หน่วยงานป้องกันการผูกขาดทางการค้าของอินโดนีเซีย (KPPU) เปิดเผยว่ากำลังสอบสวน Google เรื่องการผูกขาดทางการค้าผ่านระบบชำระเงินของ Google Play
เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียพบว่า ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันบน Google Play ามจะต้องใช้บริการการชำระเงินของ Google ซึ่งเสียค่าธรรมเนียมบริการ 15-30% (มากกว่าระบบจ่ายเงินอื่น ๆ ในประเทศที่คิด 5%) รวมถึงผู้พัฒนาแอปไม่มีทางเลือกเพราะหากปฏิเสธจะถูก Google นำแอปออกจาก Google Play หรือไม่ให้อัปเดตแอปพลิเคชัน
GoTo Gojek Tokopedia บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ประกาศซื้อกิจการ Kripto Maksima Koin แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตของอินโดนีเซียเอง ด้วยมูลค่า 1.25 แสนล้านรูเปียห์ หรือประมาณ 310 ล้านบาท
GoTo เป็นบริษัทที่รวมสองบริษัทใหญ่ของอินโดนีเซียในเวลานั้นคือ Tokopedia ที่เป็นอีคอมเมิร์ซ และ Gojek แอปเรียกรถโดยสาร โดยไอพีโอเข้าตลาดหุ้นอินโดนีเซียเมื่อต้นปี
ปัจจุบันอินโดนีเซียบริษัทจดทะเบียนให้บริการซื้อขายคริปโต 25 ราย ซึ่ง Kripto Maksima เป็นหนึ่งในนั้น ตอนนี้หน่วยงานกำกับดูแลของอินโดนีเซียลงมาควบคุมแพลตฟอร์มคริปโตมากขึ้น และงดออกใบอนุญาตใหม่ในตอนนี้
ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศเชื่อมต่อระบบ QRIS เข้ากับ Thai QR และ NETS QR เปิดทางให้ผู้ใช้สามชาติสามารถจ่ายเงินตามร้านค้าด้วยการสแกนเหมือนกับการจ่ายเงินในประเทศทุกวันนี้
การเชื่อมต่อระหว่างไทยและอินโดนีเซียนั้นเริ่มทดสอบมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 ตอนนี้จะเข้าสู้ช่วงอิมพลีเมนต์จริงโดยมีผู้ให้บริการถึง 76 รายจากทั้งสองประเทศเข้าร่วมโครงการ ทำให้สามารถโอนจ่ายเงินค่าบริการต่างๆ ผ่าน QR ได้ทันที และทั้งสองชาติจะร่วมมือกันเพื่อการโอนเงินข้ามประเทศที่รวดเร็วขึ้นเพิ่มความสะดวกให้กับการทำธุรกิจและแรงงานข้ามชาติต่อไป
ก่อนหน้านี้อินโดนีเซียได้บล็อกบริการออนไลน์หลายตัว เนื่องจากไม่ได้มาจดทะเบียนผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อกำหนดที่ออกมาในปี 2020 ของประเทศ แต่ล่าสุดทางการได้ปลดบล็อก PayPal, Steam และ Yahoo แล้ว
โดยตัวแทนของ PayPal กล่าวว่า บริษัทได้ยื่นคำขอจดทะเบียนผู้ให้บริการ ตามข้อกำหนดของรัฐบาลท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งช่วงที่บริการถูกบล็อกบริษัทได้ขอโทษลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ
จนถึงตอนนี้บริการออนไลน์ของบริษัทใหญ่ ที่ยังถูกบล็อกคือ Epic Games และ Origin นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่าบริษัทใหญ่อย่าง Meta, Amazon และกูเกิล ก็มายื่นขอจดทะเบียนแบบโค้งสุดท้าย เพียง 1 วัน ก่อนข้อกำหนดมีผลบังคับใช้ ทำให้บริการของบริษัทไม่ถูกบล็อก
รัฐบาลอินโดนีเซีย นำโดยกระทรวงสื่อสารและสารสนเทศ (Communications and Information Ministry หรือ Kominfo) บล็อกบริการออนไลน์ยอดนิยม 8 รายการ ได้แก่ Yahoo, PayPal, Xandr และบริการเกมออนไลน์ยอดนิยมคือ Steam, Epic Games, Origin, Dota, Counter-Strike เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ electronic services providers (ESPs) ตามกฎกระทรวงปี 2020 ของอินโดนีเซีย
Semuel Abrijani Pangerapan ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ ออกมายืนยันข่าวการแบนนี้ โดยให้ข้อมูลว่ามีผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากอินโดนีเซีย 8,000 ราย และต่างประเทศ 200 รายมาจดทะเบียนเรียบร้อยตามกำหนด
