Facebook ประกาศถอดตัวเลือกการเจาะจงตัวบุคคลสำหรับโฆษณา (Detailed Targeting) ที่เกี่ยวข้องกับรสนิยมทางเพศ แนวคิดทางศาสนา-การเมือง และความสนใจด้านสุขภาพออก ทำให้นักโฆษณาและแบรนด์ไม่สามารถใส่เงื่อนไขเหล่านี้ในการโฆษณาได้อีก
การเปลี่ยนแปลงจะมีผลในวันที่ 19 มกราคม 2022 โดย Facebook ยกตัวอย่างตัวเลือกที่ถูกตัดออกดังนี้
Facebook เพิ่มฟีเจอร์เพื่อการสร้างรายได้ใน Facebook Groups เพิ่มโอกาสทำเงินของแอดมินกลุ่ม โดยมี 3 ฟีเจอร์หลักคือ community shops และ fundraisers ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่มีอยู่แล้วใน Facebook แต่ขยายขอบเขตไปยัง Facebook Group ด้วย ส่วนฟีเจอร์ที่ 3 ซึ่งเป็นของใหม่คือ paid subgroups
โดย paid subgroups ถือเป็นกลุ่มย่อยใน Groups อีกที โดยสมาชิกจะต้องจ่ายรายเดือนเพื่อเข้าร่วมกลุ่มต่อ เพื่อจะเข้าถึงเนื้อหาเอ็กซคลูซีฟ อย่สงเช่นการโค้ชชิ่ง สร้างเครือข่าย หรือการพูกคุยเจาะลึกในประเด็นต่างๆ
ตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปี 2020 Facebook เปิดระบบ Subscriptions ให้ครีเอเตอร์ที่ผ่านเกณฑ์ เก็บเงินจากแฟนๆ รายเดือนเพื่อสร้างรายได้สำหรับสร้างเนื้อหาต่อไปได้ (โมเดลคล้าย Patreon) ล่าสุด Facebook ประกาศความเคลื่อนไหวเพิ่มเติม ครีเอเตอร์ใน 27 ประเทศ รวมไทยด้วย สามารถเปิด Subscriptions ได้ แต่ยังเป็นระบบ invite-only
ครีเอเตอร์สามารถโปรโมทระบบ Subscriptions ในหน้าโปรไฟล์ของตัวเอง และใช้ระบบชำระเงิน Facebook Pay ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ Facebook ยังจ่ายโบนัสให้กับครีเอเตอร์ $5 - $20 ถ้ามีคนมาติดตามเพิ่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเงินลงทุน 1,000 ล้านเหรียญเพื่อครีเอเตอร์ที่ Facebook ประกาศมาก่อนหน้านี้
Facebook กำลังทยอยออกอัพเดตใหม่ v34 ให้กับผู้ใช้ Oculus Quest อัพเดตนี้มาพร้อมฟีเจอร์ Space Sense ระบบที่จะทำงานร่วมกับ Guardian System ที่ให้ผู้เล่นตั้งค่าบริเวณที่จะใช้เล่น VR ได้
Space Sense ช่วยไฮไลท์วัตถุที่เข้ามาในบริเวณการเล่น (Guardians bound) ของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก สัตว์เลี้ยง หรือเก้าอี้ที่ถูกเลื่อน โดยจะไฮไลท์เป็นขอบสีชมพูเรืองแสง แม้จะเล่นเกมอยู่ มีระยะการทำงาน 9 ฟุต สามารถเข้าไปเปิดได้ในการตั้งค่าส่วน “Experimental Features” หลังอัพเดตเป็น v34 แล้ว
Facebook ประกาศเตรียมปิดระบบการจดจำใบหน้า (face recognition) ของแอป Facebook ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งรวมลบเทมเพลตข้อมูลใบหน้ามากกว่า 1 พันล้านคนออกด้วย โดยผู้ใช้งานที่เลือกเปิดโหมดจดจำใบหน้าไว้จะไม่สามารถใช้ฟังก์ชันนี้ได้อีก
Facebook ให้ข้อมูลเพิ่มว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้งาน Facebook เป็นประจำทุกวัน (DAUs - Daily active users) เลือกเปิดโหมดจดจำหน้าเอาไว้
