iOS 12.1 ซึ่งตอนนี้อยู่ในสถานะเบต้า มีการเปลี่ยนแปลงหนึ่งคืออีโมจิใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามา แต่อีโมจิตัวหนึ่งก็กลายเป็นประเด็น (อีกแล้ว) นั่นคืออีโมจิรูปเบเกิล
สาเหตุที่เป็นปัญหาก็เพราะมีหลายคนให้ความเห็นว่าเบเกิลในเวอร์ชันแรก (ภาพซ้าย) นั้น ดูเป็นเบเกิลผลิตจากโรงงาน ใช้เครื่องจักรผ่ากลาง เหมือนซื้อแบบแช่แข็งในซูเปอร์มาร์เก็ตมาอุ่นร้อน ซึ่งเป็นการทำลายคุณค่าของเบเกิล เรื่องนี้เป็นประเด็นกันจนมีคนไปเรียกร้องใน Change.org เลยทีเดียว
Google Gboard เพิ่มฟีเจอร์สนุกๆ คือสามารถสร้างอีโมจิจากรูปเซลฟี่ได้ เป็นการผสมผสานระหว่าง Machine Learning ที่เรียนรู้จากภาพถ่ายและคลังรูปภาพจากการออกแบบของหลากหลายศิลปิน โดย ML จะคัดอีโมจิที่มีสีผม รูปหน้า สีผิวใกล้เคียงกับรูปเซลฟี่มาให้
แต่เดิมฟีเจอร์นี้เปิดใช้งานมาก่อนแล้วเฉพาะแอพ Allo ล่าสุดเปิดใช้งานทั้งบนอุปกรณ์ iOS และแอนดรอยด์ และใช้อีโมจิส่งไปยังแอพแชทอื่นๆ ได้แล้ว
Apple มีตัวอีโมจิในร่างอวตารหรือ Memoji ที่มีอยู่ใน iPhoneX ล่าสุดวันนี้ถือเป็นวันอีโมจิของโลก Apple เซอร์ไพรส์ด้วยการใช้ Memoji แทนที่รูปผู้บริหารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Tim Cook, Angela Ahrendts, Jony Ive, Eddy Cue, Craig Federighi, Luca Maestri, Phil Schiller และผู้บริหารคนอื่นๆ บนเว็บไซต์
Memoji ในรูปแบบร่างอวตารของผู้ใช้เป็นฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 12 ปรับเปลี่ยนหน้าตาสีผมสีผิวได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ของอีโมจิที่ค่ายมือถือใหญ่ทำกัน อย่างเช่นในซัมซุงก็มี Animoji
และเนื่องในวันอีโมจิโลก Apple ยังประกาศเพิ่มสีหน้าต่างๆ ให้อีโมจิมาตรฐาน เช่น หนาวจนน้ำแข็งเกาะ ปาร์ตี้ สีหน้าขอร้อง เป็นต้น ส่วนอีโมจิอาหารก็มีเพิ่มมะม่วง ผักกาดหอม คัพเค้ก เค้กไหว้พระจันทร์ เป็นต้น
กูเกิลได้ออก Android P Beta 2 ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างแล้ว อีโมจิเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเช่นเดียวกัน
Jennifer Daniel ผู้จัดการฝ่าย UX ด้านศิลปะของกูเกิลได้ทวีตว่า เพื่อสะท้อนการเปิดกว้างและยอมรับในความหลากหลายของกูเกิล อีโมจิสลัดผัก ใน Android P Beta 2 จึงได้เริ่มนำไข่ออกไปจากชามสลัด เพื่อให้สลัดชามนี้คนที่เป็นวีแกนสามารถทานได้ด้วย
