กูเกิลจัดงานสัมมนา Google for Games Developer Summit 2022 สำหรับนักพัฒนาเกมทั้งบน Android และ Stadia
กรณีของ Stadia นั้นยังไม่ประกาศข่าวเลิกทำ แต่ประกาศนำเทคโนโลยีเบื้องหลังของ Stadia ไปเป็นบริการตัวหนึ่งของ Google Cloud เพื่อให้ลูกค้าองค์กรเช่าใช้งาน ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้
Google Cloud ประกาศปรับราคาบริการหลายอย่างเป็นชุดพร้อมกัน แต่จุดสำคัญคือบริการหลายตัวขึ้นราคาถึงเท่าตัว และบางบริการที่เคยฟรีก็เริ่มหันมาคิดเงิน แม้จะมีบริการบางส่วนที่ลดราคาลงก็ตาม
บริการที่ปรับราคาแล้วกระทบผู้ใช้ทั่วไปที่สุดคงเป็นบริการ Cloud Storage ที่มีทั้งปรับราคาขึ้นและลง
กูเกิลยังปรับราคาบริการอื่นๆ ได้แก่
กูเกิลแถลงว่าได้บรรลุข้อตกลง เพื่อซื้อกิจการ Mandiant บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยจะซื้อหุ้นของบริษัททั้งหมดคิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,400 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.79 แสนล้านบาท ตามที่มีข่าวลือออกมาเมื่อเช้านี้
หลังดีลเสร็จสิ้น Mandiant จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริการ Google Cloud
กูเกิลกล่าวว่าดีลนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยของ Google Cloud เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาความปลอดภัยที่สำคัญได้ในทุกจุด ทุกสถานะของการพัฒนาบนแพลตฟอร์ม อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความซับซ้อน
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Defender for Cloud (ชื่อเดิมคือ Azure Security Center) บริการสแกนความปลอดภัยบนคลาวด์ ที่ทำงานได้บนคลาวด์ 3 ค่ายใหญ่คือ Azure, AWS และล่าสุดคือ Google Cloud Platform (GCP)
แนวทางของผลิตภัณฑ์สายความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ในช่วงหลัง (รีแบรนด์เป็น Microsoft Defender) คือเอาทุกอย่าง ทุกแพลตฟอร์ม ฝั่งไคลเอนต์รองรับสมาร์ทโฟน ลินุกซ์ IoT ส่วนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ก็รองรับคลาวด์ทั้ง 3 ยี่ห้อหลักตามประกาศของข่าวนี้
กูเกิลปรับบริการ Cloud Functions (GCF) ครั่งใหญ่ (2nd gen) โดยจุดสำคัญคือการเพิ่มระยะเวลารันให้ยาวขึ้นจากเดิมจำกัด 9 นาทีเป็น 60 นาที และสามารถสร้างเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ จากเดิมขนาดหน่วยความจำไม่เกิน 2GB เป็น 16GB
เทียบกับ AWS Lambda ที่เป็นบริการแบบเดียวกัน รองรับแรมสูงสุด 10GB และรันได้ไม่เกิน 15 นาที นอกจากการเพิ่มฟีเจอร์พลังประมวลผลแล้ว เวอร์ชั่นนี้ยังเพิ่มอีเวนต์จาก Eventarc เข้ามาทำให้ GCF รับอีเวนต์จากแหล่งต่างๆ ใน Google Cloud กว่า 90 รายการ
กูเกิลเปิดตัวเครื่องมือวาดแผนผังไดอะแกรมใหม่ชื่อ Google Cloud Architecture Diagramming Tool โดยออกแบบมาเพื่อใช้วาดแผนผังของ Google Cloud เป็นหลัก
เครื่องมือวาดแผนผังตัวนี้เป็นเว็บแอพที่ใช้เอนจินจาก Exclaridraw (เป็นโอเพนซอร์สบน GitHub) โดยเพิ่มไอคอนของสถาปัตยกรรม Google Cloud มาให้พร้อม มีเทมเพลตของสถาปัตยกรรมที่เตรียมไว้ให้แล้ว (reference architecture) และวาดเสร็จแล้วมีปุ่ม one-click deploy ในระบบของ Google Cloud ได้ทันที
Google Cloud เปิดบริการตรวจสอบหาโปรแกรมขุดเงินคริปโตที่ถูกฝังอยู่ใน Virtual Machine ที่รันอยู่ใน Google Cloud เองชื่อว่า Virtual Machine Threat Detection (VMTD) มีจุดเด่นคือไม่ต้องลงซอฟต์แวร์ตรวจสอบใดๆ เพิ่มอีก แต่เปิดบริการจากคอนโซลของคลาวด์
