ไมโครซอฟท์ประกาศปล่อยซอร์สโค้ด MS-DOS 4.0 ที่พบในระบบของบริษัท หลังจากนักวิจัยอังกฤษ Connor Starfrost Hype พยายามค้นคว้าประวัติศาสตร์ของ DOS โดยเฉพาะช่วงความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์และไอบีเอ็ม
Starfrost ขอให้ Ray Ozzie อดีตซีทีโอของไมโครซอฟท์ช่วยหา DOS ให้ และ Ozzie ก็พบไบนารีของ DOS 4.0 ที่ได้มาระหว่างทำงานในบริษัท Lotus โดย DOS 4.0 เป็นต้นสายของ MT-DOS (multitasking DOS) ก่อนจะกลายเป็น OS/2 ในที่สุด
ดิสก์ของ Ozzie ยังอ่านได้ และสามารถค้นไฟล์มาได้สำเร็จ แต่ไมโครซอฟท์หาซอร์สโค้ดไม่พบแล้ว อย่างไรก็ดี Microsoft Archives พบซอร์สโค้ดของ MS-DOS 4.0 พร้อมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง จึงตัดสินใจปล่อยออกมาเป็นโอเพนซอร์ส
ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดซอร์สโค้ดของ MS-DOS 4.00 นำขึ้น GitHub ให้เผยแพร่ทั่วไป
ไมโครซอฟท์เคยเปิดซอร์สโค้ดของ MS-DOS 1.25 และ 2.0 ในปี 2014 และนำขึ้น GitHub ในปี 2018 ประกาศรอบนี้คือการเปิดซอร์สโค้ดของเวอร์ชัน 4.0 ที่ใหม่กว่าเดิม
ระบบปฏิบัติการที่เรารู้จักกันในชื่อ MS-DOS หรือ Microsoft Disk Operating System ไม่ได้ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟท์มาตั้งแต่แรก แต่เป็นไมโครซอฟท์ไปซื้อระบบปฏิบัติการ QDOS (Quick and Dirty Operating System) หรือภายหลังใช้ชื่อ 86-DOS ทำตลาด มาจากบริษัท Seattle Computer Products ในราคาราว 50,000 ดอลลาร์ แล้วนำไปขายต่อให้บริษัทอื่นๆ (รวมถึง IBM ในยุคนั้น ที่ใช้ชื่อ PC DOS ทำตลาด)
ล่าสุดมีการค้นพบไฟล์ของ 86-DOS เวอร์ชัน 0.1 C ที่ถูกเขียนขึ้นในปี 1980 ซึ่งน่าจะเป็นไฟล์ของ DOS เวอร์ชันเก่าที่สุดที่ย้อนหากันจนเจอ
Eric Roth ผู้เขียนบทภาพยนตร์ไซไฟเรื่อง Dune เปิดเผยว่าเขาเขียนบทด้วยโปรแกรม Movie Master บน MS-DOS ซึ่งเป็นโปรแกรมที่หาไม่ได้แล้วในปัจจุบัน
Eric Roth เป็นนักเขียนบทภาพยนตร์ชื่อดังหลายเรื่อง เช่น Forrest Gump (1994), The Insider (1999), Munich (2005) โดยชนะรางวัลออสการ์จากบทภาพยนตร์เรื่อง Forrest Gump ด้วย
วิธีการทำงานของ Roth คือใช้คอมพิวเตอร์ที่ยังเป็น Windows XP แล้วเปิด Movie Master 3.09 ขึ้นมาในคอนโซล DOS แล้วนั่งเขียนบทไปเรื่อยๆ เมื่อเสร็จแล้วจึงพิมพ์ลงกระดาษเพื่อส่งให้กองถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งต้องนำไปสแกนใส่ในคอมพิวเตอร์อีกรอบ
เมื่อ 4 ปีก่อน ไมโครซอฟท์เปิดซอร์สโค้ดของ MS-DOS และยกให้พิพิธภัณฑ์ Computer History Museum ซึ่งเปิดให้คนทั่วไปดาวน์โหลดมาศึกษาได้ แต่มีเงื่อนไขยุ่งยากพอสมควร เช่น ต้องยืนยันว่าไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่นำซอร์สโค้ดไปเผยแพร่ที่อื่น
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับนโยบายใหม่ แก้ปัญหาความยุ่งยากข้างต้น โดยนำซอร์สโค้ดของ MS-DOS ขึ้นไปไว้บน GitHub ให้ดาวน์โหลดกันง่ายๆ เลย ผู้สนใจเข้าไปดูได้ที่ GitHub
วันนี้ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว MS-DOS Mobile ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อสมาร์ทโฟน Lumia โดยเฉพาะ ด้วยแนวคิดสูงสุดคืนสู่สามัญ Tom Messett จากฝ่ายการตลาด Microsoft Lumia ได้กล่าวไว้ว่า "ตัวอักษรขาวดำไม่ดูดีไปกว่านี้อีกแล้ว"
วิธีการใช้งาน MS-DOS Mobile นั้นเรียบง่ายผู้ใช้งานเพียงแค่พิมพ์คำสั่งใน command prompt เพื่อเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ ส่วนแอพหลัก ๆ จะอยู่ภายใต้โฟลเดอร์ C:\PROGRAMS\PHONE โดยคุณสามารถเข้าถึงรายการแอพได้ด้วยการพิมพ์