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกับระบบใส่ข้อมูลบรรยายรูปภาพอัตโนมัติ (automatic alt text) ด้วย ซึ่ง Facebook บอกว่าระบบนี้ช่วยให้คนมีปัญหาทางการมองเห็นสามารถเข้าใจรูปภาพได้ รวมทั้งบุคคลที่อยู่ในภาพ อย่างไรก็ตามรายละเอียดของภาพส่วนอื่นยังทำงานได้ต่อไปตามเดิม
มหากาพย์เอกสารภายในที่ Frances Haugen ผู้แจ้งเบาะแสแฉ Facebook เผยว่า จากการที่ผู้ใช้งานวัยรุ่นน้อยลง Facebook จึงพยายามสร้างโปรดักต์ใหม่ จับตลาดเด็กช่วงอายุ 6-9 ขวบด้วย
Elon Musk ปิดเพจ Facebook มาตั้งแต่ปี 2018 ตามด้วยบัญชี Instagram หลังจากนั้นไม่นาน แต่ล่าสุดมีเพจปลอม Elon Musk ที่กลับได้รับเครื่องหมายยืนยัน (Verified) จาก Facebook ซะอย่างนั้น
เพจปลอมที่ดูยังไงก็ปลอม เพราะประกาศชวนคนโอนเงิน Bitcoin ให้เขามูลค่า 1,000 ดอลลาร์แล้วเขาจะโอนกลับให้ 2,000 ดอลลาร์ มีคนกดติดตามมากถึง 154,000 คน แถมยังประกาศในหน้า About ของเพจอย่างชัดเจนว่า this is a fan page
เว็บไซต์ The Verge ระบุว่าเพจนี้ตั้งในปี 2019 โดยผู้ดูแลเพจอยู่ในอียิปต์ เพจถูกเปลี่ยนชื่อมาหลายครั้ง รอบล่าสุดเพิ่งเปลี่ยนมาเป็น Elon Musk เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2021 นี้เอง
Meta AI (หรือ Facebook AI เดิม) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สร้างเซ็นเซอร์รับสัมผัส (tactile sensor) ในชื่อ ReSkin ที่สามารถสร้างได้ง่าย ราคาถูก เปิดทางให้หุ่นยนต์ราคาถูกสามารถรับรู้แรงกดและทำงานประณีต เช่นการจับวัตถุบอบบางได้
ทีมวิจัยระบุว่า ReSkin นั้นสร้างได้ในราคาเพียง 200 บาทต่อชุดเมื่อผลิตทีละ 100 ชุด โครงสร้างของเซ็นเซอร์อาศัยแผ่น Elastomer ประกบอยู่กับเซ็นเซอร์ด้านล่าง โครงสร้างแบบนี้ทำให้ตัววงจรแยกออกจากตัว "ผิว" และการซ่อมบำรุงเมื่อผิวชำรุดก็เพียงลอกออกเท่านั้น ตัวเซ็นเซอร์มีความหนา 3 มิลลิเมตร สามารถอ่านค่าแรงกดได้ 400 ครั้งต่อวินาที ตัวผิวมีความทนทานประมาณ 50,000 ครั้ง
สำนักข่าว CNBC เปิดเผยที่มาของแนวคิด Metaverse ว่ามาจาก Jason Rubin ผู้บริหารของ Oculus เขียนเอกสารภายในชื่อ "The Metaverse" เป็นสไลด์ความยาว 50 หน้าเมื่อปี 2018 กระตุ้นให้บอร์ดบริหารของ Facebook ต้องคิดเรื่องนี้อย่างจริงจัง
Jason Rubin เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ Naughty Dog ในปี 1986 และโด่งดังในฐานะผู้สร้างเกม Crash Bandicoot เขาลาออกจาก Naughty Dog ในปี 2004 แล้วไปทำงานกับ THQ เป็นเวลาสั้นๆ ก่อนมาร่วมงานกับ Oculus ในปี 2014 จนถึงปัจจุบัน (ตำแหน่งปัจจุบันคือ VP Metaverse Content)
วิสัยทัศน์ของ Rubin วาดภาพ metaverse ออกมาเป็นการใช้ชีวิตในเมืองเสมือนจริง แต่งตัวอวตารของตัวเองได้ มีสกุลเงินเสมือน และเมื่อเจอกับคนอื่นที่น่าสนใจก็สามารถแต่งงานกันได้
