คนในแวดวงไอทีอาจรู้จักภาพ Lenna ที่นิยมใช้เป็นภาพทดสอบ image processing กันมายาวนาน ภาพต้นฉบับเป็นภาพถ่ายของนางแบบชาวสวีเดน Lena Forsén ในนิตยสาร Playboy ฉบับปี 1972 แล้วถูก Jamie Hutchinson อาจารย์ที่มหาวิทยาลัย University of Southern California หยิบมาใช้ในงานในเปเปอร์วิจัย เพราะเบื่อภาพถ่ายสต๊อกแบบเดิมๆ แล้ว แต่ก็ได้รับความนิยมและกลายเป็นมีมยุคก่อนอินเทอร์เน็ตที่ถูกใช้ต่อกันมาเรื่อยๆ
IEEE Spectrum นิตยสารในเครือ IEEE รายงานการจัดอันดับภาษาโปรแกรมยอดนิยมประจำปี ซึ่งปีนี้จัดอันดับเป็นปีที่ 10 โดย Python ยังคงเป็นอันดับ 1 ในคะแนนภาพรวม หรืออันดับ Spectrum รวมทั้งอันดับ 1 ในด้านภาษาที่มาแรงเป็นกระแส (Trending) มี Java, C++ และ JavaScript ในอันดับรองลงมา
อย่างไรก็ตาม ผลการจัดอันดับด้านภาษาโปรแกรมสำหรับการหางาน (Jobs) SQL ยังครองอันดับที่ 1 ด้วยเหตุผลเพราะ SQL มักเป็นทักษะที่อยู่ในเงื่อนไขการรับสมัครงานร่วมกับภาษาอื่น โดยมี Python ตามมาในอันดับ 2 ด้วยคะแนนที่ไม่ห่างกันมากนัก
ในรายงานยังให้ข้อสังเกตของภาษา R ว่ามีประสิทธิภาพแต่ก็มีความเฉพาะตัว ได้รับความนิยมในระดับสูง แต่พอร์ตเป็นภาษาอื่นได้ยาก ซึ่งคล้ายกับสิ่งที่เกิดกับ Fortran และ Cobol
IEEE ประกาศอันดับภาษาโปรแกรมยอดนิยม พบว่า 5 อันดับแรก ได้แก่ Python, Java, C, C++, JavaScript นั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลง แต่ปีที่ผ่านมา C# กลับสามารถไต่อันดับจากอันดับ 25 มาเป็นอันดับ 6
IEEE ประกาศมอบเหรียญเกียรติยศ (medal of honor) ให้แก่ Jacob Ziv นักวิจัยผู้ร่วมพัฒนาอัลกอริทึมบีบอัดข้อมูลแบบไม่สูญเสียข้อมูล LZ77 และ LZ78 (ตามปี 1977 และ 1978 ที่ตีพิมพ์) กับ Abraham Lempel
LZ77 และ LZ78 บุกเบิกการบีบอัดข้อมูลโดยที่ไม่สนใจว่าข้อมูลที่เข้ามาเป็นข้อมูลประเภทใด และข้อมูลที่ขยายกลับออกมาจะเหมือนเดิมทุกประการ อัลกอริทึมนี้เป็นต้นแบบของการบีบอัดแบบไม่เสียข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น PNG, ZIP, หรือ DEFLATE
ทุกวันนี้อัลกอริทึมในกลุ่ม LZ ยังมีใช้งานกันเป็นวงกว้าง เช่นโปรแกรม 7-Zip ใช้อัลกอรีทึม LZMA ที่พัฒนาต่อมาจาก LZ77/LZ78
IEEE ออกประกาศยกเลิกแบนพนักงานหัวเว่ยจากการเป็นบรรณาธิการและทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบงานวิจัย (reviewer) โดยระบุเหตุผลว่าได้รับการชี้แจงจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (Department of Commerce) ผู้รับผิดชอบกระบวนการจำกัดสิทธิ์ของหัวเว่ย ว่า IEEE สามารถร่วมงานกับพนักงานหัวเว่ยได้ต่อไป
หลังจากถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า IEEE เอาตัวเองเข้าไปยุ่งกับการเมืองและสงครามการค้า ทาง IEEE ชี้แจงว่าที่ต้องแบนพนักงานหัวเว่ยก็เพื่อป้องกันอาสาสมัครและสมาชิกคนอื่นๆ ของ IEEE ไม่ให้มีปัญหาทางกฎหมายภายหลัง โดยระบุว่าทางองค์กรตระหนักว่าเรื่องของวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องของทั้งโลก และเป้าหมายของ IEEE คือการทำให้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ
สมาพันธ์คอมพิวเตอร์จีน (China Computer Federation - CCF) ประกาศตัดสัมพันธ์กับ IEEE Computer Society หลังทาง IEEE ห้ามไม่ให้พนักงานหัวเว่ยทำหน้าที่บรรณาธิการวารสารหรือรีวิวงานวิจัย โดยระบุว่า IEEE ได้เฉออกจากแนวทางที่จะสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อมนุษยชาติ และเสียใจที่ Computer Society ยอมต่อกฎหมายท้องถิ่นที่ละเมิดแนวทางเปิดกว้างในทางวิชาการ
ทาง CCF ระบุว่ามี 3 มาตรการ ได้แก่ หยุดสื่อสารและหยุดความร่วมมือกับ Computer Society ทั้งหมดชั่วคราว, ไม่แนะนำให้สมาชิกของ CCF ส่งงานวิจัยเข้าร่วมในงานประชุมวิชาการหรือวารสารของ Computer Society, แนะนำให้สมาชิกหยุดช่วย Computer Society รีวิวรายงานวิชาการ
IEEE ออกอีเมลแจ้งวารสารในเครือว่าหลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ แบนหัวเว่ย ตอนนี้ทาง IEEE ก็ไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานของบริษัทสำหรับการให้ทำหน้าที่บรรณาธิการวารสาร หรือเป็นผู้รีวิวรายงานวิชาการได้อีกต่อไป แม้พนักงานของหัวเว่ยจะเป็นสมาชิกระดับ IEEE Fellow อยู่หลายคน
IEEE หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineers เป็นองค์กรที่รวมมาจาก American Institute of Electrical Engineers และ Institute of Radio Engineers โดยตัวองค์กรเองจดทะเบียนอยู่ในสหรัฐฯ แม้จะมีสมาชิกจากทั่วโลกและทำงานระดับนานาชาติก็ตามที แต่การเป็นองค์กรในสหรัฐฯ ก็ทำให้ IEEE ต้องทำตามประกาศของสหรัฐฯ
การโจมตี KRACK ทำให้การเชื่อมต่อ Wi-Fi แบบ WPA2 ที่เคยเชื่อกันว่าปลอดภัย กลับกลายเป็นมีช่องโหว่ร้ายแรงจนเปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถอ่านข้อความภายในการเชื่อมต่อได้ นักวิชาการวิทยาการเข้ารหัสลับ (cryptographer) ชื่อดังอย่าง Matthew Green ก็ออกมาแสดงความเห็นว่าทำไมช่องโหว่ร้ายแรงระดับนี้จึงสามารถหลุดรอดได้เป็นเวลานานถึง 14 ปีเต็ม (ตัวมาตรฐานออกมาตั้งแต่ปี 2004)
อีเธอร์เน็ตทุกวันนี้การ์ดที่ซื้อใหม่ๆ มักจะเป็นทำงานที่ความเร็ว 1Gbps กันเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการเชื่อมต่อระดับแกนกลางของหน่วยงานก็มักใช้ไฟเบอร์ที่ความเร็ว 10Gbps แต่มาตรฐาน IEEE 802.3bz ที่กำลังออกมาจะเปิดทางให้องค์กรอัพเกรดความเร็วได้โดยใช้สายเดิมที่ติดตั้งไปแล้ว
