ต่อจาก รัฐบาลลิเบียสั่งบล็อค Facebook และจำกัดอินเทอร์เน็ต อาจกระทบโดเมน .ly
สถานการณ์ล่าสุดของอินเทอร์เน็ตในลิเบีย จากการเฝ้าติดตามขององค์กรภายนอกประเทศพบว่าอินเทอร์เน็ตถูกตัดไปในช่วงตี 1 ของวันเสาร์ที่ 19 ก.พ. (ตามเวลาท้องถิ่น) และหายไปเป็นเวลาประมาณ 6 ชั่วโมง โดยอินเทอร์เน็ตลิเบียกลับมาใช้ได้ช่วง 8 โมงเช้าของวันเสาร์ ไม่มีคำอธิบายใดๆ จากรัฐบาลลิเบียทั้งการตัดเน็ตและการต่อเน็ตกลับคืน
สถานการณ์การประท้วงในประเทศบาห์เรนก็ไปในทิศทางเดียวกับลิเบีย (ข้อมูลล่าสุดจากรอยเตอร์ บอกว่ามีผู้เสียชีวิต 4 คนแล้ว) ในส่วนของอินเทอร์เน็ต มีรายงานว่าทราฟฟิกจากบาห์เรนค่อยๆ ลดลง
บริษัทด้านความปลอดภัย Arbor Networks ได้เฝ้าดูทราฟฟิกอินเทอร์เน็ตจากประเทศบาห์เรน รายงานว่าช่วงวันสองวันนี้ ทราฟฟิกหายไป 10-20% จากที่ควรจะเป็น ซึ่งรูปแบบของทราฟฟิกลักษณะนี้จะเกิดเฉพาะช่วงภัยธรรมชาติ หรือมหกรรมทางกีฬาระดับโลกเท่านั้น Arbor Networks จึงสรุปว่ารัฐบาลบาห์เรนน่าจะเริ่มบล็อคเว็บไซต์หลายแห่ง
เหตุการณ์ประท้วงในประเทศแถบแอฟริกาเหนือลุกลามไปเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประเทศลิเบีย มีรายงานว่าอินเทอร์เน็ตในกรุง Tripoli ไม่สามารถใช้งาน Facebook ได้แล้ว ส่วนเว็บไซต์อื่นๆ เจอปัญหาเข้าถึงได้ช้าหรือเข้าไม่ได้เลย
จากรายงานของ AFP บอกว่าตอนนี้มีผู้เสียชีวิตจากการประท้วงแล้ว 41 ราย
ถ้านำเหตุการณ์ในประเทศอียิปต์มาเทียบ ก็เป็นไปได้ว่ารัฐบาลลิเบียอาจตัดอินเทอร์เน็ตทั้งหมดของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออินเทอร์เน็ตเพราะลิเบียเป็นเจ้าของโดเมน .ly ที่กำลังนิยมในขณะนี้ ตอนนี้บริการออนไลน์บางแห่ง เช่น Posterous เริ่มปรับตัวโดยเปลี่ยน URL shortener เป็นตัวอื่นที่ไม่ใช่ .ly แล้ว
ดร. Fang Binxing ผู้ที่ได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่ง "กำแพง(ไฟ)เมืองจีน" (The Great Firewall of China) อันโด่งดัง ให้สัมภาษณ์ว่าการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตในจีนนั้นยังต้องพัฒนาขึ้นไปอีก เพราะปัจจุบันประชาชนใช้เครื่องมืออย่าง VPN เพื่อดูเว็บไซต์ที่ถูกแบน
ก่อนหน้านี้ ดร. Fang เคยเปิดบัญชี microblog ที่เว็บไซต์ Sina Weibo แต่ก็ต้องปิดไปในไม่กี่วันเพราะถูกคนเข้ามารุมวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่ทำงานให้รัฐบาลครับ
Michael Anti นักข่าวและบล็อกเกอร์ชาวจีนชื่อดัง ก็ให้สัมภาษณ์ว่า ดร. Fang นั้น "อยู่คนละโลก" และการที่เขาภูมิใจกับผลงานนั้นเป็นเรื่องที่แย่กว่าตัวระบบเองเสียอีก
ถ้ายังจำกันได้ Google จับมือ Twitter เปิดบริการพูดออกทวีตช่วยอียิปต์ หลังอินเทอร์เน็ตในอียิปต์ถูกตัด สำนักข่าว AP มีรายงานเบื้องหลังการสร้างโปรแกรม Speak2Tweet อย่างละเอียด
ผู้สร้าง Speak2Tweet คือพนักงานใหม่ของกูเกิลชื่อว่า Ujjwal Singh ซึ่งกูเกิลเพิ่งซื้อกิจการบริษัท SayNow ของเขามาไม่กี่วันก่อนหน้านั้น
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลอียิปต์ตัดอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศ เนื่องจากความไม่สงบภายใน
