แนวทางการเซ็นเซอร์ตามแต่ละประเทศดูเหมือนจะเป็นแนวทางที่กูเกิลเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ จากเดิมที่มีการใช้แนวทางใน YouTube เป็นหลัก ตอนนี้ก็ถึงคราวของ Blogger แล้ว
โดยกูเกิลได้ปรับนโยบายเงียบๆ ว่าจะปรับโดเมนที่ให้บริการไปตามพื้นที่ของผู้เข้าชม เช่นออสเตรเลียนั้นจะถูก redirect ไปยัง [ชื่อบล็อก].blogspot.com.au
แทน URL บล็อกตามปรกติ โดยโดเมนเหล่านี้จะถูกเซ็นเซอร์ตามกฏหมายของแต่ละประเทศ
อย่างไรก็ดีผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าบล็อกผ่าน URL [ชื่อบล็อก].blogspot.com/ncr
เพื่อยืนยันว่าจะเข้าใช้งาน .com แทนโดเมนของประเทศนั้นๆ ได้
มันคือการทำให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละประเทศสบายใจว่าได้ปิดเนื้อหาในประเทศตัวเองแล้ว โดยที่ยังมีหนทางในการเข้าอ่านในทางอื่นๆ ได้นั่นเอง
หลังจากที่มีข่าวออกมาว่าทวิตเตอร์ ต้องยอมเลือกที่จะเซ็นเซอร์เพื่อแลกกับการเข้าถึงตลาดในประเทศที่ยังนิยมการปิดกั้นการรับข้อมูลของประชาชนอย่างเสรี ล่าสุดบางกอกโพสต์รายงานว่าปลัดกระทรวง ICT นางจีราวรรณ บุญเพิมได้ออกมาบอกว่าประเทศไทยขอต้อนรับการเปลี่ยนจุดยืนของทวิตเตอร์ในครั้งนี้
จากในรายงานของ The Next Web รัฐบาลไทยในปีที่แล้วได้ติดต่อกับ Facebook เพื่อทำการปิด Pages จำนวนกว่า 10,000 หน้าเนื่องจากหน้าดังกล่าวมีเนื้อหาที่ละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และรัฐบาลไทยอ้างว่าทางรัฐได้รับความร่วมมืออย่างดีจากบริษัทอินเทอร์เน็ตหลายราย และจะเริ่มติดต่อกับทวิตเตอร์ทันทีเพื่อเริ่มใช้คุณสมบัติใหม่นี้ของทวิตเตอร์
รายละเอียดอื่น ๆ แนะนำให้ไปอ่านจากที่มาครับ
เมื่อต้นปี 2011 ช่วงที่เหตุการณ์ประท้วงในแอฟริกาเหนือหรือ Arab Spring กำลังเริ่มต้นขึ้น บริษัทอย่าง Twitter เคยออกมาเรียกร้อง "เสรีภาพในการแสดงออก" ขอไม่ให้บล็อค
ดูเหมือนว่าการปิดหน้าเว็บเพื่อประท้วงร่างกฎหมาย PIPA และ SOPA โดยเว็บชื่อดังหลายเว็บได้ผล โดยสมาชิกสภาคอนเกรสเริ่มถอดถอนชื่อเพื่อสนับสนุนร่างกฎหมายสองฉบับดังกล่าวแล้ว เช่น ส.ว. Marco Rubio ที่สนับสนุน PIPA มาตลอดกับ ส.ส. รัฐอาริโซน่า Ben Quayle ที่เคยสนับสนุน SOPA
Rubio ได้เขียนบนหน้าเฟสบุ้คของตัวเองว่า "มันมีวิธีที่ดีกว่าที่จะต่อสู้กับการขโมยทรัพย์สิน ไอเดีย และอาชีพของชาวอเมริกันในโลกออนไลน์" และยังได้บอกอีกว่าสภาคอนเกรสไม่ควรที่จะรีบผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวที่อาจทำให้เกิดผลเสียตามมาได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
Mark Zuckerberg ออกมาแสดงตัวต้านร่างกฎหมาย SOPA/PIPA ชัดเจน โดยเขาโพสต์ข้อความบน Facebook เรียกร้องให้ผู้ใช้เน็ต "ปกป้องอินเทอร์เน็ตเอาไว้" จากกฎหมายที่อาจส่งผลเสียต่ออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้เขายังระบุว่ายุคสมัยนี้จำเป็นต้องมีนักการเมืองที่ "สนับสนุนอินเทอร์เน็ต" ด้วย
The internet is the most powerful tool we have for creating a more open and connected world. We can't let poorly thought out laws get in the way of the internet's development. Facebook opposes SOPA and PIPA, and we will continue to oppose any laws that will hurt the internet.
