพอเห็นภาพว่าชูจุดขายเรื่องการพับจอเป็นแท็บเล็ตได้ ระบบเสียงคุณภาพเยี่ยม และแบตเตอรี่อยู่ได้นาน โดยใช้อุปกรณ์สาธิตเป็นโน้ตบุ๊กจากผู้ผลิตทั้งสามรายอย่างเท่าเทียมกัน
ตามข่าวบอกว่าแคมเปญโฆษณาชุดนี้ใช้งบประมาณทั้งหมด 70 ล้านดอลลาร์
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์นั้นแบ่งเป็น 2 ฝั่งใหญ่ๆ คือฝั่ง PC และ Mac ซึ่งสองสามปีที่ผ่านมาเราเห็นกันมาตลอดว่าตลาดฝั่ง PC นั้นซบเซาทีเดียว มีแต่แบรนด์ใหญ่มากๆ เพียงไม่กี่เจ้าที่ยังพอไปได้ และ Dell เป็นหนึ่งในนั้น โดย Frank Azor ผู้ร่วมก่อตั้ง Alienware และผู้จัดการทั่วไปส่วน XPS ของ Dell ได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Fortune เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า Dell จะสู้กับแอปเปิลและจะทำให้ PC นั้นกลับมา “เท่” อีกครั้งได้อย่างไร
ข่าวใหญ่ของโลกไอทีสัปดาห์นี้คือ อภิมหาดีล Dell ซื้อ EMC ซึ่งการซื้อกิจการใหญ่ขนาดนี้ย่อมมีผลกระทบในวงกว้าง เว็บไซต์ Computerworld จึงประเมินผลที่เกิดขึ้นจากดีลนี้ ดังนี้
เดลล์ประกาศเข้าซื้อ EMC ด้วยเงินสดหุ้นละ 24.05 ดอลลาร์ต่อหุ้น พร้อมกับหุ้นของ VMware ประเภท Tracking Stocks มูลค่าประมาณ 9 ดอลลาร์ต่อหุ้น รวมนักลงทุนจะได้มูลค่า 33.15 ดอลลาร์ต่อหุ้น สูงกว่าราคาตลาดล่าสุดที่ 27.87 ดอลลาร์
เดลล์ออกจากตลาดหุ้นไปตั้งแต่ปี 2013 การควบรวมกับ EMC รอบนี้จะทำให้เดลล์กลายเป็นบริษัทด้านสตอเรจขนาดใหญ่ รวมเอาสินค้าทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอาไว้ด้วยกัน
ความคืบหน้าของข่าวลือ Dell เสนอซื้อ EMC ล่าสุดเว็บไซต์ Re/code อ้างแหล่งข่าววงในว่า Dell ยื่นขอเสนอซื้อหุ้น EMC ในราคาหุ้นละ 27.25 ดอลลาร์แล้ว
ถ้า EMC ตอบรับข้อเสนอนี้ การซื้อกิจการจะมีมูลค่าสูงถึง 50 พันล้านดอลลาร์ เป็นการควบกิจการบริษัทไอทีที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และก่อนหน้านี้ก็มีข่าวว่า Michael Dell ซีอีโอของ Dell เดินสายคุยกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อระดมเงินสดมาซื้อ EMC ด้วย
ตามข่าวยังบอกว่ามีบริษัทลงทุน Elliott Management สนใจซื้อกิจการของ EMC แต่เสนอราคาถูกกว่า Dell
ที่มา - Re/code
Dell เปิดตัวคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กซีรีส์ XPS รุ่นใหม่รวดเดียว 3 รุ่น คือ XPS 12 เป็นโน้ตบุ๊กแบบ 2-in-1 ถอดจอได้, XPS 13 ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงต่อจาก XPS 13 อันโด่งดังที่เปิดตัวในงาน CES 2015 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และ XPS 15 รุ่นใหม่ที่อัพเกรดสเปกและเปลี่ยนมาใช้ดีไซน์แนวเดียวกับ XPS 13
