หลังจากบล็อกวิกิพีเดียมานานหลายเดือนเนื่องจากทางวิกิพีเดียปฎิเสธที่จะบล็อกเนื้อหาตามคำขอร้องของทางการจีน เมื่อวานนี้ทางการจีนก็ปล่อยให้ประชาชนเข้าถึงวิกิพีเดียได้แล้วในที่สุด
แม้บางหน้าที่มีเนื้อหาล่อแหลมต่อประชาชนจีนจะยังคงถูกบล็อก เช่น หน้าที่เกี่ยวกับการประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมิน แต่ก็นับเป็นนิมิตรหมายอันดีที่ทางการจีนจะไม่ทำการบล็อกทั้งเว็บเช่นเดิมที่จีนเคยทำมา
เป็นที่น่าสงสัยว่าทางการจีนจะทนต่อเนื้อหาที่ล่อแหลมในวิกิพีเดียไปได้อีกนานเพียงใด เนื่องจากเว็บที่เสรีมากๆ อย่างวิกิพีเดียนั้นผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาทางที่การจีนไม่ชอบใจขึ้นมาได้ไม่จบไม่สิ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วจีนคงตระหนักได้ว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์แบบ
หลายเดือนก่อน The Pirate Bay เพิ่งโดนตรวจค้นไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ไป วันนี้เครือข่ายไร้ศูนย์กลางเช่น TOR ก็ถูกตรวจค้นเช่นกัน โดยตำรวจเยอรมันได้เข้าตรวจค้นดาต้าเซ็นเตอร์จำนวน 7 แห่ง และตรวจค้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จำนวนสิบเครื่อง เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการส่งภาพอนาจารเด็ก
เครือข่าย TOR เป็นเครือข่ายที่สร้างขึ้นมาเพื่อลบร่องรอยการส่งข้อมูลอย่างได้ผล โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวจะรับคำร้องขอจากผู้ใช้ แล้วเลือกว่าจะส่งต่อไปให้เครื่องต่อไปเครื่องใดในเครือข่าย จนกว่าจะถึงเครื่องที่ยอมเชื่อมต่อกับปลายทาง วิธีนี้ทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ที่เปิดช่องทางเชื่อมต่อนั้นเป็นใคร
ไมโครซอฟท์เปิดเผยผลการวิจัยในงาน Microsoft Tech.Ed 2006 ที่ออสเตรเลียว่า ผู้สมัครงานจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะไม่สนใจบริษัทที่บล็อกการใช้เว็บหรือ IM
Anne Kirah ของไมโครซอฟท์บอกว่า ประเด็นที่หัวหน้ากลัวลูกน้องจะเสียงานจากการเล่นเน็ตนั้น เป็นการวิตกไปเองของคนที่ไม่ได้โตมากับคอมพิวเตอร์ (เค้าใช้คำว่า "digital immigrant" กับ "digital native") พนักงานอาจจะเล่นเกมในเวลางานจริง แต่ถ้ามองในมุมกลับ การไม่ปิดกั้นการใช้งานเน็ตก็ช่วยให้พนักงานทำงานที่บ้านตอนค่ำได้เหมือนกัน
ผมอ่านข่าวนี้แล้วนึกถึงสมัยก่อนที่บริษัทต้องลบ Minesweeper กับ Solitare ออกจาก Windows 3.1 เลยแฮะ
หลังจากเราได้ยินเรื่องพวกนี้มาจากประเทศจีนกันซะมาก ก็ถึงคราวเพื่อนบ้านของเรากันบ้าง โดยมีรายงานยืนยันว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัท Bagan Cybertech ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายเดียวในพม่า ได้บล็อกเว็บค้นหาอย่างกูเกิลโดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลแต่อย่างใด
ก่อนหน้านี้รัฐบาลทหารของพม่าได้พยายามควบคุมการรั่วไหลของข้อมูล ด้วยการบล็อกทั้งยาฮูและ Hotmail ไปก่อนแล้ว
เมืองไทยก็บล็อกนะ กูเกิลเนี่ย....
ที่มา - The Times of India
ปัญหาประเทศเค้าแต่เอาจริงก็ใกล้ตัวเราเหมือนกัน โดยเฉพาะยุคการบล็อคเว็บครองเมืองอย่างปัจจุบัน
ตอนนี้สภาผู้แทนสหรัฐต้องพิจารณากฎหมายที่เรียกว่า Net neutrality คำว่า neutrality ในนี้ไม่ได้หมายถึงฝ่ายซ้ายฝ่ายขวา แต่หมายความว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีสิทธิ์เข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียมกันหรือเปล่า
ฝ่ายแรกคือพรรครีพับลิกัน ที่สนับสนุนโดยบริษัทโทรคมนาคมอย่าง AT&T และ Verizon ต้องการให้บริษัทควบคุมความเร็วในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เช่น ให้ความสำคัญกับผู้ใช้ VoIP มากกว่าผู้ใช้เว็บ เป็นต้น
กูเกิลประกาศยอมแพ้ต่อมาตรการเซ็นเซอร์ในจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังจากที่มีปัญหากับทางการจีนมานาน โดยเว็บกูเกิลในจีนนั้นจะถูกเซ็นเซอร์เช่นเดียวกับเว็บอื่นๆ ตามที่ทางการจีนร้องขอ ก่อนหน้านีู้กูเกิลเคยถูกบล็อกจากทางการจีนมาแล้วหลายครั้ง โดยส่วนมากแล้วเป็นเพราะบริการ Google Cache ที่ทำให้ชาวจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ทางการจีนบล็อกไว้ได้
Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิลระบุว่ากูเกิลไม่สบายใจต่อการทำตามข้อเรียกร้องนี้ของจีน เขายังระบุว่าในตอนนี้กูเกิลจำเป็นต้องลดความมุ่้งมั่นเดิมที่จะใ้ห้ข้อมูลเข้าถึงชาวจีนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ทางกูเกิลก็ไม่ได้มีทางเลือกอื่นใด
เข้ากับยุคสมัย Amnesty International ฉลองครบรอบ 45 ปี โดยการเริ่มแคมเปญเรียกร้องรัฐบาลทั่วโลกให้เลิกปิดกั้นอินเทอร์เน็ต
Amnesty International ได้จัดตั้งเว็บไซต์ irrepressible.info (แปลว่า ไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ฉลาดซะ) โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต สามารถร่วมลงนามบนเว็บไซต์นี้ได้