รัฐมนตรีกระทรวง ICT ด.ร. สิทธิชัย โภไคยอุดม ให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ ยอมรับสั่งบล็อค YouTube ทั้งเว็บไซต์ หลังได้พยายามขอความร่วมมือกูเกิลหลายครั้งในสัปดาห์ที่แล้ว ให้นำคลิปตัดต่อหมิ่นพระบรมฉายาลักษณ์ออกไม่เป็นผลสำเร็จ ด.ร. สิทธิชัย ยังกล่าวต่ออีกด้วยว่า ICT จะเลิกบล็อค YouTube ก็ต่อเมื่อ YouTube นำเอาคลิปนั้นออกไปแล้ว
โดย YouTube ได้ถูกบล็อคทั้งแต่คืนวันที่ 3 เม.ย. จนปัจจุบันนับเป็นเวลาครบหนึ่งวันเต็ม ยังไม่สามารถเข้าเว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ตในประเทศได้
Interview กลับมาแล้ว
รอบนี้เปิดโอกาสให้ถามคุณ C J Hinke แห่งแคมเปญ FACT (Freedom Against Censorship Thailand) ซึ่งคัดค้านการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมาโดยตลอด คุณ CJ จริงๆ แล้วเป็นอาจารย์สอนวรรณคดีภาษาอังกฤษอยู่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีอยู่วันหนึ่งเขาหาเว็บเกี่ยวกับนิทานเด็กเพื่อให้ลูกสาวอ่าน ปรากฎว่าเจอตาเขียวเข้าไป คุณ C J คิดว่าไม่เป็นธรรม และออกมาเคลื่อนไหวด้านนี้ในที่สุด
เนื่องจากคุณ C J อ่านภาษาไทยได้ไม่มากนัก ผมจึงขอเป็นกรณีพิเศษให้ถามเป็นภาษาอังกฤษนะครับ ถ้าไม่มั่นใจในความสามารถตัวเองก็ถามมาทั้งสองภาษาเลย เดี๋ยวคนอื่นช่วยแปลต่อให้
พร้อมเลยก็ลุยเลย
เว็บ hi-thaksin.net เขียนในบทความชิ้นหนึ่งในหน้าเว็บมีใจความว่า รมว.กระทรวง ICT และโฆษกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โกหก ต่อประชาชนทั้งประเทศว่าไม่ได้บล็อคเว็บไซต์ hi-thaksin.net
ด้วยเหตุผลที่ว่าขณะนี้หากใครเล่นอินเตอร์เน็ตภายในประเทศไทยจะไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ hi-thaksin.net ได้เลยในขณะที่คนทั่วโลกที่ไม่ใช่ประเทศไทยสามารถเข้าได้ตามปกติ
MySpace.com เว็บ Social Networking ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกแบนอีกครั้งจากโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา
MySpace ซึ่งโด่งดังจากความเป็นสังคมขนาดใหญ่ของมัน ทำให้มีเด็กและผู้ใหญ่จำนวนมากมาย ติดกันงอมแงม ในเมืองไทยนั้น Hi5 ดูท่าจะโด่งดังมากกว่า เพราะอะไรก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่เอาเป็นว่า โดยรวมทั่วโลกแล้ว MySpace เป็นแหล่งสังคมออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รวมถึงมี plugin และ component มากมายที่มุ่งสร้างขึ้น เพื่อหวังจะมีส่วนแบ่งทางธุรกิจกระเด็นมาจาก MySpace บ้าง
หลังจากนาย Eliyan Geshev ผู้ดูแลเว็บ Arenabg.com เว็บ BitTorrent ติดอันดับหนึ่งในสิบเว็บที่ถูกเยี่ยมชมมากที่สุดของบัลแกเรีย ถูกจับเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วฐานมีลิงก์ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์กว่า 20 ล้านรายการ และเบื้องต้นศาลได้มีคำสังปล่อยตัวไปแล้วเนื่องจากไม่มีหลักฐานในการจับกุม รัฐมนตรีมหาดไทยของบัลแกเรียก็ได้มีคำสั่งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายให้ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บดังกล่าว และประกาศ "Show no mercy" สำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ที่มีการกระจายสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์และจะดำเนินมาตราการบล็อคการเข้าถึงต่อไปสวนทางกับคำตัดสินของศาล อย่างไรก็ตามประชาชนชาวบัลแกเรียดูเหมือนจะไม่ค่อยพอใจกับมาตราการดังกล่าว จนเกิดการเดินขบวนเรียกร้องต่อต้านความไม่ชอบธ
กลุ่ม OpenNET Initiative ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด, ออกซ์ฟอร์ด, แคมบริดจ์ และโตรอนโต ออกมารายงานผลการวิจัยว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมากขึ้น สาเหตุเพราะว่ามีการเรียนรู้วิธีจากประเทศกลุ่มที่เริ่มอย่างเช่น จีน และตัวเทคโนโลยีที่ใช้เซ็นเซอร์เองก็ก้าวหน้ามากขึ้น
กลุ่มประเทศที่ทำการเซ็นเซอร์หนักๆ ได้แก่ จีน, อิหร่าน, ซาอุดิอาระเบีย, ตูนิเซีย, พม่า และอุซเบกิสถาน ส่วนประเทศไทยไม่อยู่ในกลุ่มนี้ แต่อยู่ในแผนที่ประกอบบทความ ซึ่งเขียนไว้ว่า "Following last year’s military coup some news sites were censored, including the BBC and CNN."