IEEE 802.3bz ทำงานบนสาย CAT5e และ CAT6 ตัวมาตรฐานเสนอโดยกลุ่ม NBASE-T Alliance ตั้งแต่ปลายปี 2014 ขณะที่มาตรฐาน 10GBASE-T หรือ IEEE 802.3ae นั้นต้องใช้สาย CAT6a ที่ไม่ได้รับความนิยมแม้จะออกมาตรฐานมาแล้วกว่าสิบปี
IEEE Spectrum นิตยสารของ IEEE รายงานการสำรวจความนิยมภาษาโปรแกรมมิ่ง โดยสิบอันดับแรกได้แก่ C, Java, Python, C++, R, C#, PHP, JavaScript, Ruby, และ Go ตามลำดับ
การสำรวจของ IEEE Spectrum อาศัยข้อมูลจาก 10 แหล่ง เช่น กูเกิล, ทวิตเตอร์ GitHub, Stack Overflow, Dice ทำให้นอกจากอันดับรวมแล้ว ยังมีการจัดอันดับในมิติต่างๆ เช่น แนวโน้มความนิยม (trending), ตำแหน่งงาน, และโลกโอเพนซอร์ส ทาง IEEE Spectrum ยังเปิดให้คนทั่วไปสามารถสร้างตำแหน่งจากข้อมูลที่หามา โดยถ่วงน้ำหนักความสำคัญจากข้อมูลแต่ละแหล่งได้เอง
เมืองไทยอินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์ออฟติกส์เริ่มได้รับความนิยมอย่างสูงในไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ต้นกำเนิดการสื่อสารผ่านสายไฟเบอร์ออฟติกส์นั้นเพิ่งเริ่มมาเมื่อ 50 ปีที่แล้วเท่านั้น โดยงานวิจัย "Dielectric-fibre surface waveguides for optical frequencies" ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Institution of Electrical Engineers เมื่อเดือนกรกฎาคม 1966 เป็นจุดกำเนิดของการใช้สายไฟเบอร์ออฟติกส์เพื่อการสื่อสาร
IETF ร่วมมือกับกลุ่ม IEEE 802 กลุ่มวางมาตรฐาน LAN/Wi-Fi ประกาศผลการทดสอบการรักษาความเป็นส่วนตัวของ Wi-Fi ที่ทดสอบมาแล้วสามครั้งตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และประกาศว่าทั้งสองกลุ่มยืนยันจะรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
รายการการทดสอบทั้งสามครั้งระบุถึงแนวทางที่เป็นไปได้ที่จะรักษาความส่วนตัวของผู้ใช้ Wi-Fi เช่น การสุ่ม MAC ระหว่างการหาเครือข่าย (แบบเดียวกับที่แอปเปิลทำใน iOS 8), สุ่ม MAC เมื่อเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่, สุ่ม SSID สำหรับการแชร์ 3G, เข้ารหัสข้อมูลมากขึ้นรวมไปถึงการเข้ารหัสข้อมูลการจัดการเครือข่าย ไม่ใช่เฉพาะข้อมูลที่ส่ง
สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) ตั้งกลุ่มทำงาน IEEE P2413 Working Group เพื่อสร้างมาตรฐานการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ Internet of Things (IoT)
