วันนี้กูเกิลเปิดเผยเว็บไซต์ใหม่ Government Requests tool ซึ่งเป็นเครื่องมือที่แสดงให้บุคคลทั่วไปสามารถมองเห็นได้ว่า รัฐบาลของประเทศแต่ละประเทศนั้นได้ส่งคำสั่งมายังกูเกิลให้ลบ หรือขอข้อมูลของผู้ใช้ใดๆ จากกูเกิลบ้างครับ โดยกูเกิลเผยว่า จะพยายามปรับปรุงข้อมูลทุกๆ 6 เดือน และการเปิดเผยนี้ทำไปเพื่อให้มีความโปร่งใสมากขึ้นครับ
จากกรณีที่เว็บประชาไทถูกสั่งบล็อคด้วยหมายศาล ตอนนี้ได้มีการเปิดเผยหนังสือคำสั่งจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลงวันที่ 7 เม.ย. พ.ศ.2553 เพื่อให้ปิดกั้นเว็บไซต์ 36 แห่ง (รวมประชาไทแล้ว) โดยระบุว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจส่งผลต่อความมั่นคง
เพราะฉะนั้น การที่เว็บไซต์ 36 แห่งถูกปิดกั้นจึงไม่ใช่คำสั่งศาลแต่อย่างใด แต่เป็นการดำเนินการของ ศอ.รส. โดยใช้อำนาจตาม พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
หน้าผู้ใช้ Prachatai ใน Facebook รายงานว่า
"บรรณาธิการ เว็บไซต์ประชาไทแจ้ง ได้รับการชี้แจงจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ว่าถูกไอซีทีสั่งให้ทำการบล็อกตามคำสั่งศาล ทั้งนี้บรรณาธิการแสดงความเห็นว่านี่เป็นครั้งแรกที่ถูกปิดอย่างเป็นทางการ แม้กระทั่งหลัง 19 กันยายน 2549 คณะรัฐประหารก็ไม่เคยสั่งปิด"
ขณะที่เขียน 8 เมษายน 2553 เวลา 12.55 น ด้วย อินเตอร์เนท 3BB ไม่สามารถเข้า ประชาไท ได้แล้ว นี่อาจจะเป็นการถูกเซ็นเซอร์ครั้งแรกหลังจากมีการรัฐประหาร
ที่มา: Prachatai
มีรายงานจากผู้ดูแลระบบ NIC ของประเทศชิลีว่า I root-server เครื่องที่อยู่ในจีนนั้นมีพฤติกรรมที่แปลกไป โดยเมื่อมีความพยายามหา IP ของเว็บเช่น facebook.com, twitter.com หรือ youtube.com นั้นกลับได้รับค่าคืนมาเป็นหมายเลขไอพีที่ไม่มีจริง
ไม่มีการยืนยันใดๆ ว่าปัญหานี้เป็นการแทรกแซงจากรัฐบาลจีน หรือจะเป็นปัญหาในเชิงเทคนิค อย่างไรก็ดีจีนอาศัยมาตรการในการแก้ไข DNS มาตั้งแต่ปี 2002
สำหรับประเด็นกูเกิล vs จีน คนที่คัดค้านเรื่องการเซ็นเซอร์ผลการค้นหาในจีนตั้งแต่แรกไม่ใช่ใครอื่น เขาคือ Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทนั่นเอง
Sergey Brin เป็นคนรัสเซียที่ย้ายมาอยู่ในสหรัฐตั้งแต่เด็ก เขาบอกว่านโยบายควบคุมแบบเข้มข้นของจีน ทำให้เขานึกถึงอดีตในสหภาพโซเวียตเดิม และนโยบายล่าสุดของจีนนั้นเข้มงวดเกินกว่าจะทำธุรกิจได้สะดวกเช่นเดิมอีกแล้ว เขายังเสริมว่าการโจมตีกูเกิลโดยแฮกเกอร์ชาวจีน เปรียบเสมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้กูเกิลตัดสินใจลาขาดจากจีน
หลังจาก กูเกิลเปลี่ยนทางเว็บจาก google.cn ไปยัง google.com.hk แทน สิ่งที่ทุกคนตั้งคำถามคือ จีนจะบล็อค google.com.hk หรือไม่ ซึ่งผลออกมาแล้วตามความคาดหมายของทุกคน
มีรายงานว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ยังสามารถเข้า google.com.hk ได้ แต่ถ้าค้นหาด้วย "คำต้องห้าม" ติดต่อกันช่วงหนึ่ง จะไม่สามารถคลิกที่ผลการค้นหาเพื่อเข้าเว็บที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับที่พบใน google.cn ก่อนหน้าความขัดแย้งระหว่างจีนกับกูเกิล อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญพบว่าการรีเซ็ตเครื่องสามารถแก้ปัญหานี้ได้
