Go-Jek บริการเรียกรถแท็กซี่รายใหญ่จากอินโดนีเซีย (ที่ทำการตลาดในไทยชื่อ GET) ประกาศเข้าลงทุนในสตาร์ทอัพ Kumparan ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผยผ่านกองทุน Go-Ventures โดยบอกว่าเป็นกลยุทธ์ขยายสู่ธุรกิจคอนเทนต์
Kumparan เป็นเว็บไซต์ข่าวและเครือข่ายสังคมของอินโดนีเซีย มีแนวคิดผสมผสานข่าวที่ผู้อ่านร่วมสร้างเนื้อหาขึ้นมาเอง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในหัวข้อนั้น ๆ
Go-Jek อาจเริ่มต้นด้วยธุรกิจแชร์รถโดยสาร แต่บริษัทก็ขยายการลงทุนในธุรกิจคอนเทนต์มากขึ้น มีการตั้งสตูดิโอเพื่อผลิตภาพยนตร์ขึ้นมา และเตรียมสร้างแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไว้รับชมคอนเทนต์ของตนโดยเฉพาะ
ไม่ใช่แค่ Amazon ที่ทำร้านค้าไร้แคชเชียร์ ฝั่งจีน JD ก็ทำเหมือนกัน และที่สำคัญคือบุกอาเซียนแล้ว โดยเปิดที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียเป็นที่แรก
ร้านค้า JD.ID อยู่ในห้างในจาการ์ตา พื้นที่ 270 ตารางเมตร ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกซื้อเสื้อผ้าด้วยการสแกน QR ที่เครื่องรับสแกน และยังมีระบบสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนลูกค้าอีกชั้น จากนั้นก็สามารถลองเสื้อ เลือกซื้อสินค้าต่างๆ และจ่ายเงินได้ด้วยตัวเอง โดยมีระบบติดตามแท็กสินค้าแต่ละชิ้นไว้ ลูกค้าสามารถเดินออกจากร้านพร้อมสินค้าได้เลยโดยต้องทำการเช็คเอาท์ด้วยการสแกนใบหน้าอีกครั้ง
อาเซียนกลายเป็นอีกพื้นที่ที่ JD สนใจลงทุน ในไทย JD ก็ลงทุนในร้านเสื้อผ้าแบรนด์ไทย Pomelo และลงทุนในบริการเรียกรถของอินโดนีเซียคือ Go-Jek ด้วย
อินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ท้าทายของวงการอีคอมเมิร์ซอย่างยิ่ง เพราะเป็นประเทศหมู่เกาะ และมีปัญหาการจราจรติดขัด แต่ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคที่เปลี่ยนผันจากการซื้อของออฟไลน์มายังออนไลน์ก็มากขึ้นเช่นกัน เป็นที่ดึงดูดใจของบริษัทอีคอมเมิร์ซทั้งหลาย
ทางการอินโดนีเซียได้ออกกฎใหม่ โดยให้ Grab และ Go-Jek มาลงทะเบียนเป็นบริษัทขนส่งสาธารณะภายในสองเดือน พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามกฎหมาย แม้ว่าบริการเหล่านี้จะไม่มีรถยนต์หรือคนขับโดยเป็นของตัวเองก็ตามที
Budi Karya Sumadi รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเผยว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกข้อกำหนดใหม่แล้ว ซึ่งบริการเรียกรถจะต้องมารับใบอนุญาตจากทางกระทรวงในการให้บริการเดินทางสาธารณะ ส่วน Budi Setyadi ผู้อำนวยการทั่วไปของการขนส่งทางบกกล่าวว่าเมื่อบริษัทเรียกรถเหล่านี้มาลงทะเบียนและได้รับใบอนุญาตแล้ว ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะทำเช่นเดียวกัน
Alibaba Cloud ประกาศตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ที่ประเทศอินโดนีเซียขึ้นแห่งแรก ทำให้ Alibaba Cloud มีศูนย์ข้อมูลแล้วใน 18 ประเทศทั่วโลก
