International Trade Commission
เป็นอีกคดีระหว่างแอปเปิลกับซัมซุง ที่ฟ้องกันภายใต้อำนาจของคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) ซึ่งมีอำนาจสั่งแบนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในอเมริกา
คดีนี้ซัมซุงยื่นฟ้องแอปเปิลว่าละเมิดสิทธิบัตร 4 รายการ โดยแบ่งเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับ 3G 2 รายการ และสิทธิบัตรเกี่ยวกับอินเทอร์เฟซของสมาร์ทโฟนอีก 2 รายการ ผลสรุปคือผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินว่าแอปเปิลไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรทั้ง 4 รายการ
ผลการตัดสินของ ITC ยังไม่สิ้นสุด เพราะคณะกรรมการชุดใหญ่ของ ITC จะต้องพิจารณาคำตัดสินของผู้พิพากษาอีกรอบหนึ่ง ว่าตกลงแล้วจะยึดตามคำตัดสินนี้หรือไม่
หลังจากที่คณะกรรมการการค้าสากลในสหรัฐ (ITC) ได้ตัดสินว่า Xbox 360 ของไมโครซอฟท์ได้ละเมิดสิทธิบัตรหลายใบของโมโตโรล่าเกี่ยวกับเทคโนโลยี Wi-Fi โดยล่าสุด ITC ได้ออกมาบอกว่าการดำเนินการลงโทษไมโครซอฟท์จะต้องถูกเลื่อนไปหลังจากที่คณะกรรมการได้ขอให้ผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้ในตอนแรกกลับไปพิจารณาคดีอีกครั้งใหม่ ซึ่งโดยปกติแล้วการที่จะเริ่มพิจารณาคดีใหม่อีกรอบจะใช้เวลามาก และเป็นไปได้ว่าภายในปีนี้ไมโครซอฟท์จะไม่ถูกลงโทษใด ๆ
เคสนี้เป็นเคสที่น่าสนใจ เนื่องจากการที่ ITC ได้ส่งเรื่องกลับไปให้มีการพิจารณาอีกครั้งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก เช่นกัน
ที่มา - Engadget
Bloomberg รายงานว่ากูเกิลต้องการที่จะแบนการจำหน่ายไอโฟนและไอแพ็ดภายในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตร 3G ของ Motorola Mobility หนึ่งในบริษัทของกูเกิล โดยคณะกรรมาธิการการค้าสากลของสหรัฐ (ITC) บอกว่าจะพิจารณาตามคำขอของกูเกิล และจะเผยคำตัดสินในวันที่ 24 สิงหาคมที่จะถึงนี้ว่าจะไม่ให้แอปเปิลนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาในสหรัฐฯได้
ข่าวนี้ต่อจาก ITC ตัดสินชั้นต้น ไมโครซอฟท์ชนะคดีสิทธิบัตรโมโตโรลา
โนเกียเป็นบริษัทล่าสุดที่เข้าสู่สงครามสิทธิบัตร โดยยื่นฟ้องคู่แข่ง 3 บริษัทคือ HTC, RIM, ViewSonic ในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี
การฟ้องร้องครั้งนี้แยกเป็น 4 คดี ครอบคลุมสิทธิบัตรรวม 45 รายการ
สงครามสิทธิบัตรดูเหมือนจะไม่จบลงกันง่ายๆ เมื่อคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (International Trade Commission : ITC) ประกาศตัดสินว่า Apple ละเมิดหนึ่งในสี่สิทธิบัตรของ Motorola ด้วย iPhone จริง ในการพิจารณาชั้นต้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมานี้
