แนวทางการเปิดเผยข้อมูลที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ร้องขอข้อมูลผู้ใช้เข้ามา ดูจะเป็นมาตรฐานใหม่ที่เริ่มจากกูเกิลแล้วเว็บใหญ่อื่นๆ สนใจจะทำตาม เมื่อทวิตเตอร์ประกาศข้อมูลการร้องขอข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาลพร้อมกับแสดงจำนวนการร้องขอให้ลบทวีต
ปัญหาระหว่างกูเกิลและรัฐบาลจีนนั้นมีมานานแล้ว จนกระทั่งท้ายที่สุดกูเกิลต้องปิดเว็บค้นหาในจีนและบอกให้ผู้ใช้ไปใช้งานเว็บในฮ่องกงแทน แต่จากการสำรวจของกูเกิลก็ยังพบว่าแม้ผู้ใช้ในจีนจะเข้าใช้เว็บกูเกิลฮ่องกงได้แต่เมื่อผู้ใช้ค้นคำบางคำจะทำให้การเชื่อมต่อกับกูเกิลถูกตัดไปเป็นเวลานาน
กูเกิลหาทางออกให้กับผู้ใช้ ด้วยการออกคำแนะนำให้ผู้ใช้เปลี่ยนการค้นหาจากตัวจีน เป็นตัวพินยิน เพื่อให้การค้นหาทำได้ต่อไป
คำตัดสินจำคุก 8 เดือนรอลงอาญา 1 ปีและปรับ 20,000 บาทที่ศาลอาญาพิพากษาคุณจีรนุช เปรมชัยพร ทำให้หน่วยงานทั่วโลกออกมาแสดงความเห็นนี้อย่างต่อเนื่อง ผ่านไปสองวันหน่วยงานหลักๆ น่าจะแสดงความเห็นกันครบถ้วนแล้ว ก็คงรวบรวมไว้ในข่าวเดียวกัน
คณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission - AHRC) ออกแถลงการต่อคดีประชาไทเมื่อวานนี้ แสดงความผิดหวังอย่างรุนแรง (gravely dismayed) กับการการขยายตัวของอันตรายต่อเสรีภาพการแสดงออกและสิทธิมนุษยชน
Human Rights Watch (HRW) แสดงความเห็นในคดีประชาไทเมื่อวานนี้ว่าการลงโทษผู้ดูแลเว็บด้วยกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นการแสดงถึงการใช้กฏหมายอย่างผิดประเภทมากขึ้นเรื่อยๆ ของรัฐบาลไทย และตัดสินโทษจำคุกเป็นการเพิ่มบรรยากาศความกลัวและผลักดันให้มีการเซ็นเซอร์ตัวเองมากขึ้นในสื่อของไทย
Brad Adams ผู้อำนวยการฝ่ายเอเซียของ HRW ระบุว่าคำพิพากษานี้จะทำให้ผู้ดูแลเว็บและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะเซ็นเซอร์การพูดคุยในเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความกลัวที่จะต้องโทษเสียเอง และการลงโทษทางอาญากับตัวกลางในอินเทอร์เน็ตเป็นการแสดงว่าขีดจำกัดความอดทนต่อเสรีภาพทางการพูดของไทยนั้นตกลงต่ำสุดอีกครั้ง
ศูนย์เพื่อประชาธิปไตยและเทคโนโลยี (Center for Democracy and Technology - CDT) ออกแถลงการคัดค้าน (object) คำพิพากษาคดีประชาไท ว่าการลงโทษเว็บมาสเตอร์ที่ดูแลเว็บที่สร้างเนื้อหาโดยผู้ใช้ (user-generated content) ไม่เพียงแต่ไม่ยุติธรรม แต่ยังเป็นอันตรายต่อการแสดงออกของผู้ใช้โดยรวม การตัดสินเช่นนี้จะทำให้เว็บมาสเตอร์ต้องลบข้อความใดๆ ที่มีความเสี่ยงว่าจะผิดกฏหมายแม้จะมีโอกาสน้อยเพียงใดก็ตาม หรือเว็บมาสเตอร์จำนวนหนึ่งอาจจะเลือกที่จะไม่รับเนื้อหาจากผู้ใช้อีกเลย
ต่อจากกูเกิลที่ออกแถลงการประเด็นคำพิพากษาคดีประชาไทไปในช่วงเย็น สมาคมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporter without Borders / Reporters sans Frontieres - RSF) ก็ออกแถลงการตามมาถึงความเห็นต่อคดีนี้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของไทยนั้นมีบทลงโทษที่ไม่สมสัดส่วนความผิด และคำพิพากษาในคดีนี้เป็นผลร้าย (threat) กับทุกคนที่ให้บริการโฮสต์เนื้อหาที่ให้บริการในประเทศไทย
