Intel Atom Processor
DigiTimes อ้างแหล่งข่าวไม่ระบุชื่อระบุว่าอินเทลกำลังเสนอ "แรงจูงใจ" ให้กับผู้ผลิตแท็บเล็ตในจีนเพิ่มเติมเพื่อให้หันมาผลิตแท็บเล็ตที่ใช้ชิปอินเทล หลังจากก่อนหน้านี้ดึงให้ผู้ผลิตแท็บเล็ตจีนอย่าง Ramos หันมาผลิตแท็บเล็ตที่ใช้ชิป Atom ได้ก่อนหน้านี้แล้ว
แรงจูงใจที่อินเทลเสนอให้ผู้ผลิตมีทั้งชิปราคาถูกและการสนับสนุนค่าการตลาด โดยตอนนี้มีผู้ผลิตใช้ชิปอินเทลประมาณ 20 ราย และอินเทลกำลังเร่งให้มีผู้ผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 30 รายเพื่อให้ได้ยอดภายในปีนี้เกิน 40 ล้านเครื่องตามที่ตั้งเป้าเอาไว้
อินเทลเพิ่งเปิดตัว Atom รุ่นใหม่ Merrifield และ Moorefield ที่รองรับ 64 บิตทั้งคู่ และได้รับการคาดหมายว่าน่าจะมาเจาะตลาด Android ได้เพิ่มขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม คนที่หวังจะซื้อสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตที่ใช้ Atom สองรุ่นนี้แล้วมาลงรอมเอง อาจต้องระวังสักหน่อยครับ เพราะตัวแทนของอินเทลออกมาให้ข้อมูลว่า Atom Merrifield (ไม่ได้บอกว่ารวมถึง Moorefield ด้วยหรือเปล่า) มีฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า "hooks" ที่สามารถตรวจสอบการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ของเครื่องได้ ถ้าผู้ใช้ลงระบบปฏิบัติการที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและรับรองโดยอินเทล ตัวชิปอาจปิดความสามารถบางอย่าง เช่น LTE/3G ไม่ให้ระบบปฏิบัติการใหม่เข้าถึงได้
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวลือว่า Nexus 8 แท็บเล็ตตัวใหม่ของกูเกิลจะเปิดตัวเดือนกรกฎาคมนี้ (หลังงาน Google I/O 2014 เดือนมิถุนายน)
เว็บไซต์ AndroidPit ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า Nexus 8 จะเปลี่ยนสถาปัตยกรรมจาก ARM มาเป็น x86 โดยเลือกใช้ซีพียู Atom Moorefield ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว และรองรับการประมวลผล 64 บิตมาตั้งแต่ต้น ตามข่าวบอกว่ากูเกิลจะเลือก Moorefield ตัวท็อปที่ความถี่ 2.33GHz และใช้จีพียู PowerVR G6430
ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่า ASUS จะได้ผลิตแท็บเล็ต Nexus ต่อหรือไม่ และ Nexus 8 จะใช้ Android รุ่นใหม่ (ที่น่าจะเปิดตัวในงาน I/O) ด้วยหรือเปล่า
ตามที่เกริ่นกันไว้ไม่นานมานี้ อินเทลได้เปิดตัวชิป Atom แบบ 64 บิตตัวล่าสุดในโค้ดเนม Merrifield สำหรับสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอย่างเป็นทางการแล้ว
Merrifield จะใช้เลขรหัสว่า Atom Z3480 โดยผลิตบนสถาปัตยกรรม Silvermont ขนาด 22 นาโนเมตร เป็นซีพียูดูอัลคอร์ความถี่ 2.13GHz ร่วมกับจีพียู PowerVR 6 โดยอินเทลบอกว่า Merrifield เป็นชิปตัวแรกที่รองรับ Integrated Sensor Solution ซึ่งช่วยให้แอพสามารถทำงานต่อได้ แม้ว่าจะอยู่ในสถานะกินไฟต่ำ (เช่นการเข้าโหมด sleep) ซึ่งช่วยให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานขึ้นด้วย