ปรากฎการณ์เว็บทั่วโลกร่วมกันต่อต้านร่างกฏหมายต่อต้าน Stop Online Piracy Act ตลอดวันนี้ เว็บที่เข้าร่วม เช่น Wikipedia, Scribd, Wired หรือ EFF บทความนี้จะแนะนำว่าทำไมหน่วยงานจำนวนมากในโลกจึงต่อต้านกฏหมายฉบับนี้ และเมืองไทยเองเพิกเฉยต่อกระบวนการเหล่านี้มาอย่างไรกันบ้าง เพื่อบางทีที่เรามองเหตุการณ์ในต่างประเทศแล้วเราอาจจะมองเห็นภาพที่สังคมอินเทอร์เน็ตต่อการเซ็นเซอร์
reddit และ Wikipedia นำหน้าไปก่อนแล้ว ล่าสุดเ
กระทรวงกิจการภายในของคูเวต (เทียบกับกระทรวงมหาดไทยบ้านเรา) ส่งคำขอไปยังกระทรวงการสื่อสารให้ "ปิด" (ต้นฉบับใช้คำว่า suspended) บัญชี Twitter แบบนิรนามทั้งหมด
กระทรวงกิจการภายในให้เหตุผลว่า การปิดบัญชีนิรนามที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ เพื่อป้องกันปัญหาการใช้ชื่อปลอมไปทำให้คนอื่นเสียชื่อเสียง กระทรวงฯ ยังยืนยันว่าประชาชนคูเวตยังมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเช่นเดิม ตราบเท่าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ในข่าวไม่ได้ระบุว่า "บัญชีนิรนาม" หมายถึงอะไร และมีตรวจสอบอย่างไร รวมถึงวิธีในการปิดว่าใช้การบล็อคหรือขอร้องให้ Twitter เพิกถอนบัญชี
เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมอำนวยการกำหนดนโยบายการป้องกันและปราบปรามการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมายหรือไม่เหมาะสมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารว่า ได้เสนอสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดงบซื้อเครื่อง "ตัดสัญญาณ" เว็บไซต์ต่างประเทศ มูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท ตามคำแนะนำของตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีนายหนึ่ง หลังพบว่าเว็บไซต์จากต่างประเทศจำนวนมากที่เนื้อหาที่อาจผิดกฎหมายเพราะดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันกษัตริย์
นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ของสภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการฯ สอบถามการใช้งบประมาณของกระทรวงไอซีที ว่ามีผลการดำเนินการงานปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ อย่างไรบ้าง
คำตอบของนางจีรวรรณคือ กระทรวงไอซีทีได้ทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงยขอความร่วมมือไปยังผู้ดูแล Facebook, Google, YouTube
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมามีรายงานว่าผู้บริหารกูเกิล, เฟชบุ๊ก, ยาฮู, และไมโครซอฟท์ได้เข้าประชุมร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศอินเดีย เพื่อหารือความเป็นไปได้ที่จะตัดกรองเนื้อหาออกจากเว็บเหล่านี้
รัฐมนตรี Kapil Sibal ระบุว่ามีการขอให้มีการคัดกรองเนื้อหาจริง แต่ไม่ได้เป็นการเซ็นเซอร์แต่อย่างใด แต่เป็นการขอให้คัดกรองเนื้อหารุนแรงที่ทำร้ายความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในชุมชน
ทางเฟชบุ๊กนั้นระบุว่าจะลบเนื้อหาที่ผิดต่อข้อตกลงการใช้งาน นั่นคือเนื้อหาที่เป็นความเกลียดชัง, การข่มขู่, กระตุ้นความรุนแรง, และอนาจาร