The Wall Street Journal รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า Dell ได้เจรจากับ EMC เพื่อขอซื้อกิจการทั้งหมด ซึ่งหากเป็นจริงด้วยมูลค่ากิจการของ EMC ตามราคาหุ้นปัจจุบันที่อยู่ราว 50,000 ล้านดอลลาร์ จะทำให้ดีลนี้กลายเป็นดีลควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด
ข่าวอาจจะเก่าไปนิดนึงนะครับ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Dell เปิดตัวคอมพิวเตอร์ workstation ซีรีส์ Precision รุ่นใหม่รวม 6 ตัว แบ่งเป็นโน้ตบุ๊ก 4 ตัวและเดสก์ท็อป 2 ตัว อัพเกรดไปใช้ซีพียู Intel Skylake แล้ว พร้อมกับตัวเครื่องที่บางเบาลงและสวยงามขึ้น รวมถึงประสิทธิภาพก็เพิ่มขึ้นพอตัว
ซีรีส์ 3000 เป็นรุ่นเริ่มต้นของโน้ตบุ๊กสายนี้ เปิดตัวเพียงแค่รุ่นเดียวคือ Precision 3510 มาพร้อมกับจอ 15.6 นิ้ว ตัวเครื่องบางลง 26% และเบาลง 12% เทียบกับรุ่นที่แล้ว สเปกดังนี้
เว็บไซต์ WinFuture จากเยอรมนีเผยภาพชัดๆ ของแล็ปท็อปทูอินวัน XPS 12 ของ Dell ซึ่งมากับจอขนาด 12.5 นิ้ว ใช้พาเนล IGZO จากชาร์ป ความละเอียด 4K พร้อมพอร์ต USB-C (พร้อมรองรับ Thunderbolt 3) สองพอร์ต และ HDMI กับการ์ดรีดเดอร์อย่างละชุด และปากกาสไตลัส
ส่วนของสเปกอื่นๆ แหล่งข่าวระบุว่าใช้ชิป Intel Core M3 6Y30 ถึง M7 6Y35 กับไดรฟ์ SSD แบบ M.2 และรับไวไฟแบบกิกะบิต ดูอัลแบนด์ จากภาพที่ดูสรีระเดียวกับ Surface ของไมโครซอฟท์ จะเห็นตัวเครื่องถอด-ใส่กับส่วนของคีย์บอร์ดแบบมีไฟใต้ปุ่ม ทั้งหมดมากับน้ำหนักแค่ 790 กรัม ภาพประกอบบางส่วนอยู่ด้านในครับ
Dell ประกาศลงทุนในจีนครั้งใหญ่มูลค่าถึง 125 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านบาท) ในเวลา 5 ปีข้างหน้า และจ้างงานถึง 1 ล้านตำแหน่งในจีน
สิ่งที่ Dell จะทำมีหลายอย่าง ทั้งการส่งหน่วยลงทุน Dell Ventures ไปลงทุนในสตาร์ตอัพจีน, ร่วมกับมหาวิทยาลัยจีนตั้ง Artificial Intelligence and Advanced Computing Joint-Lab เป็นต้น
Michael Dell ผู้ก่อตั้งและซีอีโอให้สัมภาษณ์ว่าถ้าบริษัทต้องการขยายตลาดไปยังผู้ใช้ใหม่อีก 1 พันล้านคน (next billion) ก็ต้องหาจากประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น เพราะประเทศพัฒนาแล้วไม่สามารถขยายตัวต่อได้อีกแล้ว
เว็บไซต์แห่งหนึ่งเผยภาพเดลล์ XPS 12 แท็บเล็ตรัน Windows 10 พร้อมคีย์บอร์ดถอดแยกได้ โดยจากภาพ (ดูได้ที่ท้ายข่าว) XPS 12 คล้าย Surface Pro 3 อาทิ มีขาตั้ง (kickstand)
XPS 12 มากับจอแบบ IPS ความละเอียด 4K คีย์บอร์ด backlit กล้องหลัก 8 ล้านพิกเซลกับกล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล พอร์ต Thunderbolt 3 แบตเตอรี่อยู่ได้ 10 ชม. และสไตลัสที่รองรับการกดปุ่มครั้งเดียวเพื่อเปิด OneNote
ทั้งนี้ สไลด์ระบุว่า XPS 12 จะได้รับการเปิดตัวในเดือนตุลาคมนี้