หลังจากกูเกิลประกาศใช้มาตรการ redirect ทราฟฟิกไปยังฮ่องกง เพื่อแก้ปัญหาโดนจีนบังคับให้เซ็นเซอร์ผลการค้นหา กูเกิลยังได้เปิดหน้าเว็บสำหรับให้ข้อมูลว่า ขณะนี้จีนบล็อคบริการใดของกูเกิลบ้าง
หน้าเว็บนี้มีชื่อว่า China service availability ข้อมูลจะดีเลย์สักเล็กน้อย เท่าที่ผมดูขณะเขียนข่าวนี้ บริการของกูเกิลที่โดนบล็อคทั้งหมดคือ YouTube, Sites, Blogger ส่วน Google Docs, Groups และ Picasa โดนบล็อคบางส่วน
ที่มา - Business Insider
หลังจากเจรจาต่อรองกับรัฐบาลจีนในเรื่องการเซ็นเซอร์ผลการค้นหาไม่เป็นผล ล่าสุดกูเกิลได้ทำเปลี่ยนเส้นทางทราฟฟิก (redirect) จาก Google.cn ไปยังเว็บไซต์ Google.com.hk ที่ตั้งอยู่ในฮ่องกงแล้ว แน่นอนว่า Google.com.hk จะไม่มีการเซ็นเซอร์ข้อมูล และกูเกิลจะเปิดบริการค้นหาในภาษาจีนกลางบน Google.com.hk สำหรับผู้ใช้งานที่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่
ในบล็อกของกูเกิลกล่าวว่า "รัฐบาลจีนแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างการเจรจาว่า การเซ็นเซอร์ข้อมูลเป็นข้อกำหนดที่ไม่สามารถต่อรองได้ ดังนั้น เราเชื่อว่าวิธีการที่ให้บริการค้นหาสำหรับภาษาจีนกลาง จาก Google.com.hk เป็นทางออกที่น่าจะดีที่สุดสำหรับปัญหานี้ วิธีการนี้ถูกต้องตามกฏหมาย 100% และแน่นอนว่ามันจะทำให้ชาวจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นแน่นอน"
มีข่าวลือว่าวันที่ 22 นี้กูเกิลจะแถลงการย้ายสำนักงานออกจากจีนทั้งหมดภายในวันที่ 10 เมษายน หรืออีก 20 วันข้างหน้า โดยข่าวลือนี้มาจากหนังสือพิมพ์ China Business News ทางกูเกิลเองไม่ให้ความเห็นใดๆ กับข่าวนี้ แต่จากแนวโน้มที่ผ่านๆ มาก็ชัดพอสมควรว่ากูเกิลคงถอนตัวออกจากจีนในเร็ววัน
ปัญหาอย่างหนึ่งคือกูเกิลมีคู่ค้าโดยเฉพาะส่วนขายโฆษณาอยู่ถึง 27 รายในจีน และดูเหมือนว่าคู่ค้าเหล่านี้จะถูกลอยแพจากแผนการถอนตัวของกูเกิล กลุ่มคู่ค้าเหล่านี้ออกมาโวยวายกันว่ากูเกิลไม่ได้พยายามสื่อสารกับพวกเขาเลยว่าควรทำอย่างไรหากกูเกิลถอนตัวออกไปจริง
ที่มา - C|Net
update การงัดข้อระหว่างยักษ์กูเกิล กับจีน ครับ
สืบเนื่องมาจากกรณีการโจมตีเว็บไซต์กูเกิลเชื่อมโยงไปยังที่มาในจีน นำไปสู่ ข่าวลือการยกเลิกความร่วมมือในการบล็อคเว็บในจีน การถอนตัวออกจากการทำธุรกิจในจีน และการเจรจากับรัฐบาลจีน ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ทุกวันนี้เยอรมันมีกฏหมายเก็บข้อมูลล็อกการสื่อสารเช่นข้อมูลโทรศัพท์และ อีเมลไว้เป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าตรวจสอบเมื่อจำเป็น กฏหมายดังกล่าวมีประชาชนต่อต้านไม่น้อยจนมีการร่วมกลุ่ม 35,000 คนเข้าชื่อเพื่อส่งฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ (Bundesverfassungsgericht) นับแต่กฏหมายนี้ผ่านสภาออกมาได้ เวลาผ่านไปสองปีคำค้านก็เป็นผล ทำให้กฏหมายนี้หมดสภาพบังคับ และผู้ให้บริการทั้งหมดต้องลบข้อมูลการสื่อสารออกทันทีที่เป็นไปได้