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ กลุ่ม FACT - Freedom Against Censorship Thailand ได้ส่งคำถาม 20 ข้อเกี่ยวกับการบล็อคเว็บไซต์ในประเทศไทย (ข่าวเก่า) ตอนนี้ทางกระทรวงตอบมาแล้วครับ
กระทรวงตอบมาเป็นหนังสือราชการลงวันที่ 8 มีนาคม 2550 โดยมีนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นผู้ลงนาม ใจความสำคัญในหนังสือนำมีดังนี้
นายสิทธิชัย โภไคยอุดมออกแถลงการถึงการที่มีผู้กล่าวหาว่าทางกระทรวงไอซีทีเป็นผู้รับผิดชอบต่อการที่เว็บ hi-thaksin.net ไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้ โดยเว็บ hi-thaksin.net เป็นเว็บที่พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ส่งจดหมายกล่าวถึงปัญหาที่นักเรียนทุนหวยรัฐบาล จนนายสิทธิชัยได้ออกมาให้ข่าวว่าจะเข้าไปตรวจสอบ ว่าทางกระทรวงยังไม่ได้ดำเนินการบล็อคเว็บดังกล่าวแต่อย่างใด แต่หากตรวจพบข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก่อความไม่สงบในประเทศ หรือลามกอนาจารก็จะสั่งปิดเว็บดังกล่าวทันที
ทางด้านเว็บ hi-thaksin.net เองระบุว่ามีการเข้าใช้งานเว็บอย่างหนักหลังออกเป็นข่าวในช่วงหลายวันที่ผ่านมา พร้อมกับระบุว่ามีความพยายามเรียกใช้งานเว็บอย่างหลักผิดปรกติจากไอพีบางกลุ่ม
หลังจากเราถูกมือมืดที่ไม่ยอมแสดงตัวบล็อคเว็บที่มีประโยชน์ไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง จนอดคิดไม่ได้ในไม่ช้าเราอาจจะเข้าวิกิพีเดียไม่ได้อย่างไม่มีเหตุผล หรือเข้ากูเกิลไม่ได้เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสม?
แทนที่เราจะมานัั่งโวยวายกันทุกครั้ง แล้วรอให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองออกโทรทัศน์แสดงวิสัยทัศน์ว่าการบล็อคเว็บจะเป็นผลดีแต่เยาวชนของชาติต่างๆ นาๆ โดยไม่พูดถึงว่าการบล็อคเว็บที่ผ่านมาสร้างความเดือนร้อนไปเพียงใด อีกทั้งไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังว่าที่อ้างว่ามีประโยชน์ต่างๆ นั้นมีจริงเพียงใด คนอ่าน Blognone ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่อยู่กับอินเทอร์เน็ตกันค่อนข้างมาก (แอบอู้งานมาอ่านกันตอนบ่ายๆ เยอะ) คิดว่าเราจะมีทางออกในเรื่องนี้อย่างไรกันบ้างครับ
ตั้งแต่ประมาณเวลาสี่ทุ่มในวันที่ 9 มีนาคม 2550 กระทรวงไอซีทีเริ่มมาตรการบล็อคเว็บอันดับ 8 ของไทยอย่าง YouTube ลงอย่างเป็นทางการ ด้วยการ Redirect เว็บเข้าสู่เว็บกระทรวงไอซีทีโดยตรง โดยยังไม่มีความชัดเจนถึงสาเหตุที่บล็อคว่ามีต้นเหตุมาจากอะไร
การบล็อกครั้งนี้นับเป็นการบล็อคเว็บที่ได้รับความนิยมสูงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง หลังจากสองเดือนก่อนหน้านี้ได้มีการบล็อกเว็บ CNN.com ไปในคืนที่พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์กับทาง CNN
กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) ได้ส่งมอบคำถาม 20 ข้อ ให้กับ ดร. สิทธิชัย โภไคยอุดม เพื่อขอความชัดเจนในการเข้าดำเนินการบล็อกเว็บไซต์ดังกล่าว แน่นอนว่าชื่อของกลุ่ม FACT นี้คงแสดงให้เห็นถึงจุดยืนของกลุ่มได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่รายการคำถามแม้จะไม่ได้โจมตีการบล็อคเว็บโดยตรง แต่ก็เป็นรายการคำถามที่ถามถึง "ช่องว่าง" ที่แสดงความน่าสงสัยในกระบวนการปิดกั้นบริการหลายๆ อย่างในอินเทอร์เน็ตมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของตัวกระทรวงเอง หรือจะเป็นกระบวนการที่ตอนนี้ขาดความชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง
เผื่อใครไม่ค่อยได้เข้าเว็บข่าวอย่าง CNN.com จากเวลาล่าสุดที่ตรวจสอบเมื่อเที่ยงคืนที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตของไทยถูกบล็อคทำให้ไม่สามารถเข้าเว็บ CNN.com ได้ โดยจากการตรวจสอบ การบล็อคครั้งนี้เป็นการบล็อคในระดับไอพี เท่าที่ตรวจสอบได้ในตอนนี้รายการไอพีที่ถูกบล็อคมีดังนี้ 64.236.16.20, 64.236.16.52, 64.236.16.84, 64.236.16.116, 64.236.24.12, 64.236.24.20, 64.236.24.28 และ 64.236.29.120 โดยเป็นการบล็อคแบบเจาะจงไอพีทำให้ไอพีข้างเคียงซึ่งอาจจะเป็นเว็บอื่นๆ ยังคงใช้งานได้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด โดยในเวลาที่เขียนข่าวนี้ระบบ DNS ในไทยยังสามารถ Resolve ไอพีเหล่านี้ออกมาได้อย่างถูกต้อง อนึ่งการบล็อคในครั้งนี้แตกต่่างจากการบล็อคเว็บอื่นๆ ในไทยที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีการส่งข้อมูลหลอกเช่น favicon.ico not found
ตัวเลขเป็นทางการของทางกระทรวงไอซีทีเมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมามีรายงานถึงการบล็อคเว็บจำนวน 13,435 เว็บเทียบกับเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมปีที่แล้วที่ตัวเลขอยู่ที่ 2,475 เว็บ นอกจากการบล็อกจากกระทรวงไอซีทีแล้ว อินเทอร์เน็ตไทยยังมีการบล็อคจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น ด้านตำรวจที่ระบุตัวเลขจำนวนเว็บที่ถูกบล็อคอย่างเป็นทางการจำนวน 32,500 เว็บ และยังมีเว็บไม่ระบุจำนวนถูกบล็อคโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย
โดยทั่วไปแล้วการบล็อกเว็บเหล่านี้เกิดจากการ "ขอร้อง" อย่าง "ไม่เป็นทางการ" จากเจ้าหน้าที่รัฐที่ให้ทางผู้ให้บริการบล็อคเว็บตามคำขอร้องเหล่านั้น โดยมากแล้วผู้ให้บริการทั้งหมดก็มักจะทำตามคำขอร้องเหล่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะตามมา
จากข่าวการจดทะเบียนเว็บ Buddhaporn.com ซึ่งเป็นเว็บลามกส่งผลให้กระทรวงการต่างประเทศพยายามประท้วงไปยังรัฐบาลสหรัฐเมื่อวานนี้ ตามขั้นตอนที่ทางกระทรวงไอซีทีทำมาโดยตลอดก็ได้บล็อกเว็บดังกล่าวไปแล้ว แต่ที่น่าสนใจคือการให้สัมภาษย์ของนายเอกพล สามัตถิยดีกุล ที่ได้กล่าวว่า "ขณะนี้สมาคมและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีได้บล็อคเว็บไซต์ดังกล่าวแล้ว พบการจดทะเบียนเว็บไซต์แม่ข่ายอยู่ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้การบล็อคเว็บไซต์ภายในประเทศไทยไม่เป็นผลสำหรับนักท่องอินเทอร์เน็ต จึงคิดว่าระบบเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยของกระทรวงไอซีทีและกระทรวงวัฒนธรรมยังมีจุดบอด จึงอยากให้รัฐบาลเปิดเมนเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยให้เหมือนกับที่ประเทศจีน ที่ขณะนี้สามารถตรวจสอบ และบล็อกเว็บไ
(คัดลอกเนื้อความบางส่วนมาตรงๆ โดยไม่ได้แก้ไข ต้องการอ่านฉบับเต็ม ดูได้จากลิงก์ข้างล่าง)
ดร. บอนนี่ ดอคเฮอตี้ อาจารย์ผู้ดูแลประจำแผนงานสิทธิมนุษยชน ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะเป็นผู้นำทีมคณะนักวิจัยมายังประเทศไทยในช่วงต้นเดือนมกราคม
