Intel Atom Processor
เว็บไซต์ Technology Review ได้รับโทรศัพท์และแท็บเล็ตต้นแบบจากอินเทล โดยตัวโทรศัพท์นั้นมีขนาดใกล้เคียง iPhone 4 ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android Gingerbread และขับเคลื่อนด้วยซีพียู Medfield ซึ่งเป็นซีพียูสำหรับอุปกรณ์พกพาตัวล่าสุดจากอินเทล
Stephen Smith รองประธานจากอินเทลกล่าวว่า อุปกรณ์ที่พัฒนาต่อยอดจากต้นแบบทั้งสองตัวนี้จะเริ่มวางจำหน่ายภายในครึ่งปีแรกของปี 2012
สำหรับซีพียู Medfield นั้นถือเป็นซีพียูที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ Atom ซึ่ง Medfield ได้รับการแก้ปัญหาในเรื่องของการใช้พลังงานแบตเตอรี่ซึ่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญของ Atom ที่ทำให้ไปได้ไม่สวยนักในตลาดของอุปกรณ์พกพาในตอนนี้
ถ้าใครกำลังคิดจะเปลี่ยนเน็ตบุ๊กในช่วงปีที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการเข้ามาของ AMD Ontario C-50 และ C-60 ที่ใส่ GPU มาจนพอที่จะเล่นไฟล์ 1080p ได้ หลังจากปล่อยให้เอเอ็มดีกินตลาดนี้อยู่พักใหญ่ ตอนนี้อินเทลก็กลับมาแล้วด้วย Cedar Trail
เว็บ Netbook Live ได้รับเครื่อง Asus EEE PC X101CH เน็ตบุ๊กหน้าจอขนาด 10 นิ้ว และทดสอบผลการใช้งานเบื้องต้น โดยมีประเด็นสำคัญคือมันมาพร้อมกับ GPU ใหม่ Intel HD 3600 ที่รองรับ DirectX 10.1 ซึ่งหมายถึงมันรองรับ DxVA ที่ใช้ GPU มาช่วยถอดรหัสวิดีโอ
อินเทลนั้นยังตามหลัง ARM ในตลาดอุปกรณ์พกพามาโดยตลอด และเราก็คาดหวังกันทุกปีว่าจะได้เห็นสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตที่ใช้หน่วยประมวลผลสาย x86 ซึ่งอินเทลก็ยังไม่สามารถทำได้
แต่ช่วงต้นปีหน้า เราอาจจะได้เห็นสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตที่เป็น x86 สักที เพราะซีพียู Atom รุ่นถัดไปรหัส "Medfield" มีกำหนดเปิดตัว และในฝั่งซอฟต์แวร์เอง อินเทลก็บอกว่าสามารถนำ Android 4.0 Ice Cream Sandwich ไปรันบน Medfield ได้แล้ว
อินเทลบอกว่าได้แจกจ่ายไดรเวอร์ของ Medfield ให้กับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ แล้ว ซึ่งก็มีลุ้นว่าในงาน CES 2012 เราจะได้เห็นอุปกรณ์ต้นแบบจากบริษัทต่างๆ มาเปิดตัวกัน
ยุทธศาสตร์ซีพียูสำหรับอุปกรณ์พกพา [โทรศัพท์|แท็บเล็ต] ของอินเทลนั้นระบุชัดว่าจะรุกตลาดด้วย Atom แต่ที่ผ่านๆ มา Atom ยังเจาะตลาดนี้ได้ไม่ดีนัก เนื่องจากความสามารถด้านพลังงานยังสู้เจ้าตลาดอย่าง ARM ไม่ได้ ซึ่งอินเทลเองก็ตั้งเป้าจะแก้ปัญหานี้ใน Atom รหัส "Medfield" ที่มีกำหนดเปิดตัวปีหน้า (ข่าวเก่าแผ
ขณะที่ Cedar Trail กำลังวางตลาดทั่วโลกในเร็วๆ นี้ เว็บ Netbook Live ก็ได้รับเครื่อง Asus Lamborghini VX6S มารีวิวก่อนใครทำให้ได้ผลทดสอบเบื้องต้นออกมา