จากการที่ Apple ปรับนโยบายความเป็นส่วนตัวบนอุปกรณ์ หรือ App Tracking Transparency กำหนดให้โซเชียลมีเดียต้องขอการยินยอมให้ติดตามข้อมูลที่ส่งผลต่อการมองเห็นโฆษณานั้น ล่าสุด Financial Times รายงานว่า ช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ นโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบเป็นตัวเงินต่อแพลตฟอร์มอย่าง Snap, Facebook, Twitter และ YouTube ร่วมหมื่นล้านดอลลาร์
Facebook โชว์ภาพแว่นโค้ดเนม Project Cambria ซึ่งเป็นแว่นรุ่นใหม่ระดับไฮเอนด์ มีฟีเจอร์ระดับสูงอย่าง social presence, color Passthrough, pancake optics รวมถึงการเชื่อมต่อกับ Presence Platform มี passthrough API สำหรับนำภาพวัตถุภายนอกมาแสดงในแว่น (ลักษณะเหมือน HoloLens ของไมโครซอฟท์)
Facebook ประกาศชัดว่า Project Cambria ไม่ใช่ Oculus Quest 3 แต่จับอีกตลาดที่เทคโนโลยีสูงกว่านั้น ราคาแพงกว่า และเป็นแว่นที่เปิดโลกสู่ metaverse ตามวิสัยทัศน์ของบริษัท กำหนดการเปิดตัว Cambria บอกคร่าวๆ แค่ว่าปีหน้า 2022
ยังอยู่ที่ข่าว Facebook เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เพื่อสะท้อนวิสัยทัศน์ว่าบริษัทต้องการไปไกลกว่าการเป็นโซเชียลมีเดีย มุ่งสู่โลกเสมือนหรือ Metaverse โดยตัวย่อในการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แนสแดค จะเปลี่ยนจาก FB เป็น MVRS มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2021 เป็นต้นไป ส่วนโครงสร้างการเงินยังคงเหมือนเดิม
กรณีนี้อาจเทียบได้ว่าคล้ายกับกรณีของกูเกิล ที่ปรับโครงสร้างบริษัทโดยตั้งโฮลดิ้ง Alphabet ขึ้นมา และให้กูเกิลเป็นบริษัทย่อยในนั้น แต่ตัวย่อหุ้นของกูเกิลยังใช้ GOOG เหมือนเดิม และจำนวนหุ้นก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
แม้ Facebook จะเปลี่ยนชื่อเป็น Meta แล้ว แต่เอกสารตีแผ่เรื่องราวภายในที่หลุดมาก่อนหน้านี้ก็ยังดำเนินต่อไป เอกสารภายในอีกชุดระบุว่า Faceobok เจอปัญหาจ้างคนมาทำงานยาก โดยเฉพาะงานตำแหน่งวิศวกร โดย Facebook ไม่สามารถหาผู้สมัครที่เพียงพอต่อความต้องการด้านวิศวกรรมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสำนักงานใหญ่ Bay Area
เรื่องชื่อบริษัทมีผลมากจริงๆ จากการที่ Facebook รีแบรนด์เป็น Meta ส่งผลให้หุ้นบริษัทอื่นที่ใช้ชื่อเดียวกันขึ้นด้วย โดย Meta Materials บริษัทเทคโนโลยีด้านวัสดุในแคนาดาหุ้นขึ้น โดยหลังจากปิดการซื้อขายในวันพฤหัสบดี หุ้นของ Meta Materials ซึ่งซื้อขายภายใต้ชื่อ MMAT เพิ่มขึ้นมากถึง 25%
Bloomberg ไปเจอรูปหลุดที่คาดว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Meta หรือในชื่อบริษัทเก่าว่า Facebook เป็นนาฬิกาอัจฉริยะที่มาพร้อมติ่งกล้องบนหน้าปัดนาฬิกาเลย โดย Bloomberg ไปเจอรูปนี้จากแอปพลิเคชันที่ใช้งานร่วมกับ Ray-Ban Stories หรือแว่นตาอัจฉริยะที่เปิดตัวมาก่อนหน้านี้
