วันนี้เป็นวันแรกที่หนังสือ Countdown to Zero Day โดย Kim Zetter นักข่าวของ Wired วางจำหน่าย หนังสือรายงานถึงการสอบสวนที่มาของเวิร์ม Stuxnet ที่มุ่งโจมตีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านอย่างเจาะจง วันนี้บริษัทความปลอดภัยหลายแห่งก็รายงานข้อมูลบางส่วนจากหนังสือเล่มนี้
Mark Zuckerberg ถูกผู้พิพากษาศาลอิหร่านออกคำสั่งเรียกตัวไปให้การในประเด็นที่ว่าด้วยเรื่องการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล ภายหลังจากทางการอิหร่านได้ทำการแบน WhatsApp และ Instagram โดยอ้างเหตุผลเรื่องเดียวกันนี้
ABC News รายงานอ้างอิงจากสำนักข่าว AP ว่าศาลอิหร่านได้มีคำสั่งให้กระทรวงโทรคมนาคม ปิดกั้นประชาชนไม่ให้เข้าถึงบริการของอินสตาแกรม ด้วยเหตุผลของความเป็นส่วนตัว (over privacy concern) ซึ่งเป็นผลการตัดสินจากกรณีการฟ้องร้องกระทรวงโทรคมนาคมต่อศาลในประเด็นดังกล่าว
เว็บไซต์ Engadget รายงานโดยอ้าง Fox News ว่า ทางการของอิหร่านตัดสินใจที่จะปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเข้าถึงบริการ WhatsApp แม้ว่าบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอิหร่าน อย่างประธานาธิบดี Hassan Rouhani หรือรัฐมนตรีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม จะมีความเห็นคัดค้านก็ตาม
ด้านคณะกรรมการพิจารณาเนื้อหาเว็บไซต์ผิดกฎหมาย (Committee for Determining Criminal Web Content) ของอิหร่านระบุว่า เหตุผลในการปิดกั้นครั้งนี้เกิดจากการที่ WhatsApp ในปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นของ Facebook ซึ่งมี Mark Zuckerburg เป็นเจ้าของ โดยอ้างว่า Zuckerberg เป็นหนึ่งใน "American zionist" คนสำคัญ
ดูเหมือนว่าประธานาธิบดี Hassan Rouhani ของอิหร่านจะใช้งานทวิตเตอร์ในการเปิดประตูสู่โลกกว้างมากขึ้น หลังจากทวีตการคุยโทรศัพท์กับประธานาธิบดีบารัค โอบามา ล่าสุดได้ทวีตพูดคุยกับ Jack Dorsey ซีอีโอของ Twitter ถึงแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์
วันอังคารที่ผ่านมา Jack Dorsey ได้ทวีตถึงประธานาธิบดี Hassan Rouhani โดยกล่าวทักทายตอนเย็นและถามไปว่าชาวอิหร่านสามารถอ่านทวีตของประธานาธิบดีได้ไหม (อิหร่านมีการบล็อคอินเทอร์เน็ต) ในอีก 5 ชั่วโมงต่อมาประธานาธิบดี Hassan Rouhani ก็ทวีตตอบและกล่าวว่ากำลังมีความพยายามที่จะให้ประชาชนชาวอิหร่านเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้อิสระมากขึ้น
ความมั่นคงของโลกยุคใหม่อาจอยู่บนทวิตเตอร์ เมื่อ @HassanRouhani ทวิตเตอร์ภาคภาษาอังกฤษของประธานาธิบดี Hassan Rouhani แห่งประเทศอิหร่าน (คู่กัดของสหรัฐอเมริกา) โพสต์ข้อความว่าประธานาธิบดีเพิ่งโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา และเห็นชอบร่วมกันว่าทั้งสองประเทศควรร่วมมือแก้ปัญหาเรื่องอาวุธนิวเคลียร์
การโทรศัพท์คุยกันของสองประธานาธิบดีครั้งนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่ประธานาธิบดีของสองประเทศนี้โทรคุยกันโดยตรง เมื่อบวกกับการขยายผลทางทวิตเตอร์ก็ยิ่งกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจของการทูตสมัยใหม่เข้าไปอีก
หลังจากมีข่าวว่าสินค้าเน็ตเวิร์คของซิสโก้มีใช้งานในอิหร่านซึ่งผิดกฎหมายการส่งออกของสหรัฐฯ เพราะอิหร่านอยู่ในรายชื่อประเทศที่ถูกคว่ำบาตรและห้ามขายสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงให้ (ประเทศที่มีรายชื่อเหล่านี้ เช่น พม่า, ลิเบีย, เกาหลีเหนือ) ซิสโก้ก็มีการสอบสวนภายในแล้วพบว่าสินค้าที่ถูกส่งไปยังอิหร่านนั้นไปทาง ZTE บริษัทที่เป็นพันธมิตรทางการขายมานานถึงเจ็ดปี
