Apple ปล่อยอัพเดต macOS Big Sur เวอร์ชั่น 11.3 แล้ว เพิ่มการรองรับการใช้งาน AirTag ในแอป Find My, ปรับปรุงการรันแอป iOS และ iPadOS บนเครื่อง Mac ที่ใช้ชิป M1 ให้ดีขึ้น เช่นเพิ่มคีย์ลัดแทนการคลิก แอป iPad รันในหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นได้หากหน้าจอเครื่องรองรับ และเพิ่ม Controller Emulator ให้ผู้ใช้ใช้คีย์บอร์ดเครื่อง Mac แทนจอยสำหรับควบคุมเกม iOS, iPadOS ได้
Safari เพิ่มการปรับแต่งหน้าจอแยกส่วน ต่างๆ ของหน้า Start Page เช่น Favorites, Reading List, Siri Suggestions, Privacy Report, และเพิ่ม API เช่น Web Speech API ให้นักพัฒนาใช้การพูดด้วยเสียงสำหรับการใส่บทบรรยายแบบเรียลไทม์, การพิมพ์ด้วยเสียง และการใช้งานหน้าเว็บด้วยคำสั่งเสียงได้
แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการ iOS 14.5 และ iPadOS 14.5 ซึ่งเป็นอัพเดตใหญ่ ตามกำหนดที่แอปเปิลบอกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ผู้ใช้งานสามารถอัพเดตผ่าน OTA ได้โดยไปที่แอป Settings > General > Software Update
ในอัพเดต iOS 14.5 นี้มีของใหม่หลายรายการดังนี้
แอปเปิลออกอัพเดตย่อย macOS Big Sur 11.2.2 เพื่อแก้ปัญหา MacBook Pro (รุ่นปี 2019 ขึ้นไป) และ MacBook Air (รุ่นปี 2020 ขึ้นไป) โดยแอปเปิลระบุว่าเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เมื่อเชื่อมต่อ MacBook รุ่นดังกล่าวกับ Hub หรือ Dock ของผู้ผลิต 3rd Party ผ่าน USB-C
แอปเปิลไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหานี้ว่าความเสียหายมีอาการลักษณะอย่างไร แต่ทั้งนี้ผู้ใช้งาน macOS Big Sur โดยเฉพาะ MacBook สองรุ่นที่กล่าวข้างต้น สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการได้ผ่าน Software Update ใน System Preferences
อัพเดต macOS Big Sur 11.2.2 นี้ สามารถอัพเดตได้ในอุปกรณ์ Mac ทุกรุ่นที่อัพเดต Big Sur ได้ ไม่จำกัดแค่ MacBook กลุ่มที่มีปัญหา
Red Canary นักวิจัยความปลอดภัยค้นพบมัลแวร์ที่เขียนมาสำหรับ Apple M1 ตัวที่ 2 ชื่อว่า Silver Sparrow ปัญหาคือนักวิจัยยังไม่รู้ว่าตัว Sparrow เป็นมัลแวร์ประเภทไหนหรือทำอะไรได้ เพราะมันยังไม่ได้แผลงฤทธิ์ใด ๆ ออกมา เหมือนอยู่เฉย ๆ ในเครื่องเหยื่อรอคำสั่งอีกทีเท่านั้น ซึ่ง Canary บอกว่าน่ากลัวมาก ๆ เพราะมันแสดงถึงความช่ำชองและมากประสบการณ์ของแฮกเกอร์
แอปเปิลออกอัพเดตย่อยของระบบปฏิบัติการ macOS Big Sur 11.2.1 ซึ่งเป็นอัพเดตที่ออกมาต่อจาก Big Sur 11.2 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ผู้ใช้ macOS สามารถอัพเดตได้ที่ส่วน Software Update ใน System Preferences
