สมาชิกวุติสภา Jay Rockefeller ได้เสนอร่างกฏหมายที่ปรับปรุงใหม่ให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ โดยให้อำนาจรัฐในการระงับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของบริษัทเอกชน
คุณ Larry Clinton ซึ่งเป็นประธานของ Internet Security Alliance ที่ประกอบไปด้วยบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมขนาดใหญ่ กล่าวว่า ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอำนาจใดที่สมาชิกวุติสภา Rockefeller คิดว่าจำเป็นสำหรับการควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของบริษัทเอกชน ซึ่งหากไม่ชัดเจนในประเด็นดังกล่าวก็ไม่สามารถวิเคราะห์ร่างกฏหมายดังกล่าวได้
กฏหมายอนุญาตให้มีการตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับผู้ต้องสงสัยว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์เริ่มขยายวงกว้างจากนิวซีแลนด์ที่มีการพิจารณากฏหมายในรูปแบบเดียวกัน แต่ถูกต่อต้านจนต้องเลื่อนการบังคับใช้ออกไป ล่าสุดฝรั่งเศสก็ได้มีการเสนอร่างกฏหมายแบบเดียวกันเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นครั้งที่สอง
ก่อนหน้านี้ร่างกฏหมายฉบับนี้ถูกเสนอเข้าสู่สภามาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากร่างที่แล้วนั้นมีการให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการตัดสินการตัดอินเทอร์เน็ต ทำให้ถูกฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และกฏหมายต้องตกไปในที่สุด
อีกไม่กี่ชั่วโมงที่จะถึงนี้ควรจะเป็นเวลาที่จีนจะเริ่มต้นบังคับให้ผู้ผลิตคอมฯ ต้องลงโปรแกรมกรองเว็บไซต์ "Green Dam-Youth Escort" แต่ทว่าในวันนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีได้ออกมาประกาศเลื่อนกำหนดการบังคับใช้กฏดังกล่าวออกไปอย่างไม่มีกำหนด โดยน่าจะมีสาเหตุมาจากการคัดค้านจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งในเรื่องของการฝ่าฝืนกฎการค้าโลก และการละเมิดความเป็นส่วนตัว
โดยก่อนหน้านี้เองทั้งทางอเมริกาและสหภาพยุโรปเองก็ออกมาคัดค้านเกี่ยวกับข้อบังคับดังกล่าวนี้ และถึงแม้ว่าจีนจะปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ ทีดูเหมือนจะกุมอำนาจทั้งในส่วนเศรษฐกิจ สังคม และอินเทอร์เน็ต โดยการล่าถอยครั้งนี้ของจีนแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในการตัดสินใจ ที่อาจจะก่อปัญหาตามมาได้
Eric Schmidt ซีอีโอของกูเกิลให้สัมภาษณ์ว่าเขาหวังว่าคลิปจากฝ่ายประท้วงรัฐบาลอิหร่านที่เผยแพร่ใน YouTube จะช่วยแพร่ข่าวสารที่ถูกฝ่ายรัฐบาลสกัดกั้นไว้ได้ ที่ผ่านมาได้มีคลิปที่อัพโหลดจากมือถือขณะที่ Ndea Soltani วัยรุ่นหญิงชาวอิหร่านคนหนึ่งถูกยิงเสียชีวิต คลิปนี้อัพโหลดขึ้น YouTube และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนอินเทอร์เน็ต
Schmidt เสริมว่า "รัฐบาลทั่วโลกแม้แต่ประเทศประชาธิปไตยก็ตาม กำลังพบปัญหาในการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต ในประเทศเผด็จการและเป็นสังคมปิดยิ่งพยายามปิดกั้นการสื่อสารกับภายนอกประเทศ แต่แนวทางนี้จะไม่มีวันสำเร็จ"
Schmidt ขยายบทสัมภาษณ์ของเขาเพิ่มเติมว่า ประชาชนไม่สามารถถูกกดขี่เอาไว้ได้ ประเทศไม่สามารถปิดกั้นประชาชนอยู่ในความมืดได้
สถานการณ์การกรองข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตของจีนยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และในวันพุธที่ผ่านมามีประกาศจากกระทรวงต่างประเทศที่กล่าวหาเว็บค้นหาของกูเกิลว่าเป็นเว็บที่ทำให้เกิดการกระจายของเนื้อหารุนแรง ซึ่งขัดต่อกฏหมายของจีน