สำนักข่าว C|NET ระบุว่าในงาน MWC 2014 ที่ประเทศสเปนปลายเดือนนี้ จะมีผู้ผลิตแท็บเล็ต Windows 8.1 มาเปิดตัวแท็บเล็ตรุ่นใหม่ที่ใช้ซีพียู Atom รหัส Bay Trail ซึ่งรองรับการประมวลผลแบบ 64 บิตได้แล้ว
Stacy Rasgon จาก Bernstein Research ออกรายงานวิเคราะห์ระบุว่าอินเทลอาจจะเตรียมขายชิป Bay Trail สำหรับแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือในราคาเกือบต้นทุน โดยมีกำไรขั้นต้นเพียงเล็กน้อย 1.2% และบางครั้งอาจจะขาดทุน
Rasgon อาศัยตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการปี 2014 ของอินเทลเองที่ระบุว่าสัดส่วนกำไรขั้นต้นจะลดลง 1.5% มาเทียบกับยอดขายชิปสำหรับแท็บเล็ตที่คาดว่าจะขายได้ 40 ล้านชุด ในราคาขายเฉลี่ย 20 ดอลลาร์ต่อชุด สร้างรายได้ให้อินเทลอีก 800 ล้านดอลลาร์ หากรายได้นี้ไม่สร้างกำไรเลยตัวเลขสัดส่วนกำไรขั้นต้นจะลดลงประมาณ 1.5% ตามที่อินเทลคาดการณ์ออกมาพอดี
Bay Trail ถูกวางตัวไว้เป็นชิปรุ่นสูงสำหรับแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือ แต่ความไม่ไว้ใจชิปอินเทลทำให้อินเทลต้องใช้สงครามราคามาชิงส่วนแบ่งตลาด
Brian Krzanich ซีอีโอของอินเทลเคยพูดไว้เมื่อปลายปีว่า เราจะได้เห็นแท็บเล็ต Atom 64 บิต Bay Trail วางขายช่วงต้นปีนี้ (ข่าวเก่า) โดยเริ่มจากวินโดวส์ก่อน
ล่าสุด Krzanich ออกมาให้ข้อมูลว่าสำหรับแท็บเล็ต Android ที่ใช้ Atom 64 บิตจะตามมาในไตรมาสที่สองของปี ด้วยเหตุผลว่าตอนแรกอินเทลพัฒนา Bay Trail โดยเน้นวินโดวส์เป็นหลัก และเพิ่งหันมาพัฒนาซอฟต์แวร์บน Android ในภายหลัง (ก่อนหน้านี้ไม่นาน อินเทลเพิ่งประกาศว่าทำเคอร์เนล Android 64 บิตเสร็จแล้ว)
เมื่อช่วงต้นเดือน Geeksphone ผู้ผลิตมือถือสัญชาติสเปนเพิ่งบอกว่ากำลังทำมือถือรุ่นใหม่ในชื่อ Revolution ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่สามารถรันได้ทั้ง Firefox OS และ Android แถมยังประสิทธิภาพสูงมากเมื่อเทียบกับราคา
ในตอนนั้น Geeksphone เองยังไม่ได้เผยข้อมูลอะไรของ Revolution มาเลย และตอนนี้ก็มีสเปคของมือถือรุ่นที่ว่าออกมาบ้างแล้ว จะประสิทธิภาพสูงแค่ไหนก็ดูตามนี้เลย
งานประชุมผู้ถือหุ้นของอินเทลที่ระบุถึงชิป Bay Trail ว่าจะวางขายต้นปี ยังมีการพูดถึงกำหนดการอื่นๆ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เช่นในแง่ของเป้าหมาย อินเทลตั้งเป้ายอดส่งมอบแท็บเล็ตให้ได้เป็นสี่เท่าของปีนี้ โดยแท็บเล็ตที่ใช้ชิปอินเทลจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 99 ดอลลาร์ขึ้นไป
ภายในปลายปี 2014 อินเทลจะเปิดตัวชิป SoFIA มันคือชิป SoC ที่รวมเอาโมเด็ม 2G และ 3G ไว้ในตัว ขณะที่คู่แข่งมักต้องแยกโมเด็มออกไป แนวทางนี้น่าจะทำให้ชิป IA ของอินเทลแข่งขันได้ดีขึ้นมาก และตามกำหนดการ SoFIA รุ่น LTE จะออกในปี 2015 ตามมา