ในอัพเดตนี้แอปเปิลระบุว่าได้แก้ไขปัญหาที่อาจทำให้ไม่สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ มีผลกับ MacBook Pro รุ่นปี 2016 และ 2017 และยังแก้ไขช่องโหว่ CVE-2021-3156 ที่ผู้โจมตีอาจเข้าถึง root ผ่าน Sudo ได้ โดยได้อัพเดต Sudo เป็นเวอร์ชัน 1.9.5p2
แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการ macOS Big Sur 11.2 ซึ่งเป็นอัพเดตที่ออกต่อจาก 11.1 เมื่อกลางเดือนธันวาคม ผู้ใช้ Mac สามารถอัพเดตได้ที่ส่วน Software Update ใน System Preferences
ในอัพเดตนี้แอปเปิลระบุว่ามีการปรับปรุงการเชื่อมต่อบลูทูธให้เสถียรมากขึ้น และแก้ไขปัญหาอีกหลายรายการ อาทิ ปัญหาการต่อจอภายนอกกับ Mac mini ชิป M1 ด้วยสาย HDMI to DVI, ปัญหาการแก้ไขรูป Apple ProRAW อาจเซฟไม่ได้, ปัญหา iCloud Drive หยุดการทำงาน และอื่น ๆ
ที่มา: MacRumors
แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการรอบใหญ่ iOS 14.3 และ iPadOS 14.3 ในวันนี้ ผู้ใช้งานสามารถอัพเดตแบบ OTA ได้โดยไปที่ Settings > General > Software Update
ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มมาในอัพเดตนี้มีหลายอย่าง อาทิ รองรับภาพถ่ายแบบ ProRAW (เฉพาะ iPhone 12 Pro กับ iPhone 12 Pro Max), รองรับการทำงานกับ AirPods Max และเพิ่มแอป Apple Fitness+ (ในไทยยังใช้งานไม่ได้)
คุณสมบัติใหม่อื่น ๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้
จากรายงานที่ผู้ใช้ MacBook Pro รุ่นปลายปี 2013 และกลางปี 2014 จำนวนหนึ่งพบปัญหาเครื่องใช้งานไม่ได้หรือ brick หลังอัพเดตระบบปฏิบัติการเป็น macOS Big Sur ล่าสุดแอปเปิลยอมรับปัญหาดังกล่าว และให้แนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแล้ว
ในหน้าสนับสนุนของแอปเปิลระบุว่าหากผู้ใช้พบปัญหา Mac เปิดไม่ได้ตามปกติ ให้ลองแก้ปัญหาดังนี้
แอปเปิลปล่อย TensorFlow 2.4 เวอร์ชัน fork ที่ปรับแต่งให้ทำงานได้ดีขึ้นบน Mac ทั้งรุ่นที่ใช้ซีพียูอินเทล และรุ่นที่ใช้ชิป M1 ทำให้นักพัฒนาสามารถดึงประสิทธิการทำงานของหน่วยประมวลที่สูงสุดระดับซีพียู 8 คอร์ และจีพียู 8 คอร์ ได้
แอปเปิลยังลงผลการทดสอบเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการเทรนโมเดลแต่ละ batch โดยเทียบระหว่าง TensorFlow 2.3 เดิม และรุ่น fork บนเครื่องซีพียูอินเทล และ M1 พบว่าเวลาที่ใช้เร็วขึ้นถึง 7 เท่าเมื่อประมวลผลบน MacBook Pro จอ 13 นิ้ว ชิป M1
ผู้ใช้ Mac สามารถดาวน์โหลดได้ที่ GitHub โดยโครงการ TensorFlow กล่าวว่าในอนาคตจะนำเวอร์ชัน fork นี้มารวมกับ master branch ของโค้ดหลัก
