แฟนๆ เอเอ็มดีมีเรื่องให้ลุ้นกันอยู่ทุกไตรมาสคือผลประกอบการที่ยังไม่นิ่งเท่าใหร่นัก แต่ไตรมาสที่สี่ของปี 2010 เอเอ็มดีก็มีกำไรให้ชื่นใจถึง 375 ล้านดอลลาร์ จากรายได้ 1,650 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นรายได้รวมทั้งปี 6,490 ล้านดอลลาร์ กำไรรวม 471 ล้านดอลลาร์
ในรายงานประจำปีนี้เอเอ็มดียังสรุปภาพรวมเอาไว้หลายอย่าง
ถึงแม้ซีอีโอจะขอลาป่วยจนน่าจะเป็นข่าวลบต่อบริษัท แต่ผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ผ่านมาของแอปเปิล ช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2010 ซึ่งนับเป็นไตรมาสที่ 1 ปี 2011 ของบริษัทก็ออกมาให้เป็นข่าวดีอีกครั้ง (ดูผลประกอบการไตรมาสที่แล้ว)
เข้าสู่ช่วงการแจ้งผลประกอบการประจำไตรมาสของบริษัทต่างๆอีกครั้ง โดยในกลุ่มเทคโนโลยีก็เริ่มที่อินเทลเช่นเคย โดยบริษัทถูกประเมินว่าตัวเลขที่จะออกมาไม่น่าจะดีนักเพราะตลาดของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตซึ่งอินเทลไม่มีส่วนแบ่งด้วย กำลังเข้ามาครองส่วนแบ่งมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่อินเทลแจ้งรายได้ในไตรมาส 4 ที่ดีมากๆต่อเนื่องโดยอยู่ที่ 11.46 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 8.4% จากปีก่อน คิดเป็นกำไรสุทธิ 3.39 พันล้านดอลลาร์ซึ่งสูงกว่าปีก่อนที่ 2.28 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นมาสูงถึง 67.5% (ข่าวเก่า: ไตรมาส 3)
Adobe เผยผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2010 ปรากฎว่าทำรายได้รวม (revenue) แตะหลัก 1 พันล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรกของบริษัท
Adobe มีรายได้รวม 1.01 พันล้านดอลลาร์ โตขึ้น 33% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรอยู่ที่ 268.9 ล้านดอลลาร์ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 32 ล้านดอลลาร์
สาเหตุของรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากคือยอดขายของ CS5 ที่กลับมาดี หลังจากขายไม่ดีนักช่วงเปิดตัวใหม่ๆ เมื่อต้นปี นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ด้านองค์กรของ Adobe ก็ไปได้ดีเช่นกัน และกำลังเป็นตัวทำเงินใหม่ของบริษัทนอกเหนือจาก CS
ที่มา - Bloomberg
แม้ส่วนแบ่งตลาดรวมของ BlackBerry จะดูไม่ดีนัก เมื่อยอดขายถูกแอนดรอยและไอโฟนกินส่วนแบ่งไปอย่างต่อเนื่อง แต่ผลประกอบการของ RIM ผู้ผลิต BlackBerry นั้นกลับตรงกันข้ามเมื่อบริษัทสามารถแถลงรายได้เพิ่มกว่าปีที่แล้วถึง 40% มาอยู่ที่ 5.49 พันล้านดอลลาร์ พร้อมกับยอดผู้ใช้เพิ่มขึ้น 5.1 ล้านราย
CEO ของ RIM ยังแสดงความมั่นใจว่า PlayBook นั้นเป็นสิ่งที่แท็บเล็ตควรจะเป็น และเมื่อวันวางตลาดผู้ใช้จำนวนมากจากละจาก iPad โดยเฉพาะแนวคิดของแอพลิเคชั่นที่ผูกติดกับแอปเปิล (PlayBook นั้นอาศัย Adobe AIR ในการพัฒนาแอพลิเคชั่น)
แม้มีความกังวลต่อการใช้จ่ายของภาคธุรกิจที่ลดลงซึ่งน่าจะส่งผลต่อรายได้โดยตรง แต่ไมโครซอฟท์ก็โชว์ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดที่ยังคงดีเยี่ยม โดยบริษัทมีรายได้ 16.2 พันล้านดอลลาร์ และคิดเป็นกำไรสุทธิถึง 5.4 พันล้านดอลลาร์ โดยตัวกำไรเพิ่มขึ้นถึง 51% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน
รายได้หลักของไมโครซอฟท์ก็ยังคงมาจาก Windows และ Office ซึ่งถือเป็นสองคู่หูที่สร้างรายได้อย่างแข็งแกร่งตลอดมา ท่ามกลางความกังวลว่าธุรกิจพีซีอาจจะเข้าสู่ขาลง โดย CFO Peter Klein ได้กล่าวว่าธุรกิจแท็บเล็ตแม้จะเติบโตต่อเนื่อง แต่เขายังไม่เห็นผลกระทบโดยตรงต่อตลาดพีซี
ยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้นอเมริกาตอนนี้อย่างแอปเปิล ได้ประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุดซึ่งถือเป็นไตรมาสที่ 4 นับตามปีการเงินของบริษัท ซึ่งมีทั้งส่วนที่ออกมาดีกว่าคาด และส่วนที่ทำได้น่าผิดหวังในมุมมองนักวิเคราะห์ มีรายละเอียดดังนี้ (รายละเอียดของไตรมาสก่อน)
ถึงคิวของอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่กูเกิลที่ได้แจ้งผลประกอบการไตรมาสล่าสุดต่อตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งผลประกอบการออกมาดีกว่าที่คาดหมายเล็กน้อย โดยมีรายละเอียดดังนี้
เข้าสู่รอบของการแจ้งผลประกอบการประจำไตรมาสของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง โดยสำหรับช่วงกรกฎาคมถึงกันยายนปี 2010 นี้ อินเทลก็ยังเป็นบริษัทแรกที่แจ้งผลประกอบการเช่นเคย
รายได้ในไตรมาสที่ผ่านมาของอินเทลอยู่ที่ 11.1 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นกำไรสุทธิ 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มสูงถึง 59% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยรายได้นั้น 58% มาจากกลุ่มตลาดเอเชีย และเป็นตลาดอเมริกาเพียง 20% เท่านั้น
เมื่อเดือนกรกฎาคม ผมเขียนข่าว Android ช่วยหนุน HTC รายได้เพิ่ม 63% อันนั้นตัวเลขของไตรมาสสองปีนี้กับปีก่อนเทียบกัน
สามเดือนผ่านไป ตัวเลขของไตรมาสสามยิ่งมากขึ้นไปอีก เมื่อ HTC รายงานผลประกอบการว่ารายได้รวมโตขึ้น 95% จากปีก่อน (จาก 5.7 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน มาเป็น 11.1 พันล้าน) ยอดขายพุ่งกระฉูดมาจากมือถือ Android ที่เราเห็นข่าวกันมาตลอดปีนั่นเอง
ตัวเลขในไตรมาสสี่จะยิ่งน่าสนใจ เพราะ HTC จะมี Windows Phone 7 เข้ามาเสริมทัพ และนักวิเคราะห์มองว่าตอนนี้ HTC กลายเป็นตัวจักรสำคัญในวงการสมาร์ทโฟนไปแล้ว
Lenovo บริษัทฮาร์ดแวร์จากจีน เริ่มอาละวาดในตลาดโลกมากขึ้น หลังจากเติบโตแบบก้าวกระโดดมา 5 ไตรมาสติดต่อกัน Lenovo ก็สามารถชิงส่วนแบ่งตลาดพีซีโลกได้เกิน 10% เป็นครั้งแรก
ยอดขายพีซีในไตรมาสล่าสุด (นับเป็นเครื่อง) โตขึ้น 48.1% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ยอดขายนับเป็นเงินโต 49.6% และกำไรเพิ่มขึ้น 38.6% ถ้าแยกประเภทสินค้า โน้ตบุ๊กโตถึง 50% ส่วนเดสก์ท็อปพีซีโต 35%
ไตรมาสที่ผ่านมายังเป็นครั้งแรกที่ Lenovo บุกตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศจีน ส่วนแบ่งตลาดพีซีของ Lenovo ในจีนคือ 28.7%
ที่มา - Lenovo
Acer ยักษ์จากไต้หวันซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตโน้ตบุ๊กอันดับสองของโลก (เป็นรองเพียง HP เท่านั้น) ประกาศผลประกอบการประจำไตรมาส 2/2010 พบว่ายอดขายเพิ่ม 26% และกำไรเพิ่ม 36%
ปัจจัยที่ช่วยหนุนการเติบโตของ Acer มาจากยอดซื้อคอมพิวเตอร์ในเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ซึ่งเพิ่มจากเดิม 45% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขเฉลี่ยของตลาดที่ 36% อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักของ Acer มาจากยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง
Acer ยังประกาศวางขายแท็บเล็ตพลัง Android ขนาด 7" ช่วงปลายปีนี้ และประกาศความร่วมมือกับ Founder Technology Group เพื่อบุกตลาดจีนต่อไป
ที่มา - BusinessWeek
Samsung Electronics ประกาศผลประกอบการไตรมาสสอง มีกำไรสุทธิสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 4.28 ล้านล้านวอน (3.6 พันล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 83 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นผลมาจากราคาของ memory chip และ LCD ที่พุ่งสูงขึ้น จากอุปสงค์ของคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนที่มากขึ้น