Twitter ได้เปลี่ยนมาใช้มาใช้อีโมจิเป็นของตัวเองอย่างเงียบๆบน Android โดยใช้ชุดอีโมจิที่ชื่อว่า Twemoji ให้การแสดงผลจะเหมือนกับบน TweetDeck
โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ผู้ที่ได้รับผลเต็มๆคือผู้ใช้งาน Android รุ่นเก่าที่ไม่ได้รองรับอีโมจิชุดใหม่ๆ และมีปัญหาแสดงผลอีโมจิที่ไม่ครบถ้วน การอัพเดตนี้จะช่วยแก้ปัญหาผู้ที่ใช้ Android ที่ไม่ได้รองรับอีโมจิใหม่ๆให้แสดงผลได้ครบเหมือนเวอร์ชั่นอื่นๆบนแอพ Twitter
การอัพเดตนี้จะมีผลทั้งบนเดสท็อปและมือถือโดยผู้ใช้ส่วนหนึ่งที่ใช้แอพ Twitter บน Android 4.4 หรือใหม่กว่าจะเริ่มได้ใช้ Twemoji ในวันนี้
ที่มา - Android Police
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าเตรียมเปลี่ยนอีโมจิ จากรูปปืนจริง มาใช้ปืนฉีดน้ำแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้บริษัทรายใหญ่ทั้ง แอปเปิล, Twitter และล่าสุดคือกูเกิล ซึ่งเป็นไปตามกระแสเรื่องการครอบครองอาวุธปืนในสหรัฐฯ
ไมโครซอฟท์บอกว่าตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนเปลี่ยนอีโมจิรูปปืนดังกล่าว เพื่อให้สะท้อนค่านิยมขององค์กรและเป็นการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องที่ได้มา
ปืนฉีดน้ำของไมโครซอฟท์ ตัวปืนเป็นสีเขียวและมีถังน้ำเป็นสีส้ม รูปทรงคล้ายกับกูเกิล แตกต่างกันตรงสี
ที่มา: The Verge
Apple และ Twitter เปลี่ยนอีโมจิปืนมาเป็นปืนฉีดน้ำ ล่าสุด Google เอาด้วย Google ได้อัพเดตNoto Color Emoji ใน GitHub พร้อมกับอีโมจิใหม่แล้ว เท่ากับว่า Android P จะมีอีโมจิปืนพกที่ออกแบบใหม่เป็นปืนฉีดน้ำ สีส้มที่มีที่เก็บน้ำสีเหลืองขนาดใหญ่อยู่ด้านบน
จากภาพด้านล่างจะเห็นเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของอีโมจิปืนแต่ละค่าย ด้วยในช่วงเวลานี้ที่ความขัดแย้งเรื่องกฎหมายปืนในสหรัฐฯยังมีอยู่
Twitter ออกอีโมจิใหม่เวอร์ชั่น Twemoji 2.6 ใช้แทนอีโมจิปืน เป็นปืนฉีดน้ำ ตามรอย Apple ที่ทำมาก่อนแล้วในปี 2016 ตามด้วย WhatsApp และ Samsung
เรียกได้ว่า การเปลี่ยนแปลงอีโมจิของ Apple ใน iOS 10 ส่งผลต่อบริษัทไอทีอื่นๆ และอีโมจิเองก็ถือเป็นการสื่อสารยุคใหม่รูปแบบหนึ่งที่คเห็นแล้วเข้าใจโดยไม่มีกำแพงภาษากั้น อีโมจิจึงเป็นมากกว่าเครื่องมือตกแต่งบทสนทนา การพยายามสร้างอีโมจิให้ครอบคลุมและหลากหลายจึงเป็นสิ่งสำคัญ
กรณีปืนฉีดน้ำนั้นส่วนหนึ่งมาจากความรุนแรงของปืนที่เพิ่มมากขึ้นทุกทีในสหรัฐฯ และเป็นจุดยืนของ Twitter ที่พยายามแก้ปัญหาการคุกคาม hate speech บนแพลตฟอร์ม