GoTo Group บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ได้นำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นอินโดนีเซียเรียบร้อยแล้ว โดยขายหุ้นไอพีโอได้เงิน 15.8 ล้านล้านรูเปียห์ หรือคิดเป็น 1,100 ล้านดอลลาร์ หรือ 37,000 ล้านบาท มีมูลค่ากิจการอยู่ที่ราว 28,000 ล้านดอลลาร์
GoTo ระบุว่าไอพีโอครั้งนี้ ถือเป็นไอพีโอขนาดใหญ่ที่สุดของปีลำดับที่ 3 ในทวีปเอเชีย และอันดับ 5 ของโลก มีผู้ร่วมลงทุนในไอพีโอมากกว่า 3 แสนคน มากที่สุดเป็นสถิติของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
GoTo เกิดจากการรวมกันของสองธุรกิจใหญ่ในประเทศคือ Tokopedia แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และ Gojek ผู้ให้บริการรถโดยสารและ O2O บริษัทบอกว่าจะนำเงินระดมทุนนี้ไปใช้ขยายธุรกิจทั้งในอินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และลงทุนในโอกาสธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กรมสรรพากรของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่าอินโดนีเซียมีแผนจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากธุรกรรมสินทรัพย์คริปโต และจะคิดภาษีจากกำไรการขาย (Capital Gain) ที่อัตราร้อยละ 0.1 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นต้นไป
ปัจจุบันอินโดนีเซียกำหนดให้สินทรัพย์คริปโต มีสถานะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) จึงสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่สามารถใช้ในการชำระหนี้ได้ และเนื่องจากเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ จึงทำให้ธุรกรรมซื้อขายต้องถูกคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
ข้อมูลระบุว่าตลาดการซื้อขายคริปโตในอินโดนีเซียก็เติบโตสูงในปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกันในหลายประเทศ โดยมูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวจากปี 2020
GoTo บริษัทที่มาจากการรวมกิจการของสองบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในอินโดนีเซีย Gojek และ Tokopedia ประกาศเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นอินโดนีเซีย โดยขายหุ้นเพิ่มทุนอย่างน้อย 15.2 ล้านล้านรูเปียห์ หรือราว 3.6 หมื่นล้านบาท เป็นไอพีโอขนาดใหญ่รายการหนึ่งของประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
เมื่อปลายปีที่แล้ว GoTo ประกาศรับเงินจากนักลงทุนรอบสุดท้ายรวม 1.3 พันล้านดอลลาร์
GoTo แบ่งโครงสร้างบริษัทปัจจุบันเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ธุรกิจออนดีมานด์ Gojek, อีคอมเมิร์ซ Tokopedia และฟินเทค GoTo Financial ซึ่ง GoTo ก็อธิบายความยิ่งใหญ่ของธุรกิจว่ามีมูลค่าคิดเป็น 2% ของ GDP ประเทศอินโดนีเซียในปี 2020 และบริการก็เข้าถึงประชากร 2 ใน 3 ของประเทศ
Otoritas Jasa Keuangan (OJK) หน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินอินโดนีเซีย สั่งห้ามสถาบันการเงินยุ่งเกี่ยวกับเงินคริปโต ทั้งการใช้งาน, ทำตลาด, ให้บริการซื้อขายเงินคริปโต
คำสั่งนี้ออกมาไล่หลังการออกใบอนุญาตค้าเงินคริปโตในอินโดนีเซียไปเพียงไม่กี่วันเท่านั้น โดยมีเงินคริปโต 229 สกุลได้รับอนุญาตให้ซื้อขายในอินโดนีเซีย การกำกับดูแลการซื้อขายเงินคริปโตของอินโดนีเซียนั้นกลายเป็นอำนาจของสำนักงานกำกับการซื้อขายฟิวเจอร์ของกระทรวงพาณิชย์ แสดงให้เห็นว่าอินโดนีเซียมองเงินคริปโตเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินอย่างสิ้นเชิง