Motorola อดีตบริษัทผลิตมือถือรายแรกและรายใหญ่ของโลก ซึ่งอาการร่อแร่เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว อาการเริ่มดีขึ้นหลังความสำเร็จของ Droid ต่อเนื่องมายัง Droid X
รายได้รวมในไตรมาสล่าสุดของ Motorola อยู่ที่ 5.41 พันล้านดอลลาร์ มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 5.2 พันล้านดอลลาร์ ส่วนกำไรรวมเพิ่มจากเดิม 26 ล้านดอลลาร์มาเป็น 162 ล้านดอลลาร์ แม้ตัวเลขจะยังไม่ถือว่าดีมาก แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่า Motorola พ้นขีดอันตรายแล้ว
ถ้าคิดเฉพาะฝ่ายโทรศัพท์มือถือ ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วขาดทุน 239 ล้านดอลลาร์ ปีนี้ตัวเลขลดลงมาเหลือ 109 ล้านดอลลาร์
ที่มา - BusinessWeek
แม้มูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ขณะนี้แอปเปิลจะเหนือกว่าไมโครซอฟท์ แต่ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดก็ยังแสดงให้เห็นว่าแชมป์ยังไม่ถูกล้ม...อย่างน้อยก็ในจุดนี้
ไมโครซอฟท์แถลงผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ซึ่งออกมาเหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ โดยบริษัทมีรายได้รวม 16 พันล้านดอลลาร์ และเป็นกำไรสุทธิ 4.52 พันล้านดอลลาร์ ยังคงเป็นตัวเลขที่สูงกว่าของแอปเปิลซึ่งรายงานไปเมื่อวันก่อน ที่มีรายได้ 15.7 พันล้านดอลลาร์และกำไร 3.35 พันล้านดอลลาร์ ตัวเลขอื่นๆที่น่าสนใจมีดังนี้
หนึ่งในบริษัทที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมากในช่วงนี้คือโนเกีย ว่าจะสามารถเอาตัวรอดจากตลาดมือถือได้มากน้อยแค่ไหน
ผลประกอบการไตรมาสล่าสุด (2/2010) ของโนเกีย เป็นดังนี้
จากที่คาดการณ์กันไว้ว่าตัวเลขรายได้ของแอปเปิลจะเพิ่มขึ้นสองเท่า ผลที่ออกมาก็ไม่ทำให้กองเชียร์ผิดหวังเพราะมันดียิ่งกว่าที่คาดการณ์ไว้นั้นอีก! โดยแอปเปิลแถลงผลประกอบการไตรมาสที่ 3 (ตามวิธีการนับไตรมาสของบริษัท) มีรายละเอียดทางการเงินดังนี้
Sony Ericsson แถลงผลประกอบการไตรมาสสองของปี 2010 สรุปว่ายอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปีเล็กน้อยที่ 11 ล้านเครื่อง ส่วนเรื่องเงินหักลบกลบหนี้กันแล้วเหลือกำไร 12 ล้านยูโร แม้จะดูไม่เยอะแต่ก็ดีกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนไป 213 ล้านยูโร
Bert Nordberg ประธานของ Sony Ericsson แถลงชัดเจนว่าไตรมาสนี้เอาตัวรอดมาได้เพราะความสำเร็จของ Xperia X10 และ Vivaz ที่เริ่มวางขายในช่วงไตรมาสแรก และมองโลกในแง่ดีว่า X10 mini กับ X10 mini pro จะช่วยให้บริษัทเติบโตในระยะยาว
ประกาศออกมาแล้วสำหรับผลประกอบการไตรมาสสองปีนี้ของกูเกิล (เมษายน - มิถุนายน) กูเกิลมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว (Y/Y) แต่รายได้เทียบกับไตรมาสหนึ่งปีนี้ (Q/Q) เพิ่มขึ้นเพียงแค่ร้อยละ 1 ซึ่งไม่แปลกอะไร เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้เพียงเล็กน้อยจากไตรมาสหนึ่ง เคยเกิดมาแล้วกับกูเกิลในปีที่ผ่านๆ มา
บางส่วนที่ Patrick Pichette CFO กล่าวไว้มีดังนี้
กลับไปอ่านข่าว AMD รายงานผลประกอบการไตรมาสแรก 2010 ยังกำไรอยู่ ประกอบด้วยนะครับ