Apple ได้เสนอต่อ Unicode Consortium ให้เพิ่มภาพอีโมจิที่สื่อความหมายเกี่ยวกับผู้พิการและทุพพลภาพ จำนวน 13 ภาพ
Apple บอกว่านี่ไม่ใช่ภาพอีโมจิทั้งหมดที่แทนตัวตนของผู้พิการและทุพพลภาพได้ทุกประเภท แต่อยากให้นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความสำคัญของบุคคลเหล่านี้ท่ามกลางการสื่อสารบนโลกออนไลน์
หน่วยงานกิจกรรมทางวัฒนธรรมด้านภาษาของประเทศญี่ปุ่น ได้ออกมาประกาศรณรงค์ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศ พยายามใช้คำและข้อความที่มีความชัดเจนในการสื่อสารให้มากขึ้น
เหตุผลที่หน่วยงานวัฒนธรรมออกมารณรงค์เรื่องนี้ เนื่องจากมองว่าการใช้คำย่อและตัวอีโมจิในญี่ปุ่นมีเพิ่มมากขึ้นจนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่ข้อความเหล่านี้ก็มีคนจำนวนมากในสังคมที่ไม่สามารถเข้าใจได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่ โดยแคมเปญดังกล่าวใช้คำโปรยว่า "หยุดทำให้พวกเราสับสนได้แล้ว" ยกตัวอย่างคำสแลงเช่น おk ซึ่งแปลว่า ok เพราะอ่านออกเสียงได้เหมือนกัน
มาตรฐาน Unicode 11.0 ได้ถูกประกาศออกมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยเพิ่มอีโมจิ 157 แบบ แต่ก็มีข้อทักท้วงจากผู้เกี่ยวข้องหลายอย่าง Unicode Consortium จึงประกาศการแก้ไขอีโมจิบางตัวดังนี้
Unicode ประกาศอัพเดตตารางเวอร์ชั่น 11 เพิ่มอีโมจิอีก 157 แบบ โดยครึ่งหนึ่งเป็นรูปหน้าคน 77 แบบ
ใบหน้ายิ้ม (smiley) ที่น่าจะได้ใช้บ่อยๆ คงเป็นหน้ายิ้มพร้อมหัวใจสามดวง เป็นรูปแบบเดียวกับสติกเกอร์ในเฟซบุ๊กและบริการอื่นๆ ในจีน
ส่วนใบหน้าแบบอื่นๆ ยังมีเพิ่มเติมใบหน้าคนพร้อมลักษณะผม เช่น ผมหยิก, ผมขาว, และหัวล้าน ทั้งหมดมีแยกเพศและสีผิวทำให้จำนวนรวมมีจำนวนมาก
รูปภาพอื่นๆ ที่เพิ่มมา เช่น มะม่วง, นกแก้ว, ขนมไหว้พระจันทร์, ซองอั่งเปา
Unicode Emoji หยุดการรับอักษรในเวอร์ชั่น 11 แล้วและเปิดรับข้อเสนอสำหรับเวอร์ชั่นต่อไป แต่โครงการ Unicode หลักยังคงไม่เสร็จสิ้น และน่าจะเสร็จได้ในกลางปีนี้
Unicode Consortium ประกาศรายละเอียดของมาตรฐาน Unicode เวอร์ชัน 11.0 Beta ส่วนของอีโมจิ ซึ่งจะมีผลในปีหน้า โดยมีทั้งอีโมจิใหม่ที่เพิ่มมา และคุณสมบัติเพิ่มเติม
โดยอีโมจิที่อยู่ในขั้นตอนเสนอเพิ่มเติม อาทิ ซอฟต์บอล, คัพเค้ก, คนผมสีแดง, เบเกิล, จิงโจ้, ตุ๊กตาหมีเท็ดดี้, มะม่วง, หน้าปาร์ตี้ ฯลฯ