ไมโครซอฟท์เปิดตัวโครงการ Surface Enterprise Initiative ขยาย Surface Pro ไปยังกลุ่มลูกค้าองค์กร โดยจับมือกับบริษัทไอทีรายใหญ่ได้แก่ Dell, HP, Accenture, Avanade มาช่วยขาย Surface Pro ด้วย
พาร์ทเนอร์ของไมโครซอฟท์จะนำ Surface Pro ไปขายผ่านช่องทางของตัวเอง ช่วยให้ลูกค้าองค์กรที่อยากซื้อโซลูชันยกชุดจากบริษัทเดียว (เช่น เซิร์ฟเวอร์ Dell, พีซี Dell, แท็บเล็ต Surface Pro 3, บริการหลังขาย Dell) สามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ข้อตกลงนี้ยังมีผลให้ Surface Pro สามารถเข้าร่วมประกันความเสียหายและบริการหลังขายจาก Dell/HP ได้ด้วย
Dell จะเริ่มขาย Surface Pro ในตลาดสหรัฐ-แคนาดาตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ และขยายไปยังประเทศอื่นๆ ในช่วงต้นปี 2016
Michael Dell ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอคนปัจจุบันของ Dell ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวระหว่างงานแถลงข่าวในประเทศอินเดียว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ตลาดพีซีส่วนตัวจะถูกครองโดยผู้ผลิตรายใหญ่เพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้น
Dell อ้างถึงส่วนแบ่งพีซีทั่วโลกที่ตอนนี้สามเจ้าใหญ่อย่าง Lenovo, HP และ Dell กินส่วนแบ่งในตลาดไปเกินครึ่งหนึ่งของตลาด และในอีก 5-7 ปีข้างหน้า ตัวเลขนี้จะเพิ่มมากกว่า 80% โดยเฉพาะของ Dell เองนอกจากจะแซงหน้าทั้งสองเจ้าที่เอ่ยถึงในแง่ของยอดขายโน้ตบุ๊กแล้ว ยังเติบโตต่อเนื่องสวนทางกับตลาดรวมที่ตกลง รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 10 ไตรมาสแล้ว ซึ่งถ้าหากมองว่าการคาดการณ์ของ IDC ที่ว่าตลาดพีซีจะหวนกลับมาเติบโตอีกในปี 2017 จากรอบการเปลี่ยนเครื่องใหม่ ซึ่งน่าจะเป็นผลดียิ่งขึ้นไปอีกกับ Dell
ค่าย Dell มีเดสก์ท็อปเกมมิ่งขนาดเล็ก (Mini-ITX) รุ่น Alienware X51 ที่เปิดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2012 และอัพเดตเรื่อยมาจนตอนนี้ถึงยุคที่สามในชื่อ Alienware X51 R3
X51 R3 ยังคงหน้าตาเคสรูปแบบเดิมทุกประการ แต่อัพสเปกมาเป็น Intel 6th Gen Core รุ่นล่าสุดรหัส Skylake (แถมยังเป็นรุ่น K ปลดล็อคสัญญาณนาฬิกา), แรม DDR4 2133MHz เริ่มต้นที่ 8GB, ตัวเลือกสตอเรจหลากหลาย มีแบบ SSD ด้วย, การ์ดจอเริ่มที่ NVIDIA GTX 745 แต่สามารถเปลี่ยนเป็น AMD R9 370 หรือ NVIDIA GTX 960 ได้เช่นกัน
Dell ขยับลงมาเล่นในตลาดจอมอนิเตอร์สำหรับเกมเมอร์เป็นครั้งแรก ด้วยจอ Dell 27 Gaming Monitor รุ่น S2716DG ความละเอียด QHD (2560x1440) มาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อหลากหลาย ทั้ง DisplayPort 1.2, HDMI 1.4, USB 3.0 x4, USB 3.0 upstream, Audio line-out, Headphone-out