นอกจากนี้ RSF ยังระบุว่ากฏหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายปิดกั้นที่สามารถตีความไปในทางที่ไม่สมเหตุสมผลได้ โดย RSF เสนอว่าการร้องขอให้ลบเนื้อหาออกจากเว็บนั้นควรเป็นอำนาจของศาลเท่านั้นไม่ใช่อำนาจของตำรวจ
ข่าวคดีประชาไทในวันนี้สำนักข่าวจำนวนมากรายงานกันทั่วโลก แต่เรื่องน่าสนใจคือบริษัทที่มีสำนักงานในไทยอย่างกูเกิลก็ออกมาแสดงความกังวลกับการใช้กฏหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อย่างตรงไปตรงมา
กูเกิลยกตัวอย่างบริษัทโทรศัพท์ ว่าต้องไม่ได้รับโทษจากบทสนทนาของผู้โทร เว็บไซต์เองก็ไม่ควรต้องรับผิดจากข้อความบนเว็บไซต์เช่นเดียวกัน แต่การพิพากษาในวันนี้คือการลงโทษเว็บไซต์จากข้อความที่มีผู้อื่นมาโพสต์ พร้อมกับแสดงความกังวลด้านการลงทุน
คำพิพากษาในคดีภาระของผู้ดำเนินการเว็บไซต์ในวันนี้คงมีประเด็นให้ถกเถียงกันอีก ตอนนี้ทาง ThaiNetizen ได้ส่งตัวแทนไปร่วมฟังพิจารณาคดีด้วย และได้ถ่ายภาพเอกสารคำพิจารณามาด้วย
ภาพไม่ชัดสักหน่อย แต่อ่านออกคงเป็นข้อมูลสำหรับการพูดคุยกันต่อไปได้
UPDATE: ผมเพิ่งตรวจพบว่าหน้าสามหายไป กำลังติดต่อขอเอามาวางเพิ่มใหม่ครับ
UPDATE2: เพิ่มครบแล้วครับ
UPDATE3: แก้ไขหัวข้อ เพราะเป็น "ย่อคำพิพากษา"
คดีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ประชาไทมาถึงช่วงเวลาอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันนี้ ศาลพิพากษาให้จำคุกนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ 8 เดือนแต่ให้รอลงอาญาเป็นเวลา 1 ปีและปรับ 20,000 บาทจากหนึ่งข้อความที่แสดงบนเว็บไซต์เป็นเวลา 20 วันก่อนจะลบออก จากจำนวนความเห็นทั้งหมด 10 ข้อความที่สั่งฟ้อง
ข้อความทั้งสิบข้อความนั้น อีก 9 ข้อความที่เหลือถูกแสดงบนเว็บไซต์ประชาไทเป็นเวลาสิบวันหรือต่ำกว่า ศาลมองว่ากรอบเวลาสิบวันนั้นอยู่ในเวลาอันสมควรและแสดงความไม่ยินยอมตามมาตรา 15 ของพรบ. คอมพิวเตอร์
The Pirate Bay เพิ่มหมายเลข IP ใหม่ให้ผู้ใช้งานเพื่อช่วยในการเข้าถึงเว็บไซต์หลังจากประเทศในแถบยุโรปเช่นอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ต่างเพิ่มมาตรการให้ ISP บล็อค The Pirate Bay โดยได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มผู้ใช้งานภายในประเทศที่มีการบล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์
สำหรับการแก้ไขของ The Pirate Bay ในตอนนี้ไม่ใช่การแก้ไขในระยะยาว เพราะ ISP ก็สามารถบล็อคหมายเลข IP ที่ได้รับการเผยแพร่ใหม่นี้ได้เช่นกัน แต่ก็จะเห็นได้ว่าตัวเว็บไซต์ของ The Pirate Bay ยังได้รับการพัฒนาให้สามารถเข้าถึงผ่านทางพร็อกซี่ได้อย่างสะดวกมากขึ้นอีกด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่ม Anonymous ได้ทำการโจมตี DDoS ไปยังเว็บไซต์ของ Virgin Media จนไม่สามารถใช้งานได้ช่วงเวลาหนึ่ง โดยสาเหตุของการโจมตีนั้นเพราะศาลอังกฤษมีการสั่ง ISP ให้บล็อค The Pirate Bay ภายหลังการโจมตีทาง The Pirate Bay ได้ออกมาประณามการโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการพยายามที่จะปิดกั้นข้อมูลและการสื่อสาร
ศาลของกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้มีคำสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศบล็อคการเข้าถึงเว็บ The Pirate Bay ไม่เช่นนั้นจะต้องถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 10,000 ยูโรต่อวัน โดยประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่สองหลังจากสหราชอาณาจักร ที่ศาลได้สั่งให้ไอเอสพีต่าง ๆ ทำการบล็อคเว็บสัญชาติสวีเดนนี้
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ไอเอสพีรายต่าง ๆ ของประเทศก็ได้ออกมาคัดค้าน และบอกว่าในฐานะผู้ประกอบการให้บริการอินเทอร์เน็ต พวกเขาไม่ได้มีหน้าที่ที่จะปิดบังข้อมูลหรือกีดกันการเข้าถึงเว็บใด ๆ
ที่มา - Huffington Post
ข่าว ศาลอังกฤษสั่ง ISP ให้บล็อค The Pirate Bay เมื่อไม่กี่วันก่อนให้ผลตรงกันข้าม เพราะการสั่งบล็อค The Pirate Bay เป็นข่าวไปทั่วโลก เลยทำให้ "ผู้สนใจ" กดเข้าไปดูเว็บไซต์ The Pirate Bay เพิ่มขึ้น
ทาง The Pirate Bay รายงานว่ามีผู้เข้าชมเว็บเพิ่มขึ้น 12 ล้านราย และทีมงานของ The Pirate Bay ก็ฝากคำขอบคุณผ่านเว็บไซต์ TorrentFreak ไปยังสมาคมอุตสาหกรรมดนตรีของอังกฤษ (BPI) ที่ช่วยโปรโมทเว็บให้ฟรีๆ และจะใช้โอกาสนี้สอนผู้ใช้เน็ตถึงวิธีหลบเลี่ยงการบล็อคเว็บด้วย TOR ไปพร้อมกันเลย
ระหว่างนี้ทาง ISP ของอังกฤษยังไม่ได้เริ่มบล็อค The Pirate Bay คาดว่าต้องใช้เวลาอีก 2-3 สัปดาห์
ต่อเนื่องจากบทสัมภาษณ์ของ Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิล ที่ให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ว่า Facebook และ Apple เป็นภัยต่อเสรีภาพในอินเทอร์เน็ต
ล่าสุด Brin ออกมาแก้ข่าวผ่าน Google+ ของเขาแล้ว โดยเขาบอกว่านักข่าวของ The Guardian อาจเขียนไม่ตรงประเด็นกับที่เขาต้องการจะสื่อนัก
Brin บอกว่าประเด็นหลักที่เขาให้สัมภาษณ์คือ "เสรีภาพของอินเทอร์เน็ต" ซึ่งเขามองว่าปัญหาสำคัญและอันตรายที่สุดในตอนนี้คือ รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลก (รวมถึงสหรัฐ) ที่เซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในมิติต่างๆ
Sergey Brin หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Google ได้ออกมาแถลงถึงภัยคุกคามของเสรีภาพในอินเทอร์เน็ต 3 อย่างด้วยกัน โดยมีการพาดพิงถึง Apple และ Facebook ด้วย
Sergey กล่าวกับทาง The Guardian ไว้ว่า
The threat to the freedom of the internet comes, he claims, from a combination of governments increasingly trying to control access and communication by their citizens, the entertainment industry’s attempts to crack down on piracy, and the rise of “restrictive” walled gardens such as Facebook and Apple, which tightly control what software can be released on their platforms.