VMTD รันอยู่ในตัว hypervisor ที่อยู่นอก VM แล้วอาศัยการตรวจสอบหน่วยความจำโดยตรง หากพบมัลแวร์ก็จะรายงานผ่าน Security Command Center
ตอนนี้บริการ VMTD มีให้บริการเฉพาะลูกค้าที่ใช้ Security Command Center Premium เท่านั้น และลูกค้าต้องเปิดด้วยตัวเอง และไม่สามารถใช้งานกับ Confidential VM ที่เข้ารหัสหน่วยความจำ
หลัง Alphabet รายงานถึงผลประกอบการไตรมาสล่าสุด รายงานพูดถึงการยืดอายุการใช้งานเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค จากเดิมที่ถือว่าหมดอายุที่ 3 ปี หลังจากนี้จะถือว่าเซิร์ฟเวอร์มีอายุการใช้งาน 4 ปี และอุปกรณ์เน็ตเวิร์คมีอายุ 5 ปี
การยืดอายุอุปกรณ์เช่นนี้ส่งผลโดยตรงกับตัวเลขทางบัญชีของ Google Cloud โดยค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ไตรมาสล่าสุดลดลง 446 ล้านดอลลาร์ และปีล่าสุดลดลง 2.6 พันล้านดอลลาร์
กูเกิลอัพเพิ่มฟีเจอร์บริการ BigQuery บน Google Cloud ให้รองรับฟิลด์แบบ JSON ทำให้ผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลกลุ่มที่ไม่มี schema ชัดเจนเข้ามา
ก่อนหน้านี้ BigQuery รองรับข้อมูลประเภท STRUCT ที่เป็นออปเจกต์ซับซ้อนภายในได้อยู่แล้ แต่ก็ต้องประกาศโครงสร้างข้อมูลไว้ล่วงหน้า หากคิวรีโดยอ้างฟิลด์ที่ไม่มีข้อมูลก็จะ error ไปเลย แต่สำหรับ JSON การคิวรีจะใช้ syntax แบบเดียวกันกับ STRUCT แต่หากอ้างถึงฟิลด์ที่ไม่มีข้อมูลก็จะได้ค่า NULL
กูเกิลประกาศซื้อกิจการ Siemplify สตาร์ทอัพด้าน cybersecurity จากอิสราเอล โดยดีลไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่มีตัวเลขรายงานว่าอยู่ที่ราว 500 ล้านดอลลาร์
Siemplify เป็นผู้ให้บริการด้าน SOAR หรือ security orchestration, automation and response ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบ ค้นหา และแก้ไขการโจมตีทางไซเบอร์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
บริการของ Siemplify จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมความปลอดภัยใน Google Cloud ซึ่งกูเกิลโฟกัสในส่วนนี้มากขึ้น
ที่มา: Google Cloud
Google Cloud มี Anthos ชุดจัดการคอนเทนเนอร์ Kubernetes แบบมัลติคลาวด์ ออกมาสักระยะ ใช้งานได้กับทั้งคลาวด์กูเกิลเอง และคลาวด์ค่ายอื่นๆ โดยเริ่มจาก AWS เมื่อปีที่แล้ว
ล่าสุดกูเกิลออก Anthos Multi-Cloud API เวอร์ชันใช้งานจริง (general availability) ทำให้รองรับคลาวด์ Azure แบบ GA ตามมาด้วยเช่นกัน
เมื่อ Anthos รองรับคลาวด์รายใหญ่ครบ 3 ค่ายแล้ว ทำให้เราสามารถสั่งสร้างคลัสเตอร์บนคลาวด์ทั้ง 3 ค่ายได้ง่ายๆ ผ่านคอมมานด์ไลน์แบบเดียวกัน ตามภาพ (กูเกิลบอกว่าจะรองรับการคอนฟิกผ่าน Terraform ตามมา)
เป็นอีกมหากาพย์ของวงการคลาวด์สหรัฐมาตั้งแต่ปี 2019 หลังไมโครซอฟท์ชนะโครงการ JEDI Cloud มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ทำให้ผู้แพ้ AWS ต้องฟ้องศาลว่ากระบวนการคัดเลือกไม่เป็นธรรม และสุดท้าย กระทรวงกลาโหมต้องยกเลิกโครงการ JEDI ไปเมื่อกลางปีนี้
Google Cloud เปิดบริการ Spot Pods สำหรับใช้งานกับ GKE Autopilot เพื่อการรันบริการที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และยอมรับได้ที่ pod จะถูกปิดไป
ราคาของ Spot Pods อยู่ถูกกว่า pod ของ GKE Autopilot ปกติ ระหว่าง 60-91% ล้อไปกับ Spot VM และคิดราตามตามแรมและซีพียูที่ใช้งานจริงตามแนวทาง GKE Autopilot ตัว pod รันได้ไม่มีอายุจำกัด แต่กูเกิลสามารถเรียกเครื่องคืนเมื่อใดก็ได้ และจะส่ง SIGTERM ให้โปรเซสในคอนเทนเนอร์รับทราบพร้อมกับให้เวลา 25 วินาทีก่อนจะปิดเครื่องไปจริงๆ
Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2021 รายได้รวม 65,118 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 41% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 18,936 ล้านดอลลาร์
Sundar Pichai ซีอีโอ Alphabet และกูเกิลกล่าวว่า 5 ปีที่แล้ว เขาได้วางวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นบริษัทที่มี AI นำหน้า (AI-first) ผลที่ออกมาในไตรมาสนี้สะท้อนว่าการลงทุนที่ผ่านมา ทำให้กูเกิลสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อผู้คนและพาร์ทเนอร์ ตัวอย่างเช่น เสิร์ช ที่มีการพัฒนาตลอด หรือ Pixel 6
กูเกิลเปิดบริการ Google Cloud Managed Service for Prometheus บริการ Prometheus ที่ลูกค้าไม่ต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเองในแบบพรีวิว โดยผู้สนใจต้องกรอกแบบฟอร์มขอทดลองใช้งาน
Prometheus เป็นระบบเก็บมาตรวัดค่าในระบบ (metric) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากโครงการ Borgmon ของกูเกิลเอง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเก็บมาตรวัดค่าต่างๆ และคิวรีตามมุมมองที่หลากหลายผ่านภาษาคิวรี PromQL รวมถึงการตั้งแจ้งเตือนได้อย่างละเอียด ทุกวันนี้ Prometheus แทบจะเป็นมาตรฐานหลักในการเก็บค่ามาตรวัดต่างๆ ใน Kubernetes (ซึ่ง Kubernetes ก็สร้างมาจากแนวคิดของระบบ Borg ที่ใช้ภายในกูเกิลเหมือนกัน)
กูเกิลเปิดตัว Anthos ชุดซอฟต์แวร์จัดการคอนเทนเนอร์บน Kubernetes ข้ามคลาวด์มาตั้งแต่ปี 2019 โดยที่ผ่านมาเน้นเฉพาะงานที่รันในคอนเทนเนอร์เท่านั้น
แต่เมื่อกระแสคอนเทนเนอร์ในโลกใหม่เริ่มมาเชื่อมกับ virtual machine (VM) ของโลกเก่า ทำให้ลูกค้าองค์กรเริ่มต้องจัดการทั้งคอนเทนเนอร์และ VM ไปพร้อมกัน ทำให้กูเกิลขยายความสามารถของ Anthos มาสู่ VM ด้วยเช่นกัน รองรับ VM ที่รันอยู่ใน VMware vSphere ที่เป็นมาตรฐานของตลาดอยู่แล้ว (คู่แข่ง Red Hat OpenShift มีฟีเจอร์นี้มาก่อนแล้ว อิงจากโครงการ KubeVirt เหมือนกัน)
ชาว Blognone คงรู้จัก Google Earth กันอยู่แล้วไม่ต้องแนะนำอะไรมาก แต่จริงๆ แล้วกูเกิลมีผลิตภัณฑ์อีกตัวชื่อ Google Earth Engine เป็นการรวมภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง และฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (geospatial) อีกมหาศาล 50 petabyte ที่เปิดให้นักวิจัย-นักวิทยาศาสตร์ สามารถใช้งานได้ฟรีมานานแล้ว (ตัวอย่างคือ ภาพ Timelapse แสดงการเปลี่ยนแปลงของผิวโลกตามช่วงเวลา)
ล่าสุดกูเกิลเปิด Google Earth Engine ให้เช่าใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว โดยถือเป็นบริการหนึ่งของ Google Cloud Platform ตัวอย่างบริษัทที่นำไปใช้แล้วคือ Unilever ใช้วางแผนซัพพลายเชนของการปลูกปาล์มน้ำมันที่ไม่ทำลายป่า
กูเกิลค่อนข้างมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับ SAP (อาจเป็นเพราะมีคู่แข่งร่วมกันคือ Oracle) ทำให้งาน Google Cloud Next ช่วงหลังๆ ทั้งสองบริษัทมักมีประกาศความร่วมมือกันเป็นประจำ
ของใหม่ในปี 2021 คือ Google Cloud Cortex Framework เป็นเทมเพลตของการขึ้นระบบ SAP บน Google Cloud แยกตามการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อให้ลูกค้าองค์กรขึ้นระบบและดีพลอยโซลูชันได้เร็วขึ้น แก้ปัญหาเรื่องการพัฒนาระบบ SAP ในองค์กรที่ใช้เวลานานและต้นทุนสูง