ถ้าหากคณะผู้พิพากษาในการตัดสินชั้นต่อไปเห็นพ้องกับการตัดสินชั้นต้นนี้ ก็อาจจะมีผลให้ Apple ถูกยกเลิกการขาย iPhone ในสหรัฐฯ
การตัดสินขั้นต้นนี้พิจารณาจากสิทธิบัตรของ Motorola ที่เกี่ยวข้องกับ Wi-fi ซึ่งผู้พิพากษาชั้นต้นของ ITC เห็นว่าสิทธิบัตรนี้คลอบคลุมถึงเทคโนโลยีที่ใช้ใน iPhone จริง และถึงแม้ว่านี้จะเป็นเพียงก้าวแรกสู่ขบวนการตัดสินที่จะต้องสืบยืดยาวออกไปอีกไกล แต่คำตัดสินนี้ดูจะไม่เป็นผลดีต่อ Apple เท่าใดนัก
ความคืบหน้าของคดีที่แอปเปิลยื่นฟ้องต่อ ITC ในปี 2010 ว่าโมโตโรลาละเมิดสิทธิบัตรสมาร์ทโฟนของตัวเอง ปรากฏว่าผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินในชั้นต้นแล้วว่าโมโตโรลาไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิลแต่อย่างใด
ขั้นต่อไปคือคณะกรรมการ ITC จำนวน 6 คนจะพิจารณาคำตัดสินของผู้พิพากษา และตัดสินใจอีกครั้งว่าจะยืนตามคำพิพากษานี้หรือไม่
แอปเปิลปฏิเสธจะให้ความเห็นในคดีนี้ ส่วนตัวแทนของโมโตโรลาก็ออกมาแสดงความยินดีตามความคาดหมาย
ฝั่งโมโตโรลาเองก็มีคดีฟ้องแอปเปิลต่อ ITC ว่าละเมิดสิทธิบัตร 18 รายการของตัวเองเช่นกัน
ต่อเนื่องจากข่าวเมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ฟ้องโมโตโรล่าเพราะโทรศัพ
ข่าวต่อเนื่องจาก แอปเปิลชนะคดี HTC ที่ศาล ITC, คำสั่งห้ามนำเข้าโทรศัพท์แอนดรอย
คดีที่พันกันจนยุ่งของวงการสมาร์ตโฟนนั้นเริ่มงวดเข้ามาถึงช่วงที่คำตัดสินคดีต่างๆ หรืออย่างน้อยก็ความคุ้มครองชั่วคราวเริ่มออกมา ล่าสุดคือคดีที่แอปเปิลฟ้อง HTC นั้น ศาล ITC ได้พิพากษาให้แอปเปิลชนะคดี และมีคำสั่งให้ห้ามนำเข้าโทรศัพท์รุ่นที่ถูกตัดสินว่าละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเข้าสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2012 เป็นต้นไป
คำพิพากษานี้แม้จะเป็นชัยชนะของแอปเปิล แต่ในความเป็นจริงคือศาล ITC ตีคำร้องของแอปเปิลตกไปทั้งหมดเหลือเพียงสิทธิบัตรหมายเลข 5,946,647 หรือสิทธิบัตร '647 ซึ่งเป็นกระบวนการแสดงข้อมูลด้วยการแท็บบนข้อมูล
FlashPoint Technology เป็นอดีตบริษัทของแอปเปิลที่แยกตัวออกมา และยื่นฟ้องคดีสิทธิบัตรเกี่ยวกับกล้องดิจิทัลต่อ ITC ว่ามีผู้ผลิตมือถือหลายราย ได้แก่ HTC, RIM, LG, Nokia ละเมิดสิทธิบัตรของตัวเอง
คดีนี้ฟ้องตั้งแต่กลางปี 2010 ซึ่ง RIM, LG, Nokia เลือกทำความตกลงกับ FlashPoint นอกศาล เพื่อลดโอกาสที่จะถูกแบนห้ามขายมือถือในสหรัฐ
ส่วน HTC เลือกจะสู้คดีต่อ และล่าสุด ITC ตัดสินแล้วว่า HTC ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของ FlashPoint แต่อย่างใด
ที่มา - The Register, Android and Me