Amazon Web Services (AWS) ประกาศเปิดเขต Asia Pacific (Jakarta) ใช้ตัวย่อว่า ap-southeast-3 โดยถือเป็นเขต (Region) ที่สามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (1 คือสิงคโปร์, 2 คือซิดนีย์) และเขตที่ 10 ในเอเชีย
การเปิดบริการของ AWS ทำให้อินโดนีเซียมีผู้ใช้บริการคลาวด์รายใหญ่ของโลกครบ 3 รายแล้ว รายแรกคือ Google Cloud เปิดตัวช่วงกลางปี 2020 ตามด้วย Microsoft Azure ประกาศว่าจะเปิด (แต่ยังไม่เริ่มเปิด) ส่วน AWS ถึงแม้จะมาเป็นรายที่สาม ก็เปิดเลยทันทีก่อน Azure
ที่มา - AWS Blog
สภาผู้นำศาสนาแห่งชาติหรือ The National Ulema Council ของประเทศอินโดนีเซีย ออกมาระบุว่าคริปโตเคอเรนซีเป็นสิ่งฮะรอม (haram) หรือขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม (Sharia) เนื่องจากมีความไม่แน่นอน เข้าข่ายการพนัน และอาจก่อความเสียหาย หลังมีการพิจารณาในที่ประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเมื่อช่วงกลางวันที่ผ่านมา
แต่สภายังระบุว่าหากคริปโตเคอเรนซีถูกจัดการให้เป็นสินค้าหรือสินทรัพย์ที่ถูกหลักชารีอะห์ และมีผลประโยชน์อย่างชัดเจน ก็อาจถูกปรับให้มีการซื้อขายได้ ต่างจากท่าทีของรัฐบาลอินโดนีเซียที่อนุญาตให้แลกเปลี่ยนคริปโตเคอเรนซีได้ แม้ยังไม่ยอมรับเป็นค่าเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Grab เตรียมเข้าซื้อหุ้น Ovo แพลตฟอร์มจ่ายเงินในอินโดนีเซียจาก Tokopedia และ Lippo ที่เป็นผู้ถือหุ้นเดิม ทำให้ Grab เป็นผู้ถือหุ้นจากเดิม 39% เพิ่มเป็น 90% ของบริษัท
เหตุผลที่ Tokopedia ต้องขายหุ้น Ovo ออกไป เนื่องจากการควบรวมกิจการกับ Gojek เป็นบริษัทใหม่ GoTo ซึ่งกฎหมายของอินโดนีเซียไม่อนุญาตให้บริษัทประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มจ่ายเงินมากกว่าหนึ่งแห่ง GoTo ซึ่งมีทั้ง Ovo และ GoPayLater จึงต้องขายหุ้นบริษัทหนึ่งออกมา
ตัวแทนของ Ovo ยืนยันข่าวนี้โดยบอกว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล ในการปรับโครงสร้างกิจการ
ทีมวิจัยจาก vpnMentor พบฐานข้อมูล Elasticsearch ของระบบ eHAC ที่ใช้เก็บข้อมูลโควิดสำหรับผู้เดินทางเข้าออกจากอินโดนีเซีย เปิดสู่อินเทอร์เน็ตโดยไม่มีการป้องกัน รวมฐานข้อมูล 1.4 ล้านชุดกระทบคนประมาณ 1.3 ล้านคน
ข้อมูลประกอบไปด้วยข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ, หมายเลขประจำตัว, หมายเลขโทรศัพท์, เพศ, วันเกิด, ภาพหนังสือเดินทาง, ข้อมูลโรงแรมที่เข้าพัก, โรงพยาบาลที่ตรวจโควิด, ผลการตรวจ
ทาง vpnMentor พบฐานข้อมูลนี้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา และพยายามติดต่อกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียแต่ไม่สำเร็จ จึงแจ้งไปยัง Indonesian CERT และกูเกิลผู้ให้บริการคลาวด์ สุดท้ายทางกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียจึงปิดฐานข้อมูลนี้ในวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank Indonesia: BI) ประกาศความร่วมมือเชื่อมโยงระบบชำระเงินระหว่างสองประเทศผ่านโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินของแต่ละประเทศ ลูกค้าและร้านค้าของทั้งสองประเทศสามารถทำรายการชำระเงินและรับเงินระหว่างกันผ่าน QR Code ได้
