กูเกิลประกาศแนวทางช่วยลดผลกระทบจากปัญหาอากาศร้อนรุนแรง (extreme heat) ของปี 2023 หลายอย่างดังนี้
Google Search เพิ่มการแจ้งเตือนคลื่นความร้อน (heat wave) ในแต่ละพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจาก Global Heat Health Information Network (GHHIN) ถ้าผู้ใช้ค้นหาด้วยคำว่า "heat wave" หรือ "extreme heat" จะได้หน้าจอแจ้งเตือนดังภาพ
Google Search ร่วมกิจกรรมกับซีรีส์ The Mandalorian ที่เพิ่งเริ่มฉาย Season 3 ทาง Disney+ โดยเพิ่มมุข easter egg หากค้นหาคำว่า "The Mandalorian" จะมีตัวละคร Grogu หรือที่หลายคนเรียก "โยดาน้อย" โผล่มาที่มุมขวาล่างของจอ
เมื่อคลิกที่ตัว Grogu จะสามารถใช้พลัง force ทำลายผลการค้นหาไปทีละส่วนได้ แล้วชิ้นส่วนของผลค้นหาจะลงมากองที่ขอบล่างของหน้าจอ
ที่มา - Android Central
บริษัท Morning Consult รายงานผลการศึกษาด้านสื่อข้อมูลข่าวสาร โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างในอเมริกา 2,199 คน ระหว่างวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2023 เกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
ภาพรวมพบว่า 46% ให้ Google Search คือช่องทางหลักในการค้นหาข่าวสาร และตัวเลขสูงในระดับเดียวกันเมื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามช่วงวัย ทั้ง เบบีบูเมอร์, เจเนอเรชัน X, มิลเลนเนียล (เทียบเท่าเจน Y) ยกเว้นกลุ่ม เจเนอเรชัน Z ที่ต่ำกว่าเล็กน้อยที่ 39% แต่ก็ยังสูงสุดในบรรดาช่องทางทั้งหมด
นอกจากอัพเดตของ Google Translate ในงานแถลงข่าวของกูเกิลที่ปารีส เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสิร์ชและ AI กูเกิลยังประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Maps และเสิร์ชดังนี้
กูเกิลประกาศว่าจะ "เบลอ" ภาพที่ไม่เหมาะสม (explicit image เช่น ภาพเปลือย หรือความรุนแรง) ใน Google Image Search เป็นค่าดีฟอลต์ หากต้องการดูภาพต้องกดปุ่ม view image ก่อน
ฟีเจอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ Google SafeSearch และถูกเปิดใช้อยู่แล้วในกรณีผู้ใช้ล็อกอิน และอายุไม่ถึง 18 ปี สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือกูเกิลจะขยายการเบลอไปยังผู้ใช้ทุกคนที่ไม่ได้ล็อกอิน แต่ถ้าล็อกอิน มีอายุเกิน 18 ปี ก็สามารถปิดฟิลเตอร์ SafeSearch ได้ตามต้องการ
กูเกิลประกาศจัดงานแถลงข่าวในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2023 ระบุว่าเป็นงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้าน Search, Maps และการค้นหาข้อมูลประเภทอื่นๆ (จากภาพประกอบจะเห็น Google Lens, Shopping) โดยวิธีการค้นหาจะเป็นธรรมชาติและเข้าใจง่ายมากขึ้น