เรื่องราวการทะเลาะกันของสองบริษัทไอทีโดยมีแอปเปิลเป็นหัวโจกคงจะไม่จบง่ายๆ ถ้าใครยังไม่เข้าใจหรือยังไม่เก็ตในเรื่องนี้ (เพราะปกติมันจะเป็นข่าวการกัดกันไป กัดกันมาของซัมซุงมากกว่า) ก็จะขอย้อนอดีตคร่าวๆ ละกันนะครับ คือดราม่านี้มันเริ่มต้นจากการที่แอปเปิลเป็นฝ่ายเริ่มฟ้องเอชทีซี ว่าฝ่ายเอชทีซีละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งเบื้องต้น ITC ตัดสินว่าผิดจริง ฝ่ายเอชทีซีจึงแก้เกมด้วยการเข้าซื้อ S3 Graphics จาก VIA แล้วเอามาฟ้องอีกรอบ และก็ทำให้แอปเปิลพ่ายแพ้ไปในที่สุด แต่ยังทิ้งท้ายว่าฝ่ายเอชทีซีเองก็ยังยินดีเจรจา
ฝุ่นควันของการควบกิจการกูเกิล-โมโตโรลายังไม่ทันจาง ไมโครซอฟท์ (ซึ่งมีข่าวว่าอยากซื้อสิทธิบัตรของโมโตโรลา) ก็เปิดเกมลุยเต็มท
ความคืบหน้าจากข่าว กูเกิลฟ้องไ
การฟ้องร้องเริ่มขึ้นอีกแล้ว เมื่อ HTC ยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (ITC) และศาลรัฐเดลาแวร์ ว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 3 ชิ้น (มีรายละเอียดคือเป็นสิทธิบัตรด้าน Wi-Fi หนึ่งชิ้น) และขอให้สั่งห้ามนำสินค้าของแอปเปิลคือ แมคอินทอช ไอพ็อด ไอโฟน ไอแพด เข้าไปขายในสหรัฐ
นอกจากนี้ HTC ยังเรียกร้องค่าเสียหายจากแอปเปิลเป็นมูลค่า 3 เท่าของการละเมิด
ปรากฏการณ์ฟ้องกันไปมายังไม่จบสิ้น ล่าสุดกูเกิลก็ได้ร้องต่อคณะอนุกรรรมการของคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) โดยกล่าวหาไมโครซอฟท์ว่าได้เปิดเผยซอร์สโค้ดที่เป็นความลับสูงและเกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการ Android ในระหว่างที่บริษัทกำลังต่อสู่ในเรื่องสิทธิบัตรกับโมโตโรล่า กูเกิลอ้างว่าไมโครซอฟท์ได้เปิดเผยซอร์สโค้ดให้กับที่ปรึกษาที่ทำงานให้ทั้งไมโครซอฟท์และเอชพี ซึ่งกูเกิลมองว่าเป็น "คู่แข่งโดยตรง" นั่นเอง
ด้านไมโครซอฟท์ก็โต้กลับกูเกิลว่าที่ปรึกษาของบริษัทได้พูดคุยกับทนายความภายนอกบริษัทเกี่ยวกับกรณีเทคโนโลยีการพิมพ์เพียงกี่ไม่กี่ประโยคเท่านั้น
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ที่กูเกิลบอกว่าไมโครซอฟท์เปิดเผยปล่อยซอร์สโค้ดที่เป็นความลับสูงนั้นคืออะไร เนื่องจาก Android เป็นโอเพนซอร์ส
ข่าวต่อเนื่องสองข่าวจากคดีแอปเปิลฟ้อง HTC ละเมิดสิทธิบัตร และเบื้องต้นฝ่าย HTC ผิดจริง และ HTC ซื้อบริษัท S3 จาก VIA เพื่อหวังสิทธิบัตรคุ้มกาย
กรณีของ S3 ก่อนหน้านี้ได้ฟ้องแอปเปิลว่าละเมิดสิทธิบัตรด้านการ์ดจอ ซึ่งผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินว่าแอปเปิลผิดจริง โดยเครื่องแมคที่ใช้การ์ดจอจาก NVIDIA ละเมิดสิทธิบัตรของ S3 สองชิ้น และถ้าคณะกรรมการชุดใหญ่ของ ITC มีความเห็นตามผู้พิพากษา แอปเปิลอาจโดนสั่งห้ามนำเข้าเครื่องแมคบางรุ่นไปขายสหรัฐได้