เครื่อง VX6S แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงใน Atom ตัวใหม่นี้หลายอย่าง ได้แก่
ผลเทียบกันกับ Asus 1215B นั้นปรากฏว่า VX6S ทำคะแนนดีกว่าในทุกการทดสอบ คงต้องยกความดีให้กับ GPU ของ AMD เองด้วยส่วนหนึ่ง
อินเทลปิดเแผนก Digital Home Group (DHG) ซึ่งมีผลงานคือทำ Atom SoC (Atom CE4100) ที่ใช้ในอุปกรณ์อย่าง Google TV และ D-Link Boxee Box
พนักงานที่อยู่ในทีมนี้จะถูกโอนไปทำเรื่องแท็บเล็ตแทน อินเทลจะยังทำชิปสำหรับอุปกรณ์ด้านทีวีต่อไป แต่จะเน้นอุปกรณ์พวกเซ็ตท็อปบ็อกซ์สำหรับเคเบิลทีวีอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์สายสมาร์ททีวีคงไม่ทำต่อแล้ว
ส่วนอนาคตของ Google TV และ Boxee Box ก็คงต้องหนีไปใช้ ARM แทน
Classmate PC นั้นเป็นต้นแบบของเน็ตบุ๊กในทุกวันนี้โดย และในงาน IDF ปีนี้ทางอินเทลก็ได้อัพเดต Classmate PC รุ่นล่าสุดที่ใช้ชิปเซ็ต Cedar Trail ออกมาแล้ว พร้อมกับต้นแบบเน็ตบุ๊กรุ่นอื่นๆ
ตัว Classmate PC รุ่นนี้จอภาพจะเป็นจอสัมผัสพร้อมปากกา มันสามารถพับหน้าจอเพื่อทำเป็นแท็บเล็ตได้ โดยความแตกต่างของ Classmate PC กับเน็ตบุ๊กคือ Classmate PC จะถูกทดสอบความทนทานหนักกว่าเพื่อให้ทนต่อการใช้งานของเด็กๆ ได้ ผมเคยทราบว่ารุ่นแรกนั้นต้องทนต่อการตกจากความสูงประมาณ 1 เมตร และคีย์บอร์ดต้องทนทานต่อน้ำหกใส่พอสมควร
หลังจากอินเทลประกาศพอร์ต Android 2.3 ลง x86 ไปแล้วความสงสัยก็คืออินเทลจะทำหน้าที่ในการพอร์ตไปเรื่อยๆ โดยไม่เข้าไปร่วมมือกับทางกูเกิลโดยตรงหรือไม่ เพราะบริษัทอื่นๆ เช่น MIPS ก็เคยพอร์ต Android มาอยู่บนแพลตฟอร์มของตัวเอง แต่เมื่อกูเกิลไม่สนใจรวมโค้ดเข้าไว้ในโครงการผู้ผลิตก็จะไม่กล้าใช้งานจนกระทั่งไม่มีผลิตภัณฑ์ออกมาในที่สุด
แต่วันนี้ที่งาน IDF Andy Rubin ก็ขึ้นเวทีประกาศความร่วมมือระหว่างสองบริษัทอย่างเป็นทางการ
Android บนสถาปัตยกรรม x86 ไม่ใช่เรื่องใหม่ และในตลาดก็มีผลิตภัณฑ์ออกวางขายแล้ว เช่น Google TV ซึ่งก็คือ Android รุ่นปรับแต่งที่รันบนซีพียู Atom CE จากอินเทล นอกจากนี้ยังมีโครงการที่พัฒนาโดยชุมชนโอเพนซอร์ส นำ Android 2.3 Gingerbread มารันบนซีพียู x86 ได้บ้างแล้ว
แต่คราวนี้เป็นโครงการของอินเทลเอง ในการพอร์ต Android 2.3 Gingerbread มาลง Atom รุ่น E6xx (สำหรับ embedded system) ซึ่งอินเทลระบุว่าจะเสร็จให้ใช้งานช่วงเดือนมกราคม 2012
การเลือกพอร์ต Android 2.3 Gingerbread ถือว่าน่าสนใจ เพราะ Ice Cream Sandwich กำลังจะออกในเร็วๆ นี้ จึงเป็นไปได้ว่าอินเทลเองไม่ใช่พันธมิตรใกล้ชิดของกูเกิล ที่ร่วมพัฒนา Ice Cream Sandwich?