Evan Williams ผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์ได้ขึ้นพูดในงาน World Economic Forum ว่าบริษัทกำลังพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อต่อต้านการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตอยู่
Evan ยอมรับว่ามีการบล็อคทวิตเตอร์อย่างน้อยก็บางส่วนในจีนและประเทศอื่นๆ จำนวนหนึ่ง และเขาคิดว่าทวิตเตอร์มีข้อได้เปรียบในเรื่องของการเปิดให้เข้าถึงได้หลายช่องทางทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ไม่สามารถปิดกั้นได้
เมื่อครั้งเกิดปัญหาในอิหร่านนั้น รัฐบาลถึงกับปิดอินเทอร์เน็ตไปทั้งประเทศ ก็น่าสนใจว่าเทคโนโลยีนี้จะมีความเหนือชั้นอย่างไรกัน
ไม่มีรายละเอียดของเทคโนโลยีนี้เพิ่มเติม แต่หวังว่ามันจะไม่ทำให้ทวิตเตอร์ล่มบ่อยขึ้น!
ที่มา - IBTimes
Financial Times รายงานจากการให้สัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญจาก McAfee ว่า แฮกเกอร์ที่โจมตีกูเกิลและอีกหลายบริษัทได้เลือกพนักงานที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้ จากนั้นจึงเพิ่ม (add) พนักงานเหล่านั้นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ แล้วก็แฮกเอาแอ็กเคานต์ของพนักงานเหล่านั้นไป จากนั้นแฮกเกอร์จะส่งมัลแวร์โดยใช้แอ็กเคานต์ที่แฮกได้มาไปยังเป้าหมายที่แท้จริง ซึ่งมีโอกาสสูงที่เป้าหมายจะคลิกลิงก์ที่ได้รับการจากโปรแกรม IM จากเพื่อนหรือคนที่รู้จัก โดยมัลแวร์ดังกล่าวใช้ช่องโหว่ของอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ที่ไมโครซอฟท์เพึ่งปล่อยแพตช์มาอุดไปเมื่อไม่นานมานี้
หลังจากออกข่าวแถลงการถึงแนวคิดการใช้ sniffer เพื่อแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์จนเป็นประเด็นสำคัญในอินเทอร์เน็ตอยู่พักใหญ่ นายสือ ล้ออุทัยก็ได้ออกมาให้ข่าวว่าคณะทำงานฯ ได้ฟังเสียงต้านที่เกิดขึ้นและเลิกใช้แนวคิดดังกล่าวไปแล้ว
โดยต่อจากนี้ การลดการละเมิดลิขสิทธิ์จะให้ผู้เดือดร้อนมาแจ้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูล็อกไฟล์และยื่นขอหมายศาลเพื่อดำเนินการต่อไป (พูดอีกอย่างคือจะทำตามกฏหมายปัจจุบัน)
ร้อนแรงแต่เช้ากับ มิน ดาฮอง ประธานองค์กรสื่อออนไลน์ของกรุงปักกิ่ง ที่ลุกขึ้นมาประกาศกร้าว
"อินเทอร์เน็ตของจีนจะถูกพัฒนาและควบคุมอย่างไร เป็นธุระของประเทศจีน และจีนไม่ต้องการให้สหรัฐอเมริกามาสอนอะไรทั้งนั้น"
ปัญหาของเรื่องนี้ยาวกันมาตั้งแต่ คำพูดของกูเกิลที่พูดอ้อมๆ ว่า โดนประเทศจีนแฮคข้อมูลนักสิทธิมนุษยชน จนมาถึง สุนทรพจน์โจมตีการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตของ ฮิลลารี คลินตัน
จากข่าวต้นฉบับมีการกล่าวว่า นายมิน ดาฮอง ถึงกับวิจารณ์ว่า "คำพูดของรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ฮิลลารี คลินตัน เป็นการไม่แสดงความเคารพต่อประเทศจีน"
เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาฮิลลารี คลินตันได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อต้านการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต และยังระบุว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนเครื่องมือเพื่อเปิดเสรีภาพอินเทอร์เน็ตให้กับประชาชนที่ถูกปิดกั้นเหล่านั้น