ที่งาน Google Cloud Next ‘21 ปีนี้กูเกิลประกาศเปิดบริการชุดใหม่ Google Distributed Cloud ชุดบริการคลาวด์ที่ให้บริการจากนอกศูนย์ข้อมูลของกูเกิลเอง ทำให้สามารถเรียกใช้บริการคลาวด์บางส่วนที่ใกล้ผู้ใช้มากกว่าเดิม โดยกูเกิลเตรียมตัวเลือกไว้ 4 รูปแบบได้แก่
กลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ 3 รายใหญ่คือ Amazon, Google, Microsoft พ่วงด้วยบริษัทไอทีองค์กรยักษ์ใหญ่ Cisco, IBM, SAP, Atlassian, Salesforce/Slack ประกาศตั้งกลุ่ม Trusted Cloud Principles กำหนดหลักการพื้นฐาน (principles) ที่ผู้ให้บริการคลาวด์พึงกระทำกรณีภาครัฐมาขอข้อมูลจากลูกค้าที่มาเช่าคลาวด์
หลักการมีทั้งหมด 5 ข้อดังนี้
รอบเดือนที่ผ่านมา วงการซอฟต์แวร์สาย HR มีประเด็นข่าวที่น่าสนใจคือยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ตัดสินใจเลิกใช้ซอฟต์แวร์ Workday Human Capital Management ของบริษัท Workday ส่งผลให้หุ้นของ Workday ตกลงทันที
เดิมที Amazon ใช้ซอฟต์แวร์ Oracle PeopleSoft จัดการพนักงาน แต่ช่วงหลังเมื่อสายสัมพันธ์ของ Amazon กับ Oracle แย่ลง จนเลิกใช้ซอฟต์แวร์ Oracle หลายตัว ทำให้เมื่อปี 2017 Amazon เซ็นสัญญาย้ายไปใช้ Workday แทน ซึ่งถือเป็นชัยชนะของ Workday ที่ได้ลูกค้าใหญ่ระดับ Amazon
Google Cloud เพิ่มฟีเจอร์ Unattended project recommender แจ้งเตือนให้ผู้ดูแลคลาวด์สามารถจัดการโครงการที่ถูกทิ้งร้าง จนอาจจะสร้างค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น หรือกระทั่งเปิดช่องโหว่ให้กับระบบ
บริการนี้วิเคราะห์การใช้งานในโครงการต่างๆ ย้อนหลัง 30 วัน โดยแยกประเภทการแจ้งเตือนสองประเภท คือประเภทที่มีการใช้งานต่ำต่อเนื่อง จะแนะนำให้รีวิวโปรโจคใหม่หรืออาจจะลบโปรเจคทิ้งไป อีกประเภทคือโปรเจคที่มีการใช้งานสูง แต่กลับไม่มีผู้ดูแลโครงการ ระบบจะแนะนำให้ตั้งผู้ดูแลโครงการเสียใหม่
Google Cloud ประกาศนโยบาย Google Enterprise API ให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มองค์กร เช่น Google Cloud, Google Workspace, Google Maps Platform การันตีไม่ถอดฟีเจอร์หรือ API ง่ายๆ สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าเลือกใช้ API ของกูเกิลไปได้นานๆ
นโยบายกว้างๆ ของ Google Enterprise API คือ
มีรายงานจาก The Information ระบุว่าแอปเปิลยังเป็นลูกค้ารายสำคัญของ Google Cloud และเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น โดยสำหรับปีนี้คาดว่าแอปเปิลจะจ่ายเงินราว 300 ล้านดอลลาร์ ให้กูเกิล ในการใช้บริการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ iCloud เพิ่มขึ้น 50% จากปี 2020
รายงานยังระบุว่าแอปเปิลถือเป็นลูกค้า Google Cloud รายใหญ่ที่สุดในตอนนี้ และทีมงานใน Google Cloud ก็มีรหัสเรียกลูกค้าเพื่อสะท้อนความสำคัญว่า Bigfoot ส่วนลูกค้ารายใหญ่ลำดับรองลงมาคือ ByteDance
Google Cloud Compute ออก VM ชนิดใหม่ชื่อ Tau ที่ออกแบบมาสำหรับงาน scale-out โดยเฉพาะ
ที่ผ่านมา โลกของคลาวด์มี VM อยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ General Purpose รันงานทั่วไป มีสมดุลระหว่างสเปกและราคา กับ Workload-optimized สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น เน้นซีพียู เน้นแรม เน้นจีพียู ตามชนิดของงาน
Tau VM ถือเป็น VM ชนิดใหม่ในกลุ่ม General Purpose คือรันงานชนิดใดก็ได้ แต่ออกแบบมาสำหรับเวิร์คโหลดยุคใหม่ๆ ที่ขยายตัวด้วยวิธี scale-out (เพิ่มจำนวนเครื่อง) แทนการ scale-up (อัพเกรดเครื่อง) แบบเวิร์คโหลดในอดีต