เป็นปกติกับการปล่อยอัพเดตซอฟต์แวร์ใหญ่ที่มักจะตามมาด้วยปัญหาใหญ่ที่ไม่พบตอนทดสอบ กรณีล่าสุดของการปล่อยอัพเดต macOS Big Sur เกิดกับผู้ใช้งาน MacBook Pro รุ่นปลายปี 2013 และกลางปี 2014 ที่เมื่ออัพเดตแล้วเครื่องไม่งานไม่ได้และขึ้นจอดำ (brick)
ผู้ใช้หลายรายพูดถึงปัญหาเดียวกันทั้งบน Reddit, หน้า Apple Support และฟอรัมของ MacRumors ระบุว่าหลังอัพเดต Big Sur ตัวเครื่องก็ขึ้นหน้าจอดำและการทำฮาร์ดรีเซ็ตด้วยการกดปุ่ม ไม่ว่าจะด้วยวิธีรีเซ็ต NVRAM, SMC, เข้าเซฟโหมดและการทำ internet recovery ก็ไม่สามารถทำได้
แอปเปิลปล่อยแพตช์แมคในตระกูล Big Sur 11.0, High Sierra 10.13, และ Mojave 10.14 หลังมีรายงานการโจมตีช่องโหว่เคอร์เนลและ FontParser
ช่องโหว่ใน FontParser เปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถสร้างฟอนต์เพื่อรันโค้ดในเครื่องของเหยื่อได้ ขณะที่ช่องโหว่ในเคอร์เนลเปิดทางให้แฮกเกอร์ยกระดับสิทธิไปรันในสิทธิ์ระดับเคอร์เนล โดยรวมทำให้แฮกเกอร์ยึดเครื่องเหยื่อได้
ช่องโหว่ที่ถูกใช้งานแล้วแจ้งมายังแอปเปิลโดย Project Zero ของกูเกิล ยังไม่มีข้อมูลว่ากูเกิลไปพบการโจมตีได้อย่างไร โดยแพตช์ที่แก้ไขช่องโหว่เหล่านี้จะเป็น Big Sur 11.0.1, High Sierra 10.13.6, และ Mojave 10.14.6
ที่มา - Apple,
macOS 11.0.1 Big Sur ระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่สำหรับ Mac เปิดให้อัพเดตได้แล้วตอนนี้ โดยจะมาพร้อมกับ UI ใหม่ ดีไซน์เน้นโค้งมน ไอคอนใหม่สไตล์เดียวกับ iOS, Control Center ใหม่, Safari เวอร์ชั่นปรับปรุง และอื่นๆ รุ่นที่รองรับมีดังนี้
แอปเปิลประกาศในงานอีเวนต์เมื่อคืนนี้ ว่า macOS 11.0 หรือ Big Sur จะเปิดให้ดาวน์โหลดตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นระบบปฏิบัติการ macOS เวอร์ชันแรกที่รองรับการทำงานบนชิป M1 ตัวใหม่
Big Sur เปิดตัวในงาน WWDC เมื่อเดือนมิถุนายน โดยมีการปรับดีไซน์และ UI ใหม่หลายอย่าง ทำให้มีลักษณะการใช้งานใกล้เคียงและรองรับแอปจาก iOS เช่นส่วนของ Control Center, สามารถปรับสีของไอคอนได้ รวมทั้งเพิ่มความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้นในการใช้งาน Safari และอื่น ๆ อีกมาก
ในงานแอปเปิลคืนนี้ สินค้าใหม่ที่คาดว่าจะเปิดตัวคือ Mac รุ่นแรกที่ใช้ซีพียู Apple Silicon ซึ่งน่าจะเป็นไปตามที่แอปเปิลประกาศไว้ในงาน WWDC เมื่อกลางปี ว่า Mac รุ่นแรกนี้ จะเริ่มจำหน่ายช่วงปลายปี คุณสมบัติหนึ่งที่แอปเปิลระบุไว้คือ macOS เวอร์ชัน Apple Silicon จะสามารถรันแอปจาก iOS ได้เลย เพราะใช้สถาปัตยกรรมซีพียูเดียวกัน อย่างไรก็ตามนักพัฒนาแอปรายใหญ่ดูเหมือนยังเลือกไม่เปิดให้แอปใช้งานบน macOS ได้
เก็บตกข่าวความเคลื่อนไหวฝั่ง React Native นะครับ ตัวโครงการ React Native ที่พัฒนาโดย Facebook รองรับเพียงแค่ 2 แพลตฟอร์มมือถือคือ Android และ iOS