Mark Zuckerberg ให้สัมภาษณ์กับ The Verge ถึงการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Facebook เป็น Metaverse นอกจากเหตุผลเรื่องวิสัยทัศน์ใหม่ที่ไปไกลกว่าโซเชียลแล้ว มีประเด็นอื่นที่น่าสนใจดังนี้
เฟซบุ๊กประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นบริษัทสำหรับให้บริการโลกเสมือน (metaverse) ที่มีบริการอื่นๆ นอกจากสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก โดย Mark Zuckerberg ระบุว่าคำว่า meta มาจากภาษากรีกที่แปลว่า "ไกลไปกว่า" (beyond) และบริษัทเฟซบุ๊กเองก็กำลังไปไกลกว่าข้อจำกัดของหน้าจอ หรือข้อจำกัดของระยะทาง
แนวทางการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta ยังแปลว่าบริการอื่นๆ ไม่ต้องผูกกับเฟซบุ๊กเสมอไป บริการใหม่ๆ หลังจากนี้จะไม่ต้องการบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กเพื่อใช้งาน
ตอนนี้เฟซบุ๊กจดโดเมน meta.com ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ทำอะไรนอกจาก redirect เข้าไปยังเฟซบุ๊กเฉยๆ
อีกหนึ่งเอกสารภายในของ Facebook ที่ถูกเผยแพร่โดยอดีตพนักงาน Frances Haugen ต่อสื่อหลายหัวในช่วงนี้ เอกสารฉบับนี้เป็นงานวิจัยภายในของ Facebook เมื่อปี 2018 ที่ทดลองปิดระบบอัลกอริทึม News Feed ในการเลือกโพสต์มาแสดง คิดเป็นสัดส่วน 0.05% ของผู้ใช้ทั้งหมด เพื่อศึกษาดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ผลการทดลองพบว่าอัตรา engagement ลดลงอย่างมาก ผู้ใช้กดซ่อนโพสต์เพิ่มขึ้นถึง 50% และหันไปใช้งาน Facebook Groups แทน สิ่งที่เซอร์ไพร์สคือ Facebook กลับทำเงินจากค่าโฆษณาได้มากขึ้น เพราะคนเลื่อนหาโพสต์ที่น่าสนใจใน News Feed เยอะขึ้น เห็นโฆษณาจำนวนมากขึ้นซะอย่างนั้น
เมื่อผลการทดลองเป็นไปในทางลบ ทำให้ Facebook เลิกสนใจไอเดียนี้ และยังคงการใช้อัลกอริทึมเลือกโพสต์ "ที่น่าสนใจ" มาให้เราเห็นกันต่อไป
จากประเด็นเอกสารภายใน Facebook ชี้ชัดว่าวัยรุ่นใช้งานน้อยลง มองเป็นโซเชียลคนแก่ ล่าสุด ในการประชุมนักลงทุน Mark Zuckerberg เผยว่าบริษัทกำลังโฟกัสใหม่ เพื่อการใช้งานของคนหนุ่มสาว พร้อมบอกด้วยว่า อนาคตของ Facebook ก็คือคนหนุ่มสาวนี่แหละ
นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญใน Facebook และ Instagram โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเอาใจคนหนุ่มสาวอายุ 18-29 ปีมากขึ้น แม้ว่าจะต้องแลกด้วยเงินจากผู้ใช้ที่มีอายุมากกว่าก็ตาม รวมถึงการใช้เงินหลายพันล้านเหรียญเพื่อสร้าง Metaverse ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ใหม่ขององค์กร
Facebook รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ภาพรวมรายได้เพิ่มขึ้น 35% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 29,010 ล้านดอลลาร์ เฉพาะรายได้จากโฆษณาเพิ่มขึ้น 33% เป็น 28,276 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 9,194 ล้านดอลลาร์
