Federal Communications Commission (กทช. สหรัฐ)
คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (FCC) กล่าวว่า มีแผนจะปรับ AT&T เป็นจำนวน 100 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากการที่บริษัทจำกัดความเร็วอินเทอร์เน็ตของลูกค้า unlimited โดยที่ไม่แจ้งข้อมูลให้กับลูกค้าทราบอย่างเพียงพอ
ในปี 2007 AT&T เริ่มขายแพคเกจอินเทอร์เน็ต unlimited ร่วมมือกับ Apple ในการขาย iPhone (ตอนนี้บริษัทไม่ได้ขายแพคเกจนี้ให้กับลูกค้าใหม่ แต่ลูกค้าเก่ายังคงใช้ต่อได้) แต่ในปี 2011 AT&T กลับเริ่มใช้นโยบาย Maximum Bit Rate จำกัดความเร็วอินเทอร์เน็ตเมื่อลูกค้าใช้ปริมาณข้อมูลถึงระดับหนึ่ง โดยลูกค้าอาจถูกจำกัดความเร็วเหลือเพียง 0.11Mbps เท่านั้น (จากการทดสอบของ Ars Technica)
ปีที่แล้ว บริษัทเคเบิลทีวีและอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา 2 รายคือ Comcast และ Time Warner Cable ประกาศข่าวการควบกิจการ วันนี้ดีลล่มอย่างเป็นทางการแล้ว เนื่องจากหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐคัดค้านเพราะเกรงว่าจะกลายเป็นการผูกขาดตลาด
Brian L. Roberts ประธานและซีอีโอของ Comcast ออกมายอมรับว่าแผนการนี้ต้องล้มเลิก อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดการณ์ว่าจะเกิดปัญหานี้ตั้งแต่แรก และเตรียมแผนการรองรับไว้อยู่แล้ว ทำให้ Comcast ไม่ต้องจ่ายค่าฉีกสัญญาให้กับ Time Warner Cable
หลังจากที่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา FCC ลงมติ 3-2 ให้บังคับใช้กฎตัวใหม่ที่จะบังคับใช้หลักเกณฑ์ Net Neutrality กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายในสหรัฐอเมริกา มาตอนนี้หลังจากที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวประกาศใช้ในกิจจานุเบกษาของรัฐบาลกลาง (Federal Register) กลุ่มบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งได้รับผลกระทบ ได้ดำเนินการฟ้องร้องทันที
แม้จะยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการฟ้องร้องในครั้งนี้ รวมไปถึงว่ายื่นฟ้องที่ศาลในระดับใด แต่ที่ชัดเจนคือผู้ยื่นฟ้อง โดยเป็น USTelecom ซึ่งระบุว่าตัวเองเป็นตัวแทน (represents) บริษัทด้านโทรคมนาคมของสหรัฐฯ แต่ไม่เปิดเผยว่าเป็นตัวแทนของใครบ้าง ยื่นเรื่องฟ้องศาลให้ยกเลิกการบังคับใช้กฎดังกล่าวนี้
เมื่อคืนนี้ FCC หรือ กสทช. ของสหรัฐอเมริกา ลงมติสนับสนุนกฎเกณฑ์ net neutrality ห้ามผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) บล็อคหรือบีบความเร็วทราฟฟิกประเภทใดเป็นพิเศษ
ประเด็นเรื่อง net neutrality เป็นประเด็นถกเถียงในต่างประเทศมาหลายปีแล้ว ที่มาของเรื่องนี้คือ ISP มักต้องการบีบทราฟฟิกของผู้ให้บริการออนไลน์บางประเภท (เช่น Netflix หรือ YouTube) ให้ส่งข้อมูลได้ช้าลง และขายสิทธิการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขึ้น (fast lane) ในแพ็กเกจที่ต้องจ่ายเพิ่ม
บริษัทสายไอทีอย่าง Netflix, Google, Facebook สนับสนุนนโยบาย net neutrality หรือทราฟฟิกทุกอย่างต้องถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนบรรดา ISP และผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่ๆ อย่าง AT&T, Verizon ต่อต้านนโยบายนี้