Atom สำหรับเน็ตบุ๊กรุ่นถัดไปคือ Cedar Trail ต้องเลื่อนกำหนดการจากเดือนกันยายนออกไปเดือนพฤศจิกายนนี้เพราะปัญหาไดรเวอร์ใน Windows 7
Cedar Trail ยังคงสถาปัตยกรรมภายในเช่นเดิมแต่เปลี่ยน GPU ภายในเพื่อให้รองรับ DirectX 10.1 ทำให้รองรับการถอดรหัสวิดีโอได้ดีขึ้น ซึ่งแม้จะอัพเกรดแล้วก็ยังตาม AMD C-50 ที่รองรับ DirectX 11 อยู่อีกขั้น
แหล่งข่าวของ DigiTimes ระบุว่าตลาดเน็ตบุ๊กค่อนข้างตึงตัวในช่วงหลัง การออกชิปรุ่นใหม่จึงไม่น่าทำให้ตลาดเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนชิปเซ็ตก็ยังเป็น NM10 เช่นเดิม
ที่มา - DigiTimes
ถึงแม้ Windows 8 จะมีรุ่นสำหรับซีพียูตระกูล ARM เป็นครั้งแรก แต่ฝ่ายอินเทลก็พร้อมรบ โดยวาง Atom รุ่นถัดไปรหัส Clover Trail (บนแพลตฟอร์มรหัส Cloverview) ให้เป็นซีพียูสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ Windows 8 โดยเฉพาะ แข่งกับซีพียูตระกูล ARM ที่ยึดฐานที่มั่นในสายอุปกรณ์พกพา
Bill Kircos ผู้บริหารฝ่ายประชาสัมพันธ์ของอินเทลบอกกับเว็บไซต์ This is my next ว่า Atom ตัวนี้ออกแบบมาสำหรับ Windows 8 และจะพร้อมวางตลาดเมื่อ Windows 8 เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นการจับคู่ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ที่ยอดเยี่ยม
อินเทลยังไม่หลุดว่า Windows 8 หรือ Clover Trail จะออกเมื่อไร ข้อมูลของ Clover Trail ที่มีในตอนนี้คือมันจะเป็น Atom รุ่นแรกที่ใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตร
นอกจากโตชิบาจะเปิดตัวแท็บเล็ตรุ่น Thrive ใช้ Android 3.1 ในสหรัฐฯ แล้ว สำหรับตลาดประเทศญี่ปุ่นเองโตชิบาก็ได้เปิดตัวแท็บเล็ต WT310/C (ที่ตัวเครื่องน่าจะเหมือนกับ Thrive ทุกประการ) รายละเอียดทางเทคนิคมีดังนี้
เอเซอร์เผยแท็บเล็ต Iconia M500 แท็บเล็ตที่หน้าตาเหมือนกับ Iconia A500 แต่เปลี่ยนมาใช้ซีพียู Atom และรันระบบปฏิบัติการ MeeGo แทน รายละเอียดมีดังนี้
เอเซอร์คาดว่าจะวางขายแท็บเล็ตนี้ได้ภายในสิ้นปีนี้
นอกจากอินเทลได้ชูแนวคิด "Ultrabook" บางเบาแต่สมรรถนะสูง และเผยเทคโนโลยี Sleep ใหม่: Smart Connect และ Rapid Start แล้ว อินเทลก็ได้นำ "Keeley Lake" ต้นแบบแท็บเล็ตมีคีย์บอร์ดในตัว (convertible tablet) และต้นแบบแท็บเล็ตที่ใช้ซีพียู Atom ตระกูล Oak Trail มาโชว์ในงาน รายละเอียดมีดังนี้
Paul Otellini ซีอีโอของอินเทลออกมาสยบข่าวลือว่าอินเทลจะซื้อสิทธิการผลิตชิปตระกูล ARM เนื่องจากอินเทลไม่สามารถแข่งขันในตลาดอุปกรณ์พกพาได้