Reza Taghipour รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีอิหร่านประกาศแผนการสร้าง "อินเทอร์เน็ตสะอาด" โดยการสร้างบริการต่างๆ ขึ้นทดแทนบริการจากโลกตะวันตก เช่น Iran Mail, Iran Search Engine โดยอิหร่านเคยประกาศแผนการนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว
แผนการนี้จะแบ่งออกเป็นช่วง ช่วงแรกจะตัดบริการใหญ่ๆ ที่มีรัฐบาลได้ทำขึ้นทดแทนแล้วเท่านั้น หลังจากนั้นภายในเดือนสิงหาคมจะตัดเว็บทั้งหมดออก เหลือให้เข้าได้เฉพาะเว็บที่อยู่ในรายการอนุญาตเท่านั้น
การสมัคร Iran Mail ทุกวันนี้ต้องอาศัย ชื่อจริง, บัตรประชาชน, และกรอกที่อยู่เต็ม โดยกระบวนการต้องได้รับการยืนยันจากหน่วยงานรัฐก่อนใช้งาน
ทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจากฝรั่งเศสรวมตัวกันเสนอทางเลือกใหม่ในการทำระบบ DNS (Domain Name System) ให้หลุดจากข้อจำกัดของทุกวันนี้ที่ทุกคนต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ ICANN และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของแต่ละประเทศที่อาจจะปลอมแปลงข้อมูลตามคำสั่งรัฐบาลได้ ด้วยการเสนอโปรโตคอลใหม่สำหรับกระจายข้อมูล DNS ที่ชื่อว่า ODDNS
การแปลงชื่อโดเมนให้กลายเป็นชื่อ DNS ในระบบ ODDNS จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทำให้การทำงานโดยรวมคล้ายกับ Namecoin แต่โปรโตคอลภายในนั้นต่างกันในรายละเอียดมาก
ตอนนี้ตัวซอฟต์แวร์ตัวจริงยังไม่ออกมา แต่ซอร์สโค้ดก็เปิดภายใต้ไลเซนส์แบบ GPLv3 แล้ว ถ้าอยากลองเล่นก็โหลดมาคอมไพล์กันเองได้
เป็นที่รู้กันว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คหลายอย่างถูกบล็อคไม่ให้ใช้ในงานในประเทศจีน แม้แต่โซเชียลเน็ตเวิร์คในจีนเองยังถูกเซนเซอร์อย่างหนัก แต่ล่าสุดมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในจีนหลายคนพบว่าสามารถเข้าใช้งาน YouTube บริการวิดีโอออนไลน์จากกูเกิลที่ถูกบล็อคเป็นรายแรกๆ ได้แล้ว
ถึงจะบอกว่าเข้าไปได้ แต่ต้องบอกว่าใช้ได้บางส่วนเท่านั้น เพราะวิดีโอส่วนมากนั้นไม่สามารถดูได้ แถมมีเพียงไม่กี่เมืองเท่านั้นที่สามารถเข้าได้ (ในที่มาระบุว่ามีมณฑลกวางตุ้ง ฟูเจี้ยน หรือเมืองใหญ่ๆ อย่างปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้) ซึ่งทางแหล่งข่าวคาดว่าที่สามารถเข้าได้ครั้งนี้เป็นการปลดบล็อคชั่วคราวเท่านั้น
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders หรือ RSF ตามตัวย่อในภาษาฝรั่งเศส) จะรวบรวมรายชื่อประเทศที่เป็น "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" (Enemies of the Internet) เรื่องการเซ็นเซอร์และการดำเนินคดีกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกปี ล่าสุดเผยแพร่รายงานของปี 2012 แล้ว