ในเวลาต่อมาจีนได้บล็อคเว็บในเครือของกูเกิล ได้แก่ Google.com, GMail, GoogleReader, Youtube รวมไปถึงบริการอื่นๆของกูเกิล มีเพียง Google.cn ที่ยังสามารถใช้งานได้
หลังจากที่มีการบล็อคเว็บไซต์ดังกล่าวแล้ว มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีนส่วนหนึ่งออกมาประท้วงผ่าน Twitter และในเวลาต่อมาเว็บไซต์บางส่วนก็กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
ยังไม่จบกับกรณีที่จีนบังคับให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้งโปรแกรมกรองเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต โดยจะเริ่มในอาทิตย์หน้าที่จะถึงนี้
โดยในวันนี้ ทางสหรัฐได้ออกมาเตือนจีนว่าให้ยุติข้อบังคับที่จะติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวลงในคอมฯส่วนบุคคล เพราะเป็นการฝ่าฝืนกฏการค้าโลก อีกทั้งยังกล่าวว่าการบังคับให้ติดตั้งโปรแกรมกรองเว็บไซต์นี้ถือเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค และโปรแกรมดังกล่าวนอกจากไม่มีความจำเป็นแล้วยังอาจก่อให้เกิดกำแพงทางการค้าในจีนอีกด้วย
อย่างไรก็ตามทางจีนก็ยังยืนยันว่าโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่กรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมแก่เด็กเท่านั้น
ภาคต่อจาก รัฐบาลอิหร่าน vs Twitter ภาคสอง
มีรายงานว่าทางการอิหร่านสามารถบล็อคสื่อออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, MySpace, Twitter ได้หมดแล้วในตอนเช้าวันพุธ (เมื่อวานนี้) และตัวละครสำคัญอีกฝ่ายก็ออกมามีบทบาทแล้ว
อิหร่านปกครองด้วยระบอบผู้นำทางศาสนาคือ Ayatollah Ali Khamenei เป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ซึ่งระบอบนี้ใช้มาตั้งแต่ Ruhollah Khomeini ปฏิวัติอิสลามสำเร็จในปี 1979 ส่วนประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารประเทศตามวาระจากการเลือกตั้ง ผู้นำสูงสุดของอิหร่านมีกองทหารส่วนตัวที่เรียกว่า Revolutionary Guard ซึ่งแยกจากระบบกองทัพปกติ และเป็นกองกำลังที่เข้มแข็งมากที่สุดในอิหร่าน รวมทหารชั้นหัวกะทิไว้ในนี้
จากข่าว เมื่อสื่อออนไลน์มีบทบาทในเหตุการณ์ประท้วงที่อิหร่าน เรื่องราวยังดำเนินต่อไป การใช้ Twitter รายงานความเคลื่อนไหวในอิหร่านนั้นขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดความกลัวว่ารัฐบาลอิหร่านจะค้นหาข้อมูลและจับกุมผู้ที่ใช้ Twitter รายงานการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล และอย่างที่หลายๆ คนเดาได้ว่า Twitter รวมถึง social network ถูกบล็อคในอิหร่านแล้ว
เมื่อการสื่อสารหยุดชะงัก ประชาชนอิหร่านยิ่งออกมาในท้องถนน ฝั่งประชาคม Twitter โลกก็ได้เชิญชวนให้ผู้ใช้ Twitter เปลี่ยนเขตเวลาเป็น GMT +03:30 Tehran โดยหวังว่ามันจะช่วยให้ซอฟต์แวร์เซ็นเซอร์ Twitter ของอิหร่านทำงานไม่ทัน (ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าแนวคิดนี้ทำงานได้จริง)
รายงานนี้มาจาก Wall Street Journal ที่มีเนื้อความว่า ทางรัฐบาลจีนต้องการให้คอมพิวเตอร์ที่ขายหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคมจะต้องติดตั้งโปรแกรมพิเศษที่มีหน้าที่กรองเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมออกไป
โปรแกรมนี้มีชื่อว่า "Green Dam-Youth Escort" ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทจินหัวและได้รับความช่วยเหลือจาก สถาบันเทคโนโลยีภาษามนุษย์ปักกิ่ง-ต้าเซียง เป้าหมายหลักของโปรแกรมนี้คือกรองภาพเปลือยทั้งหลาย ซึ่งเป็นการปกป้องเด็กๆ จากเวปไซต์ที่มีเนื้อหาอันตราย โดยมีการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่มีรายการเว็บไซต์ที่ถูกห้ามเข้า
โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของจีนได้วางแผนที่จะประกาศตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม แต่ในขณะนี้ก็ยังไม่มีการประกาศใดๆ เกิดขึ้น
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ณ วันนี้ได้เกิดเหตุรัฐบาลทหารในประเทศจีนทำการฆาตกรรมหมู่โดยการกราดยิงผู้ประท้วงที่ต้องการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยตัวเลขผู้เสียชีวิตจนถึงวันนี้ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่ผู้ตายส่วนใหญ่นั้นเป็นนักศึกษา
แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลจีนวันนี้ ยังไม่อยากให้เยาวชนรับรู้เหตุการณ์เหล่านี้มากมายนัก เมื่อรัฐบาลทหารของจีนตัดสินใจทำการบล็อกเว็บหมู่ โดยเว็บที่โดนบล็อกได้แก่ Twitter (ข่าวเก่า), Flickr, YouTube, Hotmail, Bing, Wordpress, Blogger และเว็บ Social Network อื่น ๆ อีกมากมาย
Twitter นั้นเคยช่วยในการรายงานข่าวแผ่นดินไหวในมณฑล Sichuan ของจีนเมื่อปีที่แล้ว แต่มาวันนี้ผู้ใช้งาน Twitter ในจีนหลายราย ได้รายงานว่าเว็บไซต์ Twitter นั้นไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ช่วงบ่ายที่ผ่านมา ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่จีนบล็อกเว็บไซต์ดังกล่าว อย่างไรก็ดีการส่งข้อความผ่านทางโปรแกรมอื่นๆ บางโปรแกรมเช่น Tweetdeck นั้นยังสามารถทำได้อยู่
ทางการอิหร่านบล็อคเว็บไซต์ Facebook หลังพบการลงความคิดเห็น และมุมมองของผู้สมัครประธานาธิบดีอิหร่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวเก็งของการเลือกตั้งในเดือนหน้า
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ระบุว่ารัฐบาลอิหร่านบล็อกเว็บไซต์ Facebook ท่ามกลางการรณรงค์เลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน ซึ่งจะมีขึ้น ในวันที่ 12 มิ.ย. ซึ่งผู้ใช้งานที่พยายามเข้าใช้งานจะพบความข้อความ ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์นี้ได้
ประเทศจีนนั้นนับได้ว่ามีปัญหากับสื่ออินเทอร์เน็ตมาโดยตลอด แต่ปัญหานี้อาจเริ่มคลี่คลายได้บ้าง
ล่าสุดบล็อกเกอร์ชาวจีนสองคนที่เคยเขียนวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนในช่วงต้นปีนั้นได้ถูกปล่อยตัวจากทางตำรวจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคนหนึ่งนั้นถูกจับเนื่องจากเขียนบล็อกเกี่ยวกับเรื่องการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีจำนวนรวมของเสียงมากกว่าจำนวนประชากรในหมู่บ้าน และส่วนอีกคนนั้นเขียนเกี่ยวกับการครอบครองที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาล
หลังจากที่รัฐบาลได้ยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหลังจากที่สถานะการณ์ได้สงบลง ทางกระทรวงไอซีทีก็ได้ยื่นจดหมายแจ้งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ยกเลิกการปิดกั้นเว็บจำนวน 71 เว็บไซต์ รวมถึง no-ip.org, ning.com และ cbox.ws ตามที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านี้
ยังไม่มีรายงานว่าหลังการยกเลิกการปิดกั้นเนื่องจากหมดอำนาจตามพรก. นี้ทางกระทรวงไอซีทีจะยื่นขออำนาจจากศาลเพื่อปิดกั้นเว็บเหล่านี้ตามที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้หรือไม่ แต่การแจ้งยกเลิกการปิดกั้นนี้ก็นับเป็นสัญญาณอันดีว่าทางกระทรวงไม่ได้ใช้อำนาจนอกเหนือจากกฏหมายกำหนดแต่อย่างใด
ที่มา - ประชาไท
เป็นเรื่องปรกติที่พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก. ฉุกเฉินฯ) นั้นประกาศขึ้นมาเพื่อให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และคงไม่ต้องแปลกใจหากมันจะถูกใช้มั่วๆ ไปบ้าง