แต่เมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์อาสาเข้ามาทำ React Native for Windows โดยรองรับทั้งการสร้างแอพแบบ WPF และ UWP
เมื่อคืนที่ผ่านมา Kevin Gammill ผู้จัดการทั่วไปฝั่ง Gaming Developer Experiences ของไมโครซอฟท์ได้ยื่นหนังสือต่อศาลแขวงแคลิฟอร์เนียเหนือ สนับสนุนท่าทีของ Epic จากกรณีที่แอปเปิลแบนบัญชีนักพัฒนา Epic ทำให้แอป Unreal Engine ไม่สามารถใช้งานบน iOS/macOS รวมถึงเข้าถึง SDK ของแอปเปิลได้
ฟีเจอร์ Face ID หรือสแกนหน้าเพื่อปลดล็อคเป็นฟีเจอร์ที่มีอยู่บนไอโฟน และไอแพดตั้งแต่ iPhone X แล้ว แต่ล่าสุดมีการพบโค้ดบน macOS Big Sur beta 3 ว่ามีส่วนขยายสำหรับรองรับฟังก์ชัน PearlCamera ซึ่งเป็นโค้ดเนมที่แอปเปิลใช้กับ Face ID และกล้อง TrueDepth มาตั้งแต่เริ่มแรก พร้อมกับพบโค้ด FaceDetect และ BioCapture ในส่วนขยายดังกล่าว ซึ่งมีความคล้ายกับโค้ดสำหรับ Face ID บนไอโฟน
แอปเปิลออกอัพเดตใหญ่ระบบปฏิบัติการ iOS 13.6 และ iPadOS 13.6 โดยผู้ใช้งานสามารถอัพเดตแบบ OTA ได้ที่ Settings > General > Software Update
รายการอัพเดตที่สำคัญได้แก่ ฟีเจอร์ Car Key กุญแจรถยนต์ดิจิทัล ซึ่งใช้งานได้เฉพาะรถยนต์รุ่นที่รองรับ (รายละเอียดเพิ่มเติม), Apple News+ มีคุณสมบัติอ่านข่าวให้ฟัง, Health เพิ่มตัวเลือกการบันทึกข้อมูลอาการป่วย นอกจากนี้ยังแก้ไขบั๊กและปรับปรุงย่อยอีกหลายรายการ
Apple ปล่อยวิดีโอเซสชั่นใน WWDC 2020 โดยมีตอนหนึ่งโชว์ฟังก์ชันการล็อกอินเว็บไซต์บน Safari 14 แบบ frictionless experience ซึ่ง FIDO Alliance ระบุว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี WebAuthn ระบบล็อกอินโดยไม่ต้องใช้รหัสผ่านที่ทาง W3C รับเข้าเป็นมาตรฐานเว็บในปีที่แล้ว
เทคโนโลยี WebAuthn หรือ Web Authentication API เป็นมาตรฐานกลางในการยืนยันตัวตนแบบใหม่ที่ให้นักพัฒนาเว็บไซต์เลือกเปิดใช้งาน ซึ่งระบบนี้พัฒนาโดย FIDO Alliance โดยกรณีของ iOS และ macOS คือ Apple จะเปิดให้ใช้ Touch ID หรือ Face ID ในการยืนยันตัวตนบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ดังนั้นผู้ใช้จึงล็อกอินได้โดยไม่ต้องใส่ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเหมือนเดิม
Mozilla ประกาศหยุดซัพพอร์ต Firefox เวอร์ชันหลักบน macOS 10.9 (Mavericks), 10.10 (Yosemite), 10.11 (El Capitan)
Mozilla ระบุว่าแอปเปิลไม่มีนโยบายการซัพพอร์ตแพตช์ให้ OS เวอร์ชันเก่าออกมาชัดๆ แต่ปกติแล้วจะออกแพตช์ให้กับ OS 3 รุ่นล่าสุด (N, N-1, N-2) ซึ่งกรณีของ macOS 10.11 ออกแพตช์ครั้งสุดท้ายเมื่อ 2 ปีก่อน (เดือนกรกฎาคม 2018) จึงถือว่าไม่มีการแพตช์อีกแล้ว