AMD บริษัทที่หลายคนแถวนี้เอาใจช่วย ได้แถลงผลประกอบการไตรมาสที่สองของปี 2010 ผลคือขาดทุน 43 ล้านดอลลาร์ แต่ที่น่าสนใจกว่าคือรายรับทั้งหมด (revenue) สูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทคือ 1.65 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งได้ปัจจัยหนุนจากตลาดพีซีที่เริ่มฟื้นตัวในปีนี้ (ปัจจัยเดียวกับ รายได้อินเทล ไตรมาสล่าสุดสูงสุดในประวัติศาสตร์) ถ้าเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วคือเพิ่มขึ้นมาอีก 40%
ช่วงนี้เป็นเทศกาลที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องแจ้งผลประกอบการประจำไตรมาส สำหรับช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน โดยปกติแล้วอินเทลจะเป็นรายแรกที่แจ้งผลประกอบการในกลุ่มเทคโนโลยี และผลประกอบการไตรมาสนี้ก็ทำได้ดีทีเดียว
อินเทลประกาศว่าบริษัทมีรายได้ในไตรมาสล่าสุด 10.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งซีอีโอ Paul Otellini กล่าวว่าปัจจัยสำคัญมาจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจกลุ่มเมฆ ที่ทำให้ความต้องการชิปสำหรับเซิร์ฟเวอร์เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้รายรับดังกล่าวยังเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัท 42 ปี ข่าวดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสัญญาณบวกในกลุ่มเทคโนโลยีว่าเริ่มฟื้นตัวแล้วหลังจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยช่วงที่ผ่านมา
ข้อมูลทางการเงินเพิ่มเติม
แอปเปิลประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุดเมื่อคืนนี้ ซึ่งยังคงทำได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดกันไว้ (ซึ่งก็สูงอยู่แล้ว) โดยมีรายละเอียดดังนี้
หลังจากได้เงินก้อนโตมาในไตรมาสที่แล้ว ไตรมาสแรกของปี 2010 ผลประกอบการของ AMD ก็ยังออกมาแบบมีกำไร และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยตัวเลขกำไรอยู่ที่ 182 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่กำไรถึง 1,288 ล้านก็ดูแย่ แต่เมื่อหักเงินค่าเสียหายจากอินเทลออกแล้ว ก็นับว่าเพิ่มขึ้นถึงเกือบสามเท่าตัว และยิ่งเมื่อเทียบกับต้นปีที่แล้วที่ขาดทุนอยู่ถึง 298 ล้านดอลลาร์ก็นับว่าปีนี้ AMD กลับมาเป็นคู่แข่งในตลาดซีพียูที่แข็งแรงได้อีกครั้งแล้ว
ช่วงหลังๆ มีข่าวดีเกี่ยวกับ AMD ออกมาค่อนข้างมาก เช่นข่าวลือว่า HP และ Dell เตรียมการเปลี่ยนสายการผลิตมายัง Athlon Neo หรือข่าวว่า Fermi นั้นทำประสิทธิภาพได้ไม่ดีเท่าที่หวังกันไว้นัก
เมื่อวานนี้ Oracle ออกรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2010 (ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้) ในรายงานนี้ Oracle เน้นถึงผลกระทบที่เกิดจากการซื้อ Sun (เพิ่งซื้อได้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มกราคมปีนี้ หลังจากที่ EU อนุมัติให้ซื้อได้)
Safra Catz ประธานบริษัท Oracle บอกว่า "การควบรวม Sun ให้ผลดีเกินคาด เราเชื่อว่า Sun จะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มยอดขายในไตรมาสที่ 4 รวมทั้งช่วยทำกำไรให้ได้ตามเป้าของปีหน้า"
ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองผสมกับ PS3 ที่ไปได้ไม่สวยนัก แถม Sony-Ericcson ก็ยังอาการไม่ดีกว่ากันไปเท่าใหร่ไปทำให้ผลกำไรของโซนี่ในปี 2008 นั้นติดลบอยู่ถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 14 ปี
ผลกระทบหนักที่สุดเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่สี่ของปีที่โซนี่ขาดทุนไปถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์ ฉุดบัญชีบริษัทเป็นตัวแดงอย่างรวดเร็ว
ทางโซนี่คาดการว่าผลกำไรปี 2009 นี้จะยังคงขาดทุนต่อไปแม้จะน้อยลงมากก็ตาม
อารยธรรมโซนี่กำลังแตกดับ?
ที่มา - MarketWatch