RSF จะแบ่งประเทศออกเป็น 2 กลุ่ม คือ "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" ที่มีระดับการเซ็นเซอร์และการดำเนินคดีต่อชาวเน็ตสูงมาก และ "ประเทศที่จับตามองประชาชน" (countries under surveillance) ที่มีระดับรองลงมา
เป็นที่รู้กันว่าประเทศจีนนั้นมีการควบคุมเนื้อหาบนโลกออนไลน์อย่างเข้มงวดมาก ทำให้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์คจากต่างแดนอย่างทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊กนั้นจนเดี๋ยวนี้ก็ยังถูกบล็อคไม่ให้คนจีนใช้งานได้ นอกจากนี้แล้วยังมีเว็บไซต์อื่นๆ ที่ใช้การไม่ได้อีกมาก
แม้แต่บริการในประเทศจีนเองที่คล้ายกับทวิตเตอร์อย่าง Sina Weibo เองก็ถูกเซนเซอร์เช่นกัน โดยผลจากทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลอน ที่ได้เก็บตัวอย่างข้อความกว่า 57 ล้านข้อความในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนเมื่อปีที่แล้ว เมื่อผ่านไปสามเดือนทีมงานกลับมาเช็คข้อความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองที่มีอยู่ราว 1.3 ล้านข้อความพบว่า 16% ของข้อความดังกล่าวนั้นถูกลบไป และกว่า 54% ของข้อความที่มีจากทิเบตก็ถูกลบไปเช่นกัน
หลังจากครั้งล่าสุดที่อิหร่านบล็อค HTTPS ทั้งประเทศ เมื่อวันที่ 12/02/12 พอวันนี้ 21/02/12 ก็เกิดการบล็อคอินเทอร์เน็ตขึ้นอีกครั้ง โดยคราวนี้แม้แต่ VPN ก็โดนไปกับเขาด้วยครับ
ความเดิมจากตอนที่แล้วที่ทางอิหร่านได้ทำการบล็อค HTTPS ทั่วประเทศ แต่เรื่องราวมันกลับไม่จบลงง่าย ๆ เพราะว่าล่าสุด ทางอิหร่านได้ทำการบล็อคเว็บไซต์เพิ่มเติมจากที่บล็อคอยู่แล้ว คือ Google แบบเข้ารหัส HTTPS, YouTube, Gmail รวมถึงบรรดาเว็บเมลต่าง ๆ อย่างเช่น Hotmail เป็นต้น
ซึ่งการบล็อคครั้งนี้เป็นสัญญาณอย่างแน่ชัดว่า อิหร่านเริ่มจะเอาจริงกับการปิดกั้นสื่อในประเทศแล้ว
โครงการ Tor ที่ใช้ปกปิดตัวตนของผู้ใช้ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในประเทศที่ปิดกั้นอินเทอร์เน็ตสูงๆ เช่นอิหร่านและจีน ตอบโต้มาตรการปิดกั้น HTTPS ของอิหร่านด้วย obfsproxy ซึ่งเป็นพรอกซี่ที่จะปลอมข้อความที่เข้ารหัสแบบ SSL ให้เป็นข้อความที่ดูเหมือนกับข้อความที่ไม่ได้เข้ารหัสทั่วไป
กลุ่มผู้ใช้ Tor รายงานว่ารัฐบาลอิหร่านได้บล็อคทราฟฟิกอินเทอร์เน็ตส่วนที่เป็น HTTPS/SSL ทำให้เว็บไซต์ที่เชื่อมต่อผ่าน HTTPS ไม่สามารถใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น Google, Yahoo, Facebook อะไรก็ตามที่ผ่าน HTTPS ย่อมโดนบล็อคทั้งหมด
ทางการอิหร่านไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ ในเรื่องนี้ ซึ่งสื่อตะวันตกคาดการณ์ว่าการบล็อค HTTPS ครั้งนี้เป็นการทดลองระบบเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตของประเทศ (ลักษณะเดียวกับ Great Firewall ของจีน) ที่ทางรัฐบาลเคยประกาศไว้ว่าจะทำ และรอบนี้น่าจะทดสอบบล็อคเป็นการชั่วคราวเท่านั้น