Brian Krzanich ซีอีโอของอินเทลกล่าวในที่ประชุมกับนักลงทุนว่า บริษัทพร้อมแล้วกับ Atom รุ่น 64 บิต โดยเราจะเริ่มเห็นแท็บเล็ต 64 บิตที่ใช้ Atom Bay Trail รัน Windows 8.1 ในไตรมาสแรกของปีหน้า และแท็บเล็ต Bay Trail ที่รัน Android แบบ 64 บิตตามมาหลังจากนั้นไม่นาน
Krzanich ให้ข้อมูลว่าแท็บเล็ต Android แบบ 64 บิตน่าจะราคาเริ่มต้นที่ 150 ดอลลาร์ แต่ยังไม่ชัดเจนว่ามันจะใช้ Android เวอร์ชันไหนกันแน่
ที่มา - PC World
ปกติเราเห็นบรรดาผู้ผลิตชิป ARM ทั้งหลายแข่งกันเองเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นเจ้าของพิมพ์เขียวอย่าง ARM ออกมาอัดคู่แข่งตรงๆ ล่าสุดเพิ่งปล่อยวิดีโอเปรียบเทียบกับ Atom จาก Intel ที่ลงมาแข่งกันหนักขึ้นในช่วงหลัง
ในวิดีโอ ARM เทียบระหว่างชิป ARM Cortex-A9 ควอดคอร์ความถี่ 1.4GHz ไม่ระบุรุ่นกับ Atom Z2560 ดูอัลคอร์ความถี่ 1.6GHz รันอยู่บนแท็บเล็ตไม่ระบุสเปค (คาดว่าน่าจะเหมือนกัน) มาเล่นเกมแข่งรถอย่าง Need For Speed Most Wanted
จากผลที่ออกมาปรากฎว่า ARM อายุปีกว่าทำผลได้ดีกว่าทั้งระยะเวลาการโหลดเกม เฟรมเรตระหว่างเล่น แม้ว่าเลขจากผลทดสอบจะออกมาพอกัน หรือแพ้ Atom เสียด้วยซ้ำ
ส่วนชนะกันขาดแค่ไหน ลองดูท้ายข่าวครับ
ก่อนหน้านี้มีผลการทดสอบ Atom Bay Trail โดย AnandTech มารอบหนึ่งแล้ว คราวนี้เป็นของ Engadget รันเบนช์มาร์คเทียบกับ Tegra 4 และ Snapdragon 800 บน Android ครับ
อินเทลเปิดตัวหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things) โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ
ในงาน IDF อินเทลเพิ่งโชว์ Atom รหัส Bay Trail สำหรับแท็บเล็ตที่รันได้ทั้ง Windows และ Android ชื่อรุ่น Z3770 ในตอนนั้นได้เทียบประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ AMD A4-5000
ผลรอบก่อนอาจจะดูไม่ค่อยน่าเชื่อเพราะมาจากคนในอินเทล แต่ตอนนี้เว็บไซต์ได้แท็บเล็ตรุ่นทดสอบของอินเทลที่ใช้ชิปดังกล่าวมาแล้ว สเปคคร่าวๆ คือหน้าจอ 10" ความละเอียด 2560x1440 พิกเซล แรม 2GB และรัน Windows 8.1
ผลการทดสอบฝั่ง Windows พบว่า Z3770 ทำงานได้ในระดับใกล้เคียงกับ A4-5000 ตามที่อินเทลบอกไว้แต่แรก ส่วนฝั่งจีพียูจะได้คะแนนน้อยกว่ารุ่นโน้ตบุ๊กพอสมควร แม้ว่าจะใช้ชิป Intel HD4000 เหมือนกัน (น่าจะลดสัญญาณนาฬิกาลงมา)
เมื่อวานนี้ Dell เปิดตัวแท็บเล็ตทั้งหมด 4 รุ่น แยกเป็น Android สองตัวคือ Venue 7 และ Venue 8 และรุ่นที่เป็น Windows 8.1 อีกสองตัว (ชื่อลงท้ายด้วยคำว่า Pro) คือ Venue 11 Pro และ Venue 8 Pro ตัวนี้ครับ
จริงๆ แล้วข่าวบางส่วนของ Venue 8 Pro เคยออกมาสักระยะแล้ว (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2) แต่เมื่อเปิดตัวอย่างเป็นทางการก็มีข้อมูลสเปกดังนี้