Stephen Bye ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO: Chief Technology Officer) ของ Sprint หนึ่งในผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของสหรัฐอเมริกา ออกมาระบุกับสำนักข่าว Reuters ว่านโยบายในการสร้างความเป็นกลางของอินเทอร์เน็ต (net neutrality) ของ FCC (กสทช. ของสหรัฐอเมริกา) เป็นสิ่งที่มีผลดีต่อผู้บริโภค และจะไม่ได้มีผลในการยับยั้งการลงทุนด้านระบบเครือข่ายของคู่แข่งแม้แต่น้อย
คนไทยโดยทั่วไปอาจจะชินกับการซื้อโทรศัพท์แล้วย้ายค่ายไปมา แต่ในสหรัฐฯ เครื่องล็อกเป็นเรื่องปกติ แม้จะใช้งานครบสัญญาแล้วก็ไม่สามารถนำเครื่องไปใช้งานในเครือข่ายอื่นได้ เมื่อปีที่แล้ว FCC หรือกสทช. สหรัฐฯ ร่วมมือกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือให้สมัครใจปลดล็อกเครื่องโทรศัพท์ในเครือข่าย และมีผลตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป
FCC ของสหรัฐอเมริกา (หน่วยงานที่ทำงานคล้ายกับกสทช. ของบ้านเรา) ออกมาประกาศนิยามใหม่ของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ โดยกำหนดความเร็วขั้นต่ำของการดาวน์โหลด/อัพโหลดใหม่เป็น 25/3 Mbps จากนิยามเดิมที่กำหนดไว้ 4/1 Mbps มาเนิ่นนาน โดยการเปลี่ยนแปลงนิยามในครั้งนี้ทำให้จำนวนครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าจากเดิม โดยในปัจจุบันในสหรัฐอเมริกามีครัวเรือนจำนวน 6.3% ที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วมากกว่า 4/1 Mbps และอีก 13.1% ที่ไม่สามารถเข้าถึงบรอดแบนด์ความเร็วดาวน์โหลด 25 Mbps ได้ (รวมเป็น 19.4%)
จากกรณีเครือกิจการโรงแรม Marriott บล็อคสัญญาณ Wi-Fi จนถูกฟ้องร้องและยอมถอยในภายหลังนั้น ตอนนี้มีประกาศในเรื่องนี้ออกมาจากทาง FCC แล้วครับ
จากกรณีเครือกิจการโรงแรม Marriott บล็อค Wi-Fi ส่วนบุคคลในพื้นที่ประชุม ตอนนี้ทาง Marriott ยอมถอยแล้วครับ
แถลงการณ์จากทาง Marriott ได้กล่าวว่า "Marriott รับฟังเสียงของลูกค้า และเราจะไม่บล็อคลูกค้าจากการใช้งานอุปกรณ์ Wi-Fi ส่วนบุคคลในโรงแรมที่เราดูแล" โดยในแถลงการณ์ยังบอกว่า Marriott จะหาทางปกป้องความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน Wi-Fi ในพื้นที่ประชุมและสัมมนาโดยไม่เกี่ยวข้องกับการบล็อคอุปกรณ์ Wi-Fi ต่อไป
จากกรณีเครือกิจการโรงแรมขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกามีแผนบล็อค Wi-Fi ส่วนบุคคลในโรงแรมจนไมโครซอฟท์ต้องจับมือกูเกิลเพื่อสกัดแผนการนี้ ล่าสุด Marriott เครือกิจการโรงแรมขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผนการนี้ได้ออกแถลงการณ์มาแล้วครับ
ทาง Marriott ได้กล่าวว่า "ทาง Marriott นั้นไม่เคยมี และจะไม่มีวันมีนโยบายในการจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของแขกด้วยช่องทางต่างๆ รวมถึง Mi-Fi ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ Wi-Fi ในเขตห้องพักและห้องโถง" โดยเป้าหมายในการบล็อคสัญญาณในครั้งนี้มีเพื่อ "ป้องกันการโจมตีและการกวนสัญญาณของผู้เข้าร่วมการประชุมหรือสัมมนาเท่านั้น"