แม้ว่าฮิลลารีจะกล่าวสุนทรพจน์แนวนี้มาหลายครั้ง แต่ในบรรยากาศอันอึมครึมระหว่างจีนและกูเกิล ทางการจีนซึ่งกำลังตกเป็นเป้าสายตาว่ากำลังละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างซึ่งหน้าก็ทนไม่ได้จนออกมาตอบโต้ว่าให้ทางสหรัฐฯ หยุดใช้เสรีภาพอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือในการโจมตีจีนอย่างไร้เหตุผล โดยรัฐธรรมนูญจีนนั้นได้มีการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอยู่แล้ว แต่จีนนั้นมีสถานการณ์ภายในและวัฒนธรรมของตัวเอง (ที่ต่างไปจากสหรัฐฯ)
เมื่อวานนี้มีข่าวออกมาว่ามีรัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะจับข้อมูลอินเทอร์เน็ตทั้งหมดมาตรวจสอบ โดยเสนอให้กทช. ออกกฏบังคับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่าต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ดักจับข้อมูลเข้าออกอินเทอร์เน็ตด้วยเหตุผลว่าจะช่วยลดการะเมิดลิขสิทธิ์ในอินเทอร์เน็ตลงจนเกิดการต่อต้านในอินเทอร์เน็ตเป็นวงกันพอสมควร
เนื่องจากลำดับข่าวค่อนข้างงง สรุปเรื่องราวทั้งหมดมีดังนี้
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กูเกิลได้ออกมาปฏิเสธข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ที่ว่ากูเกิลได้ถอนตัวจากการทำธุรกิจในจีนแล้ว โดยกูเกิลได้แจ้งว่าตอนนี้กำลังตรวจสอบเครือข่ายของตนเป็นการภายในอยู่ และยังมีแผนที่จะพูดคุยกับทางรัฐบาลในสัปดาห์หน้าในความพยายามที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว
นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า หากกูเกิลจะทำธุรกิจในจีนต่อไป ก็อาจนำไปสู่การปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความเข้มงวดมากขึ้น
หลังจากกูเกิลจีนถูกโจมตี, ประกาศจะไม่สนับสนุนการบล็อคเว็บในจีนอีกต่อไป ซึ่งอาจส่งผลให้กูเกิลต้องออกจากการทำตลาดในจีน หลายคนตั้งคำถามว่าผู้ให้บริการค้นหาข้อมูลอย่างไมโครซอฟท์กับยาฮูนั้นจะร่วมวงกับกูเกิลไม่สนับสนุนการบล็อคเว็บในจีนด้วยหรือไม่ คุณสตีฟ บัลเมอร์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC ในขณะที่เข้าไปพบกับประธานาธิบดีบารัค โอบามาในทำเนียบขาว โดยบอกว่าเราจะยังคงดำเนินธุรกิจในจีนและปฏิบัติตามกฎหมายของทางรัฐบาลต่อไป
นอกจากนั้นคุณบัลเมอร์ยังปฏิเสธที่จะกล่าวถึงรายงานที่ว่าช่องโหว่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ถูกใช้โจมตีกูเกิลและบริษัทอื่นๆ
ข่าวต่อเนื่องจาก กูเกิลจีนถูกโจมตี, ประกาศจะไม่สนับสนุนการบล็อคเว็บในจีนอีกต่อไป และ Adobe ออกมาเปิดเผย ถูกจีนโจมตีด้วยเช่นกัน ตอนนี้สำนักข่าว Bloomberg ได้เผยชื่อของบริษัทรายที่สามที่โดนโจมตี ไม่ใช่ใครที่ไหนไกล ยาฮูนั่นเอง
ยาฮูไม่ได้เปิดเผยข้อมูลนี้ออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตัวซึ่งใกล้ชิดกับเรื่องนี้ ยาฮูไม่มีกิจการในประเทศจีนแล้ว แต่ยังมีหุ้นในบริษัท Alibaba ของจีนอยู่