ในคำเชิญสื่อเข้าร่วมงานแถลงข่าว กูเกิลยังบอกว่างานนี้จะโชว์การนำ AI มาช่วยบริการค้นหาให้ดีกว่าเดิม ต้องรอดูกันว่างานนี้จะมีโชว์ AI แชทบ็อทแบบ ChatGPT ตามที่มีข่าวลือด้วยหรือไม่ หรืออาจต้องรองาน Google I/O ช่วงเดือนพฤษภาคมทีเดียวเลย
Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิล ทวีตข้อมูลว่าวันที่ 18 ธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา ทราฟิกการเสิร์ชของกูเกิลทำสถิติสูงสุดในรอบ 25 ปี ของบริษัท ซึ่งเป็นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศ
ทั้งนี้เขาไม่ได้ให้ข้อมูลสถิติตัวเลขเกี่ยวข้องเพิ่มเติมว่าเป็นจำนวนปริมาณเท่าใด โดยในหน้าผลเสิร์ชเกี่ยวกับฟุตบอลโลกของกูเกิลนั้น เป็นการแสดงข้อมูลที่ครบถ้วน ทั้งรายงานผลคะแนนสด ช่องทางรับชม และอื่น ๆ
ในหน้าเสิร์ช กูเกิลยังใส่อีสเตอร์เอ้กเอาไว้ เมื่อค้นหาเกี่ยวกับฟุตบอลโลก เช่น ฟุตบอลโลก บอลโลกรอบชิง หรือคำว่า อาร์เจนตินา จะมีอนิเมชันพลุที่เป็นธงชาติอาร์เจนตินาปรากฏขึ้นมาด้วย
ที่มา: 9to5Google
กูเกิลประกาศอันดับคำค้นหายอดนิยมประจำปี 2565 หรือ Year in Search 2022 ซึ่งเป็นการประมวลผลภาพรวมว่าคนไทยสนใจเรื่องอะไรตลอดปีที่ผ่านมาทั้งเทรนด์ บุคคล หัวข้อ หรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ โดยกูเกิลประเทศไทยบอกว่าโครงการของรัฐบาล ยังเป็นคำค้นหาอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 แล้ว
โดย 10 อันดับ Trending Searches หรือคำค้นหายอดนิยมประจำปี 2565 ของประเทศไทย เป็นดังนี้
Google เตรียมเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญ 3 อย่างให้กับ Chrome เวอร์ชั่น 108 ที่กำลังจะปล่อยให้ผู้ใช้อัพเดตใช้งานกัน โดยมีทั้งระบบติดตามราคาของสินค้าบนร้านค้าออนไลน์, การเพิ่มแถบแสดงผลการค้นหาด้วย Google Search บริเวณด้านข้างของหน้าจอ รวมถึงการซิงก์รหัสผ่านของผู้ใช้จากการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ของบัญชีผู้ใช้คนเดียวกัน
รายละเอียดของฟีเจอร์ใหม่ข้างต้นมีดังนี้
ผู้ใช้ wfme บนเว็บไซต์ Hacker News รายงานว่ากูเกิลจะแครชทุกครั้งที่พิมพ์ถามว่า “how many emojis on iOS” โดยเว็บไซต์แสดงข้อความผิดพลาด
คาดว่าสาเหตุเกิดจากคอนเทนต์ในเว็บไซต์ emojipedia.com มีข้อความบางอย่างที่ทำให้เอนจินของกูเกิลแครชไปได้ โดยหาค้นหาผลลัพธ์โดยให้ข้ามเว็บ emojipedia.com (ใส่ -inurl:emojipedia.com ในคำค้น) ไปก็จะทำงานได้ตามปกติ
ข้อความค้นหาคล้ายๆ กันจำนวนมาก เช่น การค้นหาจำนวนอีโมจิบนลินุกซ์ หรือระบบอื่นๆ ก็แสดงข้อความผิดพลาดหรือไม่ก็ทำงานช้ามากๆ เช่นกัน
ที่มา - Hacker News
Google ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่สำหรับ Google Search ในงาน Search On 2022 ที่เพิ่งผ่านมา
Google เพิ่มฟีเจอร์ multisearch ที่เปิดตัวไปในงาน I/O กลางปี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มข้อความลงไปในรูปภาพหรือภาพที่แคปจากหน้าจอก่อนที่จะนำไปค้นหา หลังจากที่ผู้ใช้สามารถค้นหาด้วยรูปภาพได้ด้วย Google Lens อยู่แล้ว