ข้อเสนอของ Unicode ที่น่าสนใจคือการเพิ่มคุณสมบัติ ให้สามารถเลือกอีโมจิที่หันไปทางหรือขวาได้เอง จากเดิมผู้ผลิตจะบังคับรูปแบบไปทางใดทางหนึ่ง โดยผู้ผลิตต้องให้การสนับสนุนแนวทางนี้จึงจะมีการนำไปใช้งาน
Unicode 11.0 เวอร์ชันสุดท้ายคาดว่าจะประกาศได้ในครึ่งหลังปี 2018
ที่มา: Emojipedia
เมื่อวานนี้กูเกิลได้ออก Android 8.1 Oreo Developer Preview 2 ซึ่ง Emojipedia พบว่าในอัพเดตนี้กูเกิลยังแก้ไขปัญหาอีโมจิเบอร์เกอร์ ที่เป็นประเด็นไปทั่วเนื่องจากตำแหน่งชีสวางไม่ถูกต้อง (แม้กูเกิลจะทดลองทำให้ดูแล้วว่าก็ใช้งานได้)
โดยในอีโมจิเบอร์เกอร์แบบใหม่นั้น ชีสถูกวางไว้ใต้มะเขือเทศและอยู่เหนือชิ้นเนื้อ ซึ่งเหมือนกับอีโมจิของค่ายอื่นแล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผู้ใช้จำนวนหนึ่งทักท้วงกูเกิลว่าอีโมจิแฮมเบอร์เกอร์ของกูเกิลนั้นผิดจากความเป็นจริงเพราะวางชีสไว้ใต้เนื้อซึ่งไม่ค่อยมีใครทำนัก ประเด็นนี้เป็นเรื่องเป็นราวจนกระทั่ง Sundar Pichai ออกมาตอบรับว่าถ้ามีข้อตกลงว่าที่ถูกควรเป็นอย่างไรจะทิ้งทุกอย่างมาแก้ไขเรื่องนี้ วันนี้ที่สำนักงานของกูเกิลในเมืองซีแอตเทิลก็มีรายงานว่าปัญหาได้ถูกแก้ไขแล้ว ด้วยการเสิร์ฟเมนู Android Burger เป็นอาหารกลางวัน โดยวางชีสใต้เนื้อ และวางผักกาดไว้ด้านบน
อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดของ Android Burger มีอยู่เล็กน้อยคือไม่มีงาบนขนมปังเหมือนในอีโมจิ
เมนูต่อไป เบียร์ฟองลอย
เรื่องมีอยู่ว่านักเขียนชื่อ Thomas Baekdal ได้ทวีตตั้งคำถามว่า emoji รูปเบอร์เกอร์ที่กูเกิลใช้อยู่นั้น วางตำแหน่งแผ่นชีสไม่ถูกต้องโดยอยู่ใต้ชิ้นเนื้อ เมื่อเทียบกับของแอปเปิลที่วางไว้บนเนื้อ
เมื่อไปดูเพิ่มเติมที่เว็บ Emojipedia ก็จะพบว่ารูปเบอร์เกอร์ของทุกค่ายนั้น แผ่นชีสล้วนวางอยู่เหนือชิ้นเนื้อทั้งสิ้น มีเพียงกูเกิลรายเดียวที่วางไว้ด้านล่าง ซึ่งตามหลักแล้วชีสควรวางไว้บนเนื้อเพื่อให้สัมผัสความร้อนและละลาย พอชาวเน็ตถกเถียงกันอยู่นาน Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลก็เลยออกมาพูดถึงเรื่องนี้เอง
โดยเขาทวีตตอบ Baekdal ว่า เขาจะหยุดทุกเรื่องแล้วมาดูปัญหานี้ในวันจันทร์ เพื่อหาข้อสรุปว่ากูเกิลต้องทำอย่างไรต่อไป
หากใครเคยสังเกตน่าจะเห็นว่าแอปแชท Messenger มีการใช้งานชุดอีโมจิคนละแบบกับที่ถูกใช้บนเฟซบุ๊ก ล่าสุดเฟซบุ๊กประกาศยกเลิกการใช้งานชุดอีโมจิดังกล่าวบน Messenger แล้วโดยไม่ให้เหตุผล ระบุแต่เพียงว่าเพื่อหันไปโฟกัสกับการพัฒนาฟีเจอร์อื่นๆ ที่มีประโยชน์กับผู้ใช้แทน
