Federal Communications Commission (กทช. สหรัฐ)
มีภาพหลุดของ BlackBerry 9800 Slider (คลิกเพื่อดูภาพ) ออกมาแล้วจาก FCC ทั้งที่งานกำลังจะจัดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมง โดยรายละเอียดอย่างคร่าวของ BlackBerry ตัวใหม่มีดังนี้:
ไม่ต้องรอถึง 11 โมงพรุ่งนี้ (เวลาฝั่งตะวันออกของ US) ก็ได้อะไรนิดๆ หน่อยๆ ของ BlackBerry 9800 Slider แล้ว เมื่อเจ้า Slider ตัวนี้ เข้าสู่ FCC (กทช. ของสหรัฐฯ) ได้อนุมัติ BlackBerry 9800 แล้ว คุณสมบัติคร่าวๆ คือ
อย่างไรก็ตาม ควรจะรองานของ AT&T และ RIM พรุ่งนี้ 4 ทุ่ม (เวลาในไทย) น่าจะดีกว่านะครับ
ที่มา - Engadget
FCC (Federal Communication Commission) ได้เปิดเผยว่ามีเครื่อง PlayStation 3 รุ่นใหม่ที่ Sony ได้ส่งเข้าไปทดสอบ โดยข้อมูลจากภาพได้แสดงไว้ถึง 4 รุ่นย่อยด้วยกัน ซึ่งหมายเลขต่างจากรุ่นก่อนหน้าที่ลดขนาดลงของตัวชิปกราฟิก โดยสองรุ่นแรกต่างกันเฉพาะขนาด HDD คือ CECH-2501A กับ CECH-2501B ซึ่งทั้งสองได้รับการทดสอบแล้วในเรื่องของ 802.11b/g Wi-Fi กับ Bluetooth 2.0+EDR
แต่ยังมีอีกสองรุ่นลึกลับใช้ชื่อว่า Debugging Stations คือรุ่น DECH-2500A กับ DECH-S2500A โดยแหล่งข่าวคาดว่าสองรุ่นนี้หน้าตาจะยังคงคล้ายคลึงกับรุ่น Slim เดิม แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในตัวชิปต่างๆ แต่ผมคิดว่าน่าจะออกแบบมาสำหรับ 3D Game มากกว่า ไม่แน่ว่า Sony อาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกในงาน E3 ที่จะถึงนี้
หลังจากนโยบาย network neutrality ของ FCC เป็นประเด็นร้อนให้ถกกันมาหลายยก ในสัปดาห์ที่แล้ว FCC ภายใต้การนำของรัฐบาลพรรคเดโมแครตก็ประกาศกฎ network neutrality ตามที่เคยให้ข่าวเอาไว้ก่อนหน้านี้
ต้องย้อนความก่อนว่า ในปี 2005 FCC เคยออกหลักการ 4 ข้อที่ช่วยการันตีว่าอินเทอร์เน็ตแบบบรอดแบนด์จะเป็นระบบเปิดที่คนทั่วไปสามารถเข้าใช้งานได้ หลักการ 4 ข้อนี้เรียกว่า Broadband Policy Statement หรือ Internet Policy Statement (PDF ต้นฉบับ) ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
เรียกได้ว่าฝ่ายต่อต้านหลักการ "ความเป็นกลางในการใช้เครือข่าย" (Network Neutrality) นอกจากซีอีโอของเวอไรซอนออกมาต้านแล้ว ล่าสุดวุติสมาชิกจอห์น แมคเคนก็ออกมาต้านเช่นกัน โดยในวันเดียวกับที่ FCC ให้เริ่มต้นการพิจารณาและลงในรายละเอียดของหลักการดังกล่าว คุณแมคเคนก็ได้เปิดประเด็นด้านกฎหมายที่อาจห้ามไม่ให้ FCC ออกกฏหมายควบคุมอินเทอร์เน็ต
ประเด็นเรื่อง network neutrality (เครือข่ายที่ไม่เลือกปฏิบัติ) เริ่มเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐ สัปดาห์ก่อน FCC หรือ กทช. ของสหรัฐออกมาประกาศว่าจะสนับสนุนนโยบาย network neutrality ซึ่งก็โดนฝ่ายที่เสียประโยชน์อย่าง ISP ต่างๆ ออกมาคัดค้าน
แต่ฝ่ายที่สนับสนุนก็มี บรรดาซีอีโอจากบริษัทไฮเทคใหญ่ๆ ในสหรัฐได้เข้าชื่อกันในจดหมายเปิดผนึกถึง Julius Genachowski ประธานของ FCC คนปัจจุบัน ว่าพวกเขาสนับสนุนแนวทางของ FCC อย่างเต็มที่ นโยบาย network neutrality จะช่วยให้อินเทอร์เน็ตเปิดเสรีและส่งเสริมการแข่งขันอย่างยุติธรรม