จอภาพรุ่นนี้ยังรองรับเทคโนโลยี NVIDIA G-Sync รุ่นที่สอง เพื่อให้แสดงผลภาพได้เร็วขึ้น รองรับอัตรารีเฟรชสูงสุด 144Hz และมีอัตราตอบสนอง (response rate) ที่ 1 ms เท่านั้น
ราคาขายตัวละ 799.99 ดอลลาร์ (ประมาณ 29,000 บาท) เริ่มขายในสหรัฐ 20 ตุลาคมนี้
เดลล์ประกาศเปิดธุรกิจใหม่ Datacenter Scalable Solutions (DSS) เจาะกลุ่มลูกค้าที่มีฝ่ายไอทีขนาดใหญ่และมีความเชี่ยวชาญ แต่ยังไม่ได้มีขนาดใหญ่จนจัดการโซลูชั่นเฉพาะทางได้เหมือนบริษัทระดับโลกอย่างเฟซบุ๊กหรือกูเกิล
กลุ่มบริษัทนี้เช่น บริษัทเว็บโฮสติ้ง, บริษัทไอที, ผู้ให้บริการสื่อสาร, หน่วยงานวิจัย, บริษัทพลังงาน เป็นต้น บริษัทเหล่านี้มีมักซื้อสินค้าไอทีจำนวนมาก ทางเดลล์จะเสนอโซลูชั่นกึ่งเฉพาะทาง (semi-custom) ทำให้ลูกค้าเหล่านี้สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ แต่ขณะเดียวกันก็ยังอาศัยช่องทางจำหน่ายและการซัพพอร์ตจากทางเดลล์
ทางเดลล์ระบุว่าจะเริ่มเปิดตัวสินค้าในกลุ่ม DSS ช่วงปลายปีนี้
เดลล์หันมาเปิดตัวโครมบุ๊กสำหรับธุรกิจใช้ชื่อเรียบๆ ว่า Chromebook 13 ความพิเศษของมันคือใช้ซีพียู Core i3/i5 สูงกว่าโครมบุ๊กทั่วไป
สเปครุ่นย่อยของ Chromebook 13 ยังไม่มีรายละเอียด แต่เดลล์ระบุว่าจะใช้ซีพียู Core-i รุ่นที่ 5 (ฺBroadwell), ใส่แรมสูงสุด 8GB, มีจอให้เลือกทั้งจอกระจกแบบสัมผัสและจอด้าน, แบตเตอรี่ใช้งานได้นาน 12 ชั่วโมง, ไมโครโฟนแบบอาเรย์สำหรับประชุมออนไลน์, และคีย์บอร์ดเรืองแสง
นอกจากตัวเครื่องที่สเปคสูงกว่าโครมบุ๊กทั่วๆ ไปแล้ว ทางเดลล์จะให้บริการ ProSupport Plus สำหรับ Chromebook 13 ด้วย ทำให้เครื่องได้รับประกันอุบัติเหตุ, มีสายตอบรับแก้ปัญหา 24 ชั่วโมง, และมีผู้จัดการเฉพาะรายสำหรับลูกค้าที่ซื้อเกิน 1,000 เครื่อง
Dell เปิดตัวแท็บเล็ตซีรีส์ Latitude รุ่นใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานได้ แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมย่ำแย่มากๆ ในชื่อ Latitude 12 Rugged ต่อเนื่องจากที่เคยเปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นทนทานขนาด 14" มาก่อนแล้ว
Latitude 12 Rugged มาในทรงแท็บเล็ตมาตรฐาน ครอบด้วยเคสป้องกันทั้งเครื่อง ใช้งานได้ตั้งแต่อุณหภูมิ -29 ถึง 63 องศาเซลเซียส ทนทานถึงขนาดกันระเบิดได้ มีช่อง pogo-pin สำหรับเชื่อมต่อกับด็อกกิงสำหรับใช้งานในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่แปลงร่างเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ไปจนถึงเคสที่มีคีย์บอร์ดแบบเต็มในตัว ซึ่งกันน้ำกันฝุ่นในระดับ IP65
สเปคของ Latitude 12 Rugged เรียกได้ว่าระดับเดียวกับอัลตร้าบุ๊ก ดังนี้
Dell ประเทศไทยเปิดตัว Vostro 14 3000 Series รุ่นใหม่ โน้ตบุ๊คสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และโฮมออฟฟิศ