เวลาผ่านไปเกือบสัปดาห์ วันนี้มีรายงานว่าอินเทอร์เน็ตในอียิปต์กลับมาใช้บ้างได้แล้ว โดยช่วงเวลาประมาณ 11.29 น ตามเวลาท้องถิ่น เว็บไซต์สำคัญๆ หลายแห่งของอียิปต์กลับมาออนไลน์บนโลกอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง อย่างไรก็ตามยังมีเว็บไซต์บางแห่งที่ต้องรอการฟื้นระบบกลับมา
รายละเอียดเรื่องระบบโครงสร้างเครือข่ายของ ISP ในอียิปต์ เขียนไว้ละเอียดในลิงก์ครับ
ที่มา - Renesys
Twitter ออกมาเรียกร้องผ่านบล็อกของบริษัท ขอให้ "ไม่สกัดกั้นข้อความทวีต" (The Tweets Must Flow)
เนื้อหาในบล็อกนี้พูดถึงเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนตามนิยามของสหประชาชาติ โดย Twitter มองว่าข้อความทวีตก็เป็นเสรีภาพในการแสดงออกเช่นกัน และประกาศว่าจะปกป้องสิทธิของผู้ใช้ในการแสดงความเห็นอย่างเต็มที่
ในอีกด้าน Twitter ยอมรับว่ามีลบข้อความทวีตบ้าง เช่น ข้อความสแปม หรือ ข้อความที่ผิดกฎหมาย แต่บริษัทจะพยายามให้กระบวนการโปร่งใสที่สุด
เหตุการณ์ประท้วงในอียิปต์เริ่มบานปลาย ในส่วนของอินเทอร์เน็ต หลังจากอียิปต์สั่งบล็อค Twitter ก็มีข่าวตามมาว่า Facebook กับกูเกิลโดนบล็อคไปด้วย และล่าสุดรัฐบาลอียิปต์สั่งตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศแล้ว
รายงานยืนยันว่า ISP ใหญ่ 3 รายคือ TEDATA, Vodafone, Egynet ไม่สามารถใช้งานได้ รวมถึง BlackBerry และ SMS ด้วย และล่าสุดมีข่าวว่าโทรศัพท์บ้านเริ่มใช้การไม่ได้แล้วเช่นกัน
ที่มา - Arabist, ReadWriteWeb
มีรายงานจากเว็บไซต์ TorrentFreak ว่ากูเกิลปรับเงื่อนไขของฟีเจอร์ Google Instant และ Autocomplete อื่นๆ ไม่ให้แนะนำคำค้นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ไฟล์ เช่น BitTorrent, torrent, utorrent, RapidShare และ Megaupload
ตอนนี้คำว่า torrent ถูกแบนใน Google Instant ทุกกรณี แม้แต่การค้นว่า "ubuntu torrent" ก็จะไม่ขึ้นรายการคำแนะนำให้ด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการค้นหาปกติ (คือพิมพ์คำค้นแล้วกด enter) ยังไม่ถูกแบนแต่อย่างใด
TorrentFreak คาดว่ากูเกิลโดนกดดันจากสมาคมเจ้าของลิขสิทธิ์ดนตรีและภาพยนตร์ในประเทศต่างๆ แต่ก็ตั้งคำถามถึงกูเกิลว่า "สองมาตรฐานหรือเปล่า?" เพราะคำค้นที่เกี่ยวข้องคำอื่น เช่น HotFile, MediaFire, BitComet, Vuze ยังไม่โดนแบนแต่อย่างใด
เหตุการณ์ความไม่สงบในอียิปต์ ที่ประชาชนออกมาประท้วงประธานาธิบดี Hosni Mubarak ซึ่งอยู่ในตำแหน่งมายาวนาน 29 ปี กลุ่มผู้ประท้วงได้ใช้สื่อออนไลน์แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างกว้างขวาง และมีรายงานว่า Facebook/Twitter ถูกปิดกั้นในอียิปต์แล้ว
ทาง Twitter ได้ออกมายืนยันเรื่องนี้ผ่านบัญชี @twitterglobalpr ว่าถูกบล็อคจริง พร้อมกับแสดงความเห็นว่าการแลกเปลี่ยนมุมมองกันอย่างเปิดกว้างจะช่วยให้รัฐใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ส่วน Facebook ยังไม่มีท่าทีอะไรในเรื่องนี้
หลักจากที่ถูกรัฐบาลอินโดนีเซียขู่ว่าจะยกเลิกใบอนุญาต RIM ผู้ผลิตโทรศัพท์ BlackBerry ก็ได้ขอเวลา 100 ชั่วโมงเพื่อติดตั้งระบบกรองเนื้อหาโป๊เปลือยบนอุปกรณ์ของตนเอง และล่าสุดระบบนั้นเริ่มถูกใช้งานแล้วครับ