หลังจากหยุดขายแท็บเล็ต Windows RT ตัวเดียวของบริษัทอย่าง XPS 10 ไป เดลล์ก็ไล่เปิดตัวแท็บเล็ตรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง วันนี้เพิ่งเปิดตัว Venue 11 Pro ที่มาแข่งกับ Surface Pro 2 ไป ล่าสุดเปิดตัวแท็บเล็ตแอนดรอยด์ในซีรีส์ Venue มาอีกสองรุ่น
แท็บเล็ตทั้งสองรุ่นนี้คือ Venue 7 และ Venue 8 ซึ่งแทนขนาดหน้าจอตามเลขรุ่น ส่วนสเปคที่เหลือเท่ากันแทบทุกอย่างดังนี้ครับ
ข่าว HP ระลอกสุดท้ายประจำวันครับ นอกจาก HP Envy พร้อม Leap Motion และ แท็บเล็ต Slate สายแอนดรอยด์ ก็มาดูฝั่งผลิตภัณฑ์สายวินโดวส์กันบ้าง
เริ่มจากแท็บเล็ตวินโดวส์เพียงหนึ่งเดียวกันก่อน HP Omni 10 เป็นแท็บเล็ต Windows 8.1 ที่ใช้ซีพียู Atom Z3000 (Bay Trail), หน้าจอ 10" 1920x1200, แรม 2GB, ใช้งานได้นาน 9 ชั่วโมง, พรีโหลด Office 2013 ตัวเต็มมาให้พร้อมสรรพ
ราคายังไม่เปิดเผย เริ่มวางขายเดือนพฤศจิกายนนี้
Sundar Pichai แห่งกูเกิลไปขึ้นเวทีงาน IDF ของอินเทล นอกจากกล่าวถึง Chromebook Haswell แล้ว ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมของ Android ในฝั่ง x86 ดังนี้
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปี 2010 Dell เคยลงตลาดมือถือด้วยสินค้าตระกูล Venue (ประกอบด้วย Venue ที่เป็น Android และ Venue Pro ที่เป็น WP7) ก่อนจะถอนตัวออกจากตลาดนี้อย่างชอกช้ำ
แต่ล่าสุดในงานเปิดตัว Atom Bay Trail ของอินเทล Dell ก็ประกาศว่าจะฟื้นแบรนด์ Venue กลับมาอีกครั้ง โดยใช้กับแท็บเล็ต Windows 8.1 ขนาดหน้าจอ 8 นิ้วที่เป็น Bay Trail นั่นเอง แท็บเล็ตตัวนี้จะจับทั้งตลาดคอนซูเมอร์และองค์กร มีจุดเด่นที่ใช้ง่าย-แบตอึด-รองรับ 3G
Dell จะเปิดตัวแท็บเล็ต Venue (และอาจมีอุปกรณ์พกพารุ่นอื่นๆ) วันที่ 2 ตุลาคมนี้
ตลาดแท็บเล็ตแอนดรอยด์ราคาถูกนับว่าเป็นตลาดที่ดุเดือดมากในปีที่ผ่านมา ค่ายผู้ผลิตรายใหม่ๆ พยายามดันราคาลงอย่างรวดเร็ว ที่งาน IDF อินเทลระบุว่าแท็บเล็ต Bay Trail นั้นกำลังจะวางขายภายในช่วงสิ้นปีนี้ (แสดงว่าเราน่าจะเห็นข่าวเปิดตัวกันเร็วๆ นี้แล้ว) และราคาจะไล่ลงไปจนถึงต่ำสุดเพียง 100 ดอลลาร์
อินเทลระบุว่า Bay Trail จะกินไฟน้อยลงและประมวลผลเร็วขึ้น แม้จะเป็นปกติที่อินเทลจะไม่ให้ทดสอบความเร็วบนสินค้าที่ยังไม่วางขาย แต่วิศวกรของอินเทล Francois Piednoel ก็ทวีตการทดสอบ Cinebench บน Atom Z3770 แสดงคะแนน 1.47 ซึ่งใกล้เคียง AMD A4-5000 ที่ได้ 1.5 คะแนน บนซีพียู 4 คอร์เท่ากัน
อินเทลเปิดตัว Atom รุ่นใหม่ C2000 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (มันคือ Avoton ตามข่าวเก่า)
สเปกคร่าวๆ คือจำนวนคอร์สูงสุด 8 คอร์, รองรับแรมสูงสุด 64GB, ผลิตที่ 22 นาโนเมตร, อัตราการใช้พลังงาน (TDP) 6-20 วัตต์, integrated Ethernet, มีให้เลือกทั้งหมด 13 รุ่นย่อย