Alibaba บอกว่าการตั้งศูนย์ข้อมูลนี้เป็นการส่งเสริมโครงการของรัฐบาลที่จะตั้งสตาร์ทอัพให้ได้ 1,000 แห่งภายในปี 2020 ขณะเดียวกันบริการ Alibaba Cloud นี้จะโฟกัสที่กลุ่มลูกค้า SME ที่มีจำนวนมากกว่า 15 ล้านรายในอินโดนีเซีย โดยมองว่าตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก (Alibaba ลงทุนใน Tokopedia อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินโดนีเซีย)
ชาวฮินดูบนเกาะบาหลีเตรียมฉลองวัน Nyepi หรือวันแห่งความเงียบในวันที่ 17 มีนาคมนี้ ซึ่งชาวฮินดูบนเกาะจะหยุดงาน งดกิจกรรมหรือการเล่นต่างๆ ทั้งหมดและอยู่แต่ภายในบ้านเพื่อทำสมาธิและสำรวจจิตใจตนเอง
ในวันนั้นห้างร้านต่างๆ จะหยุดหมด รถยนต์ถูกห้ามไม่ให้ออกมาวิ่งบนท้องถนน และโอเปอเรเตอร์และ ISP บนเกาะบาหลีถูกขอให้ระงับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตในวันนั้นด้วย ยกเว้นแต่สถานที่สำคัญๆ อย่างโรงพยาบาล ขณะที่รายการทีวี วิทยุไปจนถึงสนามบินบนเกาะบาหลีก็จะระงับการเผยแพร่และให้บริการด้วยเช่นกัน
ในวันพรุ่งนี้ 17 มีนาคม เกาะบาหลีจะทำการปิดสนามบิน และระบบอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือทั้งหมด เพื่อเฉลิมฉลองวัน Nyepi ซึ่งเป็นวันหยุดตามศาสนาพราหมณ์ และถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของบาหลี
วัน Nyepi แปลความหมายได้ว่า "วันแห่งความเงียบ" สำหรับศาสนาพราหมณ์ซึ่งถือเป็นศาสนาที่ผู้คนส่วนมากบนเกาะบาหลีนับถือกันแล้ว วันนี้ถือเป็นวันที่จะต้องงดกิจกรรม 4 อย่าง คือ งดไฟ, งดเที่ยว, งดงาน และงดรื่นเริง สำหรับบางคนที่เคร่งครัดมากจะงดกินและงดพูดด้วย
ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่ากูเกิลจะลงทุนในสตาร์ทอัพแท็กซี่ Go-Jek ของอินโดนีเซีย ล่าสุดมีรายละเอียดทางการจากกูเกิลออกมาแล้ว
โดย Caesar Sengupta รองประธานฝ่าย Next Billion Users (ชื่อนี้จริงๆ) บอกว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของโลก คือ 133 ล้านคน แต่บริการออนไลน์ในประเทศยังเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ประชากรเกือบครึ่งยังไม่ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต จึงเป็นโอกาสของกูเกิล
กูเกิลเปิดเผยการลงทุนตั้งแต่สตาร์ทอัพ Go-Jek, จัดโครงการฝึกอบรมนักพัฒนาในประเทศให้ได้ 1 แสนคนในปี 2020, ติดตั้ง Google Station บริการ Wi-Fi สาธารณะโดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น และเพิ่มบริการ YouTube Go และ Google Go
Wall Street Journal มีบทความกล่าวถึง UC Browser เว็บเบราว์เซอร์ที่กำลังมาแรงในประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรมหาศาลอย่างอินเดียและอินโดนีเซีย
UC Browser เจ้าของโลโก้รูปกระรอก เป็นผลงานของบริษัท UC Web ที่เริ่มพัฒนาเบราว์เซอร์บนมือถือ Java ME มาตั้งแต่ปี 2004 และขายกิจการให้ Alibaba ในปี 2014 ปัจจุบัน UC Browser มีให้ใช้งานบนหลายแพลตฟอร์ม (Windows, iOS, Windows Phone, Java) แต่เวอร์ชันที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Android