...ทีมงานจะพิจารณาการปิดกั้นและคัดกรองเว็บในปัจจุบัน ซึ่งกระทำโดยหน่วยงานรัฐบาลไทยจำนวนหนึ่ง ที่เด่นชัดก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทีมงานจะสืบสวนหาความจริงเกี่ยวกับสถานการณ์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกอย่างเสรี และจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในบริบทที่กว้างกว่า เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน
ประเทศกาตาร์ที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงหนึ่งล้านคน แต่กลับถูกวิกิพีเดียแบนเนื่องจาก มีการสแปม และทำลายเนื้อหาเป็นจำนวนมาก โดยวิกิพีเดียได้แบนไอพีของ Qtel ที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายเดียวของกาตาร์ ทำให้ผู้ใช้ในกาตาร์ไม่สามารถแก้ไขเนื้อหา แบบไม่ระบุตัวตนในวิกิพีเดียได้ ส่วนผู้ที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วสามารถใช้ได้ตามปกติ แต่หลังจากมีการแบนได้ 8 ชั่วโมงก็ได้มีการเลิกแบน ทำให้ผู้ใช้จากกาตาร์ สามารถกลับมาใช้วิกิพีเดียได้ตามปกติ Jimbo Wales ได้เข้ามาตอบในที่มาข่าวว่าจะทำให้เกิดการบล็อกเป็นระยะเวลา น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยยกตัวอย่างของสถานการณ์ที่เคยเกิดในประเทศไทยด้วย (มีใครรู้บ้างครับ ว่ามันคือสถานการณ์อะไร)
ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงานเสวนา "ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์" ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร: ทางมืดหรือสว่างของสิทธิเสรีภาพในโลกไร้พรมแดน
หลังจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในวาระแรกที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอโดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เมื่อวันที่ 15 พ.ย. โดยให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 25 คนเพื่อแปรญัตติให้เสร็จภายใน 7 วัน
กองทุน ศ.คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และหนังสือพิมพ์ทางอินเทอร์เน็ตประชาไท
นักวิจัยใน Citizen Lab ที่ University of Toronto ได้พัฒนาโปรแกรมแก้เซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต ที่ชื่อว่า psiphon (ออกเสียง “SY-fon” - คล้าย ๆ สายฝน เลยแฮะ) หลักการของง่าย ก็คือ การสร้าง private proxy นั่นเอง โดยจะต้องมีคนที่เป็น provider มีเจ้า psiphon บนเครื่อง แล้วคนที่เป็น user ก็เข้าไปใช้ผ่านเว็บบราวเซอร์
ก็ไม่รู้จะ work แค่ไหน ก็ลองดูกันต่อไป
โปรแกรมตัวนี้จะเริ่มให้ดาวน์โหลดวันที่ 1 ธันวาคมนี้ครับ
อินเทอร์เน็ต คงเป็นสื่อเสรี ที่ไม่เสรีอีกต่อไป เมื่อผลสำรวจจาก Business Week ในเรื่องของประเทศที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก 13 ประเทศ ซึ่งผู้ชนะเลิศได้แก่ .. แท่น แท๊น
อันดับหนึ่ง ได้แก่ พม่า ประเทศเพื่อนบ้านของเรานี่เอง โดยรัฐบาลพม่าลงทุนใช้โปรแกรมดักจับหน้า screen shot ของผู้ใช้เน็ตค่าเฟ่ ทุกๆ 5 นาที และยังมีการใช้ซอฟต์แวร์บล๊อกเว๊บที่ทางรัฐบาลเห็นว่าไม่เหมาะสมทันทีที่พบเห็น .. เรียกได้ว่า จับตาดู และบล็อกแบบทันทีทันใด
มีบทความในเว็บข่าวออนไลน์ประชาไทสองบทความที่เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์และการทำงานของกระทรวงไอซีที