ต่อจากข่าว กูเกิลจีน ถูกโจมตี, ประกาศจะไม่สนับสนุนการบล็อคเว็บในจีนอีกต่อไป ซึ่งแม้จะเป็นข่าวดังไปทั่วโลก แต่รัฐบาลจีนก็ยังเงียบ ไม่มีท่าทีแต่อย่างใด รวมถึงนักธุรกิจในสายงานเดียวกันก็ไม่มีใครกล้าให้สัมภาษณ์เรื่องนี้
สำนักข่าว Xinhua ของจีนอ้างว่าได้สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของรัฐบาลจีนทางโทรศัพท์ เขาบอกว่ากำลังลงไปติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และยินดีจะเปิดเผยข้อมูลมากขึ้นเมื่อสถานการณ์คืบหน้า
ส่วนพนักงานของกูเกิล 700 คนในจีนได้รับแจ้งแล้วว่า บริษัทอาจปิดกิจการในประเทศจีน แต่นักวิชาการของจีนมองว่า การถอนตัวของกูเกิลเป็นแค่คำขู่เท่านั้น
กูเกิลได้เขียนบล็อกถึงการโจมตีครั้งล่าสุดเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีประเด็นหลักสามเรื่องคือ
วันนี้ (14 ธันวาคม 2552) มีผู้ใช้หลายคนรายงานว่าไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ต่างประเทศหลายๆ เว็บได้ โดยอาการที่เกิดขึ้นคือ การขอข้อมูลจากเว็บไซต์จะถูก Redirect เข้าไปยัง w3.mict.go.th
ตัวอย่างที่ผมเจอเองคือ flickr.com ที่คนอื่นๆ รายงานเข้ามาได้แก่ scribd.com และ sourceforge.net รวมไปถึง twitter.com ด้วย
ระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ อยากให้คนที่เจอปัญหานี้ช่วยรายงานเข้ามาว่า เข้าเว็บอะไรกันไม่ได้บ้าง โดยระบุรายละเอียดดังนี้
แม้ว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะได้ชื่อว่าเป็นประธานาธิบดีที่ใช้สื่อออนไลน์มาใช้ได้อย่างทรงพลัง ถ้าดูเฉพาะ Twitter ก็มีจำนวน follower กว่า 2.6 ล้านคน แต่ปรากฎว่าการส่งข้อความใน Twitter นั้น โอบามาไม่เคยส่งเองแม้แต่ครั้งเดียว
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยขณะโอบามาไปที่เซี่ยงไฮ้ และตอบคำถามของเด็กชาวจีนคนหนึ่ง คำถามคือคิดอย่างไรกับการปิดกั้น Twitter ในจีน คำตอบของโอบามาก็คือ
"ผมไม่เคยใช้ Twitter แต่ผมเป็นผู้สนับสนุนเทคโนโลยี และไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต"
ที่น่าตกใจคือ ไม่เคยใช้แม้แต่ครั้งเดียวจริงๆ เหรอเนี่ย! (ของนายกเราแม้ว่าส่วนมากจะเป็นทีมงานโพสต์ แต่ก็ยังเคยโพสต์โชว์รูปตอบคำถามกับคุณสุทธิชัย หยุ่น ให้เห็น)
ต่อเนื่องจากข่าวเก่า ฝรั่งเศสนำกฏหมายตัดอินเทอร์เน็ตเข้าสภา ล่าสุดกฎหมายผ่านการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส (National Assembly of France) ไปด้วยคะแนน 285 ต่อ 225
พรรคฝ่ายขวาที่ครองเสียงข้างมาก Union for a Popular Movement ของประธานาธิบดีนิโคลา ซาร์โกซี สนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ด้านตรงข้าม พรรคฝ่ายค้าน Socialist Party ที่มีเสียงน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาลแบบฉิวเฉียดก็เตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งในเร็วๆ นี้ หลังจากเคยยื่นฟ้องมารอบหนึ่งแต่ศาลตัดสินว่ากฎหมายนี้สอดคล้องกับหลักการในรัฐธรรมนูญ
กฎหมายฉบับนี้กำหนดว่า ถ้าจับได้ว่ามีการแชร์ไฟล์แบบผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการ 3 ขั้นตอนดังนี้