Go-Jek แพลตฟอร์มแอพเรียกแท็กซี่ของอินโดนีเซีย ประกาศเข้าซื้อกิจการคราวเดียวถึง 3 แห่ง โดยทั้งหมดเป็นธุรกิจด้านบริการทางการเงิน มีรายละเอียดดังนี้
หลังบิตคอยน์ราคาพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ได้รับความสนใจในวงกว้าง ธนาคารกลางชาติต่างๆ ก็เริ่มแสดงท่าทีกันออกมา โดยเฉพาะธนาคารกลางเกาหลีใต้ที่เป็นชาติที่มีการซื้อขายบิตคอยน์มากที่สุดชาติหนึ่งออกมาระบุว่าจะไม่ยอมให้มีการซื้อขายอนุพันธ์ (derivative) ของบิตคอยน์
อนุพันธ์เป็นหลักทรัพย์ที่สถาบันการเงินใช้ควบคุมความเสี่ยงในกรณีที่หลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงมูลค่าอย่างรวดเร็ว ก่อนหน้านี้ Cboe Futures Exchange ตลาดซื้อขายฟิวเจอร์ได้ประกาศหลักทรัพย์ XBT เป็นฟิวเจอร์บิตคอยน์ โดยเริ่มเปิดตลาด 6 โมงเช้าวันจันทร์ที่ 11 ธันวาคมตามเวลาประเทศไทย สัญญาละ 1 BTC
รัฐมนตรีกระทรวงการโทรคมนาคมของอินโดนีเซียได้กล่าวว่า ทางรัฐบาลจะขอความร่วมมือจากตัวแทนของผู้ให้บริการทั้งเสิร์ชเอนจินและแชท เพื่อให้จัดการกับคอนเทนต์ลามกบนแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะที่มากับภาพเคลื่อนไหว GIF ซึ่งผู้ให้บริการที่โดนรัฐบาลขอความร่วมมือมีทั้ง Google (ของ Alphabet) และ WhatsApp (ของ Facebook)
รัฐมนตรีกล่าวว่า หาก WhatsApp ไม่สามารถจัดการเพื่อให้แน่ใจว่าภาพลามก GIF จะไม่ปรากฏบนแพลตฟอร์มภายใน 48 ชั่วโมงแล้ว จะบล็อก WhatsApp ในขณะที่ทาง WhatsApp กล่าวว่าด้วยระบบเข้ารหัสข้อความ ทำให้ฝั่งผู้ให้บริการก็ไม่สามารถมอนิเตอร์กราฟิกได้เช่นกัน ซึ่งทาง WhatsApp ได้กล่าวกับรัฐบาลว่าให้ร่วมมือกับผู้ให้บริการไฟล์ GIF แทน (ฟีเจอร์นี้ WhatsApp ไม่ได้ให้บริการเอง)
ประเทศอินโดนีเซียพบปัญหาตู้เอทีเอ็มและเครื่องอ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่พบปัญหาของดาวเทียม Telkom-1
ปัญหาของดาวเทียม Telkom-1 นี้เกิดกับไซต์ภาคพื้นดิน 15,000 แห่งในอินโดนีเซีย ซึ่งดาวเทียมดวงนี้ใช้งานทั้งหน่วยงานรัฐบาล, ธนาคาร, สถานีโทรทัศน์ และอื่น ๆ
ธนาคารที่ได้รับผลกระทบ อย่างเช่น Bank Central Asia (BCA) ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย (ตามมูลค่าตลาด) พบปัญหากับตู้เอทีเอ็มกว่า 5,700 ตู้ ซึ่งคิดเป็น 30% ของตู้เอทีเอ็มที่ธนาคารดูแลทั้งหมด รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในสาขาบางแห่งของธนาคารก็ได้รับผลกระทบด้วย ส่วน Bank Rakyat Indonesia ธนาคารของรัฐอินโดนีเซียนั้นพบว่ามีตู้เอทีเอ็มได้รับผลกระทบ 300 แห่ง
ปีที่แล้ว กูเกิลเริ่มลุยตลาดประเทศกำลังพัฒนาครั้งใหญ่ โดยออกผลิตภัณฑ์เวอร์ชันที่เหมาะกับอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำหรือไม่มีอินเทอร์เน็ต เช่น YouTube Go ที่ดูแบบออฟไลน์ได้ และ Google Station บริการ Wi-Fi ฟรีตามพื้นที่สาธารณะ