ล่าสุดทางไทยรัฐได้ตีพิมพ์รายชื่อเว็บที่ถูกปิดด้วยอำนาจของ พรก. ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องอาศัยอำนาจศาลตามภาวะปรกติ โดยเกือบทั้งหมดเป็นเว็บที่เกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดง แต่มีสองรายการที่เป็นผู้ให้บริการโดยทั่วไปคือ ning.com และ no-ip.org
ning.com นั้นเป็นบริการ Social Network ที่เปิดให้สมาชิกสร้าง Social Network ของตัวเองได้อย่างอิสระ ส่วน no-ip.org นั้นเป็นผู้ให้บริการ Dynamic DNS ที่เปิดให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนหมายเลขไอพีบ่อยๆ สามารถมีชื่อ DNS ประจำเครื่องได้
สถาบัน Berkman Center for Internet & Society ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เปิดตัว Herdict เครื่องมือตรวจสอบการบล็อคเว็บที่ใช้ "ปัญญารวมหมู่" หรือ collective intelligence เป็นแนวทาง
Herdict มาจากคำว่า Herd + Verdict เป็นไอเดียของ Jonathan Zittrain ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ Berkman และเป็นคนเริ่มโครงการ OpenNet Initiative (ONI) ซึ่งคอยตรวจสอบและจับตาสถานการณ์เรื่องการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศต่างๆ อีกด้วย (ONI เคยเข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 2-3 ปีก่อน)
ความเป็นสากลของอินเทอร์เน็ต ทำให้หลายประเทศประสบปัญหาในการควบคุมและบังคับใช้กฎหมายท้องถิ่น BusinessWeek ได้ลงบทความกรณีปัญหาของอิตาลีเป็นตัวอย่าง
บทความดังกล่าว ได้กล่าวถึงสองกรณีที่เป็นปัญหาในอิตาลี คือกรณีของกูเกิลและเฟซบุก ผู้บริหารของกูเกิลสี่คน ได้ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทและละเมิดสิทธิส่วนบุคคล จากปัญหาวิดีโอใน กูเกิลวิดีโอเมื่อกว่าสองปีก่อน ในขณะที่ในเฟซบุก ได้มีการตั้งกลุ่มสนับสนุนมาเฟียชื่อดังของอิตาลีที่โดนต้องโทษ ฝ่ายปกครองของอิตาลีจึงได้พยายามผ่านกฎหมายใหม่ ซึ่งจะบังคับให้บริษัทจะต้องนำเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย (ของอิตาลี) ออกภายใน 24 ชั่วโมง หรือเจอโทษปรับสูงถึง 250 000 ยูโร
สืบเนื่องจากการค้นพบก่อนหน้านี้ว่า CS Loxinfo ไอเอสพีเจ้าหลักรายหนึ่งของประเทศไทย มีการบล็อคเว็บแบบแปลก ๆ ทั้งบล็อคเว็บไซต์ที่ไม่น่าจะโดนบล็อค เช่น เว็บไซต์ Mashable.com ซึ่งเป็นเว็บข่าวไอทีต่างประเทศที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง หรือการบล็อคเว็บแบบหว่านแห ใช้ keyword filtering จัดการบล็อคทุก url ที่มีคำที่กำหนด โดยไม่สนใจว่าเนื้อหาในลิงก์ดังกล่าวจะเป็นอะไร (ซึ่งกรณีนี้ขัดกับกฎหมายอย่างชัดเจน เพราะตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้น ศาลจะมีคำสั่งให้บล็อคเว็บไซต์ได้เป็นราย url เท่านั้น)
หลังจากที่มีนักศึกษาไทยได้อัพโหลดภาพล่อแหลมเพื่อขายบริการทางเพศผ่าน Hi5 มาแล้วทีนึง กลุ่มที่อ้างตนเองว่าเป็น "กลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม" ได้เปิดเผยว่าตอนนี้มีการนำเสนอภาพและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม เกี่ยวกับการเสพกัญชามาโพสต์ไว้บนเว็บ
เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นเรื่องจริง และคาดว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ห่วงว่าประชาชนคนไทยจะทำการลอกเลียนแบบ และยังถือว่าเป็น "การหมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมอันดีงาม"
กระทรวงวัฒนธรรมจึงกำลังจะเตรียมนำข้อมูลเสนอไอซีทีให้สั่งปิด!