ส่วนทางกูเกิลนั้นระบุว่าจะลบเนื้อหาต่อเมื่อมันผิดกฏหมายและมาตรฐานของกูเกิล โดยกูเกิลจะไม่ลบเนื้อหาเพียงเพราะมันทำให้เกิดการโต้แย้ง
มัลลิกา บุญมีตระกูลรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงเดินหน้าโครงการ "Fight Bad Web" โดยวันนี้ได้ทวิตเชิญชวนแนวร่วมให้แจ้งเว็บไปยังเจ้าหน้าที่และแจ้งไปยังอีเมลของโครงการ
เนื้อหาสำคัญของวันนี้คงเป็นการอ้างว่ามีเด็ก 11 ขวบเข้าร่วมกิจกรรม "นักรบไซเบอร์ฝ่ายคุณธรรม" โดยคุณมัลลิกาชวนให้เปลี่ยนจากการเล่นเกมมาเป็นช่วยกันแจ้งเว็บผิดกฎหมายทั้งมั่นคง ลามก การพนัน ยาเสพติดและหมิ่นสถาบัน
ผมยกทวิตตลอดชั่วโมงที่ผ่านมา (ยกเว้นทวิตที่คุยกับคนอื่นๆ) ของคุณมัลลิกาไว้ท้ายข่าวพร้อมลิงก์ทุกอันเป็นที่มาของข่าวนี้
หลังจากรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ คือ นางสาวมัลลิกา บุญมีตระกูล ได้ออกมาแถลงเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา วันนี้นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้แถลงออกทาง Facebook ว่าทางพรรคไม่เคยมีนโยบายที่จะปราบปรามหรือปิดเว็บไซต์ Facebook, Twitter, หรือ YouTube
ในแถลงการระบุว่าการตีความแถลงการก่อนหน้านี้ว่าพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ปิดเว็บเหล่านี้นั้นเป็นการ "บิดเบือน" โดยนโยบายพรรคจริงๆ คือการขอให้ช่วยกันแจ้งไปยังพรรคประชาธิปัตย์ทางช่องทางต่างๆ ที่กำลังเปิดขึ้นมา
เว็บไซต์ TorrentFreak ที่ทำข่าวด้านการแชร์ไฟล์บนโลกอินเทอร์เน็ต ระบุว่า กูเกิลเริ่ม "กรอง" ผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับเว็บแชร์ไฟล์และเว็บบิตยอดนิยมหลายแห่ง เช่น The Pirate Bay, isoHunt, RapidShare, Torrent Reactor, Hot File ฯลฯ โดยกูเกิลจะ "กรอง" ผลการค้นหาคำเหล่านี้ออกจากระบบ autocomplete และ instant search ของตัวเอง
อย่างไรก็ตามกูเกิลไม่ได้ปิดกั้นผลการค้นหาจากเว็บไซต์เหล่านี้ในหน้าปกติ (คือปิดแต่ระบบ autocomplete/instant) ซึ่งผลคือปริมาณการค้นหาคำเหล่านี้ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ตามข้อมูลของ TorrentFreak บอกว่าคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับเว็บแชร์ไฟล์บางแห่ง เช่น 4shared, fileserve, filesonic ยังไม่ถูกกรอง
กูเกิลนั้นให้บริการทั่วโลกและเนื่องจากเป็นบริการหลักที่ผู้ใช้จำนวนมาก รัฐบาลหลายชาติจึงร้องขอ (หรือสั่ง) ไปยังกูเกิลให้ปิดข้อมูลหรือส่งข้อมูลของผู้ใช้ให้กับรัฐบาลอยู่เนืองๆ กูเกิลก็มักทำตามคำร้องขอเหล่านั้น แต่เพื่อความโปร่งใสก็จะทำรายงานสรุปตัวเลขการร้องขอออกมาเป็นรอบๆ และตอนนี้ก็ถึงรอบของการเปิดเผยข้อมูลในครึ่งปีแรกของปี 2011
ที่น่าสนใจคือรัฐบาลไทยได้ส่งคำสั่งไปยังกูเกิลสองครั้ง เพื่อให้ถอดวิดีโอหมิ่นฯ จำนวน 225 ชิ้น ทางกูเกิลได้ตอบรับคำร้องขอของรัฐบาลไทยด้วยการปิดไม่ให้วิดีโอเหล่านั้นเข้าถึงได้จากประเทศไทยเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ของวิดีโอทั้งหมด