Bukalapak อีคอมเมิร์ซจากอินโดนีเซีย ได้นำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นจากราคาไอพีโอ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ปิดการซื้อขายที่ราคาสูงสุดที่สามารถซื้อขายได้ระหว่างวัน (ซิลลิ่ง) ที่ 25% เป็น 1,060 รูเปียต่อหุ้น
บริษัทขายหุ้นไอพีโอได้เงินทุนเพิ่มประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการไอพีโอที่มูลค่าสูงสุดของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย และมีมูลค่ากิจการที่ประมาณ 6,000 ล้านดอลลาร์ มีผู้ลงทุนหลักอาทิ Ant Group , Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในอินโดนีเซีย, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
มีรายงานว่า GoTo สตาร์ทอัพรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ที่มาจากการควบรวมกิจการของ Gojek และ Tokopedia เตรียมเพิ่มทุนจากการขายหุ้นไอพีโอราว 2,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนนำบริษัทซื้อขายในตลาดหุ้นทั้งที่อินโดนีเซียและอเมริกา
มูลค่ากิจการที่ GoTo ประเมินไว้อยู่ที่ 25,000-30,000 ล้านดอลลาร์ โดยจะนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นอินโดนีเซียก่อนภายในปีนี้ และนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นอเมริกาปีหน้า
หลังการควบรวมของ GoTo ทำให้บริษัทมีผู้ลงทุนรายสำคัญจากทั้งสองฝ่ายอาทิ Alibaba, BlackRock, Facebook, Google, JD.com และ PayPal
ที่มา: Pymnts
มีรายงานว่า Bukalapak สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินโดนีเซีย เตรียมนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในประเทศ โดยขายหุ้นไอพีโอเพิ่ม 2.577 หมื่นล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ซึ่งทำให้เป็นการไอพีโอมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ประเมินว่ามูลค่ากิจการ Bukalapak หลังเข้าตลาดหุ้นจะอยู่ที่ราว 6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งยังน้อยกว่า GoTo สตาร์ทอัพมูลค่ากิจการสูงสุดของอินโดนีเซีย (ประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่มีแผนเข้าตลาดหุ้นในประเทศเช่นกัน
Bukalapak มีผู้ลงทุนรายสำคัญ อาทิ Ant Group ธุรกิจการเงินของ Jack Ma, Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในประเทศ, GIC กองทุนของประเทศสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
LINE Bank บริการธนาคารของ LINE ขยายบริการไปยังอินโดนีเซีย โดยร่วมมือกับธนาคาร Hana Bank ธนาคารของเกาหลีที่ LINE Financial มีหุ้น 20% แข่งกับบริการธนาคารดิจิทัลในอินโดนีเซียอย่าง Gojek ที่ร่วมมือกับ Bank Jago, Sea Group ที่ร่วมมือกับ Seabank Indonesia, Akulaku ที่ร่วมมือกับ Bank Neo Commerce เป็นต้น
จากประเด็นข่าวลือ Gojek กำลังเจรจาควบรวมกิจการกับ Tokopedia บริษัทอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย นั้น ล่าสุดบริษัทออกมายืนยันอย่างเป็นทางการว่าควบรวมและสร้างบริษัทใหม่ชื่อว่า GoTo Group วางตัวเป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
Telkomsel ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ประกาศลงทุนใน Gojek เป็นเงิน 300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเงินลงทุนส่วนหนึ่งในแผนก่อนที่ Gojek และ Tokopedia จะควบรวมกิจการกันเป็นบริษัทใหม่ที่คาดว่าจะใช้ชื่อ GoTo
Gojek ระดมทุนไปแล้วมากกว่า 3,450 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนรายใหญ่จำนวนมาก อาทิ กูเกิล, Facebook, PayPal, Visa และ Tencent สำหรับ Telkomsel นั้นบริษัทบอกว่าเป็นการลงทุนเพื่อขยายสู่ธุรกิจดิจิทัลและนวัตกรรมใหม่ ๆ จากก่อนหน้านี้เป็นพาร์ทเนอร์กันในแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตสำหรับไรเดอร์