เป้าหมายของกลุ่ม IEEE P2413 คือพยายามทำให้อุปกรณ์ IoT ข้ามค่ายสามารถสื่อสารกันได้ โดยจะพยายามดึงกลุ่มอุตสาหกรรมภาคเอกชนที่ทำเรื่อง IoT ที่มีอยู่จำนวนมาก (เช่น AllJoyn) รวมถึงองค์กรมาตรฐานสากล เช่น ETSI, ISO เข้ามาทำงานร่วมกัน คาดว่าทางกลุ่มจะสามารถออกมาตรฐานกลางได้ในปี 2016 เป็นต้นไป
ปัจจุบัน IEEE P2413 มีหน่วยงานเข้าร่วมเป็นสมาชิก 23 ราย เช่น GE, Cisco, Huawei, Qualcomm, ZigBee เป็นต้น
เลขประจำการ์ดเครือข่าย หรือ MAC Address นั้น แบ่งออกเป็นสองชุดได้แก่ 6 หลักแรก (ฐาน 16) เป็นหมายเลขประจำตัวผู้ผลิต และ 6 หลักท้ายเป็นหมายเลขประจำการ์ด ล่าสุดมีผู้พบฐานข้อมูลของ IEEE แสดงหมายเลข "FC-D4-F2" เป็นหมายเลขผู้ผลิตของบริษัท The Coca Cola Company
รายการนี้พบโดย Alvaro Ortega นักพัฒนาโครงการ MAC Changer โดยยังไม่มีข้อมูลว่า Coca Cola จะซื้อหมายเลข MAC เป็นของตัวเองไปเพื่ออะไร โดยค่าบริการลงทะเบียนของหมายเลข MAC จำนวน 16 ล้านหมายเลขหรือบล็อคขนาดใหญ่ (MA-L: MAC Address Block Large) นั้นอยู่ที่ 2,500 ดอลลาร์
หรือกระป๋องโค้กจะมี Wi-Fi ในตัว
นับตั้งแต่มาตรฐาน 802.11 ได้รับการยอมรับในวงกว้าง การใช้เครือข่ายแลนไร้สายก็กลายเป็นฟีเจอร์มาตรฐานในโน้ตบุ๊กและคอมพิวเตอร์แทบทุกตัวในโลก แลนไร้สายเป็นฟีเจอร์สำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ขนาดเล็กเช่นโทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้โดยไม่ต้องมีพอร์ตสำหรับต่อสาย รวมถึงการให้บริการกับคนจำนวนมากก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องลากสายที่ยุ่งยาก
Radu Drăgușin นักวิจัยชาวโรมาเนียเปิดเผยว่าเขาได้เข้าถึงล็อกไฟล์ของเว็บไซต์ IEEE ที่เต็มไปด้วยบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านโดยไม่เข้ารหัสไว้ โดยล็อกไฟล์ดังกล่าวก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายผ่านทางการล็อกอินแบบนิรนามของ FTP ซึ่งล็อกไฟล์ดังกล่าวนั้นมีขนาดกว่า 100 GB
Drăgușin กล่าวว่าข้อมูลในล็อกไฟล์นั้นเป็นข้อมูลของ HTTP requests ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงช่วงกลางเดือนกันยายน 2012 ซึ่งมีกว่า 380 ล้าน request จากการรวบรวมแล้วได้บัญชีผู้ใช้งานทั้งหมดกว่า 99,979 บัญชีซึ่งรวมไปถึงบัญชีของพนักงานบริษัทชั้นนำอย่าง Apple, Google, IBM, Oracle, Samsung แม้กระทั่ง NASA ด้วย
IEEE ประกาศตั้งกลุ่มพัฒนามาตรฐานการส่งข้อมูลด้วยสายแบบใหม่ ชื่อกลุ่มอย่างเป็นทางการคือ __ IEEE 802.3 Industry Connections Higher Speed Ethernet Consensus group__ หรือการพัฒนามาตรฐาน Ethernet ให้มีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นอีกนั่นเอง
ตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่า 802.3 แบบใหม่จะมีอัตราการส่งข้อมูลเท่าไร แต่ IEEE ก็ประเมินว่าความต้องการใช้งานน่าจะอยู่ที่ 1Tbps ในปี 2015 และขึ้นไปเป็น 10Tbps ในปี 2020 อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ประเมินกันว่าเริ่มต้นที่ 400Gbps ก่อนน่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากกว่า
คณะกรรมการชุดนี้จะเริ่มประชุมนัดแรกช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ที่สวิตเซอร์แลนด์
บทความใน IEEE Spectrum ที่วิเคราะห์ว่าไมโครซอฟท์ "ลอก" โค้ดมาจาก CP/M หรือไม่เป็นบทความที่ได้รับการพูดถึงไปทั่วโลก แต่ปรากฎว่าผู้เขียน คือ Bob Zeidman นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เป็นพยานฝั่งไมโครซอฟท์ในคดีระหว่างไมโครซอฟท์และโมโตโรล่า
ทาง IEEE ได้แก้หัวบทความเพื่อขอโทษที่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลนี้ในการตีพิมพ์บทความครั้งแรก อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานอื่นว่าไมโครซอฟท์มีส่วนชี้น้ำบทความนี้โดยตรงหรือไม่
IEEE ออกมาตรฐาน 802.11 อัพเดตครั้งล่าสุดในชื่อว่า IEEE 802.11-2012 รวมเอามาตรฐานย่อยและมาตรฐานเพิ่มเติมเข้ามา โดยตัวมาตรฐานจะครอบคลุมถึงการทำ fast roam หรือการย้ายเครือข่ายแบบเร็ว, mesh network หรือการสร้างเครือข่ายแบบไม่มี access point, การจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่, การใช้คลื่นย่าน 3.6-3.7GHz, และมาตรฐานความปลอดภัยแบบใหม่ๆ
มาตรฐาน 802.11 นั้นคนใช้ทั่วไปคงไม่ต้องสนใจอ่านกันมากนัก เพราะกลุ่มผู้ใช้หลักคือผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องทำตามมาตรฐาน ตัวมาตรฐานเบื้องต้นมีราคา 5 ดอลลาร์ หนา 38 หน้า
IEEE แถลงเปิดตัวมาตรฐาน IEEE 802.22 รุ่นสมบูรณ์พร้อมให้ผู้ผลิตนำไปผลิตอุปกรณ์สำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็ว 22mbps ได้ระยะทางสูงสุดถึง 100 กิโลเมตรจากฐาน โดยใช้คลื่นความถี่เดิมสำหรับวิทยุโทรทัศน์
ประเด็นย่านความถี่สีขาว (White Spaces) เป็นย่านความถี่ขนาดใหญ่ที่ครองโดยเทคโนโลยีเก่าเช่นวิทยุและโทรทัศน์ มันกินย่านความถี่กว้างมากตั้งแต่ความถี่ 54MHz ไปจนถึง 698MHz (กว้าง 644MHz) เนื่องจากเทคโนโลยีการส่งข้อมูลวิทยุโทรทัศน์แบบอนาล็อกนั้นต้องการย่านความถี่ที่กว้างมาก เทียบกับทุกวันนี้ที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออาจจะทำงานด้วยคลื่นความถี่รวมกว้าง 20 ถึง 30MHz เท่านั้น