เมื่อเดือนเมษายน อิหร่านประกาศเตรียมตัดอินเทอร์เน็ต สร้างบริการอินทราเน็ตใช้ในประเทศภายในห้าเดือน ล่าสุดรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไอซีทีของอิหร่านได้ประกาศเปิดตัวเครือข่ายอย่างเป็นทางการแล้ว
หลังการประกาศไม่กี่ชั่วโมง รัฐบาลอิหร่านได้ทำการปิดการเข้าถึง Google Search และ Gmail ทันที พร้อมทั้งกรองข้อมูลจากบริการทั้งสองอย่างไม่มีกำหนด โดยประเด็นนี้ ISNA คาดว่าเป็นเหตุมาจากวิดีโอ Innocence of Muslims ที่เผยแพร่ใน YouTube ซึ่งสร้างความระส่ำระสายให้กับโลกมุสลิม แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีการยืนยันว่าเกี่ยวข้องกับจริงหรือไม่
ความพยายามของรัฐบาลอิหร่านในการตัดขาดจากระบบอินเทอร์เน็ตของโลกภายนอกยังคงดำเนินต่อไป โดยล่าสุดรัฐบาลอิหร่านได้สั่งห้ามธนาคาร บริษัทประกัน และบริษัทโทรคมนาคม ใช้งานหรือติดต่อกับลูกค้าที่ใช้ระบบอีเมลของต่างชาติ
คำสั่งนี้หมายความว่า นอกจากกลุ่มธุรกิจดังกล่าวจะไม่สามารถใช้งานบริการอีเมลของต่างประเทศแล้ว ลูกค้าที่ติดต่อกับธุรกิจเหล่านี้ ก็จะไม่สามารถใช้บริการอีเมลอย่าง GMail หรือ Hotmail ได้ โดยจะต้องติดต่อด้วยอีเมลภายในประเทศ (.ir) เท่านั้น
Reza Taghipour รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีอิหร่านประกาศแผนการสร้าง "อินเทอร์เน็ตสะอาด" โดยการสร้างบริการต่างๆ ขึ้นทดแทนบริการจากโลกตะวันตก เช่น Iran Mail, Iran Search Engine โดยอิหร่านเคยประกาศแผนการนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว
แผนการนี้จะแบ่งออกเป็นช่วง ช่วงแรกจะตัดบริการใหญ่ๆ ที่มีรัฐบาลได้ทำขึ้นทดแทนแล้วเท่านั้น หลังจากนั้นภายในเดือนสิงหาคมจะตัดเว็บทั้งหมดออก เหลือให้เข้าได้เฉพาะเว็บที่อยู่ในรายการอนุญาตเท่านั้น
การสมัคร Iran Mail ทุกวันนี้ต้องอาศัย ชื่อจริง, บัตรประชาชน, และกรอกที่อยู่เต็ม โดยกระบวนการต้องได้รับการยืนยันจากหน่วยงานรัฐก่อนใช้งาน
หลังจากครั้งล่าสุดที่อิหร่านบล็อค HTTPS ทั้งประเทศ เมื่อวันที่ 12/02/12 พอวันนี้ 21/02/12 ก็เกิดการบล็อคอินเทอร์เน็ตขึ้นอีกครั้ง โดยคราวนี้แม้แต่ VPN ก็โดนไปกับเขาด้วยครับ
ความเดิมจากตอนที่แล้วที่ทางอิหร่านได้ทำการบล็อค HTTPS ทั่วประเทศ แต่เรื่องราวมันกลับไม่จบลงง่าย ๆ เพราะว่าล่าสุด ทางอิหร่านได้ทำการบล็อคเว็บไซต์เพิ่มเติมจากที่บล็อคอยู่แล้ว คือ Google แบบเข้ารหัส HTTPS, YouTube, Gmail รวมถึงบรรดาเว็บเมลต่าง ๆ อย่างเช่น Hotmail เป็นต้น
ซึ่งการบล็อคครั้งนี้เป็นสัญญาณอย่างแน่ชัดว่า อิหร่านเริ่มจะเอาจริงกับการปิดกั้นสื่อในประเทศแล้ว
โครงการ Tor ที่ใช้ปกปิดตัวตนของผู้ใช้ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในประเทศที่ปิดกั้นอินเทอร์เน็ตสูงๆ เช่นอิหร่านและจีน ตอบโต้มาตรการปิดกั้น HTTPS ของอิหร่านด้วย obfsproxy ซึ่งเป็นพรอกซี่ที่จะปลอมข้อความที่เข้ารหัสแบบ SSL ให้เป็นข้อความที่ดูเหมือนกับข้อความที่ไม่ได้เข้ารหัสทั่วไป
กลุ่มผู้ใช้ Tor รายงานว่ารัฐบาลอิหร่านได้บล็อคทราฟฟิกอินเทอร์เน็ตส่วนที่เป็น HTTPS/SSL ทำให้เว็บไซต์ที่เชื่อมต่อผ่าน HTTPS ไม่สามารถใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น Google, Yahoo, Facebook อะไรก็ตามที่ผ่าน HTTPS ย่อมโดนบล็อคทั้งหมด