ต่อเนื่องจากข่าว AT&T โต้ Google เกี่ยวกับ Network Neutrality ซึ่ง AT&T ร้องเรียนกับ FCC ว่าโปรแกรม Google Voice ของกูเกิลปิดกั้นไม่ให้โทรออกไปยังพื้นที่ห่างไกล การจุดประเด็นของ AT&T รอบนี้มีผลให้ ส.ส. สหรัฐจำนวนหนึ่งออกมากดดัน FCC ด้วย และสุดท้าย FCC ได้ออกจดหมายขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกูเกิล ให้อธิบายการทำงานของ Google Voice (ลักษณะเดียวกับที่ทวงถามแอปเปิลกรณี App Store)
ปฏิกิริยาของกูเกิลก็ออกมารวดเร็ว โดยกูเกิลยังไม่ตอบ FCC อย่างเป็นทางการ แต่ออกมาโต้ AT&T ผ่านบล็อกของบริษัท โดยอธิบายว่า Google Voice ไม่ให้โทรออกไปยังเบอร์ในพื้นที่ห่างไกลเพราะ
มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ มีไอเดียว่าน่าจะลากสายไฟเบอร์ออปติกไปยัง "สถาบันหลักของชุมชน" ทั่วสหรัฐ ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัยชุมชน โรงพยาบาล ห้องสมุด ฯลฯ ประมาณ 123,000 แห่ง และประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นว่าน่าจะอยู่ราวๆ 5,000-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3 แสนล้านบาท)
ทางมูลนิธิได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้ และทำรายงานเสนอไปยัง FCC (กทช. ของสหรัฐ) ซึ่งทาง FCC ก็กำลังอยู่ระหว่างการวางแผนโครงการเมกะโปรเจคต์ National Broadband Plan ที่จะวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วสหรัฐ โดยเปิดรับไอเดียจากภาคีทุกภาคส่วนของสหรัฐ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 FCC จะเลือกไอเดียจำนวนหนึ่งและประกาศเป็นแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ ถ้าไอเดียของมูลนิธิเกตส์ผ่านก็คงได้เห็นกันอีกไม่ช้า
ก่อนหน้านี้ที่แอปเปิลได้ปฏิเสธ (หรือแค่ยังไม่ตอบรับตามคำกล่าวอ้างของแอปเปิล) โปรแกรม Google Voice เข้าไปยัง App Store และทาง FCC ได้เข้ามาตรวจสอบ ผลสรุปค่อนข้างชัดเจนว่า AT&T ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาตรงๆ แต่มีผ่านสัญญากว้างๆ กับแอปเปิล ในขณะที่แอปเปิลระบุว่ายังพิจารณาโปรแกรม Google Voice อยู่ ทางกูเกิลอ้างว่ามีคนจากแอปเปิลแจ้งมาว่าปฏิเสธเนื่องจากมีฟีเจอร์ที่ทับซ้อนกับ iPhone
เรื่องของความเป็นกลางในการใช้เครือข่าย (Network Neutrality) กำลังเป็นประเด็นร้อนที่ถกเถียงกันในกลุ่มอุตสาหกรรมการสื่อสารในสหรัฐฯ เมื่อ FCC ได้พยายามผลักดันที่จะออกข้อบังคับให้ผู้บริการเครือข่ายต่างๆ ไม่ให้ปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้แอพพลิเคชันต่างๆ อย่างการจำกัดความเร็ว P2P เป็นต้น โดย Julius Genachowski ประธานกรรมการของ FCC ได้ออกมาประกาศถึงหลักการ 6 ข้อของการให้บริการอินเทอร์เน็ต ได้แก่
จากที่เป็นข่าวกันมานานแสนนานเรื่องกรณีที่แอปเปิลปฏิเสธ Google Voice เข้าใน App Store เมื่อวานนี้ทางแอปเปิลได้ตอบคำถามที่ทาง FCC ถามไว้เมื่อต้นเดือน โดยประกาศไว้บนเว็บไซต์ของแอปเปิลแล้วครับ ซึ่งผมได้ทำการสรุปคร่าวๆ เป็นภาษาไทยได้ดังต่อไปนี้ครับ
1. ทำไมแอปเปิลจึงปฏิเสธโปรแกรม Google Voice สำหรับ iPhone รวมถึงนำโปรแกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Google Voice ออกจาก App Store แล้วนอกเหนือจาก Google Voice แล้ว มีโปรแกรมอื่นๆ อีกไหมที่ถูกถอดหรือปฏิเสธจาก App Store โดยกรุณาระบุชื่อโปรแกรมพร้อมทั้งข้อมูลการติดต่อของนักพัฒนาโปรแกรมนั้นๆ