Mozilla แนะนำให้อัพเกรดเป็น macOS 10.12 ขึ้นไป แต่ผู้ใช้ OS เหล่านี้ยังสามารถใช้ Firefox Extended Support Release (ESR) ที่เป็นเวอร์ชันเก่าและสนับสนุนยาวนานได้ต่อไป (เวอร์ชัน ESR ล่าสุดในตอนนี้คือ Firefox ESR 68.9.0 เทียบกับรุ่นปกติที่เป็นเวอร์ชัน 77 แล้ว)
macOS Big Sur ที่เปิดตัวไปในงาน WWDC เมื่อคืนนี้ นอกจากการปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมรองรับสถาปัตยกรรม ARM ที่ Apple จะผลิตชิปเองแล้ว ยังมีการปรับดีไซน์ใหม่ของ UI และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาเพื่อให้การใช้งานสะดวกขึ้น และมีความเข้ากันได้กับ iOS และ iPad OS มากขึ้น
เป็นประจำทุกครั้ง เมื่อแอปเปิลประกาศระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่ชุดใหญ่ในงาน WWDC ก็จะมีฮาร์ดแวร์รุ่นที่ยังสามารถอัพเกรดไปต่อ และฮาร์ดแวร์รุ่นที่แอปเปิลหยุดการสนับสนุน ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้
แอปเปิลเปิดตัว macOS Big Sur (ชื่อภูเขาในแคลิฟอร์เนีย โดยตัวระบบปฎิบัติการเองมีการปรับแต่งหน้าจอปลีกย่อย จุดสำคัญคือมันเป็น macOS เวอร์ชั่นแรกที่จะรองรับชิป ARM อย่างเป็นทางการ โดยแอปเปิลปรับเลขเวอร์ชั่นเป็น 11.0 หลังจากก่อนหน้านี้ใช้เป็นเวอร์ชั่น 10.x มานาน
Safari เพิ่มตัวแปลภาษาในตัว รองรับภาษาอังกฤษ, สเปน, จีน, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, รัสเซีย, และโปรตุเกสแบบบราซิล ฟีเจอร์ Privacy Report รวมรายงานว่า Safari บล็อคส่วนต่างๆ ในเว็บที่ติดตามผู้ใช้ไปอย่างไรบ้าง และด้านความปลอดภัยนั้นเพิ่มระบบตรวจสอบการใช้งานรหัสผ่านที่เคยรั่วไหลมาแล้ว โดยระบบตรวจสอบจะไม่เปิดเผยรหัสผ่านนี้ให้แอปเปิลเอง
แอปเปิลประกาศรองรับ macOS บนชิป ARM นับเป็นการย้ายสถาปัตยกรรมซีพียูครั้งใหญ่รอบที่ 3 หลังจากเคยย้ายจาก Motorolla 68000 ไป PowerPC และมายัง x86 ทุกวันนี้ โดยระบุว่าเป็นการย้ายมาใช้ชิปที่พัฒนาโดยแอปเปิลเองเพื่อให้ควบคุมได้ทุกส่วน ฟีเจอร์สำคัญคือ macOS ที่รันบนชิป ARM นี้จะสามารถรันแอปพลิเคชั่นจาก iOS ได้ในตัว
ในวันนี้ แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการ iOS 13.5.1 และ iPadOS 13.5.1 ซึ่งเป็นอัพเดตย่อยต่อจากอัพเดต 13.5 ที่ออกมาสองสัปดาห์ที่แล้ว ผู้ใช้งานสามารถอัพเดตได้แบบ OTA โดยไปที่ Settings > General > Software Update
แอปเปิลระบุว่าอัพเดตนี้เป็นการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย CVE-2020-9859: unc0ver ที่ทำให้สามารถเจลเบรกอุปกรณ์แอปเปิลได้จนถึง iOS 13.5 ใน iPhone ทุกรุ่น
นอกจากนี้แอปเปิลยังออกอัพเดตระบบปฏิบัติการอื่นในเครือ ดังนี้