ทางการอิหร่านไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ ในเรื่องนี้ ซึ่งสื่อตะวันตกคาดการณ์ว่าการบล็อค HTTPS ครั้งนี้เป็นการทดลองระบบเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตของประเทศ (ลักษณะเดียวกับ Great Firewall ของจีน) ที่ทางรัฐบาลเคยประกาศไว้ว่าจะทำ และรอบนี้น่าจะทดสอบบล็อคเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
หลายๆ คนคงทราบดีว่าอิหร่านเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดกับอินเทอร์เน็ตและกิจกรรมออนไลน์ของประชาชนเป็นอย่างมาก (ใน Blognone ก็เคยรายงานอยู่หลายข่าว ติดตามได้จากแท็ก Iran) คดีล่าสุดที่ได้รับความสนใจจากต่างชาติเป็นเรื่องที่ศาลฎีกาของอิหร่านตัดสินพิพากษาประหารชีวิตโปรแกรมเมอร์คนหนึ่งด้วยข้อหา "ดูหมิ่นความเป็นที่สักการะของศาสนา"
กลุ่มแฮ็กเกอร์ Anonymous ที่เคยเป็นข่าวกรณีออกมาสู้เพื่อ WikiLeaks และประกาศสงครามกับโซนี่ ประกาศความสำเร็จในการเจาะเว็บของกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน
ปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตและเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ในการต่อสู้กับรัฐบาลกลายเป็นประเด็นใหญ่ในช่วงต้นปีนี้ หลังจากประชาชนในตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และประเทศตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนืออื่นๆ ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล
ประเทศอิหร่านซึ่งเคยเผชิญสถานการณ์นี้มาก่อนในปี 2009 (แต่ปราบได้) จึงตัดสินใจใช้มาตรการขั้นสุดท้ายในการควบคุมอินเทอร์เน็ต นั่นคือ สร้าง "เน็ตภายในประเทศ" ขึ้นมาใช้แทนอินเทอร์เน็ตมันเสียเลย
อิหร่านมองว่าโลกออนไลน์ถือเป็นภัยคุกคามของแนวคิด-วัฒนธรรมแบบตะวันตก โดยเฉพาะวัฒนธรรมอเมริกัน ซึ่งผู้นำทางศาสนาของอิหร่านคือ คาเมนี (Ali Khamenei) และผู้นำระดับสูงของอิหร่านได้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "soft war" หรือสงครามแบบที่ไม่ใช่อาวุธ
มีรายงานว่าเวิร์มชื่อ Stuxnet โจมตีระบบคอมพิวเตอร์ในอินเดีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน และที่โดนเยอะสุดคืออิหร่าน (30,000 ไอพี) เวิร์มตัวนี้ออกแบบมาโจมตีเครื่องวินโดวส์ที่รันระบบ SCADA (supervisory control and data acquisition) ซึ่งใช้ควบคุมการทำงานในโรงงาน และสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา โดยออกแบบมาโจมตีระบบของบริษัท Siemens โดยเฉพาะ
หน่วยงานด้านโทรคมนาคมของประเทศอิหร่าน ประกาศปิดไม่ให้คนในประเทศใช้ Gmail โดยจะเปิดบริการอีเมลแห่งชาติอิหร่านขึ้นมาให้ใช้ในเร็วๆ นี้
รายละเอียดของเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนนัก โฆษกของกูเกิลบอกแค่ว่ามีผู้ใช้รายงานเข้ามาจำนวนหนึ่งว่าใช้ Gmail ไม่ได้ และปริมาณทราฟฟิกที่มาจากอิหร่านก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
ช่วงนี้สถานการณ์การเมืองของอิหร่านกำลังตึงเครียด เพราะผู้ประท้วงรัฐบาลอิหร่านได้นัดออกมาชุมนุมครั้งใหญ่ในวันนี้ (11 ก.พ.) ซึ่งเป็นวันครบรอบการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน มีรายงานว่า SMS ใช้งานไม่ได้เป็นบางครั้ง แต่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือยังใช้งานได้อยู่
ที่มา - FOXNews