Otellini บอกว่าการผลิตชิป ARM ไม่เป็นประโยชน์ต่ออินเทลแต่อย่างใด แถมการเสียค่าใช้งานให้กับ ARM ยังเพิ่มต้นทุนของอินเทลให้เพิ่มขึ้น เขาคิดว่าแนวทางการพัฒนาชิปของอินเทลเองเป็นวิธีที่ดีกว่า
Otellini ยังบอกว่าเทคโนโลยีการผลิตทรานซิสเตอร์ 3 มิติ จะช่วยลดพลังงานลงอย่างมาก โดยมือถือที่ใช้ซีพียู Atom รหัส "Medfield" ที่หมายมั่นมานานว่าจะสู้กับ ARM ได้ จะเริ่มวางขายในปีหน้า และตอนนี้อินเทลมีคู่ค้าร่วมผลิตมือถือจำนวนหนึ่งแล้ว
เว็บไซต์ CNET รายงานข่าววงในว่าอินเทลกำลังพัฒนาซีพียู Atom รุ่นใหม่ที่ใช้รหัสว่า "Silvermont" ซึ่งจะมีประสิทธิภาพเพิ่มจากรุ่นก่อนๆ ในอัตราที่เร็วกว่า "กฎของมัวร์" (สองเท่าทุกสองปี)
Silvermont จะออกขายปี 2013 โดยใช้การออกแบบแนว system-on-a-chip (SoC) ตามทิศทางของตลาดฮาร์ดแวร์สมัยใหม่ โดยมันจะรวมเอาเทคโนโลยีใหม่ของอินเทล 3 อย่างเข้ามาไว้ในรุ่นเดียว ได้แก่
ตอนนี้อินเทลยังไม่เผยข้อมูลอย่างเป็นทางการของ Silvermont
ที่มา - CNET
ชิป Atom ฝั่งอุปกรณ์ขนาดเล็กได้รับการอัพเดตไปก่อนหน้านี้แล้วในตระกูล Oak Trail ที่เป็นตระกูล Zxxx ตอนนี้ก็มาถึงตระกูลเน็ตบุ๊กและเน็ตท๊อปกันบ้าง โดยชิปในตระกูล Cedar Trail จะเป็นชิปตระกูล D2xxx และน่าจะวางตลาดได้ในปลายปีนี้
จุดเด่นของ Cedar Trail คือส่วนกราฟิกภายในได้รับการอัพเดตให้รองรับ DirectX 10.1 แล้วจากเดิมที่รองรับเฉพาะ DirectX 9 เท่านั้น ขณะที่ AMD Fusion รองรับ DirectX 11 ก็ยังถือว่าตามหลัง แต่ในแง่ของพลังงานแล้ว Cedar Trail จะกินไฟน้อยลงกว่าเดิม โดยค่า TDP จะเหลือเพียง 10 วัตต์จากรุ่นก่อนหน้านี้อยู่ที่ 13 วัตต์
หลังจากอินเทลออกชิป Atom สำหรับโทรศัพท์มานานแต่กลับไม่มีผู้ผลิตรายใดผลิตจริงจัง ข่าวล่าสุดก็ระบุว่าอินเทลกำลังเจรจากับ ZTE ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับที่ 8 ของโลกให้เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์ด้วยชิป Atom แล้ว
อินเทลไม่ตอบคำถามใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยบอกแค่ว่าอินเทลรู้ตัวดีว่ายังมีงานต้องทำอีกมาก [เพื่อบุกตลาดโทรศัพท์] และอินเทลยังคงมุ่งที่จะเข้าสู่ตลาดนี้ต่อไป ส่วนทาง ZTE นั้นยอมรับว่ามีการพูดคุยกันจริง แต่ไม่ระบุว่าอยู่ในขั้นไหนแล้ว
หากการตกลงนี้สำเร็จ คาดว่าอินเทลจะส่งมอบพิมพ์เขียวของโทรศัพท์ต้นแบบให้กับทาง ZTE เพื่อนำไปผลิต ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับเน็ตบุ๊กที่อินเทลส่งมอบพิมพ์เขียวของ Eee PC ให้กับ Asus