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ผู้ใช้งาน Messenger บนแอนดรอยด์และบนเว็บจะได้ใช้งานชุดอีโมจิของเฟซบุ๊กแทน ขณะที่ผู้ใช้บน iOS ก็จะได้ใช้ชุดอีโมจิของ iOS แทน
ที่มา - Android Police
เป็นคำถามในใจคอหนังมาตั้งแต่โปรโมทหนังเป็นเทรลเลอร์แล้วว่า The Emoji Movie จะออกมาเป็นอย่างไร บ้างก็สงสัยว่าฮอลลีวูดหมดมุกจะทำหนังแล้วหรือ ล่าสุดมีนักวิจารณ์ได้เข้าชมภาพยนตร์ดังกล่าวบ้างแล้ว ส่วนใหญ่พูดไปในทางเดียวกันคือ "แย่"
คำวิจารณ์จาก The Verge บอกว่าหนังแย่มาก และสร้างความขุ่นเคืองในใจมากมาย Vox จั่วหัวใหญ่ว่าอย่าไปดูหนังเรื่องนี้ The Emoji Movie พยายามจะทำให้ตัวเองเป็นเหมือนหนังของ Pixar แต่ขาดส่วนประกอบหลายส่วนที่ Pixar มี เปรียบเทียบกับ Inside Out แล้วยังห่างไกลมาก
เนื่องในวันอีโมจิโลก Google ออกมาประกาศว่าอีโมจิตัว blob (ที่เป็นก้อนสีเหลืองแสดงสีหน้าหลากหลาย) จะหายไป โดยทั้งหมดจะไปอยู่ในแอพพลิเคชั่น Allo ในฐานะสติ๊กเกอร์แทน
ก่อนหน้านี้ Google ออกแบบอีโมจิใหม่ยกชุด ให้ใช้งานในระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นล่าสุดของแอนดรอยด์คือ Android O
เมื่อวานนี้ (17 กรกฎาคม) ถือเป็นวัน Emoji โลก โดย Facebook ก็ร่วมเฉลิมฉลองวันดังกล่าว ซึ่งซีอีโอ Mark Zuckerberg ได้เผยข้อมูลน่าสนใจของการใช้ Emoji บน Facebook ว่า Emoji ยอดนิยมคืออะไร และประเทศไหนนิยม Emoji รูปไหน
เริ่มด้วยตัวเลขการใช้งาน โดยมีการใช้ Emoji บน Facebook 60 ล้านครั้งต่อวัน แต่ตัวเลขนี้ทวีคูณมากเมื่อดูบน Messenger ซึ่งมีถึง 5 พันล้านครั้งต่อวันเลย
Emoji ยอดนิยมของโลกยังคงเป็น Face with Tears of Joy หรือหน้าตาดีใจพร้อมน้ำตาไหล ? ซึ่งเคยเป็นคำแห่งปี 2015
มาตรฐาน Unicode เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 10.0 แล้ว มีอีโมจิเพิ่มเข้ามาใหม่ 56 ตัว หนึ่งในนั้นคือสัญลักษณ์ Bitcoin และสัญลักษณ์อื่นๆ รวมกันกว่า 8,518 ตัว ทำให้ตอนนี้ Unicode มีสัญลักษณ์และอีโมจิแล้วทั้งหมด 136,690 ตัว
จากที่ในเวอร์ชัน 9.0 Unicode เริ่มเพิ่มสัญลักษณ์และภาษาที่มีคนใช้น้อย เวอร์ชันนี้ยังคงแนวทางเดิมด้วยการเพิ่มภาษา Gondi ในอินเดียตอนกลางและตะวันออกเฉียงใต้, Nüshu ภาษาโบราณในจีนที่ถูกใช้สำหรับการเขียนกวีโดยผู้หญิง ถูกใช้มาจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 20, ภาษา Soyombo และ Zanabazar Square ภาษามองโกล และนำไปเขียนภาษาทิเบตและสันสกฤตได้ด้วย