ไมโครซอฟท์กับกูเกิลถึงคราวต้องร่วมมือกัน เพื่อคัดค้านการกระทำของเครือข่ายกิจการโรงแรมขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ที่พยายามขอสิทธิ์เพื่อบล็อคเครือข่าย Wi-Fi ส่วนบุคคลอย่างถูกกฎหมายในเขตพื้นที่ของโรงแรม
ในฤดูร้อนที่ผ่านมา เครือกิจการ American Hospitality & Lodging Association และ Marriott International ได้ยื่นถามความเห็นจาก FCC (เทียบเท่ากสทช. ในสหรัฐฯ) ต่อกรณีผู้ให้บริการโรงแรมสามารถใช้อุปกรณ์เพื่อจัดการเครือข่าย แม้ว่ามันอาจรบกวนการทำงานต่ออุปกรณ์ไร้สายของแขกที่ใช้งานในพื้นที่ของผู้ให้บริการ โดยพวกเขากล่าวว่าผู้ให้บริการเครือข่าย Wi-Fi ควรจะสามารถจัดการเครือข่ายของพวกเขาได้ เพื่อที่จะสามารถให้บริการ Wi-Fi ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ตามที่ประกาศไว้
ผ่านไปแค่วันเดียว หลังจากที่ Google ต้องระงับการจอง Nexus Player เพราะยังไม่ผ่านการรับรองจาก FCC หรือ กสทช. ของสหรัฐ วันนี้ทาง FCC ได้ให้ใบรับรองกับ set-top-box พลัง Android TV ตัวนี้แล้ว
ไม่ทราบเหมือนกันว่าความรวดเร็วนี้ Google อยู่เบื้องหลังมากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ คือ Nexus Player น่าจะกลับมาให้เปิดจองในไม่ช้า และน่าจะสามารถวางจำหน่ายได้ในวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้เช่นเดิม
ที่มา - Engadget
กูเกิลปรับสถานะของ Nexus Player บนหน้าเว็บสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าเป็น "out of inventory" หรือของหมด แต่กลับเขียนอธิบายไว้ว่าสินค้านี้ยังไม่ผ่านการตรวจรับรองจาก FCC (กสทช. สหรัฐ) ดังนั้นกูเกิลจะหยุดรับคำสั่งซื้อสินค้านี้จนกว่าจะได้รับใบรับรอง
หลังจากกูเกิลเปิดตัว Nexus ชุดใหม่ก็เปิดให้สั่งซื้อ Nexus 9 และ Nexus Player ทันที ในขณะที่ Nexus 6 ยังไม่เปิดให้สั่งซื้อผ่านเว็บ สินค้าทั้งหมดจะเปิดขายจริงช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน
งานนี้ไม่รู้ไปทำพลาดกันอย่างไร ก็ได้แต่หวังว่ากูเกิลจะสามารถแก้ปัญหาเรื่อง FCC ได้โดยเร็วครับ
Lenovo บริษัทไอทียักษ์ใหญ่จากจีนเตรียมลงมาเล่นตลาดอุปกรณ์สวมใส่ด้านสุขภาพแล้ว เมื่อมีข้อมูลของสมาร์ทแบนด์หรือสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพและภาพ หลุดมาจาก FCC (กสทช. ของสหรัฐฯ)
สายรัดข้อมือนี้นอกจากจะสามารถนับก้าวเดิน/วิ่ง และอัตราการเต้นของหัวใจแล้ว ยังสามารถตรวจจับสภาพการนอนของผู้ใช้ได้ด้วย โดยมีมาตรฐานกันน้ำกันฝุ่นอยู่ที่ระดับ IP67 และแบตเตอรี่สามารถอยู่ได้นาน 7 วันหากชาร์จเต็ม
สมาร์ทแบนด์นี้สามารถเชื่อมต่อได้กับอุปกรณ์ที่รัน iOS 7 ขึ้นไป, Android 4.3 ขึ้นไป และ Windows 8 ขึ้นไป
เมืองนอกก็มีข้อมูลผลิตภัณฑ์ไอทีใหม่หลุดมาจากหน่วยงานรัฐให้เห็นบ่อยครั้งเหมือนกัน คราวนี้เป็นเรื่องนาฬิกาอัจฉริยะของ LG ที่มีฟังก์ชัน 3G ในตัวที่มีข้อมูลหลุดออกมาจาก FCC (หน่วยงานคล้าย กสทช. ของสหรัฐอเมริกา)
ชื่อรหัสของนาฬิกาที่ว่าคือ LG VC100 ซึ่งมีคำบรรยายประกอบว่ามันคือนาฬิกาอัจฉริยะที่สามารถเชื่อมต่อระบบ CDMA ได้ โดยในภาพของเอกสาร FCC ที่หลุดมา เผยให้เห็นด้านหลังตัวเรือนนาฬิกาซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่านาฬิกาของ LG รุ่นนี้จะมีหน้าจอสี่เหลี่ยม ซึ่งต่างจากรุ่นพี่อย่าง LG G Watch R ที่มีหน้าปัดเป็นรูปวงกลม