แผนการของกูเกิลเริ่มที่อินเดีย (อ่าน กูเกิลเพื่ออินเดีย: การคิดมุมกลับเพื่อนำอินเทอร์เน็ตไปยังคนที่เข้าไม่ถึง ที่กูเกิลเชิญคุณ lew ไปลงพื้นที่จริงในอินเดีย) ล่าสุดวันนี้กูเกิลไปแถลงเปิดตัวโครงการแบบเดียวกันที่อินโดนีเซีย
Tokopedia เว็บอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซียประกาศรับเงินลงทุนเพิ่ม 1,100 ล้านดอลลาร์ หรือราว 36,000 ล้านบาท จากนักลงทุนนำโดยกลุ่ม Alibaba ซึ่ง Tokopedia ระบุว่า Alibaba ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นด้วยแต่ไม่ใช่หุ้นส่วนใหญ่
Tokopedia ก่อตั้งในปี 2009 เคยได้รับเงินลงทุนจาก SoftBank ในปี 2014 ราว 100 ล้านดอลลาร์ และเป็น Marketplace รายใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย มีร้านค้าหลายล้านอยู่บนแพลตฟอร์ม
William Tanuwijaya ซีอีโอ Tokopedia กล่าวว่าความร่วมมือกับ Alibaba จะช่วยขยายสเกลและเพิ่มคุณภาพการบริการสำหรับลูกค้า รวมทั้งเปิดโอกาสใหม่ให้กับร้านค้าใน Tokopedia ด้วย
ช่วงนี้ผู้ใช้ Facebook ในประเทศอินโดนีเซียจะเจอกับโฆษณาตัวนึงของ Google ที่เชิญชวนให้มาทดสอบแอพใหม่ชื่อว่า Search Lite ซึ่งก็คือแอพ Google Search ที่ใช้ทรัพยากรน้อยและไม่ต้องพึ่งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงนั่นเอง
Search Lite จะเป็นแอพเพื่อใช้ค้นหาข้อมูลต่างๆ รวมไปถึงติดตามข่าวสาร บันทึกเว็บแบบออฟไลน์รวมไปถึงแปลภาษาได้จากแอพนี้ จุดเด่นของมันคือใช้งานได้อย่างรวดเร็ว, ไม่ต้องใช้เน็ตความสูง, รองรับการทำงานแบบออฟไลน์, ใช้ดาต้าน้อยกว่าและสามารถใช้กับมือถือรุ่นล่างๆ ได้
Facebook ก่อตั้งออฟฟิศอย่างถาวรในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้มีสถานะเป็นออฟฟิศสาขาชั่วคราวมากว่า 3 ปี
อินโดนีเซียเป็นฐานผู้ใช้ Facebook อันดับ 4 ของโลก และคนจาการ์ตาก็นิยมใช้ Instagram กันมาก โดยพบว่าสตอรี่ใน Instagram พบว่าโพสต์มาจากจาการ์ตามากที่สุดในโลก ทำลายสถิติลอนดอน และนิวยอร์ค
อย่างไรก็ตามยังไม่แน่ชัดว่า Facebook มีใบอนุญาตประกอบการในอินโดนีเซียแล้วหรือยัง เพราะนั่นหมายถึง Facebook ต้องเสียภาษีในจำนวนมากขึ้น รวมทั้งข้อมูลผู้ใช้จะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ภายในสำนักงานด้วย
Grab อินโดนีเซียเปิดบริการ GrabNow สำหรับผู้โดยสารที่ "โบก" เรียกรถมาแล้ว แล้วค่อยใช้บริการ Grab มาจ่ายเงินทีหลัง แทนที่จะให้บริการ Grab หารถให้จากที่อื่นๆ โดยตอนนี้รองรับเฉพาะมอเตอร์ไซต์ GrabBike ก่อน
บริการนี้ผู้ใช้ต้อง "จับคู่" กับคนขับด้วยตนเอง โดยตัวแอป Grab จะสามารถจับคู่ระหว่างโทรศัพท์ของผู้โดยสารและคนขับที่อยู่ใกล้ๆ กันให้อัตโนมัติ หรือหากทำไม่สำเร็จก็สามารถใส่ PIN เพื่อจับคู่เองได้ อัตราค่าบริการ GrabNow เป็นอัตราเดียวกับ GrabBike และผู้โดยสารจะได้รับบันทึกการเดินทางแบบเดียวกัน