จาก แอปเปิลปฏิเสธโปรแกรม Google Voice ไม่ให้เข้า App Store และ AT&T: เราไม่ได้แบน Google Voice เป็นหน้าที่ของแอปเปิลต่างหาก ความคืบหน้าล่าสุดคือ FCC ซึ่งเทียบได้กับ กทช. ของสหรัฐออกโรงมายุ่งกับเรื่องนี้แล้ว เริ่มจากการส่งจดหมายไปยังบริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งสาม ขอคำตอบแบบเคลียร์ๆ จากกรณีการแบน Google Voice ที่เกิดขึ้น
คำถามที่ FCC ส่งถึงตัวแทนฝ่ายกิจการรัฐบาลของแอปเปิลมี 6 ข้อ สรุปสั้นๆ ดังนี้
แหล่งข่าวจากพรรคเดโมแครตและเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในทีมเตรียมถ่ายโอนอำนาจของว่าที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เปิดเผยว่า ได้เตรียมเสนอแต่งตั้งหนึ่งในคนสำคัญซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีของโอบามาคือ นาย Julius Genachowski เป็นประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารแห่งชาติ หรือ FCC (Federal Communications Commission) คนต่อไป
Genachowski เป็นเพื่อนของโอบามาในสมัยเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนกฎหมายฮาร์เวิร์ด เคยทำงานในระดับบริหารในองค์กรและบริษัทต่างๆหลายแห่ง รวมทั้งเคยทำงานใน FCC สมัยคลินตัน ในตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษาของประธาน FCC
คณะกรรมาธิการการสื่อสารของสหรัฐอเมริกา (FCC) เปิดเผยว่า แผนในการเปิดให้บริการบรอดแบนด์ฟรีคืบหน้าไปอีกมากแล้ว หลังจากเปิดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะมากว่า 2 ปีแล้ว และกำลังจะนำเข้าเสนอเป็นครั้งสุดท้ายใน FCC ก่อนลงมติต่อไป
หากแผนดังกล่าวได้รับการรับรองโดย FCC ในวันที่ 18 ธันวาคม 2551 แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการส่งเรื่องไปยังว่าที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา พิจารณาภายหลังจากเข้าปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว ภายในปีหน้าจะมีความเป็นไปได้ที่จะเปิดให้บริการบรอดแบนด์ฟรีทั่วประเทศ
คณะกรรมาธิการสื่อสารแห่งชาติ (FCC) ของสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้บริษัท โกลบอลสตาร์ (Globalstar) ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านดาวเทียมบริษัทหนึ่งในขณะนี้ เปิดให้บริการไวแมกซ์ในสหรัฐอเมริกาได้หลังจากมีการปรับแก้รายละเอียดในใบอนุญาตแล้ว
การอนุญาตให้บริการไวแมกซ์ดังกล่าว มุ่งเน้นที่ชุมชนในชนบทของประเทศกว่า 500 แห่ง ซึ่งปัจจุบันยังมีบริการสื่อสารด้านเสียงและข้อมูลบรอดแบนด์ภาคพื้นดินไม่เพียงพอ
ความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งนั้นมาจากการเปิดให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.4 กิกะเฮิร์ตอย่างเสรี และจากประเด็นนี้ก็เป็นแรงผลักดันให้ผู้บริหารกูเกิลออกมาแสดงท่าทีเรียกร้องให้ทาง FCC เปิดคลื่นความถี่ช่องสัญญาณโทรทัศน์ที่เหลืออยู่ให้ประชาชนใช้งานอย่างเสรี
แต่ปัญหาหนึ่งของแนวคิดนี้คือคลื่นความถี่ช่วงสัญญาณโทรทัศน์นั้นว่างไม่เท่ากันใจแต่ละส่วนของประเทศ ทำให้ชิปสัญญาณวิทยุที่จะนำมาใช้งานต้องมีความสามารถในการตรวจจับคลื่นและปรับช่องสัญญาณหลบสัญญาณโทรทัศน์ได้ และชิปที่มีความสามารถเช่นนี้ในวันนี้เองก็ยังทำงานได้ไม่ดีนัก ทำให้เมื่อทดสอบการใช้งานแล้วมีการรบกวนกับสัญญาณโทรทัศน์อยู่มาก