Unicode 10.0 เป็นเวอร์ชันแรกที่ออกมาตรฐานพร้อมๆ กับออกโค้ดให้ผู้ผลิตนำไปใช้งาน
ยังไม่ทันที่ Google จะปล่อยใช้งานอีโมจิชุดใหม่ ก็มีผู้ใช้บน Twitter ชื่อ @SilverEzhik สร้างแคมเปญขึ้นใน Change.org เรียกร้องให้ Google นำอีโมจิแมวตัวเดิมกลับมา ซึ่งตอนนี้มีผู้ลงชื่อแล้วกว่า 400 คน
ในคำอธิบายของแคมเปญได้ระบุว่า "อีโมจิแมวตัวเก่ามีรอยยิ้มที่สวยงามราวกับแสงสว่างที่สดใสท่ามกลางเวลาที่มืดมน ฉันขอให้ Google พิจารณานำอีโมจิตัวเก่ากลับมาอีกครั้งเพราะมันเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ผู้คนรวมใจกันได้จนทุกวันนี้"
นอกจาก Android O จะเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้ใช้งานกันแล้ว Google ยังจับอีโมจิของตัวเองมาปรับเปลี่ยนและออกแบบใหม่ยกชุด พร้อมให้ใช้งานแล้วใน Android O
แนวคิดของ Google ที่เปลี่ยนอีโมจิเป็นแบบใหม่นี้ เกิดจากต้องการสร้างอีโมจิแต่ละตัวให้สามารถระบุตัวตนได้ชัดเจนขึ้น และจุดสำคัญอีกอย่างคือปัญหาหน้าตาอีโมจิที่ไม่เหมือนกันในแต่ละแพลตฟอร์ม ทำให้เกิดปัญหาการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน จึงตัดสินใจออกแบบใหม่เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจว่าส่งอีโมจิไปหาอีกฝั่งได้อย่างถูกต้อง
ซัมซุงเปิดตัวแอพ Wemogee แอพแชทสำหรับสื่อสารกับผู้ป่วยโรค Aphasia ซึ่งมีความผิดปกติของสมองส่วนการสื่อความ ทำให้การพูด สื่อความหรือการทำความเข้าใจภาษามีความบกพร่อง
ซัมซุงอ้างงานวิจัยที่ระบุว่า สัญลักษณ์อย่างอีโมจิ ช่วยให้ผู้ป่วย Aphasia สามารถเข้าใจและสื่อสารได้ระดับหนึ่ง จึงเป็นที่มาของแอพ Wemogee ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปลระหว่างภาษากับอีโมจิ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับคนทั่วไปได้มากขึ้น
กูเกิลต่อสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อดึงคนมาใช้แอพแชท Allo ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตั้งแต่เปิดตัวก็มีอัพเดทฟีเจอร์ใหม่อยู่เรื่อยๆ เช่น เข้าร่วมแคมเปญโปรโมทหนัง "สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่", เตรียมออกเวอร์ชันเดสก์ทอป เป็นต้น วันนี้มีอัพเดทอีกครั้ง เปิดให้ผู้ใช้ส่งภาพ GIF และอีโมจิเคลื่อนไหวหาเพื่อนได้ และใช้ Google Assistant ให้หาข้อมูลส่งให้เพื่อนในช่องแชทได้เลย