ศึกระหว่างรัฐบาลจีนกับกูเกิลยังไม่จบง่ายๆ ถึงแม้ว่าจีนจะบล็อคบริการออนไลน์ของกูเกิลไปแล้วหลายอย่าง แต่เมื่อกูเกิลเองเริ่มมีบริการเวอร์ชันสมาร์ทโฟน ก็ยังเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ในจีนเข้าถึงบริการของกูเกิลได้
ล่าสุดมีรายงานว่าระบบ Great Firewall ของจีนได้บล็อคทราฟฟิกของ Gmail Android และ Android Market แล้ว (อย่างไรก็ตามผู้ใช้มือถือยังสามารถใช้งาน Gmail ผ่าน IMAP ได้อยู่) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าเว็บ Android Market ถูกบล็อคในจีนเช่นกัน
ปากีสถานเป็นอีกประเทศหนึ่งในโลกที่มีการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตอย่างเข้มข้น ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวแบน Facebook ไปเม
อัพเดตความคืบหน้าจากข่าว ซีเรียตัดเน็ตหลังผู้ชุมนุมประท้วงกว่า 50,000 คน จากที่อินเทอร์เน็ตถูกตัดไปในช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 3 มิ.ย. ปรากฏว่าเวลาประมาณ 22.00 น ตามเวลาท้องถิ่น อินเทอร์เน็ตบางส่วนในซีเรียก็กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง และกลับมาใช้ได้เต็มระบบประมาณ 04.00 น ของวันเสาร์ที่ 4 มิ.ย.
หลังอินเทอร์เน็ตกลับมาใช้งานได้ ก็มีคลิปของผู้ประท้วงชาวซีเรียที่ถ่ายจังหวะการโดนรัฐบาลปราบปราม ถูกอัพขึ้น YouTube ตามมาเป็นจำนวนมาก (คลิปทั้งหมดดูได้จาก Mashable)
รายงานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตฉบับล่าสุดที่ออกโดยหน่วยงานของสหประชาชาติ เตือนการปิดกั้นเน็ตของรัฐบาลทั่วโลกว่ากระทบต่อพัฒนาการของประชาธิปไตย
เราเห็นข่าวรัฐบาลซีเรียบล็อค Facebook และสร้างเพจ Facebook ปลอม กันมาแล้ว ความเคลื่อนไหวล่าสุดของซีเรียคือเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนจำนวน 50,000 คนออกมาประท้วงตามท้องถนน เป็นผลให้รัฐบาลซีเรียตัดสินใจตัดเน็ตทั้งประเทศตั้งแต่เวลาประมาณ 6.35 น ตามเวลาท้องถิ่นของวันศุกร์
อินเทอร์เน็ตของซีเรียถูกตัดไป 2 ใน 3 ของประเทศ ส่วนเราเตอร์หลักของซีเรียจำนวน 49 จาก 50 ตัวก็หายไปจาก routing table ทั่วโลก อย่างไรก็ตามยังมีเว็บไซต์ของรัฐบาลบางแห่งที่ยังเข้าได้จากนอกประเทศ
อินเทอร์เน็ตของซีเรียเกือบทั้งหมดให้บริการโดยรัฐวิสาหกิจ SyriaTel ไม่ว่าจะเป็นการต่อแบบ dial-up, DSL หรือ 3G
ปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตและเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ในการต่อสู้กับรัฐบาลกลายเป็นประเด็นใหญ่ในช่วงต้นปีนี้ หลังจากประชาชนในตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และประเทศตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนืออื่นๆ ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล
ประเทศอิหร่านซึ่งเคยเผชิญสถานการณ์นี้มาก่อนในปี 2009 (แต่ปราบได้) จึงตัดสินใจใช้มาตรการขั้นสุดท้ายในการควบคุมอินเทอร์เน็ต นั่นคือ สร้าง "เน็ตภายในประเทศ" ขึ้นมาใช้แทนอินเทอร์เน็ตมันเสียเลย
อิหร่านมองว่าโลกออนไลน์ถือเป็นภัยคุกคามของแนวคิด-วัฒนธรรมแบบตะวันตก โดยเฉพาะวัฒนธรรมอเมริกัน ซึ่งผู้นำทางศาสนาของอิหร่านคือ คาเมนี (Ali Khamenei) และผู้นำระดับสูงของอิหร่านได้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "soft war" หรือสงครามแบบที่ไม่ใช่อาวุธ