ข่าวต่อเนื่องจาก ITC ตัดสินเบื้องต้นระบุ HTC ละเมิดสิทธิบัตรแอปเปิลจริง มีคนไปค้นข้อมูลของสิทธิบัตร 2 ใบที่เป็นปัญหา พบว่าถูกยื่นจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 1994 และ 1996 หรือ 17 ปีก่อน
สิทธิบัตรใบแรกหมายเลข 6,343,263 ชื่อว่า "Real-time signal processing system for serially transmitted data" เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลระหว่างเครือข่าย โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครือข่ายไร้สายโดยตรง (แปลว่าอุปกรณ์ทุกชนิดที่รับ-ส่งข้อมูล ก็มีโอกาสละเมิดสิทธิบัตรชิ้นนี้ ถ้ายึดตามคำตัดสินของ ITC)
คณะอนุกรรรมการของคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission - ITC) ได้มีคำตัดสินกรณีแอปเปิลยื่นร้องต่อคณะกรรมการว่า HTC ละเมิดสิทธิบัตรของตนจำนวนสิบใบในเบื้องต้นว่า HTC มีความผิดจริงในสิทธิบัตร 2 ใบ
ผลของคำตัดสินนี้ทำให้เรื่องถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมการชุดใหญ่ (กระบวนการคล้ายๆ กกต. บ้านเราที่ต้องยื่นเรื่องไปที่กกต. จังหวัดก่อนส่งเรื่องเข้ากกต. ชุดใหญ่) โดยหากกรรมการชุดใหญ่ยังยืนยันว่า HTC มีความผิดอยู่ ก็จะถูกสั่งห้ามนำเข้าโทรศัพท์ Android ทั้งหมด
แอปเปิลได้ยื่นเรื่องต่อ International Trade Commission (ITC) เพื่อที่จะขอให้หยุดการขายสินค้าของ HTC บางชนิดที่ได้ทำการละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล โดยการยื่นเรื่องในครั้งนี้มีลักษณะคล้ายกับครั้งก่อนที่แอปเปิลพยายามที่จะหยุดการนำเข้าสินค้าของซัมซุงด้วยเหตุผลเดียวกัน
การต่อสู้ทางกฎหมายของแอปเปิลและ HTC ไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อต้นปีที่แล้ว แอปเปิลได้ทำการฟ้อง HTC ด้วยข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล โดย HTC เลือกที่จะฟ้องกลับและอ้างว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรของ HTC จำนวนห้าฉบับด้วยกัน
แม้ว่านักกฎหมายจาก ITC เองได้ออกมากล่าวว่าการเข้าข้าง HTC จะเป็นเรื่องดีกว่าสำหรับทุกคน แต่แอปเปิลก็ยังเลือกที่จะยื่นคำร้องต่อ ITC อยู่ดี
ข่าวนี้ต่อจากข่าวเก่าเมื่อปีที่แล้ว แอปเปิลฟ้อง Kodak กลับฐานละเมิดสิทธิบัตร (ซึ่งเป็นการโต้กลับของแอปเปิลหลัง Kodak ฟ้องแอปเปิลและ RIM - สรุปว่าเรื่องนี้มี 2 คดีนะครับ)
ล่าสุดทางผู้พิพากษาของ ITC ได้ตัดสินแล้วว่า Kodak ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล ซึ่งเป็นการปูทางให้ Kodak สามารถตกลงยุติคดีกับแอปเปิลได้ง่ายขึ้น (ก่อนหน้านี้ Kodak เคยเจรจายุติคดีกับ Samsung และ LG ในลักษณะคล้ายๆ กัน ซึ่งก็ได้เงินมาหลายร้อยล้านดอลลาร์)