Eric Schmidt ซีอีโอของกูเกิลให้สัมภาษณ์ว่าเขาหวังว่าคลิปจากฝ่ายประท้วงรัฐบาลอิหร่านที่เผยแพร่ใน YouTube จะช่วยแพร่ข่าวสารที่ถูกฝ่ายรัฐบาลสกัดกั้นไว้ได้ ที่ผ่านมาได้มีคลิปที่อัพโหลดจากมือถือขณะที่ Ndea Soltani วัยรุ่นหญิงชาวอิหร่านคนหนึ่งถูกยิงเสียชีวิต คลิปนี้อัพโหลดขึ้น YouTube และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนอินเทอร์เน็ต
Schmidt เสริมว่า "รัฐบาลทั่วโลกแม้แต่ประเทศประชาธิปไตยก็ตาม กำลังพบปัญหาในการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต ในประเทศเผด็จการและเป็นสังคมปิดยิ่งพยายามปิดกั้นการสื่อสารกับภายนอกประเทศ แต่แนวทางนี้จะไม่มีวันสำเร็จ"
Schmidt ขยายบทสัมภาษณ์ของเขาเพิ่มเติมว่า ประชาชนไม่สามารถถูกกดขี่เอาไว้ได้ ประเทศไม่สามารถปิดกั้นประชาชนอยู่ในความมืดได้
ภาคต่อจาก รัฐบาลอิหร่าน vs Twitter ภาคสอง
มีรายงานว่าทางการอิหร่านสามารถบล็อคสื่อออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, MySpace, Twitter ได้หมดแล้วในตอนเช้าวันพุธ (เมื่อวานนี้) และตัวละครสำคัญอีกฝ่ายก็ออกมามีบทบาทแล้ว
อิหร่านปกครองด้วยระบอบผู้นำทางศาสนาคือ Ayatollah Ali Khamenei เป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ซึ่งระบอบนี้ใช้มาตั้งแต่ Ruhollah Khomeini ปฏิวัติอิสลามสำเร็จในปี 1979 ส่วนประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารประเทศตามวาระจากการเลือกตั้ง ผู้นำสูงสุดของอิหร่านมีกองทหารส่วนตัวที่เรียกว่า Revolutionary Guard ซึ่งแยกจากระบบกองทัพปกติ และเป็นกองกำลังที่เข้มแข็งมากที่สุดในอิหร่าน รวมทหารชั้นหัวกะทิไว้ในนี้
จากข่าว เมื่อสื่อออนไลน์มีบทบาทในเหตุการณ์ประท้วงที่อิหร่าน เรื่องราวยังดำเนินต่อไป การใช้ Twitter รายงานความเคลื่อนไหวในอิหร่านนั้นขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดความกลัวว่ารัฐบาลอิหร่านจะค้นหาข้อมูลและจับกุมผู้ที่ใช้ Twitter รายงานการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล และอย่างที่หลายๆ คนเดาได้ว่า Twitter รวมถึง social network ถูกบล็อคในอิหร่านแล้ว
เมื่อการสื่อสารหยุดชะงัก ประชาชนอิหร่านยิ่งออกมาในท้องถนน ฝั่งประชาคม Twitter โลกก็ได้เชิญชวนให้ผู้ใช้ Twitter เปลี่ยนเขตเวลาเป็น GMT +03:30 Tehran โดยหวังว่ามันจะช่วยให้ซอฟต์แวร์เซ็นเซอร์ Twitter ของอิหร่านทำงานไม่ทัน (ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าแนวคิดนี้ทำงานได้จริง)
ข่าวใหญ่รอบโลกวันนี้คือเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิหร่าน หลังจากประธานาธิบดี Ahmadinejad ประกาศชัยชนะการเลือกตั้งวาระที่สองของเขาไปแบบน่ากังขา ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุนฝ่ายตรงข้าม Mousavi ออกมาเดินขบวนประท้วงในเมือง และปะทะกันไปหลายยก
ทางการอิหร่านบล็อคเว็บไซต์ Facebook หลังพบการลงความคิดเห็น และมุมมองของผู้สมัครประธานาธิบดีอิหร่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวเก็งของการเลือกตั้งในเดือนหน้า
ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ระบุว่ารัฐบาลอิหร่านบล็อกเว็บไซต์ Facebook ท่ามกลางการรณรงค์เลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน ซึ่งจะมีขึ้น ในวันที่ 12 มิ.ย. ซึ่งผู้ใช้งานที่พยายามเข้าใช้งานจะพบความข้อความ ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์นี้ได้