นาย Tifatul Sembiring รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของอินโดนีเซียก็ได้ทวีตจากโทรศัพท์ BlackBerry ของเขาเองว่า (แปลคร่าว ๆ นะครับ) "ขอบคุณพระเจ้า RIM ยอมทำตามกฎหมายและปิดกั้นเนื้อหาโป๊เปลือยแล้ว"
ตอนนี้ หากผู้ใช้ BlackBerry ในอินโดนีเซียใช้เบราว์เซอร์เข้าเว็บไซต์อย่าง Playboy ก็จะพบข้อความ "เว็บไซต์ดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงได้บนเครือข่ายนี้"
ดูเหมือนว่า RIM จะต้องให้บริการ Blackberry แบบถูกรัฐบาลแต่ละประเทศควบคุมหนักขึ้นเรื่อยๆ (ก่อนหน้านี้มีทั้ง UAE ซาอุดีอาระเบีย อินเดีย) โดยล่าสุดกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารประเทศอินโดนีเซีย ได้สั่งให้ RIM ระงับการเข้าถึงข้อมูลที่มีเนื้อหาอนาจารกับผู้ใช้งานในอินโดนีเซีย เนื่องจากขัดต่อกฎหมายของประเทศ โดยการควบคุมนี้จะมีผลกับผู้ใช้ Blackberry ในประเทศอินโดนีเซียซึ่งตัวเลขล่าสุดมีจำนวนสูงถึง 2 ล้านคน
RIM ตอบรับกับข้อเสนอดังกล่าวของทางรัฐบาลและเตรียมติดตั้งระบบควบคุมเนื้อหาอนาจารนี้ โดยจะติดตั้งอยู่ภายในประเทศอินโดนีเซียเป็นการเฉพาะ
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศซาอุดีอาระเบียว่าเว็บ MobileMe เป็นเว็บล่าสุดที่ถูกรัฐบาลของประเทศบล็อค โดยทางรัฐบาลยังไม่ได้ให้เหตุผลของการบล็อคเว็บแต่อย่างใด
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริการในลักษณะ Cloud ได้ถูกบล็อคในประเทศซาอุดีอาระเบีย ก่อนหน้านี้บริการ BlackBerry ของ Research In Motion เองก็ได้ถูกบล็อคเช่นกัน โดยทางรัฐบาลได้อธิบายว่ามีความจำเป็นที่ต้องบล็อค เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถตรวจสอบหรือดักจับข้อมูลเกี่ยวกับการก่อการร้ายได้ แต่สุดท้ายทาง Research In Motion เองได้มีข้อตกลงกับทางรัฐบาลซาอุฯเป็นพิเศษ ทำให้ผู้ใช้งานภายในประเทศสามารถใช้งาน BlackBerry ได้ต่อไป
ที่มา - 9 to 5 Mac
ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศเกาหลีใต้ ได้ตัดสินว่า ข้อกฎหมายที่รัฐบาลใช้ในการจับกุมผู้ปล่อย "ข่าวลือ" บนอินเทอร์เน็ต ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
กฎหมายดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายด้านโทรคมนาคม กำหนดโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกิน 50 ล้านวอน (ประมาณ 1.3 ล้านบาท) แก่ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ อันส่งผลเสียหายต่อผลประโยชน์สาธารณะ
ศาลได้ให้เหตุผลไว้ว่า คำว่าผลประโยชน์สาธารณะนั้น เป็นคำที่กำกวม ทำให้การตีความสามารถทำได้หลากหลาย และประชาชนทั่วไปไม่สามารถรู้ได้ว่าเส้นแบ่งที่ชัดเจนนั้นอยู่ตรงไหน ในขณะที่เสรีภาพในการแสดงออกนั้นได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
ข่าวหลายวันแล้วแต่เพิ่งผ่านตาครับ เว็บไซต์ ZDNet ฉบับออสเตรเลีย อ้างคำพูดของนายธงชัย แสงศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในงานประชุมความปลอดภัยออนไลน์ขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกที่นิวเซาท์เวลส์ ว่าการทำบัญชีดำเว็บไซต์นั้นเป็น "ภาระของผู้ให้บริการ" ซึ่ง "เกินกำลัง" จน "ใช้การไม่ได้"