Telkomsel เคยลงทุนใน Gojek ก่อนหน้านี้ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วด้วยเงิน 150 ล้านดอลลาร์
สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลว่า Bukalapak อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ได้รับเงินเพิ่มทุนอีก 234 ล้านดอลลาร์ จากหลายนักลงทุน นำโดยไมโครซอฟท์, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และกลุ่มบริษัท Emtek ของอินโดนีเซีย
เมื่อปลายปีที่แล้วไมโครซอฟท์ประกาศลงทุนใน Bukalapak ราว 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการที่มีการรายงานอยู่ที่ 2,500 ล้านดอลลาร์
การแข่งขันของอีคอมเมิร์ซและธุรกิจด้านเทคโนโลยีในอินโดนีเซียมีอยู่สูง ทั้งจากคู่แข่งสำคัญอย่าง Tokopedia ที่มีข่าวจะควบรวมกิจการกับ Gojek และ Shopee ของกลุ่ม Sea ไปจนถึง Grab ที่ล่าสุดเตรียมเข้าตลาดหุ้นอเมริกาผ่านวิธีการ SPAC
วันนี้ Microsoft ประกาศริเริ่มโครงการ Berdayakan Ekonomi Digital Indonesia เพื่อช่วยให้อินโดนีเซียขึ้นเป็นผู้นำเศรษฐกิจดิจิตอลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการทำ digital transformation ของอินโดนีเซีย
หน่วยงานกำกับดูแลบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า Shopee อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Sea ได้เข้าซื้อกิจการธนาคารท้องถิ่น Bank Kesejahteraan Ekonomi หรือ Bank BKE ตามที่มีรายงานข่าวออกมาตั้งแต่เดือนมกราคม (ข่าวเก่า) แต่ครั้งนี้เป็นการยืนยันผ่านหน่วยงานในอินโดนีเซีย
รายงานระบุว่า Shopee มีแผนจะปรับบริการของ Bank BKE ให้เป็นธนาคารดิจิทัลรูปแบบใหม่ทั้งหมด โดยคาดว่าเพื่อแข่งขันกับ Jago ธนาคารดิจิทัลรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ซึ่งมี Gojek ถือหุ้นอยู่ 22%
Bloomberg รายงานอ้างอิงคนที่เกี่ยวข้องว่า Gojek กำลังเจรจาควบรวมกิจการกับ Tokopedia บริษัทอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซียและเป็นสตาร์ทอัพเบอร์ 2 ของประเทศ
แหล่งข้อมูลระบุว่าตอนนี้มีการทำข้อตกลงเพื่อ due diligence ระหว่างกันแล้วและหากไม่มีปัญหา ทั้งสองบริษัทก็อยากจะปิดดีลให้ได้อย่างเร็วที่สุดภายในเดือนหน้า และบริษัทใหม่ที่ควบรวมจะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.8 หมื่นล้านเหรียญ (มูลค่า Gojek ประมาณ 1.05 หมื่นล้านและ Tokopedia ราว 7.5 พันล้าน)
หลังควบรวมกิจการกันแล้ว แผนการณ์ต่อไปคือนำบริษัทที่มีธุรกิจตั้งแต่อีคอมเมิร์ซ, ออนไลน์เพย์เมนท์, รับส่งคนและเดลิเวอร์รี่เข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐ
โจโค วิโดโด (โจโควี) ประธานาธิบดีของอินโดนีเซียให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่ารัฐบาลเตรียมส่งคนไปเจรจากับผู้บริหารระดับสูงของ Tesla Motors เพื่อให้มาลงทุนโรงงานแบตเตอรี่ในประเทศ ด้วยเป้าหมายการเป็นโรงงานผลิตแบตรถไฟฟ้าระดับโลกของอินโดนีเซีย
โจโควีบอกว่าฐบาลหมายมั่นปั้นมือให้ประเทศเป็นแหล่งผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก แถมอินโดนีเซียก็มีแร่นิกเคิลในปริมาณมาก นอกจากนี้ การดึง Tesla มาลงทุนก็เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย Omnibus กฎหมายการจ้างงานใหม่ ที่เปิดให้บริษัทต่างชาติมาลงทุนง่ายขึ้น
ที่มา - Reuters