อันหลังนี่เป็นการกล่าวถึงและสรุปความจดหมายที่อยู่ที่ blognone นี่เอง
นอกจากประเด็นโอเพนซอร์สแล้ว อีกประเด็นที่สำคัญไปไม่น้อยกว่ากันคือ "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์" ที่โดนเร่งทำคลอดอย่างด่วนมาก
แม้กฏหมายนี้จะมีประโยชน์ แต่หากมีเจตนาแอบแฝงนั้นจะเป็นกฏหมายที่นำประเทศกลับไปยุคมืดเช่นประเทศจีนได้ง่ายๆ พอดีเว็บพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการของเรา BioLawCom.de เขียนบทวิเคราะเรื่องนี้อย่างละเอียด ทุกท่านควรเข้าไปอ่านกันครับ
เมื่อวันที่ 15 พ. ย. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในวาระแรกที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอโดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 25 คนเพื่อแปรญัตติให้เสร็จภายใน 7 วัน
กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายฉบับแรกที่เข้า สนช. ซึ่งมีหลายคนเป็นห่วงว่าให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไป (แค่สงสัยไม่ต้องมีหลักฐาน) ในฐานะประชาชนอย่างเราๆ ก็ต้องตรวจสอบว่าเค้าออกกฎหมายอะไรกันบ้าง มีแหม่งๆ รึเปล่า ใครสนใจลองอ่านร่างได้ตามลิงก์ที่ประชาไทครับ
หลังจากทางการจีนเลิกบล็อกเว็บวิกิพีเดียเมื่อสัปดาห์ก่อน ผู้ใช้วิกิพีเดียใจจีนก็พุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้นถึงวันละ 1200 ราย และมีการโพสบทความเพิ่มขึ้นร้อยละ 75 ทำให้จำนวนบทความผ่านหลักหนึ่งแสนบทความไปด้วยความรวดเร็ว นับเป็นเวลากว่าหนึ่งปีที่ทางการจีนมีการบล็อกเว็บที่มีเนื้อหาเสรีอย่างวิกิพีเดียเนื่องจากไม่สามารถเข้าควบคุมเนื้อหาในเว็บได้ อย่างไรก็ตามไม่มีสัญญาณใดๆ จากทางการจีนว่าการปล่อยให้ประชาชนเข้าถึงเนื้อหาในวิกิพีเดียในครั้งนี้จะยั่งยืนเพียงไร
ประเด็นเรื่องของไอพีดูเหมือนจะใกล้ตัวเราขึ้นเรื่อยๆ ประเด็นเช่นการฟ้องจากหลักฐานด้านไอพีเริ่มมาจากตั้งแต่การฟ้องร้องจาก RIAA ในสหรัฐที่ไล่ฟ้องผู้ใช้ตามบ้านที่ดาวน์โหลดเพลงผ่านเครือข่ายบริการแชร์ไฟล์จำนวนมาก จนมาถึงการบุกจับค้นที่ผิดพลาดเมื่อไม่นานมานี้
คดีในต่างประเทศที่น่าสนใจในเรื่องนี้คือคดีของ Holger Voss ที่ถูกฟ้องเนื่องจากการแสดงความเห็นในอินเทอร์เน็ต ผลจากคดีนั้นทำให้มีการฟ้องร้องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ และในวันนี้คดีดังกล่าวก็มาถึงจุดสิ้นสุด เมื่อศาลฏีกาเยอรมันประกาศคำตัดสินว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่มีสิทธิเก็บไฟล์ log โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้
เมื่อวานนี้ในการประชุมของทางสหประชาชาติทางการจีนมีแถลงการที่ทำให้โลกต้องประหลาดใจ ด้วยการระบุว่าทางการจีนไม่มีการบล็อกเว็บไซต์ใดๆ เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องตลกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อทางการจีนระบุว่าการเข้าเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ได้นั้นเป็นเรื่องของปัญหาด้านเทคนิค โดยที่ทางการไม่เข้ายื่นมือเข้ามาจัดการแต่อย่างใด
ไม่มีการพูดถึงกรณีของกูเกิลที่ต้องให้ประชาชนจีนทั้งหมดเข้าใช้กูเกิลผ่านทาง Google.cn โดยไม่สามารถเข้าถึง Google.com ได้แต่อย่างใด ไหนๆ แล้วขอยกคำแถลงมาให้ดูกันในช่วงสำคัญ