ฟีเจอร์ multisearch ยังมีฟีเจอร์ย่อยอีกคือ multisearch near me ผู้ใช้สามารถแคปหน้าจอหรือเพิ่มรูปภาพสิ่งของที่ต้องการลงในช่องค้นหาด้วยรูปภาพ พร้อมพิมพ์ข้อความค้นหาเพิ่มเติมเพื่อค้นหาสินค้าในร้านค้าที่อยู่ใกล้ผู้ใช้
เมื่อปี 2018 คณะกรรมาธิการยุโรปออกคำสั่งปรับ Google เป็นเงินราว 4,300 ล้านยูโร ฐานละเมิดข้อกำหนดห้ามผูกขาดทางการค้าผ่าน Android รวมถึงให้ติดตั้งแอป Google Search เป็นค่าตั้งต้น หลังจากนั้น Google ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลกลาง (General Court) สหภาพยุโรป
Google เปิดเผยว่าจะเพิ่มป้ายกำกับสถานที่ที่ให้บริการด้านสุขภาพว่าแต่ละที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับทำแท้งหรือไม่ใน Google Maps และ Google Search โดยจะเพิ่มป้าย มีบริการทำแท้ง (Provides abortions) ในสถานที่ที่ให้บริการทำแท้ง และป้าย อาจไม่มีบริการทำแท้ง (Might not provide abortions) ในที่ที่อาจไม่รับทำแท้ง Google กล่าวว่าจะใช้ข้อมูลจากแหล่งธุรกิจหรือแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในการเพิ่มป้ายกำกับ
Google Search ประกาศปรับอัลกอริทึมใหญ่ โดยเรียกว่า “helpful content update” ธีมหลักคือการกรองเนื้อหาที่ตั้งใจทำ SEO แต่มีคุณภาพต่ำ (เช่น คัดลอกจากที่อื่น, ดักคำสำคัญที่คนค้นหาเยอะๆ) ออกไป เน้นที่เนื้อหาซึ่งเขียนโดยคน และเขียนให้คนอ่าน (written by people, for people)
กูเกิลไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดมากนักว่ามีวิธีแยกแยะเนื้อหา 2 ประเภทออกจากกันอย่างไร แต่ก็แนะนำให้สร้างเนื้อหาแบบ people-first เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน แทนเนื้อหาแบบ search engines first ที่เน้นดักทราฟฟิก
กูเกิลเริ่มทดสอบการแสดงปุ่ม Play Now ในหน้าผลการค้นหาของ Google Search ที่เกี่ยวข้องกับเกม เมื่อกดแล้วสามารถเล่นเกมนั้นๆ ผ่านคลาวด์เกมมิ่งได้ทันที แถมไม่จำกัดแค่ Stadia ของตัวเองอย่างเดียว แต่ยังใช้ได้กับบริการคู่แข่ง เช่น xCloud, GeForce Now, Amazon Luna ได้ด้วย
กูเกิลยังทดสอบฟีเจอร์นี้เฉพาะผู้ใช้บางกลุ่มเท่านั้น เมื่อผู้ใช้ค้นหาชื่อเกม เช่น Destiny 2 หรือ Control จะเห็นแถบ sidebar ด้านข้างขวาที่มีข้อมูลของเกมนั้น พร้อมปุ่ม Play ของบริการคลาวด์เกมมิ่งต่างๆ ที่รองรับ เมื่อกดปุ่มแล้วก็จะเปิดหน้าเพจของบริการตัวนั้นแล้วโหลดเกมขึ้นมาทันที
ฟีเจอร์นี้ของ Google Search ในฐานะบริการค้นหารายสำคัญ จะช่วยให้บริการคลาวด์เกมมิ่งได้รับความสนใจมากขึ้นจากผู้ใช้มากกว่าเดิม ยิ่งเมื่อบริการหลายตัวมี free trial ให้ด้วยก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินก่อนจึงเล่นได้