ทั้งนี้ยังมีการเปรียบเทียบกับแผนเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตของรัฐบาลออสเตรเลีย ที่นายธงชัยเห็นว่าทำให้ประชาชนคิดว่ารัฐบาลก็ทำอะไรบางอย่างอยู่ และทำให้ภาพพจน์ดูดี
Google Public Policy เผยแพร่รายงานชื่อ "Enabling Trade in the Era of Information Technologies: Breaking Down Barriers to the Free Flow of Information" มีใจความเรียกร้องให้รัฐบาลตะวันตกกดดันรัฐบาลอื่นที่ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร เพราะเป็นการกีดกันการค้า
ข่าวนี้คุ้น ๆ ครับ แค่ฉากหลังเป็นประเทศซาอุดิอาระเบีย และเว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้นคือ Facebook โดยจะมีการแสดงข้อความบอกว่าเกิดข้อผิดพลาดขึ้นเมื่อเรียกเว็บไซต์
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศผู้ไม่ประสงค์ออกนามบอกว่ามีเนื้อหาใน Facebook ที่ "ล้ำเส้น" ไปจากศีลธรรมแนวอนุรักษ์นิยมของประเทศ (ข่าวใช้คำว่า conservative values) ซึ่งปัญหาก็คือเรื่องศาสนานั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวผู้นี้บอกว่าการปิดกั้นนี้จะเป็นการปิดกั้นชั่วคราว รัฐบาลปากีสถานและบังคลาเทศก็เพิ่งสั่งการคล้าย ๆ กันในช่วงปีที่ผ่านมา
ที่มา - AP
Kindle กำลังขายดีในประเทศจีนอย่างเงียบๆ ด้วยฟีเจอร์ใหม่ของมันคือมันหลบเลี่ยงการบล็อกเว็บได้โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม ผ่านทางเครือข่าย Whispernet ของ Amazon
ตัว Kindle นั้นไม่มีขายในจีนและทาง Amazon ไม่ส่งไปยังประเทศจีน อย่างไรก็ตามมีเครื่องลักลอบนำเข้าไปเสมอ โดยผู้ค้ารายหนึ่งระบุว่าเขาขายได้ถึง 300 เครื่องภายในเดือนเดียว
ตัว Whispernet นั้นจะอาศัยผู้ให้บริการท้องถิ่นแต่เชื่อมต่อทุกอย่างผ่านทาง Amazon ทำให้ไม่สามารถบล็อกเว็บแยกกันได้ และแม้จะไม่มีขายในประเทศจีน แต่ Whispernet กลับสามารถใช้งานในจีนได้ไม่มีปัญหา ทำให้ชาวจีนที่ใช้งาน Kindle สามารถใช้งานเว็บ Twitter และ Facebook ได้โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม
เมื่อเดือนเมษายน กูเกิลได้เปิดตัว Government Requests แผนที่แสดงให้เห็นว่ากูเกิลได้รับคำร้องขอจากรัฐบาลประเทศไหนบ้าง ในการลบข้อมูลออกจากบริการต่างๆ ของกูเกิล
คราวนี้กูเกิลเพิ่มส่วนที่สองคือ Traffic เปิดเผยทราฟฟิกของกูเกิลที่มาจากประเทศต่างๆ เอาไว้ช่วยดูว่าจู่ๆ มีทราฟฟิกจากประเทศไหนที่หดหายไปบ้าง ซึ่งตีความได้ว่าโดนบล็อคนั่นเอง ตอนนี้สองส่วนรวมกันมีชื่อเรียกใหม่ว่า Transparency Report
Wall Street Journal (WSJ) ได้รายงานเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า บริษัท RIM ได้ยอมให้ข้อมูลและเครื่องมือเพื่อให้หน่วยงานรัฐเข้าไปติดตามการสื่อสารในบริการอีเมลและแชตของ BlackBerry ได้
WSJ ยังอ้างสรุปผลการเจรจาครั้งหนึ่งด้วยว่า RIM ตกลงที่จะเปิดเผยข้อมูลจากอีเมลองค์กรที่ถูกเข้ารหัสไว้ (อาทิ ใครเป็นผู้ส่ง ส่งเมื่อไร ส่งไปถึงใคร) และ RIM ยังยอมที่จะพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้หน่วยงานรัฐตรวจดูข้อมูลบนบริการแชตของ third-party อย่าง Gmail อีกด้วย