ที่มา - สำนักข่าว INN ผ่านทาง Mthai
เมื่อปี 1998 รัฐสภาของสหรัฐฯ ได้ผ่านกฏหมาย COPA หรือ Child Online Protection Act ที่มีเนื้อหาระบุให้เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับเด็กทั้งหมดต้องทำการป้องกันไม่ให้เด็กเข้าชมได้ ด้วยการใส่รหัสยืนยันอายุ
หลังการผ่านกฏมาย ก็เริ่มมีการต่อสู้เพื่อคว่ำกฏหมายฉบับนี้มาโดยตลอด เนื่องจากเชื่อกันว่าผิดต่อรัฐธรรมนูญข้อแรกของสหรัฐฯ ที่รักษาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพียงแค่ปี 1999 ศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งหยุดบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้ จากนั้นกฏหมายฉบับนี้ก็อยู่ในศาลมาโดยตลอดโดยไม่เคยถูกบังคับใช้อีกเลย จนกระทั่งเมื่อวานนี้เองที่ศาลฎีกาได้ออกมาพิพากษาให้กฏหมายฉบับนี้เป็นโมฆะอย่างเป็นทางการ
Reporters Without Borders หรือสมาคมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน เป็น NGO จากฝรั่งเศส (แต่ทำงานในระดับนานาชาติ) เกี่ยวกับเสรีภาพในการนำเสนอข่าว (freedom of the press)
ยังคงเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องเฝ้าติดตามบรรดาเว็บไซต์ต่างๆที่มักมีเนื้อหาไม่เหมาะสม เช่น ภาพลามกอนาจาร
สำนักข่าว ซินหัว รายงานว่า ทางการจีนทำการปิดเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมไปแล้ว 91 เว็บไซต์ในช่วงเวลาเพียง 3 วันที่เฝ้าตรวจ
เมื่อต้นมกราคม 2552 รัฐบาลจีน โดยกระทรวงสารสนเทศได้ออกแคมเปญล่าสุดในชื่อว่า “อินเทอร์เน็ตใสสะอาด” (Purify The Internet) โดยพุ่งเป้าไปที่พอร์ทัลและเสิร์ชเอ็นจินยอดนิยมในจีนได้แก่ Sina, Baidu และ กูเกิล
ที่มา - TelecomAsia
องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน สรุปสถานการณ์เสรีภาพสื่อ 2551 ระบุเอเชีย/แปซิฟิกและมาเกร็บ/ตะวันออกกลางยังคงเป็นพื้นที่อันตรายที่สุดสำหรับสื่อ และอินเทอร์เน็ตคือสมรภูมิใหม่ในการปิดกั้นควบคุม
องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน หรือ Reporters Without Borders (RSF) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศไม่แสวงกำไรที่เคลื่อนไหวรณรงค์ประเด็นเสรีภาพสื่อ จะจัดทำรายงานสถานการณ์เสรีภาพสื่อเป็นประจำทุกปี ทั้งรายงานภาพรวมทั่วโลก ตามภูมิภาค และตามประเทศ โดยปี 2551 ที่ผ่านมาได้สำรวจใน 98 ประเทศ โดยครั้งนี้ได้แยกเสรีภาพอินเทอร์เน็ตออกมาเป็นการเฉพาะด้วย ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีบล็อกเกอร์ถูกจับ 59 ราย และถูกฆ่าหนึ่งราย
สื่อโดยรวม (ในวงเล็บคือจำนวนในเอเชียแปซิฟิก):
ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ได้กล่าวหลังจากรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า
งานแรก ๆ ของกระทรวง ICT คือการบล็อกเว็บที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเฉพาะเว็บที่จดโดเมนไว้ที่ต่างประเทศ และยังจะดำเนินการกับเว็บที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ เช่น เว็บเกมออนไลน์ที่มีเนื้อหาลามกอนาจาร เว็บการพนัน
ที่มา - thairath.com
วิกิพีเดีย หรือสารานุกรมออนไลน์ที่ใครๆ ก็สามารถมีส่วนร่วมได้ ที่เป็นที่พึ่งของหลายๆ คนนั้น โดนบล็อกบางส่วนแล้วในอังกฤษครับ
ต้นเหตุเริ่มมาจากการที่วิกิพีเดีย นำเสนอภาพหน้าปกอัลบั้ม Virgin Killer ของวง Scorpions (หน้านี้) ซึ่งเป็นรูปเปลือยของเด็กผู้หญิงที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อสถาบันควบคุมอินเทอร์เน็ต (Internet Watch Foundation - IWF) ของอังกฤษได้รับรายงาน จึงได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เพื่อบล็อกหน้าที่เกี่ยวข้อง และต้องการให้ทางวิกิมีเดียซึ่งเป็นเจ้าของลบรูปดังกล่าวออก