กูเกิลมีปัญญาประดิษฐ์ชื่อ Multitask Unified Model (MUM) มาตั้งแต่ปี 2021 (เป็นคนละตัวกับ LaMDA ที่เคยเป็นข่าวว่ามีอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง)
MUM ถูกใช้ทำความเข้าใจความหมายของข้อมูล (understanding information) ที่ซับซ้อนกว่าตัวเลขอย่างเดียว เช่น MUM สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการเดินเขาที่มีตัวเลขสถิติความสูง ความชันของเส้นทาง อุณหภูมิ สภาพอากาศ ฤดูกาล และให้คำแนะนำว่าควรเตรียมตัวเดินเขาลูกนั้นอย่างไร เช่น ชุดที่เหมาะสม เส้นทางที่น่าเดิน ช่วงเวลาที่ควรเดิน
TikTok อาจส่งผลกระทบต่อ YouTube โดยตรง เห็นได้จากการต้องทำแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น Shorts ออกมาสู้ แต่ดูเหมือนผลกระทบจาก TikTok อาจมีไปถึงบริการตัวอื่นของกูเกิลด้วย
มีรายงานว่า Prabhakar Raghavan รองประธานอาวุโสฝ่าย Knowledge & Information ของกูเกิล ได้พูดในงานสัมมนา Brainstorm Tech ของนิตยสาร Fortune เกี่ยวกับวิวัฒนาการของการเสิร์ชหาข้อมูล เขาบอกว่าผู้ใช้งานกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ เดี๋ยวนี้นิยมค้นหาข้อมูลที่ต้องการจาก Instagram หรือ TikTok มากกว่าที่จะเสิร์ชหาจากกูเกิล หรือ Google Maps
Google Search เพิ่มฟีเจอร์ต้านข่าวปลอมชุดใหญ่
เริ่มจากเหตุการณ์ข่าวสำคัญๆ ในท้องถิ่น มีสื่อลงข่าวแล้วอ้างอิงต่อๆ กันจำนวนมาก จนเราไม่รู้ว่าสื่อไหนเป็นจุดเริ่มต้น กูเกิลจะแปะป้าย Highly Cited ในหมวด Top Stories ไว้ให้รู้ว่าข่าวนี้คือต้นเรื่อง
ความคืบหน้าคดีที่ Genius เว็บไซต์รวบรวมเนื้อเพลง ฟ้องกูเกิลว่าลอกเนื้อเพลงไปแสดงผลโดยตรงในหน้าเสิร์ช ซึ่งตอนนั้นกูเกิลชี้แจงว่าเนื้อเพลงที่แสดง นำมาจากพาร์ทเนอร์อื่นที่ไม่ใช่ Genius โดยกูเกิลเป็นฝ่ายชนะคดีในศาลอุทธรณ์ ซึ่งให้คำตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น
ในการฟ้องร้องนั้น Genius ได้แสดงหลักฐานหลายอย่างเพื่อพิสูจน์ว่ากูเกิล นำเนื้อเพลงไปจาก Genius จริง ๆ เช่นการใส่รหัสเอาไว้ในเนื้อเพลงซึ่งตรงกับผลเสิร์ชของกูเกิล ส่วนฝ่ายกูเกิลยืนยันว่าไม่ได้ทำ และนำเสนอพยานเช่นเว็บ LyricFind ที่ให้สิทธิเข้าถึงคลังเนื้อเพลงกับกูเกิล
กระแสความแรงของ Wordle เกมทายคำอักษร 5 ตัว น่าจะมีสูงมาก หลายคนก็ใช้วิธีค้นหาเกมนี้ด้วยการเสิร์ชกูเกิลก่อน กูเกิลซึ่งทราบกระแสนี้ดีก็เลยขอมีส่วนร่วมด้วยคน
โดยเมื่อค้นคำว่า Wordle ในกูเกิล จะปรากฏ Easter Egg โดยโลโก้กูเกิลด้านบนจะเปลี่ยนเป็นอนิเมชันตัวอักษร 6 ช่อง ที่เลียนแบบเกม Wordle และจบที่คำว่า Google ไม่แน่ใจว่ากูเกิลจะเก็บ Easter Egg นี้ไว้นานแค่ไหนเหมือนกัน
สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่รู้จัก Wordle ไปทำความรู้กับเกมนี้ได้ในบทความนี้
ที่มา: 9to5Google