ตามรอบการอัพเกรดประจำปี ตอนนี้ก็ถึงคิดของชิปรุ่นเล็กอย่าง Atom กันแล้ว เมื่อชิปรุ่นใหม่ที่ประหยัดไฟขึ้นกว่าเดิมอย่าง Oak Trail เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยอินเทลเชื่อว่า Oak Trail จะเป็นชิปตัวแรกที่บุกตลาดแท็บเล็ต แม้จะยังไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก
อินเทลยอมรับว่ายังตามหลังคู่แข่งอยู่ และมีผู้ผลิตไม่มากนักที่จะใช้ Oak Trail ผลิตแท็บเล็ต แต่หากมีสินค้าลงสู่ตลาดบ้างก็นับว่ายังดีกว่า Moorestown ที่แทบไม่มีผู้ผลิตทำสินค้าออกมาขายเลย
อินเทลยังคงชูจุดเด่นของ x86 นั่นคือสามารถรองรับระบบปฎิบัติการได้หลากหลายทั้ง Windows 7, Android, MeeGo, และระบบปฏิบัติการตัวต่อไปของกูเกิล ที่อินเทลไม่บอกชื่อ แต่เราคงเดากันได้ว่ามันคือ Chrome OS
จากกระแสของหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม ARM ที่กำลังเติบโต และมีแนวโน้มจะเบียดมาตลาด Server มากขึ้น โดยจะเห็นได้จากโครงการอย่าง Calxeda และ NVIDIA Denvor ที่นำจุดแข็งของ ARM เรื่องขนาดเล็กและการใช้พลังงานที่ต่ำกว่า x86 มาก มาพัฒนาเป็น CPU สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ตลาดเฉพาะนี้เรียกกันว่า Micro Server ซึ่งแม้จะยังมีส่วนแบ่งน้อยในปัจจุบัน แต่ดูเหมือนว่าในที่สุด Intel ก็กำลังจะลงมาเล่นตลาดนี้อีกคนแล้ว
กระแสตอบรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กมาก (micro server) นั้นเกิดขึ้นมากในต่างประเทศโดยเฉพาะจีน จนโดยตอนนี้ตลาดหลักมักใช้ชิป Atom ทั้งที่ตัวมันเองไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์ จนกระทั่ง ARM เตรียมวางตลาดชิป ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์เข้ามาชิงส่วนแบ่ง ล่าสุดอินเทลเองก็เริ่มส่งสัญญาณว่าอินเทลจะลงมายังตลาดนี้ด้วย
Boyd Davis ผู้จัดการทั่วไปของกลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) ระบุว่าตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการชิปพลังงานต่ำมากนั้นเป็นตลาดเฉพาะทางที่มีขนาดใหญ่ถึง 10% ของตลาดรวม และอินเทลจะส่งชิปทั้ง Xeon และ Atom เข้ามาเติมช่องว่างในส่วนนี้
บริษัทเซิร์ฟเวอร์เล็กๆ อย่าง SeaMicro กำลังอาศัยความสามารถในการรับแรมที่เพิ่มขึ้นของ Atom N570 ตัวใหม่ที่รับแรมได้ถึง 4GB จากเดิมจำกัดอยู่เพียง 2GB ทำให้เหมาะกับการใช้งานสำหรับงานเซิร์ฟเวอร์กว่าเดิม