มีคนค้นพบข้อมูลของแท็บเล็ตตัวใหม่จากกูเกิล (รหัส NX-74751) โผล่ในฐานข้อมูลของ FCC (กสทช. สหรัฐ) ข้อมูลเท่าที่มีคือมีขนาด 7 นิ้ว, ใช้หน่วยประมวลผล NVIDIA Tegra ไม่ระบุรุ่น, รองรับ LTE และใช้แบตเตอรี่ของ LG ขนาด 2,480 mAh
ด้วยชื่อแบรนด์เป็น "กูเกิล" และรหัสขึ้นต้นด้วย NX ทำให้สื่อต่างประเทศตีความว่ามันคือ Nexus 7 รุ่นใหม่ประจำปี 2014 อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลว่าบริษัทใดเป็นผู้ผลิตให้กูเกิลครับ
การประชุม Internet Governance Forum 2014 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ช่วงเช้ามีการเสวนาถึงแนวนโยบายที่จะทำให้ประชากรอีก 1 พันล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ โดยบนเวทีมีผู้ที่ดูแลนโยบายการส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนำเสนอถึงสถานการณ์ดังนี้
กระทรวงคมนาคมของสหรัฐฯ มีแผนที่จะแบนการ “พูดคุยด้วยเสียง” ผ่านโทรศัพท์มือถือส่วนตัวบนเครื่องบิน หลังจากที่ FCC หรือ กสทช. ของสหรัฐฯ ได้อนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถใช้โทรศัพท์มือถือบนเครื่องบินได้
เมื่อก่อน ผู้โดยสารจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือขณะเครื่องบินบินขึ้นและลงได้ (ปัจจุบันในประเทศไทย สายการบินทุกสายยังคงบังคับใช้กฎนี้) แต่เมื่อปีที่แล้ว FCC เชื่อว่าการใช้โทรศัพท์มือถือไม่ได้รบกวนการสื่อสารระหว่างนักบินและหอบังคับการบินแต่อย่างใด จึงได้อนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ระหว่างเครื่องบินขึ้นและลง ตราบใดที่อุปกรณ์นั้นทำงานอยู่ใน Airplane Mode
FCC ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่ทำหน้าที่คล้าย กสทช. ในบ้านเรา ได้เสนอของบประมาณเพื่อใช้ลงทุนติดตั้งระบบ Wi-Fi ให้กับทุกโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา เป็นจำนวนเงินมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์
ตามคำร้องของ FCC ปัจจุบันนี้ 3 ใน 5 ของโรงเรียนในสหรัฐอเมริกายังไม่มี Wi-Fi ให้บริการ ดังนั้น FCC จึงเสนอแผนการติดตั้งอุปกรณ์และวางระบบ Wi-Fi ให้กลุ่มโรงเรียนดังกล่าว โดยจะใช้เงินราว 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2015 และอีก 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2016
หากแผนการนี้ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย เด็กนักเรียนอีกกว่า 10 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาก็จะได้มีโอกาสใช้งาน Wi-Fi ในโรงเรียนของตนได้เสียที ยังไม่นับครูบาอาจารย์และบุคลากรอื่นๆ ที่จะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น
FCC (กสทช. สหรัฐอเมริกา) ร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์มือถือรายใหญ่ทั้ง 4 บริษัท (Verizon, AT&T, Sprint, T-Mobile) เปิดบริการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายผ่าน SMS ไปยังสายด่วน 911 แล้ว (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Text-to-911) การส่งข้อความไปยัง 911 จะไม่คิดค่าใช้บริการ