WSJ กล่าวทิ้งท้ายว่าความพยายามของ RIM นั้นมากเพียงพอที่จะไม่ให้บริการบน BlackBerry ถูกแบนหรือไม่ยังคงไม่มีความแน่นอน
โด่งดังจริงๆ กับเว็บ WikiLeaks ซึ่งเป็นเว็บที่เอาข้อมูลภายในของทั้งภาครัฐและเอกชนมาเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้เอาข้อมูลของทหารสหรัฐในอัฟกานิสถานมาเปิดเผย ซึ่งมีข้อมูลที่ทำลายชื่อเสียงของทหารสหรัฐอย่างหนัก เท่านั้นยังไม่พอทาง WikiLeaks กำลังจะเปิดเผยเอกสารลับเพิ่มเติมออกมาอีก แต่ที่ทำให้เป็นปัญหาขึ้นมาเพราะข้อมูลที่ WikiLeaks นำมาเปิดเผยนั้นทำให้คนหลายคนตกอยู่ในอันตรายเลยเป็นประเด็นว่า ตรงไหนล่ะคือจุดที่สมดุลระหว่างเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ตกับการลรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองนำมาเปิดเผยซึ่งอาจจะทำให้ผู้อื่นตกอยู่ในอันตราย
อ่านข่าวเก่าเมื่อปีที่แล้ว จีนบังคับให้ผู้ที่ซื้อคอมฯใหม่ ต้องลงโปรแกรมบล็อคเว็บไซต์ และ รัฐบาลจีนถูกฟ้อง ในข้อหาขโมยโปรแกรม! ประกอบ
ใจความเดิมคือจีนบังคับให้คอมใหม่ทุกเครื่องต้องติดตั้งโปรแกรม Green Dam Youth Escort สำหรับป้องกันภาพโป๊และภาพรุนแรง แต่ก็ถูกวิจารณ์อย่างมากว่าจีนเอาไว้ใช้คุมไม่ให้ดูเรื่องการเมืองมากกว่า โครงการนี้ล่าช้าออกมาเรื่อยๆ และล่าสุดมีข่าวว่าทีมพัฒนาในปักกิ่งถูกยุบไปแล้ว ส่วนทีมงานจากบริษัท Zhengzhou Jinhui Computer System Engineering ซึ่งทำหน้าที่ติดตั้งและดูแล ก็กำลังจะถูกยุบในเร็วๆ นี้ โดยให้เหตุผลว่าไม่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล
สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา โหวตสนับสนุนการแก้กฎหมายให้เพิ่มเงื่อนไขว่า "คอมพิวเตอร์ของโครงการรัฐบาลจะต้องปิดกั้นการเข้าถึง ดาวน์โหลด แลกเปลี่ยนภาพอนาจาร" ด้วยคะแนน 239 ต่อ 182
การแก้กฎหมายครั้งนี้เสนอโดย ส.ส. David Obey จากพรรคเดโมแครต ซึ่งหลายคนมองว่านี่เป็นมาตรการตอบโต้ข่าวฉาวก่อนหน้านี้ว่า พนักงานกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐที่มีหน้าที่ตรวจสอบแท่นขุดเจาะน้ำมัน (ซึ่งมีปัญหาน้ำมันรั่วใหญ่โต) เปิดเว็บโป๊ในเวลางาน
จากความขัดแย้งระหว่างกูเกิลและจีน ซึ่งจบลงด้วย กูเกิล redirect เว็บ Google.cn ไปยัง Google.com.hk ในฮ่องกง เรื่องก็ดูจะเงียบไประยะหนึ่ง แต่ล่าสุดกูเกิลแจ้งว่ารัฐบาลจีนไม่อนุญาตให้ทำแบบนี้แล้ว
ในบล็อกของกูเกิลระบุว่า รัฐบาลจีนไม่พอใจกับวิธี redirect ของกูเกิล และอาจไม่ต่ออายุใบอนุญาตการเปิดเว็บไซต์ (Internet Content Provider License) ของกูเกิลในจีน ซึ่งจะหมดลงในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง กูเกิลจะไม่สามารถให้บริการ Google.cn ได้อีกต่อไป
วันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 21 ปีของเหตุการณ์ประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (อ่านเพิ่มที่ Wikpedia) ซึ่งประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตจากการโดนปราบถึง 3,000 คน และเป็นหนึ่งรอยแผลที่รัฐบาลจีนโดนโจมตีอยู่เสมอ