เครื่อง SM10000-64 รองรับ Atom N570 จำนวน 256 ตัวแต่ละตัวสามารถใส่แรมได้ 4GB โดยภายในแบ่งเป็นการ์ดจำนวน 64 ใบแต่ละใบใส่ Atom ไว้ 4 ตัว ตัวบอร์ดมี Atom, แรม, และชิปเฉพาะของ SeaMicro เอง
ทาง SeaMicro ระบุว่าเครื่อง SM10000-64 ใช้พลังงานรวมน้อยกว่าเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปร้อยละ 75 ขณะที่สามารถติดตั้งได้ถึง 2048 คอร์ต่อตู้
Bloomberg รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวว่าผู้ผลิตทีวีรายใหญ่ของโลกอย่างซัมซุง เตรียมจะทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Google TV ของตัวเอง แต่จะไม่ทำตามข้อกำหนดของกูเกิลเดิมที่ให้ใช้ Atom ของอินเทลเป็นหน่วยประมวลผล เพราะซัมซุงต้องการใช้ชิปของตัวเอง
ไม่มีข้อมูลว่าชิปของซัมซุงหมายถึงอะไร (คาดว่าเป็นตระกูล Hummingbird ตัวเดียวกับที่ใช้ในมือถือของซัมซุงเอง) แต่แหล่งข่าวก็บอกว่ากูเกิลได้ยกเลิกข้อห้ามนี้แล้วเช่นกัน
ทั้งซัมซุงและกูเกิลยังไม่มีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการในเรื่องนี้ แต่การได้ซัมซุงมาช่วยหนุนก็จะช่วยผลักดัน Google TV เป็นอย่างมาก
ที่มา - Bloomberg
Dileep Bhandarkar วิศวกรระดับสูงในฝ่าย Global Foundation Services ซึ่งทำหน้าที่ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดของไมโครซอฟท์ ไปบรรยายที่งาน The Linley Group Data Center Conference โดยพูดถึงสถาปัตยกรรมซีพียูสำหรับงานเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่กำลังเปลี่ยนไปจากเดิม
Bhandarkar พูดถึงการนำซีพียูประหยัดพลังงานอย่าง Atom หรือ Bobcat มาทำเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีข้อดีกว่าซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมๆ อย่างพวก Xeon หรือ Opteron ในแง่ประสิทธิภาพต่อวัตต์ต่อราคา เขายังบอกว่าไมโครซอฟท์ได้ "ร้องขอ" ไปยังอินเทลและเอเอ็มดีให้ผลิตซีพียูประหยัดพลังงานที่มีจำนวนคอร์เยอะๆ เพื่อให้ไมโครซอฟท์นำมาใช้ทำเซิร์ฟเวอร์ด้วย
ซัมซุงเปิดตัว Samsung Sliding PC 7 เน็ตบุ๊ก/แท็บเล็ตตัวแรกที่ใช้งาน Atom Z670 รุ่นใหม่ โดยในเอกสารของซัมซุงเองเรียกมันเป็น "โน้ตบุ๊ก" อาจจะเพราะหน้าจอ 10.1" ของมันมีความละเอียดถึง 1366x768
จุดเด่นของ PC 7 อยู่ที่น้ำหนัก 1 กิโลกรัมแม้จะใส่แบตเตอรี่ 6 เซลล์, หน้าจอสัมผัสความละเอียดสูง, ส่วนระบบ UI นั้นทางซัมซุงมีซอฟต์แวร์อินเทอร์เฟซสำหรับจอสัมผัสมาให้เพิ่มเติม
ราคาประมาณ 699 ดอลลาร์ ภาพอยู่ท้ายข่าว
ที่มา - Samsung Press Release