กระบวนการทำงานคือโอเปอเรเตอร์ทุกรายจะส่งต่อข้อความ SMS ที่ส่งเข้ามายังเบอร์ 911 ไปยังสถานีตำรวจท้องถิ่น (ฝั่งของสถานีตำรวจเองต้องมีระบบมารอรับด้วย) โดยเบื้องต้นยังใช้ได้เฉพาะบางเมืองในสหรัฐเท่านั้น (รายชื่อจาก FCC) แต่ FCC ก็พยายามผลักดันให้ทุกเมืองรองรับให้ได้ภายในสิ้นปีนี้
นาย Tom Wheeler ประธาน FCC ได้เขียนจดหมายตอบกลับบริษัทไอที หลังจากที่บริษัทเหล่านั้นรวมตัวกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึง FCC เพื่อต่อต้านกฎ Pay-for-Priority ที่กำลังจะมีจะมีการลงมติเห็นชอบในวันพฤหัสที่จะถึงนี้ โดยประธาน FCC กล่าวว่าตัวเขาเองก็ตระหนักถึงความเป็นกลางของอินเทอร์เน็ต (Net Neutrality) เช่นเดียวกัน
ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาว่า FCC ของสหรัฐออกมาเสนอกฎเรื่อง Pay-for-Priority ซึ่งเป็นกฎที่ทำให้ ISP สามารถเรียกเก็บเงินจากผู้ให้บริการเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต (content privider) ในการทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อหานั้นๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการทำลาย "ความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ต" (Net Neutrality) ลง โดยล่าสุดทาง FCC มีกำหนดการจะลงมติในการออกกฎนี้ในวันพฤหัสหน้า
เว็บไซต์ SlashGear รายงานว่า FCC ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมและกำกับด้านโทรคมนาคมของสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ลำโพงบลูทูธไร้สายของ Vertu ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือหรูหราจากประเทศอังกฤษ ผ่านการตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยลำโพงดังกล่าวมีรหัสรุ่นว่า SP-1V มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมคางหมู (ดูภาพได้ท้ายข่าว) ภายในบรรจุไมโครโฟนสำหรับรับเสียงหรือคำสั่ง, สามารถใช้งานได้สูงสุดถึง 16 ชั่วโมงต่อการชาร์จหนึ่งครั้งผ่านพอร์ต Micro USB, จดจำอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกันได้มากที่สุด 8 ชิ้น, มีช่องขนาด 3.5 มิลลิเมตร (Aux in) สำหรับคนที่ต้องการใช้งานผ่านทางสาย, มีปุ่มควบคุมสี่ปุ่มสำหรับควบคุมเสียง/โทรออก/จับคู่อุปกรณ์, รองรับ NFC และให้เสียงในแต่ละช่องที่ 5W โดยสามารถรองรับได้สูงสุดถึง 8W
FCC หรือหน่วยงานกำกับดูแลการสื่อสารของสหรัฐฯ ได้ออกมาเสนอว่าต่อไปนี้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) สามารถจะเข้าเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการเนื้อหา (Content provider) โดยการเรียกเก็บเงินเพื่อที่จะทำให้การเข้าถึงเนื้อหาของลูกค้าของ ISP สามารถทำได้ “ดีขึ้น” ซึ่งการเจรจานี้สามารถเรียกง่าย ๆ ว่า pay-for-priority
FCC ที่เป็นหน่วยงานกำกับการใช้คลื่นความถี่ในสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มคลื่นที่ใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต (unlicensed band) ในย่าน 5 GHz เพิ่มอีก 100 MHz คือช่วง 5.150 ถึง 5.250 GHz โดยเป็นขั้นแรกของแผนการดึงคลื่นทั้งหมด 195 MHz กลับมาให้ Wi-Fi ใช้งานเพื่อลดความแออัดในกรณีที่ต้องให้บริการ Wi-Fi ในห้องประชุมขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานแน่หนา