คุณ Bruce Montag หนึ่งในสมาชิกของ WiGig (Wireless Gigabit Alliance) และเป็นประธานกรรมการของ VESA (Video Electronics Standards Association) เปิดเผยว่า มาตรฐานรับส่งข้อมูลไร้สายที่ความเร็ว 7Gbps รุ่นแรก จะได้รับการสนับสนุนจาก VESA ในการพัฒนามาตรฐานดังกล่าวสำหรับ DisplayPort แบบไร้สาย โดยเขาได้กล่าวว่าการเชื่อมต่อบนมาตรฐาน WiGig รุ่นแรกนี้สามารถทดแทนการเชื่อมต่อ USB และ HDMI แบบไร้สาย และ Wi-Fi ได้ในคราวเดียว
มาตรฐาน WiMAX 2 หรือที่ใครหลายคนเคยได้ยินว่า IEEE 802.16m นั้น จะได้รับการพิจารณาครั้งสุดท้าย (finalized) โดย IEEE ในเดือนพฤศจิกายนนี้ หากมาตรฐาน WiMAX 2 ได้รับการรับรองแล้วฮาร์ดแวร์ก็น่าจะถูกผลิตขึ้นตลอดปีหน้า และผู้บริโภคน่าจะได้ใช้ในปีถัดไป (พ.ศ.2555)
ตามมาตรฐานดังกล่าว ความเร็วในการดาวน์โหลดจะสูงกว่า 100Mbps และได้รับความคาดหวังว่าความเร็วสูงสุดน่าจะถึง 1Gbps มาตรฐานนี้ยังสนับสนุนแบบย้อนหลัง (Backward Compatibility) กับมาตรฐาน WiMAX เดิม (IEEE 802.16e) อีกด้วย
มาตรฐาน 802.3 อยู่กับเรามาตั้งแต่รุ่น 1-2Mbps และมาจนวันนี้มันก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะจากเราไปไหนเมื่อกลุ่ม Ethernet Task Force ได้ออกมาตรฐาน IEEE 802.3ba เพื่อเตรียมรองรับความเร็วระดับ 40Gbps และ 100Gbps กันแล้ว
ที่ความเร็วระดับนี้เราต้องการสายไฟเบอร์ออปติกส์เท่านั้นแทนที่จะเป็นสายทองแดงเช่นมาตรฐานความเร็ว 10Gbps ที่ยังใช้งานบนสาย CAT6 ได้ และการใช้งานในตอนนี้ยังคาดว่าจะจำกัดอยู่ในกลุ่มเซิร์ฟเวอร์และสวิตซ์แกนเท่านั้น
กว่าจะราคาถูกคงอีกนาน แต่เห็นการซ่อมบำรุงสายไฟเบอร์แล้วผมคงถอยก่อน
ที่มา - net-security
ขณะที่สงครามเครื่องชาร์จโทรศัพท์ (จริงๆ ก็อุปกรณ์พกพาแทบทุกอย่าง) กำลังจะจบลงด้วยชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จของ USB สงครามต่อไปคือแบตเตอรี่ที่ในตอนนี้ผู้ผลิตต้องผลิตแบตเตอรี่หลายสิบรุ่นเพื่อให้ตรงกับสเปคของโทรศัพท์สารพัดรุ่น ที่กำลังเริ่มต้นด้วยมาตรฐาน IEEE P1725 รุ่นใหม่
มาตรฐาน IEEE P1725 นั้นมีการอนุมัติไปตั้งแต่ปี 2006 แล้วแต่เนื่องจากความสนใจของมาตรฐานนั้นจำกัดมาก ที่สำคัญคือมันไม่มีการกำหนดแรงดันไฟฟ้าและรูปร่างของแบตเตอรี่ ทำให้แบตเตอรี่ทุกตัวที่ผ่านมาตรฐานนี้ ไม่สามารถใช้ด้วยกันได้แต่อย่างใด
เลยไม่มีใครสนใจว่าแบตเตอรี่ก้อนไหนจะผ่านมาตรฐานนี้หรือไม่
แม้ว่าเราจะใช้มาตราฐาน Wi-Fi 802.11n มานานมากแล้วก็ตาม ล่าสุด IEEE ได้รับรองให้เป็นมาตราฐาน Wireless Lan แล้ว หลังจากที่มีสถานะเป็นเพียงแค่ Draft มานาน
โดยตามสเปคของมาตราฐาน 802.11n นี้อุปกรณ์จะมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงสุดที่ 300 Mbit/s
จากคำอ้างของ Wi-Fi Alliance นั้น อุปกรณ์เกือบทั้งหมดที่ใช้ 802.11n Draft สามารถที่จะทำการอัพเกรดตามสเปคนี้ได้ด้วยการอัพเดทเฟิร์มแวร์
ที่มา - C|net