ดิสโทร Linux Mint ประกาศเซ็นสัญญา "เชิงพาณิชย์" กับ Mozilla เพื่อใช้ Firefox เป็นดีฟอลต์เบราว์เซอร์ในแบบที่ Mozilla ต้องการ
ในอดีต Linux Mint ใช้วิธีนำซอร์สโค้ดของ Firefox มาคัสตอมเอง ปรับค่าคอนฟิกต่างๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนหน้าเริ่มต้นเป็น https://www.linuxmint.com/start/ และใช้เสิร์ชเอนจินที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Mint (เช่น Yahoo, DuckDuckGo)
ภายใต้สัญญาใหม่ Linux Mint จะใช้ Firefox เวอร์ชันของ Mozilla เอง ซึ่งให้ประสบการณ์ใช้งานเหมือนกับบน OS อื่นๆ ซึ่ง Mint ระบุว่าลดภาระการดูแลแพ็กเกจ Firefox ของตัวเองลงด้วย การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใน Firefox 96 เป็นต้นไปบน Linux Mint 19x, 20, 20.1, 20.2 และ LMDE 4 ส่วน Linux Mint 20.3 ตัวใหม่ล่าสุดเปลี่ยนมาใช้ Firefox ตัวใหม่เรียบร้อยแล้ว
วันนี้กูเกิลรายงานคำค้นยอดนิยมประจำปี โดยบอก 5 อันดับคำค้น ที่เหลือเป็นอันดับแยกตามหมวดหมู่โดยไม่ได้ระบุเงื่อนไขของการเลือกแต่ละหมวดหมู่มาแสดง
สำหรับประเทศไทยนั้น คำค้น 10 อันดับแรกเป็นโครงการช่วยเหลือของรัฐถึง 3 อันดับ คือ เราชนะ, คนละครึ่ง, และ ม.33 เรารักกัน และอีก 3 รายการเป็นคำค้นเกี่ยวกับโควิด สำหรับการแยกตามหมวดหมู่ กูเกิลประเทศไทยเลือกแสดง หมวดหมู่ ข่าว, สถานที่ท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, บุคคล, การบริจาค, วิธี (how to), บริจาค, ต้นไม้, และเงินคริปโต
Google เพิ่มเครื่องมือเพื่อการอ่านข่าวและทำข่าวท้องถิ่นหลายอย่าง เริ่มจาก Google Search เมื่อใช้คีย์เวิร์ดค้นหาประเภทข่าว ผลการค้นหาจะแสดงข่าวท้องถิ่นเพิ่มขึ้นมาด้วย และแสดงเป็น carousel แยกให้ตามรูปภาพด้านล่าง และยังสามารถทำความเข้าใจคีย์เวิร์ดการค้นหา อย่างเช่นหากค้นหาฟุตบอล ผลการค้นหาจะแสดงข่าวฟุตบอลในท้องที่มากขึ้น ฟังก์ชันนี้เปิดใช้งานทั่วโลก ครอบคลุมหลากหลายภาษา
จากนโยบายใหม่ของกูเกิลที่ประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่าจะเปิดช่องทางให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขอลบรูปภาพตัวเองออกจากผลการค้นหาบน Google Image ล่าสุดนโยบายใหม่มีผลแล้วและเปิดช่องทางให้เข้าไปเขียนคำร้องได้แล้ว
Google Search เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ เหมาะสำหรับคนที่อยากรู้อยากเห็นในภาษาอังกฤษและคำศัพท์ใหม่ๆ โดยสามารถตั้งแอป Google Search บนมือถือให้ส่งแจ้งเตือนคำศัพท์ รวมถึงที่มาของคำได้ทุกวัน
วิธีการคือ กดที่กระดิ่งตรงผลการค้นหา เมื่อเราค้นหาคำศัพท์ จากนั้น Google จะส่งคำมาให้ทุกวัน เช่น คำที่เกิดจากการผสมคำ benefactor หรือผู้มีพระคุณ มาจากคำภาษาละตินที่ว่า bene facere แปลว่าทำความดี เป็นต้น
ฟีเจอร์ใหม่ยังใช้งานได้เฉพาะภาษาอังกฤษ