จำนวนผู้ใช้งาน Facebook เป็นประจำทุกเดือน (MAUs - monthly active users) เพิ่มขึ้น 6% เป็น 2,910 ล้านบัญชี ถ้าคิดรวมทุกบริการในเครือของ Facebook มีจำนวนรวม 3.58 พันล้านคน เพิ่มขึ้น 12%
ซีอีโอ Mark Zuckerberg กล่าวในแถลงการณ์ว่าเรายังมีความคืบหน้าที่ดีในไตรมาสนี้ และชุมชนของผู้ใช้งานยังคงเติบโต โดยเขาตื่นเต้นกับแผนงานในอนาคต โดยเฉพาะการสร้างสรรค์เนื้อหา ระบบการซื้อขาย และการสร้าง metaverse
สื่อสหรัฐหลายเจ้ายังเผยแพร่เอกสารภายในของ Facebook ที่หลุดออกมาโดย Frances Haugen อดีตพนักงานที่ออกมาแฉบริษัท ทำให้เรารู้ว่าจริงๆ แล้ว Facebook รับทราบปัญหาหลายอย่างอยู่แล้ว แต่ไม่ได้แก้ไขอย่างจริงจังนัก
เอกสารฉบับหนึ่งที่น่าสนใจเป็นรายงานภายในว่า วัยรุ่นในสหรัฐใช้งาน Facebook น้อยลงจริงๆ โดยตัวเลขในปี 2019 ลดลง 13% และการพยากรณ์ของทีมภายในเองคาดว่าจะลดลง 45% ในอีก 2 ปีข้างหน้า ส่วนกลุ่มผู้ใช้อายุ 20-30 ปีก็คาดว่าจะมีจำนวนลดลง 4% ในช่วงเวลาเดียวกัน
เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหตุ Facebook ถูกดูดข้อมูล 533 ล้านบัญชีอีกครั้ง เมื่อ Facebook ฟ้องร้องโปรแกรมเมอร์ชาวยูเครนรายหนึ่งชื่อว่า Alexander Solonchenko โดยเขาถูกกล่าวหาว่าดูดข้อมูลผู้ใช้งานไป 178 ล้านราย และนำลงขายในตลาดมืด
เว็บไซต์ Platformer ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นข่าวลือว่า Facebook จะเปลี่ยนชื่อบริษัท ว่าตอนนี้ Mark Zuckerberg ยังไม่ตกลงใจว่าจะเลือกชื่ออะไรดี ส่วนช่วงเวลาประกาศชื่อใหม่เป็นไปได้ตั้งแต่วันจันทร์หน้า (25 ต.ค.) ซึ่งเป็นการแถลงผลประกอบการประจำไตรมาส ไปจนถึงงาน Oculus Connect ในวันพฤหัสหน้า (28 ต.ค.)
ไอเดียเรื่องการเปลี่ยนชื่อบริษัท Facebook มีมานานตั้งแต่ปี 2016 โดย Antonio Lucio อดีตหัวหน้าฝ่ายการตลาด (CMO) ในเวลานั้น ที่อยากเปลี่ยนชื่อบริษัทให้ต่างจากชื่อบริการ แต่ไอเดียนี้ไม่ได้รับการตอบรับ
The Verge รายงานว่า Facebook มีแผนจะเปลี่ยนชื่อบริษัทในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ รีแบรนด์ใหม่เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า บริษัทกำลังมุ่งสู่แนวทางการเป็น Metaverse ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ใหม่ที่ Facebok ประกาศมาก่อนหน้านี้
Facebook ประกาศว่าจะเริ่มทดสอบการใช้งานกระเป๋าเงินดิจิทัล Novi กับผู้ใช้จำนวนเล็ก ๆ เป็นกลุ่มแรก ในอเมริกาและกัวเตมาลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูความพร้อมของระบบดำเนินการ ตลอดจนระบบสนับสนุนลูกค้าทุกส่วนว่าสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี
โครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล เปิดตัวตั้งแต่ปี 2019 โดยตอนแรกใช้ชื่อว่า Calibra เพื่อรองรับเงินสกุล Libra (ตอนนี้ชื่อ Diem) แต่ต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น Novi เพื่อไม่ให้สับสนกับชื่อ Libra ในตอนนั้น