ทาง Grab ระบุว่าเตรียมจะขยายบริการนี้ไปยังแท็กซี่ด้วย ทำให้ในอนาคตเมื่อเจอแท็กซี่ข้างทางก็สามารถโบกแล้วขึ้นโดยสารได้ทันทีโดยจ่ายผ่าน Grab เหมือนการเรียกผ่านแอป
Garena ค่ายเกมจากสิงคโปร์เปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Sea หลังระดมทุนรอบใหม่ได้ 550 ล้านดอลลาร์ มีผู้ร่วมลงทุนรายใหญ่เช่น GDP Venture และ JG Summit Holdings
Garena หรือ Sea รุกตลาดเกมส์ในอาเซียนมาได้พักใหญ่แล้ว แต่มีประเทศอินโดนีเซียที่ Sea ยังไม่ได้เข้าไปทำตลาด เพราะมีรายใหญ่อย่าง Alibaba เป็นคู่แข่งสำคัญ ที่เข้าซื้อ Lazada Group SA มาตั้งแต่ปี 2016 โดยชื่อบริษัทใหม่ Sea มาจากคำว่า Southeast Asia นั่นเอง
Sea จะใช้เงินระดมทุนรอบใหม่นี้ลงทุนขยายตลาดอีคอมเมิร์ซ (Shopee) ในอินโดนีเซีย ที่นับวันตลาดค้าขายออนไลน์จะใหญ่ขึ้นทุกที โดยตัวเลขล่าสุดคือมูลค่าตลาด 3 พันล้านดอลลาร์
Grab เตรียมเข้าซื้อ Kudo บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอินโดนีเซียที่ทำเกี่ยวกับ Mobile Payment และ e-commerce โดยจะผนวกเข้ากับทีมของ Grabpay และคาดว่าดีลนี้อาจจะมีมูลค่าสูงถึง 100 ล้านดอลล่าร์
การลงทุนในครั้งนี้น่าจะเป็นไปเพื่อการแข่งขันที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ Grab ในภูมิภาคนี้ หลังจากที่คู่แข่งสำคัญ อย่าง Go-Jek ได้เปิดบริการ Go-Pay ไปเมื่อปีที่แล้วและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
ที่มา - TechCrunch, Reuters
แอปเรียกรถโดยสารอย่าง Uber และ Grab (โดยเฉพาะ GrabCar) สร้างความไม่พอใจกับผู้ขับขี่รถโดยสารเดิมไปทั่วโลก ล่าสุดอินโดนีเซียพยายามหาจุดร่วมระหว่างสองกลุ่มด้วยการเปิดทางให้รัฐบาลท้องถิ่นควบคุมราคาและปริมาณรถของแอปเหล่านี้ หลังจากออกกฎควบคุมแล้วแต่คนขับแท็กซี่ยังแสดงความไม่พอใจอยู่
กฎหมายใหม่เปิดทางให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถกำหนดราคาขั้นต่ำและสูงของแอปเรียกรถ พร้อมกับจำกัดปริมาณรถได้ด้วย สำหรับเหตุผลการออกกฎครั้งนี้ ทางขนส่งอินโดนีเซียยอมรับตรงๆ ว่าเป็นการหาจุดร่วมระหว่างคนขับรถโดยสารเดิมกับกลุ่มใหม่ที่ให้บริการผ่านแอป
ในเมื่อประสบปัญหากฎหมายท้องถิ่น ก็ต้องให้คนท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญมาช่วย Grab ประกาศแต่งตั้ง Badrodin Haiti อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของอินโดนีเซีย ที่เพิ่งเกษียณไปเมื่อปีที่แล้ว ในตำแหน่ง President Commissioner of Grab Indonesia หรือประธานบอร์ดของ Grab Indonesia
Grab คาดหวังให้ Haiti เข้ามาดูแล ช่วยเหลือและให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านกฎหมายท้องถิ่น โดยปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการเรียกรถในปัจจุบันคือความล่าช้าของกระบวนการขอใบอนุญาตและตรวจสภาพรถ สำหรับรถยนต์แต่ละคันที่จะนำมาให้บริการ จนเกิดเป็นความขัดแย้งย่อมๆ ระหว่างรัฐบาลและผู้ให้บริการ รวมถึงอาจเข้ามาช่วยกรณีความขัดแย้งกับผู้ให้บริการรถแท็กซี่และแอพเรียกรถท้องถิ่นของอินโดนีเซียด้วย