หลังจากที่ International Trade Commission หรือ ITC ได้ตัดสินว่าแอปเปิลมิได้มีความผิดในการละเมิดสิทธิบัตรของโนเกียแต่อย่างใดในคราวที่แล้ว คราวนี้โนเกียก็ได้ตัดสินที่จะยื่นคำร้องถึง ITC อีกรอบ โดยในคราวนี้ได้อ้างสิทธิบัตรของโนเกียที่ไม่ได้พูดถึงในการยื่นคำร้องคราวที่แล้วกว่าเจ็ดอย่าง ในฮาร์ดแวร์ที่แอปเปิลขายทั้งหมดตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นดนตรีพกพา คอมพิวเตอร์ และ แท็ปเล็ต
โดยสิทธิบัตรกลุ่มนี้ รวมไปถึงระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานมัลติทาสกิ้งได้, การ Sync ข้อมูลผู้ใช้, โทรศัพท์และการเชื่อมต่อและใช่้งานอุปกรณ์ Bluetooth
จากศึกที่โนเกียได้ร้องต่อคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) ว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรของตนและให้ ITC ห้ามการนำเข้าสินค้าของแอปเปิล ก่อนที่แอปเปิลจะฟ้องโนเกียด้วยโทษฐานละเมิดสิทธิบัตรเช่นกัน (ดูรายชื่อสิทธิบัตร)
ล่าสุด คณะกรรมการการค้าได้มีคำตัดสินในคดีหนึ่งออกมาแล้วว่า แอปเปิลไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรห้าชุดของโนเกีย โดยคำวินิจฉัยนี้จะต้องรอผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการ ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป
ข่าวนี้ต่อเนื่องจากปีก่อนซึ่งเริ่มจาก คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ ITC จะเข้าสอบสวนแอปเปิลและ RIM ฐานละเมิดสิทธิบัตรตามคำร้องขอของ Kodak แล้วทาง ITC ก็ตัดสินว่าไม่ได้ละเมิด แต่ล่าสุด ITC กล่าวว่าจะเริ่มทำการสอบสวนคดีนี้อีกครั้ง และจะออกคำตัดสินในวันที่ 23 พฤษภาคม
Antonio Perez ประธานและซีอีโอของ Kodak กล่าวว่าหากทางบริษัทชนะคดีนี้ก็น่าจะได้เงินจากสองบริษัทราว 1 พันล้านดอลลาร์ โดยบริษัทจะโต้แย้งในผลการตัดสินครั้งก่อนของผู้พิพากษา Paul Luckern ที่ตัดสินว่าไม่ได้ละเมิด โดยอ้างจากกรณีที่แอลจีและซัมซุงต่างยอมจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับ Kodak ก่อนหน้านี้
LG ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการด้านการค้าระหว่างชาติ (ITC) ของสหรัฐ ว่าโซนี่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของ LG หลายชิ้น และขอให้ ITC สั่งโซนี่ให้หยุดขายสินค้าเหล่านี้ในตลาดสหรัฐ
คำร้องของ LG ระบุว่าโซนี่ละเมิดสิทธิบัตรด้านทีวีจำนวน 4 ชิ้น และสิทธิบัตรด้าน Blu-ray จำนวน 4 ชิ้น ซึ่งหมายถึงทีวีตระกูล Bravia และ PlayStation 3 นั่นเอง (ในคำร้องไม่ได้พูดถึงเครื่องเล่น Blu-ray ชัดเจน แต่พูดถึง PS3)
การยื่นคำร้องของ LG คราวนี้เป็นการตอบโต้คำร้องของโซนี่ต่อ ITC ว่ามือถือของ LG ละเมิดสิทธิบัตรโซนี่ 7 ชิ้น เมื่อเดือนธันวาคม 2010