อินเทลตั้งใจให้ Atom C2000 จับตลาดเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก เช่น dedicated hosting หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เน้นเพจแบบ static นอกจากนี้ยังอาจขยายไปยังตลาดใกล้เคียงอย่างอุปกรณ์เครือข่ายแบบง่ายๆ หรือสตอเรจที่เก็บแล้วแทบไม่ต้องเรียกข้อมูลอีกเลย (cold storage)
งาน IDF ที่กำลังใกล้เข้ามาเป็นรอบปกติของการประกาศครั้งใหญ่ประจำปีของอินเทล และปีนี้ก็มีข่าวลือว่าอินเทลจะปรับรอบการพัฒนาของ Atom เข้ามาให้เร็วขึ้น โดย Barron's นิตยสารในเครือ Wall Street Journal ระบุว่าได้ข่าวจากแหล่งข่าวใกล้ชิดของอินเทล
รอบการปรับสายการผลิตก่อนหน้านี้จะเป็นชิป Core รุ่นที่ 5 ในช่วงกลางปี (หนึ่งปีหลัง Haswell) ตามปกติ และ Atom จะอัพเกรดตามกันไปในอีกหนึ่งปีต่อมา แต่ชิปรุ่นพี่หลายต่อหลายรุ่น ทั้ง CloverTrail+, Medfield, Moorestown ที่ยังไม่สามารถชิงตลาดจาก ARM ได้อาจจะเร่งให้รอบการอัพเกรดห่างจาก Core เพียงหกเดือน
Atom สำหรับเซิร์ฟเวอร์รหัส Avoton นั้นเปิดเผยข้อมูลกันมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ยังไม่วางขายทั่วไปแต่ก็ระบุว่ามีสเปคว่าจะมีคอร์สูงสุด 8 คอร์ และรองรับแรม 64GB นอกจาก Avoton แล้วยังมีรุ่นย่อยใหม่คือ Rangeley ที่ออกแบบสำหรับอุปกรณ์เครือข่ายโดยเฉพาะ
จนวันนี้อินเทลก็ยังไม่ระบุว่าจะเปิดตัว Avoton ได้จริงเมื่อไหร่ ขณะที่ ARMv8 กำลังเริ่มเปิดตัวกันเข้ามาเรื่อยๆ แต่ระบุเพียงว่าอินเทลส่งมอบตัวอย่างให้กับผู้ผลิตตั้งแต่เดือนเมษายนและตอนนี้มีจำนวนรุ่นที่กำลังอยู่ระหว่างการออกแบบเพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบเซิร์ฟเวอร์ Atom รุ่นก่อนหน้านี้
ระหว่างที่ Avoton ยังไม่ขายอินเทลก็เปิดแผน Atom สำหรับเซิร์ฟเวอร์ว่าจะมีรุ่น 14nm ออกมาในปีหน้า
แหล่งข่าวเปิดเผยกับเว็บไซต์ DigiTimes ว่า อินเทลกำลังพิจารณายกเลิกแบรนด์ Atom เนื่องจากผู้บริโภคมองว่าสินค้าที่ใช้ซีพียูแบรนด์นี้เป็นสินค้าระดับล่าง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ส่งผลต่อยอดขายแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนที่ใช้ซีพียูภายใต้แบรนด์นี้ โดยกระบวนการยกเลิกแบรนด์ Atom อาจจะเริ่มต้นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ แต่แหล่งข่าวก็ไม่ได้บอกว่าแล้วอินเทลจะไปใช้แบรนด์อะไรทำตลาดแทน Atom
DigiTimes ยังพูดถึงซีพียูรุ่นรองๆ อย่าง Pentium, Celeron และ Core i3 โดยระบุว่าบริษัทใกล้จะเปิดตัวซีพียู Core i3 บนสถาปัตยกรรม Haswell รวมถึงจะเปิดตัวซีพียู Pentium ที่ใช้สถาปัตยกรรม Haswell ในเดือนกันยายนนี้ และจะเปิดตัวซีพียู Celeron บนสถาปัตยกรรม Haswell ในไตรมาสแรกของปีหน้า
Brian Krzanich ซีอีโอคนใหม่ของอินเทลให้สัมภาษณ์กับ Reuters มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ครับ