Uber ในอินโดนีเซียประกาศความร่วมมือกับ Express Group ผู้ให้บริการแท็กซี่อันดับ 2 ของประเทศ ซึ่งดีลนี้ทำให้ Uber สามารถเข้าถึงแท็กซี่กว่า 11,000 คันและคนขับอีกกว่า 17,000 คนของ Express
ความร่วมมือนี้ทำให้คนขับแท็กซี่ของ Express สามารถกดรับบริการจากผู้ใช้ UberX ให้พื้นที่ใกล้เคียงได้ ขณะเดียวกันดีลนี้ยังมีออพชันที่คนขับ Uber สามารถยืมรถภายใต้การดูแลของ Express มาใช้งานได้ โดยไม่มีแบรนด์หรือสัญลักษณ์ของแท็กซี่ และจ่ายค่ายืมตามจำนวนครั้งที่รถถูกนำไปให้บริการ อย่างไรก็ตาม Uber ยังไม่ให้รายละเอียดว่าแผนการทั้ง 2 ช่วงนั้นจะเริ่มเมื่อใด
เห็นว่าข่าวนี้กำลังเป็นที่ฮือฮาในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อมีชายนักธุรกิจนามว่า Pablo Putera Benua ใช้แอพ Tinder และได้จับคู่กับ Rey Utami ดาราและพิธีกรหญิงยอดนิยมของที่นั่น และใช้เวลาคบหาดูใจเพียง 7 วัน และประกาศแต่งงานกัน
The Jakarta Post รายงานว่า หลังจากพบกันวันแรก Pablo ซื้อรถให้ในวันถัดมา วันที่สามก็มอบนาฬิกาข้อมือเรือนละกว่า 3 แสนเหรียญสหรัฐฯ ให้ พร้อมขอแต่งงานและพบญาติผู้ใหญ่ในวันถัดมา ซึ่งงานแต่งงานของพวกเขาเพิ่งจัดไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แม้จะมีเรื่องราววิจารณ์กันหนาหู แต่คุณค่าข่าวที่ได้คือทำให้ทราบว่าแอพพลิเคชั่นหาคู่แบบนี้สามารถทำให้คนพบกับความรักครั้งใหม่ได้จริง
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal (WSJ) รายงานว่า Samsung กำลังกลับมาแย่งส่วนแบ่งตลาดในจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ได้อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ต้องเสียตำแหน่งเจ้าตลาดไปในปี 2014 และ 2015 ซึ่งกลยุทธ์ของ Samsung ก็คือการตัดราคาและผลิตโทรศัพท์มือถือในราคาที่ถูกลง ผู้คนเข้าถึงได้มากขึ้น
WSJ ได้ไปสัมภาษณ์ผู้ใช้รายหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์อย่าง Galaxy J2 ที่เป็นโทรศัพท์ตอบโจทย์ตลาดล่าง ซึ่งผู้ใช้ระบุว่ามีคุณภาพที่ดีกว่าแบรนด์ของท้องถิ่นมาก และได้รับความนิยมจากทั้งในอินเดียและอินโดนีเซีย ส่วนในจีน Galaxy A ก็ถือว่าทำให้ Samsung ที่ตอนนี้เป็นอันดับ 6 ของตลาด มีที่ยืนได้ดีขึ้น แสดงให้เห็นว่า Samsung เองมุ่งไปสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือในระดับกลางและล่างมากขึ้น สอดคล้องไปกับแนวทางของการลดต้นทุนที่บริษัทกำลังทำอยู่
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ที่ให้สัมภาษณ์กับทาง WSJ ระบุว่า Samsung เองมีความเสี่ยงในการลงมาเล่นตลาดล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนต่างกำไรที่จะลดลงมาก นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องของการลดมูลค่าของแบรนด์ลงไปด้วย
ที่มา - The Wall Street Journal