วันนี้ไมโครซอฟท์เปิดตัว MS-DOS Mobile ระบบปฏิบัติการใหม่ที่ออกแบบมาสำหรับมือถือ Lumia ทุกรุ่น โดยได้เปิดให้ทดลองในรูปแบบของแอพบน Windows Phone ซึ่งรองรับคำสั่งมากมายดังนี้
หลังจาก Internet Archive แหล่งรวมเอกสารและสื่อสารพัดชนิดในรูปแบบของ "ห้องสมุดอินเทอร์เน็ต" ได้ปล่อยเกมอาร์เคดกว่า 900 เกม ให้เล่นกันผ่านเบราว์เซอร์ ล่าสุดโครงการ Internet Archive ได้ปล่อยเกมบน MS-DOS เกือบ 2,400 เกม อาทิ Commander Keen, Wolfenstein 3D และ Mario Teaches Typing ให้เล่นได้ฟรีผ่านเบราว์เซอร์แล้ว
ดูรายชื่อเกมทั้งหมดและวิธีการเข้าเล่นได้จากที่มาของข่าวครับ
ที่มา: Internet Archive ผ่าน The Verge
George R.R. Martin ผู้เขียนนิยายแฟนตาซีชื่อดังชุด Game of Thrones (ที่ถูกดัดแปลงมาทำเป็นซีรีส์) ออกมาให้สัมภาษณ์เบื้องหลังการเขียนงานชุดนี้ว่าเขามีคอมพิวเตอร์รุ่นปกติสำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลอยู่แล้ว แต่ก็มีคอมพิวเตอร์อีกเครื่องเพื่อการเขียนงานโดยเฉพาะ
ความน่าสนใจอยู่ที่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้รันระบบปฏิบัติการ DOS, ไม่ต่อเชื่อมกับอินเทอร์เน็ต และใช้โปรแกรมพิมพ์งานรุ่นเก่าอย่าง WordStar 4.0 ส่วนเหตุผลก็คือโปรแกรมเหล่านี้เรียบง่าย และไม่มีฟีเจอร์ใดๆ (เช่น ตัวช่วยสะกดคำ) มารบกวนเขาระหว่างการเขียนหนังสือได้นั่นเอง
Microsoft ปล่อยซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์ดึกดำบรรพ์ชื่อดังของตนเองอย่าง MS-DOS และ Word for Windows ให้ผู้คนทั่วไปได้นำไปศึกษา และมีการจัดเก็บบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
สำหรับซอร์สโค้ดของ MS-DOS นั้นเป็นของรุ่น 1.1 และ 2.0 ซึ่งเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 1983 ส่วนโปรแกรม Word for Windows ที่มีการปล่อยซอร์สโค้ดออกมานั้นคือรุ่น 1.1a
Roy Levin วิศวกรพิเศษและผู้อำนวยการของ Microsoft Research ได้กล่าวขอบคุณพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ Computer History Museum ที่จะช่วยเก็บรักษาซอร์สโค้ดอันล้ำค่านี้ไว้เพื่อการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และพัฒนาการด้านซอฟต์แวร์ต่อไปในอนาคต
Reed Hasting ซีอีโอของบริษัทเช่าวิดีโอออนไลน์ Netflix ดำรงตำแหน่งบอร์ดบริหารของไมโครซอฟท์มา 5 ปี เขาจะลงจากตำแหน่งสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ และให้ความเห็นที่น่าสนใจต่อไมโครซอฟท์ไว้หลายประการ
บทความใน IEEE Spectrum ที่วิเคราะห์ว่าไมโครซอฟท์ "ลอก" โค้ดมาจาก CP/M หรือไม่เป็นบทความที่ได้รับการพูดถึงไปทั่วโลก แต่ปรากฎว่าผู้เขียน คือ Bob Zeidman นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เป็นพยานฝั่งไมโครซอฟท์ในคดีระหว่างไมโครซอฟท์และโมโตโรล่า
ทาง IEEE ได้แก้หัวบทความเพื่อขอโทษที่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลนี้ในการตีพิมพ์บทความครั้งแรก อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานอื่นว่าไมโครซอฟท์มีส่วนชี้น้ำบทความนี้โดยตรงหรือไม่
เป็นบทความที่น่าสนใจมากอีกเรื่องหนึ่งของประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ครับ
เมื่อครั้งที่ IBM บุกเข้ามายังตลาดพีซีเป็นครั้งแรก (ด้วยการสร้างฮาร์ดแวร์ IBM PC ขึ้นมา) บริษัทตัดสินใจไม่ทำระบบปฏิบัติการเอง แต่เลือกทำสัญญาใช้งานระบบปฏิบัติการจากบริษัทอื่นๆ แทน
ตอนนั้น IBM มีตัวเลือกอยู่สองบริษัทคือ CP/M ระบบปฏิบัติการยอดฮิตสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคนั้น สร้างโดย Gary Kildall แห่งบริษัท Digital Research (ปัจจุบันเขาเสียชีวิตแล้ว) และอีกทางหนึ่งคือ DOS ของไมโครซอฟท์ที่บิล เกตส์ไปซื้อมาอีกต่อหนึ่งจากบริษัท Seattle Computer Products