ผู้อ่าน Blognone คงติดตามข่าวการประท้วงไล่ประธานาธิบดีมูบารัคของอียิปต์เมื่อตอนต้นปี ซึ่งทางรัฐบาลอียิปต์ก็สั่งบล็อค Twitter และตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ เป็นการตอบโต้
เหตุการณ์ประท้วงจบลงด้วยการลาออกของประธานาธิบดีมูบารัค หลังจากนั้นเขาถูกนำตัวขึ้นศาลในหลายข้อหา (รวมไปถึงข้อหาสั่งฆ่าผู้ประท้วง ซึ่งมีบทลงโทษสูงสุดคือประหารชีวิต) แต่คดีแรกที่ศาลปกครองของอียิปต์ตัดสินให้เขามีความผิดคือข้อหาสั่งตัดอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของอียิปต์
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้รัฐบาลของประเทศอย่างบาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย หรือเยเมน สามารถเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่อะไรอื่นครับ เทคโนโลยีจากโลกตะวันตกนี่เอง
ข่าวบอกว่าบริษัทด้านความปลอดภัยดัง ๆ ในสหรัฐฯ และแคนาดา เช่น McAfee, Blue Coat, Netsweeper และ Websense ต่างก็มีลูกค้าเป็นรัฐบาลที่มีการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวดทั้งนั้น ซึ่งก็ดูขัดกับที่ Hilary Clinton เคยกล่าวประณามการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตไว้เมื่อปีที่แล้ว
ว่าแต่ ISP บ้านเราใช้ผลิตภัณฑ์ของเจ้าไหนครับ
ที่มา - The Wall Street Journal
LinkedIn เป็นเว็บไซต์ social network รายล่าสุดต่อจาก Twitter ที่ถูกบล็อคโดยรัฐบาลจีน หลังกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลพยายามใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์หรือ social network ในการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็น ซึ่งรัฐบาลจีนตรวจพบและอาจไม่เป็นที่ชื่นชอบนัก จึงเป็นสาเหตุให้ LinkedIn ถูกบล็อคในที่สุด
ทั้งนี้ Surya Yalamanchili อดีตพนักงาน LinkedIn ได้ตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุที่รัฐบาลจีนบล็อค LinkedIn อาจเป็นเพราะการอัพเดตสถานะ (status update) ของบัญชีผู้ใช้ใน LinkedIn นั้น สามารถตั้งค่าให้ดึงข้อมูลจาก Twitter มาอัพเดตใน LinkedIn ได้ ซึ่งทางการจีนได้ทำการบล็อค Twitter ไปก่อนหน้านี้แล้ว นี่จึงอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ LinkedIn ถูกบล็อคโดยรัฐบาลจีน
ต่อจากข่าว รัฐบาลลิเบียตัดเน็ตเป็นเวลา 6 ชั่วโมง ในคืนถัดมา หน่วยงานที่จับตาทราฟฟิกของอินเทอร์เน็ตลิเบียพบแพทเทิร์นของทราฟฟิกแบบเดียวกัน นั่นคืออินเทอร์เน็ตถูกตัดในช่วงเวลา 22.00 ก่อนจะกลับมาทำงานปกติตอน 5.30 ของคืนเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม มีเว็บไซต์บางแห่งที่โดนบล็อคตลอดทั้งวัน ได้แก่ YouTube, Facebook, Twitter และสำนักข่าว aljazeera.net
ตอนนี้ยังไม่มีคำอธิบายใดๆ จากรัฐบาลลิเบียว่าเพราะเหตุใดถึงเลือกบล็อคอินเทอร์เน็ตเฉพาะช่วงเวลาแบบนี้ ส่วนสถานการณ์การประท้วงก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ติดตามได้จากสื่อทั่วไปนะครับ