Vostro 14 3000 Seriesมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลของอินเทล มีให้เลือกทั้ง Celeron และ Core i แรม 4GB และ 8GB และการ์ดจอออนบอร์ดหรือ NVIDIA GeForce และ HDD ความจุ 500GB (เพิ่มได้ถึง 1TB) มีสีเพียงสีเดียวคือ Solid Black
Vostro 14 ราคาเริ่มต้นประมาณ 12,000 บาทและรุ่นสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาท
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์, Dell
เมื่อวานนี้ Dell จัดงาน Dell Solution Tour 2015 เพื่อโชว์เทคโนโลยีสำหรับองค์กรธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และโชว์อนาคตของบริษัทที่ก้าวไปสู่การเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่ได้ไปเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์จริงที่เริ่มใช้งานแล้ว
ในปี 2015 Dell มองว่าองค์กรธุรกิจแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือระบบไอทีแบบดั้งเดิม และระบบไอทีแบบใหม่ที่มีปัจจัยอย่างอุปกรณ์พกพา กลุ่มเมฆ และ big data เข้ามาเชื่อมโยงกับระบบด้วย
Dell ออกพีซีขนาดจิ๋ว Inspiron Micro ลักษณะเดียวกับ HP Pavilion Mini โดยวางตัวเป็นพีซีขนาดเล็กราคาถูก
รุ่น Celeron ราคาขายที่ 179 ดอลลาร์ (6,000 บาท) และรุ่น Pentium ขาย 229 ดอลลาร์ (7,700 บาท) รุ่นล่างมีสเปกและราคาใกล้เคียงกับ HP Stream Mini ที่ HP บ้านเราไม่ได้นำเข้ามาขายครับ
เมื่อช่วงต้นปี Dell เพิ่งเปิดตัวแท็บเล็ตรุ่นใหม่อย่าง Venue 8 7000 แท็บเล็ตแอนดรอยด์ตัวบาง ที่ได้รับคำชมค่อนข้างดีจากบรรดานักรีวิว ล่าสุด Dell ออกมาขยายความสำเร็จด้วยการขยายร่าง เพิ่มฟีเจอร์เป็นรุ่นใหม่ Venue 10 7000 แท็บเล็ตหน้าจอ 10" สำหรับงานธุรกิจโดยเฉพาะ
ตัวแท็บเล็ต Venue 10 7000 แม้ว่าจะบางไม่แพ้รุ่นเล็กที่ 6.2 มม. แต่มาในทรงมาตรฐานกว่ามาก หน้าจอใหญ่กว่า แต่ความละเอียดเท่ากันที่ 2560x1600 พิกเซลแบบ OLED ใช้ชิป Atom Z3580 ควอดคอร์ความถี่ 2.3GHz แรม 2GB และยังใช้กล้องสามมิติ RealSense ที่พัฒนาโดยอินเทล รัน Android 5.0 Lollipop น้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 598 กรัม
โน้ตบุ๊กขอบจอบาง Dell XPS 13 รุ่นปี 2015 ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ล่าสุด Dell ออก XPS 13 รุ่น Developer Edition ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Ubuntu 14.04 มาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งแล้ว
หน้าตาของ XPS 13 Developer Edition เหมือนกับรุ่นปกติทุกประการ แต่สเปกที่เลือกได้ต่างไปเล็กน้อย โดยรุ่น Developer รุ่นสเปกต่ำสุดที่ซื้อได้คือ Core i5-5200U, แรม 8GB, SSD 128GB ขายราคา 949 ดอลลาร์ ในขณะที่รุ่นปกติเริ่มที่ Core i3, แรม 4GB, ราคาเริ่มต้น 799 ดอลลาร์
ที่มา - Dell, Hacker News